คณะราษฎรได้ประกาศอุดมการณ์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้อย่างไร

  • สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
  • ผู้สื่อข่าวพิเศษบีบีซีไทย

22 มิถุนายน 2022

คณะราษฎรได้ประกาศอุดมการณ์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้อย่างไร

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

นายพริษฐ์ (ที่สองจากซ้าย) และ น.ส.ปนัสยา (ขวาสุด) ร้องรำทำเพลงหลังประกาศยุติการชุมนุม "19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร" ที่ท้องสนามหลวงเมื่อ 20 ก.ย. 2563

"การต่อสู้ของประชาชนไม่มีที่สิ้นสุด คือสมมุติเราได้โครงสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แล้ว ในทางการเมืองไม่มีปัญหา เราก็ต้องว่ากันในรายละเอียดกันต่อไป เช่น รัฐสวัสดิการเป็นยังไง แรงงานเป็นยังไง ผมเชื่อว่ามนุษยชาติมันต้องต่อสู้ตลอดเวลาเพื่อให้เผ่าพันธุ์ของเรามันเจริญก้าวหน้าขึ้น" พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม "คณะราษฎร 2563" ในสถานการณ์ปัจจุบัน

พริษฐ์ นักศึกษาและนักกิจกรรมทางการเมืองหลายคน รวมทั้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง รวมตัวกันด้วยชื่อเดียวกับคณะบุคคลที่ประกอบไปด้วยทหารและพลเรือนซึ่งก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย. 2475 หรือเมื่อ 90 ปีที่แล้ว ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อทำให้ "คนเท่ากันและต้องการให้ประเทศนี้เป็นของราษฎรอย่างแท้จริง"

  • กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ชาติไหนใช้ ชาติไหนเลิก
  • เปิดความเห็นส่วนตนตุลาการเสียงข้างน้อยคดีชุมนุม 10 สิงหา ล้มล้างการปกครองฯ
  • เปิดสำนวนตำรวจ ทำอะไรถึงเข้าข่าย "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทฯ"

"ผมมองว่าภารกิจของคณะราษฎร (2475) ยังไม่สำเร็จ หลัก 6 ประการที่สำคัญข้อหนึ่งคือ การทำให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกันนั้นยังไม่สำเร็จ ไม่เช่นนั้นเราคงไม่เห็นการล้างเลือดไพร่ในปี 2553 พริษฐ์ กล่าวกับ บีบีซีไทย โดยอ้างอิงถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เรียกตัวเองว่าไพร่ ซึ่งถูกปราบปรามอย่างรุนแรงในปีนั้น คือสิ่งที่บอกว่าสถานะของประชาชนไทยยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากความเป็นไพร่สู่ความเป็นพลเมือง

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน

ก่อนเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ พริษฐ์สนใจการเมืองมาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยม เขาบอกว่า ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้กลุ่มของเขาใช้ชื่อคณะราษฎร 2563 ในการเคลื่อนไหวยุคปัจจุบันคือ ความพยายามของกลุ่มชนชั้นนำที่ต้องการจะลบความทรงจำทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยการเคลื่อนย้ายหมุดของคณะราษฎร 2475 ซึ่งฝังอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าออกไปเมื่อปี 2560

"การลบคณะราษฎรออกจากประวัติศาสตร์มันก็คือการลบปณิธานของคณะราษฎรไปด้วย พวกเราจะปล่อยให้พวกเขาหายไปจากประวัติศาสตร์ไม่ได้"

"ไม่ได้เลียนแบบ"

รุ้ง ปนัสยา บอกว่าคณะราษฎร 2563 ไม่ใช่การลอกเลียนแบบคณะราษฎร 2475 หากแต่มีองค์ประกอบของข้อเรียกร้องคล้ายกัน เช่นข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ส่วนหนึ่งก็พ้องกับแนวทางของคณะราษฎรเมื่อ 90 ปีก่อน จึงทำให้ดูเหมือนเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์และอุดมการณ์ของคนรุ่นก่อนอยู่กลาย ๆ

ที่มาของภาพ, Rachaphon Riansiri/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

แต่การใช้ชื่อคณะราษฎรในความเห็นของปนัสยา ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการพยายามหาอะไรสักอย่างที่จะโอบรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพราะในปี 2563 เยาวชนและคนรุ่นใหม่ตื่นตัวทางการเมืองกันมากแล้ว มีความคับข้องใจอันเนื่องมาจากการรัฐประหารและการใช้อำนาจของรัฐบาล แต่ละคนมีกลุ่มของตัวเองอยู่แล้ว มีชื่ออยู่แล้ว เช่น "ธรรมศาสตร์ไม่ทน" หรือ "ธรรมศาสตร์และการชุมนุม" "เยาวชนปลดแอก" "เฟมินิสต์ปลดแอก" เป็นต้น

ปนัสยา บอกว่า ในตอนนั้น มีความเห็น 2 แนว คือ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าควรจะเดินรวมกันต่อไปเป็นกลุ่มใหญ่ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการทำแบบนั้นมันผูกมัดกันเกินไป แต่ละกลุ่มจะไม่มีอิสระหรือบางคนก็จะครองอำนาจนำไป

"อันนี้ก็มาจากแนวคิดที่ต่างกัน บางคนคิดว่ามันต้องมีโครงสร้างชัดเจน มีการจัดองค์กรที่เข้มแข็ง มีผู้นำ แต่อีกฝ่ายบอกว่าทำในแนวระนาบดีกว่าคนจะได้เท่ากันจริง ๆ" เธอกล่าว

แตกต่าง หลากหลาย

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง หรือ วาดดาว จากกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก ซึ่งทำงานเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อความเป็นธรรมทางเพศอยู่ก่อนแล้ว บอกว่า กลุ่มของเธอเข้าร่วมกับการเคลื่อนไหวกับคณะราษฎร 2563 เพราะต้องการผลักดันเรื่องความเป็นธรรมทางเพศต่อสู้กับปิตาธิปไตยหรือลัทธิชายเป็นใหญ่ ซึ่งไม่ได้มีอยู่เฉพาะในหมู่ผู้เผด็จการในสังคมช่วงชั้น (hierarchy) เท่านั้น ในขบวนการประชาธิปไตยเองก็อาจจะมีลักษณะของการเหยียดเพศหรือชายเป็นใหญ่อยู่ไม่น้อยเช่นกัน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก จัดการชุมนุมคาร์ม็อบ "ขบวนกีV4" เคลื่อนพลจากสีลมซอย 2 สู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ชูจุดยืน 3 ข้อเรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2564

"เราเข้าร่วมด้วยความคิดที่ว่าอยากให้มันมีความเท่าเทียม มีความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ส่วน" เธอกล่าวกับ บีบีซีไทย

เธอเล่าว่า กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอกถือว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งคณะราษฎร 2563 แต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือทางสังคมในยุคปัจจุบัน ไม่ได้มีโครงสร้างแบบมีองค์กรนำที่เด่นชัด หากแต่เป็นขบวนการที่เชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เมื่อจะมีการเคลื่อนไหวแต่ละครั้งก็จะต้องประสานประเด็นและท่าทีระหว่างกันให้มีความสอดคล้องต้องกันไปด้วยกันเสมือนหนึ่งเป็นองคาพยพเดียวกัน

"เรื่องแนวคิดสำคัญมาก เรื่องประชาธิปไตย การต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านเผด็จการ การร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี่เราเห็นร่วมกันอยู่แล้ว แต่ส่วนของเราก็นำเสนอเรื่องความเป็นธรรมทางเพศ เช่น สมรสเท่าเทียม ทำแท้งปลอดภัย การทำงานบริการทางเพศถูกกฎหมาย เข้าไปในเวทีของคณะราษฎร 2563 ด้วย" วาดดาว กล่าว และเสริมว่า เรื่องความปลอดภัยทางเพศ การคุกคามทางเพศ ความรุนแรงทางเพศในที่ชุมนุมหรือในหมู่ผู้ชุมนุมและนักกิจกรรมด้วยกันเอง ก็จะถูกนำเสนอเข้าไประหว่างการเคลื่อนไหวหรือการชุมนุมประท้วงด้วยเช่นกัน

การเคลื่อนไหวเฉพาะอย่างยิ่งการประท้วงของคณะราษฎร 2563 เริ่มแผ่วเบาหรือแม้แต่เกือบจะเลือนหายไปในช่วงปี 2564 อันเนื่องมาจากปัญหาหลายประการ เช่น การระบาดของโรคโควิด ทำให้รัฐบาลมีข้ออ้างในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนได้ แต่การคุกคามจากภาครัฐ จับกุมคุมขังและดำเนินคดีแกนนำคนสำคัญ ซึ่งก็รวมทั้ง อานนท์ นำภา ทนายความ และ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" นิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น กลายเป็นอุปสรรคและขีดจำกัดในการเคลื่อนไหวอย่างมาก

ที่มาของภาพ, Facebook แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

"เวลาส่วนใหญ่ของเราจะมาหมดที่ศาล แทนที่จะได้เอาเวลานี้ไปพูดคุยหารือเพื่อวางแผนเคลื่อนไหวก็ต้องวิ่งไปศาล" ปนัสยา กล่าวและบอกว่าเธอให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยผ่านทางโทรศัพท์ในขณะที่ยังอยู่ในศาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯเพื่อติดต่อเรื่องคดีความซึ่งติดตัวเธออยู่ถึง 25 คดีด้วยกัน

"เรื่องการติดคุกนี่สำคัญที่สุด มันบั่นทอน เราไม่ได้เตรียมตัวมาเจอกับมัน เราเริ่มเคลื่อนไหวกันด้วยความฉุกละหุก เรารีบกันมาก ไม่เตรียมการอะไรสำหรับเรื่องพวกนี้เลย ไม่มีการวางแผนว่าใครอยู่แนวหน้า แนวหลัง คนที่เป็นหัวสมอง คิดยุทธศาสตร์ ดันไปวิ่งไปอยู่แนวหน้าเหมือนกันหมด ก็เลยติดคุกกันหมด พอเป็นอย่างนั้นมันก็เหมือนกับว่าส่วนหัว ส่วนสมองหายไป ส่วนที่เป็นร่างกายก็ทำงานไม่ได้แล้ว จะสร้างคนใหม่มาแทนก็ไม่ง่าย ก็กลายเป็นว่าต้องรอให้คนที่ในคุกกลับออกมาเสียก่อน ค่อยมาคิดว่าจะทำอะไรกันต่อ" รุ้งกล่าว

พริษฐ์มองในแง่ดีเขาบอกว่า สถานการณ์แบบนั้นก่อให้เกิดยุทธศาสตร์ใหม่ในการเคลื่อนไหว มีกลุ่มพลังหลากหลายมากมาย แต่ละกลุ่มใช้พลังความหลากหลายในชื่ออื่น เช่น "กลุ่มทะลุวัง" ที่เน้นรณรงค์เรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สุ่มทำแบบสำรวจความคิดเห็นในที่สาธารณะ หรือ "กลุ่มทะลุแก๊ส" ที่เกิดขึ้นมาเพื่อต้านทานการปราบปรามของทางการอย่างรุนแรง

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

แต่นั่นทำให้เกิดประเด็นใหม่ตามมา เช่นการเคลื่อนไหวไร้ทิศทางและการใช้ความรุนแรง

ปนัสยา บอกว่าเธอไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ทางการเมือง และแนวคิดสันติวิธีก็กำลังถูกท้าทายจากสถานการณ์การประท้วงในระยะหลัง เช่นเหตุการณ์ที่สามแหลี่ยมดินแดงที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้และก่อนหน้า

"กลุ่มที่ดินแดงนี่ต่อกันไม่ติดเลย ไม่รู้เลยว่าพวกเขาจะทำอะไรกันต่อไปยังไง มีแนวคิดยังไงก็ไม่รู้เลย พวกเราเคยพยายามประสานและนำเสนอแนวทางสันติวิธีนะ แต่เหมือนจะคุยกันไม่รู้เรื่อง ถูกโต้แย้งกลับมาว่าสันติวิธีมาตั้งนานก็ไม่เห็นชนะเลย" เธอกล่าว

"นักสันติวิธีอย่างอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ พยายามจะพูดประเด็นนี้ในตอนแรก ๆ แต่ก็โดนถล่ม โดนด่าเละ เขาก็เงียบไปเลย ตอนนี้จะพูดอะไรก็ต้องระวังไปหมด ในขบวนการเคลื่อนไหว ยังไม่กล้าพูดกับใครเยอะเลย กลายเป็นว่าเรื่องสันติวิธีพูดยากกว่าปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เสียอีก" เธอกล่าว

วาดดาว กล่าวว่า เธอเองก็ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบแต่ก็เคารพในแนวทางของแต่ละกลุ่ม

"เราเข้าใจว่ากลุ่มทะลุแก๊สมีเครื่องมือในการต่อสู้น้อยมาก แค่ประทัดหรือดอกไม้ไฟคงทำร้ายใครไม่ได้มากหรอก และดูเหมือนพวกเขาจะไม่ค่อยมีโอกาสสื่อสารกับสังคมเท่าไหร่ ไม่ค่อยได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน แต่ก็ต้องมองเขาอย่างเข้าใจด้วยว่า นี่เป็นกลุ่มเยาวชนในระดับฐานรากในเมืองที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม"

ไม่หยุดพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์

พริษฐ์ ปนัสยาและวาดดาว ไม่เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ที่ว่า การเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ทำให้การเคลื่อนไหวของคณะราษฎร 2563 ถูกโดดเดี่ยวและเสียแนวร่วม

ที่มาของภาพ, WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

ผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ถือป้ายเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ หลังจากเดินขบวนจากสามย่านมาถึงสถานทูตเยอรมนีเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563

"ผมคิดว่าการพูดถึงสถาบันกษัตริย์เป็นเสรีภาพนะครับ และมันก็เป็นประเด็นสำคัญด้วย การพูดถึงในตอนนั้น (ปี 2563) อาจจะมีคนคิดว่ารุนแรงไปบ้าง ก็เป็นไปตามสถานการณ์ แล้วตอนหลังก็มีกลุ่มคนหลากหลายที่ออกมาพูดถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นี่มันกลายเป็น agenda (วาระ) ของคนรุ่นใหม่ไปแล้วนะครับ ถ้าคนรุ่นใหม่ออกมา เรื่องสถาบันกษัตริย์มันก็ต้องโผล่มา" พริษฐ์ กล่าวอย่างหนักแน่น แม้ว่าตัวเขาเองโดนคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 มากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 21 คดี

ถ้านับคดีอื่นๆด้วยเขาอาจจะมีคดีติดตัวมากถึง 40 คดี

ปนัสยา กล่าวว่า การตั้งคำถามกับสถาบันกษัตริย์ของคณะราษฎร 2563 ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดในการเคลื่อนทางการเมืองในยุคปัจจุบันเพราะมันทำให้คนกลุ่มต่าง ๆกล้าลุกขึ้นมาตั้งคำถามในเรื่องอื่น ๆอีกมากมาย เช่น สิทธิทางเพศ LGBT สิทธินักเรียน สิทธิแรงงาน เธอต้องการสร้างประเพณีใหม่ในสังคมไทยที่คนทุกหมู่เหล่าสามารถลุกขึ้นมาตั้งคำถามได้

"ถ้าการตั้งคำถามเรื่องใหญ่ที่สุด ถูกทำให้เป็นเรื่องปกติแล้ว แสดงว่าเรื่องที่เสี่ยงน้อยกว่านี้ก็ต้องพูดได้" เธอกล่าว และเสริมว่าเธอตั้งคำถามจุดยืนของชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องมาตรา 112 ก็เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่อันนี้ ไม่ได้คิดจะทำลายอนาคตทางการเมืองของเขา

"มันน่ากลัวที่ออกมาปกป้องอาจารย์ชัชชาติกันด้วยการบอกว่าการตั้งคำถามเป็นสิ่งผิด"

วาดดาวบอกว่า แม้ว่ากลุ่มของเธอจะสนใจเรื่องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ แต่ก็เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะต้องสืบต่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงสมดังเจตนารมณ์ของคณะราษฎร 2475 การพูดหรือเคลื่อนไหวเรื่องสถาบันกษัตริย์ไม่ได้เป็นการบดบังประเด็นเรื่องสิทธิทางเพศแต่อย่างใด ตรงกันข้ามหลักการแห่งความเสอมภาคกลับขับมันให้โดดเด่นและเข้มแข็งมากขึ้น

  • ตร. แถลง จับ มัมดิว-นารา เครปกะเทย-หนูรัตน์ หมิ่นสถาบันฯ จากโฆษณาลาซาด้า
  • นายกฯ “ไม่สบายใจ” การตลาด “ก้าวล่วงสถาบันฯ”
  • กองทัพไทย-ดอยคำ-ดอยตุง ตอบโต้ยุติกิจกรรมกับยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ ลาซาด้า
  • เกิดอะไรขึ้นกับไทยเวียตเจ็ท หลังปล่อยมุกวันเมษาหน้าโง่

เธอบอกว่า ต้องการให้กำลังใจกลุ่ม LGBT ซึ่งถูกกล่าวหาและดำเนินคดีด้วยข้อหาดูหมิ่นสมาชิกราชวงศ์ตามมาตรา 112 อีกทั้งสนับสนุนและเรียกร้องให้กลุ่มต่างๆให้ความสนใจกับประเด็นนี้ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในสังคมให้เกิดขึ้นทุกมิติ

ที่มาของภาพ, Police handout

คำบรรยายภาพ,

นายอนิวัต ประทุมถิ่น หรือ นารา เครปกระเทย อายุ 34 ปี

เธอหมายถึงการจับกุม อนิวัต ประทุมกลิ่นหรือ "นารา เครปกะเทย" ธิดาพร ชาวคูเวียง และกิตติคุณ ธรรมกิตติราษฎร์ หรือ "มัมดิวไดอารี" เมื่อ 16 มิ.ย. อันเนื่องมาจากการโฆษณาสินค้าของแพลตฟอร์มลาซาด้าที่ถูกตีความว่าเป็นการพาดพิงและดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง

ทั้งพริษฐ์และปนัสยา บอกว่า ในปีที่การปฏิวัติ 2475 มีอายุ 90 ปี คณะราษฎร 2563 ก็ยังไม่ได้หายไปไหนแม้ว่าจะปรากฎตัวน้อย แต่ข้อเรียกร้อง 3 ประการคือ ให้พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ลาออก ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญและปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ยังคงอยู่และยังไม่บรรลุผลสำเร็จเลยสักข้อ พวกเขากำลังหารือกับกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มของอานนท์และจตุภัทร์ ให้กลับมารวมตัวกันเคลื่อนไหวในชื่อนี้อีกครั้ง

พวกเขามองว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองอาจจะเคลื่อนย้ายจากท้องถนนไปสู่การเมืองในระบบรัฐสภามากขึ้นเมื่อการเลือกตั้งกำลังใกล้จะมาถึงในเวลาอีกไม่ถึงหนึ่งปี ในขณะที่พริษฐ์เห็นว่า พรรคการเมืองในแนวประชาธิปไตยอาจจะแตกต่างกันบ้างในแง่นโยบายและแนวทาง แต่ก็เชื่อว่ามีเป้าหมายร่วมกัน

ปนัสยา สงสัยว่า อาจจะมีแต่พรรคก้าวไกลที่ต้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่พรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและประสบการณ์ทางการเมืองมากกว่าอาจจะไม่มีนโยบายเรื่องดังกล่าว ส่วนวาดดาว ซึ่งมีตำแหน่งเป็นโฆษกพรรคสามัญชนด้วยบอกว่า พรรคการเมืองและนักการเมืองในรัฐสภาควรจะเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของประชาชนมากกว่านี้เพื่อร่วมกันผลักดันการเมืองไทยให้สู่ความเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศโดยแท้จริง

คณะราษฎรได้ประกาศอุดมการณ์ 6 ข้อ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองไว้ว่าอย่างไร

หลัก 6 ประการของคณะราษฎรซึ่งสรุปคำใจความหลักได้ว่า "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา" นี้ ได้รับการอ้างอิงหลายครั้งในงานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และรัฐพิธีในสมัยนั้น

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ของคณะราษฎร ส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้น ...

การปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดขึ้นในรัชกาลใด

24 มิถุนายน – การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475: คณะราษฎรดำเนินการปฏิวัติยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะราษฎร

เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำใน ...