โครงงานทางประวัติศาสตร์ องค์ประกอบ

โครงงานวิชาประวัติศาสตร์

คิดเข้าขั้น Kid Cult Count (Kid’s Culture Countries)

คณะผู้จัดทำโครงงาน

                                        นาย เตชินท์ วิลัย                              เลขที่ 2

นางสาว พิชญา พันแสนแก้ว            เลขที่ 12

นางสาว มาริสา ชิงจันทร์                  เลขที่ 21

นางสาว กาญจนาพร นามเสถียร       เลขที่ 28

นางสาวขนิษฐา สร้อยสิงห์                เลขที่ 29

นางสาว พีรยา ตันประเสริฐ                เลขที่ 34

 นางสาว ภิรญา ชัยดิลกฤทธิ์              เลขที่ 46

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/16

ที่ปรึกษาโครงงาน

คุณครู กนกพร สุขสาย

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานประวัติศาสตร์

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีเขต 29

คำนำ

       รายงานเรื่อง คิดเข้าขั้น Kid Cult Count (Kid’s Culture Countries) เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาข้อมูลของสถานที่ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจหรือผู้คนทั่วไปได้ทราบถึงสถานทีที่มีอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี หากรายงานเล่มนี้มีส่วนใดที่ผิดพลาดหรือควรแก้ไขปรับปรุงใดๆ คณะผู้จัดทำก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ

บทคัดย่อ 

กิตติกรรมประกาศ  ข

บทที่ 1 บทนำ 1

-                   ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

-                   วัตถุประสงค์ของการศึกษา

-                   สมมุติฐานชองการศึกษาค้นคว้า

-                   ขอบเขตของการทำโครงงาน

-                   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ

บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงงาน

บทที่ 5 สรุปผลการทำโครงงาน

-                   สรุปผลของการทำโครงงาน

-                   ข้อเสนอแนะ

 เอกสารอ้างอิง

บทคัดย่อ

โครงงาน  คิดเข้าขั้น Kid Cult Count (Kid’s Culture Countries)

ที่ปรึกษาโครงงาน คุณครู กนกพร สุขสาย

สถานศึกษา โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

       เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ สถานที่ สังคมและวัฒนธรรม จึงอาจทำให้บางสถานที่ไม่เป็นที่รู้จัก จังหวัดอุบลราชธานีจึงเป็น 1 ในจังหวัดของประเทศไทยที่มีสถานที่ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมาย เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลทางด้านสถานที่ และถือเป็นการอนุรักษ์สถานที่ที่มีอยู่ เพื่อไม่ให้สถานที่เหล่านั้นสูญหายไปกับการเวลา

     จึงมีการนำสถานที่อันได้แก่ หาดสลึง อุทยานแห่งชาติผาแต้ม สามพันโบก แก่งสะพือ บ้านปุนคำ และบ้านปะอาว ซึ่งเป็นสถานที่ที่คณะผู้จัดทำเลือกในการจัดทำการศึกษาหาข้อมูล เพราะแต่ละสถานที่ย่อมมีเอกลักษณ์หรือสภาพแวดล้อมที่มีความงดงาม ความล้ำค่าหรือแม้แต่ความสงบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลหรือผู้ที่ต้องการไปเยือนสถานที่ที่นั้นต้องการเยี่ยมชมสถานที่ประเภทใด

    ซึ่งในบางสถานที่ที่คณะผู้จัดทำเลือกนั้นเป็นสถานที่ที่ไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพรหลาย อาจทำให้ผู้ที่ต้องการท่องเที่ยวหรือเยี่ยมชมสถานที่ในจังหวัดอุบลราชธานีไม่ทราบถึงการมีอยู่ของสถานที่ แล้วหากเป็นเช่นนี้อาจทำให้สถานที่ที่มีคุณค่าต่อจังหวัดอุบลราชธานีอาจหลงเหลือเพียงแต่ชื่อเสียงที่เคยเล่าขาน ดังนั้นการที่ให้ข้อมูลของสถานที่แต่ละแห่งนั้นจึงถือเป็นการให้ข้อมูลอีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ไว้โดยการให้ผู้คนเข้ามาท่องเที่ยว เยี่ยมชม ตลอดจนเก็บภาพบรรยากาศและความทรงจำดีๆเอาไว้ในใจและถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สามารถทำให้สถานที่แห่งนั้นมีชื่อเสียงได้

กิตติกรรมประกาศ

       โครงงานคิดเข้าขั้น Kid’s Culture Contries” หมายถึง วัฒนธรรมทางด้านสถานที่ท้องถิ่นของเด็กๆเป็นโครงงานที่ว่าด้วยเรื่องของสถานที่ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งแต่ละสถานที่ในที่นี้ มีความสำคัญหรือคุณค่าทางด้านจิตใจ ด้านความรู้ที่แตกต่างกันออกไป โดยบางสถานที่ที่เลือกมานั้นแต่เดิมอาจเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วหรือเป็นสถานที่ที่รู้จักกันเฉพาะคนในท้องถิ่น จึงทำให้คณะผู้จัดทำเห็นความสำคัญของสถานที่ที่ควรแก่การนำเสนอหรือการให้ข้อมูลตลอดจนการอนุรักษ์โดยการสร้างความทรงจำที่ดีกับสถานที่เหล่านั้นไม่ให้เลือนรางหายไปกาลเวลา

           ซึ่งการศึกษาและทำโครงงานในครั้งนี้สามารถดำเนินงานต่างๆสำเร็จลุลวงได้ด้วยดี                       โดยได้รับความร่วมมือและความช่วยเหลือจากสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ตลอดจนท่านผู้ปกครองทุกท่านที่ให้การสนับสนุน และขออภัยหากไม่ได้กล่าวชื่อของท่านผู้ปกครอง เนื่องจากท่านไม่ประสงค์ลงนามและต้องการเป็นแค่เบื้องหลัง จึงเรียนให้เพื่อทราบ อีกทั้งความช่วยเหลือในการอุปการะทางด้านทุนทรัพย์ด้านการดำเนินโครงงานทั้งหมดให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ คุณครู กนกพร สุขสาย ที่ให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้นการดำเนินโครงงาน ดร.ประยงค์ แก่นลา ผู้อำนวยการโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช และขอขอบคุณแหล่งข้อมูลห้องสมุดโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชที่เอื้อเฟื้อสถานที่และข้อมูลในการสืบค้น ตลอดจนเว็บไซค์ต่างๆที่ทางคณะผู้จัดทำได้นำข้อมูลมาอ้างอิงโครงงาน การทำโครงงานจึงสามารถดำเนินงานได้สำเร็จลุลวงได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้

คณะผู้จัดทำ

บทที่ 1

บทนำ

1.    ที่มาและความสำคัญ

          ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ สถานที่ สังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้บางสถานที่ไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะสถานที่แห่งนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนหรือขาดการอนุรักษ์พัฒนา หากจะกล่าวถึงสถานที่ที่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเพื่อเป็นการให้ข้อมูลอีกทั้งยังทำให้ได้ตระหนักถึงการมีอยู่ของสถานที่ จังหวัดอุบลราชธานีจึงเป็น 1 ในจังหวัดของประเทศไทยที่มีความงดงามและยังคงมีความศรีวิไลอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงอาจจะทำให้ผู้คนที่รู้จักหรือเคยมาหลงลืมในความเป็นสถานที่ของจังหวัดอุบลราชธานีได้

           จึงทำให้คณะผู้จัดทำเลือกใช้ชื่อโครงงานคิดเข้าขั้น Kid’s Culture Contries” หมายถึง วัฒนธรรมทางด้านสถานที่ท้องถิ่นของเด็กๆด้วยความหมายที่แปลตามภาษาอังกฤษนี้ จึงทำให้ตัดสินใจเลือกสถานที่ภายในจังหวัดอุบลราชธานี นำมาใช้ในการตั้งโครงงานตลอดจนสร้างความทรงจำให้แก่ผู้คนที่มาเยือน ณ สถานที่แห่งนั้น เพื่อเป็นการนำเสนอทางด้านสถานที่ ข้อมูลและถือเป็นการอนุรักษ์สถานที่ที่มีอยู่ เพื่อไม่ให้สถานที่เหล่านั้นสูญหายไปจากจังหวัดอุบลราชธานีและอยู่คู่จังหวัดอุบลราชธานีสืบต่อไป

2.    วัตถุประสงค์

         เพื่อเป็นให้ข้อมูลในสถานที่ที่มีอยู่ภายในจังหวัดอุบลราชธานี อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์สถานที่โดยการให้ผู้คนที่สนใจหรือผู้คนทั่วไปได้ทราบถึงการมีอยู่ของสถานที่ เพื่อไม่ให้สถานที่เหล่านั้นสูญหายไปจากจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อไม่ให้สูญหายไปจากความทรงจำ

3.    สมมติฐานของการศึกษา

         สถานที่ทุกแห่งในจังหวัดอุบลราชธานีย่อมมีเอกลักษณ์และแตกต่างกัน ทั้งทางประวัติศาสตร์ ที่มา ความสำคัญ แม้กระทั้งคุณค่าทางด้านจิตใจของคนในท้องถิ่น จึงทำให้เราตระหนักว่า สถานที่ดังกล่าวนั้นควรค่าแก่การอนุรักษ์และเพื่อเน้นย้ำไม่ให้กาลเวลาพลัดพรากสถานที่เหล่านี้ไปจากความทรงจำได้

4.    ขอบเขตของการทำโครงงาน

  •      2 มกราคม 2558 ทำการศึกษาเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่สนใจ
  •      3-4  มกราคม 2558 จัดกลุ่มตลอดจนเริ่มต้นการวางแผนโครงงาน
  •      9 -23 มกราคม 2558 สืบค้นข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล สอบถาม ทำรายงานรูปเล่ม ฯลฯ เป็นต้น

5.    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

              ได้นำเสนอข้อมูลของสถานที่ในจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเป็นความรู้และความทรงจำให้แก่ผู้ที่สนใจหรือผู้คนทั่วไปได้

              เพื่อเป็นการอนุรักษ์สถานที่

              เข้าใจในข้อมูลที่จะสืบค้นและสามารถ ถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นเข้าใจได้

              เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อศึกษาข้อมูลหรือทำการเที่ยวชม ณ สถานที่เหล่านั้นในครั้งต่อไปได้           ข้อมูลเป็นประโยชน์มากพอในการศึกษา

              ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง 

หาดสลึง

       เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล จากตำนานเชื่อกันว่า ชื่อหาดสลึง เกิดจากการที่คนมาเล่นน้ำช่วงสงกรานต์นานมาแล้ว ในสมัยที่ใช้เหรียญสลึง 1 สลึงสมัยนั้น มีค่าสามารถซื้อควายได้ 1 ตัว ตามนิสัยของคนไทยบางคนเมื่อมารวมกันมาก มักจะมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ผู้ที่มาเล่นน้ำที่หาดแห่งนี้ได้ตั้งคำท้าทายความสามารถโดยมีเดิมพันว่า ณ กลางเดือนเมษายน เวลาเที่ยงวันถ้าใครสามารถเดินหรือวิ่งบนหาดได้ตลอดแนว (ยาว 860 เมตร) โดยไม่แวะพักระหว่างวิ่ง จะได้รับเงินเดิมพัน 1 สลึง นับตั้งแต่มีการเดิมพันมาไม่เคยมีใครได้รับรางวัลนี้เลย ชาวบ้านจึงขนานนามหาดแห่งนี้ว่า “หาดสลึง”

      ซึ่ง หาดสลึง ตั้งอยู่ที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากอำเภอเมืองของจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 115 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ - ตระการพืชผล - โพธิ์ไทร) จุดเด่นของหาดสลึงคือ เมื่อในฤดูแล้ง ประมาณมกราคม-มิถุนายน เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลง ซึ่งจะตรงกับช่วงสงกรานต์ โดยจะมีการเล่นสงกรานต์ที่นี่ หนุ่มสาว มากมายจะมาเล่นน้ำ รวมถึงแม่น้ำโขงน้ำลดจะมองเห็นหาดทรายขาว ทรายเม็ดเล็ก รวมถึงยังเป็นจุดชมวิวที่ สามารถถ่ายภาพประเทศลาวได้อีกด้วยรถลากให้บริการสำหรับท่านที่อยากขึ้น-ลง เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

       อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาติดต่อกันลักษณะสูงๆ ต่ำๆ สลับกันไปทั่วพื้นที่ ระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 100-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล แนวเขตด้านทิศตะวันออกใช้เส้นแบ่งเขตแดนประเทศและติดกับประเทศลาว ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นแนวเขตโดยตลอดความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยรวมเป็นลานหิน รอบแนวเขตถัดจากฝั่งแม่น้ำโขงจะเป็นหน้าผาสูงชัน มีภูผาที่สำคัญได้แก่ ภูผาขาม ภูผาเมย ภูผาเจ็ก ภูผาสร้อย ภูย่าแพะ ภูชะนะได ภูผานาทาม ภูโลง ภูปัง ภูจันทร์แดง ภูหลวง ภูสมุย และภูกระบอ เป็นต้น อุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยช้าง ห้วยภูโลง ห้วยฮุง ห้วยลาน ห้วยเพราะ ห้วยแยะ ห้วยกวย ห้วยกะอาก ห้วยใหญ่ ห้วยสูง และห้วยหละหลอย เป็นแหล่งรวมสถานที่เที่ยวสำคัญหลายแห่ง ทั้งในแบบหน้าผา น้ำตก ทุ่งดอกไม้ เช่น จุดชมภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่บริเวณผาหินคาดว่าเขียนขึ้นตั้งแต่ 3,000 – 4,000 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ อาทิ Unseen in Thailand กับน้ำตกแสงจันทร์ หรือ น้ำตกลงรู ที่สายน้ำตกไหลออกมาจากช่องโพรงของเพิงผา , เสาเฉลียง เป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมนับล้านปี มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย มีอายุประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว , ผาชะนะได เป็นจุดแรกของประเทศไทยที่จะได้พบกับแสงแรกของพระอาทิตย์ขึ้นในแต่ละวัน นักท่องเที่ยวนิยมท่องมาชมมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพื่อจะมารอรับแสงแรกแห่งปีอีกด้วย สถานที่ตั้ง จากอำเภอโขงเจียมใช้ทางหลวงหมายเลข 2134 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2112 ถึงกิโลเมตรที่ 8 แล้วเลี้ยวขวาไปผาแต้มอีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากโขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร

สามพันโบก

      เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก ประมาณเดือนกรกฏาคม เดือนตุลาคม และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน มิถุนายน ทุกปี และเมื่อฤดูแล้งมาถึง สามพันโบกจะโพล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำให้เห็นคล้ายเป็นภูเขากลางลำน้ำโขง โชว์ความสวยงามวิจิตรตระการตา ซึ่งหินดังกล่าวจะมีลักษณะและรูปทรงที่แตกต่างกันไปมากมายหลายหลาก เช่น รูปดาว รูปเต่า รูปหนู รูปหัวสุนัข ฯลฯ และด้วยชั้นหินที่กินพื้นที่กว้างใหญ่มาก จึงดูคล้ายกับแกรนด์แคนยอน ประเทศสหรัฐอเมริกา จนมีผู้ขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า แกรนด์แคนยอนเมืองสยาม สามพันโบกเมืองอุบล ซึ่งสามพันโบกนั้นกิดจากแรงน้ำวนที่กัดเซาะจนกลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3,000 โบก มีความสวยงามจนได้รับการขนานนามว่า แกรนด์แคนย่อนเมืองไทยแก่งหินที่มีความงดงาม สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี สามพันโบก นอกจากจะเดินเที่ยวชมความงามของหินรูปร่างแปลกตาแล้ว สามารถเดินทางไปชมความงามของสองริมฝั่งแม่น้ำโขงได้ โดยการล่องเรือที่มีให้บริการอยู่ในบริเวณนั้น โดยเรือจะล่องไปตามแม่น้ำโขง โดยมีระยะทางจากหาดสลึงซึ่งเป็นท่าเทียบเรือออกไปประมาณ 4 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า มหานทีสี่พันดอนซึ่งในบริเวณดังกล่าวยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหาดหงส์ที่มีเม็ดทรายขาวละเอียด หินรูปแจกัน ถ้ำนางเข็นฝ้าย ถ้ำนางต่ำหูก หาดหินสี หลักศิลาเลข แก่งสองคอน ภูเขาหิน และหาดแห่ ให้ได้ชมกันตลอดข้างทางริมฝั่งโขง การเดินทางนั้น จากอำเภอเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่านอำเภอตระการพืชผล ไปยังอำเภอโพธิ์ไทร ด้วยระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังบ้านสองคอนเข้าไปหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร

แก่งสะพือ

     ตั้งอยู่ที่เขตอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 45 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ซึ่งแก่งสะพือเป็นแก่งที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นแก่งที่อยู่ในแม่น้ำมูล แก่งสะพือเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า"ซำพืด"หรือ"ซำปื้ด" ซึ่งเป็นภาษา ส่วยที่แปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือมแก่งสะพือ จะมีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน กระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน แล้วเกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม แก่งสะพือจะมีระดับน้ำที่ลดทำให้เห็นแก่งได้ชัดเจนและสวยงาม ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมแก่ง นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร ก็ได้กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสืบทอดประเพณีอันดีงามไว้  

บ้านคำปุน

         ตั้งอยู่เลขที่ 331 ถนนศรีสะเกษ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งผลิตงานหัตถศิลป์ผ้าทอมือและแหล่งอนุรักษ์ศิลปะพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี บ้านคำปุน อยู่ภายในบริเวณอาคารแบบไทยอีสาน เป็นทั้งแหล่งผลิตและแหล่งเรียนรู้ถึงกระบวนการถักทอผ้าไหมของไทยที่สั่งสม มานานปี เพื่อสืบสานภูมิปัญญาตั้งเดิมของท้องถิ่น โดยมีผู้ให้ความรู้แก่ช่างทอในปัจจุบันคือ นางคำปุน ศรีใส ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ พ.ศ.2537 และบุตรชาย คือนายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2544 ทั้งยังเป็นผู้คิดค้นและออกแบบผ้าลายกาบบัว ผ้าเอกลักษณ์จังหวัดอุบลราชธานี ตลอดจนบ้านคำปุนยังเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัว “บ้านคำปุนอีกด้วย
       
    ปัจจุบันบ้านคำปุนมีช่างทอผ้ามากกว่า 30 คน ผลิตผ้าไหมด้วยกี่ทอมือ ผลิตผ้าไหมตามขั้นตอนแบบดั้งเดิมใช้เครื่องมือ เครื่องไม้แบบโบราณโดยไม่ใช้เครื่องจักรทุ่นแรงอื่นใด เช่น การเตรียมเส้นใย ก็ใช้วิธีการตีเกลียวจากการปั่นมือด้วยไน ผ้าทอมือที่มีชื่อเสียงของบ้านคำปุนคือ ผ้าไหมมัดหมี่ทอผสมเทคนิคจก ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งผลิตเดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์คิดค้นผ้าไหมแบบต่างๆ เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ทอสอดเสริมเส้นพุ่งด้วยลูกปัดแก้วหรือหินต่างๆ และเม็ดเงิน รวมทั้งผ้าทอยกทองแบบอุบลฯ นอกจากนี้บ้านคำปุนยังเป็นผู้นำในการคิดค้น "ผ้ากาบบัว" คือเป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดอุบลฯ

        มีลักษณะกึ่งพิพิธภัณฑ์ เป็นของเอกชน คำปุนเป็นชื่อเจ้าของบ้านคือ คุณแม่คำปุน ศรีใส เป็นผู้มีภูมิปัญญาทางด้านการทอผ้าพื้นบ้านทุกประเภทโดยเฉพาะผ้าไหม บ้านคำปุนประกอบด้วยเรือนไทยอีสานประยุกต์ที่งดงามและมีเอกลักษณ์ ทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและด้านการตกแต่งภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองอีสานที่อนุรักษ์สั่งสมผ้าโบราณสูงค่า

บ้านปะอาว



      ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองขอน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กม. ตามทางหลวงหมาย เลข 23 ทางไปยโสธร ถึงหลักกม.ที่ 273 เลี้ยวขวาไปอีก 3 กม. เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มากแห่ง หนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ตามประวัติศาสตร์นั้น บ้านปะอาวเกิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดขึ้นของเมืองอุบลราชธานี เมื่อ 200 ปีก่อน ตำนานของชุมชนบ้านปะอาวกล่าวว่า พระวอ และ พระตา ซึ่งเป็นชาวนครเวียงจันทน์ เป็นคนนำไพร่พลอพยพหนีภัยมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต หรืออาณาจักรล้านช้าง มาตั้งบ้านเมืองที่หนองบัวลุ่มภู ที่ปัจจุบันเป็น จ.หนองบัวลำภู แต่ต่อมาเกิดศึกสงคราม พระวอกับพระตาสิ้นพระชนม์ ไพร่พลส่วนหนึ่งจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปะอาว พร้อมกับนำเอาภูมิปัญญาการทำทองเหลืองติดมาด้วย

      การทำทองเหลืองที่บ้านปะอาวนั้นเรียกว่าการหล่อแบบ ขี้ผึ้งหาย หรือ แทนที่ขี้ผึ้ง ที่สำคัญคือ ไม่มีการเขียนเทคนิคการทำทองเหลืองแบบนี้ไว้ในตำรามากนัก แต่เป็นการจดจำทำกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงไม่แปลกที่ภายในหมู่บ้านจะพบชาวบ้านวัยต่างๆช่วยกันทำเครื่องทองเหลือง โดยวิธีการหล่อทองเหลืองแบบขี้ผึ้งหาย ค่อนข้างจะมีขั้นตอนมาก เริ่มจากการ ตำดินโพน หรือดินจอมปลวกที่ผสมมูลวัวและแกลบ คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงนำดินที่คลุกเคล้าแล้วมาปั้นเป็นหุ่นหรือปั้นพิมพ์ที่แห้งแล้วใส่เครื่องกลึง ที่เรียกว่า โฮงเสี่ยน เพื่อกลึงพิมพ์ หรือ เสี่ยนพิมพ์ ให้ผิวเรียบและได้ขนาดตามต้องการพอได้พิมพ์ที่มีขนาดตามต้องการแล้ว ก็จะ เคียนขี้ผึ้ง คือ ใช้ขี้ผึ้งที่ทำเป็นเส้นพันรอบหุ่น แล้วกลึงขี้ผึ้งด้วยการลนไฟบีบให้ขี้ผึ้งเรียบเสมอกัน พร้อมกับพิมพ์ลายหรือใส่ลายรอบหุ่นขี้ผึ้งตามต้องการ แล้วจึงใช้ดินผสมมูลวัวโอบรอบหุ่นที่พิมพ์ลายแล้วให้โผล่สายฉนวนไว้เพื่อป้องกันไม่ให้โลหะหลอมไหลไปที่อื่น จากนั้นจึงใช้ดินเหนียวผสมแกลบเพื่อวางบนดินได้แล้วสุมเบ้าโดยวางเบ้าคว่ำและนำไฟสุมเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายออกจากเบ้า แล้วเทโลหะที่หลอมละลายลงในเบ้า ทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเย็นลงแล้วก็จะแกะลูก คือ ทุบเบ้าดินเพื่อเอาทองเหลืองที่หลอมแล้วออกมากลึงตกแต่งด้วยเครื่องกลึงไม้และโลหะขั้นตอนนี้เรียกว่า มอนใหญ่ คือ กลึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปร่างแล้ว และตกแต่งเติมรายละเอียดของลวดลายให้มีความคมชัดและสวยงาม

      ซึ่งสถานที่แห่งนี้ได้รวบรวมการทำทองเหลืองของหมู่บ้านอยู่ที่ ศูนย์หัตถกรรมเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว ซึ่งตั้งขึ้นโดยชาวบ้าน ที่นี่จะมีการหล่อทองเหลืองแล้วยังมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้กับลูกหลาน นอกจากนี้แล้วในหมู่บ้านยังมีศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทองเหลือง และทอผ้า ไหมที่สวยงาม เปิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการ

1.             วิธีการดำเนินงาน

1.1. ขั้นตอนการดำเนินงาน

   - ให้รู้แนวทางที่จะกำหนดหัวข้อ เช่น ควรจะศึกษาเรื่องอะไรที่มีผลต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกทั้งเรายังสามารถเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมในส่วนนั้นได้ เป็นต้น

   - เมื่อทราบในแนวทางที่ต้องการ จึงให้ทุกคนในคณะกลุ่มนำเสนอความคิด ในเรื่องของการตั้งชื่อหัวข้อ

   - เลือกหัวข้อจากการนำเสนอของคณะกลุ่ม

   - วางแผนการดำเนินงาน โดยการมอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบงาน(ตามความเหมาะสม)

   - ทำการศึกษาข้อมูลพร้อมทั้ง แสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม เพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องอนุรักษ์

   - เก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์

   - วิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด

   - รวบรวมเป็นรูปเล่ม

   - ขึ้นรูปเล่มและโครงงาน

   - นำเสนอ

1.2. การรวบรวมเก็บข้อมูล

               เมื่อกำหนดขอบเขตของโครงงานเสร็จแล้ว จากนั้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ในเว็บไซค์ โดยสืบหาบางสถานที่ (เนื่องจากแต่ละสถานที่ อาจจะเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงอยู่แต่เดิมแล้วจึงทำให้ต้องเลือกสถานที่ทั้งมีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักกันเพียงในท้องถิ่น)

1.3. การวิเคราะห์ข้อมูล

      ศึกษาข้อมูลที่รวบรวมมาได้ นำมาวิเคราะห์ โดยอ้างจากข้อมูลที่มีอยู่ของสถานที่เหล่านั้นเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักกันหรือไม่ หากไม่ จะทำให้ทราบว่าสถานที่ดังกล่าวควรค่าอย่างยิ่งในการอนุรักษ์และนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ได้ทราบโดยทั่วกัน

2.             2.แผนการปฏิบัติโครงงาน

ขั้นตอน/กิจกรรม

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

จำนวนเงิน

1.1.            ขั้นวางแผนเตรียมการ

-                   ศึกษาแนวทางจากที่คุณครูกำหนด

-                   เสนอความคิดของสมาชิก

-                   วางแผนและมอบหมายงาน

-                   ทำการเตรียมการของคณะกลุ่มให้พร้อม

2 วัน

คณะกลุ่ม

-

1.2.            ขั้นดำเนินการ

-                   ค้นหาข้อมูลตามแนวทางที่กำหนด

-                   รวบรวมข้อมูล

1 สัปดาห์

คณะกลุ่ม

-

1.3.            ขั้นสรุปและประเมินผล

-                   นำข้อมูลทั้งหมด มารวบรวมใหม่อีกครั้ง

-                   วิเคราะห์ข้อมูล

-                   เข้ารูปเล่ม ขึ้นโครงงาน

-                   นำเสนองาน

2 สัปดาห์

คณะกลุ่ม

300 บาท

บทที่ 4

ผลการดำเนินโครงงาน

     จากการศึกษาข้อมูล ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลทำให้คณะผู้จัดทำเห็นถึงความสำคัญของสถานที่ที่มีอยู่ภายในจังหวัดอุบลราชธานี จากข้อมูลที่ได้เช่น

1.      รู้จักสถานที่แห่งนี้หรือไม่ รู้จักมากน้อยเพียงใด

2.      เหตุใดจึงรู้จัก

3.      มีความรู้สึกอย่างไรต่อสถานที่แห่งนั้น

4.      หากคุณรู้จักหรือคุณเคยไป ณ สถานที่แห่งนั้นแล้ว คุณมีความทรงจำกับสถานที่แห่งนั้นหรือไม่

บทที่ 5

สรุปผลการทำโครงงาน

5.1. สรุปผลของการทำโครงงาน

              เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ สถานที่ สังคมและวัฒนธรรม จึงอาจทำให้บางสถานที่ไม่เป็นที่รู้จัก จังหวัดอุบลราชธานีจึงเป็น 1 ในจังหวัดของประเทศไทยที่มีสถานที่ที่น่าสนใจอยู่อีกมากมาย เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลทางด้านสถานที่ และถือเป็นการอนุรักษ์สถานที่ที่มีอยู่ เพื่อไม่ให้สถานที่เหล่านั้นสูญหายไปกับการเวลา จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลจากการตั้งคำถาม ดังนี้ 1.รู้จักสถานที่แห่งนี้หรือไม่ 2.รู้จักมากน้อยเพียงใด 3.เหตุใดจึงรู้จัก มีความรู้สึกอย่างไรต่อสถานที่แห่งนั้น 4.หากคุณรู้จักหรือคุณเคยไป ณ สถานที่แห่งนั้นแล้ว คุณมีความทรงจำกับสถานที่แห่งนั้นหรือไม่ ซึ่งสถานที่ที่คนรู้จักมากสุดคือ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม แต่หากกล่าวถึงผ้ากาบบัวของอุบลราชธานีทุกคนกลับรู้จัก แต่กลับไม่รู้จักบ้านปุนคำที่มีชื่อเสียงด้านการทอผ้าทั้งผ้าไหม ผ้ากาบบัวเป็นต้นนอกเสียจากจะเป็นชาวบ้านหรือคนในท้องถิ่นที่รู้จักทราบกันดี

      จึงทำให้เห็นว่าบางสถานที่นั้นที่ไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพรหลาย เพราะเนื่องด้วยจากการขาดข้อมูล ตลอดจนขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี อาจทำให้ผู้ที่ต้องการท่องเที่ยวหรือเยี่ยมชมสถานที่ในจังหวัดอุบลราชธานีไม่ทราบถึงการมีอยู่ของสถานที่ แล้วหากเป็นเช่นนี้อาจทำให้สถานที่ที่มีคุณค่าต่อจังหวัดอุบลราชธานีอาจหลงเหลือเพียงแต่ชื่อเสียงที่เคยเล่าขาน ดังนั้นการที่ให้ข้อมูลของสถานที่แต่ละแห่งนั้นจึงถือเป็นการให้ข้อมูลอีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ไว้โดยการให้ผู้คนเข้ามาท่องเที่ยว เยี่ยมชม ตลอดจนเก็บภาพบรรยากาศและความทรงจำดีๆเอาไว้ในใจและถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สามารถทำให้สถานที่แห่งนั้นมีชื่อเสียงได้

5.2. ข้อเสนอแนะ

1.      ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สถานที่แห่งนั้น ตลอดจนยกเป็นสถานที่ที่สำคัญที่ควรค่าอย่างยิ่งแก่การเยี่ยมชม หรือท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้สถานที่แห่งนั้นเป็นแค่สถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่ภายในจังหวัดอุบลราชธานี

2.      ต้องการให้ผู้คนมีความทรงจำที่ดี ทั้งในเรื่องของสถานที่และจังหวัดอุบลราชธานี

3.      โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชควรมีการพัฒนาหลักสูตรในด้านความรู้พื้นฐานของจังหวัดอุบลราชธานีมากกว่าเดิม เช่น เรื่องของสถานที่ที่มีอยู่ในเมืองอุบลราชธานี หรือสถานที่ใดที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้นอกเหนือจากห้องสมุดที่มีเพียงตำราเรียนเท่านั้นที่สามารถให้ความรู้นักเรียนได้ เป็นต้น

4.      ควรตั้งกิจกรรมให้เด็กๆสอบถามหรือตั้งกิจกรรมทัศนาศึกษา เกี่ยวกับเรื่องสถานที่ที่มีอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี

อ้างอิง