ตัวอย่าง โครงการ ค่า จัดการ เรียนการสอน (รายหัว)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้น พื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาใช้เป็นแนวทางใน การดำเนินงานให้เกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า ประหยัด โปร่งใส เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและทาง ราชการสูงสุด โดยสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. รายการค่าจัดการเรียนการสอน

1.1 เงินอุดหนุนรายหัว

1.1.1 สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ ภารกิจของสถานศึกษา นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน

1.1.2 นำเสนอแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา เพื่อให้คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นชอบ

1.1.3 รายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้สาธารณชนได้รับทราบ

1.1.4 การใช้จ่ายงบประมาณ ต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปีของ สถานศึกษา

1.1.5 การใช้งบประมาณงบเงินอุดหนุนรายการค่าจัดการเรียนการสอน(เงินอุดหนุนรายหัว) ใช้ในลักษณะ 3 ประเภทงบรายจ่าย ดังนี้

(1) งบบุคลากร ค่าจ้างชั่วคราว เช่น จ้างครูอัตราจ้างรายเดือน พนักงานขับรถ นักการ ภารโรง ฯลฯ

(2) งบดำเนินงาน

- ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนวิทยากรวิชาชีพ ท้องถิ่น ฯลฯ

- ค่าใช้สอย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าจ้างซ่อมแซม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าพาหนะพานักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ

- ค่าวัสดุ เช่น ค่าวัสดุการศึกษา ค่าเครื่องเขียน ค่าวัสดุ เวชภัณฑ์ ค่าซ่อมแซมบ ารุงรักษาทรัพย์สิน ฯลฯ

- ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ า ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ

(3) งบลงทุน

- ค่าครุภัณฑ์ เช่น จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ

- ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเพื่อประกอบดัดแปลง ต่อเติม หรือ ปรับปรุงที่ดินและ/หรือสิ่งก่อสร้าง เช่น ค่าจัดสวน ค่าถมดิน ถนน สะพาน บ่อน้ำ ฯลฯ ทั้งนี้ กรณีงบลงทุนและงบดำเนินงาน สามารถดำเนินการได้เพิ่มเติมตาม หนังสือของสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร 0702/ว 51 ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 เรื่อง หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ หนังสือที่ นร 0704/ว 33 ลงวันที่ 18 มกราคม 2553 เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ หนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0704/ว 68 ลงวันที่ 29 เมษายน 2558 เรื่องการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตาม งบประมาณ

1.2 เงินอดุหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างและกระจายโอกาส ทางการศึกษาในสังคมไทย โดยจัดสรรงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายการค่าจัดการเรียนการสอน (เงินอุดหนุนปัจจัย พื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน) จัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่มีนักเรียนยากจนที่มีรายได้ต่อครัวเรือน ไม่เกิน 3,000 บาท/ต่อเดือน และผ่านเกณฑ์ระบบการคัดกรองปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด เพื่อจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการ

ดำรงชีวิตและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนยากจนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น การจัดสรรงบประมาณ จะจัดให้นักเรียนยากจน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มยากจนมาก และ กลุ่มยากจนมากที่สุด โดยจัดสรรระดับประถมศึกษา คนละ 500 บาท/ภาคเรียน (1,000 บาท/ปี) และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คนละ 1,500 บาท/ภาคเรียน (3,000 บาท/ปี)

การใช้จ่ายงบประมาณ

1) วิธีการใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้

1.1 สถานศึกษาสามารถดำเนินการจ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง โดยให้สถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการจ่ายเงินอย่างน้อย 3 คน โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็น หลักฐาน หรือ

1.2 สถานศึกษาจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นให้แก่นักเรียนยากจนโดยตรง ตามรายชื่อที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

1.2.1 ค่าหนังสือเรียนและอุปกรณ์การเรียน

1.2.2 ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน

1.2.3 ค่าอาหารกลางวันหรือคูปองค่าอาหาร

1.2.4 ค่าพาหนะในการเดินทาง หรือจ้างเหมารถรับ-ส่งนักเรียน

1.2.5 ค่าใช้จ่ายที่นักเรียนยากจนต้องการ จำเป็นในการดำรงชีวิต ประจำวัน นอกเหนือจาก 4 รายการข้างต้น

2) กรณี การดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการ จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัด จ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

3) กรณีนักเรียนยากจนที่ได้รับจัดสรรตามรายชื่อในบัญชีจัดสรรนักเรียนยากจน มีการย้าย ลาออก และไม่สามารถรับเงินได้ให้สถานศึกษาส่งคืนเงินอุดหนุนของนักเรียนที่ได้รับ จัดสรร

การดำเนินงานของสถานศึกษา

(1) ตรวจสอบข้อมูลการคัดกรองนักเรียนยากจน ตามแบบ นร 01 และรับรอง ข้อมูลตามแบบ นร 02 แล้วรายงานข้อมูลนักเรียนยากจนในระบบนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC) เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (หนังสือสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04006/ว 850 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560)

(2) เมื่อได้รับโอนเงินงบประมาณเข้าสมุดคู่ฝากเงินฝากธนาคารของสถานศึกษา ให้สถานศึกษาด าเนินการจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

(3) ดำเนินการจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลนักเรียนยากจน

(4) รายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ

2. รายการค่าหนังสือเรียน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวทางการจัดซื้อหนังสือและ แบบฝึกหัดให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ ดังนี้

2.1 การคัดเลือกหนังสือ ครูผู้สอนเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกหนังสือตามเหตุผลเชิงคุณค่าทางวิชาการเสนอ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน และผู้แทนนักเรียน) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน โดยหนังสือเรียนและแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน พิจารณาคัดเลือกจากหนังสือที่สอดคล้อง กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษามีเนื้อหาสาระยากง่ายเหมาะสม กับผู้เรียน

สำหรับการคัดเลือกหนังสือเสริมประสบการณ์ระดับปฐมวัย ครูผู้สอนปฐมวัย เป็นผู้คัดเลือกหนังสือตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน และผู้แทนนักเรียน) และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยพิจารณาจากความสอดคล้องของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและ หลักสูตรสถานศึกษาต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม รักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

2.2 การจัดซื้อหนังสือ

2.2.1 หนังสือเสริมประสบการณ์ระดับปฐมวัย จัดซื้อเพื่อใช้สำหรับการจัดประสบ การณ์เรียนรู้ที่มีความหลากหลายและมีจำนวนเพียงพอเหมาะสมต่อการจัดประสบการณ์ใน ห้องเรียนระดับปฐมวัย

2.2.2 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต้องจัดซื้อให้ครบ 100% ของจำนวนนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีหนังสือเรียน ครบทุกคน

2.2.3 แบบฝึกหัดจัดซื้อเฉพาะรายวิชาพื้นฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดใน ระดับประถมศึกษาเท่านั้น ใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จัดซื้อ 100% ของจ านวนนักเรียน

2.2.4 งบประมาณในการจัดซื้อหนังสือเรียนและแบบฝึกหัด สามารถถัวจ่าย ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้และระดับชั้นได้

2.2.5 งบประมาณที่เหลือจากการจัดซื้อหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน/ รายวิชาพื้นฐานให้แก่นักเรียนทุกคนแล้ว สามารถนำไปจัดซื้อหนังสือเสริมประสบการณ์ระดับ ปฐมวัย หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม/รายวิชาเพิ่มเติม ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ หลักสูตรสถานศึกษา หรือจัดท าส าเนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน ได้แก่ ใบงาน ใบความรู้ เป็นต้น โดยผ่านความเห็นชอบร่วมกันของคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.3 วิธีดำเนินการจัดซื้อ

2.3.1 สถานศึกษา ดำเนินการจัดซื้อโดยถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่ เกี่ยวข้องกับการพัสดุภายใต้บทบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

2.3.2 สถานศึกษาเตรียมดำเนินการหาผู้ขายไว้ให้พร้อม เพื่อที่จะทำสัญญาได้ทันที เมื่อได้รับแจ้งอนุมัติการโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ของสถานศึกษา

2.3.3 เมื่อดำเนินการจัดซื้อหนังสือเรียนเรียบร้อยแล้ว ให้สถานศึกษาลงบัญชีวัสดุ หนังสือเรียน และให้นักเรียนลงชื่อรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจสอบ

2.3.4 การจัดซื้อหนังสือเรียนจะต้องด าเนินการด้วยความโปร่งใส สามารถ ตรวจสอบได้

2.4 การแจกหนังสือเรียนและแบบฝึกหัด

2.4.1 กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการแจกหนังสือเรียนและแบบฝึกหัด เช่น ครูประจ าชั้น/หัวหน้า และครูสายชั้น/ครูผู้รับผิดชอบ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ให้สอดคล้องกับ การบริหารจัดการของสถานศึกษาแต่ละแห่ง)

2.4.2 สถานศึกษาแจกหนังสือเรียนให้นักเรียนทุกคนก่อนเปิดภาคเรียน หรือวันแรกหรือสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน

2.4.3 ให้นักเรียนลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้เป็นหลักฐาน (ในกรณีเด็กปฐมวัยให้ ผู้ปกครองเป็นผู้ลงลายมือชื่อ)

3. รายการค่าอุปกรณ์การเรียน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะโอนเงินงบประมาณค่าอุปกรณ์การ เรียนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาจ่ายเงินสดให้กับนักเรียนและ หรือผู้ปกครอง เพื่อนำไปเลือกซื้ออุปกรณ์การเรียนที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนการสอนได้ตามความ ต้องการให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละระดับชั้นโดยส่งผลต่อคุณภาพ ได้แก่ สมุด ดินสอ ยางลบ ปากกา ไม้บรรทัด วัสดุด้าน ICT กระดาษ สีเทียน ดินน้ำมันไร้สารพิษ กรรไกรสำหรับเด็กปฐมวัย กระเป๋านักเรียน เป็นต้น

3.1 แจ้งให้นักเรียนและหรือผู้ปกครองจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์การเรียนได้ตามความ ต้องการ ได้แก่ จัดซื้อจากสหกรณ์ ร้านค้า ชุมชน โดยดำเนินการให้ทันก่อนเปิดภาคเรียน สำหรับ โรงเรียนที่ห่างไกลทุรกันดาร โรงเรียนการศึกษาพิเศษ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และศูนย์ การศึกษาพิเศษ ผู้ปกครองหาซื้อได้ลำบาก สถานศึกษาสามารถดำเนินการช่วยเหลือในการจัดหา ได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.2 ติดตามใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการจัดหาอุปกรณ์การเรียนจากนักเรียน หรือผู้ปกครอง กรณีไม่มีใบเสร็จให้ใช้แบบหลักฐานยืนยันการจัดหา ที่สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

3.3 ดูแลให้นักเรียนมีอุปกรณ์การเรียนจริง หากพบว่า นักเรียนไม่มีอุปกรณ์การ เรียน โดยที่นำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่นที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้ปกครองจะต้องคืนเงินให้กับทาง ราชการ

3.4 ผู้ปกครองสามารถใช้จ่ายเงินค่าอุปกรณ์การเรียน โดยถัวจ่ายร่วมกับค่า เครื่องแบบนักเรียนได้

3.5 กรณีที่ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับสิทธิ์ค่าอุปกรณ์การเรียน มีความประสงค์ที่จะ บริจาคเงินที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวให้กับสถานศึกษาด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ สถานศึกษานำไปพัฒนา คุณภาพการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา สามารถทำได้โดยจัดทำใบสำคัญรับเงินจาก สถานศึกษา และนำเงินบริจาคให้กับสถานศึกษาในเอกสารฉบับเดียวกัน ตามแบบใบแสดง เจตจำนงบริจาคค่าเครื่องแบบนักเรียน/ค่าอุปกรณ์การเรียน ที่สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

4. รายการค่าเครื่องแบบนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะโอนเงินงบประมาณค่าเครื่องแบบ นักเรียนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาจ่ายเงินสดให้กับนักเรียนและ หรือผู้ปกครอง เพื่อซื้อเครื่องแบบนักเรียน คนละ 2 ชุด ในกรณีที่เครื่องแบบนักเรียนราคาสูงกว่า วงเงินที่ได้รับ หรือใช้ เครื่องแบบที่แตกต่างจากเครื่องแบบปกติอาจจัดซื้อได้เพียง 1 ชุด และหากมี เครื่องแบบนักเรียนเพียงพอแล้ว อาจน าเงินที่ได้รับไปจัดซื้อเข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า ชุดลูกเสือ/ เนตรนารี/ยุวกาชาด/ชุดกีฬา/อุปกรณ์การเรียนที่จำเป็นได้

ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาแจ้งให้นักเรียนและหรือผู้ปกครองจัดซื้อ จัดหาเครื่องแบบนักเรียน ได้ตามความต้องการ ได้แก่ จัดซื้อจากสหกรณ์ ร้านค้า ชุมชน กลุ่มแม่บ้าน หรือ ตัดเย็บเอง โดยดำเนินการให้ทันก่อนเปิดภาคเรียน สำหรับโรงเรียนที่ห่างไกลทุรกันดาร โรงเรียนการศึกษาพิเศษ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และศูนย์การศึกษาพิเศษ ที่ผู้ปกครองหาซื้อได้ลำบาก สถานศึกษา สามารถดำเนินการช่วยเหลือในการจัดหาเครื่องแบบนักเรียนที่มีคุณภาพให้แก่นักเรียนได้ โดย ความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.1 การควบคุมการจ่ายเงินค่าเครื่องแบบนักเรียน สถานศึกษาต้องดำเนินการ ดังนี้

4.1.1 แต่งตั้งผู้จ่ายเงินอย่างน้อย 2 คน โดยมีครูประจำชั้นร่วมเป็นผู้จ่ายเงินให้กับ นักเรียนและหรือผู้ปกครองโดยลงลายมือชื่อรับเงิน กรณีนักเรียนไม่สามารถลงลายมือชื่อรับเงินได้ ให้ผู้ปกครองลงลายมือชื่อรับเงินแทน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ในแบบหลักฐานการ จ่ายเงิน ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

4.1.2 แจ้งให้นักเรียนและหรือผู้ปกครองจัดซื้อ จัดหาเครื่องแบบนักเรียนได้ตาม ความต้องการ ได้แก่ จัดซื้อจากสหกรณ์ ร้านค้า ชุมชน โดยดำเนินการให้ทันก่อนเปิดภาคเรียน สำหรับโรงเรียนที่ห่างไกลทุรกันดาร โรงเรียนการศึกษาพิเศษ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และศูนย์ การศึกษาพิเศษ ผู้ปกครองหาซื้อได้ล าบาก สถานศึกษาสามารถดำเนินการช่วยเหลือในการจัดหา ได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.1.3 ติดตามใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการจัดหาเครื่องแบบนักเรียนจาก นักเรียนหรือผู้ปกครอง กรณีไม่มีใบเสร็จให้ใช้แบบหลักฐานยืนยันการจัดหา ที่สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

4.1.4 ดูแลให้นักเรียนมีเครื่องแบบนักเรียนจริงและตรวจสอบหากพบว่านักเรียนไม่ มีเครื่องแบบนักเรียน โดยที่นำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่นที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้ปกครองจะต้อง คืนเงินให้กับทางราชการ

4.1.5 ผู้ปกครองสามารถใช้จ่ายเงินค่าเครื่องแบบนักเรียนโดยถัวจ่ายร่วมกับค่า อุปกรณ์การเรียนได้

4.2 กรณีที่ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับสิทธิ์ค่าเครื่องแบบนักเรียน มีความประสงค์ที่จะ บริจาคเงินที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวให้กับสถานศึกษาด้วยความสมัครใจ เพื่อให้สถานศึกษานำไปพัฒนา คุณภาพการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา สามารถทำได้โดยจัดทำใบสำคัญรับเงินจากสถานศึกษา และนำเงินบริจาคให้กับสถานศึกษา ในเอกสารฉบับเดียวกัน ตามแบบใบแสดง เจตจำนงบริจาคค่าเครื่องแบบนักเรียน/ค่าอุปกรณ์การเรียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

5. รายการค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย

(1) กิจกรรมวิชาการ

(2) กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์

(3) กิจกรรมทัศนศึกษา

(4) กิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

ทั้งนี้ ในการวางแผนกำหนดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต้องมีคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน และผู้มแทนกรรมการนักเรียน) และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมและพิจารณาโดยที่ผลการพิจารณาต้องไม่เป็นการรอนสิทธิ์ของ เด็กยากจน เด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเด็กด้อยโอกาสที่พึงจะได้รับ

โดยการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมให้ ครอบคลุม ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามคู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลา เรียน เพิ่มเวลารู้” โดยวางแผนดำเนินการในการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาและ สามารถใช้งบประมาณงบเงินอุดหนุน รายการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในการดำเนินการตาม กิจกรรมดังกล่าวได้

5.1 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

5.1.1 กิจกรรมวิชาการ เป็นกิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมนอกจากการเรียน ปกติในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมเด็กเก่ง ให้มีความ เป็นเลิศ และแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนที่เรียนอ่อนให้มีศักยภาพสูงขึ้น เน้นกิจกรรมที่ เสริมสร้างจินตนาการให้โอกาสนักเรียนได้เรียนรู้ โดยกำหนดให้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวอย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง

5.1.2 กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด/ผู้บ าเพ็ญประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ โดยก าหนดให้มีการดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5.1.3 กิจกรรมทัศนศึกษา โดยเน้นภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของชาติและ ท้องถิ่น และหรือทัศนศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน ที่เพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง โดยกำหนดให้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5.1.4 กิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นกิจกรรม การให้บริการ ICT/บริการคอมพิวเตอร์แก่นักเรียน เพิ่มเติมจากการเรียนคอมพิวเตอร์พื้นฐานตาม หลักสูตรปกติ ได้แก่ การให้บริการสืบค้นความรู้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การให้บริการคอมพิวเตอร์ ในการจัดทำสื่อรายงาน การน าเสนอข้อมูล การออกแบบสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยกำหนดให้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวอย่างน้อย 40 ชั่วโมง/คน/ปี

5.2 การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับนักเรียนด้วยงบเงินอุดหนุน สำหรับหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตามหนังสือ ที่ ศธ 04002/ว 2983 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งสถานศึกษาจะต้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนด