ยกตัวอย่างการอยู่ร่วมกันในสังคม

แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข


การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข จำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย เพียงแต่แสดงความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ เช่น การพาเด็กหรือผู้สูงอายุข้ามถนน หรือการสละที่นั่งบนรถโดยสารให้หญิงมีครรภ์ หรือแม้แต่การมีส่วนร่วมช่วยกันพัฒนาสังคมของเราให้ดีขึ้นก็ได้ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจ การแสดงความมีน้ำใจจึงไม่ได้วัดกันด้วยเงินทอง บางคนมีเงินมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะเป็นคนมีน้ำใจ เพราะเขาอาจแล้งน้ำใจก็ได้ บางคนเป็นเศรษฐีแต่มีความตระหนี่มากไม่ยอมแม้จะสละเงินให้ผู้อื่นโดยที่ตน ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน ถึงกระนั้นคนที่ไม่ได้มีเงินมากเพียงแค่พอมีพอกินอาจเป็นคนที่พอมีน้ำใจให้ คนอื่นบ้างก็ย่อมเป็นที่รัก และชื่นชมของผู้อื่นเสมอ 


ความมีน้ำใจนั้น  ตรง กันข้ามความเห็นแก่ตัว  ขณะที่คนเห็นแก่ตัวมักจะคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัวมาก่อน แต่แน่นอนที่คนมีน้ำใจจะคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมบ้าง และความ มีน้ำใจก็ยังตรงกันข้ามกับความอิจฉาริษยา คนที่อิจฉาริษยาคนอื่นย่อมปรารถนาที่จะเห็นความล้มเหลวของผู้ที่ได้ดีกว่า แต่คนมีน้ำใจนั้น เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่าจะมีมุทิตาและจะ แสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจ   ผู้มีน้ำใจจะนึกถึงผู้อื่นและจะพยายามช่วยผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า ผู้มีน้ำใจจึงเป็นที่รักและต้องการของคนทั่วไป และเป็นคนมีคุณค่าต่อสังคม และที่สำคัญพวกเขาเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต อย่างแน่นอน


อย่างที่กล่าวไว้ ความมีน้ำใจจะไม่สามารถเกิดขึ้นในสังคมได้เลย   หากไม่มีผู้ใดแสดงหรือกระทำมันขึ้นมา ซึ่งถ้าหากเราอยากที่จะเป็นบุคคลนั้น บุคคลที่จะสร้างความมีน้ำใจให้แก่สังคม บุคคลที่ปรารถนาอยากให้สังคมของตนเองและผู้อื่นมีความสุขนั้น ทำได้ไม่ยากเลย มันอยู่ที่ความคิด ความรู้สึก และหัวใจของเราเองเท่านั้น ที่จะสั่งให้ตัวเองลงมือทำ เราอาจฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจได้  ดังนี้


อย่างที่กล่าวไว้ ความมีน้ำใจจะไม่สามารถเกิดขึ้นในสังคมได้เลย   หากไม่มีผู้ใดแสดงหรือกระทำมันขึ้นมา ซึ่งถ้าหากเราอยากที่จะเป็นบุคคลนั้น บุคคลที่จะสร้างความมีน้ำใจให้แก่สังคม บุคคลที่ปรารถนาอยากให้สังคมของตนเองและผู้อื่นมีความสุขนั้น ทำได้ไม่ยากเลย มันอยู่ที่ความคิด ความรู้สึก และหัวใจของเราเองเท่านั้น ที่จะสั่งให้ตัวเองลงมือทำ เราอาจฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจได้  ดังนี้


1. ควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิด ถึงหัวจิตหัวใจของคนอื่น และแสดงต่อผู้อื่นเหมือนที่เราต้องการให้คนอื่นแสดงต่อเรา และทำดีต่อคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าความดีนั้นจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยหรือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ก็ตาม แม้ผู้อื่นไม่ได้รับรู้กันทุกคน แต่หัวใจของเราก็รับรู้เสมอ


2. ควรเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ และไม่หวังว่าคนอื่นจะต้องมาให้เราเสมอ


3. ควรแสดงน้ำใจกับคนรอบข้าง เช่น เมื่อเวลามีโอกาสได้ไปเที่ยวในที่ไกลหรือใกล้ก็ตามควรมีของฝากเล็กๆน้อยๆ ติดมือมาถึงคนที่เรารู้จักและญาติมิตรของเรา นั่นเป็นการแสดงความมีน้ำใจต่อกัน เพราะแม้อาจจะเป็นแค่สิ่งเล็กน้อย แม้จะไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย แต่สิ่งที่ได้มันมีค่ามากกว่านั้น นั่นคือน้ำใจที่ผู้อื่นได้รับจากเรา


4. ควรเสียสละกำลังทรัพย์ สติปัญญา กำลังกาย และเวลาให้แก่ผู้เดือดร้อน เท่าที่เราพอจะทำได้โดยไม่ถึงกับต้องลำบากแก่ผู้อื่นให้กับผู้ที่ต้องการพึ่งพาอาศัยเรา โดยเป็นการกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทน


5. ควรมีนิสัยเอื้อเฟื้อ ช่วย เหลือเกื้อกูลต่อเพื่อนบ้าน เช่น ไปร่วมงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ หรืองานอื่นๆ เท่านั้นเขาก็จะเห็นว่าเราเป็นคนมีน้ำใจ และจะสามารถเชื่อมไมตรีจิตต่อกันได้


6. ควรให้ความรักแก่คนอื่นๆ และให้ความร่วมมือเมื่อเขาต้องการให้ช่วยเหลือ และช่วยเหลือเขาอย่างสุดความสามารถด้วยความจริงใจที่เรามี 


การฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจ นอกจากจะทำให้เรามีจิตใจที่ดีงามเบิกบานแจ่มใส ผิวพรรณผ่องใส ใบหน้าอิ่มเอิบแล้วยังทำให้เราได้มิตรสหายมาก ใครก็อยากคบหาสมาคมด้วยเพราะความมีน้ำใจแสดงถึงความมีเมตตากรุณาต่อเพื่อน มนุษย์ แล้วชีวิตของเราจะพบแต่ความสุขตลอดไป เพราะสังคมของเราจะเป็นสังคมแห่งความสันติสุข


การสร้างสันติสุข และสันติสุขในสังคมที่สำคัญมีอยู่ 5 ประการคือ การศึกษา ศาสนา การเมือง กระบวนการยุติธรรม


           เรื่องของสื่อทางสังคม ทั้งหมดถือว่าเป็นองค์ประกอบสนับสนุนที่รัฐจะต้องเข้าไปควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถดำเนินงานไปสู่เป้าหมายในเรื่องเดียวกัน คือสร้างสันติสุข และสันติภาพในสังคมได้อย่างแท้จริง สามารถสรุปรายละเอียดความสำคัญแต่ละเรื่องได้ดังนี้


1. การศึกษา


การศึกษาที่แท้จริงมีจุดเริ่มต้นที่ครอบครัว เมื่อครอบครัวมีความอบอุ่นจะสร้างฐานการเรียนรู้ที่ถูกต้องให้กับเยาวชน คือมีความรู้ มีความคิด และมีความรัก ส่วนการศึกษาในระบบของรัฐจะต้องกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างสันติสุข และสันติภาพอย่างชัดเจน โดยที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้สิ่งแวดล้อมของตน มีความรักต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม มีจิตใจกว้างและเต็มไปด้วยความเมตตา มีจิตใจที่เป็นอิสระจากอำนาจของวัตถุ จากอำนาจของกิเลสและทิฏฐิ และมีความสามารถทางด้านการใช้ความคิด หรือใช้ปัญญาได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง รวมทั้งมีศักยภาพในการพัฒนายกระดับปัญญาของตนให้สูงขึ้นได้เรื่อย ๆ ดังนั้นโรงเรียนหรือระบบการศึกษาควรจะสอนกระบวนการคิดต่อไปนี้ให้กับผู้เรียน (สำนักนายกรัฐมนตรี 2540:55-59) คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดอย่างมีเหตุผล คิดถูกทาง คิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล กระบวนการคิดต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยเสริมสร้างปัญญาให้กับมนุษย์และเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการสร้างสันติสุขและสันติภาพในสังคม


2. ศาสนา


ศาสนาเป็นสถาบันหลักทางสังคมมาตั้งแต่อดีต ในสภาวะสังคมปัจจุบัน ซึ่งสังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาที่สำคัญอยู่หลายเรื่อง จำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีปัญญาหลาย ๆ ด้าน เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมในทางสร้างสรรค์ และเพื่อมุ่งหวังให้สันติสุขอย่างแท้จริงเกิดขึ้นในสังคม บทบาทที่สำคัญขอศาสนาในส่วนนี้จึงควรเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้กับประชาชน เป็นการช่วยเสริมบทบาทหน้าที่ของระบบการศึกษาให้มีความสมบูรณยิ่งขึ้น


หลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาเสริมระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาหลักใหญ่ ๆ ก็คือ หลักไตรสิกขา หรือศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญมาก และหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งจะช่วยเสริมและพัฒนาปัญญาของมนุษย์ให้กว้างขวางและถูกต้องยิ่งขึ้น


3. การเมือง


ระบบการเมืองจะช่วยสร้างสันติสุขให้กับสังคมอีกทางหนึ่ง การเมืองจะต้องสร้างระบบการปกครองบ้านเมือง ระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมทีเรียกว่าธรรมาภิบาล หรือธรรมรัฐ (Good Governance) ขึ้นมาให้ได้


ธรรมรัฐ หมายถึงผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรม ซึ่งบุคคลและสถาบันทั่วไป ภาครัฐ และเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้กระทำลงไปในหลายทาง มีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การผสมผสานประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ (อานันท์ ปัญญารชุน 2541:26)


องค์ประกอบของธรรมรัฐมีดังนี้คือ


1) มีความรับผิดชอบและมีเหตุผลที่อธิบายได้รวมทั้งสมารถตรวจสอบได้


2) ประชาชนมีส่วนร่วม


3) ต้องมีการคาดการณ์ได้


4) จะต้องมีความโปร่งใส


5) จะต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบนี้


4. กระบวนการยุติธรรม


กระบวนการยุติธรรมเป็นองค์ประกอบที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมรัฐ จะเป็นส่วนที่ทำให้กระบวนการบริหาร การดำเนินชีวิต การควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ สามารถกระทำได้ด้วยความถูกต้อง เสมอภาค ยุติธรรม เริ่มต้นจากการมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมต่อสังคม และปัจเจกบุคคล และจะต้องมีผู้ใช้กฎหมายไม่ว่าจะเป็นตุลาการ อัยการ ตำรวจ ผู้ใช้กฎหมายเหล่านี้จะต้องเป็นผู้มีคุณธรรมและมีความเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง สังคมที่ทุกคนอยากจะสร้างก็คือ สังคมที่ต้องมีกฎหมายที่ดีรองรับ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะต้องมีตุลาการที่เป็นอิสระไม่ติดยึดอยู่ในผลประโยชน์หรืออำนาจ โดยเฉพาะอำนาจทางการเงินของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (อานันท์ ปัญญารชุน 2541:30)


5. สื่อทางสังคม


ยุคปัจจุบันเป็นยุคสังคมข้อมูลข่าสาร สิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างใหญ่ยิ่งก็คือ สื่อทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้ข้อมูลข่างสารแก่ประชาชน สื่อทางสังคมได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์


ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสื่อบันเทิง โฆษณา การศึกษา วัฒนธรรมและในด้านอื่น ๆ ในปัจจุบันมีลักษณะการใช้สื่อในระบบใหม่คือ มัลติมีเดีย ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างหลากหลายผสมผสานกันเพื่อเสริมความต้องการของคนให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สามารถสัมผัสกันได้มากขึ้น ระบบมัลติมีเดีย จึงเป็นระบบที่อยู่ในความสนใจของมนุษย์เป็นอย่างมากในสังคมปัจจุบัน


ภาพรวมของสื่อทางสังคมในปัจจุบันที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ในหนังสื่อพิมพ์เต็มไปด้วยเรื่องละครประเภทด้อยคุณภาพ เรื่องของดารา วงการกีฬา การโฆษณา และพาดหัวข่าวด้วยการเมือง และอาชญากรรม สื่อวิทยุส่วนมากใช้เวลาในการกระจายเสียงเพลง โฆษณาสินค้า โดยที่สัดส่วนของข่างสารมีน้อย และมีประเภทสนทนาบ้าง สำหรับโทรทัศน์ส่วนใหญ่ใช้เป็นสื่อสำหรับการบันเทิงและการโฆษณาสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา มีข่าวสารหรือรายการที่มีสาระอยู่บ้าง แต่เป็นสัดส่วนที่น้อยเช่นเดียวกัน (อานันท์ ปัญญารชุน 2541:176-177)


การสร้างสันติสุข สันติภาพในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร จึงเป็นสิ่งที่เริ่มต้นจากฐานที่สำคัญคือ ความศรัทธาในศาสนา การมีความคิดอิสระ การมีความรัก ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญที่ทุกคนจะต้องมีเป็นเบื้องต้น หลังจากนั้นทุกคนจึงต้องช่วยกันสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ครอบครัวอบอุ่น สุขภาพที่สมบูรณ์ ชุมชนที่เข็มแข็ง สังคมสันติสุข และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ในส่วนของรัฐจะต้องเข้ามาเสริมในองค์ประกอบทุก ๆ ส่วน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์โดยครบถ้วนทุก ๆ องค์ประกอบ ในลักษณะของการเกิดดุลยภาพ คือคนเป็นผู้สร้างสังคม สังคมเป็นผู้สร้างรัฐ และรัฐกลับมาสร้างคนและสังคม ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ ในลักษณะของการเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นการสร้างสันติสุข และสันติภาพในลักษณะของการเคลื่อนไหว และการเลื่อซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นความสมดุลของทุก ๆ ส่วน เป็นสันติสุขที่มีความสอดคล้องและผสมผสานกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างแท้จริง