ประวัติ วัดเชิงท่า นนทบุรี

วัดไร่ขิง (Wat Rai Khing) พระอารามหลวงที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่งดงามด้วยพุทธศิลป์เชียงแสน คือหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งเป็นหนึ่งในตำนานพระศักดิ์สิทธิ์ลอยน้ำ 5 พระองค์ ได้แก่ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใน สมุทรปราการ, หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี, หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อวัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม และหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งลอยมาตามแม่น้ำนครไชยศรี นครปฐม นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังจะได้ล่องเรือชมทิวทัศน์ริมแม่น้ำนครไชยศรีและแวะซื้อของฝากที่ตลาดน้ำดอนหวายได้อีกด้วย

อ่านต่อ

วัดเชิงท่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2300 เดิมชื่อ “วัดมหิงสาราม” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดตีนท่า” โดยที่วัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำได้ขนานนามนั้นว่า “วัดเชิงท่า ” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 เมาายน พ.ศ. 2410

ดังนั้นคำว่าวัดเชิงท่า ในกระทู้นี้ ผมจะหมายถึง วัดเชิงท่า จ. นนทบุรี เท่านั้น (ต่อไปขอเรียกว่า "วัดเชิงท่า")

พญาเจ่ง เจ้าพระยามหาโยธานราธิบดี ได้นิพนธ์เป็นคำกลอนไว้ว่า


"เสร็จศึก สร้างวัด สลัดบาป แสวงบุญ คือวัดเชิงท่าบางตลาด วัดเกาะบางพูด นุสสรณ์บุญ"


"นำพล ๓๐๐๐ จากรัฐมอญมาพึ่งพระบารมี เมื่อปี ๒๓๑๘ โปรดให้อยู่ที่ปากเกร็ด สามโคก
เป็นนายทัพรบศึก ชราสร้างวัดเชิงท่าก่อนวัดเกาะ มตะปี ๒๓๖๕ อายุ ๘๓ ปี"


<O

ประวัติ วัดเชิงท่า นนทบุรี
</O
ประวัติ วัดเชิงท่า นนทบุรี

วัดเกาะพญาเจ่ง หรือวัดเกาะรามัญ หรือวัดเกาะบางพูด สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ๒๓๑๘ โดยพญาเจ่ง อดีตแม่ทัพมอญผู้พาไพร่พลเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์ไทย ณ ที่ดินซึ่งได้รับพระราชทานโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อปี ๒๓๑๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐(รัชกาลที่ ๑)
พญาเจ่ง ได้ช่วยไทยรบพม่ามีความดีความชอบมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ ต่อมาบุตรชายคนโต(ทอเรียะ) ก็ได้รับพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธาเช่นกัน ท่านได้สร้างวัดนี้ต่อจากบิดา และถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านเป็นต้นสกุล "คชเสนี"
พระอุโบสถวัดเกาะพญาเจ่งเป็นเขตโบราณสถาน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เรื่องทศชาติชาดกffice
ประวัติ วัดเชิงท่า นนทบุรี
ffice" /><O
ประวัติ วัดเชิงท่า นนทบุรี
></O
ประวัติ วัดเชิงท่า นนทบุรี
>

จากบันทึกนี้ทำให้เราทราบว่า วัดเชิงท่าเป็นวัดที่สร้างในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๑๘(หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๘ ปี)

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พิจารณาจากการตั้งบ้านเรือนของ ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นดังนี้:-

ชุมชนเดิมในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากคลองเชียงรากที่บ้านพร้าวผ่านบริเวณตำบลสามโคกขึ้นไปถึงปากคลองเชียงรากน้อย ความแตกต่างระหว่างบริเวณสองฝั่งแม่น้ำก็คือ ย่านที่เป็นชุมชนเมืองเก่านั้นอยู่ทางฝั่งตะวันออก เพราะพบร่องรอยวัดเก่าและโบราณวัตถุที่มีมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ทั้งยังพบร่องรอยทางน้ำและลำคลองที่ขุดขึ้นเพื่อการตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเป็นเมืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ บริเวณจากบ้านศาลาแดงเหนือมายังคลองส่งน้ำที่วัดอัมพาราม มีร่องรอยแนวคูที่ตัดขนานกับลำแม่น้ำที่ทำให้เกิดพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าอันเป็นลักษณะของเมืองอย่างชัดเจน หลักฐานของการเป็นบ้านเป็นเมืองในบริเวณนี้มีกล่าวถึง ในโคลงนิราศกำสรวลสมุทร ความว่า

<TABLE width="52%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="50%">จากมาเรือร่อนท้ง</TD><TD width="50%">พญาเมือง </TD></TR><TR><TD>เมืองเปล่าปลิวใจหาย</TD><TD>น่าน้อง </TD></TR><TR><TD>จากมาเยิยมาเปลือง</TD><TD>อกเปล่า </TD></TR><TR><TD>อกเปล่าว่ายฟ้าร้อง</TD><TD>ร่ำหารนหา ฯ </TD></TR><TR><TD>จากมาเมืองเก่าเท้า</TD><TD>ลเท ทานรา </TD></TR><TR><TD>เทท่าบึงบางบา</TD><TD>บ่าใส้ </TD></TR><TR><TD>จากมาอ่อนอาเม</TD><TD>บุญบาป ใดนา </TD></TR><TR><TD>เมืองมิ่งหลายเจ้าไว</TD><TD>รยกโรย ฯ </TD></TR></TBODY></TABLE>

ทุ่งพญาเมืองคือเมืองเก่า อยู่ทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดป่างิ้ว บริเวณนี้มีคูคันดินล้อมรอบ พบซากวัดร้างที่มีชื่อว่า วัดพญาเมือง พบพระพุทธรูปศิลาแบบอู่ทองมีโคกเนินซากโบราณสถานอยู่หลายแห่ง เศษภาชนะดินเผาเคลือบแบบสังคโลกสุโขทัย รวมทั้งเครื่องลายครามในสมัยราชวงศ์หยวนและเหม็งปะปนอยู่

อาจารย์มานิต วัลลิโภดม ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีกรมศิลปากร ซึ่งเคยทำการสำรวจโบราณคดีสองฝั่งน้ำเจ้าพระยาจากอยุธยาถึงกรุงเทพฯ ตั้งข้อสังเกตว่า บรรดาของเก่าแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นขึ้นไป มักพบทางฝั่งตะวันออกมากกว่าฝั่งตะวันตก ที่เด่นชัดก็คือ พระพุทธรูปหินทรายที่เรียกว่า หลวงพ่อเพชรและหลวงพ่อพลอย ในวัดสองพี่น้อง เป็นของอยู่ติดวัดมาแต่เดิม อีกทั้งภายในบริเวณวัดนี้ก็ยังพบเสมาหินทรายสีแดงที่มีลวดลายสลักแบบอยุธยาตอนต้นขึ้นไปอีกด้วย

กล่าวกันว่าวัดพญาเมืองเป็นวัดร้างในสมัยกรุงแตก พระยาตากได้ยกกองทัพจากจันทบุรีไปตีพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น กู้กรุงศรีอยุธยาได้แล้วยกกองทัพเรือร่องลงมาพักไพร่พลหุงหาอาหารที่วัดนางหยาดและวัดพญาเมืองก่อนที่จะเดินทางต่อไปถึงกรุงธนบุรี

เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในสมัยก่อนรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมและสมเด็จพระนารายณ์แล้ว อาจกล่าวได้ว่า มีอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามากกว่าทางฝั่งตะวันตก

นับแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ลงมา เมืองเชียงรากที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาคลายความสำคัญลง ความหนาแน่นของชุมชนย้ายมาอยู่ทางฝั่งตะวันตกที่ตำบลสามโคกแทน อันเนื่องมาจากทางราชการกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกมอญอพยพ คนมอญที่เข้ามาได้ถูกกำหนดให้เป็นช่างปั้นหม้อ ทำไห จึงทำให้ย่านนี้กลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ดังเห็นได้จากโคกเนินที่เป็นแหล่งเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ถึง ๓ แห่ง ทำให้บริเวณนี้กลายเมืองสามโคก และสองฝั่งน้ำเจ้าพระยาก็กลายเป็นถิ่นฐานของคนมอญ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากสามโคกมายังปทุมธานี ปากเกร็ดและนนทบุรีตามลำดับ

เห็นได้จากลักษณะของลำคลองคูต่างๆ ที่ขุดแยกออกจากฝั่งน้ำเจ้าพระยาไปทางตะวันตกเป็นระยะๆ ดูคล้ายๆ กับเป็นช่องๆ แต่ละช่องเป็นที่ตั้งของชุมชนหมู่บ้าน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางอย่างชัดเจน และวัดเหล่านี้แต่ละแห่งอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลายแทบทั้งสิ้น มีหลายวัดที่ปัจจุบันเป็นวัดร้าง เช่น วัดมหิงสาราม แต่รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แลเห็น ล้วนแต่เป็นของในสมัยอยุธยาตอนปลาย อย่างเช่น ที่วัดมหิงสาราม พบซากโบสถ์ที่ก่อผนังอิฐทึบตามแบบที่พบในสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่วัดเชิงท่า พบพระสถูปย่อไม้สิบสอง ซึ่งเมื่อประมาณ ๓๐ ปี ที่ผ่านมา(บันทึกไว้ณ ปี พ.ศ.2550) ขุดพบพระพุทธรูปและพระพิมพ์ที่เป็นแบบอยุธยาตอนปลาย โดยเฉพาะพระพิมพ์ที่เรียกว่าพระโคนสมอนั้น พบเป็นจำนวนมากในกรุเจดีย์

ผมได้นำข้อความบางส่วนมาจากเว็บไซต์ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่การดำเนินงาน ข่าวสาร ข้อมูลของมูลนิธิฯ บทความ จดหมายข่าว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กิจกรรม ตลอดจนความรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม โดยมีคำจำกัดความกิจกรรมของมูลนิธิฯ ว่า " รวบรวม บันทึก ศึกษา ข้อมูลทางวัฒนธรรม สนับสนุนการอนุรักษ์เพื่อพัฒนา เผยแพร่เพื่อการศึกษาของสาธารณชน " ดังนั้น ทางมูลนิธิฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากท่านผู้มาเข้าชมได้รับสาระความรู้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ หรือหากต้องการนำข้อมูลหรือรูปภาพที่ได้จากเว็บไซต์นี้ไปใช้ประโยชน์เพื่องานด้านวิชาการ ทั้งนี้ได้ดำเนินการบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรไว้แล้ว

[SIZE=+0]ผมได้นำพระเครื่องบางส่วนที่ค้นพบจากกรุวัดเชิงท่ามาประกอบเรื่องราวศิลปะ และความงามแห่งพระเครื่องโบราณร่วม ๒๐๐ กว่าปี [/SIZE]

[SIZE=+0]1. พระพุทธกวักอุ้มบาตร ปิดทองเก่า[/SIZE]
[SIZE=+0]2. พระพุทธจกบาตร ปิดทองเก่า[/SIZE]
[SIZE=+0]3. พระอรหันต์สาวกจกบาตร พิมพ์นาคปรก ๕ เศียร ปิดทองเก่า[/SIZE]
[SIZE=+0]4. พระอรหันต์สาวกจกบาตร พิมพ์นาคปรก ๓ เศียร ปิดทองเก่า[/SIZE]


[SIZE=+0]ทั้ง ๔ องค์นี้เป็นฝีมือช่างหลวงอยุธยาตอนปลายทำไว้วิจิตรสวยงามมาก

ปกติแล้วพระกรุนี้จะมีขนาดองค์ค่อนข้างใหญ่ และด้วยความที่เป็นพระหล่อตัน ใต้ฐานจะอุดชันโรงมวลสารและลงรักสีแดง จนมีลักษณะนูนออกมาบางองค์ไม่สามารถตั้งได้ (บางองค์มีเดือยแบบพระยอดธง) หากแขวนบูชาแล้วค่อนข้างหนัก

พระสภาพสวยปิดทองร่องชาดมาแต่เดิม รักของกรุนี้มีลักษณะสองแบบ ถ้าเป็นรักดำจะลงบางแต่ถ้าเป็นแบบยางไม้สีน้ำตาลแดงจะมีความหนาและซึ้งตามาก ถ้าพระตอนบรรจุกรุอยู่ในที่สูง ทองจะเหลืองอร่ามเหมือนของใหม่ แต่ถ้าโดนน้ำท่วมถึงรักและทองจะลอกร่อนออก

พระองค์ที่ ๑-๒ มีขนาดประมาณ ๒.๓ X ๔.๒ c.m.
[/SIZE]

[SIZE=+0]พระองค์ที่ ๓-๔ มีขนาดประมาณ ๒.๓ X ๔.๕ c.m. [/SIZE]ขนาดเห็นรายละเอียดของตาพญานาค

 

ผมได้นำถ้อยคำอนุญาตให้นำข้อความอ้างอิงจาก webmaster ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ที่ได้นำมาอ้างอิงเรื่องอายุวัดพญาเจ่ง และวัดเชิงท่ามาแสดงให้เพื่อนๆ และผู้ก่อตั้งเวปพลังจิตได้รับทราบทั่วกัน เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาครับ..