ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ข้อเสีย

ระบบอัตราแลกเปลี่ยน หมายถึง ราคาของเงินตราต่างประเทศคิดเทียบต่อราคาของเงินภายในประเทศ เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 40 บาท
    การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเลือกหน่วยเงินตราของตนเกี่ยวกันกับหน่วยเงินตราของปรเทศอื่น ๆ โดยสามารถให้ระบบเงินตราของตนเป็นอิสระ ทั้งนี้โดยการใช้นโยบายการเงินของตนเพื่อที่จะรักษามูลค่าภายใน (Internal Value) หรือก็คืออำนาจการซื้อของหน่วยเงินตราของประเทศอื่น ๆ ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดเงินตราต่างประเทศตลอดจนปล่อยให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเสรี หรืออีกประเทศหนึ่งอาจจะกำหนดมูลค่าภายนอก (External Value) ของหน่วยเงินตราของตนมีลักษณะคงที่ (Fixed) เมื่อเทียบค่ากับหน่วยเงินตราของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเทียบค่ากับหน่วยเงินตราของหลาย ๆ ประเทศในลักษณะคงที่
1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่1 (Fixed Exchange Rate System) เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางการกำหนดให้คงที่ระดับหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนแลงในช่วงเวลาที่ต้องการ ซึ่งภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จะเกิดจากหน่วยเงินตราแต่ละประเทศอิงกับมาตฐานโลหะที่มีค่า เช่น ระบบมาตรฐานทองคำ (The Gold Standard) รัฐบาลของทุกประเทศจะใช้ทองคำเพียงชนิดเดียวเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ และจะกำหนดค่าหน่วยเงินตราของประเทศเทียบกับน้ำหนักทองคำ เช่น เงินหนึ่งดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอิงน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์เท่ากับ 23.22 เกรน ส่วนเงินปอนด์ของอังกฤษหนึ่งปอนด์อิงน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์เท่ากับ113.0016 เกรน ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนหนึ่งปอนด์ของอังกฤษเท่ากับ 4.87 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา อัตราแลกเปลี่ยนภายใต้มาตรฐานทองคำระหว่างประเทศจะมีความเคลื่อนไหวน้อยมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายในการส่งออกทองคำจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง
2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี (Freely Exchange Rate System) ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีนั้น อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ โดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินไม่ต้องกำหนดค่าเสมอภาค หรือเข้าแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คืออะไร?

by Kris Piroj มีนาคม 14, 2018

เขียนโดย Kris Piroj มีนาคม 14, 2018

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ข้อเสีย

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ “คงที่” จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดตายตัวโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Demand และ Supply ของเงิน

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าประเทศไทยกำหนดไว้ว่า 25 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ 25 บาทก็จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐไปจนกว่าธนาคารกลางจะประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้น ในสกุลเงินของประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate จะไม่มีการแข็งค่า (Appreciation) หรืออ่อนค่า (Depreciation) เหมือนกับประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ข้อดีของ Fixed Exchange Rate หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ คือ การที่ไม่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน หนึ่งในผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือผู้ส่งออกที่ไม่ต้องเสี่ยงกับค่าเงินที่อาจทำให้ขาดทุนหรือทำให้สินค้าขายได้ยาก

ในทางกลับกันข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) คือ การที่ในระยะยาวมูลค่าของเงินจะวิ่งหามูลค่าที่มันควรจะเป็น ในที่นี้คือสภาพของประเทศที่เป็นสิ่งค้ำประกันมูลค่าเงินในแต่ละสกุล

เมื่อไหร่ก็ตามที่ต่างชาติมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดเอาไว้ในอัตราที่ไม่สมเหตุสมผล เงินสกุลที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป และเกิดการเทขายเงินสกุลดังกล่าวในที่สุด

และเมื่อเกิดการเทขายอย่างหนักจนถึงระดับที่ธนาคารกลางของประเทศนั้นควบคุมไม่ได้ก็จะทำให้ค่าเงินหลุดจากราคาที่ตรึงเอาไว้และอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในที่สุดในลักษณะเดียวกับวิกฤตค่าเงินของหลาย ๆ ประเทศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

จากข้อดีที่ไม่มีความผันผวนของค่าเงิน ทำให้ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ต้องรับภาระในการดูแลค่าเงินด้วยการตรึงค่าเงินให้อยู่ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการ เมื่อไหร่ก็ตามที่ธนาคารกลางไม่สามารถตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ได้จุดจบก็จะไม่ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งของประเทศไทยเมื่อปี 2540

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการควบคุมแทน

ประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ประเทศไทยในอดีต เคยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

ประเทศจีนในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ โดยประเทศจีนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินหยวนแบบคงที่ และกำหนด (เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับสกุลอื่น) โดยธนาคารกลางของจีน

CurrencyFixed RateFloat Rateระบบอัตราแลกเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อัตราแลกเปลี่ยนเงิน

แชร์บทความนี้ FacebookTwitterEmail

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter