หน้าที่ หลัก ของงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย คือ

4.5.1� �ç���ҧ��Ф����Ѻ�Դ�ͺ

              4.5.1.1 �ͧ��õ�ͧ��˹��ç���ҧ
                               �ӹҨ˹�ҷ����Ф����Ѻ�Դ�ͺ�ͧ�١��ҧ�ء�дѺ�������Ǣ�ͧ�Ѻ��èѴ���㹴�ҹ�Ҫ��͹������Ф�����ʹ��������駨Ѵ�����͡��������������ؤ�ŷ������Ǣ�ͧ����ͧ��÷�Һ�١��ҧ����ͧ��Ժѵ�˹�ҷ�����ռš�з���ҹ�Ҫ��͹������Ф�����ʹ��� ��ͧ�դس���ѵԷ���������
                4.5.1.2  ͧ��õ�ͧ�觵�駼��᷹���º����ô�ҹ�Ҫ��͹������Ф�����ʹ��� (Occupational health and safety management  representative - OH&SMR) ���ͻ�Ժѵԧҹ�����ӹҨ˹�ҷ��ѧ���
                              (1)� ��������к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ��·����Ѵ�Ӣ���ա�ù� �����д��Թ�����仵����͡�˹���ҵðҹ��Ե�ѳ���ص��ˡ���������ҧ������ͧ

                              (2)� ��§ҹ�š�û�ԺѵԵ���к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ��µ�ͼ��������дѺ�٧���͹����㹡�÷��ǹ�к���èѴ���������Ƿҧ����Ѻ��û�Ѻ��ا�к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ���

                4.5.1.3 ���������дѺ�٧��ͧ�繼���㹡���ʴ������Ѻ�Դ�ͺ��ҹ�Ҫ��͹������Ф�����ʹ�����д�������ա�û�Ѻ��ا�к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ������ҧ��������

หน้าที่ หลัก ของงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย คือ

   �ѵ�ػ��ʧ��
             ���͡�˹����᷹�ͧ���������дѺ�٧������ӹҨ˹�ҷ�����ҧ�Ѵਹ㹡�ô�������к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ��·����Ѵ�Ӣ���ա�ù������д��Թ������ҧ������ͧ��������§ҹ�š�û�Ժѵԡ�õ�ͼ��������дѺ�٧
             ���͹����㹡�÷��ǹ��л�Ѻ��ا�к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ��µ���

หน้าที่ หลัก ของงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย คือ

   �Ԩ����
   1. ���������дѺ�٧�ͧͧ����觵�駼��᷹���º����ô�ҹ�Ҫ��͹������Ф�����ʹ���
(Occupational health and safety management representative � OH&SMR) �¤ӹ֧�֧�س���ѵԴѧ���

  • �դ����繼���
  • �դ���������к�
  • �դ�������ö㹡�ú����èѴ���
  • �շѡ��㹡�þٴ ͸Ժ����餹�������
  • �繼�����դ������㨠 ��繤����Ӥѭ��ҹ������ʹ�������Ҫ��͹����
  • �դ�������ö㹡�è٧�
  • �繷������Ѻ� ���������Ͷ�ͨҡ�ؤ�ҡ�˹��§ҹ��� �
  • ���Ѻ���ʹѺʹع�ҡ���������дѺ�٧�����ҧ��

   2.� ˹�ҷ��ͧ���᷹���º����ô�ҹ�Ҫ��͹������Ф�����ʹ���
        2.1� OH&SMR ��������к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ��·����Ѵ�Ӣ���ա�ù������д��Թ���仵����͡�˹���ҵðҹ ��Ե�ѳ���ص��ˡ���������ҧ������ͧ      
        2.2� OH&SMR ��§ҹ�š�û�Ժѵ��к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ��µ�ͼ��������дѺ�٧ ���͹����㹡�÷��ǹ�к���èѴ��� ������Ƿҧ����Ѻ��û�Ѻ��ا�к���èѴ����Ҫ��͹���� ��Ф�����ʹ���
        2.3   ���������дѺ�٧�ͧͧ����觵�駤�зӧҹ (working group) ����Сͺ���µ��᷹�ҡ˹��§ҹ��ҧ � ���ͨѴ���к���èѴ����Ҫ��͹������Ф�����ʹ���

   �͡���

  • ������觵�駤�С�������͡.18001
  • ������觵�駼��᷹���º����ô�ҹ�Ҫ��͹������Ф�����ʹ��� (OH&SMR)

���������

����������������������������������������������������������������������

การบริหารงานอาชีวอนามัยละความปลอดภัย

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. 1 ความหมายและความสำคัญของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. ความหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

คำว่า “อาชีวอนามัย” มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Occupational Health”

เป็นคำสมาสระหว่างคำสองคำคือ “อาชีว” กับคำว่า “อนามัย”

อาชีว , อาชีวะ (Occupation) หมายถึง อาชีพ การเลี้ยงชีพ การทำมาหากิน งานที่ทำเป็นประจำเพื่อเลี้ยงชีพ

อนามัย (Health) หมายถึง ความไม่มีโรค สภาวะที่สมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ

ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สภาพที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย และความเสี่ยงใดๆ

เมื่อนำคำเหล่านี้มารวมกัน เป็นคำว่า “อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (Occupational Health and Safety)

จึงหมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งรวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพทั้งมวล

2. เป้าหมายของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

งานอาชีวอนามัยเป็นงานสาธารณะสุขแขนงหนึ่ง มีการดำเนินงานมีการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทุกสาขาอาชีพโดยมีเป้าหมายเพื่อ

2.1 ป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุเนื่องจกการประกอบอาชีพ

2.2 ป้องกันและควบคุมโรคอันเนื่องจากการประกอบอาชีพ

2.3 ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม

3. ขอบเขตของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

องค์การอนามัยโลก(World Health Organization : WHO ) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ได้กำหนดขอบเขตของงานอาชีวอนามัยประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการ คือ

3.1 การส่งเสริม(Promotion) และธำรงไว้(Maintenance) สุขภาพร่างกายและจิตใจความเป็นอยู่ที่ดีในสังคมผู้ใช้แรงงาน

3.2 การป้องกัน (Prevention) ไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม ผิดปกติจากการทำงาน

3.3 การปกป้องคุ้มครอง (Protection) ผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำงานในสภาพที่เสี่ยงอันตราย เป็นสาเหตุให้เจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ

3.4 การจัด (Placing) ให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

3.5 การจัดหรือปรับปรุงสภาพงานให้เหมาะสมกับลักษณะของงานและผู้ปฏิบัติงาน (Adaptation of Work)

4. ความสำคัญของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4.1 ช่วยป้องกันและควบคุมให้เกิดสภาพความปลอดภัยในการทำงาน

4.2 ช่วยลดความสูญเสียที่บันทอนกิจการของนายจ้างอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ

4.3 ช่วยลดผลกระทบทางสังคมที่อาจตามมาหลังการประสบอันตรายจากการทำงาน

4.4 ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตและอำนวยประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เช่นสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการทำงานของลูกจ้าง

4.5 ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานให้ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม ไม่ขัดต่อหลักมยุษยธรรม ช่วยลดความสูญเสีย ช่วยเพิ่มผลผลิตและ

ประสิทธิภาพในการทำงาน ยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้สินค้า ลดปัญหาการถูกกีดกันทางการค้ากับนานาประเทศด้วย

1.1.2 ความเป็นมาของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. ความเป็นมาของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในต่างประเทศ

- ก่อนคริศต์ศักราช - ค.ศ.200
-ฮิปโปเครติส ได้เขียนโรคต่างๆที่อาจเกิดจากการทำงาน
-ไพลนี่ ได้เสนอแนะใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นที่เกิดจากการบดปรอทซัลไฟด์สีแดง ทำจากกระเพาะสัตว์
-กาเลน ได้เขียนถึงอันตรายจากการประกอบอาชีพ และให้ความสำคัญอันตรายที่เกิดจากระอองกรดแก่คนงานในเหมือง
- ค.ศ.1400 - ค.ศ.1553
-เออส์ริช ได้ตีพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับไอและควันที่เป็นพิษ และเสนอมาตรการป้องกันพิษปรอท ตะกั่ว คาร์บอนมอนอกไซด์
-พาราเซลซัส พิมพ์บทความลงหนังสือเกี่ยวกับโรคปอดและทางเดินหายใจ ที่เกิดจากสารทาทารัส ปรอท กำมะถัน เกลือ
-อะกริโคล่า พิมพ์บทความในหนังสือโลหะวิทยา อธิบายโรค อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงงานถลุงและหลอมแร่
เสนอพัดลมในการระบายอากาศ
- ค.ศ.1600 - ค.ศ.1897
-เบอร์นาดิโน รามัสซินี่ ใช้คำถามเกี่ยวกับอาชีพในการซักประวัติคนไข้ และเป็นบิดาเวชศาสตร์อุตฯ
-เดนิส ดิเดอรอท เขียนบทความให้เห็นถึงอันตรายจากการประกอบอาชีพต่างๆ
-เพอซิวัล พอท ค้นพบปํญหาความไม่ปลอดภัยจากการทำงาน
-ค.ศ.1887 อังกฤษมีพรบ.โรงงานฉบับแรก ค.ศ.1897 อังกฤษ มีพรบ.กองทุนทดแทนฉบับแรก
- ค.ศ.1900 - ค.ศ.1978
-ค.ศ.1908 อเมริกาออกกฎหมายเงินทดแทน
-ค.ศ.1913 อเมริกาตั้งสภาความปลอดภัยแห่งชาติ
-ค.ศ.1919 จัดตั้งองกรค์แรงงานระหว่างประเทศ International Labor Organization
-ค.ศ.1948 WHO ตั้งกรรมการผู้เชี่ยวชาญร่วมมือทางด้านอาชีวอนามัยกับประเทศต่างๆทั่วโลก
-ค.ศ.1970 อเมริกามี พรบ.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย Occupational Safety and Health Act of 1970
-ค.ศ.1970 จาก พรบ.เกิดองค์กรขึ้นคือ Occuptional Safety and Health Administration : OSHA สำนักงานบริหาร
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และสถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ NIOSH : National Institute
for Occupational Safety and Health
-ค.ศ.1970 - ค.ส.1978 ประเทศต่างๆประกาศใช้กฎหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


2. ความเป็นมาของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในประเทศไทย

2401 จัดตั้งโรงสีไฟสำหรับสีข้าวขึ้นเป็นครั้งแรก

1.ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 2462
2.ประกาศใช้ พรบสาธารณสุข พ.ศ.2484
3.กรมอนามัยส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงานด้านอาชีวอนามัยในต่างประเทศ
4.คณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรอาชีวอนามัยในระดับปริญญาตรี
5.จัดตั้งกองอาชีวอนามัยขึ้นในกระทรวงสาธารณะสุข
6.ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มี.ค.2515 ให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบการ
ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป
7.จัดตั้งกองมาตรฐานแรงงาน กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย
8.คณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสาธารณะสุชศาสตร์
อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
9.จัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย
10.สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มสท. เปิดหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง2ปี เอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
เพิ่มเติม
11.พ.ศ.2535 รัฐบาลได้ออกกฏหมาย 4 ฉบับ ให้หาอ่านเพิ่มเติม คือ
- พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535
- พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
- พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
- พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
12.พ.ศ.2538 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ต้องการนายจ้างและลูกจ้างทำงานรวมกัน โดยตั้งคณะกรรมการความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
13.พ.ศ.2540 ออกกฏหมายเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง มีการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
ในระดับต่างๆจำนวนมาก
ปลาย พ.ศ.2540 สำนักงานมาตรฐานผลิตภันฑ์อุตฯ ไดกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คือ มอก.18000 และปรับปรุงเพิ่มในปี พ.ศ.2542
14.พ.ศ.2541ได้ออก พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และใช้เป็นกฏหมายแม่ในการออกกฏหมายอื่นๆตามมา
พศ 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงที่สำคัญ 2เรื่อง

1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเลียง

2. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการก้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พศ 2549

พศ 2550 กระทรวงแรงงานเตรียมออก พระราชบัญญัติอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นกฎหมายฉบับใหม่เพื่อ แยกกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ ศ 2541

1.1.3 บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกอบด้วยการผสมผสานและการร่วมมือของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน 7 ด้านดังนี้

1. ด้านความปลอดภัย ได้แก่ลูกจ้างที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ตามกฎกระทรวง2549

มีหลายระดับคือ ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคชั้นสูง และระดับวิชาชีพ ตามขนาดของกิจการ

2. ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม/อาชีวสุขศาสตร์ ได้แก่ นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมหรือนักสุขศาสตร์ซึ่งมีหน้าที่สืบค้น ตรวจวัด ประเมินอันตรายจากสิ่งแวดล้อม ความร้อน รังสี เสียงดัง ความสั่นสะเทือน ผุ่นละออง เพื่อป้องกันโรคจากการทำงาน

3. ด้านอาชีวนิรภัย ได้แก่ นักอาชีวอนามัยและวิศวกรความปลอดภัย ออกแบบเครื่องจักรกลให้มีความปลอดภัย

4. ด้านการยศาสตร์/เออร์โกโนมิกส์ หน้าที่ออกแบบปรับปรุงสภาพการทำงาน เครื่องมือ ท่าทางหรือวิธีการทำงาน

5. ด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรม แก้ไขปัญหาการทำงานโดยใช้หลักการทางจิตวิทยา การกระตุ้น ให้สิ่งจูงใจ สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี

6. ด้านอาชีวเวชศาสตร์ ได้แก่ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์/แพทย์อาชีวอนามัย พยาบาลอาชีวอนามัย ผู้ช่วยพยาบาล

มีหน้าที่ดูแลสุขภาพอนามัยของคนงาน การตรวจ วินิจฉัย การรักษาโรค

7. ด้านเวชศาสตร์พื้นฟู ได้แก่แพทย์เวชศาสตร์พื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักจิตบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ

1.1.4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

หน่วงงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในประเทศไทย

1. กระทรวงแรงงาน

1.1 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

1.1.1 กองตรวจความปลอดภัย

1.1.2 สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน

1.1.3 หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในสังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

1.2 สำนักงานประกันสังคม

1.2.1 สำนักงานกองทุนเงินทดแทน

1.2.2 ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน

1.2.3 สำนักงานประกันสังคมจังหวัด

2. กระทรวงอุตสาหกรรม

2.1 กรมโรงงานอุตสาหกรรม

2.1.1 สำนักทะเบียนโรงงาน

2.1.2 สำนักควบคุมและตรวจโรงงาน

2.1.3 สำนักเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน

2.1.4 สำนักควบคุมวัตถุอันตราย

2.1.5 สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย

2.1.6 ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม

2.2 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

3. กระทรวงสาธารณสุข

3.1 กรมควบคุมโรค

3.2 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

3.3 หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้แก่

3.3.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

3.3.2 โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป

3.3.3 โรงพยาบาลชุมชน

4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.1 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.2 กรมควบคุมมลพิษ

4.3 กรมทรัพยากรธรณี

5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกตร

6. สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุภัยแห่งชาติ (สำนักงาน ก ป อ)

7. กระทรวงมหาดไทย

7.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ)

7.2 กรุงเทพมหานคร

7.2.1 สำนักอนามัย

7.2.2 สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

7.3 เทศบาล งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม, งานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

หน่วยงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระหว่างประเทศ

1. องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) มี สำนักงานด้านอาชีวอนามัย ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำการศึกษาวิจัย พัฒนาวิธีการตรวจวัดประเมิน จัดส่งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ไปช่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ

2. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( International Labour Organization : ILO) ส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม

ความเป็นธรรมในการใช้แรงงาน การเพิ่มผลผลิต ยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของลูกจ้าง ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก

1.2 หลักการและแนวคิดในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1.2.1 ความหมาย ความสำคัญ และหลักการบริหาร

การบริหารหมายถึง กระบวนการเกี่ยวกับการวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากร การเป็นผู้นำ และการควบคุม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ โดยความร่วมมือของพนักงาน และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หน้าที่ของผู้บริหาร วางแผน(Planning) การจัดองค์กร(Organizing) การเป็นผู้นำ (Leading) (การสั่งการ , การประสานงาน)การควบคุมงาน (Controlling)

แนวคิดในการบริหาร มุ่งเน้นที่ วานเป็นหลัก, สิ่งที่บริหารเกิดประสิทธิผลสูงสุดตามศักยภาพที่มีอยู่, งานสำเร็จ, ผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูง, ผลการดำเนินงานดียิ่งขึ้นไป

กระบวนการบริหาร

1. การทบทวนสภาพการณ์เบื้องต้น

2. การวางแผน

3. การดำเนินงานตามแผน

4. การประเมินผลการดำเนินงาน

5. การนำสิ่งที่ได้จากการดำเนินงานไปใช้ประโยชน์

6. การติดตาม การประสานงาน และการควบคุม

7. การจัดการข้อมูลข่าวสาร

8. การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

1.2.2 แนวคิดในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ความหมายของการบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

หมายถึง กรรมวิธีเกี่ยวกับการวางแผน การจัดองค์กร การจัดการบุคคล การเป็นผู้นำ การควบคุม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่กำหนดขึ้น โดยความร่วมมือของพนักงานและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1.2.3 หลักการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. หลักทั่วไปในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1.1 คำนึงทั้งผลผลิตและความปลอดภัยควบคู่กัน

1.2 มีระบบการจัดการที่ดี

1.3 เน้นกลยุทธ์การป้องกัน

1.4 กำหนดขอบเขตการดำเนินงาน/กิจกรรมความปลอดภัยให้ครอบคลุม

1.5 มีการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

1.6 มีการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

1.7 มีระบบการประเมินวัดผล

1.8 มีวิธีการจูงใจพนักงาน

2. ข้อควรพิจารณาในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

แบ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นหัวข้อได้ 3 ประเด็น

1. การบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุเนื่องจากการประกอบอาชีพ เช่น การตกจากที่สูง ถูกสารเคมี อันตรายจากเครื่องจักร

2. โรคจากการประกอบอาชีพ เช่น โรคปอด โรคผิวหนัง

3. เหตุฉุกเฉิน เช่น เพลิงไหม้ การระเบิด สารเคมีรั่วไหล เป็นต้น

ในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงควรนึกถึงปัจจัยที่สำคัญ 8 ประการดังนี้

2.1 ความปลอดภัยเกี่ยวกัยสถานที่โครงสร้างอาคาร

2.2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดพลังงานต่าง ๆ

2.3 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

2.4 ความปลอดภัยเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้

2.5 ความปลอดภัยเกี่ยวกับลูกจ้าง

2.6 ความปลอดภัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2.7 การจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง

2.8 การกำหนดแผนป้องกันเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เช่นการระเบิด ไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล

1.3 นโยบาย แผนงาน และกิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1.3.1 นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ต้องเริ่มจากนายจ้างหรือผู้บริหารระดับสูงแสดงเจตนารมณ์ และมุ่งมั่นสนับสนุนงานด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ นโยบายเปรียบเสมือนทิศทางหรือแนวทางที่พนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความร่วมมือของผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ

1. ความสำคัญของนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การกำหนดนโยบายมรความสำคัญดังนี้

1.1 เป็นเครื่องยืนยังเจตนารมณ์ของนายจ้างเกี่ยวอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1.2 ช่วยให้เห็นภาพพจน์เด่นชัด เป็นแนวทางให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม

1.3 ทำใหพนักงานทุกระดับให้ความสำคัญกับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ปฏิบัติตาม เป็นแรงจูงใจและให้ความร่วมมือในการบริหารด้านความปลอดภัย

1.4 แสดงออกถึงความห่วงใยของนายจ้างต่อลูกจ้างก่ให้เกิดแรงงานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

1.5 ช่วยให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรและผลิตรภันฑ์หรือบริการขององค์กร

2. คุณลักษณะของนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

2.1 กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเนื้อหาชัดเจน กระชับ เข้าใจ ง่าย ลงนามกำกับโดยผู้บริหารระดับสูงสุด

2.2 ประกาศให้พนักงานทุกคนและผู้เกี่ยวข้องทราบโดยทั่วกัน และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

2.3 กำหนดภารกิจเรื่องความปลอดภัยให้มีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมทุกประเภทของงาน

2.4 กำหนดให้พนักงานทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมด้านความปลอดภัย

2.5 กำหนดมาตรการ กิจกรรม ติดตามประเมินผลให้เป็นไปตามนโยบาย

3. หลักการกำหนดนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มี 6 ประการคือ

3.1 คำนึงถึงข้อกำหนดกฎหมายและมาตรฐานต่าง ๆ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

3.2 คำนึงถึงการสร้างความร่วมมือในกิจกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานทุกระดับ ถือเป็นหัวใจสำคัญ

3.3 กำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับการผลิตและปัญหาต่าง ๆ

3.4 กำหนดข้อตกลงด้านความปลอดภัยให้ผู้รับเหมาช่วงต้องปฏิบัติ เพื่อดูแลความปลอดภัยของลูกจ้าง

3.5 คำนึงถึงการสร้างความสัมพันธ์/ความพึงพอใจของลูกค้าต่อความปลอดภัยของผลผลิต

3.6 มีการกำหนดจุดยืนด้านความปลอดภัยในตลาดการค้า เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม

1.3.2 แผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การวางแผนงาน คือ การเตรียมการไว้ล่วงหน้าสำหรับปฏิบัติ เป็นกระบวนการหนึ่งในการบริหาร โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการ และทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งผลที่ได้จากการวางแผนที่ดี คือ ได้แผนการทำงานที่แน่นอน ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

1. คุณลักษณะของแผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

แผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยโดยทั่วไปมักจัดทำเป็นรายปี โดยจัดทำแผนให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัท

แผนงานที่ดีควารระบุประเด็นสำคัญ จะทำอะไร , จะทำที่ไหน , จะทำเมื่อไร , จะทำโดยใคร , ทำไมจึงต้องทำและทำไมจึงเลือกทำวิธีนี้ , จะทำอย่างไร , จะใช้ทรัพยากรอย่างไร

2. หลักการกำหนดแผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2.1 ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ/มีส่วนร่วมในแผนงาน

2.2 ฝ่ายบริหารงานความปลอดภัยจัดแบ่งงานกระจายความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม

2.3 ระบุรายละเอียดของแผนงานชัดเจน เช่น วิธีการค้นหา การประเมิน และการควบคุมอันตรายจากสภาพการทำงาน

2.4 คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพรับผิดชอบแผนงาน

2.5 จัดประชุม หารือหรือซักซ้อมการปฎิบัติตามแผน

2.6 กำหนดให้หัวหน้างาน ชั้นต้น ชั้นกลาง ติดตามดูแลการปฏิบัติตามแผน รานงานอย่างสม่ำเสมอ

2.7 จัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติตามแผนงาน เพื่อปฏิบัติงานได้ถูกต้อง

2.8 ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม

2.9 ผู้จัดการในสายงานบังคับบัญชาและสายงานช่วยทราบหน้าที่รับผิดชอบและมรการกำหนดวิธีการประเมินหน้าที่

2.10จัดระบบเฝ้าระวัง/ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่บุคคล และการประสานงาน

2.11สนับสนุนด้านทรัพยากรการบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบได้เหมาะสม เช่น งบประมาณ เวลา บุคลากร เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ

3. กระบวนการบริหารแผนงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

อาจใช้แนวทางการบริหารแผนงานอย่างเป็นระบบโดยอาศัยวงจร PDCA ได้แก่ Plan วางแผน Do ปฏิบัติการตามแผน

Check ตรวจสอบผลการทำงานตามแผน Act แก้ไขปรับปรุง

1.3.3 กิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอกภัย

มีกิจกรรมหลากหลายแต่หลักการดำเนินงานทั่วไปจะคล้ายกัน เช่นดำเนินงานในรูปแบบและระบบที่สามารถวางแผนงานประเมินผลได้ และมีการจัดกิจกรรมหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยหลักตามที่กฎหมายกำหนด มีการกำหนดนโยบายความปลอดภัย กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรระดับต่าง ๆ การแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มอบหมายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยเต็มเวลา การรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ

การจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแบบยั่งยืน

ต้องดำเนินกิจกรรมครบทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่

1. การจัดตั้งองค์กรบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. การค้นหาสาเหตุของอันตรายในสถานที่ทำงาน

3. การป้องกันและควบคุมสาเหตุของอันตราย

4. การลดความสูญเสีย เช่น เฝ้าระวัง ปฐมพยาบาล ดำเนินงานแผนฉุกเฉิน

5. การวัดผล/ประเมินผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

1. การจัดนิทรรศการด้านความปลอดภัย

2. การบรรยายพิเศษด้านความปลอดภัย

3. การสนทนาความปลอดภัย

4. การตรวจสุขภาพและการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

5. การรณรงค์ให้พนักงานใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

6. การรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ด้วย (เค วาย ที Kiken Yoshi Training : KYT )

7. การจัดทำแผ่นป้ายแสดงสถิติอุบัติเหตุ

8. การติดโปสเตอร์และแผ่นป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย

9. การประกวดรายงานสภาพงานที่ไม่ปลอดภัย

10. การประกวดคำขวัญความปลอดภัย

11. การประกวดภาพถ่ายหรือโปสเตอร์ด้านความปลอดภัย

12. การจัดฉายวีดิทัศน์ความปลอดภัย

13. การกระจายเสียงบทความด้านความปลอดภัย

14. การเผยแพร่บทความในวารสาร

15. การตอบปัญหาชิงรางวัล

16. การทัศนศึกษาด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการอื่น ๆ

17. กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยอื่น ๆ เช่น แรลลี่ความปลอดภัย โต้วาที หรือแซววาทีในหัวข้อเกี่ยวกับความปลอดภัย

หน่วยที่2 การสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุ

2.1.1 ความหมายและความสำคัญของอุบัติเหตุ

นิยาม อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ได้มีการวางแผน ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้า หรือขาดการควบคุม ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต หรือทำให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพย์สิน หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือเกิดความเสียหายต่อสาธารณชน

เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่นนายแดงสะดุดสายไฟลื่นแต่ไม่ล้ม

อุบัติการณ์ (Incident) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดอุบัติเหตุ

เช่น นายแดงสะดุดสายไฟ ลื่นหกล้มมีแผลบาดเจ็บ

ความสำคัญของอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุอาจทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บ ทุพลภาพ หรือเสียชีวิต ย่อมก่อให้เกิดความสุญเสียต่อผู้ปฏิบัติงาน ครอบครัว ญาติพี่น้อง ผู้ร่วมงาน นายจ้าง ตลอดจนประเทศชาติ

2.1.2 ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ

1. ทฤษฏีโดมีโน (Domino Theory) เฮอร์เบิร์ต ดับเบิ้ลยู ไฮริคส์ ปลายคศ 1920 ศึกษารายงานการเกิดอุบัติเหตุพบว่าร้อยละ88 เกิดจากการการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ10 เกิดจากสภาพแวดล้อม ร้อยละ2 เกิดจากธรรมชาติเหนือการควบคุม เช่น พายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฮน์ริคส์ขันตอนการเกิดอุบัติเหตุออกเป็น 5 ลำดับดังนี้

1. ภูมิหลังของบุคคลและสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ขาดการคิดไตร่ตรอง ประมาท ชอบเสี่ยงอันตราย

2. ความบกพร่องของบุคคล เช่น ละเลยต่อการกระทำที่ปลอดภัย ตื่นเต้นง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ขาดความรอบคอบ

3. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย และ/หรือ สภาพเครื่องจักรหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย

4. การเกิดอุบัตติเหตุ (Accident) มีสาเหตุมาจากปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยข้างต้น

5. การบาดเจ็บ (Injury)

เหมือนเอาโดมิโนมาเรียงกัน ถ้าล้มโดมิโนตัวแรกสุดจะทำให้ตัวหลังล้มคืออุบัติเหตุเกิดขึ้น แต่ถ้าเราเอาโดมิโนตัวกลางการกระทำที่ไม่ปลอดภัยออกก็จะไม่มีอุบัติเหตุเกิด ขึ้น มีปัญหากับการนำไปใช้จริง แต่เป็นพื้นฐานของทฤษฏีอื่น ๆ

2. ทฤษฏีปัจจัยมนุษย์ (The Human Factor Theory) การเกิดอุบัติเหตุมาจากความผิดพลาดของมนุษย์ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมี 3 ปัจจัย

1. การรับภาระมากเกินไป (Overload) คือ ความไม่สมดุลของระยะเวลาที่กำหนดให้บุคคลปฏิบัติงานกับปริมาณงานที่ได้รับ

เช่น ความล้า ความเครียด ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เสียง อุณหภูมิ ปัจจัยทางด้านสถานการณ์ ระดับความเสี่ยงของงาน

2. การตอบสนองที่ไม่เหมาะสม (Inappropriate Response) หมายถึง การตอบสนองของบุคคลในการป้องกันอุบัติเหตุเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงบุคคลที่รับรู้ว่าเป็นอันตรายแต่ไม่ดาเนินการป้องกัน เช่น ถอดเซฟการ์ดออกจากเครื่องจักร

3. การกระทำที่ไม่เหมาะสม (Inappropriate Activities) หมายถึง บุคคลปฏิบัติงานเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง เช่น ลงมือปฏิบัติงานทั้งที่ไม่มีความรู้ในงาน ผิดพรากในการประเมินระดับความเสี่ยง

3. ทฤษฏีอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ (Accident/Incident Theory) ขยายเพิ่มมาจากทฤษฏีปัจจัยมนุษย์ โดยแดน ปีเตอร์เชน เพิ่มในเรื่ององค์ประกอบด้านการยศาสตร์ เช่น ขนาด แรงกด ระยะเอื้อม องค์ประกอบด้านอื่นๆ การตัดสินใจผิดพลาด ความล้มเหลวของระบบ หลักการบริหารในการป้องกันอุบัติเหตุ

4. ทฤษฏีระบาดวิทยา (Epidemiological Theory) มีองค์ประกอบสำคัญคือ

1. ลักษณะเฉพาะก่อนการจัดการ หมายถึง บุคคลหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมแต่เดิมก่อนเกิดเหตุการณ์ จะนำไปสู่อุบัติติเหตุ

2 . ลักษณะเฉพาะของสถานการณ์ หมายถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ประเมินความเสี่ยงแต่ละบุคคล แรงกดดันจากเพื่อนร่วมงาน การให้ความสนใจของผู้บังคับบัญชา

ตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่งเป็นคนวิตกกังวล และเครียดง่าย (ลักษณะเฉพาะก่อนการจัดการ) เมื่อได้รับแรงกดดัน(ลักษณะเฉพาะของสถานการณ์) จากหัวหน้างานให้ผลิตสินค้ามากขึ้น ใช้เวลาเท่าเดิม อาจทำให้วิตกจริตเครียดและเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าไม่มีแรงกดดันก็จะเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ

5. ทฤษฏีระบบ (System Theory) โดยอาร์ เจ ไฟเรนซีส์ โดยการเกิดอุบัติเหตุจะขึ้นอยู่กับลักษณะการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างองค์ ประกอบ 3 ด้านคือ คน อุปกรณ์หรือเครื่องจักร และสิ่งแวดล้อม

6. ทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุจากหลายสาเหตุ ( Multiple Causation Theory) ใน ค ศ 1971 แดนปีเตอร์เซน ได้เสนอแนวคิดว่าอุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่ได้มีสาเหตุมาจากสาเหตุเดียวแต่ เกิดจากสาเหตุร่วมกัน เมื่อสืบค้นลงไปจะพบว่าอุบัติเหตุมีผลมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยและขาด ประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย

ทฤษฎีนี้จะเห็นว่าถ้ามีระบบการบริหารการจัดการที่ดีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ก็จะลดลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเกิดขึ้นก็จะลดความสูญเสียได้มากเช่น มี การปฐมพยาบาล การระงับอัคคีภัยรองรับ

2.2 การสอบสวนอุบัติเหตุ

การสอบสวนอุบัติเหตุ คือ วิธีการค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ต้องดำเนินการหลังจากเกิดอุบัติเหตุโดยทันที โดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้พยานหลักฐานถูกลบเลือนเคลื่อนย้าย มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลรายละเอียดของการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำผลมาวิเคราะห์หาสาเหตุพื้นฐานและนำไปสู่มาตรการป้องกัน

การสอบสวนอุบัติเหตุมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อค้นหาสาเหตุพื้นฐานของการเกิดอุบัติเหตุและหาทางป้องกัน

2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์อุบัติเหตุ

3. เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ วางแผนงาน ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสม ปรับปรุงการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ปรับปรุงสภาพที่เป็นอันตราย ข้อมูลสำหรับหัวหน้างานในการสอนงานเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการป้องกัน อุบัติเหตุ ต่างๆให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา

4. นำแนวทางขยายผลในการควบคุมงานที่มีลักษณะคล้ายกัน

5. ใช้ประเมินผลของความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุที่มีอยู่

ลักษณะของอุบัติเหตุที่ต้องสอบสวน

มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น โดยทั่วไปจะต้องสอบสวนทุกกรณีไม่ว่าจะร้ายแรงหรือไม่ก็ตามเพราะมีจุดบกพร่อง เกิดขึ้นเพื่อที่จะหาทางป้องกันก่อนจะกลายเป็นอุบัติเหตุร้ายแรง

อุบัติเหตุที่ต้องสอบสวนแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ

1. อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน ทุพลภาพ เสียชีวิต เช่น ตกนั่งร้าน

2. อุบัติเหตุบาดเจ็บเล็กน้อยต้องการเพียงการปฐมพยาบาล เช่น ถูกมีดบาดมือ

3. อุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เครื่องจักร หรือวัตถุดิบ เช่นกล่องเก็บผลิตภัณฑ์ หล่นจากชั้นทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย

4. เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหายเช่น เดินสดุดสายไฟที่ลากสายอยู่บนพื้นแต่ไม่หกล้ม

หลักและวิธีการสอบสวนอุบัติเหตุ

1. ควรรีบดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุทันทีโดยเร็วที่สุด ป้องกัน พยานหลักฐานถูกทำลาย ลบเลือน

2. ตรวจสอบสังเกตข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บต้องให้การช่วยเหลือทันที หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายวัตถุพยานก่อนที่จะมีการบันทึกเหตุการณ์

3. ใช้ประสบการณ์จากการสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุในอดีตที่ผ่านมา ตั้งเป็นสมมุติฐาน สอบสวนวิเคราะห์หาสาเหตุ


บุคลากรผู้ที่ทำหน้าที่ในการสอบสวนอุบัติเหตุตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงคือ

1. จป หัวหน้างาน

2. จป เทคนิค

3. จป เทคนิคชั้นสูง

4. จป วิชาชีพ

หากมีความซับซ้อนสถานประกอบการอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสอบสวนพิเศษ

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการสอบสวนอุบัติเหตุ

กล้องถ่ายรูป ควรเป็นแบบฟิมส์ เพื่อป้องกันการตบแต่งภาพ , แป้นรองเขียน กระดาษ ปากกา ดินสอ แบบฟอร์มรายงาน ถุงมือ เครื่องบันทึกเสียง ไม้บรรทัด สายวัด เทปติดกระดาษ กล่องหรือภาชนะเก็บตัวอย่าง เข็มทิศ อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว เทปกระดาษสะท้อนแสง ป้ายแขวน

เทคนิคในการสอบสวนอุบัติเหตุ

เทคนิคในการโต้ตอบเหตุการณ์อย่างเหมาะสม

1.1 เข้าควบคุมสถานการณ์บริเวณที่เกิดเหตุทันทีที่ได้รับแจ้ง เพื่อหลักฐานต่าง ๆจะไม่ถูกทำลาย

1.2 การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บเบี้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล

1.3 การควบคุมไม่ให้ผลของความเสียหายจากอุบัติเหตุแผ่วงกว้างออกไป

1.4 เก็บรักษาหลักฐานในที่เกิดเหตุ ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สูญหายหรือถูกทำลาย

1.5 แจ้งผู้บริหารระดับสูงรับทราบข้อมูลเบื้องต้นก่อนจัดทำรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุอย่างละเอียด

เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐาน

1. การสัมภาษณ์ ซักถามข้อมูลจากผู้ประสบอุบัติเหตุและผู้เกี่ยวข้อง ควรเป็นส่วนตัว ระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ สร้างบรรยากาศไม่ให้เกิดความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ ชี้แจงว่าต้องการข้อมูลที่แท้จริงไม่ได้จับผิดหรือหาผู้กระทำผิด เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ถามย้อนกลับ ห้ามใช้คำถามนำ แต่ควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้พูดอธิบาย หลักในการถามคือ ใคร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม เหตุการณ์อะไร วิธีการป้องกันอย่างไร Who , Where , When , Why, What , How บันทึกข้อมูลและให้ผู้ถูกสัมภาษณ์อ่านเพื่อความเข้าใจตรงกัน

2. การวาดภาพเหตุการณ์ประกอบ

3. การถ่ายรูปหรือบันทึกภาพ

4. การแสดงซ้ำให้ดู

5. ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร

การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลฝึกอบรมของพนักงานเรื่องความปลอดภัย การใช้เครื่องจักร เครื่องมือ ข้อมูลการซ่อมบำรุงเครื่องมือเครื่องจักร รายงานการตรวจสอบความปลอดภัย ขั้นตอนปฏิบัติงาน

เทคนิคในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

แบ่งสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ เป็นปัจจัยด้านคน ปัจจัยด้านงาน เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย

เทคนิคในการกำหนดวิธีการแก้ไขและมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุ มาตรการด้านวิศวกรรม ด้านการศึกษา ด้านกฎหมาย แผนการแก้ไขปัญหาระยะสั้น คือ เร่งดำเนินการ เพื่อไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอืก เช่นใส่รองเท้าเซฟตี้

แผนการแก้ไขปัญหาระยะยาว เป็นการแก้ไขปัญหาอย่าถาวร การวางแผนที่ดี การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตโดยเครื่องจักรที่มีความปลอดภัย

เทคนิคการติดตามประเมินผล

1. ติดตามประเมินผลระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหา

2. ติดตามประเมินผลหลังจากนำมาตรการไปปฏิบัติแล้ว ประเมินเป็นระยะ

เทคนิคการบันทึกรายงานอุบัติเหตุ เป็นวิธีรวบรวมข้อมูล ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ ตลอดจนนำเสนอวิธีการควบคุมป้องกันแก้ไข

วิธีปฏิบัติในการสอบสวนอุบัติเหตุ

1. จป หัวหน้างานได้รับแจ้งอุบัติเหตุจากพยาน ผู้เห็นเหตุการณ์ หรือผู้ประสบเหตุ

2. จป หัวหน้างานและผู้ทำหน้าที่สอบสวนไปยังสถานที่เกิดเหตุสอบสวนอุบัติเหตุ

3. ทำการสอบสวน บันทึกคำให้สัมภาษณ์ของพยานและบันทึกลงในรายงานสอบสวนอุบัติเหตุ

4. ตรวจสอบความถูกต้อง จัดทำบันทึกรายงานการสอบสวน เสนอวิธีการแก้ไขไปยังผู้บริหาร

บันทึกรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ

1.รายละเอียดของผู้ประสบอันตราย/ อุบัติเหตุ ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว สังกัด อายุ เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ อายุงานที่ทำ งานที่ทำขณะเกิดอุบัติเหตุ

2. ความรุนแรงของอุบัติเหตุ ข้อมูลเกี่ยวกับผลของอุบัติเหตุที่มีต่อร่างกาย ระบุส่วนที่ได้รับอุบัติเหตุ

3. รายละเอียดการเกิดอุบัติเหตุ

4. ภาพประกอบ

5. การวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ

6. ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไข/ป้องกัน

7. หลักฐานและเอกสารประกอบ

8. ผู้สอบสวนอุบัติเหตุ

การวิเคราะห์อุบัติเหตุ

ความสำคัญของการวิเคราะห์อุบัติเหตุทำให้ทราบถึงลักษณะรูปแบบของ อุบัติเหตุ เพื่อค้นหาสาเหตุ หาแนวทางป้องกันหรือมาตรการเชิงรุกในการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิด ขึ้นในหน่วยงานได้

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์อุบัติเหตุ

1.เพื่อรวบรวมข้อมูลรายละเอียดการเกิดอุบัติเหตุ

2. เพื่อทราบถึงปัญหา ขนาดของปัญหา ผลกระทบ ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ

3. ชี้ให้เห็นความจำเป็นในการป้องกันแก้ไข

4. เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารและหัวหน้างานในการตรวจสอบความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมการทำงาน เนื่องการผลการวิเคราะห์จะจำแนกให้เห็นข้อมูลของการเกิดอุบัติเหตุอย่าง ละเอียด

5. เพื่อใช้ในการประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการด้านความปลอดภัย

แนวทางการวิเคราะห์อุบัติเหตุ

จะต้องระบุข้อมูลรายละเอียดของการเกิดอุบัติเหตุ ผลที่เกิดขึ้นกับสภาพร่างกายของผู้ประสบอันตราย ตลอดจนสาเหตุ

อ้างอิงตามรูปแบบของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

1. ลักษณะของการบาดเจ็บ

2. ส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บ

3. แหล่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ

4. ชนิดของอุบัติเหตุ เช่น ชน ถูกหนีบ ถูกแทง สูดดม ถูกดึง สัมผัส

5. สภาพที่เป็นอันตราย เช่นเครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์อันตรายที่เหมาะสม การออกแบบหน่วยงานไม่ปลอดภัย

6. สิ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ สสาร

7. ส่วนของสิ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่นขั้นบันได

8. การกระทำที่ไม่ปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐาน เช่นปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง ไม่ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย

9. ปัจจัยจากคน เช่น ความเครียด ทักษะความชำนาญ ความกดดัน

10. ปัจจัยจากงาน จากสิ่งที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน การควบคุมไม่เพียงพอ ออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักรไม่เหมาะสม

ผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์อุบัติเหตุ

บุคลากรหรือทีมที่สอบสวนอุบัติเหตุ

ขั้นตอนการวิเคราะห์อุบัติเหตุ

1. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของการเกิดอุบัติเหตุ

2. ทำการวิเคราะห์ลักษณะอุบัติเหตุตาม 10 หัวข้อ แนวทางการวิเคราะห์

3. เสนอแนะแนวทางวิธีการแก้ไข โดยใช้มาตรการทางวิศวกรรม การศึกษา และทางกฎหมาย ทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว

4. จดบันทึกรายงานการวิเคราะห์อุบัติเหตุ ลงในแบบบันทึกรายงานการวิเคราะห์อุบัติเหตุ

5. ส่งผลการวิเคราะห์ให้ผู้บริหารเพื่อจัดทำแผนงาน/ โครงการด้านความปลอดภัยและดำเนินการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

การประเมินค่าทางสถิติของอุบัติเหตุ

ค่าสถิติอุบัติเหตุมีความสำคัญคือ

1. เป็นข้อมูลหนึ่งที่สะท้อนให้ผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้อง ได้ทราบถึงสถานะความปลอดภัยของหน่วยงาน

2. ช่วยให้พนักงานเกิดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกรณีที่ข้อมูลค่าสถิติต่าง ๆมีแนวโน้มที่

สูงขึ้น

3. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในหน่วยงานความปลอดภัย

4. ใช้สรุปการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดของหน่วยงานในภาพรวม

วัตถุประสงค์ของการประเมินค่าสถิติอุบัติเหตุ ได้แก่

1.เพื่อสรุปผลข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนประเมินแนวโน้มของการเกิดอุบัติเหตุ

2. เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าสถิติอุบัติเหตุระหว่างหน่วยงาน

3. เพื่อประเมินการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของหน่วยงาน

4. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนงาน โครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

การคำนวณค่าสถิติอุบัติเหตุ

1. อัตราความถี่ของการประสบอันตราย (Injury Frequency Rate : IFR) หมาย ถึง จำนวนพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการปฎิบัติงานในช่วงระยะเวลา หนึ่งต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทำงาน มีหน่วยเป็นรายต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทำงาน

อัตราความถี่ของการประสบอันตราย

= จำนวนพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการปฎิบัติงาน X 1,000,000

จำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของพนักงาน

2 . อัตราความรุนแรงของการประสบอันตราย (Injury Severity Rate : ISR ) หมายถึง จำนวนวันหยุดงานทั้งหมดของพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการปฏิบัติ งานในช่วงระยะเวลาหนึ่งต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทำงานมีหน่วยเป็นวันต่อหนึ่ง ล้านชั่วโมงการทำงาน

อัตราความรุนแรงของการประสบอันตราย

= จำนวนวันหยุดงานจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงา น X 1,000,000

จำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของพนักงาน

3. ความรุนแรงของการบาดเจ็บโดยเฉลี่ย (Average Severity of InJuries : ASI ) หมายถึง ค่าที่เสดงถึงความรุนแรงของการบาดเจ็บของพนักงาน โดยพิจารณาจากพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บและเจ็บป่วยหนึ่งราย จะมีการหยุดงานโดยเฉลี่ยกี่วัน

= ISR วันต่อราย

IFR

ค่า Safe – T – Score STS เป็นวิธีทางสถิติที่นำมาใช้ทดสอบความแตกต่างของอัตราความถี่ของการบาดเจ็บใน อดีตกับปัจจุบัน ถ้า STS อยู่ระหว่าง +2.00 -.200 ค่าการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางสถิติหรืออัตราการประสบอันตรายปัจจุบันไม่แตก ต่างจากในอดีต

STS มากกว่า + 2.00 การเปลี่ยนแปลงปัจจุบันแย่กว่าอดีต

STS ตั้งแต่ – 2.00 ลงไป ข้อมูลทางสถิติ ปัจจุบันดีกว่าในอดีต

manasu

                                                                                                         หน่วยที่ 3 การบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสีย

ความสูญเสีย (Loss) หมายถึง ความสุญเปล่าของทรัพยากรต่างๆ ที่พึงหลีกเลี่ยงได้

การบริหารเพื่อควบคุมความสุญเสีย (Loss Control) หมายถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้ความสูญเปล่าของทรัพยากรในองค์กรต่ำที่สุด ซึ่งกิจกรรมจะครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันมิให้สัมผัสกับความ เสี่ยง(Prevention) การลดความเสี่ยง (Reduction) และการขจัดหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง(Elimination)

ความสำคัญของการควบคุมความสูญเสีย

Louis Allen กล่าวว่า ยิ่งลดความสูญเสียได้มากเพียงใด ก็ยิ่งเพิ่มผลกำไรมากขึ้น สรุปความสำคัญได้ดังนี้

1. การควบคุมความสูญเสียอย่างเป็นระบบ เป็นหลักประกันความเสี่ยงให้องค์กรมั่นใจ

2. ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ขององค์กร ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน

3. การควบคุมความสูญเสีย เป็นการสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญของทุกองค์กร

4. การควบคุมความสูญเสียจะทำให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการผลิตอย่างคุ้มค่า

การบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่ เป็นการบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสีย ซึ่งผู้บริหารทุกคนต้องเข้าใจในหลักการของการบริหารจะประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดการ(Organizing)การจัดหาและพัฒนาบุคลากร (Staffing) การอำนวยการ (Leading) และการควบคุม ( Controlling)บทบาทของผู้บริหารเปรียบเหมืองเฟืองของเครื่องจักร จะต้องหมุนก่อนที่จะทำให้การบริหารบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

ความแตกต่างระหว่างกราบริหารความปลอดภัยดั่งเดิมกับการบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่

การบริหารความปลอดภัยแบบดั่งเดิม

การบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่

1.งานด้านความปลอดภัยถูกมองว่าเป็นค่าใช้จ่าย

1.การดำเนินการด้านความปลอดภัยเป้นการลงทุน

จึงเห็นว่าไม่ควรจ่าย มองว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องปกติ

ที่สามารถให้ผลตอบแทนได้ ควบคุมความสูญเสียแล้วยังช่วยเพิ่มผลผลิต



2. ผู้บริหารมองว่าความปลอดภัยไม่ไช่หน้าที่ของตนเอง

2.ถือว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบ เป็นการบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสีย

โอนให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยรับผิดชอบ

ซึ่ง ผู้บริหารต้องแสดงบทบทาผู้นำ



3. เน้นการแก้ไขที่ผู้ปฏิบัติงาน มองว่าอุบัติเหตุเกิดจากผู้ปฏิบัติงาน

3. มุ่งเน้นการแก้ไขโดยการจัดระบบบริหารเพื่อควบคุมอย่างเป็นระบบ

มิไช่ความบกบร่องของผู้บริหารในการบริหารจัดการ

มีส่วนร่วม ทั้งองค์กร



4.ดำเนินการแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น

4. เน้นการป้องกัน โดยมีการประเมินความเสี่ยง วางแผนอย่างเป็นระบบ



5. มองความเสียหายแค่การบาดเจ็บ และทรัพย์สินเท่านั้น

5. มองว่าเสียหายทั้งหมด กระบวนการผลิต รวมชื่อเสียง ความเสียโอกาศ



6.วัดผลที่ Output เป็นหลัก มักจะดูที่สถิติอุบัติเหตุ

6.วัดที่ input กิจกรรม มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่

7. จป วิชาชีพรับผิดชอบ

7. รับผิดชอบทั้งหมด ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์กร

องค์ประกอบของการบริหารงานความปลอดภัยเพื่อควบคุมความสูญเสีย

1. แนวคิดของการบริหารงาน ( Management Concept)

เป็นการบริหารที่เน้นบทบาทของผู้บริหารทุกระดับ( All Management Level) เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงาน

- มุ่งเน้นของระบบการบริหารในสายการบังคับบัญชา

- การมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ประเมินผลที่เชื่อถือได้

- ค้นหาและจัดลำดับความวิกฤตของปัญหา จัดลำดับดำเนินการ

- มุ่งเน้นที่การป้องกันก่อนเกิดปัญหามากกว่าการแก้ไขเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น

- การบริหารควบคุมความสูญเสีย (Loss Control Management) เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการรวม (Total Management)

2. จัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) มีความจำเป็นเพื่อที่ผู้บริหารจะใช้กำหนดนโยบาย การวางแผน ใช้ในการตัดสินใจ โดยระบบสาระสนเทศ ต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ป้องกันข้อมูลสูญหาย เข้าถึงได้ง่าย และมีความทันสมัย

3. มีมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standard) อย่างน้อยต้องกำหนดว่า

- มีงาน/มีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องดำเนินการ ( What)

- ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในงาน/กิจกรรม (Who)

- งาน/กิจกรรม ดังกล่าวต้องดำเนินการเมื่อใด (When)

- มีความถี่บ่อยในการทำอย่างไร (How often)

4. มีระบบการประเมินวัดผล (Measurement and Evaluation System) มุ่งเน้นมาตรฐานที่สามารถวัดได้ ตรวจสอบและประเมินผลได้ว่างาน/กิจกรรม เป็นไปตามมาตรฐาน หรือต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบ

สาเหตุและผลของความสูญเสีย

- การศึกษาเกี่ยวกับอุบัติเหตุในวงการอุตสาหกรรมโดย Frank E Bird พบว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวการณ์ที่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย สามารถมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหาย อ้างอิงกับอัตราส่วน 1-10-30-600 คือ

บาดเจ็บรุนแรง – บาดเจ็บเล็กน้อย – ทรัพย์สินเสียหาย - อุบัติการณ์ที่ไม่มีการบาดเจ็บหรือเสียหาย

แบบจำลองสาเหตุและผลของความสูญเสีย

1. ความสูญเสีย ( Loss)

ความสูญเสียจากอุบัติเหตุ ได้แก่

1. ความสูญเสียโดยตรง (Direct Cost) ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเงินทดแทน ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ ค่าประกันชีวิต

2. ความสูญเสียทางอ้อม

- สูญเสียเวลาทำงาน

- ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักร

- วัตถุดิบหรือสินค้าที่ได้รับความเสียหายต้องโยนทิ้ง ทำลาย หรือขายเป็นเศษวัสดุ

- ผลผลิตลดลง เนื่องจากกระบวนการผลิตขัดข้อง หยุด ชะงัก

- ค่าสวัสดิการ – ค่าจ้างแรงงานที่ต้องจ่ายขณะผู้บาดเจ็บยังทำงานไม่ได้ – สูญเสียโอกาสในการทำกำไร

- เสียชื่อเสียง และภาพพจน์ของโรงงาน

2. อุบัติการณ์ (Incident) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนความสูญเสีย เช่น มีวัตถุที่ปลิว มีการส่งผ่านพลังงานเกินขีดจำกัดของร่างกาย

3. สาเหตุขณะนั้น ( Immediate Causes)

- การกระทำ/การปฏิบัติที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ถอดอุปกรณ์ป้องกันออก ใช้เครื่องมือชำรุด ผิดประเภท

- สภาพการณ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น สภาพแวดล้อมอันตราย การระบายอากาศไม่เพียงพอ อันตรายจากเสียง รังสี ฝุ่น อุณหภูมิร้อนหรือเย็นจัด

4. สาเหตุพื้นฐาน (Basic Cause) 2 ด้านคือ ปัจจัยจากคน ปัจจัยจากงาน

ปัจจัยจากคน

- ความสามารถทางร่างกาย/สรีรวิทยาไม่เหมาะสมหรือเพียงพอ เช่น ความสูง น้ำหนัก ระยะจับ ไม่เหมาะสม

- สภาพจิตใจ อารมณ์ไม่เหมาะสม/ไม่ เพียงพอ

- ร่างกายได้รับความกดดัน/ความเครียด

- มีความเครียดทางจิตใจ

- ขาดความรู้

- ขาดทักษะ/ความชำนาญ

- ขาดแรงจูงใจ หรือแรงจูงใจไม่เหมาะสม

ปัจจัยจากงาน

- ภาวะผู้นำหรือการควบคุมดูแลไม่เพียงพอ

- การควบคุมทางด้านวิศวกรรมไม่เพียงพอ

- การจัดหา จัดซื้อไม่เพียงพอ

- การบำรุงรักษาไม่เพียงพอ

- เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ

- มาตรฐานการทำงานไม่เพียงพอ

- การชำรุดสึกหรอมากเกินไป

- มาตรการต่อการปฏิบัติหรือการใช้ไม่ถูกต้อง

5.การขาดการควบคุม (Lack of Control)

- มีระบบไม่เพียงพอ

- มีมาตรฐานไม่เพียงพอ

- ขาดการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ระบบการบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่เพื่อควบคุมความสูญเสีย

ในการบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสียให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด มีแนวทางการดำเนินการที่สำคัญ 5 ขั้นตอน คือ

1. ค้นหา/ชี้บ่งความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด

2. ประเมินผลความเสี่ยงในแต่ละความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น มี 3 ตัวแปรคือ ความรุนแรง ความถี่

โอกาสที่จะเกิด

3. จัดทำแผนควบคุม

- ขจัดทิ้ง เป็นการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างสมบูรณ์ ขจัดออกไปจากขบวนการเช่น การใช้สารเคมีที่ไม่เป็นพิษแทนสารก่อมะเร็ง

- จัดการ อันตรายหลายอย่างสามารถจัดการแก้ไขและลดความเสี่ยงได้ เช่น การใช้ฉนวนความร้อนปิดคลุมท่อร้อน กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ข้อบังคับเพื่อป้องกันความสูญเสีย

- ยอมรับในความเสี่ยง จัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ หรือไม่จำเป็นที่ต้องจัดการถ้าความเสี่ยงนั้นพิจารณาแล้วยอมรับได้

- การถ่ายโอนความเสี่ยง เช่นการทำประกัน การรับเหมาช่วงต่อ

ในการวางแผนควบคุมจากแบบจำลองสาเหตุและผลของความสูญเสีย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน

1. การควบคุมก่อนการสัมผัส (Pre-Contact Control) เป็นขั้นตอนซึ่งรวบรวมเอาระบบ/กิจกรรมในการควบคุมความสูญเสียมุ่งเน้นในการ ป้องกันก่อนที่จะสัมผัสกับความเสี่ยง เช่น อบรม สร้างจิตสำนึก ตรวจสอบความปลอดภัย

2. การควบคุมเมื่อสัมผัส (Contact Control) เช่น การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

3. การควบคุมหลังการสัมผัส(Post-Contact Control) เป็นการดำเนินงานเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น ระบบกิจกรรมจะบรรเทาความสูญเสียให้ต่ำที่สุด เช่นการเตรียมการรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน การปฐมพยาบาล

4. การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ หลักที่สำคัญในการการบริหารงานคือ การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ตลอดจนกำหนดผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผน

5. การตรวจติดตามติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เป็นการตรวจวัดประเมินผล และให้ข้อแนะนำเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนา

กระบวนการในการบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่เพื่อควบคุมความสูญเสีย

กระบวนการในการบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสีย ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการจัดการ ในการจัดทำแผนควบคุม มี 5 ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมดังนี้

1. การระบุกิจกรรมควบคุมความสูญเสีย

2. กำหนดมาตรฐาน

3. การวัดผลการดำเนินงาน

4. การประเมินผล

5. การยกย่องชมเชย แก้ไข

กฎความจริงพื้นฐานสำหรับการบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสีย มี 12 ประการคือ

1. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มใจ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

2. การเสริมพฤติกรรม พฤติกรรมเชิงบวกมีแนว โน้มที่จะต่อเนื่องหรือเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการส่งเสริมอยู่เรื่อย

3. การตอบสนองซึ่งกันและกัน

โปรแกรม โครงสร้าง ความคิดเห็นต่างๆ จะเป็นจุดขายที่ดีถ้าเป็นสิ่งที่เชื่อมความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย

4. ตรงกับหัวหน้างาน การบริหารจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อมุ่งตรงไปจุดที่การปฏิบัติงานเกิดขึ้น

5. ผู้นำเป็นตัวอย่าง คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่ยึดถือผู้นำเป็นแบบอย่าง

6. สาเหตุพื้นฐาน การแก้ปัญหาจะมีประสิทธิผลมากกว่า ถ้าแก้ปัญหาที่ต้นตอหรือรากเหง้าของปัญหา

7. สิ่งวิกฤต ผลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่(ร้อยละ 80) มาจากสาเหตุแต่เพียงเล็กน้อย(ร้อยละ 20)

8. ผู้สนับสนุน การโน้มน้าวกลุ่มให้ตัดสินใจจะง่ายขึ้นถ้ามีผู้สนับสนุนอย่างน้อย 1 คนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

9. เป้าหมายและวัตถุประสงค์ แรงจูงใจที่ส่งผลสำเร็จจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อคนได้เข้าใจจุดหมายที่แท้จริง/วัตถุประสงค์ของงานที่ทำ

10. การผสมผสาน กิจกรรมใหม่ๆ หากผสมผสานกับระบบที่มีอยู่แล้ว โอกาสของการยอมรับและความสำเร็จย่อมมีมาก

11. การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จะเพิ่มแรงจูงใจและส่งเสริมการสนับสนุน

12. หลายสาเหตุ อุบัติเหตุและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมักมาจากหลายสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุเดียว

ระบบการบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่เพื่อควบคุมความสูญเสีย

1 แหล่งของความสูญเสีย โดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 แหล่งหลักคือ คน(People) อุปกรณ์ (Equipment)

วัสดุ (Material) และสภาพแวดล้อม (Environment)

2. ระบบการบริหารควบคุมความสูญเสีย เป็นที่นิยม 2 ระบบคือ ระบบ ISRS และ Total Loss Control System

2.1 ระบบ ISRS ( International Safety Rating System) พัฒนาโดย International Loss Control Institute

ของสหรัฐอเมริกา เป็นระบบที่มีแนวคิดในการควบคุมความสูญเสียทั้งทางด้านสุขภาพอนามัยความ ปลอดภัย ทรัพย์สิน กระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อมระบบนี้มีองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ 20 องค์ประกอบ

1) ภาวการณ์เป็นผู้นำและการจัดการ เน้นที่ผู้บริหารต้องเป็นตัวอย่างรับผิดชอบต่อการบริหารควบคุมความสูญเสีย

2) การฝึกอบรมผู้บริหาร เน้นการฝึกอบรมผู้บริหารทุกระดับ ตระหนักถึงความรับผิดชอบการบริหารควบคุมความสูญเสีย

3) การตรวจสอบตามแผน

4) การวิเคราะห์งานและการจัดทำข้อกำหนดการทำงาน

5) การสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์

6) การสังเกตการทำงาน

7) การเตรียมความพร้อมรับเหตุฉุกเฉิน

8) กฎระเบียบของหน่วยงาน

9) การวิเคราะห์อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

10) การฝึกอบรมพนักงาน

11) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

12) การควบคุมด้านสุขภาพอนามัย

13) ระบบการประเมินผลของการจัดการควบคุมความสูญเสีย

14) การควบคุมทางวิศวกรรม

15) การสื่อสารระหว่างบุคคล

16) การประชุมกลุ่ม

17) การส่งเสริมด้านความปลอดภัย

18) การจ้างและบรรจุเข้าในตำแหน่งงาน

19) การควบคุมการจัดซื้อ

20) ความปลอดภัยนอกเวลาทำงาน การรณรงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยนอกเวลาทำงาน

2.2 Total Loss Control Management System ระบบ นี้พัฒนาขึ้นโดย British Safety Council เป็นระบบการจัดการที่ใกล้เคียงกับระบบของ ISRS แต่แตกต่างกันที่รายละเอียด ระบบนี้ได้กำหนดปัจจัยที่ฝ่ายจัดการต้องใช้ เพื่อป้องกันความสูญเสียจากการบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายไว้ถึง 30 องค์ประกอบ

1) การมีส่วนร่วมของฝ่ายจัดการ

2) ผู้จัดการด้านการควบคุมการสูญเสีย เน้นความเป็นมืออาชีพ

3) ผู้จัดการด้านการควบคุมการสูญเสีย เน้นประสบการณ์ทางด้านวิชาการและเทคนิค

4) ผู้จัดการด้านการควบคุมการสูญเสีย เน้นด้านทักษะ อัจฉริยภาพ

5) การสอบสวนอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์

6) การตรวจสอบทางกายภาพของสถานประกอบการ

7) กฎหมาย นโยบาย รวมทั้งมาตรฐาน

8) การประชุมกลุ่มโดยฝ่ายบริหาร

9) คณะกรรมการความปลอดภัย

10) การส่งเสริม ทั่วไป

11) การป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

12) การฝึกอบรมหัวหน้างาน

13) การฝึกอบรมพนักงาน

14) การคัดเลือกและการจ้างงาน

15) ระบบเอกสารอ้างอิง

16) อาชีวอนามัยและสุขภาพอนามัย

17) การป้องกันเพลิงไหม้และการสูญเสีย

18) การวิเคราะห์อุบัติเหตุ

19) การสื่อสารระหว่างบุคคล

20) การวิเคราะห์ความปลอดภัยในการทำงาน

21) การสังเกตความปลอดภัยในการทำงาน

22) การจัดทำบันทึกและสถิติ

23) การปฐมพยาบาล

24) ความรับผิดชอบอันเนื่องมาจากผลิตภัณฑ์และการบริการ

25) ความปลอดภัยนอกเวลาทำงาน

26) การวิเคราะห์อุบัติการณ์

27) การขนส่ง เน้นการควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากการขนส่ง

28) การรักษาความปลอดภัย เป็นระบบที่เน้นการควบคุมความสูญเสียที่เกิดจากเจตภัย

29) การประยุกต์การยศาสตร์ เป็นการนำองค์ความรู้ด้านการยศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมความสูญเสีย

30) การควบคุมมลพิษและอุบัติเหตุร้ายแรง เป็นระบบเน้นการควบคุมมลพิษที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานและการกำหนดระบบ เพื่อการควบคุมอุบัติเหตุร้ายแรง

manasu

หน้าที่ หลัก ของงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย คือ

หน่วยที่ 4 ความปลอดภัยเชิงระบบ

1. ความเป็นมา ก่อนทศวรรษที่ 1940 การดำเนินงานด้านความปลอดภัยแบบลองผิดลองถูกเกิดเหตุแล้วแก้ไข เช่นเครื่องบินตกแล้วแก้ไข ตกอืกแล้วแก้ไขบินต่ออืก มีคำกล่าวว่าจึงมีคนในวงการบินกล่าวว่า บิน-แก้ไข – บิน (Fly-Fix-Fly)

-1962 กองทัพสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์ System Safety Engineering For the Development to Air Force Ballistic Missles

- 1963 กองทัพสหรัฐอเมริกา จัดพิมพ์ MIL-S-38130 General Requirements for Safety Engineering of System and Associated Subsystems and Equipment

- 1963 มีการก่อตั้งสมาคมเชิงระบบ (System Safety Society)

- 1966 กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ปรับปรุง MIL-S-38130 เป็น MIL-S-381308A

- 1969 มีการปรับปรุง MIL-S-38130 เป็น MIS-STD-882B System Safety Program Requirements

ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1970-1980 ความก้าวหน้าในการทำ System Safety ของหน่วยงานที่สำคัญๆ ยังคงเน้นหนักไปที่อุตสาหกรรมที่มีอันตรายร้ายแรง

- 1970 – NASA จัดทำเอกสาร NHB 1700 (V3) System Safety

- 1973 – Atomic Energy Commission (AEC) จัดทำเอกสาร MORT-The Management Oversight and Risk Tree

- 1974 – จัดตั้ง System Safety Development Center ศูนย์ดังกล่าวได้ปรับปรุงเพิ่มเติมให้ MORE มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

- 1970 มีหลายหน่วยงานความปลอดภัยเชิงระบบแตกต่างกัน AEC จึงปรับปรุงนำส่วนที่ดีมารวมกันให้ผู้รับเหมาช่วงนำไปใช้

- 1980 แนวคิดความปลอดภัยเชิงระบบถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไปโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมี

- 1985 สถาบันวิศวกรเคมีแห่งสหรัฐอเมริกา(American Institute Of Chemical Engineers: AICHE)ได้จัดทำเอกสาร

Guidelines of Hazard Evaluation Procedures ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ความปลอดภัยเชิงระบบหลายเครื่องมือ

อาทิ Hazard and Operability Study (HAZOP) Fault Tree Analysis (FTA)และ Failure Mode Effects, and Criticality Analysis (FMETA)

- ประเทศไทยพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก นิคมมาบตาพุต ได้นำเครื่องมืเหล่านี้มาใช้ เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ

- 2542 กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นความจำเป็นโรงงานที่มีอันตรายสูงต้องใช้เครื่องมือ เหล่านี้จึงออกกฎหมายบังคับใช้คือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 เรื่องมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงานที่ให้กำหนดหลักเกณฑ์ การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง

2. ความปลอดภัยเชิงระบบ มีความหมายว่า เป็นการดำเนินงานด้วยวิธีทางวิศวกรรมและบริหารจัดการที่จะวิเคราะห์ว่ามี อันตรายใดบ้างในระบบที่วิเคราะห์นั้น แล้วทำการป้องกันควบคุมอันตรายที่จะทำให้คนบาดเจ็บและ/หรือทรัพย์สินเสียหาย

3. ความสำคัญของความปลอดภัยเชิงระบบ

- ให้ความสำคัญกับการชี้บ่งอันตรายที่รอบด้านด้วยเครื่องมือหรือเทคนิคต่างๆ พิจารณาตลอดวงจรชีวิตของผลิตภันฑ์และโครงการ

- โรงงานที่นำความปลอดภัยเชิงระบบมาใช้ จะได้ความสมบูรณ์และบูรณาการ มาตรการเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ

- การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของโรงงานที่นำเรื่องความปลอดภัย เชิงระบบมาใช้จะมีขอบเขตความปลอดภัยมากกว่าแบบดั้งเดิมที่ยึดการปฏิบัติตาม กฎหมาย ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเท่านั้น

แนวคิดของความปลอดภัยเชิงระบบ

1.องค์ประกอบของระบบ (System)

2. การวิเคราะห์อันตรายตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์หรือโครงการ (Product or Project Lift Cycle) แบ่งออกเป็น 5 ระยะ

ระยะที่ 1 แนวคิด (Concept Phase) เป็นระยะของการพิจารณา ความต้องการผลิตภัณฑ์หรือโครงการ เช่นโครงการใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเพิ่มสายการผลิต แล้วนมากำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์โครงการ พรรณนาโครงการ กำหนดการออกแบบและผลลัพธ์ที่คาดหวัง

ระยะที่ 2 การออกแบบ (Design Phase) ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การวาดผัง (Drawing) วางแผนงาน

ระยะที่ 3 การผลิต (Production Phase) เป็นระยะการผลิตสิ่งที่ต้องการใหได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย

ระยะที่ 4 การดำเนินการ (Operations Phase) นำผลลัพธ์ที่ได้มาใช้งาน สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์เครื่อมือ หรือบริการ จะเห็นว่าการทำเรื่องความปลอดภัยเชิงระบบได้ผลอย่างไร ถ้าพบอันตรายก็ต้องปรับปรุงแก้ไข แต่จะแก้ไขยากกว่า ควรทำ3 ระยะแรกอย่างมีคุณภาพ

ระยะที่ 5 การกำจัด (Disposal Phase) กากผลิตภัณฑ์หรือของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องได้รับการวิเคราะห์ ควบคุมอันตรายด้วย

3.การประมาณระดับความเสี่ยง เป็นตารางที่ปรากฏในเอกสาร MIL-STD-882 B,1984 ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาใช้ในการระบุว่าอันตรายนั้นเป็นความเสี่ยงที่ ยอมรับได้หรือไม่ เรียกว่าดัชนีความเสี่ยง (Hazard Risk Index : HRI)

4. ลำดับของการควบคุม (System Safety Precedence) ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ วิธีการควบคุมอันตรายตาม MIL-STD-882 B1 1. ออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด

2. ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย

3. การใช้อุปกรณ์เตือนภัย

4. การจัดทำขั้นตอนการทำงาน (Procedure) และการฝึกอบรม

5. การยอมรับความเสี่ยง

การประยุกต์ความปลอดภัยเชิงระบบในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. ความแตกต่างระหว่างความปลอดภัยเชิงระบบกับการดำเนินการด้านความปลอดภัยแบบดั่งเดิม

- ความปลอดภัยแบบดั้งเดิม ทำงานแบบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาก็แก้ไขกัน เน้นระยะสั้นแก้ไขแบบเชิงรับ

- ความสมบูรณ์แบบรอบด้านและความเป็นระบบ(Comprehensive and Systematic) ในการจัดการกับอันตราย หากโรงงานดำเนินงานด้านความปลอดภัยทั่วๆ ไป ในการมองปัญหา (คือชี้บ่งอันตราย) จะมองเฉพาะอันตรายนั้นจะแก้ไข ป้องกัน และควบคุมอย่างไร แล้วตัดสินใจลงมือทำ ในขณะที่โรงงานดำเนินการตามหลักวิชาด้านความปลอดภัยเชิงระบบจะต้องมอง อันตรายที่มีตั้งแต่เริ่มการออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การทดสอบ (Test) การผลิต (Production) และกากของเสียที่เกิดขึ้น การทำเรื่องความปลอดภัยเชิงระบบต้องทำการวิเคราะห์อันตรายที่มีตลอดวงจร ชีวิตของระบบนั้นๆ

- เครื่องมือที่ใช้ชี้บ่งและวิเคราะห์อันตราย ทั่วไปแบบเดิมจะใช้ แบบตรวจความปลอดภัย แบบสำรวจหรือ Checklist

ความปลอดภัยเชิงระบบจะใช้เครื่องมือชี้บ่งอันตราย และเทคนิคการวิเคราะห์อันตรายที่สลับซับซ้อนกว่า บางเทคนิคต้องอาศัยทีมงาน

- การประมาณระดับความเสี่ยง

- การดำเนินงานในลักษณะทีมงาน

2. แนวทางประยุกต์เรื่องความปลอดภัยเชิงระบบในโรงงาน

1. ทำให้โรงงานเข้าใจหลักการพื้นฐานของความปลอดภัย นั่นคือ

- ผู้บริหารต้องมีเจตจำนง ที่จะมีการจัดการความปลอดภัยขึ้นในโรงงาน

- ความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบของสายงานหลัก เช่นสายการผลิต การชี้แนะ แนะนำของฝ่ายปลอดภัยถือเป็นสายงานสนับสนุน

- ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สร้างมูลค่าให้โรงงาน เนื่องจากการทำงานที่ปลอดภัยตั้งแต่แรกและทุกครั้งที่ทำงาน ย่อมมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดความสูญเสีย ลดการเกิดอุบัติเหตุ ก็ลดวันหยุดงานของพนักงาน ลดความสูญเสียในแง่การผลิตทั้งแรงงานและวัตถุดิบ

2. ทำการชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) ที่มีอยู่ในระบบ และต้องทำอย่างรอบคอบ

3.ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกต้องเหมาะสม และมีการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม

4. พัฒนาและขั้นตอนการดำเนินงาน (Procedure) ด้านความปลอดภัยเชิงระบบขึ้นในโรงงานและต้องผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของระบบการ บริหารของโรงงาน ปัจจุบันระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เป็นที่รู้จักในโรงงาน คือ มอก/OHSAS 18001

5. ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้และความสามารถในเรื่องความปลอดภัยเชิงระบบ

6. เฝ้าระวังและตรวจประเมินระบบ (Monitoring and Auditing) เพื่อความมั่นใจว่าการดำเนินงานด้านความปลอดภัยได้ดำเนินการตามแนวคิดของ ความปลอดภัยเชิงระบบ

เครื่องมือที่ใช้ในความปลอดภัยเชิงระบบ

Preliminary Hazard Analysis (PHA)

PHA นิยมทำเป็นตารางที่มีหัวข้อสำหรับการวิเคราะห์

ตัวอย่างการทำ PHP สำหรับการออกแบบงานกำจัดไขมัน (Vapor Degreaser) ที่ใช้คนยกเครนย้ายชิ้นงาน ผลการวิเคราะห์

อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันบ้างของแต่ละหน่วยงานแต่โดยหลัก ๆ แล้วหัวข้อสำหรับวิเคราะห์ PHP ประกอบด้วย

1. ลักษณะอันตราย

2. สาเหตุของอันตราย

3. ผลที่อาจเกิดขึ้น

4. ความรุณแรง โอกาสเกิด และค่าดัชนีความเสี่ยง

5. ข้อเสนอแนะวิธีป้องกัน

6. ผลที่ตามมาหลังทำตามข้อเสนอแนะนั้นๆ

ควรนำ PHA มาใช้ในระยะแนวคิดและระยะออกแบบ เพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจมีจากการผลิต ผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะได้หาทางป้องกันควบคุม หรือแก้ไขแบบก่อนที่จะดำเนินการในระยะอื่นต่อไป

PHL (Preliminary Hazard List : PHL) คือบัญชีรายการอันตรายเพื่อความคล่องตัวในการชับ่งอันตราย เช่น

รายการอันตราย

1. การชน/ ความเสียหายทางกล (Collision/Mechanical Damage)

2. การปนเปื้อน (Contamination)

3. การกัดกร่อน (Corrosion) เป็นต้น

Failure Mode and Effect Analysis FMEA

เป็นเทคนิคที่ใช้ใน Reliability Engineering ต่อมาจึงมีการนำมาใช้ในงานความปลอดภัยเชิงระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการชี้บ่งอันตรายด้วยการวิเคราะห์ว่าแต่ละส่วนของ ระบบจะมีโอกาสทำงานผิดพลาดได้อย่างไร (Failure Mode) และมีผลกระทบต่อทั้งระบบอย่างไร (Effect Analysis) แต่ละส่วนที่ทำการวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ เช่นปั๊ม วาล์ว ดังนั้นทีมที่ทำ FMEA จึงควรมีผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์อยู่ในทีมด้วย FMEA จะเน้นที่อุปกรณ์ ไม่ไช่เน้นที่คน ดังนั้นจึงไม่มีการวิเคราะห์เรื่องความผิดพลาดของคน (Human Failure)

ขั้นตอนการทำ FMEA

1. กำหนดอุปกรณ์ที่จะวิเคราะห์พร้อมรายละเอียด ทีมวิเคราะห์ FMEA ต้องพิจารณาจาก P&ID (Piping and Instrument Diagram ) หรือแผนภูมกระบวนการผลิต จัดทำรายการอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต พร้อมคำอธิบายเกี่ยวกับการทำงานอุปกรณ์นั้นๆ ควรกำหนดรหัสอุปกรณ์เพื่อสะดวกในการอ้างอิง เช่น ลิ้นโซลีนอยด์นิรภัยสำหรับไอน้ำร้อน รหัส V-123

2. พิจารณาความผิดพลาด (Failure Mode) ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่ง ต้องเป็นอุปกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นจริงของอุปกรณ์นั้นๆ เช่นลิ้นนิรภัยไม่เปิดทำงานเมื่อแรงดันเกิน หรือปั๊มจ่ายน้ำยังทำงานอยู่ทั้งที่มีสัญญาณให้หยุด

3. พิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดนั้น โดยพิจารณาไปทีละความผิดพลาด

4. กำหนดระดับความเสี่ยง โดยพิจารณาในประเด็นโอกาสเกิดและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

