จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทต่อการเรียนการสอนอย่างไร จงอธิบาย

🌟การประยุกต์ใช้จิตวิทยาในชั้นเรียน 🌟

(เทคนิคการสอน)

1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม


       1.1 แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมนิยมทุกอย่างต้องมีสาเหตุและเมื่อสิ่งเร้าเข้ามากระทบกับมนุษย์ จึงทำให้มนุษย์มรพฤติกรรมตอบสนอง มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) 1.2 รูปแบบการสอนกลุ่มพฤติกรรมนิยม

              1.2.1 วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา
วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา ( CIPPA MODEL) คือ วิธีการจัดการเรียนสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้ การได้เคลื่อนไหวร่างกาย และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม

ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน

ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ

ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล / ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล / ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนสร้างความหมายของข้อมูล / ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น กระบวนการคิดและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน

ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย

ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ / หรือการแสดงผลงาน
ขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์

ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย เพิ่มความชำนาญ ความสามรถในการแก้ปัญหา เป็นการให้โอกาสผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (Construction of Knowledge)

ขั้นที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (Application) จึงทำให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA

ประโยชน์
1. ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาขอมูล ข้อเท็จจริงจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้

2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่จำนำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต

3. ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่ม





           1.2.2 วิธีสอนแบบโครงงาน
วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) คือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นกำหนดปัญหา หรือสำรวจความสนใจ
2. ขั้นกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน
3.ขั้นวางแผนและวิเคราะห์โครงงาน
4.ขั้นลงมือปฏิบัติหรือแก้ปัญหา
5. ขั้นประเมินผลระหว่างปฏิบัติงาน
6. ขั้นสรุป รายงานผล และเสนอผลงาน

ประโยชน์

1. เป็นการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมในกรจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ปฏิบัติจริง คิดเอง ทำเอง อย่างละเอียดรอบคอบ

2. ผู้เรียนรู้จักแสวงหาข้อมูล สร้างองค์ความรู้และสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง

 3. ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการในการทำงาน มีทักษะการเคลื่อนไหวทางกาย







            1.2.3 วิธีสอนแบบแสดงบทบาท
วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method) คือ วิธีสอนที่ใช้การแสดงบทบาทสมมติ หรือการเทียบเคียงสถานการณ์ที่เป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. เลือกปัญหาที่นักเรียนทำความเข้าใจยาก จำยากสับสน หรือกล่าวตามสภาพจริงไม่ได้มาเป็นเรื่องที่จะแสดงบทบาท

2. ให้นักเรียนร่วมกันกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้นๆ เท่าที่ลักษณะของบุคคลจะเอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง

ประโยชน์


1. นักเรียนได้เตรียมพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

2. สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย

3. ช่วยพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม


             1.2.4 การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method) คือกระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฏ ทฤษฎี หลักเกณฑ์ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยการเสนอปัญหาเพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ

2. ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี หลักการ เป็นการนำเอาทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปที่ต้องการสอนมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎี หลักการนั้น

3. ขั้นใช้ทฤษฎี หลักการ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้

4. ขั้นตรวจสอบและสรุป เป็นขั้นที่ผู้เรียน จะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ ว่าถูกต้อง สมเหตุสมผลหรือไม่ ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง

5. ขั้นฝึกปฏิบัติ เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฏ ข้อสรุปพอสมควรแล้ว ผู้สอนเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนสุขนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่หลากหลาย

ประโยชน์

1. เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่ายรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก
3. ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎีหลักการกฎข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ

                1.2.5 การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction Method) คือกระบวนการที่ผู้สอนจากรายละเอียดย่อย โดยการนำเอาตัวอย่างข้อมูล เหตุการณ์ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษาสังเกต ทดลอง เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการหรือกฏเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นเตรียมการเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมหรือปูพื้นฐานความรู้

2. ขั้นเสนอตัวอย่างเป็นขั้นที่ผู้สอนนำเสนอตัวอย่างข้อมูลสถานการณ์เหตุการณ์ปรากฏการณ์ให้ผู้เรียนได้สังเกตลักษณะและคุณสมบัติของตัวอย่างเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบสรุปเป็นหลักการแนวคิดหรือกฎเกณฑ์

3.ขั้นเปรียบเทียบ เป็นขั้นที่ผู้เรียนทำการสังเกตค้นคว้าวิเคราะห์รวบรวมเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างแยกแยะข้อแตกต่างมองเห็นความสัมพันธ์ในรายละเอียดที่เหมือนกันต่างกัน

4.ขั้นกฎเกณฑ์เป็นการให้ผู้เรียนนำข้อสังเกตต่างๆจากตัวอย่างมาสรุปเป็นหลักการกฏเกณฑ์หรือนิยามด้วยตัวผู้เรียนเอง

5.ขั้นนำไปใช้ในขั้นนี้ผู้สอนจะเตรียมตัวอย่างข้อมูลสถานการณ์ที่การปรากฏการณ์มีความคิดใหม่ๆที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนใช้ในการฝึกความรู้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันและจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ประโยชน์

1.เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้นาน

2.เป็นวิธีการที่ฝึกให้ผู้เรียน ได้พัฒนาทักษะการสังเกตคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์สรุปด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลอันจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ซึ่งใช้ได้ดีกับทางวิชาวิทยาศาสตร์

3.เป็นวิธีการที่ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาความรู้และกระบวนการซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้

                 1.2.6 วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method) คือเป็นวิธีสอนที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดประสบการณ์ตรง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้



1.ขั้นกล่าวนำ

2.ขั้นเตรียมดำเนินการ

3.ขั้นดำเนินการทดลอง

4.ขั้นเสนอผลการทดลอง

5.ขั้นอภิปรายและสรุปผล

ประโยชน์

1.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง

2.เป็นการเรียนรู้จากการกระทำเพื่อเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง

3.เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล

💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜


2. กลุ่มปัญญานิยม

       2.1 แนวคิดกลุ่มปัญญานิยม (Cognitive) ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานคือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล( ประสบการณ์ ) การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆโดยเน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดสร้างความรู้ความเข้าใจให้ตนเอง
      

       2.2 รูปแบบการสอนแบบแนวคิดกลุ่มปัญญานิยม
             2.2.1 การสอนแบบความคิดรวบยอด   คือการมีความรู้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะร่วมของสิ่งเร้า(เช่น วัตถุสถานการณ์เหตุการณ์) กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สามารถทำได้โดยการหา คุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญของ สิ่งนั้นเพื่อเป็นเกณฑ์ในการจำแนก สิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้เช่นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ โต๊ะหมายถึง สิ่งเร้า กลุ่มที่มีขาและมีพื้นที่หน้าตัดสำหรับไว้ใช้งานเขียนหนังสือวางสิ่งของเป็นต้นความคิดรวบยอดเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งที่ใช้ในการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆการจัดการเรียนการสอนจึงต้องให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องให้ได้มิฉะนั้นแล้วผู้เรียนจะไม่สามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งต่างๆอย่างแท้จริง

 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด

1.ขั้นการสังเกต

2.ขั้นจำแนกความแตกต่าง

3.ขั้นหาลักษณะร่วม

4.ขั้นระบุชื่อความคิดรวบยอด

    ขั้นทดสอบและนำไปใช้ขั้นตอนการสอนความคิดรวบยอดให้นักเรียนสังเกตบอกสิ่งที่เห็นที่เราต้องการให้เกิดความคิดรวบยอดและนำมาเปรียบเทียบหาลักษณะที่แตกต่างและเหมือนกันจัดกิจกรรมขั้นที่ 1 และ 2 จำนวน 3-4 ตัวอย่าง แล้วจึงดำเนินการนำตัวอย่างทั้งหมดให้นักเรียนหาลักษณะร่วมที่เหมือนกันและจริงสอนขั้นที่ 4-5 ให้ตัวอย่างแล้ว อย่าลืมตั้งคำถามให้เด็กตอบขั้นที่สำคัญคือ คันที่ 1-3 ลองคิดลองทำใช้ฝึกเด็กต่อไปจะไม่มีคำถามว่าทำไมถึงคิด

                2.2.2 การสอนแบบสืบสวนสอบสวน
การสอนแบบสืบสวนสอบสวน  คือการสอนวิธีแสวงความจริงเพื่อนำไปสู่การค้นพบกฎเกณฑ์ธรรมชาติคุณลักษณะของสิ่งต่างๆการนำกฎเกณฑ์มาใช้และสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้เป็นการสอนให้คิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน

ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหาเมื่อผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายว่าต้องการอยากรู้อะไรหรือกำลัง สืบค้นหาอะไรจึงเริ่มด้วยการ ตั้งปัญหา ปัญหาอาจได้มาจากเหตุการณ์จากการทดลองเริ่มจากตัวผู้เรียนเอง

ขั้นที่ 2 ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกัน ทำนายคำตอบโดยอาศัยเหตุผลประกอบการทํานายอย่างมีเหตุผล เรียกว่าสมมติฐาน

ขั้นที่ 3 ออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานหรือการหาวิธีการเพื่อที่จะให้ได้ผลออกมาได้ซึ่งไม่จำเป็นว่าผลนั้น จะตรงกับสมมติฐานหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้จักคิด

ขั้นที่ 4 การดำเนินการตามที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นที่ 3 เพื่อพิสูจน์ว่าสมมติฐานใดเป็นไปได้

ขั้นที่ 5 สรุปผลเมื่อพบว่าสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมีข้อมูลอะไรบ้างที่จะสนับสนุนตัดสินและสรุปผลซึ่งจะได้คำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบคือนำผลมา อภิปราย เพื่อแปลข้อมูลนำมาเป็นข้อสรุป

ขั้นที่ 6 นำผลสรุปไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อจะค้นคว้าความรู้ต่อไปขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้น นำผลสรุปไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อจะค้นคว้าความรู้ต่อไปนี้ถือว่าเป็นขั้นการ นำความรู้ไปใช้

ผู้สอนจะเริ่มวิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวนซึ่งประกอบด้วยขั้นต่ำ 4 ขั้นคือ OCPC

1 O = Observation สังเกต  ผู้สอนนำสิ่งของปัญหาสถานการณ์มาให้เด็กสังเกตเกิดความเข้าใจเด็กจะถามเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับอธิบายข้อสงสัยนั้นๆ คำถามต้องเป็นแบบ “ ใช่หรือไม่ “ เพื่อเป็นการแยกปัญหาออกเป็น 2 ฝ่าย

2. E = Explanation อธิบาย    เมื่อผู้เรียนได้ข้อมูลจากการสังเกตในขั้นแรกแล้วถ้าเด็กถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำอธิบายเกิดตั้งสมมติฐานอธิบายว่าปัญหาสถานการณ์ปรากฏการณ์นั้นๆมีอะไรเป็นมูลเหตุเหตุใดจึงเกิดผลเช่นนั้น

3. P = Prediction การทำนาย    เมื่อตั้งสมมติฐานแล้วจะคาดการณ์ล่วงหน้าโดยนำความรู้ที่ได้ไปทํานายปรากฏการณ์อื่นๆ ถ้ามีเหตุเช่นเดียวกันนั้นจะเกิดผลเป็นอย่างไร

4. C = Control and Creativity นำไปใช้และสร้างสรรค์   ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดว่าสิ่งที่ผู้เรียนพบนี้จะนำไปใช้อะไรได้บ้างเพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่นๆที่เป็นประโยชน์

 เทคนิคการสอนแบบสืบสวนสอบสวน

1.เตรียมปัญหาที่จะต้องสืบสวนสอบสวน ปัญหานั้นอาจตั้งขึ้นเองโดยผู้สอนและผู้เรียนควรเป็นปัญหาที่ผู้เรียนสนใจใคร่รู้และไม่เป็นปัญหาที่ง่ายหรือยากเกินไป

2.ผู้สอนต้องเตรียมอุปกรณ์แหล่งวิชาการที่ผู้เรียนจะไปค้นคว้า เพื่อสืบสวนสอบสวน เท่าที่สามารถจัดหนักให้ได้

3.ผู้สอนไม่ควรตอบคำถามผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาเสียเอง แต่ผู้สอนอาจช่วยตั้งคำถามให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้

4.ผู้สอนต้องวางตัวเป็นกลางเมื่อผู้เรียนต่างมีเหตุผลมาโต้เถียง หรือขัดแย้งกันชมเชยหรือให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตั้งคำถามได้ดีหรือมีคำตอบที่ถูกต้องมีเหตุผล

5.ติดตามดูการค้นคว้าทดลองของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดไม่ปล่อยปละละเลยเมื่อผู้เรียนค้นคว้าออกนอกแนวทางป้องคอยแนะนำให้ถูกทางเพื่อผลสรุปที่ถูกต้อง

ประโยชน์

1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดและสติปัญญาของตนเองอยากมีอิสระ

2. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นกระบวนการ3. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

            2.2.3 การสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สรุปเป็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้

1.ความรู้ของบุคคลใดคือโครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรือธิบายสถานการณ์อีกได้

2.นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่างๆกันโดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น

3.ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทาง ปัญญาของนักเรียนเอง

การออกแบบการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึม

1.การสร้างการเรียนรู้ (Learning Constructed)

2. การแปลความหมายของแต่ละคน (Interpretation personal)

3.การเรียนรู้เกิดจากการลงมือกระทำ (Learning active)

4.การเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือ (Learning Collaborative)

5.การเรียนรู้ที่เหมาะสม (Learning Situated)

6.การทดสอบเชิงการบูรณาการ (Testing Integrated)

               2.2.4 การสอนโดยการใช้สมองเป็นฐาน
การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน( Brain Based Learning)คือการเรียนรู้ที่สอดคล้องวิถีการเรียนรู้หรือการทำงาน ของสมองทางธรรมชาติเช่นในเรื่องการเรียนการสอนจะเป็นการสอน ให้สอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองแทนที่จะสอดคล้องกับอายุ ชั้นเรียนหรือห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เพราะเด็กที่อายุเท่ากันอาจมีสมองไม่เหมือนกันก็ได้หรือมีความสามารถแตกต่างกัน หรือความสนใจแตกต่างกันด้วย การใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวข้องกับสมอง เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์

หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบ Brain-Based learning
1.สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ

2. สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มรวมกัน

3. เชื่อมโยงสถานที่เรียนในร่มกับนอกห้อง

4. จัดหาสถานที่หลากหลาย

5.ยืดหยุ่นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและกระตุ้นการเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับสมองที่แตกต่างกันของแต่ละคนและภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป

6. ความปลอดภัยลดความเสี่ยงต่างๆโดยเฉพาะในชุมชนเมือง

                2.2.5 การสอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
การสอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน( Problem-Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและมีความสำคัญต่อผู้เรียนการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดโดยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆ

ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจกับปัญหา

ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า

ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้

ขั้นที่ 5 สรุปและ ประเมินค่าของคำตอบ

ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน




ประโยชน์


มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน

💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜


3. กลุ่มมนุษยนิยม

       3.1 แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) มีแนวคิดพื้นฐานคือเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพเลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจให้เสรีภาพในการคิดเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้บุคคลมองบวกในตนและผู้อื่น ยอมรับตนเองและผู้อื่นนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มศักยภาพ

        3.2 รูปแบบการสอนกลุ่มมนุษยนิยม
               3.2.1 วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method) คือเป็นการสอนโดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง

ขั้นตอนของวิธีสอนแบบอภิปราย

1.ขั้นนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปรายเป็นขั้นการกระตุ้นหรือเร้าความสนใจของนักเรียนให้มีความสนใจร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น

2.ขั้นอภิปราย ให้แบ่งนักเรียนเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายผู้อภิปรายซึ่งอยู่หน้าชั้นเรียนกับฝ่ายผู้ฟัง

ประโยชน์


1. ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


2. พัฒนาสติปัญญาของนักเรียนด้านการคิดหาเหตุผล


3. ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเพื่อนำมาใช้ในการอภิปราย

             3.2.2 วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) คือเป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย

ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน


1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด


2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แก่ บแกรายละเอียดของหนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า


3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย


4. ครูและนักเรียนประเมินผลการทำาน ในกรณีที่ครูให้สังเกตพฤติกรรมขอองนักเรียนในการปฏิบัติงาน ในกรณีนักเรียนร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองโดยบอกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป

ประโยชน์


1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่


2. นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตน

                  3.2.3 วิธีสอนแบบหน่วย
วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method) คือเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า "หน่วย"

ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย


1. ขั้นนำเข้าสู่หน่วย


2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม


3. ขั้นลงมือทำงาน

ประโยชน์


1. เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมความถนัดตามธรรมชาติของนักเรียน เพราะการสอนแบบนี้มีกิจกรรมหลายประเภทให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติทำตามที่ถนัดและสนใจ

2. นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนร่วมกับครู

3.นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย และได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม

                    3.2.4 วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Method ) คือเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์


1. ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจถึงปัญหา


2. ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา


3.ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล


4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผลเป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ จากปัญหาที่แก้ไข้แล้ว


5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้

ประโยชน์


1. นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม

2. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย

3. ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ

                   3.2.5 การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) คือเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่นๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้


1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน


2. ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วย
     2.1 ผู้สอนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ แบบอุปนัยในตอนแรก เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
     2.2 ผู้สอนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ แบบนิรนัย เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ในข้อ 2 ไปใช้เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม โต้ตอบ หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
      2.3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่


3.ขั้นนำไปใช้

ประโยชน์


1. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล

2. ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

3. ผู้เรียนมีความมั่นใจ เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง

                   3.2.6 วิธีสอนแบบทีม
วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method) คือเป็นการสอนที่ครูอย่างน้อย 2 คน ร่วมมือกันเตรียมการสอนอย่างใกล้ชิดและสอนนักเรียนร่วมกันในห้องเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน

ลัษณะของการสอนเป็นทีม


1. ในห้องเรียนมีครูสอนมากกว่าหนึ่งคนรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนเริ่มตั้งแต่กำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา วิธีสอน สื่อการสอน ลงมือสอน ประเมินผล


2. ใช้วิธีสอนหลายรูปแบบ ได้แก่ การบรรยาย การค้นคว้าด้วยตนเอง การอภิปราย การแก้ปัญหา การสาธิต เป็นต้น


3. มีรูปแบบของการสอนเป็นทีม ได้แก่ แบบมีผู้นำคณะ แบบไม่มีผู้นำคณะ และแบบครูผู้เรียน

ประโยชน์ 


1. ผู้สอนแต่ละคนได้แสดงความสามารถในการสอนของตนอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การวางแผนที่ร่วมกันคิดร่วมกันทำให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์ก่าคิดคนเดียว

3. ผู้เรียนได้สัมผัสผู้สอนในหลายลักษณะทำให้ไม่เบื่อหน่าย

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