งาน ลอยกระทง เผา เทียน เล่น ไฟ

ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทง เผา เทียน เล่นไฟ ณ อุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2558 วันที่ 21-25 พ.ย.58

งานประเพณีลอยกระทงของไทย มีมาแต่สมัยสุโขทัย โดยมีคติความเชื่อว่าเป็นการบูชา และขอขมาพระแม่คงคาเป็นการสะเดาะเคราะห์ และบูชาพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระบาท เป็นต้น

งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน11 ถึงกลางเดือน12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง

บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพิธีสิบสองเดือน กล่าวไว้ว่า การลอยพระประทีป ลอยกระทงนี้ เป็นนักขัตฤกษ์ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทั่วกัน ไม่เฉพาะแต่การหลวง แต่จะนับว่าเป็นพระราชพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์อันใดที่เกี่ยวข้องเนื่องในการลอยพระประทีปนั้น เว้นไว้แต่จะเข้าใจว่า ตรงกับคำที่ว่า ลอยโคมลงแช่น้ำเช่นกล่าวมาแล้ว แต่ควรนับถือว่าเป็นราชประเพณีซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ ตั้งแต่พระนครยังอยู่ฝ่ายเหนือ เมื่อตรวจดูในกฎมนเฑียรบาลซึ่งได้ยกมาอ้างในเบื้องต้น ต่อความที่ว่า พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคมลงน้ำไป มีข้อความต่อไปว่า “ตั้งระทาดอกไม้ในพระเมรุ 4 ระทา หนัง 2 โรง” การเรื่องนี้ก็คงจะตรงกันกับที่มีดอกไม้เพลิงที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามและที่ชลาทรงบาตร บูชาหอพระในพระบรมมหาราชวัง ต่อนั้นไปก็ว่าด้วยการลอยพระประทีปที่ว่าในกฎหมายนี้มีเนื้อความเข้าเค้าเรื่องนพมาศ ซึ่งว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งเป็นพระสนมเอก แต่ครั้งพระเจ้าอรุณมหาราช คือพระร่วง ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินสยาม ตั้งแต่กรุงตั้งอยู่ ณ เมืองสุโขทัย ได้กล่าวไว้ว่า ในเวลาฤดูเดือนสิบสองเป็นเวลาเสด็จลงประพาสในลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน พระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายใน ตามเสด็จในเรือพระที่นั่งทอดพระเนตรการนักขัตฤกษ์ ซึ่งราษฎรเล่นในแม่น้ำตามกำหนดปี เมื่อนางนพมาศได้เข้ามารับราชการ จึงได้คิดอ่านทำกระทงถวายพระเจ้าแผ่นดิน เป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล และคิดคำขับร้องถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระดำริจัดเรือพระที่นั่งเทียบขนานกันให้ใหญ่กว้าง

งาน ลอยกระทง เผา เทียน เล่น ไฟ

หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้บรรยายถึงลักษณะของกระทงที่นางนพมาศประดิษฐ์ถวายพระร่วงเจ้า ดังนี้
“...การพระราชพิธีจองเปรียง ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นวันนักขัตฤกษ์ชักโคม ลอยโคม นางนพมาศ ได้ประดิษฐ์โคมลอย ตกแต่งเป็นรูปดอกกระมุทมาน กลีบรับแสงพระจันทร์ ใหญ่ประมาณเท่ากระทงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย แล้วก็เอาผลพฤกษาลดาชาติมาแกะจำหลักเป็นรูปมยุระคณาวิหคหงส์ ให้จับจิกเกสรบุปผชาติอยู่ตามดอกกระมุทเป็นระเบียบเรียบร้อยวิจิตรไปด้วยสีย้อมสดสว่างควรจะทอดทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบแซม เทียน ธูปและประทีปน้ำมันเปรียงเจือด้วยไขข้อพระโค...” (ดอกกระมุท หือโกมุท เป็นดอกบัวประเภทบัวเผื่อน บัวผัน ที่ขยายกลีบบานในเวลากลางคืน กลางวันหุบ ระแทะ คือล้อเกวียน) นอกจากการลอยกระทงแล้ว ในศิลาจารึกหลักที่ 1 บรรทัดที่ 14 ยังได้กล่าวถึงการเผาเทียนเล่นไฟว่า

“...เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก...” ท่านผู้รู้ทั้งหลานสันนิษฐานว่างานดังกล่าวนั้นน่าจะเป็นการเผาเทียนเล่นไฟ ในงานเทศการลอยกระทง เพราะมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก จากข้อความในศิลาจารึกตอนนี้นายนิคม มุสิกคามะ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเมื่อปี พ.ศ.2520 ได้เสนอให้จังหวัดสุโขทัยพลิกฟื้นประวัติศาสตร์ประเพณีลอยกระทงขึ้นให้เป็นงานระดังชาติ เพื่อแนะนำจังหวัดสุโขทัย เพื่อให้ชื่องานตามศิลาจารึกว่า “งานเผาเทียน เล่นไฟ” จุกเน้นที่เป็นหัวใจของงานนี้คือ การฟื้นฟูประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ พลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟชนิดต่างๆ ดังนั้นจังหวัดสุโขทัย กรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมกันจัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน โดยใช้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นสถานที่จัดงานดังกล่าว

เอกลักษณ์ประเพณีประลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ เป็นที่เลื่องลือ มีทั้งกระทงทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ งานฝีมืออันวิจิตรที่สะท้อนความประณีตของช่างศิลป์เมืองสุโขทัย ตลาดปสานโบราณ หรือตลาดแลกเบี้ย การจำลองบรรยากาศการซื้อ ขาย แบบโบราณ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงกลิ่นอายวัฒนธรรมด้วยการแลกหอยเบี้ยแทนเงินสด เพื่อใช้ซื้อขาย อาหารพื้นเมือง และการแสดงแสง สี เสียง สัมผัสเรื่องราวประวัติศาสตร์มนต์เสน่ห์อารยธรรมเมืองมรดกโลก

พิธีและกิจกรรมในภาคกลางวันจะมีขบวนแห่นางนพมาศ และการออกร้าน จัดนิทรรศการ ส่วนในเวลากลางคืนจะมีการประดับไฟ หรือจุดเทียนตามโบราณสถานต่างๆซึ่งมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของงานประเพณีลอยกระทงจังหวัดสุโขทัย มีการลอยกระทง และจุดดอกไม้ไฟอย่างสวยงามทั่วท้องน้ำและตระพังต่างๆ ใบบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีการจัดประกวดกระทง การแสดงแสง เสียงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย ณ บริเวณวัดมหาธาตุ ตลอดจนการแสดงนาฏศิลป์และมหรสพต่างๆ

งาน ลอยกระทง เผา เทียน เล่น ไฟ

(จำนวนผู้เข้าชม 1377 ครั้ง)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

งาน ลอยกระทง เผา เทียน เล่น ไฟ

"ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย" นับเป็นงานเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียง ตลอดจนความภาคภูมิใจให้แก่ชาวสุโขทัยและชาวไทยทั้งประเทศ

ลอยกระทงที่ไหนดี แนะที่นี่ งานประเพณี "ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย" เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ลำดับขั้นตอนของงานเริ่มต้นด้วยการทำพิธีบวงสรวงพระแม่ย่า หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย จากนั้น เคลื่อนขบวนไปประกอบพิธีสดุดีบูรพกษัตราธิราชและบรรพชนสุโขทัย ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยการจัดงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

งาน ลอยกระทง เผา เทียน เล่น ไฟ

ภายหลังจากความสำเร็จในการจัดงานประเพณี "ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย" ในครั้งแรก การจัดงานประเพณีดังกล่าวได้รับการสืบสานต่อมาจนกลายเป็นงานเทศกาลประจำปีระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมงานมากขึ้นตามลำดับ กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นภายในงานจึงมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมในแต่ละปี
 

ต่อมาการจัดงานประเพณี "ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย" มีการจัดกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น เช่น พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข ด้วยการทำบุญตักบาตร จากนั้น พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และบวงสรวงบุรพกษัตริย์สมัยสุโขทัยในช่วงเช้า ต่อมาช่วงสายมีพิธีเปิดงาน ต่อด้วยการประกวดกระทง โคมชัก โคมแขวน พนมหมากพนมดอกไม้ กิจกรรมเล่านิทานพื้นบ้านด้วยสำเนียงสุโขทัย การแข่งขันกลองยาวกลองมังคละ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การแสดงกระบี่กระของ การสาธิตมวยคาดเชือก ช่วงเย็นมีการแสดงดนตรีไทย กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ กิจกรรมประเพณีการปั่นฝ้ายทอผ้าจุลกฐิน และการแสดงแสง เสียง วันต่อมา มีกิจกรรมคล้ายวันแรก แต่ในช่วงเช้าจะมีกิจกรรมขบวนแห่ผ้าจุลกฐิน และถวายจตุปัจจัยต่อด้วยขบวนแห่พระเวสสันดร และมีการเทศน์มหาชาติแบบโบราณ 13 กัณฑ์

งาน ลอยกระทง เผา เทียน เล่น ไฟ

ในช่วงเช้าของวันสุดท้ายจะมีกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระประทีป กระทงพระราชทานแห่รอบเมืองสุโขทัย ช่วงสายมีกิจกรรมประกวดและจัดแสดงสาธิตพระประทีและกระทงพระราชทานของพระบรมวงศานุวงศ์ระบำสุโขทัย บวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ช่วงบ่ายมีขบวนอัญเชิญพระประทีป กระทงพระราชทาน

งาน ลอยกระทง เผา เทียน เล่น ไฟ

ขบวนแห่ประเพณีวัฒนธรรมจาก 9 อำเภอในจังหวัดสุโขทัย และขบวนกิจกรรมประกวดแข่งขันต่าง ๆ เข้าสู่บริเวณสระน้ำวัดสระศรี ช่วงเย็นมีการจัดแสดงดนตรีไทย และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดในกิจกรรมต่าง ๆ ต่อด้วยกิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ การแสดงประกอบแสง เสียง กิจกรรมอาบน้ำเพ็ง การเล่นสักวา พิธีเผาเทียน กิจกรรมตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พิธีอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทานลงลอยเป็นปฐมฤกษ์ ณ สระน้ำวัดสระศรีและสิ้นสุดงานด้วยกิจกรรมการแสดงพลุตะไล ไฟพะเนียงอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้จัดขึ้นภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และจัดอย่างต่อเนื่องมาจนถึง

ปัจจุบันงานประเพณี "ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย" ถือเป็นงานเทศกาลระดับชาติที่จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาร่วมกิจกรรมอย่างหนาแน่นทุกปี ถือเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งยังเป็นการสร้างงานสร้างรายได้แก่ชุมชน และนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ภายในจังหวัดสุโขทัย เช่น ระบบคมนาคมขนส่ง และวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น โดยในแต่ละปีมีการคาดการณ์ว่าการจัดงานเทศกาลนี้เพียงเทศกาลเดียวทำให้เงินหมุนเวียนสะพัดหลายร้อยล้านบาท และที่สำคัญทศกาลดังกล่าวได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบันได้ 44 ปีแล้ว นับเป็นงานเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียง ตลอดจนความภาคภูมิใจให้แก่ชาวสุโขทัยและชาวไทยทั้งประเทศ

งาน ลอยกระทง เผา เทียน เล่น ไฟ

สำหรับปีนี้จังหวัดสุโขทัยจัดงาน "ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ" 2564 ตั้งแต่วันนี้ -20 พฤศจิกายน 2564 แบบเน้นเทศกาลประเพณี ประดับไฟ ไม่มีร้านขายอาหาร / ของที่ระลึก มีแต่ร้านขายกระทงจากชาวบ้านเท่านั้น และจำกัดคนเข้าร่วมงานวันละ 15,000 คนผู้เข้าร่วมงานจะต้องลงทะเบียนก่อนเข้างาน และมาจาก 23 จังหวัดเข้มงวด จะต้องมีผลตรวจ ATK (จากสถานพยาบาล)เท่านั้น และฉีดวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม ส่วนจังหวัดนอกพื้นที่เข้มงวด หรือคนสุโขทัย ต้องลงทะเบียนและฉีดวัคซีน 2 เข็ม

ข้อมูล-ภาพ : กรมศิลปากร / การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย