วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด

คนที่มีบัตรเครดิตอยู่ในมือและใช้บัตรเครดิตเป็นประจำ น่าจะรู้กันอยู่นะครับว่าวิธีง่ายๆ ที่จะใช้บัตรฯ ให้คุ้มค่าที่สุดและไม่สร้างหนี้เลย ก็คือ “จ่ายเต็มจำนวนทุกครั้ง-จ่ายตรงเวลา-และถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็อย่ากดเงินสดจากบัตรเครดิต” 

หลายคนสงสัยว่า...ทำไมถึงไม่ควรกดเงินสดออกจากบัตรเครดิต?

บก.อาสาเล่าให้ฟังเองครับ 

ขอเกริ่นก่อนนะครับว่านี่เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับตัวบก. เมื่อปีที่แล้ว ประมาณวันที่ 10 ธันวาปี 62 ช่วงนั้นงานเยอะมาก บก.มึนๆ + รีบๆ ก็เดินไปกดเงินที่ตู้ ATM ของแบงก์หนึ่งในห้างครับ ด้วยความที่รีบและในกระเป๋าพกบัตรฯ เยอะ 

 บก.ดันหยิบบัตรเครดิตออกมากดเงินแทนบัตร ATM ครับ

ความเซอร์ไพรส์ คือ มันไม่แจ้งเตือนอะไรเลยครับ ว่าบัตรเครดิตที่ใส่เข้าตู้ไม่ใช่บัตร ATM เพราะมันกดเงินได้ปกติเหมือนกดบัตร ATM ทั่วไปเลย *บัตรเครดิตของบก.มีทั้งวงเงินเครดิตและวงเงินสินเชื่อที่กดเงินสดและผ่อนได้ครับ

รู้ตัวอีกที ก็คือ ตอนที่เงินออกมาแล้ว 2,000 บาท และบัตรเครดิตเด้งคืนออกมาแทนนั่นแหละครับ  ตอนนั้นเลยรีบค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ เพื่อคำนวณว่าจะเสียดอกเบี้ยอะไรยังไงบ้าง 

อธิบายเกี่ยวกับบัตรเครดิตใบนี้ก่อนนะครับ 

  • บัตเครดิตใบนี้ใช้รูดค่าใช้จ่ายไปรวมๆ แล้ว = 15,000 บาท
  • กดเงินสดออกมาอีก = 2,000 บาท

คราวนี้เรามาหาคำตอบกันครับว่าจะเสียดอกเบี้ยอะไรยังไงบ้าง

วิธีคิดอัตราดอกเบี้ยการกดเงินสดออกจากบัตรเครดิต คือ

1.ค่าธรรมเนียมกดเงินสดจากตู้ 

สูตร ค่าธรรมเนียมกดเงินสดจากตู้ = จำนวนเงินสดที่กดออกมา x 3%

เพราะฉะนั้น : ค่าธรรมเนียมกดเงินสดจากตู้ = 2,000 x 3% = 60 บาท 

ทั้งนี้ขึ้นกับ Rate ของแต่ละที่โดยส่วนใหญ่คิด 3% ของยอดเงินที่กดครับ ตอนนั้นขอ งบ.ก.เสียไป 40 บาท เพราะเป็นตู้ที่มีสัญลักษณ์ ATMPlus ครับ 

2.ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่อวัน 

สูตร ดอกเบี้ยแต่ละวัน (บาท) = จำนวนเงินสดที่กดออกมา x (ดอกเบี้ยบัตรเครดิต +  ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต) / 365

เพราะฉะนั้น : ดอกเบี้ยแต่ละวัน (บาท) =  2,000 x (15% + 13%) / 365 = 1.53 บาท

โดยนับจำนวนวันตั้งแต่วันที่กดออก - วันที่คืนเงิน 

เช่น กดมา 90 วัน ก็จ่าย 1.53 x 90 = 137.7 บาท

***เขาคิดดอกเบี้ยเฉลี่ยรายวันตามเงินต้นนะครับ ถ้ายอดกดเงินสดเยอะ มันก็แพงขึ้นครับ เช่น กด 100,000 บาท คำนวณแล้ว ดอกเบี้ยตกวันละ 76.71

สรุป คือ บ.ก.จะมีค่าใช้จ่ายตามนี้ครับ  

  1. เงินต้น 2,000 บาท 
  2. ค่าธรรมเนียมกดเงินสดจากตู้ 40 บาท 
  3. ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่อวัน ตกวันละ 1.53  บาท

ต้องการปิดยอดทั้งหมดต้องทำอย่างไร? 

บ.ก.ปรึกษากับ Call Center และได้คำแนะนำมาว่าให้จ่ายปิดยอดบัตรเครดิตที่รูดมาทั้งหมด - ปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้ครับ 

ยอดรูดบัตรเครดิต 15,000 บาท + จำนวนเงินสดที่กดออกไป 2,000 บาท + ค่าธรรมเนียมตู้กด 40 บาท = 17,040 บาท

โชคดีครับที่เวลาใช้บัตรเครดิตทุกครั้ง บ.ก.จะหักเงินตามจำนวนที่รูดเก็บไว้ที่บัญชีออมทรัพย์ทุกครั้ง บ.ก.จึงสามารถจ่ายปิดยอดทั้งหมดได้ทันที ไม่ต้องรอวันที่เงินเดือนออกครับ *จริงๆ คนใช้บัตรเครดิตควรทำแบบนี้นะครับ ใช้เท่าไหร่-หักเก็บไว้เลย

สุดท้ายแล้วอยากฝากว่าบัตรเครดิตเป็นแค่เครื่องมือทางการเงินที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราครับ อยากให้มองว่าจริงๆ เจ้าบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด ก็เป็นฮีโร่ในวันที่เราจำเป็นต้องใช้เงินสดจริงๆ มันขึ้นอยู่กับวินัยของผู้ใช้แล้วครับว่าจะใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือใช้ให้เกิดโทษกับตัวเอง

ขอบคุณครับ 

บก.aomMONEY

วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด

ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุน

? Website : www.aomMONEY.com

? Youtube : https://www.youtube.com/AommoneyTH

? กลุ่มกองทุนไหนดี : https://www.facebook.com/groups/SelectedFund/

.

วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด

คิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดอย่างไร

โดยทั่วไปผู้ที่ต้องการใช้งานบัตรกดเงินสดคือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน ดังนั้นจึงเกิดความกังวลในเรื่องของการคิดดอกเบี้ยเพราะหมายถึงการชำระคืนในภายภาคหน้า
ลองมาดูกันว่าการคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดเป็นอย่างไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบัตรกดเงินสดแต่ละสถาบันการเงินเป็นสำคัญ

  • ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 28% ต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงิน
  • คิดเงินตั้งแต่วันที่มีการกดเงินจากบัตรกดเงินสด

ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด

  • กดเงินสดวันที่ 1 มกราคม 2560 จำนวนเงิน 20,000 บาท
  • เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 จนถึงวันที่จ่ายคืน
  • ถ้าจ่ายคืนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 เท่ากับว่าใช้เงินล่วงหน้าไปทั้งหมด = 45 วัน
  • วิธีคิดดอกเบี้ยคือ

เงินต้น x 28% x จำนวนวันนับตั้งแต่วันที่กดจนถึงวันชำระคืน ÷ 365 วัน

     = 20,000 x 28% x 45 วัน ÷ 365 วัน = 690.41 บาท

     ยอดชำระคืนทั้งหมดคือ 20,690.41 บาท

     *** ดังนั้นจึงควรกำหนดระยะเวลาในการชำระเงินคืนที่แน่นอน คำนวณดอกเบี้ยที่รับได้ และไม่ควรค้างนานเพราะดอกเบี้ยจะทบต้นทบดอกต่อไปเรื่อย ๆ          

3 เทคนิคใช้บัตรกดเงินสดแบบไม่ปวดหัว

  • ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
  • ชำระหนี้ทั้งหมดในระยะสั้น
  • วางแผนทางการเงินก่อนใช้

“สมัครบัตรกดเงินสด A money ถูกใจคนต้องการใช้เงินด่วน”

ตัวอย่างข้างต้นเป็นการคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดในอัตราดอกเบี้ยทั่ว ๆ ไป ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินมีการแข่งขันสูงและมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ไม่แพงอย่างที่คิด ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงิน บางบัตรฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีตลอดอายุการใช้งานบัตร รวมทั้งมีการชำระคืนขั้นต่ำ 3% ของยอดคงค้าง เรียกได้ว่าช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของผู้กดเงินสดจากบัตรกดเงินสดได้ ดังนั้นก่อนสมัครบัตรกดเงินสดควรสอบถามเงื่อนไขและรายละเอียดที่ตอบโจทย์การใช้งานอย่างแท้จริง ที่สำคัญจำไว้เสมอว่าถ้าใช้บัตรกดเงินสดต้องกำหนดวันชำระคืน อย่าใช้เวลานานมากเกินไป

บัตรกดเงินสด ดอกเบี้ยคิดยังไง

การคำนวณอัตราดอกเบี้ย กรณีเบิกถอนเงินสด 1.วิธีคำนวณดอกเบี้ย เงินต้นคงเหลือ x ดอกเบี้ย15% x จำนวนวันในแต่ละรอบบัญชี* ÷ 365 วัน 2.วิธีคำนวณค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน เงินต้นคงเหลือ x ค่าธรรมเนียมฯ 10% x จำนวนวันในแต่ละรอบบัญชี* ÷ 365 วัน

ดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดกสิกรคิดยังไง

กรณีกดเงินสดไม่เกิน 80,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด 27% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต 18% ต่อปี โดยจ่ายขั้นต่ำของแต่ละบัตรอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน จากการคำนวณพบว่า​ - หากกดเงินสดแล้วจ่ายคืนทั้งหมดภายใน 3 เดือน ควรใช้บัตรกดเงินสด เพราะมีดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายโดยรวมน้อยกว่า

บัตรกดเงินสดคิดดอกเบี้ยตอนไหน

การคิดอัตราดอกเบี้ยของการเบิกถอนเงินสดจะคิดเป็นรายวัน นับตั้งแต่วันที่ทำรายการถอนเงินจากบัตรจนถึงวันที่ชำระยอดเต็มจำนวน อัตราดอกเบี้ยจะคิดแบบลดต้นลดดอก โดยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจะอยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งวิธีคำนวณดอกเบี้ย 30 วัน (นับจากวันแรกที่มียอดใช้จ่าย) เมื่อกดเงินสดจำนวน 10,000 บาท คือ 10,000 บาท x 25% / 365 วัน x 30 ...

บัตรกดเงินสด KTC Proud คิดดอกเบี้ยยังไง

* อัตราดอกเบี้ยฯ คำนวณแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) 19.99% ต่อปี หรือ เปรียบเทียบเป็นอัตราดอกเบี้ยฯ คงที่แบบประมาณการ (Flat Rate) 0.93% ต่อเดือน โปรดศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม สนใจสมัครด่วน คลิก บัตรกดเงินสด KTC PROUD.