คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยา

จิตวิทยา เป็นศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) กระบวนความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาในคณะจิตวิทยาที่จะได้ศึกษา เช่น เรื่องการรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) อารมณ์ บุคลิกภาพ พฤติกรรม และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คณะจิตวิทยายังสามารถประยุกต์ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่างๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว ระบบการศึกษา การจ้างงาน เป็นต้น และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต

จิตวิทยาแบ่งออกเป็นกี่สาขา?

จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology)

ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปทางจิตวิทยา

จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)

ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการเรียนการสอนและวิธีการส่งเสริมประสิทธิภาพของการเรียนรู้โดยนำหลักทางจิตวิทยาเข้ามาประยุกต์ใช้ ทั้งในการสำรวจปัญหาด้านการศึกษา ตลอดจนสร้างหลักการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการศึกษา

จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology)

เป็นการศึกษาโดยการนำหลักจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคและรักษาปัญหาทางจิต เช่น ปัญหาการก่ออาชญากรรม การติดยาเสพติด เป็นต้น โดยจะพยายามค้นหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมหรือความผิดปกติทางจิตว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial Psychology)

ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์หลักทางจิตวิทยากับการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการอยู่ร่วมกันของบุคลากรทุกระดับในสถานที่ทำงาน โดยนำความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำเนินการคัดเลือกบุคคล พัฒนา การบริหาร วิจัยตลาด ฯลฯ เพราะสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจหรือบริษัทคือ ทรัพยากรมนุษย์

จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)

ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายอย่างเป็นลำดับขั้น โดยเน้นทำความเข้าใจการพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลในแต่ละช่วงวัยให้เป็นไปตามพัฒนาการ ซึ่งมักจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเด็กและวัยรุ่น สาขานี้สามารถศึกษาต่อเฉพาะช่วงวัยได้อีก เช่น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น เป็นต้น

จิตวิทยาสังคม (Social Psychology)

ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ โดยเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เช่น การรับรู้ การตอบสนองระหว่างบุคคล อิทธิพลของบุคคลที่มีต่อผู้อื่น ฯลฯ เพื่อทำความเข้าใจอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่างที่มีผลต่อพฤติกรรม

จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology)

ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์โดยเน้นใช้วิธีการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือกระบวนการทดลอง เพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลของพฤติกรรมมากขึ้น เช่น การทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ การคล้อยตาม กาารอบรมเลี้ยงดู เป็นต้น

จิตวิทยาชุมชน

เดิมสาขาจิตวิทยาชุมชนนั้นอยู่รวมกับสาขาจิตวิทยาคลินิก แต่แยกสาขาออกมาเพื่อเป็นศึกษาในแง่ของการป้องกันอย่างละเอียดมากขึ้น สาขานี้เปรียบเสมือนจุดกึ่งกลางระหว่างจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาอุตสาหกรรมและจิตวิทยาสังคม โดยการทำงานส่วนใหญ่ของสาขานี้คือการฝึกอบรม

จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology)

ศึกษาเกี่ยวกับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาซึ่งเป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้ที่มีปัญหาได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของตนได้อย่างลึกซึ้งและมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยนักจิตวิทยาการปรึกษาจะทำหน้าที่เป็นผู้เอื้อให้ผู้มีปัญหาได้เข้าใจปัญหาของตนอย่างชัดเจน ซึ่งนักจิตวิทยาการปรึกษาจะไม่เข้าไปบงการ แนะนำหรือแทรกแซงผู้รับคำปรึกษา เพียงแต่จะช่วยให้สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตัวเองเท่านั้น

จิตวิทยาการแนะแนว

คล้ายกับสาขาจิตวิทยาการปรึกษา แต่จะศึกษาเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเชิงแนะแนวการศึกษา เช่น การแนะแนวเพื่อพัฒนานักเรียน การความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม วิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในงานแนะแนว เป็นต้น โดยส่วนใหญ่สาขานี้จะซ่อนอยู่ในคณะศึกษาศาตร์เพราะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูหรืออาจารย์

คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบ

  • GPAX 20%
  • ONET 30%
  • GAT 30 - 50%
  • PAT1 0 - 20%

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

ระดับปริญญาตรี

  • คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สาขาจิตวิทยาคลีนิค/สาขาจิตวิทยาการการปรึกษา/สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • สาขาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยาคลินิก/สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ/สาขาจิตวิทยาชุมชน/สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สาขาจิตวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สาขาจิตวิทยาคลินิก/สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สาขาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา/วิชาเอกจิตวิทยาคลินิกและชุมชน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาพัฒนาการ/วิชาเอกจิตวิทยาการให้การปรึกษาและแนะแนว/วิชาเอกจิตวิทยาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • สาขาวิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระดับปริญญาโท

  • สาขาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ/สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยาชุมชน/สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (ภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน/สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ/สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สาขาจิตวิทยาการให้คําปรึกษา/สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ระดับปริญญาเอก

  • สาขาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สาขาวิชาจิตวิทยาให้คำปรึกษา/สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สาขาวิชาจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

แนวทางการประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพ สำหรับผู้ที่จบสาขาจิตวิทยา เช่น เป็นนักจิตวิทยาตามโรงพยาบาลต่างๆ เป็นผู้ช่วยแพทย์ในการตรวจสอบทางจิต เป็นอาจารย์ตามโรงเรียนต่างๆ เป็นนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม ทำงานด้านบุคคลในฝ่ายบุคคลบริษัทเอกชน งานบริการมนุษย์และสังคม เช่น แนะแนวในสถานศึกษา นักจิตวิทยาการปรึกษา นักจิตวิทยาบำบัด นักกระตุ้นพัฒนาการ หรือนอกจากนั้นนำความรู้จากคณะจิตวิทยา มาประยุกต์ใช้ร่วมกับงานอื่นๆได้ เช่น นักการสื่อสาร นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์

ศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยา เรียนอะไร

คณะจิตวิทยา (psychology) เรียนอะไรบ้าง….
จิตวิทยาทั่วไป ... .
จิตวิทยาการศึกษา ... .
จิตวิทยาพัฒนาการ ... .
จิตวิทยาสังคม ... .
จิตวิทยาอุตสาหกรรม ... .
จิตวิทยาการทดลอง ... .
จิตวิทยาปกติ ... .
จิตวิทยาคลินิก.

จิตวิทยา มธ มีสาขาอะไรบ้าง

Q: จิตวิทยาที่นี่มีสาขาอะไรบ้าง? A: ในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของเราจะมีสอนหลัก ๆ ทั้งหมด 3 สาขานะครับ คือ.
สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology).
สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology).
สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology).

จิตวิทยา มธ เรียนกี่ปี

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

มธ จิตวิทยา เรียนที่ไหน

สาขาวิชาจิตวิทยาได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2507 และได้จัดการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ​ ในปี พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขยายไปยังศูนย์รังสิต และให้นักศึกษาปี 1 ของคณะสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไปเรียน ณ ศูนย์รังสิต