ธาตุสมมติ 117 a ควรจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด

• 1. ธาตุสมมติ 117A ควรจะแสดงจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับเท่าใด
1. 1
2. 3
3. 5
4. 7

ตอบ ข้อ 4. เพราะธาตุ 117A มีการจัดอิเล็กตรอนดังนี้ 2, 8,18,32,32,18,7 ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7

• 2. จากข้อเสนอเกี่ยวกับระดับพลังงานของอิเล็กตรอน และแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกทำให้ข้อสรุปใดเป็นไปได้ถูกต้องที่สุด
1. ขอบเขตที่แน่นอนของอะตอม คือ บริเวณที่มีหมอกทึบที่สุด
2. อิเล็กตรอนของระดับพลังงานใดก็จะคงอยู่ในระดับพลังงานของตนตลอดเวลา
3. โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนทั้งหมดในบริเวณที่มีหมอกทึบมีมาก
4. โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีช่วงระดับพลังงานใกล้เคียงกันในบริเวณหนึ่งมีมากกว่าในบริเวณหนึ่ง

. ตอบ ข้อ 4. เพราะอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียสอาจมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีพลังงานไม่เท่ากัน อิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงานเท่ากันหรือใกล้เคียงกันจะอยู่บริเวณเดียวกันจะอยู่บริเวณเดียวกัน

• 3. ธาตุใดต่อไปนี้ที่จะมีอิเล็กตรอน 4 อิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่ 4
1. 6 C
2. 32 Ge
3. 36 Kr
4. 26 Fe

ตอบ ข้อ 2. เพราะ 32Ge มีอิเล็กตรอน 32 ตัว มีการจัดอิเล็กตรอน ดังนี้ 2,8,18,4

• 4. X มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนซึ่งอยู่ในระดับพลังงานที่ 4 เท่ากับ 3 การจัดอิเล็กตรอนของ X+ คือข้อใด
1. 2,8,8,2
2. 2,8,18,2
3. 2,8,3
4. 2,8,18,3

ตอบ ข้อ 2. เพราะX มีการจัดอิเล็กตรอน 2,8,18,3 ดังนั้น X มีการจัดอิเล็กตรอน 2,8,18,2

• 5. ธาตุ X อยู่หมู่ 3 คาบ 4 มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนอย่างไรและมีเลขอะตอมเท่าใด
1. 2,8,4 เลขอะตอม = 14
2. 2,8,8,3 เลขอะตอม = 21
3. 2,8,18,3 เลขอะตอม = 31
4. 2,8,18,4 เลขอะตอม = 32

ตอบ ข้อ 3. เพราะการจัดอิเล็กตรอนในข้อ 3 เป็นไปตามลำดับถูกต้อง ข้อ 2 ผิด ที่ถูกคือ 2,8,9,2

• 6. X คือธาตุในหมู่ที่ 7 คาบที่ 4 การจัดอิเล็กตรอนของ X- คือข้อใด
1. 2,8,18,7
2. 2,8,18,8
3. 2,8,8
4. 2,8,18,6

ตอบ ข้อ 2. X อยู่หมู่ 7 คาบ 4 มีการจัดอิเล็กตรอนดังนี้ 2,8,18,7 ดังนั้น X- มีการจัดอิเล็กตรอนดังนี้ 2,8,18,8

• 7. มีสารบริสุทธิ์ชนิดนึ่งจะตัดสินว่าเป็นธาตุหรือสารประกอบดูจากสมบัติในข้อใด
1. จุดหลอมเหลว
2. ความหนาแน่น
3. การนำไฟฟ้า
4. ชนิดของอะตอม

ตอบ ข้อ 4. เพราะธาตุประกอบด้วยอะตอมเพียง 1 ชนิด แต่สารประกอบ ประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 1 ชนิด

• 8. การทดลองในข้อใดทำให้ทราบค่า e / m ของอิเล็กตรอน
1. การทดลองโดยวิธีเม็ดน้ำมันของมิลลิแกน
2. การทดลองโดยให้รังสีแคโทดอยู่ในสนามไฟฟ้าของทอมสัน
3. การทดลองโดยให้รังสีแคโทดอยู่ในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของทอมสัน
4. การทดลองเรื่องอิเล็กโทรลิซิสของฟาราเดย์

. ตอบ ข้อ 3. คำตอบชัดเจนอยู่แล้ว

• 9. ประโยชน์ของเครื่องแมสสเปกโตรมิเตอร์ คือ
1. หามวลอะตอมหรือไอออนบวก
2. หาจำนวนไอโซโทปของธาตุ
3. หาเปอร์เซ็นต์ของไอโซโทป
4. ทั้ง 1,2 และ 3

ตอบ ข้อ 4. เพราะแมสสเปกโตรมิเตอร์ใช้หามวลอะตอมหรือมวลไอออน และไอโซโทป

• 10. ผลการทดสอบเปลวไฟของสารประกอบที่มีโซเดียมไอออน แบเรียมไอออน และแคลเซียมไอออน จะให้สีเรียงตามลำดับดังนี้
1. เหลือง เขียว แดง
2. แดง เขียว เหลือง
3. เหลือง แดง เขียว
4. แดง เหลือง เขียว

ตอบ ข้อ 1. เพราะคำตอบชัดเจนอยู่แล้ว