การหายใจ กับการ ร้องเพลง ควร ปฏิบัติ อย่างไร

  • หน้าแรก

  • อารมณ์

  • ร้องเพลง ให้สุขกาย สบายใจ

การหายใจ กับการ ร้องเพลง ควร ปฏิบัติ อย่างไร

การร้องเพลง หรือการขับร้องเพลง คือการเปล่งเสียงออกเป็นทำนอง ให้มีจังหวะแน่นอนและสม่ำเสมอในการร้อง ต้องมีการกักเก็บลมหายใจให้ถูกต้อง และขับร้องเพลงออกมาอย่างมีสมาธิ ในการเลือกเพลงที่จะร้องควรคำนึงถึงจังหวะ ความไพเราะ ความง่ายต่อการร้อง และความใกล้เคียงกับระดับเสียงของเราด้วย อย่างไรก็ตามการร้องเพลงเพื่อสุขภาพไม่จำเป็นต้องร้องบนเวทีหรือต่อหน้าผู้คน แต่เป็นการร้องให้เรามีความสุข มีความพอใจและสนุกไปกับการร้องเพลง ร้องเพลงในเวลาที่อยากร้องหรือในเวลาว่าง เพื่อตั้งใจบำบัดตัวเราเองหรือคนใกล้ตัวให้มีความสุข ปลดปล่อยทางอารมณ์ และคลายเครียดไปด้วย

ประโยชน์ของการร้องเพลง

  • ฝึกการหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจแข็งแรง ปอดแข็งแรง หัวใจแข็งแรง
  • ฝึกการพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ การใช้ภาษา
  • ฝึกการฟัง การได้ยิน
  • ฝึกให้เกิดความกล้าแสดงออก
  • ฝึกสมาธิให้เกิดความสงบ
  • ฝึกให้ผ่อนคลายอารมณ์ คลายเครียด มีประโยชน์สำหรับผู้ห่วยโรคหัวใจ

วีธีการฝึกหายใจให้ปอดขยาย พร้อมกับการร้องเพลง

  1. ยืนตรง สองเท้าห่างกันความกว้างเท่าระยะหัวไหล่
  2. เหยียดแขนให้สุด ยกขึ้นเหนือศีรษะให้สุด
  3. หายใจเข้า นับ 1 2 3 พร้อมเขย่งเท้าขึ้น
  4. ผ่านลมหายใจออกยาวๆ นับ 1 2 3 4 5 6 ขณะวางส้นเท้าแตะพื้น
  5. ทำซ้ำไป-ซ้ำมา

วีธีร้องเพลงเบื้องต้น

  1. หาเพลงที่ชอบมาฟังหลายๆรอบ
  2. ฮัมเพลงให้ถูกตามจังหวะและทำนอง โดยไม่สนความถูกต้องของเนื้อเพลง
  3. ฝึกการจำเนื้อเพลง ด้วยการอ่าน การร้องตาม
  4. เมื่อร้องได้แล้ว ให้ใส่อารมณ์และความรู้สึกแทรกเข้าไปในบทเพลงด้วย

เอกสารอ้างอิง

-กองการแพทย์ทางเลือก(2560) ดนตรีบำบัด,  งานถ่ายทอดเทคโนโลยี กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

-กลุ่มดนตรีบําบัด (2554) แนวทางการใช้ดนตรีบําบัด สําหรัผู้ป่วยและผู้พิการทางกาย พ.. 2554 ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิธีการฝึกร้องเพลงที่ถูกต้อง

จากเคล็ดของ อ.ดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล ผู้มีข้อแนะนำวิธีการฝึกร้องเพลงด้วยตนเองง่ายๆดังนี้

1. ฝึกการหายใจประกอบการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้
– ยืนตรง สองเท้าห่างกันเท่าความกว้างของหัวไหล่

– เหยียดแขนที่ประสานกันขึ้นเหนือศีรษะ หงายมือขึ้น
…พยายามเหยียดแขนขึ้นให้สุด ให้แขนทั้สองข้างตึง

– หายใจเข้าช้าๆอาจนับ 1 2 3 พร้อมกับเขย่งเท้าขึ้นช้าๆด้วย

– กลั้นหายใจไว้ชั่วขณะในสภาพเขย่งเท้า

– ค่อยๆผ่อนลมหายใจออกยาวๆนับ 1 2 3 4 5 6
ช้าๆพร้อมกับวางมือข้างตัวอย่างช้าๆ ขณะที่วางส้นเท้าลงกับพื้น
แบบฝึกหัดนี้ ปฏิบัติทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง
2. ฝึกการเปล่งเสียงประกอบการหายใจ

– หายใจเข้าช้าๆ สบาย นับ 1 2 3 ช้าๆไว้ในใจ

– ค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทางจมูก โดยหุบปากเปล่งเสียง “ฮึ่ม!”
(เหมือนเสียงบ่นพึมพัมเวลาคนที่บ้านทำอไรไม่ถูกใจเรา)

– หายใจเข้าช้าๆอีก

– คราวนี้จากเสียง “ฮึ่ม” สั้นๆเปลี่ยนเป็น “ฮึ่ม”
ยาวๆพร้อมผ่อนลมหายใจออก นับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ครบแล้ว จึงหยุดเสียง “ฮึม” ปฏิบัติซ้ำซากอย่างนี้วันละไม่ต่ำกว่า 8 ครั้ง
3. ฝึกการร้องให้ถูกต้องตามทำนองและจังหวะ

– หาเพลงที่ท่านชอบมาฟังหลายๆเที่ยว

– ลองฮัมตามทำนองเพลงให้ถูกทั้งทำนองและจังหวะ

– ร้องด้วยคำว่า “ลา…..” ตามความสูงต่ำของเสียงเพลงตลอดทั้งเพลง
4. ฝึกการท่องจำเนื้อเพลงให้แม่นยำ
– นำเพลงบทนั้นมาอ่านเนื้อร้องให้คล่อง
– พยายามออกเสียง พยัญชนะ อักขระ และตัวสะกดต่างๆให้ถุกต้องและถูกวรรคตอน

– เมื่อแน่ใจแล้วก็ลองร้องทั้งเพลง
– ใส่อารมณ์ความรู้สึกตามเนื้อเพลงนั้นๆ

เทคนิคการร้องเพลงให้เพราะอย่างมืออาชีพ_*_*
เทคนิค การเปล่งเสียงร้องเพลงให้ไพเราะอย่างนักร้องอาชีพ

ที่มา: หนังสือเพลง “มน” เล่ม 2 ปี 2518 เขียนโดย ผู้ใช้นามปากกา “โรส”
เรียบเรียงและนำเสนอ โดย ปิรันญ่า
ในhttp://www.oknation.net/blog/nanahahe/2009/05/05/entry-1

เครื่องดนตรีใน ตัวมนุษย์

เมื่อลมหายใจออก ผ่านกล่องเสียงที่อยู่บริเวณลำคอ จะทำให้สายเสียงสั่น
เกิดเสียงในระดับ ต่างๆขึ้น ยิ่งเมื่อได้โพรงในลำคอและจมูกช่วยการสะท้อนเสียงด้วยแล้ว
เสียง จะยิ่งมีกังวานมากขึ้น

เสียงสูงๆต่ำๆ ที่เปล่งออกมาอย่างได้จังหวะนี้
จัดเป็นเครื่องดนตรีวิเศษสุดชิ้นหนึ่ง ที่มนุษย์สามารถบรรเลงได้โดยตัวเอง

เสียงที่เปล่งออกมาได้อย่างแจ่มใส ตรงโน้ต มีกังวานชวนฟังนั้น
ย่อมมาจากลมหายใจในช่องท้องจำนวนพอเหมาะที่จะทำให้ เสียงสั่นในความถี่ที่ต้องการ

ในทางตรงข้ามถ้าลมไม่พอ เสียงที่ออกมาจะไม่สดใส บางทีอาจเพี้ยนไป

การหายใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงเป็นผู้ให้ชีวิตเท่านั้น
แต่ยังเป็นขุมพลังมหาศาลแก่เครื่อง ดนตรีวิเศษชิ้นนี้อีกด้วย

การหายใจแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้เป็น 2 ช่วง

ช่วงแรก หายใจก่อนร้องเพลง เอาลมไปเก็บไว้ในช่องท้องและปอด
เพื่อเป็นแรงสำคัญในการร้อง วรรคแรกของเพลงให้จับใจผู้ฟัง
ขณะร้องเพลงไปก็ผ่อนลมหายใจออกมาจนลมที่ เก็บไว้หมดไปทุกที
ทำให้ต้องหายใจเอาลมครั้งใหม่เข้าไปอีก
อีก ประการหนึ่งแม้ว่าลมจะยังไม่หมดแต่เราคงกลั้นลมหายใจนานๆไม่ได้
เพราะใน ช่วงนี้ร่างกายขาดออกซิเจน

การหายใจขณะร้องเพลงจึงเป็นเรื่องหนีไม่พ้น
จัดเป็น การหายใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องกระทำกัน

การฝึกการหายใจ

แบ่งได้เป็น 3 จังหวะ

จังหวะที่หนึ่ง สูดลมหายใจเข้า ให้ตรงดิ่งไปที่ช่องท้องก่อน
แล้วค่อยขยายขึ้นสู่ปอด อกและหลังจะขยายกว้างขึ้น

จังหวะที่สอง เป็นการอัดลมในช่องท้องโดยการเกร็งกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง
หรือโดยใช้การ บังคับของกล้ามเนื้อกระบังลมเพื่อให้เกิดความดันเพียงพอให้สายเสียงสั่นได้
นอก จากนี้ยังทำให้กระบังลมขยายตัวสูงขึ้นพลอยให้โพรงในลำคอกว้างขึ้น
ยิ่ง เมื่อได้ริมฝีปากช่วยจะยิ่งได้เสียงที่ออกมาจากคอโดยตรงและมีกังวานใส
เพราะ มีการสะท้อนในลำคอช่วยอีกแรงหนึ่ง

จังหวะที่สาม เป็นการผ่อนลมหายใจ (ถ้าเป็นในขณะร้องเพลง จังหวะนี้จะเป็นจังหวะที่เสียงออกมา)
ต้องควบคุม ด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม อย่างสม่ำเสมอ ให้ลมออกมากน้อย
ตามความดังค่อย ของเสียงที่ต้องการ ต้องคอยระวังไม้ปล่อยมากเกินไป
มิฉะนั้นจะทำให้ลม หมดเสียก่อน หรือไม่ก็มีเหลือน้อยเกินกว่าจะสามารถประคองเสียงอยู่ได้จนจบประโยค

ปัญหาที่มักพบกัน

ก็คือปัญหาลมมาอัดอยู่ในคอจนเกิดอาการเกร็งร้องไม่ออก

วิธีแก้  คือ ให้หมุนคอไปมา ลมจะออกมาบ้าง ช่วยให้สบายขึ้น

การฝึกฝน

การหายใจทั้ง 3 จังหวะนี้ ควรทำเป็นประจำทุกวัน
โดยเริ่มทำช้าๆ ก่อน แล้วค่อยเร็วขึ้น อาจรู้สึกหน้ามืด เป็นเพราะมีเลือดฉีดขึ้นไปเลี้ยงสมองมากเกินไป
ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ให้พักเสีย การฝึกหายใจอย่างสม่ำเสมอ เท่ากับเป็นการบริหารอย่างหนึ่ง
ช่วย ให้กล้ามเนื้อกระบังลมแข็งแรงและมีพลังในการร้องเพลง

เราควรเลือกหายใจตรงไหนดี

บางคนเลือกหายใจทุกระยะที่รู้สึกติด ขัด คือลมหมดเมื่อไรก็หายใจเมื่อนั้น
วิธีนี้เสี่ยงหน่อย ถ้าหยุดไม่ถูกที่ อาจทำให้เพลงขาดหายไปเฉยๆ
ผู้ฟังหมดอารมณ์ต่อเนื่องไป อย่างน่าเสียดาย

บางคนเลือกหายใจเอาที่ระยะหมดประโยคในเพลงซึ่งพอจะแก้ไข ข้อเสียของรายแรกได้
แต่ก็ไม่วายมีข้อติ คือ ถ้าผู้ร้องผ่อนลมหายใจตอนแรกมากเกินไป
พอถึงตอนท้ายประโยคลมจะไม่พอ ทำเสียงเพี้ยนหรือเสียงแกว่ง หรือขาดหายไป ทำให้ไม่เพราะ

นักร้องที่ฉลาด

จะหาจุดหายใจในเพลงของตัวก่อนอย่าง อื่น และซักซ้อมไว้ให้ดีจนคนฟังจับไม่ได้ บางท่านหยุดหายใจพวกคำตายต่างๆที่ต้องลงท้ายด้วยแม่ กก กด กบ
เพราะสระ พวกนี้มีเสียงสั้นไม่ต้องเอื้อน

อีกที่หนึ่ง ได้แก่บริเวณท้ายประโยคแต่ละตอนของเพลง
เราอาจหยุดหายใจสั้นๆก่อนตัวสุด ท้าย เพื่อจะได้มีพลังไว้ยืดโน้ตตัวสุดท้ายนั้น
ทำให้เสียงฟังนุ่มนวล ขึ้น

การฝึกหายใจ

เป็นหลักสำคัญ ในการร้องเพลง เพราะ
ลมที่ได้จากการหายใจแต่ละครั้ง หมายถึง ชีวิตและพลัง
ควรที่ผู้สนใจทางด้านนี้จะฝึกฝนไว้จนเกิดความเคยชิน

นอกจากนี้การร้องเพลงให้ได้ดี ยังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นอีกมาก
เช่น สำเนียงร้องที่ชัด การใช้ปากกับการออกเสียง อารมณ์
ตลอดจนการทำเสียงให้ไพเราะโดยอาศัยการ เคลื่อนไหวของกราม การทำเสียงรัว ฯลฯ เป็นต้น

หูของตัวจะเป็นครูที่ดีบอกให้รู้ว่า เสียงที่ออกมานั้น มีคุณภาพแค่ไหน
หรือถ้าใครอยากให้คนอื่นช่วยฟังก็คง จะดียิ่งขึ้น

แต่แม้จะเตรียม ลูกเล่นไว้มากมาย ถ้าไม่หายใจเตรียมพลังเสียอย่าง ลูกเล่นก็หมดความหมาย

จาก จขกท. : สำหรับเรา วิธที่ดีที่สุดคือ “การร้องเพลงออกมาจากใจ”

ขอให้ทุกคนมีความสุขกับเสียงอันไพเราะของตัวเองนะครั