5. กำหนดวิธีป้องกัน โดยพยายามอิงวิธีทางวิศวกรรมหรือเทคโนโลยีเป็นสำคัญ

ตัวอย่างบางส่วนของการวิเคราะห์ FMEA ระบบจ่ายน้ำให้กับที่ล้างตาฉุกเฉิน

สรุป FMEA เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการชี้บ่งว่า อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้อยู่ในกระบวนการผลิตมีโอกาสจะทำงานผิดพลาดอะไรได้บ้างเช่น วาล์วอาจไม่เปิด (ทั้งที่มีสัญญาณแจ้งมาแล้ว) หรือวาล์วอาจปิดในขณะทำงานอยู่โดยไม่คาดคิด การทำ FMEA จึงต้องมีทีมงานที่มีความเข้าใจในเทคนิค FMEA และเข้าใจกระบวนการผลิตและการทำงานของอุปกรณ์

ขั้นตอนการทำ FMEA ทีมงานต้องทำการวิเคราะห์ความผิดพลาด ( Failure Mode) กำหนดระดับความเสี่ยงและกำหนดมาตรการป้องกันที่เน้นวิธีการทางวิศวกรรม หรือเทคโนโลยี

Fault Tree Analysis FTA

การวิเคราะห์แบบฟอล์ท ทรี เป็นวิธีหนึ่งของการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัย คิดค้นพัฒนาโดย W.A.W Watson พ ศ 2505

กองทัพอากาศสหรัฐขอให้ช่วยแก้ปัญหา เกิดการระเบิดของจรวด การชนกันของเครื่องบินบังคับ วิธีนี้ถูกนำไปใช้มากในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ และอุตสาหกรรมเคมี และต้องการความมั่นใจสูงว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน

ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ

1. รูปวงกลม (Circle) สัญลักษณ์ตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดจากความ บกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ของตัวมันเอง(Basic Fault Event) ไม่ต้องวิเคราะห์ต่อไปอีก เหตุการณ์อยู่ระดับต่ำสุด เช่น ดวงไฟสัญญาณไม่ทำงานเนื่องจากความเสื่อมสภาพของไส้หลอด

2. รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือรูปเพชร (Diamond) สัญลักษณ์ ของเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่อยู่ในตำเหน่งที่สูงกว่า เช่น เหตุการณ์ ข และ ค เป็นสาเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์ ก เหตุการณ์จะไม่ถูกวิเคราะห์ต่อไปอีก อาจจะไม่มีข้อมูลเพียงพอในการวิเคราะห์ขณะนั้นหรือเหตุการณ์นั้นไม่มีความ สำคัญ อย่างไรก็ตามผู้วิเคราะห์ตั้งใจจะวิเคราะห์ต่อไปอีกถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติม ตัวอย่างเหตุการณ์แบบนี้ เช่น ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ยินสัญญาณเตือนภัย

3.รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangle) สัญลักษณ์ตัวแทนของเหตุการณ์ที่เป็นผลจากเหตุการณ์หรือสาเหตุต่างๆ ที่อยู่ใต้ช่องทางผ่าน (Gate) ของมัน เหตุการณ์ที่อยู่ในลักษณะนี้จะต้องทำการวิเคราะห์ต่อไปเสมอ

4. แอนด์เกท (And Gate) แทนให้เห็นว่าเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น (คือผล-Effect or Output) เป็นผลเนื่องมาจากทุกเหตุการณ์ (Input) ที่เกี่ยวข้องที่เขียนอยู่ใต้ช่องทางผ่านของเหตุการณ์นั้น เช่น เหตุการณ์ A จะเกิดขึ้นได้ต้องมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ B1 , B2 …..และ Bn ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน แอนด์เกทนี้ใช้ตอบคำถามจำพวก เหตุการณ์อะไรบ้างที่ต้อง (Must) เกิดขึ้นจึงทำให้เกิดผลเช่นนี้

5.ออร์เกท (Or Gate) .ใช้แทนเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนี่งก็ได้อย่างนัอยหนึ่งเหตุการณ์

ใช้ตอบคำถาม เหตุการณ์ อะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดเหตุการณ์นี้

6. ทรานซ์เฟอร์เกท (Transfer Gate) ใช้แทนสัญลักษณ์หลีกเลี่ยงการวิเคราะห์ซ้ำ

7. อินฮิบิทเกท (Inhibit Gate) แทนการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นผล (Effect or Output) นั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นเงื่อนไข (Condition) หรือข้อจำกัด (Restriction) ที่เขียนอยู่ติดกับสัญลักษณ์นี้เกิดขึ้นมาด้วยควบคู่กับเหตุการณ์ที่เป็นตัว สาเหตุ (Input)

ขั้นตอนการสร้างโครงสร้างฟอล์ท ทรี

1. กำหนดและเลือกทอปอีเวนท์ ( Top Event) หัวข้อในการพิจารณาที่อันตรายมากที่สุด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

2. ประมวลหาสาเหตุ เริ่มสร้างฟอล์ท ทรี พิจารณาว่าทอป อีเวนท์มาจากสาเหตุอะไรบ้างใช้ความรู้ทางวิชาการ พิจารณาในเชิงตรรก ( Logic) เท่านั้น จึงจะทำให้ได้โครงสร้างที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ วิเคราะห์จากผลไปหาเหตุ คล้ายกับรากของต้นไม้

3. สาเหตุพื้นฐาน เป็นระดับใต้สุดของแต่ละสายของโครงสร้างฟอล์ท ทรี สาเหตุหรือ เหตุการณ์พื้นฐาน (Basic Fault Event) จะใช้สัญลักษณ์รูปวงกลมหรือรูปเพชรเท่านั้น

Event Tree Analysis ETA

คือการกำหนดเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย (Initiating Event) ที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือความผิดพลาดของมนุษย์ แล้วพิจารณาว่าในมาตรการความปลอดภัยที่มีอยู่จะสามารถจัดการได้หรือไม่หาก ได้หรือไม่ได้ ผลลัพธ์ที่ตามมาจะเป็นอย่างไรหากได้ (Success) หรือไม่ได้ (Failure)ก็วิเคราะห์ต่อ ถึงมาตรการความปลอดภัยที่ 2 ที่ 3 เป็นลำดับ เส้นแสดงการวิเคราะห์เส้นบนได้ผล เส้นล่างไม่ได้ผล

วิธีการวิเคราะห์ ETA

1. กำหนดเหตุการณ์เริ่มต้น ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์อันตราย(Hazard) สำคัญของการทำงาน ที่จะนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรง

2. กำหนดชี้บ่งมาตรการความปลอดภัย

3. จัดทำเส้นแสดงการวิเคราะห์

ตัวอย่าง การทำETA ที่ผู้วิเคราะห์ ได้กำหนดเหตุการณ์เริ่มต้นคือ การสูญเสียน้ำหล่อเย็นในเตาปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งทางโรงงานได้กำหนดมาตรการความปลอดภัยไว้ 3 มาตรการคือ

1) อุปกรณ์เตือนเรื่องอุณหภูมิสูงในเตาปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จะส่งเสียงเตือนผู้ปฏิบัติงานที่อุณหภูมิ x

2) ผู้ปฏิบัติงานจะปรับอัตราไหลของน้ำหล่อเย็นใหม่

3) ระบบปิดการทำงานโดยอัตโนมัติที่อุณหภูมิ y

HAZOP (Hazard and Operability Study) พัฒนาขึ้นในปี 1960 โดยบริษัท Imperial Chemical Industry (ICI)ประเทศอังกฤษ ในประเทศไทยนั้นวิธีการวิเคราะห์นิยมใช้ในโรงงานที่มีอันตรายมาก (Major Hazard Industries)

HAZOP เป็นวิธีหรือเทคนิคการชี้บ่งอย่างเป็นระบบถึงสิ่งที่จะเบี่ยงเบน (Deviation) ไปจากระบบหรือกระบวนการผลิตที่ได้จากการออกแบบระบบหรือกำหนดไว้แล้ว การวิเคราะห์ว่าจะเบี่ยงเบนหรือไม่ อย่างไร จะใช้วิธีกำหนดคำ เรีบกว่า Guide Words

ดังตาราง การทำ ZAZOP ต้องเป็นทีมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบที่จะวิเคราะห์ เข้าใจในรายละเอียดของแบบที่กำหนด (Design Requirement) และแผนไดอะแกรมแสดงท่อและอุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบ (Piping and Instrument Diagram : P&D และเข้าใจเทคนิคการทำ HAZOP

HAZOP Guide Words และความหมายของแต่ละคำ

ข้อมูลและแบบที่ใช้วิเคราะห์ HAZOP

1. แบบ P & ID

2. แผนผังโรงงาน

3. วิธีปฏิบัติงาน (Operation Procedure)

4. ผลการวิเคราะห์อันตรายและรายงานอื่นๆ

5. รายงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุในอดีต

6. พารามิเตอร์ขณะปฏิบัติงาน (Operating Parameter)

7. ข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์ (Equipment Specifications)

8. Instrumentation Set Parameters

9. ผลการทำ HAZOP ของระบบที่คล้ายกัน ตัวอย่าง ผลการทำ HAZOP สถานีบรรจุแอมโมเนีย

หน้าที่ หลัก ของงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย คือ

หน่วยที่ 5 การจัดการความเสี่ยง

ความเสี่ยง(Risk) เป็นคำที่มีใช้มานานแล้วแต่ในวงการของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน ประเทศไทยคำนี้ถูกใช้มากตั้งแต่ พ ศ 2540 เพราะโรงงานหลายแห่งนำมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18000 มาใช้ การจัดการความเสี่ยง เป็นเรื่องของการชี้อันตรายที่มีอยู่ในการดำเนินงานโดยการประมาณระดับความ เสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง รวมถึงการเฝ้าระวัง ตรวจประเมินและทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา

กรอบของการจัดการความเสี่ยง ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ต้องมี กรอบ (Frame Work) คือมีการชี้บ่งอันตราย ชี้บ่งความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และการควบคุมความเสี่ยงด้วยวิธีการต่างๆ กิจกรรมดังกล่าวต้องมีการในลักษณะวงจร (Cycle) ที่เคลื่อนหมุนอยู่เสมอ กิจกรรมเหล่านี้ต้องถูกเฝ้าระวังหรือตรวจสอบ ตรวจประเมิน ทบทวนอยู่เป็นประจำ

กรอบการจัดการความเสี่ยง

ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ผู้มีบทบาทโดยตรงในการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้มี 4 ส่วน คือ ส่วนของรัฐบาล ผู้ควบคุมกฎ หน่วยงานกำหนดมาตรฐาน และนายจ้าง ส่วนอื่นจะเป็นบทบาทโดยอ้อม เช่นสื่อมวลชน กลุ่มพลัง ประชาชน สหภาพแรงงาน ลูกจ้าง โรงงานอาจจะกำหนดค่าความเสี่ยงขึ้นมาเองโดยมีหน่วยงาน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน แต่ส่วนใหญ่โรงงานจะเลือกระดับความเสี่ยงที่หน่วยงานกำหนดมาตรฐานกำหนดเช่น มอก.18004: 2544

การรับรู้สัมผัสของความเสี่ยง (Risk Perception) Slovic ได้ทำการวัดหลายครั้ง 1984-1987 ระบุเป็นปัจจัย 2 ประการทีมีผลต่อการยอมรับความเสี่ยงของมนุษย์คือ น่ากลัว/ไม่น่ากลัว และ รู้/ไม่รู้ เสนอความสัมพันธ์ของทั้งสองปัจจัย สรุปว่า สิ่งใดที่อยู่ในปัจจัยของความไม่รู้และปัจจัยของความน่ากลัว จะเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ จำเป็นต้องมีกฎออกมาควบคุมความเสี่ยงนั้นๆ เช่น ขยะของเสียกัมมันตรังสีเป็นความเสี่ยงที่น่ากลัวและเป็นความเสี่ยงที่ไม่รู้ จึงต้องมีกฎที่ควบคุม ดังนั้นนักนักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจึงต้องมีความพยายามที่จะทำให้ ปัจจัยทั้งสองมาอยู่ในระดับของ รู้และไม่น่ากลัว เพื่อทำให้สิ่งหรือสถานการณ์นั้นอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมณะดับของ รู้และไม่น่ากลัว เพื่อทำให้สิ่งหรือสถาณการณ์งมีกฎที่ควบคุม

ำเป็นต้องมีกฎควบคุมะเป็นบทบาท

รับได้

การสื่อสารกับความเสี่ยง(Risk Communication) ประกอบด้วยผู้สื่อสาร ข่าวสาร และผู้รับสาร

ผู้สื่อสารต้องมีความน่าเชื่อถือ ข่าวสารต้องมีความชัดเจน ถ้าข่าวสารสร้างความกลัวมากเกินไปผู้รับสารจะรู้สึกว่าตัวเขาเองจะรับมือไม่ ได้และไม่สนองตอบต่อข่าวสารที่ได้รับ แต่ถ้าข่าวสร้างความกลัวน้อยเกินไป ผู้รับสารก็จะไม่ตอบสนองเพราะรู้สึกไม่น่ากลัว

นิยามคำศัพท์ที่สำคัญ

มาตรฐาน AS/NZS 4360 (Standards Australia) (Standards New Zealand) ได้นิยามคำศัพท์สำคัญดังนี้

อันตราย (Hazard) แหล่งของภัยอันตรายหรือสถาณการณ์ที่มีศักยภาพทำให้เกิดความสูญเสีย(เวลาจะจัดการความเสี่ยง ต้องเริ่มที่ชี้บ่งอันตรายให้ได้)

ความเสี่ยง (Risk) โอกาสที่บางสิ่งจะเกิดขึ้นซึ่งมีผลก ระทบต่อวัตถุประสงค์ ความเสี่ยงจะถูกวัดในด้านความเป็นไปได้ที่จะเกิดบางสิ่ง และความรุนแรง (บางสิ่งในนิยามนี้คืออันตรายหรือ Hazard นั่นเอง)

ความเป็นไปได้ (Likelihood) ใช้ในความหมายเชิงคุณภาพของโอกาสที่น่าจะเป็นไปได้ และความถี่

โอกาสที่น่าจะเป็นไปได้ (Probability) ความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลลัพธ์เฉพาะ แสดงเป็นตัวเลข 0 ถึง 1 1 เกิด 0 ไม่เกิด
ความถี่ (Frequency) การวัดความเป็นไปได้ แสดงในรูปจำนวนของการเกิดเหตุการณ์ในช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้

ความรุนแรง (Consequence) ผลลัพธ์ของเหตุการณ์หรือสถาณการณ์ที่แสดงออกมาในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ อาจเป็นผลลัพธ์ที่เป็นการสูญเสีย การบาดเจ็บ

การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) การประยุกต์อย่างเป็นระบบในการใช้นโยบายการจัดการขั้นตอนการดำเนินงาน และการปฏิบัติ เพื่อชี้บ่ง วิเคราะห์ ประเมิยผล แก้ไข และเฝ้าระวังความเสี่ยงที่มีอยู่ในงานหนึ่งๆ

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) กระบวนการทั้งหมดของการวิเคราะห์ความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยง

การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) การใช้ข้อมูล ข่าวสารที่มีอยู่อย่างเป็นระบบเพื่อพิจารณาหรือกำหนดว่าเหตุการณ์นั้นๆ จะเกิดขึ้นบ่อยเพียงได และขนาดความรุนแรงของเหตุการณ์นั้นๆ

การบำบัดความเสี่ยง (Risk Treatment) การเลือกและการดำเนินการของวิธีที่เหมาะสมสำหรับการดูแล ความเสี่ยง หมายถึงการควบคุมความเสี่ยงด้วย (

การควบคุมความเสี่ยง (Risk Control) เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความเสี่ยงที่จะกำจัด หลีกเลี่ยง หรือลดความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญอยู่

การลดความเสี่ยง (Risk Reduction) การคัดเลือกเทคนิคที่เหมาะสมและหลักการจัดการในการลดความเป็นไปได้และ/หรือความรุนแรงของเหตุการณ์

การคงความเสี่ยง (Risk Retention) การตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะคงไว้ซึ่งความรับผิดชอบต่อความเสี่ยงหรือความสูญเสียทางการเงินภายในองค์กร

การย้ายความเสี่ยง (Risk Transfer) การย้ายความรับผิดชอบไปยังองค์กรอื่นผ่านทางกฎหมาย การตกลง (สัญญา) การประกันภัย

การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) การตัดสินใจที่แจ้งไว้ ที่จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถาณการณ์ความเสี่ยง

การเฝ้าระวัง (Monitor) การตรวจ การแนะนำ การสังเกตอย่างละเอียด หรือการบันทึกความก้าวหน้าของกิจกรรม การกระทำ หรือของระบบบนพื้นฐานการทำงานตามปกติเพื่อนำไปสู่การชี้บ่งการ เปลี่ยนแปลง(ที่จะเกิดขึ้น)

การพัฒนาระบบและข้อกำหนดการจัดการความเสี่ยง

การพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยง โรงงานที่สนใจจะพัฒนาระบบจัดการความเสี่ยงต้องพิจารณาถึงสิ่งจำเป็นหรือกิจกรรม

คือ นโยบายจัดการความเสี่ยง องค์กร การทบทวนการจัดการ และการดำเนินการโปรแกรมต่างๆ

1. นโยบายการจัดการความเสี่ยง ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เจตจำนง

2. องค์กร ( Organization)

- การแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหาร - การกำหนดความรับผิดชอบและอำนาจ – การชี้บ่งและจัดหาทรัพยากร

3. การทบทวนการจัดการ (Management Review) ผู้บริหารระดับสูงต้องทบทวนการจัดการความเสี่ยงเป็นระยะเพื่อสร้างความ มั่นใจ อาจเพิ่มคณะบุคคลมาร่วมทำ เช่น คณะกรรมการความปลอดภัย คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม

4. การดำเนินโปรแกรม ในมาตรฐาน AS/NZS 4360 โปรแกรมจัดการความเสี่ยง 6 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนานโยบายการจัดการความเสี่ยงขององค์กร

- วัตถุประสงค์ของนโยบาย และหลักการเหตุผลของการจัดการความเสี่ยง

- ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายการจัดการความเสี่ยงขององค์กร

- ขอบเขตของความครอบคลุมของนโยบาย

- แนะนำว่าอะไรที่อาจถือเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้

- ผู้รับผิดชอบ

- การสนับสนุนผู้รับผิดชอบ

- ระดับของเอกสารที่ต้องการ

- แผนสำหรับการทบทวนผลการปฏิบัติตามนโยบาย

ขั้นตอนที่ 3 การสื่อสารนโยบาย

ขั้นตอนที่ 4 การจัดการความเสี่ยง ณ ระดับองค์กร

ขั้นตอนที่ 5 การจัดการความเสี่ยงที่ระดับโปรแกรม โครงการ และทีมงาน

ขั้นตอนที่ 6 การเฝ้าระวังและการทบทวน

ข้อกำหนดและกระบวนการจัดการความเสี่ยง มาตรฐานAS/NZS 4360: 1998 ประกอบด้วยข้อกำหนดหลัก 6 ข้อ

แต่ละข้อจะมีความสัมพันธ์ในเชิงกระบวนการจัดการความเสี่ยงตามภาพข้างล่าง นี้ คือเริ่มจากการกำหนดบริบทของการจัดการความเสี่ยง แล้วตามด้วยการชี้บ่งความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การประเมินผลและจัดลำดับความเสี่ยงและการบำบัดความเสี่ยง ในขณะเดียวกันในทุกๆ ข้อกำหนดจะมีการเฝ้าระวังและการทบทวนการดำเนินการควบคู่กันไปด้วย

กระบวนการจัดการความเสี่ยง

การกำหนดบริบทควรมีการกำหนดบริบทให้ชัดเจนถึงความ สัมพันธ์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบระหว่างโรงงานและสิ่งที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเป็น เศรษฐกิจ สังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แผนพัฒนาองค์กร สิ่งแวดล้อม บริบทที่ควรกำหนดและพิจารณาแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ

1. การกำหนดบริบทด้านยุทธศาสตร์ ผู้บริหารต้องกำหนด ความสัมพันธ์ชัดเจนโรงงานกับสิ่งแวดล้อม อาจมีการทำ SWOT Analysis เพื่อทบทวนจุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและสิ่งคุกคาม จะทำให้โรงงานมองเห็นความเสี่ยงให้ครอบคลุม ได้แก่ องค์กร เจ้าของ บุคลากร ลูกค้า ผู้รับเหมา ผู้ส่งมอบ ชุมขนท้องถิ่น และสังคมโดยรวม บริบทที่ควรพิจารณาได้แก่ 1) การเงิน

2) การปฏิบัติการ 3) การแข่งขัน 4) การเมือง ( การยอมรับของสาธารณะ ภาพพจน์) 5) สังคม 6) วัฒนธรรม 7) กฎหมาย

2. การกำหนดบริบทด้านองค์กร โรงงานศึกษาตนเองให้เข้าใจก่อนดำเนินงานจัดการความเสี่ยงเหตุผลสำคัญคือ

1. การจัดการความเสี่ยงเป็นการป้องกันความล้มเหลวที่จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

2. นโยบายและเป้าหมายองค์กร จะช่วยทำให้สามารถกำหนดเกณฑ์ได้ถูกต้องเหมาะสมว่าความเสี่ยงนั้นๆ สามารถยอมรับได้หรือไม่

3 . การกำหนดบริบทด้านการจัดการความเสี่ยง

1. กำหนดความชัดเจนของโครงการและกิจกรรม รวมถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2. กำหนดขอบเขตความครอบคลุม ของโครงการ ระยะเวลา และสถานที่

3. ชี้บ่งความต้องการการศึกษาอื่นๆที่จำเป็น เช่นทรัพยากรที่ต้องใช้ในโครงการนี้ แหล่งของความเสี่ยงที่จะมี ผลกระทบของความเสี่ยงนั้นๆ

4. บทบาทความรับผิดชอบของส่วนอื่น ๆ ในองค์กร ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง

5. ความสัมพันธ์ระหว่างโครงการนี้กับโครงการอื่นๆ หรือส่วนอื่นๆ ขององค์กร

4. การกำหนดเกณฑ์เพื่อการประเมินผลความเสี่ยง พิจารณากำหนดเกณฑ์ (Criteria) เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นแต่ละโรงงานจะมีความแตก ต่างกันเพราะ มีนโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ วัฒนธรรม องค์กร ตลอดจนความสนใจของผู้มี่ส่วนได้ส่วนเสียแตกต่างกัน และนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นปัจจัยในการพิจารณาด้วยคือ การปฏิบัติการ (Operation) เทคนิค การเงิน กฎหมาย สังคม ความเป็นมนุษย์ และอื่น ๆ

5. การกำหนดโครงสร้าง การกำหนดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ให้แยกเป็นหมวดหมู่หรือโครงสร้างที่ชัดเจน จะทำให้การชี้บ่งและวิเคราะห์สามารถทำได้อย่างดี

การชี้บ่งความเสี่ยง เป็นเรื่องที่สำคัญดำเนินการทุกๆความเสี่ยง ที่มีให้จัดทำเป็นรายการความเสี่ยงรวมถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ด้วยควรใช้ เทคนิคและการชี้บ่งที่เป็นระบบเช่น แบบตรวจสอบ (Checklist) , Event Tree, FMEA, FTA, HAZOP

ตัวอย่างของอันตรายที่อาจพบในโรงงาน

1. สถานการณ์หรือสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

1) เครื่องจักร เครื่องมืออยู่ในสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

2) เครื่องจักรไม่มีการ์ด

3) พื้นที่ทำงานคับแคบเกินไป

4) บริเวณที่ทำงานขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย

5) เสียงดังมาก

6) แสงสว่างไม่เพียงพอ

7) สถานที่ทำงาน (Work Station) ไม่เหมาะสมกับขนาดร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน

8) มีสารไวไฟอยู่ใกล้กับแหล่งความร้อน

9) มีบริเวณที่อับอากาศ

10) สายไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น

2. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย

1) ใช้เครื่องมือ เครื่องจักรโดยไม่มีความรู้ โดยไม่มีหน้าที่

2) ใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่ไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน

3) ยกของผิดวิธี

4) ไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

5) สภาพร่างกาย/จิตใจไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ เป็นต้น

การจัดประเภทของอันตรายจัดเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

1. อันตรายที่มาจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เช่น -สารเคมี อนุภาค(ฝุ่นไอระเหย ควัน เส้นใย) ก๊าซ ไอระเหย

- อันตรายจากทางกายภาพ เช่น เสียงดัง การสั่นสะเทือน อุณหภูมิ (ร้อน เย็น) แสง (สว่าง มืด )การแผ่รังสี

- จากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาค คือเชื้อโรคต่างๆ เช่นไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา

- อันตรายจากเออร์โกโนมิกส์ เช่น อุปกรณ์เครื่องมือไม่เหมาะสม พื้นที่ทำงานคับแคบ ภาระงานมากเกินไป ท่าทางการทำงานไม่ถูกต้อง

2. อันตรายจากเครื่องจักรเครื่องมือ เช่น ไม่มีเซฟการ์ด ถูกถอด ออกแบบไม่ดี มีจุดหนีบ เครื่องมือชำรุด เครื่องมือขนาดไม่พอเหมาะ

3. อันตรายจากโครงสร้างอาคารไม่แข็งแรง

4. อันตรายจากพื้นและบริเวณที่ไม่มีสิ่งปิดกั้น เช่น พื้นลื่น พื้นเป็นหลุม ไม่เรียบ ชั้นลอยไม่มีลูกกรงกั้น

5. อันตรายจากไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด สายไฟฟ้าเปลือย ไม่มีสายดิน ใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง

6. อันตรายจากอัคคีภัย สารเคมีไวไฟ แหล่งความร้อนใกล้กับสารไวไฟ

7. อันตรายจากวัสดุ (Material) เช่นสารไวไฟ วัตถุอันตราย มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นสารกัมมันตรังสี

8. อันตรายจากการขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย

9. อันตรายจากการขนย้ายวัสดุที่ไม่ถูกต้อง การจัดเก็บวัสดุไม่ถูกต้อง

10. อันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศหรือในบรรยากาศที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่นมีก๊าซพิษมาก ออกซิเจนน้อย

11. อันตรายจากฟ้าผ่า เป็นต้น

การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการประเมินผลความเสี่ยง

การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) เป็นการประมาณระดับความเสี่ยงว่ายอมรับได้หรือไม่ได้มีการวิเคราะห์เชิง คุณภาพและเชิงปริมาณในโรงงานที่มีอันตรายมากจะใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณจะ แม่นยำกว่า

1.การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพของ มาตรฐาน SA/SNZ 4360 ( Standards Australia/Standards New Zealand) มีวิธีวิเคราะห์ ดังนี้

1.1 ความเป็นไปได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ

ระดับ

Descriptor

ความหมาย

A

มีความเป็นไปได้มาก

เหตุการณ์นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในกรณีต่างๆ

B

มีความเป็นไปได้

เหตุการณ์นี้เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในกรณีต่างๆ

C

มีความเป็นไปได้ปานกลาง

เหตุการณ์อาจเกิดขึ้นบางครั้ง

D

มีความเป็นไปได้น้อย

เหตุการณ์อาจเกิดขึ้นได้ในบางครั้ง

E

มีความเป็นไปได้น้อยมาก

เหตุการณ์อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีพิเศษเท่านั้น

1.2 ความรุนแรง แบ่งออกเป็น 5 ระดับ

ระดับ

Descriptor

ความหมาย

1

ไม่รุนแรง

ไม่เกิดการบาดเจ็บ สูญเสียด้านเงินน้อย

2

เล็กน้อย

ปฐมพยาบาล มีการรั่วไหลภายในโรงงาน สูญเสียเงินปานกลาง

3

ปานกลาง

ได้รับการรักษาทางการแพทย์ มีการรั่วไหลภายในโรงงาน และต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอก

4

มาก

บาดเจ็บรุนแรงมาก สูญเสียความสามารถในการผลิต มีการรั่วไหลสู่ภายนอกแต่ไม่เกิดอันตราย สูญเสียเงินมาก

5

ความหายนะ

ตาย มีการรั่วไหลสู่ภายนอกเกิดเป็นอันตราย สูญเสียเงินมหาศาล

1.3 ระดับความเสี่ยง เป็นผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้กับความรุนแรง

ความเป็นไปได้

ความรุนแรง

1-ไม่รุนแรง

2-เล็กน้อย

3-ปานกลาง

4-มาก

5-ความหายนะ

A-มีความเป็นไปได้มาก

S

S

H

H

H

B-มีความเป็นไปได้

M

S

S

H

H

C-มีความเป็นไปได้ปานกลาง

L

M

S

H

H

D-มีความเป็นไปได้น้อย

L

L

M

S

H

E-มีความเป็นไปได้น้อยมาก

L

L

M

S

S

ความหมาย

H = ความเสี่ยงสูงมาก (High Risk) ผู้บริหารระดับสูงต้องการการวิจัยและวางแผน การจัดการ

S = ความเสี่ยงสูง (Significant Risk) ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสนใจ

M = ความเสี่ยงปานกลาง (Moderate Risk) ต้องมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของระดับบริหาร

L = ความเสี่ยงต่ำ (Low Risk) มีการจัดการด้วยขั้นตอนการดำเนินงานตามปกติ

2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพของ สมอ. และ BSI( British Standard Institute)

ในมาตรฐาน มอก . 18004 : 2544 มาตรฐาน BS 8800: 1996 และมาตรฐาน OHSAS : 1999 เสนอแนะวิธีวิเคราะห์ความเสี่ยงดังนี้

2.1 โอกาสที่จะเกิดแบ่งเป็น 3 ระดับ คือไม่น่าจะเกิด เกิดขึ้นได้น้อย และเกิดขึ้นได้มาก ประเด็นที่ใช้ในการพิจารณา เช่น คน ความถี่และช่วงระยะเวลาสัมผัสอันตราย การสัมผัส การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ความล้มเหลวระบบสาธารณูปโภค

2.2 ความรุนแรง แบ่งเป็น 3 ระดับคือ อันตรายเล็กน้อย อันตรายปานกลาง อันตรายร้ายแรง พิจารณาความรุนแรงดังนี้

1) ส่วนของร่างกายที่ได้รับผลกระทบ

2) ลักษณะของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย โดยเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก

- การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยขั้นปฐมพยาบาล

- การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยแต่ไม่สูญเสียอวัยวะหรือพิการ

- การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยร้ายแรง สูญเสียอวัยวะ พิการ ทุพลภาพ หรือ เสียชีวิต

กรณีทรัพย์สินเสียหายควรพิจารณาทั้งทางตรงและทางอ้อม

2.3 ระดับความเสี่ยง

โอกาสที่จะเกิด

ระดับความรุนแรงของอันตราย

อันตรายเล็กน้อย

อันตรายปานกลาง

อันตรายร้ายแรง

ไม่น่าจะเกิด

ความเสี่ยงเล็กน้อย

ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ความเสี่ยงปานกลาง

เกิดขึ้นได้น้อย

ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ความเสี่ยงปานกลาง

ความเสี่ยงสูง

เกิดขึ้นได้มาก

ความเสี่ยงปานกลาง

ความเสี่ยงสูง

ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้

3.การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ประเมินความเสี่ยงตามกฎหมาย โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

3.1 พิจารณาถึงโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากน้อยเพียงใด แบ่งเป็น 4 ระดับ

3.2 พิจารณาถึงความรุนแรง ผลกระทบ ต่อ คน ชุมชน ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 4 ระดับ

3.3 จัดลำดับความเสี่ยง โดยพิจารณาถึงผลลัพธ์ของระดับโอกาส คูณกับ ระดับความรุนแรงทีมีผลกระทบต่างๆ แบ่งเป็น 4 ระดับ

สรุป การวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นการประมาณระดับความเสี่ยงว่าอยู่ในระดับที่ ยอมรับได้หรือไม่ หากยอมรับได้แสดงว่ามาตรการ/วิธีการควบคุมที่มีอยู่เพียงพอแล้วต่อการจัดการ ความเสี่ยงนั้น สิ่งที่ต้องดำเนินการคือการรักษา (Maintain) ให้มาตรการ/วิธีการเหล่านั้นมีการปฏิบัติจริง กรณีผลวิเคราะห์พบว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ โรงงานต้องหาทางจัดการด้วยวิธีการต่างๆ คือการบำบัดความเสี่ยง

การบำบัดความเสี่ยง การเฝ้าระวังและการทบทวน

การบำบัดความเสี่ยง (Risk Treatment) เป็นขั้นตอนในกระบวนการจัดการความเสี่ยงที่ผู้รับผิดชอบจะต้องดำเนินการตามลำดับดังนี้

1) ทางเลือก (Options) ต่างๆที่จะนำมาจัดการกับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้

2) ทำการประเมินทางเลือกเหล่านี้เพื่อได้ทางเลือกที่เหมาะสม

3) จัดเตรียมแผนงาน

4) ลงมือดำเนินการบำบัดความเสี่ยงตามแผน

กระบวนการบำบัดความเสี่ยงประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ

1. ชี้บ่งทางเลือกการบำบัดความเสี่ยง

1.1 หลีกเลี่ยงความเสี่ยง คือยกเลิกโครงการนั้นๆ

1.2 เคลื่อนย้ายความเสี่ยงไปให้คนอื่น เช่น การทำประกันภัย ย้ายโครงการไปสถานที่อื่น

1.3 ลดความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์นั้นๆ เช่น ระดับ A ลดเหลือระดับ C

1.4 ลดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์นั้นๆ หาวิธีลดความรุนแรงลงให้มากโดยพิจารณาในแง่มุมของเทคโนโลยีและค่าใช้จ่าย

2. ประเมินทางเลือกการบำบัดความเสี่ยง จะวางอยู่บนพื้นฐาน การลงทุน ค่าใช้จ่าย คุ้มค่ากับผลที่จะได้รับ

3. จัดเตรียมแผนการบำบัดความเสี่ยง เมื่อตัดสินใจเลือกวิธีบำบัด ความเสี่ยงได้แล้ว ต้องจัดเตรียมแผนการดำเนินงาน (ตารางเวลาปฏิบัติการ)ผลที่คาดว่าจะได้รับ งบประมาณและการทบทวนแผน

4. ดำเนินการตามแผนการบำบัดความเสี่ยง ดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบกำหนดไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด

การเฝ้าระวังและทบทวน

การเฝ้าระวัง (Monitor) เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องดำเนินการ เพื่อติดตามดูประสิทธิผลของแผนการบำบัดความเสี่ยง การดำเนินตามยุทธศาสตร์และระบบการจัดการโรงงาน

การทบทวน (Review) เป็นการทบทวนการจัดการความเสี่ยงในทุกกระบวนการ เพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ควรดำเนินการโดยผู้บริหารระดับสูงเพื่อผลักดัน ป้องกัน ควบคุม ไม่ให้เกิดจุดอ่อนในการทำงาน

manasu

หน่วยที่ 6 การบริหารจัดการอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ฉุกเฉิน

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อสวมใส่เพื่อปกป้องส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไม่ ให้ได้รับอันตรายหรือบรรเทาอันตรายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน

ชนิดและวัตถุประสงค์

อุปกรณ์ปกป้องศีรษะมี 3 ชั้นคุณภาพ

ชั้นคุณภาพ A ป้องกันกระทบกระแทกเจาะทะลุของของแข็ง ทนแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 2,200 โวลต์ สำหรับงานทั่วไป โยธา ก่อสร้าง เครื่องกล งานเหมือง และงานที่ไม่เสี่ยงต่อไฟฟ้าแรงสูง

ชั้นคุณภาพ B มีคุณสมบัติเหมือน A แต่เพิ่มเติม คือทนแรงดันไฟฟ้าได้ 20,000 โวลต์ เหมาะงานไฟฟ้าแรงสูง

ชั้นคุณภาพ C ป้องกันการกระทบกระแทก เจาะทะลุ แต่ไม่ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

รูปร่างลักษณะ มีทั้งมีขอบ ไม่มีขอบ มีขอบยื่นเฉพาะด้านหน้า เปลือกหมวกทำจากโพลีเอทธิลีนคุณภาพดี มีสันนูนหรือร่องกันแรงกระแทก แฉลบ รองในหมวก อยู่ห่างจากเปลือกหมวก 1-1.25 นิ้ว เพื่อดูดซับแรงกระแทก

สายรัดศีรษะ ใช้ปรับขนาดให้พอดีกับศีรษะ สายรัดคาง กันปลิว ร่วง แถบซับเหงื่อ ติดอยู่บริเวณหน้าผากป้องกันเหงื่อเข้าตา หมวกคลุมศีรษะ สำหรับงานที่มีอุณหภูมิต่ำมาก

อุปกรณ์ปกป้องใบหน้าและดวงตา

1.1 แว่นตานิรภัย

1.2 ครอบตานิรภัย

- ครอบตากันกระแทก

- ครอบตากันสารเคมี

- ครอบตาสำหรับงานเชื่อมโลหะ

1.3 กะบังหน้า มีลักษณะใสแผ่นโค้งครอบใบหน้า

1.4 ถุงครอบศีรษะ ป้องกันสารอันตรายมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรงกระเด็นโดนใบหน้า

1.5 กะบังหน้าสำหรับงานเชื่อมโลหะ แบบมือถือ และแบบสวมศีรษะ

การเลือกใช้ – ประสิทธิภาพมาตรฐานรองรับ – ความพอดีกับใบหน้าไม่บดบังสายตา และมองเห็นภาพได้เสมือนจริง – ความสบายขณะสวมใส่น้ำหนักเบา – ทนทานต่อความร้อน การกัดกร่อนสารเคมี ไม่เกิดระคายเคืองต่อผิวหนัง – ไม่เป็นอุปสรรค์กับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย อื่น - ทนทานทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคได้ง่าย

การดูแลรักษาและข้อควรระวัง ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกวัน ตรวจสภาพทั่วไปของอุปกรณ์ ไม่เสียหายแตกร้าว

อุปกรณ์ปกป้องมือและแขน ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับมือและแขนในการทำงานในสถานประกอบการ

อันตรายได้แก่ การสัมผัสสารเคมี บากเจ็บจากของมีคม กระทบกระแทกกับวัตถุ สัมผัสกับอุณหภูมิสูงหรือต่ำ การสัมผัสกับไฟฟ้า

ชนิดของถุงมือ

1. ถุงมือป้องกันสารเคมี

- ถุงมือบิวทิล เป็นยางสังเคราะห์ป้องกันสารเคมีได้หลายชนิด กรด ด่างกัดกร่อนรุนแรง มีความยืดหยุ่นได้ดีเมื่อใช้กับอุณหภูมิต่ำ แต่ไม่ควรใช้กับสารไฮโดรคาร์บอน

- ถุงมือยางธรรมชาติ ใช้ป้องกันอันตรายจากสารเคมีละลายน้ำได้หลายชนิด ใช้งานได้ดีที่อุณหภูมิสูงต่ำ แต่บางคนอาจแพ้

- ถุงมือนีโอพรีน เป็นยางสังเคราะห์ มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้แนบกระชับ หยิบจับคล่องแคล่ว ทนต่อการฉีกขาด เหมาะสำหรับป้องกันน้ำมันไฮโดรลิกส์ แอลกอฮอล์ กรด ด่างที่พบในสิ่งมีชีวิต

- ถุงมือไนไตร ยืดหยุ่นดี ทนทาน เหมาะสำหรับป้องกันน้ำมัน ไขมัน กรด แอลกอฮอล์ คลอรีน แต่ไม่เหมาะกับสารปฏิกิริยาออเดชั่นรุนแรง

2. ถุงมือป้องกันการขีดข่วน .ใช้ป้องกันการขีดข่วน การบาด การเฉีอนของมีคม วัสดุที่ใช้ทำได้แก่

- หนังสัตว์ นิยมนำหนังวัว หนังหมู และหนังแกะ หนังแกะจะมีความอ่อนนุ่มมากที่สุด ใช้กันทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม มีคุณสมบัติสวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี ทนทาน มีความยืดหยุ่น สามารถหยิบจับสิ่งของได้ง่าย

- เส้นใยสังเคราะห์ สวมใส่สบาย ระบายอากาศและยืดหยุ่นได้ดี ตัวอย่างของวัสดุนี้คือ เคฟลาร์ (Kevlar)

- ตาข่ายลวด (Metal Mesh) ทำจากโลหะถักเป็นรูปมือ ใช้กับของมีคมเฉพาะ ป้องกันการตัดเฉือน เช่น ชำแหละเนื้อสัตว์

3. ถุงมือป้องกันอุณหภูมิ ป้องกันอันตรายจากการหยิบจับวัสดุที่อุณหภูมิร้อนหรือเย็น

- หนังสัตว์และเส้นใยสังเคราะห์ - ผ้า ป้องกันอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากไม่ได้จึงปรับปรุงด้วยการเคลือบหรือผสมวัสดุอื่นด้วย

- อลูมิเนียม (Aluminized Gloves) บุด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนเหมาะสำหรับใช้กับงานที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆได้
4. ถุงมือป้องกันไฟฟ้า ทำจากวัสดุที่ต้านทานแรงดันไฟฟ้าระดับต่างๆ มักใช้ร่วมกับถุงมือหนังหรือห่อหุ้มด้วยวัสดุที่ทนการขีดข่วน บาด เจาะทะลุ เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุที่เป็นฉนวนรั่วฉีกขาด แบ่งเป็นชั้นคุณภาพ 0-4 ชั้นคุณภาพ 4 มีความเป็นฉนวนทนแรงดันไฟฟ้าได้สูงสุด

การเลือกใช้ พิจารณาตามเกณฑ์ต่อไปนี่

- ประสิทธิภาพในการป้องกันและมาตรฐานรองรับ

- ลักษณะอันตราย ลักษณะงาน ชนิดของสารเคมี

- การใช้งาน : ระยะเวลาสัมผัสอันตราย ส่วนของร่างกายที่สัมผัส ( มือ แขน นิ้ว)

- ผิวสัมผัสของวัสดุ (แห้ง เปียก มีน้ำมัน) และการจับยึด

- ขนาดความหนา ของวัสดุ

- ความสบาย

- การทำความสะอาดดูแลรักษา

ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกวัน น้ำล้าง หรือวิธีการที่ผู้ผลิตแนะนำ ผึ่งให้แห้ง เก็บในที่สะอาด ไม่ร้อนปราศจากฝุ่น

อุปกรณ์ปกป้องขาและเท้า ป้องกันอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับขาและเท้าในสถาณประกอบการ มี ชนิด

1. รองเท้านิรภัยทั่วไป เป็นรองเท้าหุ้มส้น ส่วนหัวมีครอบปลายเท้าทำจากโลหะ พื้นรองเท้าอาจจะทำป้องกันลื่น แผ่นหนังคลุมรูร้อยเชือกป้องกันโลหะหลอมเหลวกระเด็น

2. รองเท้านิรภัยปกป้องส่วนบนของเท้าทั้งหมด เหมือนรองเท้านิรภัยแต่เสริมวัสดุป้องกันกระแทกหุ้มส่วนบนของเท้า

3. รองเท้านิรภัยป้องกันการเจาะทะลุ เสริมแผ่นโลหะระหว่างพื้นรองเท้าด้านในและด้านนอกป้องกันการเจาะทะลุของของแหลม

4. รองเท้าตัวนำไฟฟ้า (Electrically Conductive Shoes) เป็นรองเท้าป้องกันการสะสมของไฟฟ้าสถิต เหมาะสำหรับไส่ทำงานที่เสี่ยงต่อการระเบิดหรือไฟไหม้ เพราะไฟฟ้าสถิตสะสมในตัวผู้ปฏิบัติงานอาจเกิดประกายไฟ ทำให้เกิดระเบิดหรือไฟไหม้ได้

5. รองเท้าป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ป้องกันไม่ให้เท้ากลายเป็นทางผ่านของไฟฟ้าไปยังพื้นดิน ป้องกันสูงสุดได้ไม่เกิน 600โวลต์บนพื้นแห้ง

การเลือกใช้ - ประสิทธิภาพมาตรฐานรองรับ เช่น สมอ ANSI EN ISO

- เหมาะสมกับลักษณะงาน – ขนาดพอดี – น้ำหนักเบา – ความสวยงาม ถ้าถูกใจผู้ใช้ก็จะเกิดแรงกระตุ้นให้เกิดทัศนคติที่ดีในการใส่และดูแลรักษา

การดูแลรักษาและข้อควรระวัง ทำความสะอาดด้วยการปัด เช็ดฝุ่นหรือล้างด้วยน้ำสะอาด ผึ่งแดด ก่อนใช้ทุกครั้งควรตรวจหารอยขาด รู ความชำรุด ซ่อมให้อยู่ในสภาพดี ไม่มั่นใจว่าคงคุณสมบัติการป้องกันตามมาตรฐาน ควรเปลี่ยนคู่ใหม่ สำหรับรองเท้าป้องกันไฟฟ้า สารเคมี ควรปฏิบัติตามคู่มือการดูแลรักษาและการตรวจสภาพของผู้ผลิต

อุปกรณ์ปกป้องลำตัว

ชุดป้องกันสารเคมี วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังของ ร่างกายได้รับอันตรายจากสารเคมีทั้งจากการซึมผ่านและเกิดปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น ไหม้ บวม คัน เป็นแผล แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. ชุดป้องกันแก็สพิษ ใช้สำหรับป้องกันสารอันตรายอยู่ใน สถานะแก็สของเหลวไม่ให้สัมผัสกับร่างกาย เป็นชุดคลุมทั้งตัว ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า อากาศภายนอกไม่สามารถเข้าได้ จึงต้องใช้ถังบรรจุอากาศพกพา เพื่อช่วยหายใจ มาตรฐาน ระดับ A

2. ชุดป้องกันการกระเด็นของของเหลวอันตราย ป้องกันการกระเด็น แต่สารเคมี ในสภาพแก็สเข้าได้ มาตรฐาน ระดับ B , C

3. ชุดป้องกันการปนเปื้อนทั่วไป ป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับสารเคมี สภาพแก็สผ่านได้

ต้องผ่านการทดสอบ 2 อย่างคือ 1 การซึมผ่าน 2. การเลือกใช้

ชุดป้องกันความร้อน ป้องกันอันตรายจากความร้อนที่แผ่มาจาก แหล่งกำเนิด การกระเด็นของโลหะหลอมเหลว ใช้กับงาน เตาหลอมโลหะ เตาเผา เตาอบ งานผจญเพลิง งานซ่อมบำรุงบางชนิด มีหลายชนิดตามวัสดุที่ทำ จะแตกต่างกันตามอุณหภูมิที่ป้องกันได้

1. หนังสัตว์ ป้องกันความร้อนที่แผ่ออกมาจากแหล่งกำเนิด และเปลวไฟ ประกายไฟ การกระเด็นของโลหะหลอมเหลว รังสีอัลตราไวโอเลต อินฟาเรด และแรงกระแทกเล็กน้อยได้

2. ขนสัตว์หรือเส้นใยฝ้ายเคลือบสารเคมี ป้องกันเปลวไฟ ประกายไฟ ทนทาน ให้ความรู้สึกสบายเมื่อสวมใส่ ป้องกันการขีดข่วน และใช้สำหรับงานในที่อุณหภูมิต่ำได้ด้วย

3. เส้นใยแก้วเคลือบอลูมิเนียม เป็นวัสดุที่ทำจากใยแก้ว เคลือบผิวด้านนอกด้วยอะลูมิเนียม สามารถสะท้อนการแผ่รังสีความร้อน ทนอุณหภูมิได้สูงมาก เหมาะสำหรับงานผจญเพลิงโดยตรง เช่นงาน ผจญเพลิง

4. เส้นใยสังเคราะห์ เป็นวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้น ทนอุณหภูมิสูงได้ดีมาก ทอเป็นผืนได้คล้ายผ้าทั่วไป และทนทาน ได้แก่เส้นใยอรามิค เส้นใยอะครีลิค เส้นใยโพลีอิไมด์ เป็นต้น

การเลือกใช้ ประสิทธิภาพในการป้องกันและมาตรฐานรองรับ – รูปแบบขนาดและความพอดี – ความรู้สึกสบายเมื่อสวมใส่ – ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น การระบายอากาศ น้ำหนัก ความระคายเคือง การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกายมากเกินไป การเป็นลม

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ระยะความสูงไม่ควรเกิน 1.8 เมตร หรือ 1 ช่วงตัว ระยะความสูงปลอดภัย อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานตกลงมากระแทกพี้นเบี้ องล่าง หรือพื้นที่ต่ำกว่า แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1 อุปกรณ์ป้องกันตก 2 อุปกรณ์กำหนดขอบเขต

- อุปกรณ์รัดลำตัว เข็มขัดนิรภัยสำหรับทำงานบนเสา เข็มขัดนิรภัยสำหรับทำงานทั่วไป สายรัดตัวนิรภัยชนิดคาดอก สายรัดนิรภัยชนิดเต็มตัว

- อุปกรณ์เชื่อมต่อ เชือกนิรภัย สายช่วยชีวิต จุดยึด

การเลือกใช้ วิเคราะลักษณะงานความเสี่ยง ศึกษาโครงสร้าง ประสิทธิภาพมาตรฐานรับรอง ความแข็งแรงของอุปกรณ์ ตรวจสอบคุณภาพ

เข็มขัดและสายรัด นิรภัยที่ได้รับการกระตุกจากการตกจากที่สูงครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่

การบริหารการจัดการอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในสถานประกอบการ

การประเมินเพื่อเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ด้วยเทคนิคการเดินสำรวจ(Walk Through)

ข้อมูลสำคัญที่ควรได้ 1. รายละเอียดของกระบวนการทำงาน 2 อันตรายที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน 3 ผลของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน 4. เลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม

การประเมินสภาวะสุขภาพของผู้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

1. ความสมบูรณ์ของร่างกาย พร้อมต่อการใช้อุปกรณ์

2. การเฝ้าระวังทางการแพทย์ ตรวจร่างกาย ปีละ 1 ครั้ง

3. การตรวจทางชีวภาพ สารเคมีในร่างกาย เช่นตรวจตะกั่วในเลือด เพื่อวางแผนป้องกัน

การฝึกอบรมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคล เนื้อหาควรประกอบด้วย

1. สาเหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

2. ชนิดของอุปกรณ์ และหลักการป้องกัน

3. หลักการเลือกอุปกรณ์ ให้เหมาะกับลักษณะงานต่างๆ

4. วิธีการใช้ การทำความสะอาด การตรวจสภาพ การบำรุงรักษา การเก็บ และการทิ้งอย่างถูกวิธี

5. ผลเสียของการไม่ใช้อุปกรณ์หรือช้ไม่ถูกต้อง

6. ข้อจำกัดอุปกรณ์

การศึกษาด้วยตนเอง หรือเสียงตามสายให้ความรู้ เผยแพ่

ประเมินผลบันทึกข้อมูล

- ประเมินเป็นระยะตามความเหมาะสม

- ประเมินเมื่อเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น

- ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉิน

อ่างล้างตาและฝักบัวชำระร่างกายฉุกเฉิน

- ฝักบัวชำระร่างกายฉุกเฉิน (Emergency Showers)

- อ่างล้างตาและใบหน้าฉุกเฉิน (Eye/Face Washer)

- อ่างล้างตาฉุกเฉิน (Eye Washes)

- สายฉีดน้ำล้างตาฉุกเฉิน (Eye Wash/Drench Hoses)

มาตรฐานที่กำหนดสำหรับอ่างล้างตาและฝักบัวชำระร่างกายฉุกเฉินมีสาระสำคัญ ได้แก่ ประเภท การออกแบบประสิทธิภาพการทำงาน การติดตั้ง การใช้ และการดูแลรักษา

ระบบไฟฉุกเฉิน (Emergency Lighting System) มีความจำเป็นมากในการหนีออกจากอาคารกรณีไฟไหม้หรือเหตุฉุกเฉินอื่นที่ไม่มี แสงสว่างเพื่อเป็นการนำทางผู้ปฏิบัติสู่พื้นที่ปลอดภัย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. ระบบที่ต้องดูแลรักษา ส่วนส่องสว่างได้รับพลังงานหลักจากแหล่งพลังงานหลักของอาคารและสำรองเก็บไว้ ในตัวเอง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินระบบทำงาน พลังงานที่สำรองไว้จะถูกใช้ไป แหล่งพลังงานหลักจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเพื่อเก็บไว้อืก สัญลักษณ์ M/ ย่อมาจาก Maintained ตามด้วยตัวเลขแสดงระยะเวลาให้แสงสว่าง เช่น M/1 หมายถึงระบบที่ต้องดูแลรักษาให้แสงสว่างต่อเนื่อง 1 ชั่งโมง

2.ระบบที่ไม่ต้องดูแลรักษา ส่วนส่องสว่างได้รับพลังงานจากแหล่งพลังงานสำรองที่แยกออกจากแหล่งพลังงานหลัก สัญลักษณ์ระบบนี้คือ NM/

และตามด้วยตัวเลขแสดงระยะเวลาการให้แสงสว่าง

การติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน ควรอ้างอิงกฎหมายท้องถิ่น มาตรฐานรับรอง และข้อแนะนำจากสถาบันที่เชือถือได้ เช่น กฎหมายและมาตรฐานรับรอง BSI , NFPA

สัญญาณไฟทางออกฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ช่วยชี้บอกทางที่จะไปสู่ที่ปลอดภัย ติดที่ ประตู ทางแยก ทางออก ใกล้อุปกรณ์ดับเพลิงฉุกเฉิน สัญญาณอัคีภัยฉุกเฉิน ติดอยู่เหนือพื้นประมาณ 2 เมตร

manasu


หน้าที่ หลัก ของงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย คือ

หน่วยที่

7 พฤติกรรมมนุษย์และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน

พฤติกรรมมนุษย์ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจ ความพอใจ ไม่พอใจ ความขยัน ความเกียจคร้าน ซึ่งไม่สามารถสังเกตเห็นได้ แต่จะมีผลต่อการแสดงออกเป็นการเดิน การวิ่ง การกิน การนอน ฯลฯ และเป็นการแสดงออกให้บุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นและรับรู้ได้ โดยปฏิกิริยานี้เป็นการแสดงออกเพื่อตอบสนองสิ่งเร้า เช่นถ้าหิวก็ต้องกิน ถ้าง่วงก็ต้องนอน ต้องการติดต่อสื่อสารก็ต้องพูดคุย พอใจก็ยิ้ม ไม่พอใจก็หน้าบึ้งตึง ก้าวร้าว เป็นต้น สิ่งที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์หรือสิ่งที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ มีดังนี้

1. อุปนิสัยของบุคคล คือสิ่งที่ได้รับการอบรมขัดเกลามาจากตัวแทนทางสังคม ได้แก่

1.1 ความเชื่อ(Belief) บุคคลเชื่อสิ่งใดจะปฏิบัติตามสิ่งที่เชื่อ เช่น เชื่อว่าปฏบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย จะไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

1.2 ค่านิยม(Value) คือการที่บุคคลเห็นคุณค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วยึดถือปฏิบัติตาม เช่นค่านิยมของการขยันทำงาน การแต่งกายประณีต งดงาม

1.3 อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา (Intelligence) อารมณ์จิตใจดี เบิกบาน แจ่มใส มักมองโลกในแง่ดี จึงแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ยิ้มแย้ม หัวเราะห์ ในขณะที่อารมณ์ไม่ดีทำให้หน้าตาบึ้งตึง ไม่อยากพูดคุยกับใคร สติปัญญาของบุคคลก็เป็นตัวกำหนดให้แสดงพฤติกรรมต่างๆ

2. กระบวนการทางสังคม ที่สำคัญ ได้แก่

2.1 สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นพฤติกรรม เป็นตัวการสำคัญที่กำหนดพฤติกรรมของบุคคล เช่นความต้องการต่างๆ ความหิว กระหาย ความต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง คำยกย่อง ชมเชยต่างๆ

2.2 สถาณการณ์ที่เกิดขึ้น คือสภาพแวดล้อมรอบตัวบุคคล เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน เช่นอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงงาน สารเคมีหกรั่วไหล ไฟไหม้ ทำให้บุคลแสดงพฤติกรรมแตกต่างกันไป ประเภทพฤติกรรมแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

- พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น การเดิน ยืน นอน นั่ง ร้องไห้ และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น การเต้นของหัวใจ การเต้นชีพจร ความดันโลหิต เป็นต้น

- พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า เช่น ความรู้สึกตอบสนองสิ่งเร้า ด้วยอวัยวะสัมผัสต่างๆ ความจำ ความคิด การรับรู้ สามารถตรวจวัดด้วยเครื่องมือทางสังคมศาสตร์ เช่น แบบวัดความรู้ ความจำ แบบวัดพฤติกรรม ทัศนคติ การรับรู้ต่างๆ

พื้นฐานการเกิดพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมมนุษย์เกิดได้จากสาเหตุที่สำคัญ 2 สาเหตุคือ

1. พันธุกรรม (Heredity) เป็นสิ่งที่บุคลได้รับจากบิดามารดาบรรพบุรุษที่เรียกว่า เป็นการสืบทอดทางสายเลือด คือถ่ายทอดโดยสายพันธุกรรมที่เรียกว่าโครโมโซม ยีนหรือดีเอ็นเอ บิดามารดามีพฤติกรรมแสดงออกที่เหมาะสม ส่วนมากลูกก็มีพฤติกรรมแสดงออกที่เหมาะสม โดยถ้าได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ตรงข้ามกับสัตว์ที่ถ่ายทอดได้โดยตรงเช่นนกกระจาบทำรังไม่ได้สอนกันแต่สามารถ ทำได้

2. สิ่งแวดล้อม (Environment) คือทุกสิ่งทุกอย่าง ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาคที่เป็นรูธรรม คือมองเห็นสัมผัสได้ เช่นคน บ้าน ต้นไม้ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรมคือจับต้องไม่ได้เช่น กฎ ระเบียบทางสังคม ข้อบังคับ ประเพณี การอบรมสั่งสอนจากบิดามารดา ญาติพี่น้อง จะทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม บุคคลที่พึ่งเข้าทำงานถ้าได้รับการอบรมเรื่องความปลอดภัยก็จะทำงานได้ ปลอดภัยยิ่งขึ้น

วงกลม พื้นฐานการเกิดพฤติกรรมมนุษย์

S – M – V – A – B Sชั้นในสุดคือ Salf ตัวตนหรือบุคคล M ชั้นถัดออกมา คือ Motivation แรงจูงใจต่างๆ สิ่งเร้า

V = Value ค่านิยม สิ่งที่บุคคลเห็นคุณค่าควรแก่การปฏิบัติ เช่นค่านิยมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของที่ทำงาน A= Attitude ทัศนคติ เช่นทัศนคติการขยันทำงานเป็นสิ่งที่ดี B= Behaviour คือพฤติกรรมการแสดงออก คือขั้นตอนสุดท้าย

ระดับพฤติกรรมและการวัดพฤติกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับบุคล ระดับกลุ่ม และระดับสังคม

1. ระดับบุคล (Individual Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกของบุคลตามตัวตน เป็นพฤติกรรมเฉพาะของตนเองเช่น การเรียนรู้ รับรู้ ทักษะ แสดงออกเป็นบุคลิกภาพ เช่น การนั่ง นอน พูดคุย ติดต่อสื่อสาร ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดคือ

1.1 พันธุกรรม สติปัญญา สภาพร่างกาย

1.2 ประสบการณ์การเรียนรู้ของบุคคล

1.3 การรับรู้และทัศนคติ

1.4 ความต้องการแรงจูงใจ สิ่งเร้า

1.5 อิทธิพลของกลุ่ม

2. พฤติกรรมระดับกลุ่ม (Group Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่บุคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามเหตุผลความต้องการ ของบุคคลหรือกลุ่ม การรวมกลุ่มของบุคคลจะมี 2 ลักษณะคือ

กลุ่มปฐมภูมิ มีขนาดเล็ก 5-15 คน มีความใกล้ชิดสนิทสนมคุ้นเคยกันดี เช่นกลุ่มครอบครัว เพื่อนร่วมสถาบัน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่ม 5 ส เพื่อความปลอดภัย

กลุ่มทุติยภูมิ จะมีขนาดของกลุ่มใหญ่ขึ้น สมาชิกมีบทบาทหน้าที่ไว้อยู่แล้วในกฎระเบียบของกลุ่ม เช่นกลุ่มผจญเพลิง กลุ่มพนักงานโรงงาน กลุ่มนายจ้างโรงงานน้ำตาล เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมระดับกลุ่ม

2.1 โครงสร้างกลุ่มและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก จำเป็นต้องมีผู้นำ(Leader) มีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน

2.2 บรรทัดฐานทางสังคมของกลุ่ม เป็นวัฒนธรรมในการปฏิบัติของสมาชิกในกลุ่ม มีระเบียบวินัย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

2.3 ขนาดของกลุ่ม ถ้ากลุ่มมีขนาดเล็ก ติดต่อกันได้เป็นอย่างดี สนิทสนมกลมเกลียวกันดี ถ้ากลุ่มมีขนาดใหญปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มอาจจะไม่ทั่วถึง การทำงานเป็นแบบตัวใครตัวมัน ไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กันมากนัก

2.4 ความสามัคคีกันในกลุ่ม มีความเป็นสมาชิกยาวนาน กิจกรรมดึงดูดใจของสมาชิก

3. พฤติกรรมระดับสังคม หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลในการรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่มาก จึงมีกฎระเบียบ ข้อบังคับร่วมกัน และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันเดียวกัน เช่นสังคมเมือง สังคมเกษตร สังคมภูมิภาคต่างๆ สังคมประเทศต่างๆ ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ในระดับสังคม คือ

3.1 ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ได้แก่ลักษณะต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ ความร้อน-ความเย็น สูง – ต่ำ ทางพื้นที่ เช่นบุคคลอยู่พื้นที่ราบจะมีนิสัยรักความสะดวกสบาย บุคลที่อยู่พื้นที่สูงจะมีพฤติกรรมเข้มแข็ง อดทน สามารถทำงานหนักๆได้ดี

3.2 กระบวนการขัดเกลาทางสังคม เนื่องจากได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากตัวแทนต่างๆทางสังคม ทางสถาบันครอบครัวที่คล้ายกัน ทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นพฤติกรรมระดับสังคม

การวัดพฤติกรรม

1. การวัดพฤติกรรมโดยตรง การสังเกตให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว และการสังเกตแบบธรรมชาติ

2. การวัดพฤติกรรมโดยอ้อม โดย การสอบถาม การสัมภาษณ์ การทำบันทึก การทดลอง

โดยสรุป การวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของบุคลทำให้ทราบผลลัพธ์ของการดำเนินการปรับ พฤติกรรมเพื่อที่นักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะได้ดำเนินการปรับปรุงเกี่ยว กับพฤติกรรมของพนักงานต่อไป

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

การเรียนรู้และแรงจูงใจ

การเรียนรู้หมายถึง กระบวนการรับรู้ที่ทำให้เกิดการแสดงออกของบุคลหรือพฤติกรรมซึ่งอาจ เปลี่ยนแปลงได้ โดยอาจจะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ได้ขึ้นอยู่ กับสถานการณ์นั้นๆ ทฤษฏีการเรียนรู้ มีหลายทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง เช่น

1.1 ทฤษฏีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขสิ่งเร้า หรือแบบคลาสสิก นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย อีวาน พี พาฟลอฟ ทำให้ได้รับรางวัลโนเบลใน ค ศ 1906 แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดขากการตอบสนองของสิ่งเร้าได้หลายชนิด การตอบสนองอย่างเดียวกันอาจมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้าต่างกันหรือสิ่งเร้าหลาย อย่าง ถ้าหากได้มีการวางเงื่อนไขอย่างถูกต้องเหมาะสม คือการทดลองให้อาหารกับสุนัข ผงเนื้อ เสียงกระดิ่ง

นำหลักทฤษฏีนี้มาประยุกต์ใช้กับพนักงาน เช่น การให้รางวัลชมเชย เงินตอบแทนมากขึ้นเมื่อพนักงานขยันทำงาน หรือปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

1.2 ทฤษฏีการเรียนรู้ การวางเงื่อนไขแบบผลกรรม หรือ การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เบอรัส เอฟ สกินเนอร์ มีแนวคิดที่ว่าพฤติกรรมของบุคลจะเป็นผลพวงอันสืบเนื่องมาจากการมี ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นและแสดงออก ก็จะเปลี่ยนแปลไปเนื่องจากผลของการกระทำหรือผลกรรม ที่เกิดกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งมีผลทำให้พฤติกรรมของบุคคลนั้นมีอัตราการกระทำเพิ่มมากขึ้นที่เรียกว่า เป็นตัวเสริมแรง หรือมีผลทำให้พฤติกรรมของบุคลนั้นลดลงหรือหยุดพฤติกรรมที่เรียกว่าผลกรรมที่ เป็นการลงโทษ โดยตัวลงโทษ ดังนี้

1.2.1 การเสริมแรง(Reinforcement) การเสริมแรงคือการทำให้พฤติกรรมนั้นเพิ่มความถี่ขึ้น เช่น ค่าตอบแทน รางวัล คำชมเชย ยกย่อง การเสริมแรงดำเนินการได้ 2 ลักษณะ คือ

1. การเสริมแรงทางบวก เช่นผู้ที่ทำงานครบ 200,000 ชั่วโมงโดยไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน จะได้รับรางวัล

2. การเสริมแรงทางลบ เช่นพนักงานที่ทำงานด้วยความเกียจคร้านจะได้รับการว่ากล่าวตักเตือนหรือลดเงินเดือน

1.2.2 การลงโทษ(Punishment) เป็นการกระตุ้นสิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจ หรือการถอดถอนสิ่งเร้าที่พึงพอใจออกหลังจากบุคคลที่ได้แสดงพฤติกรรมออกมา แล้ว ซึ่งมีผลทำให้พฤติกรรมดังกล่าวนั้นหยุดลง ดังนี้

1. การลงโทษทางบวก ให้สิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจ เช่นเรียกมาตัดเตือน อบรม สั่งสอน ให้หยุดพฤติกรรมนั้น

2. การลงโทษทางลบ การถอดถอนสิ่งเร้าที่พึงพอใจออก เช่น พนักงานมาทำงานสายทำให้ถูกตัดเบี้ยขยันประจำเดือน (สิ่งเร้าที่พึงพอใจ) ผลก็คือพนักงานเลิกมาทำงานสาย เพราะต้องการได้รับเบี้ยขยันเหมือนเดิม เป็นต้น

แรงจูงใจ (Motives, Motivaiton)

หมายถึง สิ่งเร้าหรือแรงผลักดันภายในของบุคคล และในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกำกับให้บุคคลแสดงออกปรากฏให้เห็นชัดเจนเป็น พฤติกรรมทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่ตัวเองต้องการ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้

1. การกระตุ้นหรือการปลุกเร้า ได้แก่ พลังที่ขับหรือแรงผลักดันภายในของบุคคลที่เป็นตัวกระต้นให้บุคคลแสดง พฤติกรรมออกมา เช่น บางครั้งก็ทำงานด้วยความกระตือรือร้น บางครั้งก็ทำงานด้วยความเฉื่อยชา

2. การกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายของพฤติกรรม เป็นทางเลือกหรือขั้น ตอนการปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการทำงานให้ปราศจากอุบัติเหตุ ก็ต้องปฏิบัติตามขันตอนการทำงานที่ปลอดภัย (Work Procedure)

3. การกำหนดระดับของความมุ่งมั่น เช่น การดำเนินการด้านความปลอดภัยของฝ่ายผลิต ปีนี้ยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น แต่ด้วยความมุ่งมั่นของหัวหน้าฝ่ายผลิต เนื่องจากต้องการรางวัล คำชมเชย หรือความมีชื่อเสียง ดังนั้นจึงพยายามรณรงค์ลดอุบัติเหตุไม่ให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในฝ่ายผลิต ของปีต่อๆไป

แรงจูงใจอาจมาจากแรงจูงใจภายใน ของตัวเอง เช่นการพิสูจน์ ศักยภาพของตนเอง หรือแรงจูงใจภายนอก โดยมีสิ่งล่อหรือสิ่งจูงใจภายนอก เช่น รางวัลชื่อเสียง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจมีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีลำดับความต้องการของมนุษย์ อับบราฮัม มาสโลว์ จัดลำดับออกเป็น 5 ระดับ จากต่ำสุดถึงสูงสุด

ระดับที่ 1 ความต้องการทางกายภาพ อาหาร น้ำ อากาศ ขับถ่าย ความต้องการทางเพศเพื่อสืบทอดเผ่าพันธ์

ระดับที่ 2 ความต้องการทางด้านความปลอดภัยและมั่นคง

ระดับที่ 3 ความต้องการความรัก การเป็นพวกเดียวกัน

ระดับที่ 4 ความต้องการมีคุณค่า ให้ตนเองเป็นที่ยอมรับ ยกย่องในสังคม

ระดับที่ 5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต

นักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้และแรง จูงใจกับบุคลในสถานประกอบการหรือโรงงานได้โดยพิจารณาในเรื่องสิ่งเร้าและการ เสริมแรง โดยให้ตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้ากับบุคคลต่างๆ เช่น ระดับผู้บริหารมักต้องการเรื่องของชื่อเสียงบริษัท การได้รับการยอมรับจากสังคม และผลกำไรเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ระดับพนักงานต้องการ รางวัล เบี้ยขยัน หรือคำยกย่องชมเชย พิจารณาให้เหมาะสมกับบุคลากรในทุกระดับของสถานประกอบการ

ค่านิยมและมนุษย์สัมพันธ์

ค่านิยม เป็นความนิยม ชื่นชม ความเชื่อของบุคคลว่าสิ่งเหล่านั้นมีคุณค่า มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมการแสดงออกต่างๆ ค่านิยมเกิดจากพันธุกรรมที่บุคลได้รับจากบิดามารดา บรรพบุรุษตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดาและเมื่อเกิดเป็นทารกจนกระทั่ง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง รวมทั้งได้รับการขัดเกลาจากสังคม สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น

มนุษย์สัมพันธ์ (Human Relationship) ความหมาย มนุษย์สัมพันธ์ เป็นคำรวมของคำว่ามนุษย์กับคำว่าความสัมพันธ์ เมื่อมารวมกันจึงหมายถึงความสัมพันธ์ หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มและในองค์กร เป็นรูปแบบการสัมพันธ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการประยุกต์ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับความ แตกต่างของมนุษย์ในสังคม ทำให้สามารถอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันในองค์กร หรือหน่วยงานยังผลให้ผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่ต้องการ มีความสำคัญในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ดังนี้

- ทำให้เกิดความเข้าใจกันเป็นอย่างดี

- ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารที่ชัดเจนและสะดวก

- ทำให้เกิดความคุ้นเคยและการยอมรับของบุคลากร

- ทำให้เกิดเครือข่ายในการทำงานร่วมกันของพนักงานในสถานประกอบการ

การสร้าง มนุษย์สัมพันธ์ ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ดังนี้

- ความแตกต่างทางเพศ

- ความแตกต่างของวัยวุฒิ

- ความแตกต่างทางด้านคุณวุฒิ

- ความแตกต่างทางด้านภูมิหลัง

- ความแตกต่างกันในตำแหน่งหน้าที่การงาน

- ความแตกต่างของสภาพเศรษฐกิจสังคม

ความแตกต่างทั้งหมดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งอยู่ในสังคมส่วนรวม ในโรงงาน สถานประกอบการต่างๆ นักอาชีวอนามัยจะต้องยอมรับสภาพเป็นจริง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เคารพและยอมรับสภาพความแตกต่าง แต่บางครั้งต้องปรับพฤติกรรมบางอย่างเพื่องานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อการทำงานร่วมกัน Team Work ติดต่อสื่อสารกันอย่างดีและบุคลากรทุกคนแสดงออกในพฤติกรรมที่เหมาะสม

พลังกลุ่มและการขัดเกลาทางสังคม

พลังกลุ่ม หมายถึง พลังที่เกิดจากการรวมตัวกันของสมาชิกของกลุ่ม ในสถาน.ประกอบการเป็นไปตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 คือหน่วยงานสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง

หน่วยงานสำหรับนายจ้าง 1) สมาคมนายจ้าง ผู้ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน 3 รายขึ้นไป จดทะเบียนเป็นสมาคม

2) สหพันธ์นายจ้าง สมาคมนายจ้างรวมตัวกัน 2 สมาคมขึ้นไป มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

3) สภาองค์กรนายจ้าง รวมตัวกันของสมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้างไม่น้อยกว่า 5 แห่ง จดทะเบียนเป็นสภาองค์กรนายจ้าง เป็นนิติบุคคล มีบทบาทโดยตรงกำหนดแนวทางดำเนินงานคุ้มครองรักษาสิทธ์ของนายจ้าง

หน่วยงานสำหรับลูกจ้าง 1) สหภาพแรงงาน รวมตัวกันของพนักงานในหน่วยงานเพื่อแสวงหา คุ้มครองเกี่ยวกับการจ้างงาน

2) สหพันธ์แรงงาน สหภาพแรงงานที่นายจ้างคนเดียวกัน หรือประเภทกิจการเดียวกัน รวมตัวกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหภาพแรงงาน และคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าและสหภาพแรงงาน

3) สภาองค์กรลูกจ้าง เป็นหน่วยงานหรือองค์กรสูงสุดของผู้ใช้แรงงานจัดตั้งขึ้นโดยสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงานไม่น้อยกว่า 15 แห่ง รวมตัวกันจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์

ลักษณะขององค์กรหรือกลุ่ม

- โครงสร้างสมาชิก มีโครงสร้างองค์กร เช่น ประธาน กรรมการ เหรัญญิก และมวลสมาชิก

- กำหนดเป้าประสงค์ ต้องการทำกิจกรรมอะไรบ้าง สามัคคีปรองดอง เพื่อให้เกิดพลังต่อรอง

- กฎระเบียบข้อบังคับ จะช่วยทำให้เกิดวินัย ทำงานร่วมกันโดยปกติสุข

- ปฏิบัติสัมพันธ์และเคลือข่าย ต้องมีการทำงานร่วมกันกิจกรรมต่างๆ เกิดเป็นเคลือข่าย

- การเปลื่ยนแปลงของกลุ่ม ได้ทั้งปัจจัยภายในกลุ่ม ตำแหน่งต่าง ๆ และภายนอกกลุ่ม เช่นสภาวะเสรษฐกิจ สังคม การเมือง

วัตถุประสงค์ของพลังกลุ่ม

- เพื่อปกป้องหรือสร้างความมั่นคงใหกับสมาชิก

- เพื่อสนองตอบวัตถุประสงค์ของสมาชิก

- เพื่อสร้างเครือข่ายให้แก่สมาชิก

- เพื่อเป็นการสร้างลักษณะเฉพาะของวิชาชีพ เช่นชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยภาคตะวันออก

การพัฒนาพลังกลุ่มในโรงงานหรือสถานประกอบการ

- การทำงานเป็นทีม

- สนใจความสำเร็จของงาน

- มุ่งเน้นที่พฤติกรรมการทำงาน

- ทำงานเป็นระบบ

- มุ่งเน้นการหาข้อเท็จจริง

- ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การขัดเกลาทางสังคม ( Socialization) หมายถึง กระบวนการสั่งสอน อบรม ทำให้บุคคลได้รับความรู้เกิดการรับรู้ พัฒนาเป็นทักษะความชำนาญ กลายเป็นบุคลิกภาพ อุปนิสัยที่ทำให้บุคคลนั้นสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมได้อย่างปกติสุข หน่วยตัวแทนทางสังคมของการขัดเกลาทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ สื่อต่างๆ และการขัดเกลาทางสังคมนั้นเกิดขึ้นตลอดชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนถึงวาระ สุดท้ายของชีวิต

พฤติกรรมมนุษย์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

1. ทฤษฎี ค่านิยม – ทัศนคติ – พฤติกรรม(Value-Attitude-Behavior Theory) ได้อธิบายว่า พฤติกรรมต่างๆที่บุคคลแสดงออกนั้นเป็นผลพวงมาจากค่านิยมของบุคคลทำให้เกิด ทัศนคติหรือเจตคติว่าสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมต่อไป ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นไปได้จริง

2. ทฤษฎีพฤติกรรมที่ องค์กรกำหนด (Theory of Planned Behavior) ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับค่านิยมเช่นกันว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรมของ มนุษย์ แต่นอกจากค่านิยมแล้วยังมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่มีผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมที่สำคัญ ได้แก่ บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) คือกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในสังคมหรือชุมชนที่อยู่ร่วมกันจจะเป็นตัวช่วยส่งผลให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นักวิชาการด้านความปลอดภัย ยอมรับว่าพฤติกรรมของบุคคลเป็นสาเหตุสำคัญของ สามเหลี่ยมความปลอดภัย หรือภูเขาน้ำแข็ง (Safety Triangle)

เปรียบเหมือนภูเขาน้ำแข็งคือส่วนที่อยู่ใต้น้ำ ปัญหาที่แอบแฝงอยู่มีมากกว่า

ปัญหาของสามเหลื่ยมความปลอดภัยและวงจรอุบัติเหตุนั้นล้วนมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานดังนั้นจึงควรมีมาตรการจัดการด้านความ ปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุ เมื่อดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน

ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน

1. วางแผนดำเนินการ - ฝึกอบรมการดำเนินการ - จัดทำแบบสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัย - ฝึกอบรมการใช้แบบสังเกตพฤติกรรมให้กับผู้สังเกตการณ์

2. ทำการสังเกตและค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงหรือปัญหาความปลอดภัยต่างๆ โดยใช้แบบสังเกต บันทึก

3. วิเคราะห์หาสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัญหา อาจใช้วิธีวิเคราะห์ ABC Analysis คือ

A = เหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน (Antacidents)

B = พฤติกรรมเสี่ยงที่สังเกตเห็นได้ (Behavior)

C = ผลพวงพฤติกรรมในหัวข้อ A และ B (Consequence)

และได้แบ่งวิเคราะห์ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์พฤติกรรมที่ปลอดภัย

ขั้นตอนที่ 3 กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัย

4. จัดทำแผนเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมความปลอดภัย

5. ดำเนินงานตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้

6. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนี่องทุกขั้นตอน

หลังจากดำเนินการทั้ง 6 ขั้นตอนแล้ว ควรมีการประเมินว่าปัญหาพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยลดลง อุบัติเหตุลดลงหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอน

หน่วยที่ 8 การสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

การสื่อสารเพื่อความปลอดภัย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางหรือ สื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดสภาวะที่เป็นอิสระหรือปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย ไม่เกิดการบาดเจ็บและการสูญเสียรวมถึงไม่มีความเสี่ยงใดๆ เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

1. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร

2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

3. เพื่อให้ความรู้ทางด้านความปลอดภัย

4. เพื่อโน้มน้าวให้เกิดการปฏิบัติที่ปลอดภัย

5. เพื่อเตือนหรือห้ามการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

ความสำคัญของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

1. เป็นองค์ประกอบในการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

- การจัดให้มีการบูรนาการความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ วางแผน กำหนด มาตรการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

- การให้ความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตระหนัก ทราบถึงอันตราย ปฐมนิเทศ อบรมอย่างต่อเนื่อง

- การกระตุ้นเตือนและจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง เช่น ติดป้าย สัญลักษณ์ ทำคู่มือ

- การเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง

2. การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายและอนุกรมมาตรฐานต่างๆ

3. การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

- เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร

- เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายนอกองค์กร

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 องค์ประกอบคือ

1. ผู้ส่งสาร (Sender/Source) คือผู้เริ่มต้นทำการสื่อสารกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่น

2. สาร (Message) คือ สิ่งที่ผู้ส่งสารใช้สื่อความหมายให้แก่ผู้รับสาร แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

- รหัสของสาร คือภาษา สัญลักษณ์ สัญญาณ

- เนื้อหาของสาร ได้แก่ เรื่องราว ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึก ที่ต้องการถ่ายทอด

- การจัดสาร คือการตัดสินใจของผู้ส่งสารในการกระทำต่อเนื้อหา รหัสของสาร ก่อนส่งออกไป เช่นเรียบเรียง ลำดับความ

3. สื่อ หรือช่องทางสื่อสาร (Media/Channel) คือเครื่องมือหรือช่องทางที่ผู้ส่งสารจะใช้เพื่อให้ไปถึงผู้รับสาร เช่น

สื่อธรรมชาติ(บรรยากาศรอบตัวมนุษย์ตามธรรมชาติ) สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิคส์ สือเฉพาะกิจ (ป้ายโฆษณา นิทรรศการ)

4. ผู้รับสาร (Receiver) คือบุคลหรือกลุ่มบุคคลที่สามารถรับทราบสารของผู้ส่งสารได้ เช่น พนักงานหรือลูกจ้างในสถานประกอบการ

ประเภทของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

1. จำแนกตามทิศทางของการสื่อสาร

- การสื่อสารแบบทางเดียว เช่นติดประกาศนโยบาย ข้อบังคับ เสียงตามสาย

- การสื่อสารแบบสองทาง เช่น การประชุมวางแผนการดำเนินการ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น กัน

2. จำแนกตามการใช้ภาษา

- การสื่อสารโดยใช้ภาษาหรือวัจนภาษา อาจจะอยู่ในรูปภาษาพูดหรือภาษาเขียนก็ได้

- การสื่อสารโดยไม่ใช้ภาษาหรืออวัจนภาษา สื่อสารด้วยอากัปกิริยาท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่างๆ

หลักการในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ที่สำคัญ 7 ประการคือ

1. ผู้ส่งสารควรมีความน่าเชื่อถือ และมีการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของสาร

2. ผู้ส่งสารจะต้องเลือกใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

3. กรณีมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ควรมีการย้ำเตือนความทรงจำของผู้รับสารอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

4. ควรกำหนดเนื้อหาสาระที่มีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับสาร

5. ควรต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม บุคคล เวลา สถานที่ ตลอดจนความสอดคล้องกลมกลืนกับวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรนั้นๆ

6. ควรเลือกใช้สื่อหรือช่องทางการสื่อสารให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ ผู้รับสารรวมทั้ง สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

7. ผู้ส่งสารจะต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้รับสาร และเตรียมการสื่อสารให้เหมาะกับผู้รับสาร

อุปสรรคในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้

1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร เช่น ขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการสื่อสาร ไม่น่าเชื่อถือ ขาดความมั่นใจในตนเอง

2. อุปสรรคที่เกิดจากตัวสาร เช่น สารไม่ชัดเจน ไม่สมบูรณ์ ไม่น่าสนใจ มากเกินไป หรือ ขาดการเรียบเรียง

3. อุปสรรคที่เกิดจากสื่อหรือช่องทางการสื่อสาร คือการเลือกสื่อไม่เหมาะสม สื่อสารผิดช่องทาง

4. อุปสรรคเกิดจากผู้รับสาร เช่น ขาดความสามารถในการรับสาร ทัศนคติไม่ดี ไม่สนใจที่จะรับสาร

5. อุปสรรคที่เกิดจาดสิ่งแวดล้อมของการสื่อสาร ขาดความเหมาะสมในแง่เวลา สถานที่ บุคคล เช่น หัวหน้าสื่อสารกับลูกน้องในสถานที่มีเสียงดังมาก ทำให้ผู้รับสารไม่ได้ยิน หรือไม่มีสมาธิที่จะฟังหัวหน้า

เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet: MSDS) หมายถึง เอกสารที่ให้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมี ทั้งในแง่สุขภาพ อัคคีภัย การเกิดปฏิกิริยา สิ่งแวดล้อม และข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสารเคมีนั้นๆ

ข้อมูลและรูปแบบของเอกสารข้อมูลความปลอดภัย

แบบ ANSI (American National Standard Institute.) รูปแบบสถาบันมาตรฐานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย 16 ส่วน

1. ข้อมูลผลิตภัณฑ์ 2. ส่วนประกอบที่สำคัญ 3. อันตรายของสาร 4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 5.มาตรการผจญเพลิง

6.มาตรการจัดการสารหกรั่วไหลโดยอุบัติเหตุ 7.การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ 8.การควบคุมการได้รับสารและการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 9.คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี 10.ความเสถียรและความไวในการทำปฏิกิริยา 11.ข้อมูลด้านพิษวิทยา 12.ข้อมูลด้านนิเวศวิทยา 13.การกำจัดสาร 14.ข้อมูลด้านการขนส่ง 15.ข้อบังคับและระเบียบปฏิบัติทางกฎหมาย

16.ข้อมูลอื่นๆ เช่น รายชื่อเอกสารอ้างอิง การจัดระดับอันตรายของสาร

เอกสารข้อมูลความปลอดภัยรูปแบบ ICSC (International Chemical Safety Card: ICSC) เป็นเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)ร่วมกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และคณะกรรมาธิการกลุ่มประเทศยุโรป ค่อนข้างกระชับกว่ารูปแบบแรก ประกอบด้วย 11 ส่วน

1. ข้อมูลสารเคมี 2.องค์ประกอบสูตร 3.อันตรายของสาร 4.การหกรั่วไหลและการกำจัด 5.การจัดเก็บ 6.การบรรจุติดฉลากและขนส่ง 7.ข้อมูลสำคัญ ระบุค่าอันตรายทางกายภาพและเคมี 8.คุณสมบัติทางกายภาพ 9.ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม 11.หมายเหตุ

เอกสารข้อมูลความปลอดภัย ตามแบบ วอ/อก3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 กำหนดให้ ยึดตามมาตรฐาน ISO 11014-2 โดยประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ 16 ส่วน

1. ข้อมูลทั่วไป 2.ส่วนผสม 3.คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี 4.ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย 5.การปฐมพยาบาล 6.การปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้ 7.การปฏิบัติเมื่อเกิดการรั่วไหล 8.การใช้และการจัดเก็บ 9.ค่ามาตรฐานความปลอดภัย 10.ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา 11.ข้อมูลด้านพิษวิทยา 12.ข้อมูลผลกระทบต่อระบบนิเวศ 13.การกำจัด/ทำลาย 14.ข้อมูลสำหรับการขนส่ง 15.สัญลักษณ์หรือฉลาก 16.ข้อมูลอื่นๆ

เอการข้อมูลความปลอดภัย ตามแบบ สอ. 1 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ 8 ส่วน

1. รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ 2.การจำแนกสารเคมีอันตราย 3.สารประกอบที่เป็นอันตราย 4.ข้อมูลทางกายภาพและเคมี 5.ข้อมูลด้านอัคคีภัยและการระเบิด 6.ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ 7.มาตรการด้านความปลอดภัย 8.ข้อปฏิบัติที่สำคัญ

แหล่งข้อมูลของเอกสารข้อมูลความปลอดภัย สามารถหาได้จาก บริษัทผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายสารเคมี และทางอินเทอร์เน็ต

การจัดเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในสถานประกอบการ

1. สำรวจชนิดและปริมาณสารเคมี

2.การรวบรวมจัดทำบัญชีแสดงรายชื่อสารเคมีและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย

3.การจัดทำสำเนาเอกสารข้อมูลความปลอดภัยและเผยแพร่ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) มี

- ผู้ปฏิบัติงานที่สำผัสกับสารเคมี - ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมี – ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพ

4.การฝึกอบรม

5. การปรับปรุงแก้ไขเอกสารข้อมูลความปลอดภัย กระทำได้ใน2 ลักษณะคือ – เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สารเคมีในสถานประกอบการ และ – เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญในเอกสารข้อมูลความปลอดภัย เช่น เปลี่ยนแปลงส่วนผสมหรือส่วนประกอบ และข้อมูลสุขภาพ

สีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วไปในสถานที่ทำงาน

นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสถานประกอบการวัตถุประสงค์

1.เพื่อแสดงให้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการห้ามและการบังคับต่างๆ

2.เพื่อเตือนให้ทราบถึงข้อปฏิบัติในการป้องกันอันตรายและเหตุฉุกเฉิน

3.เพื่อบอกตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ต่างๆไ เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

4.เพื่อบอกข้อมูลทิศทางให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้มาเยี่ยมชมโรงงานทราบ

สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัด

สีเพื่อความ

ความหมาย

ตัวอย่างการใช้งาน

สีตัด

ปลอดภัย




สีแดง

.- หยุด

.- เครื่องหมายหยุด

สีขาว



.- เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน




.- เครื่องหมายห้าม


สีเหลือง

.-ระวัง

.- ชี้บ่งว่ามีอันตราย(เช่นไฟ วัตถุระเบิด กัมมันตภาพรังสี

สีดำ


.-มีอันตราย

วัตถุมีพิษ และอื่นๆ )




.- ชี้บ่งถึงเขตอันตราย ทางผ่านที่มีอันตราย เครื่องกีดขวาง




.- เครื่องหมายเตือน


สีฟ้า

.- บังคับให้ต้องปฏิบัติ

.- บังคับให้ต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

สีขาว



.- เครื่องหมายบังคับ


สีเขียว

.-แสดงภาวะปลอดภัย

.- ทางหนี

สีขาว



.- ทางออกฉุกเฉิน




.- ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน




.- หน่วยปฐมพยาบาล




.- หน่วยกู้ภัย




.- เครื่องหมายสารนิเทศแสดงภาวะปลอดภัย


หมายเหตุ 1. สีแดงยังใช้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิง และตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย

2. อาจใช้สีแดงส้มวาวแทนสีเหลืองได้ แต่ไม่ให้ใช้แทนสีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย โดยทั่วไปมี 4 ประเภท

เครื่องหมายความปลอดภัยโดยทั่วไปมี 4 ประเภท

ประเภท

รูปแบบ

สีที่ใช้

หมายเหตุ



สีพื้นเป็นสีขาว

.- พื้นที่ของสีแดงต้องมี

เครื่องหมายห้าม

สีของแถบตามขอบวงกลม

อย่างน้อยร้อยละ 35


และแถบขวางเป็นสีแดง

ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย


สัญลักษณ์ภาพเป็นสีดำ





เครื่องหมายเตือน


สีพื้นเป็นสีเหลือง

.- พื้นทีสีเหลืองต้องมีอย่างน้อย


สีของแถบตามขอบเป็นสีดำ

ร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของ


สีของสัญลักษณ์ภาพเป็นสีดำ

เครื่องหมาย




เครื่องหมายบังคับ


สีพื้นเป็นสีฟ้า

.- พื้นที่ของสีฟ้าต้องมีอย่างน้อย


สีของสัญลักษณ์ภาพ

ร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด


เป็นสีขาว

ของเครื่องหมาย




เครื่องหมายสารนิเทศ


สีพื้นเป็นสีเขียว

.- พื้นที่สีเขียวต้องมีอย่างน้อย

เกี่ยวกับสภาวะ

สีของสัญลักษณ์ภาพ

ร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด

ความปลอดภัย

เป็นสีขาว

ของเครื่องหมาย



.- อาจใช้รูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้

เครื่องหมายความปลอดภัยด้านสารอันตราย

มีใช้กันหลายระบบ ที่ใช้แพร่หลายในประเทศไทยมีดังนี้

1. ระบบ NFPA 704 M เป็นระบบที่กำหนดขึ้นโดยสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association:

NFPA) ของสหรัฐอเมริกา มีลักษณะเป็นรูปเพชร หรือรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทำมุม 45 องศา ซึ่งภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดอีก 4 รูป จะมีสีแตกต่างกันไปคือสีแดงแสดงอันตรายจากความไวไฟ สีน้ำเงินแสดงอันตรายต่อสุขภาพ สีเหลืองแสดงอันตรายจากปฏิกิริยาและสีขาวแสดงอันตรายพิเศษต่างๆนอกจากนี้ ภายในสี่เหลี่ยมยังมีหมายเลขกำกับ 0 ถึง 4 แสดงลำดับความรุนแรง 0 มารุนแรง ระดับ 4 อันตรายและรุนแรงที่สุด

2. ระบบ HMIS (Hazardous Materials Identification System) เป็นระบบพัฒนาขึ้นมาจากสมาคมสีและการเคลือบแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแถบสี 4 สี คล้ายกับระบบ NFPA แถบสีน้ำเงินแสดงอันตรายต่อสุขภาพ แถบสีแดงแสดงอันตรายจากความไวไฟ แถบสีเหลืองแสดงอันตรายจากปฏิกิริยา แถบสีขาวแสดงอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย

ส่วนบุคคล จะระบุตัวเลข 0 ถึง 4 เรียงลำดับอันตรายจากน้อยไปมาก นิยมใช้กับภาชนะบรรจุขนาดเล็กที่มีการขนถ่าย เคลื่อนย้าย ภายในสถานประกอบการ

3. ระบบEU (European Union: EU) มักนิยมใช้กับภาชนะบรรจุขนาดเล็ก โดยเฉพาะในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีภาพ ได้แก่ สารระเบิด (E) สารออกซิไดซ์ (O)สารไวไฟสูง (F) สารไวไฟสูงมาก (F+) สารมีพิษ(T) สารมีพิษรุนแรง(T+) สารอันตราย(Xn) สารระคายเคือง (Xi) สารกัดกร่อน (C) สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (N)

4. ระบบ UN เป็นระบบที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations) จัดทำขึ้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดมีภาพ ตัวหนังสือประกอบ แบ่งเป็น 9 ประเภท

ได้แก่ สารระเบิด มี 6ประเภทย่อย ก๊าซ มี 3ประเภทย่อย ของเหลงไวไฟ ของแข็งไวไฟ มี 3 ประเภทย่อย สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ มี 2ประเภทย่อย สารพิษและสารติดเชื้อมี 2 ประเภทย่อย วัตถุกัมมันตรังสี สารกัดกร่อน สารอันตรายอื่นๆ

องค์การสหประชาชาติได้แบ่งวัตถุอันตรายเป็น 9 ประเภท เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและการขนส่ง และได้กำหนดสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายดังต่อไปนี้

วัตถุระเบิด


ก๊าซ


ของเหลวไวไฟ


ของแข็งไวไฟ วัตถุที่ทำให้เกิดการลุกไหม้ได้เอง วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ


วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์


วัตถุมีพิษ วัตถุติดเชื้อ


วัตถุกัมมันตรังสี


วัตถุกัดกร่อน


วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย


การดำเนินการติดเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยด้านสารอันตราย เพื่อเป็นการชี้บ่งหรือแจ้งเตือนอันตรายของสารอันตรายมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้

1. การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เช่น จำนวน ชนิด ลักษณะที่ใช้สารอันตราย เพื่อข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำติดฉลาก

2. การจัดทำฉลากหรือเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยด้านสารอันตราย

3. การติดฉลากหรือเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยด้านสารอันตราย

4.การฝึกอบรม เพื่อเข้าใจการใช้งานติดฉลาก สัญลักษณ์

5.การตรวจสอบปรับปรุงข้อมูล เมื่อมีการนำข้อกำหนดใหม่มาใช้

เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ

ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายประกาศ โปสเตอร์ การกระจายเสียงตามสาย ป้ายอิเลคทรอนิคส์ การสนทนาความปลอดภัย

เครื่องมือ

ข้อดี

ข้อเสีย

1.สื่อสิ่งพิมพ์

.- นำเสนอข่าวสารได้ละเอียด

.- ไม่คุ้มค่าในการจัดพิมพ์ปริมาณน้อยๆ


.- กระจายไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก

.- ใช้งบประมาณสูงในการจัดพิมพ์


.- ผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้ในเวลา

ในรูปแบบที่มีสีรูปภาพจำนวนมาก


และสถานที่ที่ต้องการ


2. ป้ายประกาศ

.- สามารถสื่อถึงผู้อ่านได้ครั้งละมากๆ

.- ต้องมีผู้ปรับเปลี่ยนบทความ และ



ข้อมูลในการนำเสนออยู่เสมอ

3. โปสเตอร์

.- มีสีและรูปภาพที่ดึงดูดความสนใจ

.- สื่อข้อความ หรืออธิบายเนื้อความได้น้อย



.- ต้องมีการปรับเปลี่ยน หรือ หมุนเวียน



ตำแหน่งอยู่เสมอ

4.การกระจายเสียงตามสาย

.- สื่อข้อความที่เป็นปัจจุบันได้ดี

.- ไม่เหมาะสมในสถานที่ที่มีเสียงดังรบกวน


.- ใช้เสียงเพลงประกอบเพื่อสร้าง

.- ผู้ปฏิบัติงานอาจไม่มีสมาธิในการฟัง


ความน่าสนใจและเสริมสร้างการรับรู้

โดยเฉพาะในเวลาปฏิบัติงาน


ของผู้ปฏิบัติงานได้


5. ป้ายอิเลคทรอนิคส์

.- สื่อข้อความที่เป็นปัจจุบันได้ดี

.- ใช้งบประมาณในการจัดทำและติดตั้ง


.- ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนข้อมูลที่จะนำ

ค่อนข้างสูง


เสนอ

.- ช่วงเวลาในการอ่านข้อความค่อนข้างสั้น

6. การสนทนาความปลอดภัย

.- ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสซักถาม แสดง

.- ผู้นำเสนอจะต้องมีความสามารถในการ


ความคิดเห็น และเสนอข้อมูลป้อนกลับได้

นำเสนอ และโน้มน้าวความสนใจของผู้


.- สามารถใช้สื่อที่เป็นข้อความภาพ

เข้าร่วมสนทนาได้ดี


และเสียง ผสมผสานกัน


การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก

GHS (Globally Harmonized System ) เป็นระบบสากลว่าด้วยการแบ่งกลุ่มสารเคมี การติดฉลากและการจัดทำเอกสารความปลอดภัย ให้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลและอันตรายของสารเคมีให้ ทุกคนเข้าใจได้โดยง่าย โดยเฉพาะผู้บริโภค ผู้ปฏิบัติงานในการขนส่ง และผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

วัตถุประสงค์ของ GHS

1. ทำให้ระบบข้อมูลที่บอกความเป็นอันตรายของสารเคมีทั่วโลกเป็นระบบเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน สื่อสารให้ทุกคนเข้าใจง่าย

2.เพิ่มระดับการปกป้องสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีระบบสากลควบคุม

3.ลดภาระการทดสอบและประเมินสารเคมี และช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าสารเคมีระหว่างประเทศ

4. เป็นแนวทางให้กับประเทศที่ยังไม่มีระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมี

การแบ่งกลุ่มสารเคมีในระบบ GHS แบ่งเป็นสองประเภท คือ อันตรายทางกายภาพ และอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

อันตรายทางกายภาพ แบ่งออกเป็น 16 ประเภทคือ 1.วัตถุระเบิด 2.ก๊าซไวไฟ 3.สารละอองลอยไวไฟ 4.ก๊าซออกซิไดซ์ 5.ก๊าซภายใต้ความดัน 6.ของเหลงไวไฟ 7.ของแข็งไวไฟ 8.สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง 9.ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในบรรยากาศ

10.ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ 11.สารที่เกิดความร้อนได้เอง 12.สารที่สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ 13.ของเหลวออกซิไดซ์ 14.ของแข็งออกซิไดซ์ 15.สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ 16.สารกัดกร่อนโลหะ

อันตรายทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 11 ประเภทคือ

1. ความเป็นพิษเฉียบพลัน

2. การกัดกร่อนการระคายเคืองต่อผิวหนัง

3. การทำลายดวงตาอย่างรุนแรง / การละคายเคืองต่อดวงตา

4. ความไวต่อการแพ้กับระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง

5. การกลายพันธ์ของเซลล์สืบพันธ์

6. ความสามารถในการก่อมะเร็ง

7. ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์

8. ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง การได้รับสัมผัสครั้งเดียว

9. ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง การได้รับสัมผัสซ้ำ

10. ความเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างหรือทำให้ปอดอักเสบ

11. ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

การติดฉลากตามระบบ GHS ประกอบด้วย ชื่อสารเคมี ชื่อผู้ผลิตและผู้จำหน่าย และการสื่อสารความเป็นอันตราย ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ

1.สัญลักษณ์แสดงอันตราย (Pictogram)

2.คำสัญญาณ (Signal Word) เช่น ใช้คำว่า Danger หรืออันตราย คำว่า Warning หรือ ระวัง

3.ข้อความแสดงอันตราย (Hazard Statements)

รูปสัญลักษณ์ (Pictogram) ต่าง ๆ ของสารเคมีตามมาตรฐาน GHSและความหมาย

รูปแบบของข้อมูลที่ต้องระบุในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยตราระบบ GHS (SDS : Safety Data Sheet) ประกอบด้วย 16หัวเรื่อง ที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีหรือสารผสม และบริษัทผู้ผลิตและ/หรือจำหน่าย (Identification)

2. ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazard (s) Identification

3.องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/Information on Ingredients)

4.มาตรการปฐมพยาบาล (First-Aid Measures)

5. มาตรการผจญเพลิง (Fire-Fighting Measure)

6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกและรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ (Accident Release Measure)

7. การขนถ่ายเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ (Handling and Storage)

8. การควบคุมการสัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล (Exposure Controls/Personal Protection)

9. คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (Physical and Chemical Properties)

10. ความเสถียรและการไวต่อปฏิกิริยา (Stability and Reactivity)

11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological Information)

12. ข้อมูลผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ (Ecological Information)

13. ข้อพิจารณาในการกำจัด (Disposal Considerations)

14. ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่ง (Transport Information)

15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulatory Information)

16. ข้อมูลอื่น ๆ (Other Information)

องค์ประกอบของโปรแกรมการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

วัตถุประสงค์ เพื่อให้แน่ใจได้มีการประเมินอันตรายจากสารเคมีทั้งหมดที่มีการผลิตหรือนำ เข้าใช้ และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายเหล่านั้นได้ถูกสื่อสารจากผู้ใช้สารเคมี (ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง) ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการเจ็บป่วยจากสารเคมีลดลง โดยในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องจัดให้มีโปรแกรม การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยขึ้น (Hazard Communication Programs : HCP) องค์ประกอบของโปรแกรมแบ่งตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้เป็น2 ฝ่าย

1. องค์ประกอบของโปรแกรมในส่วนของผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้นำเข้า มีหน้าที่รับผิดชอบ

- การกำหนดความเป็นอันตราย ของสารเคมี อันตรายต่อสุขภาพ

- การจัดการเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)

- การติดฉลาก (Label) ควรประกอบด้วย การชี้บ่งอันตรายของสารเคมี การแจ้งเตือนถึงอันตรายที่เหมาะสม ชื่อและที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิต ผู้นำเข้า

2. องค์ประกอบของโปรแกรมในส่วนของสถานประกอบการผู้ใช้สารเคมี

การเขียนโปรแกรมการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย นายจ้างต้องจัดให้มีการเขียนหัวข้อ เกี่ยวกับการติดฉลาก การจัดการเอกสารข้อมูลความปลอดภัย การให้ข้อมูลข่าวสารและฝึกอบรมพนักงาน

การบริหารจัดการโปรแกรมการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

1. นโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Policies and Procedures) ควรกำหนดเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย

2. ผู้รับผิดชอบโปรแกรม(Program Responsibilities)เช่นฝ่ายไหน ทำหน้าที่อะไร

3. การไหลของการสื่อสาร (Flow of Communication)

