ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ข้อเสีย

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คืออะไร?

by Kris Piroj มีนาคม 14, 2018

เขียนโดย Kris Piroj มีนาคม 14, 2018

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ข้อเสีย

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ “คงที่” จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดตายตัวโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Demand และ Supply ของเงิน

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าประเทศไทยกำหนดไว้ว่า 25 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ 25 บาทก็จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐไปจนกว่าธนาคารกลางจะประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้น ในสกุลเงินของประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate จะไม่มีการแข็งค่า (Appreciation) หรืออ่อนค่า (Depreciation) เหมือนกับประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ข้อดีของ Fixed Exchange Rate หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ คือ การที่ไม่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน หนึ่งในผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือผู้ส่งออกที่ไม่ต้องเสี่ยงกับค่าเงินที่อาจทำให้ขาดทุนหรือทำให้สินค้าขายได้ยาก

ในทางกลับกันข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) คือ การที่ในระยะยาวมูลค่าของเงินจะวิ่งหามูลค่าที่มันควรจะเป็น ในที่นี้คือสภาพของประเทศที่เป็นสิ่งค้ำประกันมูลค่าเงินในแต่ละสกุล

เมื่อไหร่ก็ตามที่ต่างชาติมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดเอาไว้ในอัตราที่ไม่สมเหตุสมผล เงินสกุลที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป และเกิดการเทขายเงินสกุลดังกล่าวในที่สุด

และเมื่อเกิดการเทขายอย่างหนักจนถึงระดับที่ธนาคารกลางของประเทศนั้นควบคุมไม่ได้ก็จะทำให้ค่าเงินหลุดจากราคาที่ตรึงเอาไว้และอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในที่สุดในลักษณะเดียวกับวิกฤตค่าเงินของหลาย ๆ ประเทศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

จากข้อดีที่ไม่มีความผันผวนของค่าเงิน ทำให้ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ต้องรับภาระในการดูแลค่าเงินด้วยการตรึงค่าเงินให้อยู่ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการ เมื่อไหร่ก็ตามที่ธนาคารกลางไม่สามารถตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ได้จุดจบก็จะไม่ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งของประเทศไทยเมื่อปี 2540

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการควบคุมแทน

ประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ประเทศไทยในอดีต เคยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

ประเทศจีนในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ โดยประเทศจีนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินหยวนแบบคงที่ และกำหนด (เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับสกุลอื่น) โดยธนาคารกลางของจีน

CurrencyFixed RateFloat Rateระบบอัตราแลกเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อัตราแลกเปลี่ยนเงิน

แชร์บทความนี้ FacebookTwitterEmail

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter

อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว หรือ Floating Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่จะปล่อยให้มูลค่าของอัตราแลกเปลี่ยน “เปลี่ยน” ไปตาม Demand และ Supply ของเงินสกุลนั้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวหรือ Floating Exchange Rate เป็นหนึ่งใน 2 รูปแบบกว้าง ๆ ของอัตราแลกเปลี่ยน

  1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate)
  2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) ที่กำลังพูดถึงในบทความนี้

สมมติว่าเมื่อวาน เงินไทย 32 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ กลไกที่เกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) อาจเปลี่ยนไปในลักษณะดังนี้

เมื่อเงินบาทมีความต้องการซื้อ (Demand) มากกว่า ความต้องการขาย (Supply) หรืออธิบายง่าย ๆ คือ คนต้องการแลกเงินสกุลอะไรก็ตามเป็นเงินบาท มากกว่าความต้องการแลกเงินบาทไปเป็นเงินสกุลอื่น ก็จะทำให้มูลค่าของเงินบาทสูงขึ้น หรือก็คือ เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น

ทำให้ในวันนี้อาจจะใช้เงินบาทแค่ 31.50 บาท ก็สามารถแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ในทางตรงกันข้าม เมื่อเงินบาทมีความต้องการขาย (Supply) มากกว่า ความต้องการซื้อ (Demand) หรือ คนต้องการแลกเงินบาทไปเป็นเงินสกุลอื่น มากกว่าความต้องการแลกเงินสกุลอื่นมาเป็นเงินบาท ก็จะทำให้มูลค่าของเงินบาทลดลง หรือ เงินบาทจะอ่อนค่าลง

ทำให้วันนี้อาจจะต้องใช้เงินบาท 33 บาท เพื่อที่จะแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ

จะเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) ก็คืออัตราแลกเปลี่ยนในรูปแบบที่ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า เงินอ่อนค่า (Currency Depreciation) และเงินแข็งค่า (Currency Appreciation)

ข้อดีของอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว

มูลค่าเงินเป็นไปตามที่ควรจะเป็น ไม่สามารถแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน (อาจทำได้ยาก หรือทำได้ไม่นาน)

ธนาคารกลางของประเทศนั้น มีภาระในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน้อยกว่ากรณีอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

มูลค่าของเงินสกุลจะสะท้อนสภาพเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวออกมา

ข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว

อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน ไม่ได้นิ่งเหมือนอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ทำให้เกิดความเสี่ยงกับผู้ที่ต้องจ่ายหรือรับชำระเงินระหว่างประเทศ เช่น ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ฯลฯ