รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศอย่างไร

ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

            รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดการปกครองของประเทศ สำหรับประเทศไทยนับ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข และประกาศใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการ ปกครองอีกหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมและ สอดคล้อ งกับสภาวกา รณ์ขอ งบ้านเมือ งที่ เปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย บรรดารัฐธรรมนูญ และธรรมนูญการปกครองที่มีมาทุกฉบับ มีสาระ สำคัญที่เหมือนกัน คือ การยึดมั่นในหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา- กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเทศไทยเป็นราช- อาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้โดย อาจมีเนื้อหาแตกต่างกันบ้างโดยเฉพาะเรื่อง สถานภาพของรัฐสภาและสัมพันธภาพระหว่าง อำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร เพื่อให้ เหมาะสมกับสภาพการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละ ยุคสมัย 

            รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารประเทศ โดยมุ่งถึงการปกครองรัฐหรือประเทศ อย่างถูกต้องเป็นธรรม รัฐธรรมนูญแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติเป็น ลายลักษณ์อักษร เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส ประเทศไทย เป็นต้น และรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือบางครั้งเรียกว่า รัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณีได้แก่ รัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 162 ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศอังกฤษ

ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

            รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศ การ กำหนดรูปแบบการปกครองประเทศ โดยกล่าวถึงอำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติอำนาจ บริหาร อำนาจตุลาการ การกำหนดโครงสร้างอำนาจ หน้าที่ และความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆ ที่ ใช้อำนาจอธิปไตย รวมทั้งการกำหนดสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ซึ่งความสำคัญ ของรัฐธรรมนูญสามารถสรุปได้ดังนี้ 

     1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย แม่บทในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายที่มีฐานะเหนือกว่าบรรดากฎหมายอื่นๆ บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ 

    2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบการปกครอง อำนาจ หน้าที่ และการ ใช้อำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทที่กำหนดรูปแบบโครงสร้างการปกครองของ ประเทศ กำหนดที่มา รวมถึงการใช้อำนาจอธิปไตย โดยมีบทบัญญัติว่า ประเทศไทยมีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาว ไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตาม บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีศาล รวมทั้งองค์กรตาม รัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม 

    3. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ให้หลักประกันและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน โดยที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความ เสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่ให้หลักประกัน และปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้น พื้นฐานของประชาชน เช่น สิทธิ เสรีภาพในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา การ ศึกษาเรียนรู้การรับรู้ข่าวสารข้อมูล เป็นต้น การละเมิดสิทธิเสรีภาพของ ผู้อื่นกระทำไม่ได้ไม่ว่าการกระทำนั้น จะเกิดจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ ของรัฐหรือจากการกระทำของประชาชน ด้วยกัน หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 163 

    4. รัฐธรรมนูญในฐานะเป็นเครื่องมือของการปฏิรูปการเมือง เพื่อนำพาประเทศชาติไป สู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยและความเจริญมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้โดยการกำหนดกลไก ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้องค์กรต่างๆ ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรเอกชน และประชาชนทั่วไปยอมรับในฐานะกฎหมายสูงสุด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของราช- อาณาจักรไทย จัดทำขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ที่ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นั้นมาจากการแต่งตั้งจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ที่ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยสำเร็จเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เห็นว่า มีความจำเป็นต้องกำหนดกลไกการปกครองที่เหมาะสมตาม ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อการฟื้นฟูความรู้รักสามัคคีระบบ เศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การเสริมสร้างระบบการตรวจสอบทุจริตที่ เข้มแข็งและระบบจริยธรรมที่ดีงาม และการส่งเสริมการ ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเพื่อให้ เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่ เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งขั้นตอนในการร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้ มีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอน และได้นำ ความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคำนึงพิเศษในการยก ร่างและพิจารณาแปรญัตติอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ได้ดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย 

            ัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยฉบับแรกที่กำหนดให้ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการออกเสียงลงประชามติเพื่อ รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้มีการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งผล การออกเสียงลงประชามติของประชาชนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศพบว่า ประชาชนร้อยละ 57.81 เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ดังนั้นจึงมีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

หลักการสำคัญที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ  

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีหลักการสำคัญ ดังนี้ 

1. ธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ 

2. ทำนุบำรุงศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร 

3. เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ 

4. ยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

5. คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 

6. ส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจ รัฐอย่างเป็นรูปธรรม  

7. กำหนดกลไกสถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและ ประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา  

8. มุ่งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม 

โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 

            โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบด้วยบทบัญญัติ 15 หมวด และบทเฉพาะกาลที่เป็นบทใช้บังคับชั่วคราว รวมมี309 มาตรา ดังนี้ 

 หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1 - 7) 

 หมวด 2 พระมหากษัตริย์(มาตรา 8 - 25) 

 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26 - 69)

 หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70 - 74)

 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75 - 87)

 หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88 - 162)

 หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163 - 165)

 หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166 - 170)

 หมวด 9 คณะรัฐมนตรี(มาตรา 171 - 196)

 หมวด 10 ศาล (มาตรา 197 - 228)

 หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229 - 258)

 หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259 - 278)

 หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279 - 280)

 หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281 - 290)

 หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)

 บทเฉพาะกาล (มาตรา 292 - 309) 

อำนาจอธิปไตยในรัฐธรรมนูญ

            อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ ความเป็นรัฐหรือประเทศ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วยอาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมี อำนาจสูงสุดในการปกครองตนเองจึงจะสามารถเรียกว่ารัฐได้ โดยทั่วไปอำนาจอธิปไตยแยกใช้เป็น 3 ลักษณะ คือ อำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ องค์กรฝ่าย นิติบัญญัติองค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่ายตุลากร ทั้ง 3 องค์กรจะมีกระบวนการเพื่อถ่วงดุล ซึ่งกันและกัน เพราะถ้าหากองค์กรใดเป็นผู้ใช้อำนาจมากกว่าหนึ่งส่วนแล้ว อาจเป็นช่องว่างให้เกิด การใช้อำนาจแบบเผด็จการได้ สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคือประชาชน และให้ประมุขของประเทศคือพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านองค์กรทางการเมืองต่างๆ คือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีและอำนาจตุลาการ ทางการศาล

    1. อำนาจนิติบัญญัติคือ อำนาจในการตรากฎหมายของรัฐเพื่อมาใช้บังคับแก่พลเมืองของ รัฐ องค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติคือ รัฐสภา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ประเทศ ไทยใช้ระบบ 2 สภา ได้แก่ 

        1) สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 480 คน โดยมาจากการเลือกตั้งที่มี2 ประเภท คือ 

             (1) สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน จำนวน 80 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ใดมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองที่จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกในเขตเลือกตั้ง นั้นได้1 เสียง  

             (2) สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง จำนวน 400 คน โดยให้ผู้มี สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งออกเสียงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่าจำนวนสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 ประเภท มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี  

        2) วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งใน แต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน และมาจากการสรรหาจำนวน 74 คน ทั้งนี้ในการ เลือกตั้งวุฒิสภาในแต่ละจังหวัด ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง วุฒิสภามีวาระ ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ 

             1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด 

             2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 171 

        3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะยุบสภาและต้องเป็นสมาชิก พรรคการเมืองเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง 

        4) ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติคือ

             (1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง 

             (2) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง 

             (3) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่า 5 ปี 

             (4) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครเลือกตั้งเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี 

        5) ผู้รับสมัครเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีคุณสมบัติ อื่นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ 

            1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด 

            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ 

            3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 

            4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใด อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 

                    (1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง  

                    (2) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง 

                    (3) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่า 5 ปี

                    (4) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี  

            5) ไม่เป็นบุพการีคู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ ดังนี้ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 172 

                   1) การเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจ หน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ส่วนวุฒิสภามีหน้าที่เพียงรับทราบมติเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากสภา ผู้แทนราษฎรเท่านั้น 

                    2) การควบคุมรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร โดย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐบาลและเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ ส่วนวุฒิสภามีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีและขอเปิดอภิปรายทั่วไปได้แต่ไม่มีสิทธิเปิดอภิปราย เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้  

                    3) การตรากฎหมายต่างๆ เป็นอำนาจหน้าที่ร่วมกันทั้ง 2 สภา โดยสภาผู้แทน ราษฎรจะเป็นผู้มีอำนาจริเริ่มในการตรากฎหมายต่างๆ ซึ่งในการตรากฎหมายอาจมาจากการเสนอ โดยคณะรัฐมนตรีก็ได้เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติร่างกฎหมายนั้นแล้วหรือวุฒิสภาเห็นว่ากฎหมาย นั้นดีแล้ว ก็จะมีมติให้ผ่านร่างกฎหมายนั้น หากเห็นว่ามีข้อบกพร่องอยู่ ก็จะลงมติให้แก้ไขข้อ บกพร่องนั้น แต่หากเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่สมควรประกาศใช้วุฒิสภาก็มีอำนาจยับยั้งกฎหมายนั้น ไว้ในระยะเวลาหนึ่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว หากสภาผู้แทนราษฎรยัง คงยืนยันในการใช้กฎหมายนั้นอยู่ สภาผู้แทนราษฎรก็มีอำนาจยืนยันให้ผ่านร่างกฎหมายนั้นได้อีก โดยต้องผ่านมติของสภาผู้แทนราษฎรก่อน จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะนำร่างกฎหมายนั้นขึ้นกราบ บังคับทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงลงปรมาภิไธย 

    2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการบริหารประเทศและการกำหนดนโยบายตามกฎหมายที่ ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้น องค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยบุคคลไม่เกิน 36 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่ เกิน 35 คน อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีมีดังนี้ 

         1) คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ภายใน 15 วันนับตั้งแต่เข้ารับหน้าที่ 

         2) รัฐมนตรีมีสิทธิเข้าประชุมและแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภา และกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามีมติให้เข้าประชุมเรื่องใด รัฐมนตรีจะต้องเข้าร่วมประชุม นั้น 

         3) คณะรัฐมนตรีต้องบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและ นโยบายที่ได้แถลงไว้ และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับ ผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี 

         4) หากมีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะ ฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยัง ประธานรัฐสภาเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 173 แผนผังโครงสร้างอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ สภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา กระทรวง กรม กอง ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร 

    3. อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีที่เป็นอำนาจของศาล โดย นำกฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติมาปรับกับข้อเท็จจริงที่เกิดในแต่ละกรณีองค์กรที่ใช้อำนาจ ตุลาการ คือ ศาล ซึ่งตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ศาลมี4 ประเภท ดังนี้ 

        3.1 ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่วินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายใดๆ ว่าขัดแย้ง กับรัฐธรรมนูญหรือไม่ วินิจฉัยหน้าที่ขององค์กรในกรณีที่องค์กรนั้นๆ มีปัญหาให้วินิจฉัย เป็นต้น 

        3.2 ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในคดีแพ่งและคดีอาญา ศาล ยุติธรรมมี3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา 

        3.3 ศาลปกครอง มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้ อำนาจหรืออันเนื่องมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับ เอกชนหรือหน่วยงานด้วยกัน  

        3.4 ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ใน อำนาจศาลทหาร และคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ 

                ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ทั้ง 3 องค์กรนี้ จะมีหน้าที่ภายใต้กรอบแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) จะใช้ อำนาจทางนิติบัญญัติในการออกกฎหมายเพื่อใช้เป็นกฎเกณฑ์ในการปกครองประเทศ ฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) จะใช้อำนาจบริหาร คือ การบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักความ รับผิดชอบร่วมกัน ส่วนศาลจะใช้อำนาจตุลาการ คือการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีที่ฝ่ายบริหาร ส่งมาหรือที่เกิดขึ้น โดยมีความเป็นอิสระและตัดสินอย่างยุติธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมาย