วิธีแก้ปวดท้องโรคกระเพาะเบื้องต้น

  • หน้าหลัก
  • ออกกำลังกาย
  • สุขภาพดี
  • อาหารสุขภาพ
  • สุขภาพจิต
  • สุภาพสตรี
  • ตรวจสุขภาพ
  • การแปรผลเลือด
  • โรคผิวหนัง
  • แพทย์ทางเลือก
  • โรคต่างๆ
  • วัคซีน
  • health calculator
  • อาการของโรค

วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารทำอย่างไร

1. กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

  • กินอาหารให้เป็นเวลา
  • งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
  • งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
  • งดดื่มน้ำชา กาแฟ
  • งดสูบบุหรี่
  • งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด
  • หยุดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS

2. การให้ยารักษา

โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะลดยาหรือหยุดยาวได้

3การผ่าตัด

ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่

ก. เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้
ข. แผลกระเพาะอาหารทะลุและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ
ค. กระเพาะอาหารมีการอุดตัน

ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. ยาลดกรด [ antacid] รับประทานครั้งละ 1-2 ชต.ควรรับประทานหลังอาหาร 1 ชม. หรือก่อนอาหาร 2 ชม. และมื้อสุดท้ายก่อนนอน แล้วดื่มน้ำตาม 1-2 แก้วในระยะแรก อาจจะให้ยาทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อดีขึ้นอาจให้ยาทุก 1-2 ชั่วโมง
  2. ยาลดการหลั่งกรด acid-suppressing drugs มีสองชนิด คือ
  • Histamine-2 receptor antagonists [H2-blockers] เช่น cimetidine, ranitidine, famotidine, nizatidine.ช่วยลดอาการปวดหลังได้ยาไปประมาณ หนึ่งสัปดาห์ อาจจะรับประทานวันละครั้ง เช่นก่อนนอนได้แก่ famotidine, nizatidine วันละสองครั้งได้แก่ ranitidine วันละสี่ครั้งไก้แก่ cimetidine

    ชื่อยา

    ขนาดยาที่ให้

    ผลขางเคียง

    cimetidine

     400 mg วันละ 2 ครั้ง

    800mg ก่อนนอนวันละครั้ง

    คลื่นไส้อาเจียน เต้านมโต ตับอักเสบ เม็ดเลือดขาวต่ำ 

    ทำให้ยาบางชนิดถูกทำลายลดลงเกิดการคั่งของยา

    Ranitidine

    150 mg วันละ 2 ครั้ง

    300 mg ก่อนนอนวันละครั้ง

    ผลข้างเคียงน้อย

    Famotidine

    20 mg วันละ 2 ครั้ง

    40 mg ก่อนนอนวันละครั้ง

    ผลข้างเคียงน้อย

    Nizatidine

    150 mg วันละ 2 ครั้ง

    300 mg ก่อนนอนวันละครั้ง

    ผลข้างเคียงน้อย

  • Proton pump inhibitors  เช่น omeprazole, lansoprazole.ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการปวดท้อง และช่วยให้แผลหายเร็วกว่ายากลุ่มอื่นมักจะรับประทานวันละครั้งหลังอาหาร


  1. ยาปฏิชีวนะเช่น metronidazole, tetracycline, clarithromycin, amoxicillin ใช้รักษาโรคกระเพาะที่เกิดจาก H.pylori ขนาดยาที่ให้ clarithromycin 500 mg วันละ 2 ครั้ง, amoxycillin 1,000 mg วันละ 2 ครั้ง,  metronidazole 400 mg วันละ 2 ครั้ง, tetracyclin 500 mg วันละ 2 ครั้ง ยาที่นิยมรักษาแผลกระเพาะอาหารจากเชื้อโรคได้แก่การใช้ยา amoxicillin และ clarithromycin  และ omeprazole
  2. ยาเคลือบกระเพาะ Stomach-lining protector เช่น bismuth subsalicylate.sucralfate ใช้เคลือบแผลกระเพาะ 

วิธีแก้ปวดท้องโรคกระเพาะเบื้องต้น

แผลที่กระเพาะก่อนการรักษา

วิธีแก้ปวดท้องโรคกระเพาะเบื้องต้น

แผลหลังรักษา 2 สัปดาห์

วิธีแก้ปวดท้องโรคกระเพาะเบื้องต้น

แผลหายไปหลังจาการรักษา

ปัจจุบันการรักษา H.pylori ที่ดีที่สุดประกอบด้วยยา 3 ชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดร่วมกับ ยาลดการหลั่งกรด หรือยาเคลือบกระเพาะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ90 เช่น omeprazole 20 mg วันละ 2 ครั้งร่วมกับ clarithromycin 500 mg วันละ 2 ครั้ง และ amoxycillin 1,000 mg วันละ 2 ครั้ง

แนวทางการรับประทานอาหารในการรักษาแผล Peptic ulcer

หลังการรักษาแพทย์อาจนัดส่องกล้องดูกระเพาะอีกครั้งว่าแผลหายหรือยัง

เคล็ดลับโรคกระเพาะ

  • โรคกระเพาะเกิดจากมีแผลที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น
  • สาเหตุที่สำคัญเกิดจากเชื้อ H. pylori มิใช่เกิดจากอาหารเผ็ดหรือความเครียด
  • H. pylori สามารถติดต่อโดยผ่านทางอาหารและน้ำดื่ม
  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่สำคัญที่สุดในการรักษา H. pylori

 

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ

1. กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือน้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จากน้ำสมสายชู
3. งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง
4. งดการสูบบุหรี่
5. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวดกระดูก และยาsteroid ยาลูกกลอน ยาหม้อต่างๆ
6. ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และไม่หงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย
7. กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ากินยาแล้วอาการดีขึ้น ต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ ไม่ควรหยุดยาก่อน เพราะอาการปวดท้องจะกำเริบได้อีก
8. ควรออกกำลังกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
9. อย่าซื้อยากินเอง มีโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์

ทำไมรักษากระเพาะแล้วไม่หาย

โรคกระเพาะอาหารที่รักษาแล้วไม่หาย หรือเป็นซ้ำบ่อยมีสาเหตุดังนี้

  • ไม่ได้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  • เชื้อโรคอาจจะดื้อยา
  • ยังคงสูบบุหรี่
  • ยังคงรับประทานยาแก้ปวด
  • เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เป็นโรคอื่น

อาการเตือนที่ทำให้ต้องระวังว่าเป็นมะเร็ง

ได้แก่

  1. ปวดท้องจนต้องตื่นนอนตอนกลางคืน
  2. น้ำหนักลดลงมากกว่า ร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
  3. อายุมากกว่า 40 ปี
  4. ถ่ายเป็นเลือด
  5. อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  6. กลืนลำบาก
  7. มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  8. ซีด
  9. ตัวเหลืองตาเหลือง
  10. ตับม้ามโต
  11. มีก้อนในท้อง
  12. ท้องโตขึ้น
  13. มีการเปลี่ยนของระบบขับถ่าย

หากพบอาการเหล่านี้ควรส่องกล้อง หรือกลืนแป้งตรวจก่อน แต่หากไม่มีอาการอาจลองให้รักษาก่อน

ยาปฏิชีวนะ Antibiotics

หากสาเหตุของโรคกระเพาะเกิดจากการติดเชื้อ H. pylori ท่านควรจะได้รับยาปฏิชีวนะ 2-3 ชนิด วันละ 2 ครั้งอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ ยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้คือ amoxicillin, clarithromycin และ metronidazole ผลข้างเคียงของยาได้แก่

  • รู้สึกไม่สบายตัว
  • ท้องร่วง
  • ปากขมๆ

หลังจากรับประทานยาครบไปแล้วหนึ่งเดือนให้ตรวจซ้ำว่ายังมีเชื้ออยู่อีกหรือไม่

ยาที่มักจะนิยมใช้รักษา H. pylori

  • ยาปฏิชีวนะอย่างน้อยสองชนิด
  • ยาลดกรดกลุ่ม Proton pump inhibitors เช่น omeprazole, lansoprazole esomeprazole
  • Bismuth

จะให้ยา 7-14 วัน สำหรับโรคกระเพาะที่เกิดจากยา NSAIDS จะต้องได้ยา PPI ประมาณสองเดือน

Proton pump inhibitors (PPIs)

ยากลุ่ม H2-receptor antagonists

จะลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาที่นิยมได้แก่ Ranitidine  ผลข้างเคียงของยาได้แก่

  • ท้องร่วง
  • ปวดศีรษะ
  • มึนงง
  • ผื่น
  • อ่อนเพลีย

ยาน้ำลดกรด Antacids

เนื่องจากยาลดกรดชนิดอื่นจะออกฤทธิ์หลังจากรับประทานยาไปแล้วหลายชั่วโมง แต่ยาลดกรด Antacids จะออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าจึงนำมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดท้อง ผลข้างเคียงของยา

  • ท้องร่วง บางคนท้องผูก
  • แน่นท้อง
  • ปวดท้อง
  • รู้สึกไม่สบาย
  • อาการของโรคกระเพาะ
  • สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร
  • วิธีการรักษา
  • อาหารสำหรับโรคกระเพาะ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคแทรกซ้อนโรคกระเพาะอาหาร