ตลาดการ ลงทุน มี กี่ ประเภท

ความหมายและลักษณะการลงทุน
การลงทุน หมายถึง การใช้ทรัพยากรในลักษณะต่างๆ โดยหวังจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมามากกว่าที่ลงทุนไปในอัตราที่พอใจภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม
  ลักษณะการลงทุน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
  1. การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีตัวตน
  2. การลงทุนสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน

การลงทุนทางการเงิน
  การลงทุนการเงิน หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้กับผู้ลงทุน โดยจะทำผ่านตลาดการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้รับผลตอบแทนในรู้ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการซื้อขายหุ้นและสิทธิพิเศษอื่นๆ

แหล่งข้อมูลของการลงทุน
    1. แหล่งข้อมูลภายในกิจการ
    2. การให้คำปรึกษาด้านการลงทุนจากหน่วยงานอื่น
    3. หน่วยงานที่เสนอบริการข่าวสารทางการเงินและข้อมูลการลงทุน
    4. เอกสารและข้อมูลที่ได้จากนายหน้า และตัวแทน เป็นต้น

แหล่งที่มาของเงินเพื่อการลงทุน
    1. การรู้จักใช้งบประมาณ
    2. การออมโดยวิธีบังคับ
    3. การยกเว้นรายจ่ายไม่จำเป็น
    4. การประหยัดรายได้พิเศษ

ผลตอบแทนจากการลงทุน
 ผลตอบแทนจากการลงทุนมีหลายรูปแบบ ได้แก่
    1. รายได้ตามปกติ            2. กำไรจากการซื้อขายหุ้น
    3. ค่าเช่า                         4. ผลตอบแทนอื่นๆ

หลักการลงทุน
  1. ความปลอดภัยของเงินลงทุน  
  2. เสถียรภาพของรายได้
  3. ความเจริญเติบโตของเงินลงทุน  
  4. ความคล่องตัวในการซื้อขาย
  5. การกระจายเงินลงทุน  
  6. หลักเกี่ยวกับภาษี

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุน ได้แก่ปัจจัยดังนี้
    1. อุปนิสัยของผู้ลงทุน
    2. ขนาดของจำนวนเงินที่ลงทุน
    3. ความเสี่ยงการเก็งกำไร
    4. ข้อเสนอแนะในการลงทุน
    5. ความเสี่ยง
    6. การกระจายความเสี่ยง

การลงทุนโดยฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์
  ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้น เช่น การให้กู้ยืม
  การฝากเงินกับธนาคารมีข้อดี ดังนี้
    1. มีความเสี่ยงต่ำและเข้าใจง่าย       2. มีสภาพคล่องสูง
    3. มีความสะดวกในการฝาก- ถอน และดำเนินการต่างๆ

ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ให้บริการด้านการเงินต่างๆ
1. การรับฝากเงิน  
2. การให้กู้ยืม
3. การโอนเงิน  
4. การเรียกเก็บเงิน
5. การให้เช่าตู้นิรภัย  
6. การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
7. การบริการอื่นๆ

การลงทุนในตราสารหนี้
ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกเรียกว่า ผู้กู้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายจะจ่ายผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยและเงินต้นหรือประโยชน์อื่นๆ แบ่งออก 2 แหล่งคือ
    1. ตราสารหนี้ภาครัฐ       2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน

ประเภทของตราสารหนี้
1. แบ่งตามประเภทผู้ออก  
2. แบ่งตามสิทธิ์ในการเรียกร้อง
3. แบ่งตามหลักประกัน  
4. แบ่งตามชนิดอัตราดอกเบี้ย
5. แบ่งตามชนิดของสิทธิแฝงที่ติดมาพร้อมกับตราสารหนี้
6. แบ่งตามกระแสการจ่ายเงินสด
7. หุ้นกู้ที่มีการจัดโครงสร้างพิเศษ

ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้
  1. ดอกเบี้ยรับ           2. กำไรขาดทุนจากการขายตราสารหนี้
  3.ส่วนลดรับ

ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้
  ความเสี่ยงในการลงทุน หมายถึง การที่ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจริงจากการลงทุน เบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ว่าจะได้รับเมื่อแรกเริ่มลงทุนไม่ว่าผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะมากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น

ประเภทของความเสี่ยงของตราสารหนี้ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. อัตราความเสี่ยงดอกเบี้ย หรือความเสี่ยงในตลาด
2. ความเสี่ยงด้านเครดิต
3. อำนาจในการซื้อหรือความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ  
4. ความเสี่ยงในการลงทุนต่อ
5. ความเสี่ยงเมื่อครบกำหนด  
6. ความเสี่ยงที่การระบุเงื่อนไข
7. ความเสี่ยงก่อนครบกำหนด  
8. ความเสี่ยง
9. ความเสี่ยงทางสภาพคล่อง 
10. ความเสี่ยงคุ้มทุน

การลงทุนในตราสารทุน
  ตราสารทุน คือตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น
ประเภทของตราสารทุน
  1. หุ้นสามัญ                    2. หุ้นบุริมสิทธิ
  3. ใบสำคัญแสดงสิทธิ       4. หน่วยลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุน
  5. ตราสารแสดงสิทธิ์ในพันธะที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น

ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน
  ความเสี่ยงของตราสารทุน สามารถแบ่งแยกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
    1. ความเสี่ยงของกิจการหรือความเสี่ยงด้านเครดิต
    2. ความเสี่ยงของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
    3. ความเสี่ยงในตลาดหุ้น

การลงทุนโดยทำประกันชีวิต
     การประกันชีวิต เป็นสัญญาระหว่างผู้ให้ประกัน ซึ่งมักเป็นบริษัทประกันชีวิตกับผู้เอาประกันโดยผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ผู้รับประกันหากผู้เอาประกันเกิดเสียชีวิตขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับภายในเงื่อนไขในกรมธรรม์บริษัทประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับผลประโยชน์เรียกว่าเงินสินไหมผู้ลงทุนหรือผู้เอาประกันสามารถเลือกรูปแบบที่ให้ความคุ้มครองหรือความั่นคงให้กับตนเองมากที่สุด

ชนิดของการประกันแบบพื้นฐาน
  1. ประกันชีวิตแบบช่วงระยะเวลา
  2. ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์
  3. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
  4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
  5. ประกันชีวิตควบการลงทุน

การลงทุนในกองทุน
  การลงทุนในกองทุน แบ่งออกได้ดังนี้
  1. กองทุนรวม 
  2. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ
      2.1 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ      2.2 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
      2.3 กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ

การลงทุนประกอบธุรกิจ
    การลงทุนประกอบธุรกิจ หมายถึง เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจโดยไม่หวังกำไรหรือบริการและอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ผู้ที่ลงทุนก็จะได้รับรายได้คือกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการ

ลักษณะการลงทุน แบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
  1. การลงทุนของผู้บริโภค
  2. การลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรม
  3. การลงทุนในทางการเงิน
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
  1. ธุรกิจเจ้าของคนเดียว
  2. ห้างหุ้นส่วน
  3. บริษัทจำกัด

ประเภทของธุรกิจ
  ธุรกิจสามารถจัดแบ่งได้ตามลักษณะของการดำเนินงาน ดังนี้
  1. การพาณิชย์    2. การอุตสาหกรรม  3. การบริการ

 ปัจจัยการผลิต
  ปัจจัยการผลิต คือ ทรัพยากรที่ธุรกิจจำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการในอดีตที่ผ่านมาปัจจัยการผลิตจะมุ่งเน้นปัจจัย 4 ส่วนที่สำคัญ  คือ
  1. แรงงาน เป็นปัจจัยที่ธุรกิจนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
  2. เงินทุน ธุรกิจจำเป็นต้องมีเงินทุนในการดำเนินงาน
  3. ผู้ประกอบการ เป็นผู้ริเริ่มและลงทุนในการดำเนินงาน
  4. ทรัพยากรด้านกายภาพ เป็นทรัพยากรที่มีตัวตนและธุรกิจมีไว้ใช้ดำเนินงาน

แหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ
  สถาบันการเงินจะมีความเชี่ยวชาญในการให้กู้ยืมเงินเฉพาะความต้องการดังนี้
  1. แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ
  2. แหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้
    2.1 ธนาคารพาณิชย์  
    2.2 ผู้จำหน่ายสินค้า
    2.3 ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอุปกรณ์  
    2.4 โรงงานอุตสาหกรรม
    2.5 บริษัทการเงิน  
    2.6 บริษัทประกันภัย
    2.7 ผู้ลงทุนเอกชน