4. การควบคุมคุณภาพและปรับปรุงโปรแกรม (Quality Control and Program Improvement)

5. การดูแลรักษาบันทึกข้อมูล (Record Keeping)

- บัญชีแสดงรายชื่อสารเคมี และเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Chemical Lists and MSDS)

- บันทึกการฝึกอบรม (Training Records)

- ผู้รับเหมา (Contractors) บัญชีแสดงรายชื่อสารเคมีที่ผู้รับเหมาใช้ ข้อมูลความปลอดภัยจัดเตรียมโดยผู้รับเหมา เอกสารวิธีปฏิบัติที่ผู้รับเหมาจะปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมี

การตรวจสอบโปรแกรมการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

การตรวจสอบโปรแกรม (Program Audit) เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการบริหารการจัดการโปรแกรมการสื่อสารเพื่อ ความปลอดภัยให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการตรวจสอบ

1. การตรวจสอบเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง เช่นแผนงาน/โปรแกรมการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย เอกสารข้อมูลความปลอดภัย(MSDS) ระบบการติดฉลาก(Label) และบันทึกการฝึกอบรมพนักงาน

2. การสัมภาษณ์พนักงาน เป็นกลวิธีหนึ่งที่สำคัญในการตรวจสอบ ประสิทธิภาพของโปรแกรมการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยว่ามีผลในการสร้างความ ตระหนักให้กับพนักงาน ความรู้ เข้าใจ ปลอดภัยมากน้อยเพียงไร เช่น สารเคมีที่ใช้อยู่ก่อให้เกิดอันตรายอะไรบ้าง ถ้าหก รั่ว ไหล ควรทำอย่างไร

3. การสำรวจ โดยทั่วไปนิยมใช้การสำรวจโดยใช้แบบสำรวจ (Checklist) ช่วยในการตรวจสอบ รูปแบบอาจจะง่ายๆสั้นๆเพื่อความรวดเร็ว หรือมีรายละเอียดค่อนข้างมากเพื่อความสมบูรณ์ของการตรวจสอบ

manasu

หน่วยที่ 9 เทคนิคการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Training) หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานอย่าง เป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรเกิดการเรียนรู้หรือเพิ่มพูนความ รู้ (Knowledge) สร้างเสริมทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) ที่ถูกต้องและเหมาะสมอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Practice) ให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งสามารถดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัยจากการทำงานได้ และมีเหตุผลสำคัญ สอดคล้อง คือ

1. ทรัพยากรบุคคลหรือบุคลากรเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับองค์กร การป้องกันไม่ให้สูญเสียบุคลากรเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย การกระทำที่ไม่ปลอดภัย โดยใช้หลัก 3 E Engineering Education Enforcement นั่นคือ การใช้วิธีทางวิศวกรรม การให้ความรู้ และการกำหนดระเบียบปฏิบัติหรือกฎข้อบังคับ แก้ไข

2. ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น กฎกระทรวงแรงงานกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ ศ 2549 หมวด 1 ข้อ 3 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมให้ลูกจ้างสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย

ความจำเป็นในการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย

วัตถุประสงค์ คือ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานได้รับการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเกิดความเจ็บป่วยจากโรคจากการประกอบอาชีพ และมีความจำเป็นประเด็นอื่นดังนี้

1. ลดต้นทุนของการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพของงาน เมื่อพนักงานได้รับการอบรม มีความรู้ อุบัติเหตุจากการทำงานย่อมลดลง การสูญเสียค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ทรัพย์สินเสียหาย หรือเวลาทำงานสูญเสีย ย่อมลดลงด้วยส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง

2. สร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงานและลดอัตราการลาออกของพนักงาน การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานจะทำให้พนักงานมีความมั่นใจและพึงพอใจ ในการปฏิบัติงาน มีขวัญและกำลังใจดี ส่งผลให้การลาออกลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานได้

ความต้องการฝึกอบรม (Training Needs) หมายถึง การปฏิบัติงานของพนักงานมีข้อขัดข้อง เกิดปัญหา ขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่มีทัศนคติที่ถูกต้อง จึงจำเป็น ต้องแก้ไขด้วยการให้ความรู้

สัญญาณที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า มีความจำเป็นต้องฝึกอบรมคือ

- มีอุบัติเหตุการบาดเจ็บ ลาหยุดงานบ่อย

- งานทำไม่เสร็จตามกำหนด

- ผลิตภัณฑ์ที่ได้/ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพสินค้า

- เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตเสียบ่อยมาก ขาดการแลซ่อมบำรุง หยุดซ่อมเป็นประจำ

- การปฏิบัติงานของพนักงานเฉื่อยชา ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน ขาดระเบียบวินัย อัตราการลาออกสูง

การวิเคราะห์หาความจำเป็นหรือความต้องการการฝึกอบรมสามารถดำเนินการได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้

1. การสังเกต (Observation) ว่ามีตัวบ่งชี้หรือสัญญาณอะไรบ้าง เช่นอุบัติเหตุเกิดขึ้น

2. การสัมภาษณ์ (Interviewing) สอบถามด้วยวาจา กับพนักงานหรือผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับสภาพการทำงาน ลักษณะของงาน

3. ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ส่งแบบสอบถามให้พนักงานตอบกลับ โดยไม่ต้องระบุชื่อหรือหมายเลข

4. การสำรวจ (Survey) คือการเดินสำรวจตรวจสอบ ว่ามีอะไรผิดปกติ อาจทำการสัมภาษณ์ไปด้วย

5. การทดสอบ (Testing) อาจเป็นการทดสอบการทำงาน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานควรทำเมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

1. รับผู้ปฏิบัติงานเข้ามาใหม่

2. เกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บต่างๆ ในโรงงาน

3. ผู้ปฏิบัติงานโยกย้ายเปลี่ยนแปลงหน้าที่

4. มีการปรับปรุงกฎระเบียบ เทคนิควิธีการทำงานใหม่

5. มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ติดตั้งเครื่องจักรใหม่

6. พนักงานขาดทักษะในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

ประเภทของการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน

1. ชนิดของแหล่งการฝึกอบรม แบ่งเป็น2 ประเภท คือ

- การจัดการฝึกอบรมในองค์กรหรือโรงงานเอง ( In House Training)

- การส่งพนักงานไปฝึกอบรมกับหน่วยงานอื่นภายนอกโรงงาน (Outside Training)

2. ช่วงระยะเวลาของการทำงาน ขณะกำลังปฏิบัติงานอยู่หรือหยุดพักการปฏิบัติงานชั่วคราวเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม

- การฝึกอบรมในงาน (On-the-Job Training) คือให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกอบรมลงมือปฏิบัติงานจริงตามที่ได้รับมอบ หมายให้ปฏิบัติ โดยมีผู้ให้การอบรมเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลแนะนำ เช่นการฝึกอบรมปฏิบัติงานกับเครื่องจักร

- การฝึกอบรมนอกงาน (Off-the-job Training) คือ พนักงานต้องหยุดงานเพื่อเข้าร่วมการฝึกปฏิบัติงานที่อยู่ภายนอกโรงงาน เช่น หลักสูตร หม้อไอน้ำ

3. ความชำนาญที่ต้องการให้เกิดขึ้น หมายถึง สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวพนักงานหลังจากการฝึกอบรมผ่านพ้นไปแล้ว

3.1 ทักษะทางด้านเทคนิควิธีการ(Technical Skill Training) การฝึกอบรมที่ต้องการเน้นทางด้านพัฒนาทักษะเกี่ยวข้องโดยตรงของชนิดการ ปฏิบัติงานของพนักงานโดยเฉพาะ เช่น หลักสูตร การจัดทำมาตรฐาน หรือ คณะกรรมการความปลอดภัย

3.2 ทักษะทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relationship Skill Training)

3.2 ทักษะทางด้านการบริหาร ( Managerial Skill Training)

4. ระดับชั้นของพนักงาน คือระดับการปฏิบัติหน้าที่การทำงาน ความรับผิดชอบของพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรม แบ่งเป็น

- ระดับผู้บริหารชั้นสูง (Executive Training) เนื้อหาเฉพาะผู้บริหารระดับสูง เช่นการพัฒนาองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจ การบริหารจัดการระดับสูง เป็นต้น

- ระดับผู้จัดการ (Managerial Training) ฝึกอบรมในระดับที่รองลงมา ได้แก่ผู้บริหารระดับผู้จัดการ เนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือองค์การและการจัดการ

- ระดับหัวหน้างาน (Supervisor Training) เกี่ยวกับบริหารระดับต้น กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง

- ระดับพนักงาน (Employee Training) หลักสูตรเน้นที่ การปฎิบัติงาน ด้วยความปลอดภัยกับเครื่องจักร การบำรุงรักษาเครื่องจักร 5 ส เป็นต้น

หลักการเรียนรู้เทคนิควิธีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน

วิทยากร ต้องระลึกเสมอว่าหลักสำคัญในการเรียนรู้ของบุคคลนั้นมีความสำคัญที่จะทำให้ การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยประสบผลสำเร็จ มีหลักดังนี้คือ

1.ผู้รับการฝึกอบรมต้องมีความพร้อมที่จะอบรม ต้องชี้แจงความสำคัญ ให้พนักงานเกิดความสนใจ พร้อมที่จะอบรม

2. ผู้รับการฝึกอบรมจะเรียนรู้ได้ง่ายเข้าเมื่อสิ่งที่ฝึกอบรมนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับงานที่ปฏิบัติเป็นประจำ เช่นเปลี่ยนวิธีการทำงานจากการใช้แรงงานที่ทำแต่เดิม มาเป็นการควบคุมไฟฟ้าอัตโนมัติ

3. ผู้รับการฝึกอบรมจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้รับการฝึกอบรมตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) เช่นการฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัย ขั้นตอนแรกการประกอบเครื่องมือ และขั้นตอนต่อๆไป การใช้เครื่องมือ และการจัดเก็บอย่างถูกต้อง

4. ผู้รับการฝึกอบรมจะเรียนรู้ได้ก็โดยการลงมือปฏิบัติ น่าจะเป็น หลักการที่สำคัญที่สุด เช่นอบรมเรื่องขับขี่รถฟอร์คลิฟท์อย่างปลอดภัยหลังจากเรียนทฤษฎีแล้ว จะต้องให้พนักงานทดลองขับด้วย จะเกิดความรู้ได้อย่างลึกซึ้ง

5. ผู้รับการฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้สิ่งที่เรียนมาบ่อยๆ ครั้ง จะทำให้จดจำได้และเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถ้าเรียนรู้มาไม่ได้ใช้ก็จะลืม แต่ถ้าใช้ประจำ ก็จะมีความชำนาญและเกิดทักษะ

6. การประสบผลสำเร็จจากการฝึกอบรมจะกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดการอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นอีก

เช่นขับรถฟอร์คลิฟท์ได้อย่างดีได้รับคำชมหรือประกาศเกียรติคุณ เน้นแรงจูงใจจะทำให้พนักงานผู้นี้สนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆขึ้นอีก

7. ผู้รับการฝึกอบรมต้องการป้อนกลับในสิ่งที่เรียนรู้ วิทยากรควร สะท้อนป้อนกลับ(Feed Back) สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ไปแล้วว่าเป็นอย่างไร ผ่าน-ไม่ผ่าน ใช้ได้-ใช้ไม่ได้ อาจพยักหน้า คำพูดง่ายๆ ทำดีแล้ว ถูกต้องใช้ได้ หรือทำรายงานความก้าวหน้า

เทคนิควิธีการฝึกอบรม

1. การฝึกอบรมเป็นรายบุคคลมุ่งเน้นความรู้

1.1 โปรแกรมการฝึกอบรมด้วยตัวเองทางด้านความปลอดภัย (Safety programmed Instruction) เป็นแบบเรียนด้วยตัวเองทางด้านความปลอดภัยผู้รับการฝึกอบรมต้องศึกษาเนื้อหา ตามลำดับ เช่น ชุดการเรียนการสอนด้านความปลอดภัย ทำกิจกรรมแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน

1.2 การสอนโดยคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer –Assisted Instruction: CAI) คือการเรียนรู้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้จัดทำไว้

2. เทคนิควิธีการฝึกอบรมเป็นรายบุคคลที่มุ่งเน้นทางด้านทัศนคติ ทักษะและความสามารถทางด้านความปลอดภัย

การฝึกอบรมในงาน (On the Job Training) มีขั้นตอนดังนี้

1.สำรวจฝ่าย/แผนกที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม รวบรวมเนื้อหาในการทำงานของฝ่าย/แผนก มาจัดทำรายการทักษะความชำนาญทางด้านความปลอดภัยของพนักงาน

2. จัดทำรายการฝึกของพนักงานในแต่ละฝ่าย/แผนก กำหนด ใครจะฝึกฝ่ายไหน จำนวนเท่าไหร่ ช่วงระยะเวลา เป็นแนวปฏิบัติการฝึกอบรมของหน่วยงาน

3. จัดทำคู่มือการฝึกอบรมในงาน มีรายละเอียด ขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เน้นทักษะความชำนาญตามที่ได้ทำการสำรวจไว้แล้ว

4. กำหนดผู้ดูแลทำหน้าที่ฝึกอบรมพนักงานหรือพี่เลี้ยงอาจจะเป็นพนักงานเก่าที่มีทักษะความชำนาญงานอย่างดี

5. ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนปฏิบัติการ โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแลให้คำแนะนำ แก้ไข

6. สรุปรายงานผลการอบรม โดยวิทยากรหรือพี่เลี้ยง เพื่อผู้จัดอบรมรายงานผลให้ผู้บริหาร

3. เทคนิควิธีการฝึกอบรมซึ่งมุ่งเน้นความรู้และการเรียนรู้ทางด้านความปลอดภัยเป็นกลุ่มของพนักงาน

3.1 การบรรยาย (Lecture) คือการพูดบรรยายสาระความรู้ต่างๆ โดยวิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ไปสู่กลุ่มผู้ฟังจำนวนมาก วิทยากรจึงต้องเตรียมเนื้อหาการบรรยาย สื่อที่ใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ฟังได้ได้เกิดความเข้าใจและสนใจต่อหัวข้อบรรยาย

3.2 การอภิปรายหมู่ (Panel Discussion) หรือการอภิปรายเป็นคณะ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ 3-5 คน มีผู้ดำเนินรายการ จัดให้วิทยากรสลับกันพูด ปกติอย่างน้อยคนละ 2 รอบ

3.3 การระดมสมอง (Brain Storming) หรือการอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม กลุ่มละ 4-12 คนให้สมาชิดทุกคนได้แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเสรี ไม่ตัดสินว่าใครถูกใครผิด นำข้อคิดเห็นไปสู่ผลการสรุปของการประชุม

3.4 ทัศนศึกษา (Field Trip) คือนำพนักงานไปเยี่ยมชมอีกโรงงานหนึ่งเพื่อนำความรู้ ประสบการณ์มาพัฒนาปรับปรุงงานของตนเอง

4. เทคนิควิธีการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นทัศนคติทางด้านความปลอดภัยและมุ่งเน้นทักษะและความสามารถทางด้านความปลอดภัยเป็นกลุ่มของพนักงาน

4.1 การสาธิต (Demonstration) คือการให้พนักงานผู้เข้ารับการอบรมได้เห็นจริงโดยการแสดงให้ดูโดยวิทยากร หรือผู้มีประสบการณ์ และให้พนักงานได้ปฏิบัติตามการสาธิตโดยวิทยากรคอบกำกับดูแล ให้คำแนะนำ

4.2 การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นเทคนิคที่เน้นประสบการณ์ในการปฏิบัติได้จริงๆ ให้ผู้เข้ารับการอบรมเพิ่มประสบการณ์โดยเน้นหนักนำไปใช้ปฏิบัติการมากกว่า การพูดคุย สัมมนา เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจความปลอดภัยในโรงงาน

4.3 สถานการณ์จำลอง (Simulation) ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เห็นสภาพของจริง คือภายในสถานที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยอย่างไร มีอุบัติติเหตุเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน

4.4 บทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นการกำหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแสดงบทบาทตามที่ได้รับมอบหมายใน สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เช่นเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน คนงานบาดเจ็บต้องหยุดงาน กำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นหัวหน้างานแผนกต่างๆ ร่วมกันอภิปรายวิเคราะห์สาเหตุ สรุปแนวทางแก้ไข

การวางแผนจัดการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน

การฝึกอบรมความปลอดภัยที่เป็นระบบการจัดการ

จะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญทั้ง 4 ด้านคือ

1.ปัจจัยนำเข้า (Input) พนักงานในระดับต่างๆ หรือโรงงานที่ต้องการฝึกอบรม

2. ปัจจัยของกระบวนการ (Process) ได้แก่เทคนิควิธีการฝึกอบรมทุกวิธีที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การบรรยาย สาธิต การระดมสมอง

3. ผงลัพธ์ (Output) สิ่งที่คาดหวัง พนักงานมีความรู้ทัศนคติที่ถูกต้อง ปฏิบัติงานที่ปลอดภัย

4. การป้อนกลับ (Feed Back) การประเมิน ปรับปรุงแก้ไข และนำเข้ากระบวนการใหม่

ขั้นตอนการวางแผนจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย มี 5 ขั้นตอน

1. การวิเคราะห์ความต้องการการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย

2. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการอบรม

3. การออกแบบโครงการฝึกอบรม

- กำหนดพฤติกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ต้องการเปลี่ยนแปลง

- กำหนดหัวข้อวิชาการต่างๆ ลงในหลักสูตร - จัด ทำหลักสูตร

- ทำการประเมิน ปรับปรุงหลักสูตรอบรม

4. การเตรียมการและการดำเนินการการฝึกอบรม

5. การประเมินผลและสรุปรายงาน

การประชาสัมพันธ์และรณรงค์ความปลอดภัยในการทำงาน

หมายถึง กระบวนการติดต่อสื่อสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องต่อกันเกี่ยวกับงานทางด้านความปลอดภัยและ มีการโฆษณาชักจูงอย่างต่อเนื่องในงานดังกล่าว โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำงานทางด้านความปลอดภัย จึงเป็นการสื่อสารที่มีลักษณะสำคัญดังนี้

1 . เป็นการสื่อสารที่ต้องการโน้มน้าวความคิดเห็นของพนักงานที่เป็นจริง คือเมื่อดำเนินการไปแล้วก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานจริงๆ

2. เป็นการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ผู้ประชาสัมพันธ์และผู้รับ สามารถป้อนกลับ ได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี

3. เป็นการดำเนินงานที่ต้องมีการวางแผน และประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

4. เป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความเข้าใจ ความศรัทธา เกิดค่านิยม เกิดความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

5. การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ใช้หลักทฤษฎีการประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ต่างๆ เรื่องสื่อสาร ศิลป์คือ ใช้หลักการจิตวิทยาบุคล มวลชนสัมพันธ์ ต่างๆ

ตัวบ่งชี้ของการประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ความปลอดภัยในการทำงานหรือสิ่งบอกเหตุว่าต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ ดังนี้คือ

1. อัตราอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ โรคจากการทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุต่างๆ

2. เกิดสภาพการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากกรทำงาน เช่น เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย สถานที่ทำงานสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย

3. ผู้ปฏิบัติงานละเลยไม่สนใจสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

4. มีของเสียที่เป็นมลพิษหรือของเสียอันตรายรั่วไหลจากกระบวนการผลิตของโรงงาน

5. มีเหตุร้องเรียนต่างๆ จากชุมชนหรือองค์กร เกี่ยวกับกระบวนการผลิตของโรงงาน

ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ความปลอดภัยในการทำงาน

- ทำให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมที่ถูกต้องในการทำงานด้วยความปลอดภัย

- เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องความปลอดภัย

- ทำให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย

- ทำให้เกิดความสนใจในการทำงานด้านความปลอดภัยคงอยู่ตลอดไป

- เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานและชื่อเสียงของโรงงาน

สื่อและบทบาทของสื่อในการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ความปลอดภัยในการทำงาน

1.บทบาทต่อพนักงานในโรงงาน

- ทำให้พนักงานทุกคนได้รับรู้ข่าวสาร

- ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความปลอดภัย

2. บทบาทต่อโรงงานหรือสถานประกอบการ

- เป็นแหล่งวิทยาการและข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพราะสื่อเป็นแหล่งรวมความรู้ ทั้งสื่อบุคคลและเอกสาร

- เป็นตัวกระตันเตือนและเป็นตัวเร่ง รายงานข้อมูลผลการดำเนินงาน รณรงค์ สถิติอุบัติเหตุ และแจ้งข่าวด่วน

- เป็นการชักจูงโน้มน้าวและสร้างความเข้าใจอันดี กับบุคลากรทุกคน เกิดทัศนคติพฤติกรรมที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

- ทำให้โรงงานหรือสถานประกอบการเกิดภาพลักษณ์ที่ดี เนื่องจากมีสื่อที่ดี ให้ข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องเกิดความรักและผูกพันกับโรงงาน

3. บทบาทต่อชุมชนหรือสังคมรอบโรงงาน เนื่องจากผลผลิตและของเสียที่ออกจากโรงงานอาจจะกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม

- ให้ความรู้ความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ชาวบ้านหรือชุมชนเข้าใจว่าโรงงานมีการกำจัดของเสียก่อนนำออกสู่ภายนอก เช่นการบำบัดน้ำเสีย

- การเตรียมชุมชน คือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยใช้สื่อต่างๆ ในภาวะปกติเพื่อให้ชุมชนเกิดความนิยมศรัทธา และพร้อมที่จะรับฟังข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากโรงงาน เช่นเปิดประตูบ้านให้ชุมชนเข้าเยี่ยมชมโรงงาน (Open House)

ประเภทของสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ความปลอดภัยในการทำงาน

1. สื่อบุคคล เป็นสื่อที่ใช้ประชาสัมพันธ์ได้ดีที่สุดเพราะสามารถพูด อธิบาย ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารได้อย่างคล่องตัวโดยใช้ทั้งวัจนภาษา และ อวัจนภาษา

1.1 การบรรยายหรือการอภิปราย ผู้บรรยายมีวิทยากร 1 คน ผู้รับฟัง ตั้งแต่ 20 คนหรือมากกว่า

1.2 การอภิปราย แตกต่างจากการบรรยายคือมีวิทยากรหลาย คน 3-5 คน โดยมีวิทยากร1 คนเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

1.3 การสัมมนา ใช้สื่อบุคคล ที่มีอาชีพเดียวกัน มีความสนใจหรือชำนาญเรื่องเดียวกัน มาประชุม หารือร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานใหม่ต่อไป

1.4 การพูดในที่สาธารณะ เป็นการใช้สื่อบุคคลพูดคุยในที่ชุมชน หรือที่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์

2. สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นการสื่อสารด้วยตัวหนังสือประกอบรูปภาพต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในโรงงานหรือ สถานประกอบการ มีหลายอย่างดังนี้

- แผ่นปลิว (Leaflet) หรือใบปลิว มีลักษณะเป็น แผ่นกระดาษแผ่นเดียว

- แผ่นพับ (Brochure) ลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียว พับเป็นส่วนๆ 3-4 ส่วน

- เอกสารเย็บเล่ม (Booklet) เอกสารหลายหน้า ที่นำมาเย็บเล่มรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นปกอ่อน

- จดหมายข่าว (New Letter) สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่แน่นอน เช่น ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน

- โปสเตอร์ (Poster) เป็นแผ่นป้ายประกาศขนาดใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งให้ทราบข่าวสารข้อมูลและกิจกรรมต่างๆ

- วารสาร (Journal) คือสื่อสิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานผลิตขึ้นเองเพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงานนั้นๆ มีกำหนดการที่ออกเผยแพร่แน่นอนทุก 1 - 3 เดือน เนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมที่หน่วยงานได้ดำเนินการไปแล้ว

- สื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ เช่นสติเกอร์ รูปลอก เข็มกลัด นามบัตร สิ่งพิมพ์ติดบอลลูนหรือ ลูกโป่ง เป็นต้น

3. สื่อกิจกรรม

- การจัดงานวันสำคัญหรือสัปดาห์สำคัญ

- การให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน การอุปถัมภ์ เช่น การทำบุญทอกกฐิน ให้ทุนการศึกษา

- การจัดทัศนศึกษา เช่น ให้พนักงานได้หาความรู้เยี่ยมชม โรงงานที่ อื่นๆ

4. สื่อที่เป็นภาพและเสียงที่สำคัญ ได้แก่สื่อมีใช้รณรงค์และประชาสัมพันธ์งานด้านความปลอดภัยที่เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพที่มีการเคลื่อนไหวและเสียง ดังนี้

- แผ่นภาพโปร่งใส ภาพนิ่งใช้ร่วมกับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

- เสียงตามสาย

- สื่ออิเลคทรอนิคส์ ได้แก่ เทปเสียงเทปภาพ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี ธัมไดรพ์

การดำเนินการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ความปลอดภัยในการทำงาน

จำเป็นต้องมีการจัดทำโครงการเพื่อเสนอผู้บริหารซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆคือ

1. การวิเคราะห์สถานการณ์

2.การกำหนดวัตถุประสงค์

3.การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

4. การกำหนดวิธีการดำเนินงานหรือกิจกรรมการดำเนินงาน

5. ทรัพยากรและทรัพยากรที่ต้องใช้

6.การควบคุมกำกับงานและการประเมินผลโครงการ ควบคุมโดยใช้แผนผังควบคุมกำกับงาน(Gantt Chart) หรือ บาร์ชาร์ท

(Bar Chart)

กิจกรรม

สัปดาห์ดำเนินการ

หมายเหตุ

1

2

3

4

5

6

7

8











1.ประชุมชี้แจง









.- ผู้รับผิดชอบ









2.เสนอขออนุมัติ



















3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์



















4. ดำเนินกิจกรรม



















5. ประเมินผลฯ



















6. สรุปรายงาน