กิจการที่จดทะเบียนบุคคลธรรมดามีรายได้เท่าใดไม่จำเป็นต้องยื่นเสียภาษี

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจร้านขายยา เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบ ของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดย การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

การเตรียมเปิดร้านขายยา

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายยา เราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษีจากการเตรียม ธุรกิจร้านขายยาดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เริ่มขายยาได้เงินแล้วต้องทำอย่างไร

เมื่อเริ่มประกอบธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบ- การสามารถจำหน่ายยาได้ ก็จะต้องรู้เรื่องราว เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

เรื่องภาษีเป็นเรื่องปวดตับของใครหลายคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการในยุคนี้ต้องมาปวดหัวกับภาษี สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้คงต้องทำความรู้จักกับภาษีให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะภาษีนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ไม่อยากให้เจ้าของธุรกิจเก่ง ๆ ต้องมาตกม้าตายเรื่องนี้ จะมีอะไรบ้างติดตามกันดีกว่า

สำหรับเรื่องราวของภาษีนั้นสิ่งที่นักธุรกิจต้องรู้ก็คือ ประเภทของภาษีที่ต้องชำระอย่างถูกต้อง 5 ประเภท ได้แก่

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีตามกฎหมาย สำหรับภาษีประเภทนี้จะเก็บกับคนทำธุรกิจที่จดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบของบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วน หมายความว่ากิจการของเรามีหน้าที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้อย่างแน่นอน โดยแบบแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมีสองแบบ ได้แก่ แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดระบบบัญชี และแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปีอีกด้วยนั่นเอง

2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีนี้ฟังดูเป็นภาษากฎหมาย แต่พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นภาษีที่ถูกหักไว้ “ล่วงหน้า” หมายความว่า เราสามารถขอคืนภาษีประเภทนี้ได้ โดยกฎหมายกำหนดให้คนที่จ่ายเงินให้กับกิจการของเรา หรือคู่ค้าของเราที่ซื้อของจากเรามีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย ซึ่งเป็นไปตามประเภทของเงินได้ และตามอัตราภาษีที่กำหนด

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มนี้หลายคนจะรู้สึกว่ามันใกล้ตัว เพราะการที่เราซื้อของกินของใช้เราต้องจ่ายภาษีประเภทนี้โดยอัตโนมัติ สำหรับคนทำธุรกิจ ภาษีนี้เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจ หรือให้บริการประเภทต่าง ๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ฯลฯ ซึ่งต้องมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

สำหรับภาษีประเภทนี้จะถูกจัดเก็บในธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงตามชื่อ อันได้แก่ กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ใครที่ไม่ได้ทำกิจการที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีประเภทนี้ก็สามารถข้ามไปได้

5. อากรแสตมป์

สำหรับอากรแสตมป์นั้นดูเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก แต่ก็จัดเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่งเช่นกัน จะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว รายละเอียดสามารถเข้าไปอ่านแบบเจาะลึกได้ที่เว็บของสรรพากร

อย่างไรก็ตามเรื่องภาษีนั้นหากเราทำธุรกิจไม่เหมือนกันย่อมมีความแตกต่างกัน สำหรับความแตกต่างระหว่างภาษีที่เก็บกับธุรกิจที่ขายสินค้า กับธุรกิจทางด้านบริการ นั้นดูผ่าน ๆ เหมือนจะต้องเสียภาษีคล้าย ๆ กัน แต่ในความจริงมีรายละเอียดที่แตกต่างกันโดยภาษีที่เก็บกับธุรกิจที่ขายสินค้าส่วนใหญ่จะต้องเสียภาษี 4 ประเภท ยกเว้นภาษีธุรกิจจำเพาะ แต่ก็มีธุรกิจขายสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจจำเพาะ

สำหรับกิจการที่ขายบริการเป็นหลักที่ต้องเสียภาษีธุรกิจจำเพาะ ได้แก่

  • การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
  • การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  • การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
  • การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  • การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ และในอนาคตอาจหมายถึง กิจการ Start Up อย่าง ฟินเทค เป็นต้น

ในกรณีที่มีปัญหาว่า กิจการใดเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม่ อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขต และเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าวนั้นก็ได้ และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัย ภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยนั้นในราชกิจจานุเบกษา

อย่างไรก็ตามเรื่องภาษีนั้นมีเรื่องราวที่มากกว่าบทความเพียงบทเดียว คนทำธุรกิจที่ไม่แน่ใจว่าเราต้องเสียภาษีอย่างไร ควรติดต่อโดยตรงกับกรมสรรพากรเพื่อความสบายใจ จะได้มีเวลาทำธุรกิจอย่างปลอดโปร่งโล่งใจ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นในอนาคตนั่นเองครับ