การฝึกการหายใจในการขับร้องเพลงไทย

 หลักการขับร้องเพลงไทย

            1.   การหายใจ 

                   เมื่อหายใจ ลมหายใจจะมากระทบเส้นเสียง ทำให้เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนและเกิด
เสียงขึ้น ดังนั้น ลมหายใจจึงถือเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการขับร้อง ผู้ขับร้องต้องฝึกผ่อนและถอนลมหายใจให้ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของการขับร้อง ฟังดูนุ่มนวล ไม่รู้สึกขาดเว้นเป็นห้วง ๆ ข้อควรระวังอีกประการหนึ่ง คือ ในขณะผ่อนหรือถอนลมหายใจ ต้องระวังไม่ให้เกิดเสียงลมหายใจดัง และไม่ยกตัวหรือยกไหล่จนมากเกินไป

            2.   การสร้างอารมณ์

                    ในการขับร้องเพลงไทยนั้น การสร้างอารมณ์ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ขับร้องจะต้องใส่อารมณ์ไปด้วย เพื่อให้เกิดความไพเราะ ความสง่างาม การสร้างอารมณ์จะต้องแสดงให้รู้สึกว่าตรงนี้เศร้า ตรงนี้หวาน ตรงนี้รักหรือโศก อารมณ์ตัดพ้อต่อว่า น้อยใจ ดีใจ เสียใจ ฯลฯ การใส่อารมณ์ในการขับร้องเพลงไทยมิใช่ทำเฉพาะหน้าตาและเสียงร้องเท่านั้น การใส่อารมณ์ที่ดีต้องอาศัยวิธีการอื่น ๆ ด้วย เช่น การประคับประคองเสียง การควบคุมเสียง การผ่อนเสียง ฯลฯ ให้เหมาะสม การที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามดังที่เราต้องการได้นั้นจะต้องศึกษาและฝึกหัดอยู่เสมอ

1.   ประเภทเพลงไทย ได้แก่

        1)                เพลงชั้นเดียว

        2)                เพลง 2 ชั้น

        3)                เพลง 3 ชั้น

        4)                เพลงเถา

        5)                เพลงตับ

        6)                เพลงเกร็ด

        7)                เพลงใหญ่

        8)                เพลงละคร

        9)                เพลงเดี่ยว

     10)                เพลงหมู่

     11)                เพลงลา

     12)                เพลงเรื่อง

     13)                เพลงหางเครื่อง

     14)                เพลงภาษา

     15)                เพลงโหมโรง

     16)                เพลงหน้าพาทย์

2.   เทคนิคการขับร้องเพลงไทย

      1)   การเอื้อน

                         คือ การออกเสียงเป็นทำนองโดยไม่มีเนื้อร้อง เสียงเอื้อนเป็นเสียงที่ผ่านออกมาจาก

             ลำคอโดยตรง

      2)   ครั่น

                         คือ วิธีทำให้เสียงสะดุด สะเทือนเพื่อความเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน

      3)   โปรย

                         คือ เมื่อร้องจวนจะจบท่อนก็โปรยเสียงให้ดนตรีสวมรับ เมื่อดนตรีรับจวนจะจบท่อน

             ก็จะโปรยให้ร้องรับช่วงต่อไป

      4)   เสียงกรอก

                         คือ การทำเสียงที่ลำคอให้คล่องกลับไปกลับมาเพื่อความเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน

      5)   เสียงกลืน

                         คือ เมื่อต้องการใช้เสียงต่ำก็กลืนเสียงลงในลำคอ

      6)   หลบเสียง

                         คือ การร้องที่ดำเนินทำนองเปลี่ยนจากเสียงสูงลงมาเป็นเสียงต่ำ หรือจากเสียงต่ำขึ้นไป

             เป็นเสียงสูงทันทีทันใด

3.   หลักการปฏิบัติในการฝึกหัดขับร้องเพลงไทย

                   1.   ศึกษาทำนองเพลงให้เข้าใจ และใส่อารมณ์ให้ถูกต้องเหมาะสม 

                   2.   ศึกษาคำร้องให้เข้าใจ และร้องโดยใส่อารมณ์ให้ถูกต้องกับคำร้อง

                   3.   วางสีหน้าปกติ ไม่เหลียวหน้าเหลียวหลัง และร้องอย่างสง่างาม

                   4.   ร้องให้ถูกต้องตามคำร้อง ทำนอง และให้ตรงจังหวะ

                   5.   ร้องให้ชัดเจน ถูกต้อง ทั้งพยัญชนะ สระ และคำควบกล้ำ

                   6.   ร้องให้ตรงตามระดับเสียงของทำนองเพลง

                   7.   รู้จักใช้เสียงอย่างถูกต้อง

                   8.   รู้จักผ่อนและถอนลมหายใจให้ถูกวรรคตอน หรือตรงกับจังหวะหยุด

                   9.   รักษาสุขภาพ และต้องมีสมาธิ

การหายใจสำหรับการร้องเพลงควรฝึกปฏิบัติอย่างไร

ยืนตัวตรง หลัง ไหล่และศรีษะ ตั้งตรง แยกเท้าออกจากันเล็กน้อยพอสบาย มือเท้าสะเอวไว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านหลัง นิ้วที่เหลือวางอยู่ที่กล้ามเนื้อบริเวณซี่โครงซี่ล่างๆ หายใจเข้าลึกๆ (ทางปาก 80 % จมูก 20 %) พยายามให้รู้สึกว่าลมลงไปถึงฐานของปอด จากนั้นค่อยๆผ่อนลมอย่างช้าๆเป็นเสียง ตัวเอส (S) เมื่อลมออกหมด กระบังลมจะคลายตัว ...

การหายใจในการร้องเพลงใช้วิธีการหายใจแบบใด

ในการร้องเพลงต้องฝึกผสมผสานทั้งการหายใจแบบ Rib Breaths และ Abdominal. Breaths เมื่อฝึกข้อ 2 และ 3 จนคล่องตัวแล้ว ให้นำมือ ข้างหนึ่ง แตะ ในตำแหน่ง ซี่โครง และอีกข้างหนึ่ง แตะที่ ท้อง พร้อมทั้งหายใจเข้าและออก เพื่อดูลมหายใจ และการขยายตัว

การฝึกหายใจเข้าออกมีประโยชน์ในการขับร้องเพลงอย่างไร

ประโยชน์ของการร้องเพลง.
ฝึกการหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจแข็งแรง ปอดแข็งแรง หัวใจแข็งแรง.
ฝึกการพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ การใช้ภาษา.
ฝึกการฟัง การได้ยิน.
ฝึกให้เกิดความกล้าแสดงออก.
ฝึกสมาธิให้เกิดความสงบ.
ฝึกให้ผ่อนคลายอารมณ์ คลายเครียด มีประโยชน์สำหรับผู้ห่วยโรคหัวใจ.

การขับร้องเพลงไทยที่ดีควรมีหลักในการปฏิบัติอย่างไร

หลักการขับร้องเพลงไทยเป็นหลักที่ครอบคลุมองค์ประกอบและเทคนิคของการขับร้องอย่างครบถ้วน ประกอบไปด้วยหลักการขับร้อง 5 ประการ ได้แก่ 1) ดาด หมายถึง ลักษณะการขับร้องธรรมดาที่ยังไม่มีเทคนิคลีลา 2) ประคบเสียงเป็นเทคนิคการบังคับเสียงร้องให้ไพเราะ 3) ประคบคำ เป็นเทคนิคการออกเสียงคำ ร้องให้ไพเราะ 4) กนกคอ เป็นเทคนิคการตกแต่งทำนอง ...