โปรแกรมตรวจสอบรูปภาพ facebook

คุณเป็นคนที่ชอบใส่ตัวหนังสือลงไปบนภาพเยอะๆ เพราะคิดว่าลูกค้าหรือคนที่ติดตามเพจจะได้อ่านข้อมูลจากรูปภาพง่ายๆ รึเปล่า? ถ้าใช่สิ่งนี้กำลังเป็นต้นเหตุให้โฆษณาของคุณมีปัญหา

Text Overlay คือเครื่องมือที่เอาไว้สำหรับตรวจสอบจำนวนตัวหนังสือบนรูปภาพที่เราใช้ในการซื้อโฆษณาบน Facebook โดยมีข้อจำกัดคือ “กฎ 20%” โดยถ้าคุณทำรูปภาพที่มีตัวหนังสืออยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด (ไม่มากจนเกินไป) โฆษณาของคุณก็จะยิงออกไปได้โดยไม่มีปัญหา ค่าโฆษณาก็ไม่พุ่งสูงขึ้น

ทำไม Facebook ถึงต้องกำหนดกฎนี้ขึ้นมา

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ Facebook วางรูปแบบของเพจให้เหมือนนิตยสาร 1 เล่ม โดยภายในเพจนั้นควรจะมีรูปภาพสวยๆ ส่วนเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรให้เข้าไปอยู่ในส่วนของแคปชั่นแทน การทำเช่นนี้จุดประสงค์ก็เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ที่เป็นคนทั่วไปรู้สึกว่าถูกยัดเยียดโฆษณาที่มีแต่ตัวหนังสือมากมายเข้ามาให้ดูโดยไม่เต็มใจ

โปรแกรมตรวจสอบรูปภาพ facebook

แล้วถ้าใช้ตัวหนังสือบนภาพเกิน 20% จะยิงโฆษณาไม่ได้เลยหรือ?

ถ้าเป็นเมื่อก่อนคำตอบคือ “ใช่” แต่ด้วยความที่คนใช้เพจต่างต้องการใส่ข้อมูลให้ครบถ้วนบนรูปภาพจึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้โฆษณาที่มีตัวหนังสือเกิน 20% ผ่าน จน Facebook เองยอมปรับลดความเข้มงวดและแบ่งการตรวจรับโฆษณาด้วย Text Overlay เป็นลำดับขั้น ดังต่อไปนี้

OK: โฆษณาของคุณจะวิ่งได้ปกติ

Low: โฆษณาของคุณจะวิ่งได้ช้าลงเล็กน้อย

Medium: โฆษณาของคุณอาจจะวิ่งได้ช้า

High: โฆษณาของคุณมีโอกาสที่จะไม่ผ่านการพิจารณา

โปรแกรมตรวจสอบรูปภาพ facebook

แล้วจะรู้ได้ไงว่าภาพที่ทำตัวหนังสือเกินรึเปล่า ตรวจสอบได้ที่ไหน?

วิธีการคือเข้าไปที่ลิงก์ www.facebook.com/ads/tools/text_overlay จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Upload แล้วก็เลือกภาพที่คุณต้องการตรวจสอบได้เลย

แล้วถ้ายิงโฆษณาเป็นวิดีโอล่ะ จะถูกตรวจสอบด้วย Text Overlay เหมือนกันมั้ย

สำหรับวิดีโอนั้นถือว่าโชคดีที่ Facebook ยังไม่ตรวจจับเรื่องตัวหนังสือ ณ ปัจจุบันนี้ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดซะทีเดียวเพราะ Facebook ยังคงจะตรวจสอบภาพ Thumbnail ที่คุณใช้เป็นปกวิดีโอเวลายิงโฆษณา ดังนั้นก่อนจะซื้อโฆษณาควรตรวจสอบปกวิดีโอของคุณว่าตัวหนังสือเกิน 20% หรือไม่เพื่อที่ Ad จะได้วิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Tips

การตรวจ Text Overlay บนรูปภาพที่คุณทำเพื่อจะยิง Ad นั้นแท้จริงแล้วระบบไม่ได้ดูแค่ที่ตัวหนังสืออย่างเดียว เพราะหลายครั้งที่มักประสบปัญหากับการทำตัวหนังสือที่ดูยังไงก็ไม่น่าเกิน 20% แต่ระบบยังแสดงสถานะการตรวจสอบเป็น Low บ้าง Medium บ้าง หากเจอเหตุการณ์นี้ให้คุณตรวจสอบภาพที่คุณทำว่ามีการใส่ลวดลาย หรือพื้นผิวที่รบกวนการมองเห็นของตัวหนังสือรึเปล่า อย่างเช่นเป็นภาพหิมะตกที่มีจุดๆ ขาวกระจายเต็มไปหมด หรือภาพที่ดูแล้วไม่เคลียร์

เหตุที่ Facebook นับรวมเรื่องพวกนี้เข้าไปด้วยเพราะว่าการตรวจสอบ Text Overlay นั้นเป็นระบบอัตโนมัติหรือ Ai ดังนั้นจึงอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้บ้าง เราจึงขอแนะนำให้เวลาคุณทำภาพโฆษณาควรทำภาพให้ดูสะอาดๆ ตัวหนังสือชัดๆ พื้นหลังเคลียร์ๆ ก็จะแก้ปัญหานี้ได้

  • Facebook iconแชร์
  • Twitter iconทวิต
  • LINE iconแชร์ไลน์

เพื่อต่อสู้กับการแพร่กระจายของการให้ข้อมูลผิดและเพื่อให้ผู้คนได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากขึ้น Facebook จึงร่วมมือกับผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระที่ได้รับการรับรองจากเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติซึ่งไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (IFCN) เนื่องจากเราไม่เห็นด้วยว่าบริษัทเอกชนอย่าง Facebook สมควรเป็นผู้ชี้ขาดความจริง เราจึงพึ่งพาผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อระบุ ตรวจสอบ และประเมินข้อมูลที่อาจเป็นการให้ข้อมูลผิดบน Facebook, Instagram และ WhatsApp การทำงานของพวกเขาจะช่วยให้เราสามารถดำเนินการและลดการแพร่กระจายเนื้อหาที่เป็นปัญหาบนแอพต่างๆ ของเราได้

ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา โปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราได้ขยับขยายจนมีองค์กรกว่า 80 องค์กรที่ดำเนินงานในกว่า 60 ภาษาทั่วโลก โปรแกรมนี้มีเป้าหมายหลักเป็นการแก้ปัญหาการให้ข้อมูลผิดที่แพร่กระจายในวงกว้าง คำกล่าวอ้างที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จ โดยเฉพาะคำกล่าวอ้างที่ชวนให้เข้าใจผิดและก่อให้เกิดอันตราย

แนวทางการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา

Facebook และผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำงานร่วมกัน 3 แบบดังนี้

  1. ระบุ ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถระบุการหลอกลวงได้โดยอิงจากการรายงานของตนเอง และ Facebook ยังแสดงข้อมูลที่อาจเป็นการให้ข้อมูลผิดแก่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้สัญญาณต่างๆ เช่น คำติชมจากชุมชนของเราหรือระบบตรวจจับความคล้ายคลึง ในช่วงเหตุการณ์ข่าวสำคัญหรือหัวข้อที่กำลังมาแรง เมื่อความเร็วเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เราจึงใช้การตรวจจับคีย์เวิร์ดเพื่อรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องไว้ในที่เดียวซึ่งช่วยให้ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงหาได้ง่าย เช่น เราได้ใช้ฟีเจอร์นี้เพื่อจัดกลุ่มเนื้อหาเกี่ยวกับโควิด-19 การเลือกตั้งทั่วโลก ภัยธรรมชาติ ความขัดแย้ง และเหตุการณ์อื่นๆ
  2. ตรวจสอบ

    ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจะตรวจสอบและประเมินความแม่นยำของข่าวผ่านการรายงานข่าวต้นฉบับ ซึ่งอาจมีการสัมภาษณ์แหล่งข้อมูลหลัก ปรึกษาข้อมูลสาธารณะ และวิเคราะห์สื่อ ได้แก่ รูปภาพและวิดีโอ

    ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจะไม่ลบเนื้อหา บัญชี หรือเพจ ออกจาก Facebook Facebook จะลบเนื้อหาเมื่อเนื้อหานั้นขัดต่อมาตรฐานชุมชนของเราซึ่งแยกต่างหากกับโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา

  3. ดำเนินการ

    ทุกครั้งที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินเนื้อหาว่าเป็นเท็จ Facebook จะลดการกระจายเนื้อหานั้นลงอย่างมากเพื่อให้ผู้คนเห็นเนื้อหานั้นน้อยลง เราจะแจ้งเตือนผู้คนที่ก่อนหน้านี้เคยแชร์เนื้อหานั้นหรือพยายามจะแชร์ว่าเนื้อหานั้นเป็นข้อมูลเท็จ และใส่ป้ายคำเตือนที่เชื่อมโยงไปยังบทความของผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งจะพิสูจน์ว่าคำกล่าวอ้างนั้นเป็นเท็จโดยเทียบกับการรายงานข่าวต้นฉบับ และเรายังใช้ AI เพื่อช่วยในการทำงานของผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการติดป้ายคำเตือนไว้ที่เนื้อหาที่มีคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จ และการลดการกระจายเนื้อหา

    เรารู้ว่าโปรแกรมนี้ได้ผล และผู้คนก็ได้รับประโยชน์จากหน้าจอคำเตือนที่เราติดไว้กับเนื้อหาหลังจากพาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินแล้ว เราสำรวจจากผู้คนที่เห็นหน้าจอคำเตือนเหล่านี้บนแพลตฟอร์มและพบว่าผู้คน 74% คิดว่าตนเห็นเนื้อหาในปริมาณที่เหมาะสมหรือยินดีจะเห็นป้ายข้อมูลเท็จมากขึ้น และ 63% คิดว่าป้ายเหล่านั้นถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสมแล้ว



แนวทางด้านความซื่อสัตย์ของเรา

โปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นหนึ่งในสามแนวทางที่ Facebook ใช้ในการลบ ลด และแจ้งผู้คนเกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นปัญหาบนกลุ่มแอพและบริการของ Facebook

  1. ลบออก เมื่อเนื้อหาขัดต่อมาตรฐานชุมชนและนโยบายโฆษณาของ Facebook เช่น คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง บัญชีปลอม และเนื้อหาเกี่ยวกับการก่อการร้าย เราจะลบเนื้อหานั้นออกจากแพลตฟอร์มของเรา ทั้งนี้เพื่อรับรองความปลอดภัย ความถูกต้อง ความเป็นส่วนตัว และปกป้องศักดิ์ศรี
  2. ลด

    เราต้องการสร้างสมดุลระหว่างการทำให้ผู้คนมีสิทธิ์มีเสียงและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่มีความแท้จริง เมื่อพาร์ทเนอร์ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราพบการให้ข้อมูลผิด เราจะลดการกระจายเนื้อหานั้นในฟีดข่าวและหน้าการแสดงผลอื่นๆ

  3. แจ้งให้ทราบ

    เราใส่ป้ายคำเตือนและการแจ้งเตือนที่ชัดเจนสำหรับเนื้อหาที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว เพื่อให้ผู้คนสามารถเห็นสิ่งที่พาร์ทเนอร์ของเราสรุป และตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะอ่าน เชื่อ และแชร์อะไร



ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ IFCN

พาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Facebook ทั้งหมดผ่านกระบวนการรับรองที่เข้มงวดกับเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติซึ่งไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (IFCN) IFCN ซึ่งเป็นองค์กรในเครือขององค์กรการวิจัยด้านวารสารศาสตร์อย่างสถาบัน Poynter Institute ที่ทำงานด้านการรวบรวมผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั่วโลกโดยเฉพาะ

พาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงทุกรายต้องทำตามหลักจรรยาบรรณของ IFCN ซึ่งเป็นชุดคำมั่นสัญญาที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศในการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังนี้

  • ความเป็นธรรมและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
  • ความโปร่งใสของแหล่งข้อมูล
  • ความโปร่งใสขององค์กรและเงินทุน
  • ความโปร่งใสของวิธีการ
  • นโยบายการแก้ไขที่เปิดกว้างและซื่อตรง

ไปที่เพจนี้เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของ IFCN และเพจนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ IFCN



คำถามที่พบบ่อย

Facebook ใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจจับการให้ข้อมูลผิดที่อาจเกิดขึ้นอย่างไร

เราใช้สัญญาณจำนวนมากเพื่อคาดเดาว่าเนื้อหานั้นอาจะเป็นการให้ข้อมูลผิด และแสดงให้กับผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เช่น เราใช้ความเห็นจากผู้ใช้ที่รายงานเนื้อหาที่ตนเห็นในฟีดข่าวและคิดว่าอาจเป็นข้อมูลเท็จ นอกจากนี้เรายังพิจารณาจากรูปแบบอื่นๆ จากผู้ใช้ เช่น ผู้คนที่แสดงความคิดเห็นและกล่าวว่าตนไม่เชื่อโพสต์ใดโพสต์หนึ่ง

และเรายังใช้โมเดลแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อช่วยปรับปรุงความสามารถของเราในการคาดเดาการให้ข้อมูลเท็จอย่างต่อเนื่อง เราป้อนคะแนนจากพาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงกลับเข้าไปในโมเดลนี้เพื่อให้เราคาดเดาเนื้อหาที่อาจเป็นข้อมูลเท็จได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

พาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถเลือกตัวเลือกในการประเมินแบบใดบ้าง

ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากภายนอกสามารถประเมินเนื้อหาด้วยตัวเลือกดังนี้

  • เท็จ เนื้อหาที่ไม่มีมูลความจริงเลย
  • ถูกดัดแปลง เนื้อหารูปภาพ เสียง หรือวิดีโอที่ถูกแก้ไขหรือสร้างขึ้นโดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อความชัดเจนหรือคุณภาพ ซึ่งอาจทำให้ผู้คนเข้าใจผิดได้
  • เท็จบางส่วน เนื้อหาที่มีข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนเล็กน้อย
  • ขาดบริบท เนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิดหากไม่มีบริบทเพิ่มเติม

แม้ว่าเป้าหมายหลักของเราคือเพื่อระบุการให้ข้อมูลผิด แต่หากเนื้อหาที่พาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงตรวจสอบเป็นจริงหรือตลกแบบเสียดสี พาร์ทเนอร์ก็สามารถแจ้งให้เราทราบได้เช่นกัน

โปรแกรมตรวจสอบรูปภาพ facebook
Facebook ดำเนินการอย่างไรตามการประเมินของผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เมื่อผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินข้อมูลว่าเป็น “เท็จ” “ดัดแปลง” “เท็จบางส่วน” หรือ “ขาดบริบท” เราจะดำเนินการทันที โดยอาจเป็นการดำเนินการต่อไปนี้

  • ลดการเผยแพร่เราแสดงเนื้อหาดังกล่าวในฟีดข่าวส่วนที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งเป็นการลดการเผยแพร่เนื้อหาเป็นอย่างมาก และสำหรับบน Instagram เราจะลบเนื้อหาดังกล่าวออกจากหน้าสำรวจและหน้าแฮชแท็ก รวมถึงลดลำดับของเนื้อหาในฟีดและสตอรี่
  • คำเตือนในการแชร์เมื่อมีผู้ที่ต้องการแชร์โพสต์ที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินแล้ว ระบบจะแสดงคำเตือนเป็นป๊อปอัพเพื่อให้ผู้แชร์สามารถตัดสินใจได้ว่าจะอ่าน เชื่อ หรือแชร์เนื้อหาใด
  • การแจ้งเตือนการแชร์หากมีคนแชร์ข่าวที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินในภายหลังว่าเป็นเท็จ เราจะแจ้งให้พวกเขาทราบว่ามีการรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหานั้น
  • ป้ายกำกับการให้ข้อมูลผิดเราใช้ป้ายกำกับอย่างชัดเจนกับเนื้อหาที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงพิสูจน์แล้วว่าเป็นเท็จ รวมถึงแสดงบทความการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่ออธิบายบริบทเพิ่มเติมอีกด้วย
  • การตัดสิ่งจูงใจออกสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำหลายครั้ง เมื่อเพจ กลุ่ม บัญชี หรือเว็บไซต์ แชร์เนื้อหาที่ถูกปรับตกโดยพาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงซ้ำหลายครั้งก็จะเห็นว่าการกระจายเนื้อหาโดยรวมลดลง โดยเพจ กลุ่ม และเว็บไซต์จะสูญเสียความสามารถในการโฆษณาหรือสร้างรายได้ภายในเวลาที่กำหนด

ผู้ใช้สามารถรายงานการให้ข้อมูลผิดได้หรือไม่

ได้ ทุกคนสามารถให้คำติชมได้เมื่อคิดว่าเรื่องราวที่พวกเขาเห็นในฟีดข่าวอาจเป็นการให้ข้อมูลผิด นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถรายงานเนื้อหาบน Instagram โดยเลือกที่ตัวเลือกคำติชม “ข้อมูลเท็จ” เราใช้คำติชมนี้เป็นสัญญาณที่จะช่วยแจ้งว่าต้องส่งข้อมูลอะไรไปให้พาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงบ้าง

โปรแกรมตรวจสอบรูปภาพ facebook
ทำไมบางคนจึงเห็นป้ายคำเตือนในเนื้อหาบางประเภท

หากคุณเห็นป้ายคำเตือนและการประเมินอย่างเช่น “เท็จ” บน Facebook หรือ Instagram หมายความว่าผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินเนื้อหาดังกล่าวแล้ว คุณจะเห็นป้ายกำกับเหล่านี้บนวิดีโอ รูปภาพ และบทความที่ยืนยันแล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ

บน Instagram คุณอาจเห็นป้ายเหล่านี้ในสตอรี่หรือข้อความ DM ป้ายกำกับนี้จะแนบลิงก์ที่พาไปยังแบบประเมินจากหนึ่งในพาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราเพื่อให้คุณเรียนสามารถรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำรายงานของพาร์ทเนอร์

Facebook จะหยุดไม่ให้ผู้คนแชร์ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือไม่ แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะตั้งใจแชร์ก็ตาม

เราอยากให้ผู้ใช้ของเราทั้งหมดสามารถได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้นเราจึงแสดงการแจ้งเตือนแบบป็อปอัพหากเนื้อหาที่คุณต้องการแชร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเท็จโดยพาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากคุณอาจตัดสินใจที่จะแชร์เนื้อหานั้นอยู่

เราก็จะส่งการแจ้งเตือนให้คุณด้วยเมื่อคุณแชร์เนื้อหาในอดีตซึ่งถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง

มีวิธีสังเกตข่าวปลอมอย่างไร

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับบางส่วนเกี่ยวกับสิ่งที่คุณควรสังเกต ในขณะที่เราพยายามจำกัดการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ
1)อย่าเพิ่งเชื่อข้อความพาดหัว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดและเครื่องหมายตกใจ หากข้อความพาดหัวที่น่าตื่นตระหนกฟังดูไม่น่าเชื่อถือ โพสต์นั้นก็อาจไม่น่าเชื่อถือจริงๆ

2) ดูลิงก์ให้ดีๆ ลิงก์ปลอมหรือลิงก์ที่ทำเลียนแบบมักเป็นสัญญาณของข่าวปลอม เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากปรับเปลี่ยนลิงก์เล็กๆ น้อยๆ เพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง คุณสามารถไปที่เว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบลิงก์กับแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้

3) สืบเสาะแหล่งที่มา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข่าวเขียนขึ้นโดยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือและมีชื่อเสียงด้านความถูกต้อง หากข่าวนั้นมาจากองค์กรที่คุณไม่คุ้นเคย โปรดตรวจสอบส่วน "เกี่ยวกับ" เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

ไปที่เพจนี้เพื่อดูเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีรับมือข่าวปลอม

หากมีคนแชร์เนื้อหาที่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาแล้ว บัญชีของบุคคลดังกล่าวจะได้รับผลกระทบหรือไม่

เพื่อหยุดไม่ให้ข้อมูลที่ผิดแพร่กระจายในสังคมออนไลน์ เราจึงลดการเผยแพร่และแสดงป้ายเตือนบริเวณด้านบนของเนื้อหาที่พาร์ทเนอร์ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินแล้ว เพจ กลุ่ม บัญชี หรือเว็บไซต์ที่แชร์เนื้อหาที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินว่าเป็นเท็จเป็นประจำจะได้รับการจำกัดบางประการ รวมถึงลดการเผยแพร่ด้วย เพจ กลุ่ม และเว็บไซต์เหล่านั้นอาจถูกยกเลิกไม่ให้ใช้งานการสร้างรายได้และการโฆษณา และถูกถอดถอนสิทธิ์ในการลงทะเบียนเพื่อสร้างเพจข่าว

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำงานร่วมกับ Facebook เพื่อลดการแพร่กระจายของการให้ข้อมูลผิดเป็นวงกว้าง โปรดไปที่FB.me/Third-Party-Fact-Checking