จงอธิบายถึงความหลากหลายความเชื่อในบริบทท้องถิ่น

🎓ภูมิปัญญาท้องถิ่น🎓

        ในปัจจุบันเมืองไทยเราได้กลายเป็นประเทศเปิดที่รับเอาความรู้และเทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาอย่างมากมาย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี จากผลของการรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นมานี้เอง ทำให้ประเทศของเรา ชุมชนของเรานึกถึงความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอันดี ที่เคยสืบทอดกันมาช้านาน ปัจจุบัน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของไทยเราส่วนมากจะยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมาตามชนบทหรือ ตามท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ยังคงมีการสืบทองภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอยู่ ดังนั้นการศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านของเราจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตของท้องถิ่นเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้แก่ผู้ที่สนใจได้รับทราบและร่วมภูมิใจกับบุคลในท้องถิ่นด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่กับสังคมมนุษย์มาช้านานเป็นการดำรงในชีวิตที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นโดยมีการปรับสภาพการดาเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติตามกาลเวลา (ประเวศ วะศรี, ๒๕๓๖)

✠ความหมายของภูมิปัญญา✠

      📚พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ (๒๕๔๖, หน้า ๘๒๖) ได้ให้ความหมายของคำว่า    ภูมิปัญญาไว้ว่า “พื้นความรู้ความสามารถ” ภูมิปัญญาหมายถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน หรือเป็นลักษณะสากล ที่หลายถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญา ชาวบ้านในแต่ละถิ่นเกิดจากการแสวงหาความรู้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคม ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญานี้จึงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและชาวบ้าน เช่น การประกอบพิธีกรรมของชุมชน หรือประเพณีการรวมกำลังช่วยกันทำงานใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำสำเร็จได้โดยคนเดียวเป็นต้น ภูมิปัญญาหมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรของบุคคลหรือ ทรัพยากรความรู้ก็ได้ทรัพยากรความรู้ที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ความรู้ในสาขาอาชีพหรือวิชาการด้านต่างๆ เช่น การคัดเลือกพันธุ์ข้าว การถนอมอาหาร วัฒนธรรม ศิลปะ จารีตประเพณี เป็นต้นส่วนทรัพยากรบุคคลที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ชาวนาผู้ประสบความสำเร็จในการผลิต พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในบายศรี เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน (popular wisdom) เป็นคำที่รู้จักกันมานานพอสมควร เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง  หลายแง่มุม ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ในแง่มุมต่างกัน ดังนี้

🧠ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หรือปัญญาชนชาวบ้านหรือปัญญาชนท้องถิ่น (Intellectual Organic) หมายถึง “พื้นเพรากฐานของความรู้ของชาวบ้าน หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์สืบเนื่องต่อกันมาทั้งทางตรง คือ ประสบการณ์ด้วยตนเองหรือทางอ้อมซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่ หรือความรู้ที่สะสมสืบต่อกันมา" (สามารถ จันทร์สูรย์,๒๕๓๓ อ้างถึงใน สำเนียง สร้อยนาคพงษ์,๒๕๓๕:๒๔) ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาแห่งชีวิต ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้มาเป็นเวลานาน เพราะสังคมเปรียบเสมือนมนุษย์ หากไม่มีสอนหรือปัญญาย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้   (ประเวศ วสี,๒๕๓๔) อ้างถึงใน นิลุบล คงเกตุ,๒๕๔๐ หน้า ๔๓) วันเพ็ญ พวงพันธุ์บุตร (๒๕๔๒:๑๐๘) ให้ทัศนะเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึงองค์ความรู้ทั้งหลายที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมาของชาติไทย    โดยการคิดค้นปรับเปลี่ยนผสมผสานกับ
ความรู้ใหม่ และพัฒนาให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รุ่ง แก้วแดง (๒๕๔๓:๒๐๔) ได้กล่าวถึงภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึง องค์ความรู้
ความสามารถและทักษะของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรรเรียนรู้พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย รัตนะ บัวสนธิ์ (๒๕๓๕:๓๕) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงกระบวนทัศน์ชองบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดังกล่าวมีรากฐานจากคาสอนทางศาสนา คติ จารีตประเพณีที่ได้รับการถ่ายทอด สั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ปรับเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง     แต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขของส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล

 🔎สรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน จะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เอง และนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน
ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดทำ  โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

✨ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น✨

      ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายร่วมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้าน คิดค้นขึ้น แล้วนามาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้ง สติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น
จึงมีความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ใน หลายวิชาดังที่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑)
ได้จำแนกไว้รวม ๑๐ สาขา คือ

๑. 🌱สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตร เป็นต้น

๒. 🔨สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อ ชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัยประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทาง เศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา      กลุ่มหัตถกรรม และอื่นๆ เป็นต้น

๓. 👨‍⚕️สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกัน และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้

๔. 🌄สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน

๕. 💰สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน

๖. 📈สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

๗. 🎨สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะ สาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น

๘. 📋สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล

๙. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท

๑๐. ☮สาขาศาสนาและประเพณีหมายถึง ความสามารถประยุกต์ และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคล  และสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น


             🕸 แยกตามประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่นเทศบาลนครปากเกร็ด 🕸

🌱ด้านเกษตรกรรม🌱

    ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

การทำปุ๋ยจากสารอินทรีย์

นายธำรง  จันทร์สุกรี

๙๙/๑๐๓  ม.๕ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

เกษตรอินทรีย์ปลอดสาร

นายเสริมศักดิ์  แตงอ่อน

๗๕/๑๖๘ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

🛠ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม🛠

    ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

เครื่องปั้นดินเผา

นายอำนาจ  โห้เฉื่อย

๘๔/๑๓ ม.๓ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ชุดตุ๊กตาไทยประยุกต์

นางสาวสมปอง  ก๋งแหยม

๒๔/๒๔ ม.๕ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด    จ.นนทบุรี 11120

เครื่องปั้นดินเผาแกะสลัก

นายถาวร  ใจสว่าง

๖๙ ม.๓ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด         จ.นนทบุรี 11120

🩺ด้านการแพทย์ไทย🩺

ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

การผลิตลูกประคบสมุนไพรไทยแผนโบราณ

นางปราณี  เที่ยงพัฒน์

๓๗/๓๕ ม.๓ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด    จ.นนทบุรี 11120

การแปรรูปสมุนไพรไทย

นางสาวมัลลิกา  พรหรมพจนารถ

๒๔/๒๔ ม.๕ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด   จ.นนทบุรี 11120

สูตรยาดมส้มโอมือ

นางสาวดวงอมร  กฤษณ์มพก

๔๖/๔๖ ม.๒ ซอยแจ้งวัฒนะ ๒๘      ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ดจ.นนทบุรี 11120

🌏ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม🌏

ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

กระบวนการแปรสภาพขยะ คือปุ๋ยหมัก และน้ำ

นายอเนก  หอมหวาน

บ้านพบสุข  ม.๕ ต.บางตลาด            อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

การจัดการสิ่งแวดล้อมจากต้นทาง

นายเสริมศักดิ์  แตงอ่อน

๗๕/๑๖๘ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

การจัดการขยะมูลฝอย

นายธำรง  จันทร์สุกรี

๙๙/๑๐๓  ม.๕ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

🏺ด้านศิลปกรรม🏺

ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

ศิลปะการเพ้นท์จากขวดแก้ว

นายประภัทร  สุขเกษม

บ้านพบสุข  ม.๕ ต.บางตลาด            อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

การเป่าแก้วประยุกต์ศิลปะไทย

นายสมชาย  น้อยจินดา

๗๕/๑๖๘ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

เครื่องปั้นดินเผาแกะสลัก (บ้านศิลป์ ดินสวย)

นายสุชาติ  กิ่งสดศรี

๑๘/๘๙๐ ม.๕ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

งานไม้เขียนลาย

นางนิรมล  ใจสว่าง

๑๑๗/๑๙ ฒ.๓ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

🥧ด้านอื่นๆ (ด้านอาหารและขนมไทย)🥧

ชื่อของภูมิปัญญา

ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

บะจ่าง

นางสาวปนัดดา  เจริญจรัสกุล

๗๖/๑๕๙ ซอยเกื้อกูล ต.บางตลาด      อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

ทอดมันหน่อกะลา

นายวิโรจน์  นันทวิริยาจารย์

๓ หมู่ ๒ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด         จ.นนทบุรี 11120

ขนมกาละแม / แกงมะตาด

นางกนกวรรณ  นามชุ่ม

๑๓๑/๓๘ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด        จ.นนทบุรี 11120

ขนมกระยาสารท (เท้งปากเกร็ด)

นายณภพ ภูวนธนบูรณ์

๙๒-๙๓.ซ.ตลาดเก่า ต.ปากเกร็ด           อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ขนมเปี๊ยะ  (ร้านเฉลิมชัยพาณิช)

นางสาวสุปราณี  โอสถาวรนันทร์

๙๒-๙๓.ซ.ตลาดเก่า ต.ปากเกร็ด           อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ไอศกรีม  แป๊ะหงวน

นายสันติ  เนาวพนานนท์

๓๘ ม.๒ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด       จ.นนทบุรี 11120

ขนมโบราณ

นางอัจฉรา  จำปากะนันท์

๗/๑๖ ม.๙ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด       จ.นนทบุรี 11120

ขนมไทยมงคล

นางสาวอรวรรณ  ตัณฑวิทยากุล

๑๕๖/๒ เคหะนนทบุรี ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด       จ.นนทบุรี 11120