เรียงความ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

                  ที่มาและความสำคัญ ชาติ คือสิ่งที่แสดงถึงที่มาที่ไปและความเป็นเอกลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ ชาติไทยเป็นสิ่งที่เราต้องรัก และหวงแหน ศาสนา คือที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และพระมหากษัตริย์ คือศูนย์รวมใจคนไทยทั้งชาติ ทั้งสามสิ่งนี้ล้วนแต่ทำให้คนไทยรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยึดมั่นในการทำความดีตามหลัก พุทธศาสนา ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของคนในชาติ

                   ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนบ้านดอนช้าง(ศรีสุขวิทยาคาร) จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้แก่นักเรียนเพื่อปลูกฝังอุปนิสัย ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้คงอยู่ตลอดไป โดยจัดกิจกรรมให้ดำเนินไปเป็นระยะตลอดปีการศึกษา มีกิจกรรมขับเคลื่อนได้แก่ กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ กิจกรรมวันสำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 

  2. เพื่อปลูกฝังอุปนิสัย ความรักและภูมิใจในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  ให้กับนักเรียน 

  3. เพื่อให้นักเรียนแสดงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ได้ถูกต้องกับกาลเทศะ

   เป้าหมาย

  1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

 นักเรียนโรงเรียนบ้านดอนช้าง  จำนวน 150 คน ได้ร่วมกิจกรรม

   2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

 นัก เรียนโรงเรียนบ้านดอนช้างทุกคน  มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และแสดงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ได้ถูกต้องกับกาลเทศะ

  ระยะเวลา  ตลอดปีการศึกษา

  วิธีดำเนินการ

   1.จัดทำโครงการเสนอ ต่อผู้บริหารสถานศึกษา

   2. ออกแบบกิจกรรมเพื่อดำเนินการ

   3. กำหนดปฏิทินจัดกิจกรรม

   4. แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินกิจกรรม

   5. ดำเนินกิจกรรมตามที่แผนงานที่วางไว้

   6. เมื่อสิ้นปีการศึกษา สรุปผล ประเด็นปัญหาและ แนวทางแก้ไข

   7. จัดทำรายงานกิจกรรม

   กิจกรรมย่อยที่นำมาขับเคลื่อน

  1. กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ  

  2. กิจกรรมวันสำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์


ถ้าเขาจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม เขาจึ่งจะเป็นไทยแท้ แต่ถ้าใครแสดงตนว่าเป็นอิสระแก่ตน ไม่มีความจงรักภักดีต่อผู้ใดดังนี้ ต้องจัดว่าผู้นั้นเป็นคนไม่มีชาติ เพราะคนคนเดียวหรือหมู่เดียวจะตั้งตนเป็นชาติต่างหากหาได้ไม่…การที่ผู้ใดยอมสละอำนาจอันชอบธรรมเช่นนี้ต้องเข้าใจว่าเพราะเห็นแก่สาธารณประโยชน์และความสะดวกแก่มหาชนยิ่งกว่าเห็นแก่ความสะดวกของตนเอง … คือผู้มีความภักดีจริง รักชาติจริง ผู้ที่ไม่ยอมคือผู้ที่รักชาติแต่ปาก

“ความเป็นชาติโดยแท้จริง”

โดย อัศวพาหุ (รัชกาลที่ 6)

หนังสือพิมพ์ไทย พ.ศ. 2458

ผมมีโอกาสได้เลคเชอร์นักศึกษาเอกหนังสือพิมพ์ที่กำลังจะจบในปีการศึกษาล่าสุด สัมผัสได้ว่าหลายคนประหวั่นพรั่นพรึงกับอนาคตที่ไม่แน่นอนของตัวเอง ด้วยค่าของคำว่า ‘หนังสือพิมพ์’ ไม่ได้ขลังเหมือนสมัยเมื่อหลายสิบปีก่อน บทบาทของสื่อสารมวลชนหรือพลวัตของธุรกิจสื่อทำให้อาชีพนักหนังสือพิมพ์ถูกตั้งคำถาม และตัวธุรกิจในประเทศไทยเองก็ดูเหมือนกำลังจะโรยรา

เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องยาก แม้ว่าคณาจารย์จะพยายามปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้เหมาะสมกับโลกปัจจุบันเพื่อให้นักศึกษาอยู่รอดแล้วก็ตาม แต่คำที่ถูกแปะป้ายไว้บนตัวเราก็จะตามเราไปทุกที่

‘คำ’ มีอิทธิพลต่อการสร้างความรู้สึกและจินตนาการของคนที่ได้อ่านเป็นอย่างมาก ผมเชื่อว่าหากเปลี่ยนแค่คำ บางครั้งผลลัพธ์ที่ได้อาจมีพลังมากกว่าที่เราคิด

และเรื่องคำนี่แหละ ทำให้ผมตั้งคำถามกับป้ายที่ผมคุ้นเคยและเห็นมาตั้งแต่เด็กๆ นั่นคือป้ายหน้าค่ายทหาร

หน้าค่ายทหารเกือบทุกแห่งในประเทศจะมีป้ายทำจากหินอ่อนบ้าง หินขัดบ้าง สลักประโยค ‘เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์และประชาชน’ โดดเด่นอย่างมั่นคงด้วยตัวอักษรวิจิตรใหญ่หนา เป็นเหมือนคำขวัญประจำใจเพื่อบอกว่าหน้าที่ของทหารหาญของไทย ต้องปกป้องสิ่งใดบ้าง

คำเหล่านี้มีที่มา และความหมายอย่างไรกัน

ชาติ ศาสน์ กษัตริย์: ความหมายที่มาพร้อมธงชาติ

ต้องเท้าความเดิมก่อนว่า ป้ายหน้าค่ายทหารสมัยก่อนมีแค่คำว่า ‘เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์’ ทั้งสามคำมาพร้อมกับการสร้างความเป็นชาติในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นผู้นำ ‘คำ’ เหล่านี้มาใช้ พร้อมกับการเปลี่ยนธงชาติจากธงรูปช้างเผือกบนพื้นสีแดง มาเป็นธงแถบสีแดงขาวและธงไตรรงค์สามสีในท้ายที่สุด

แม้จะมีเรื่องเล่าและบันทึกเกี่ยวกับพระราชประสงค์ในการเปลี่ยนธงจากเดิมซึ่งเป็นรูปช้างมาเป็นธงแถบสีว่าเพื่อความสะดวกสบาย ลดความยุ่งยาก ความไม่สง่างามหรืออะไรก็ตาม แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่าลึกๆ แล้ว การเปลี่ยนธงชาติไทยเป็นการทำให้สยามดู ‘เป็นตะวันตกมากขึ้น’ (westernization) มีการกล่าวอ้างว่าอย่างเปิดเผยว่า รัชกาลที่ 6 ต้องการให้ธงของสยาม ดูใกล้เคียงกับธงของฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ทว่า แม้ธงสยามจะดูคล้ายธงของชาติตะวันตก แต่ความหมายกลับค่อนข้างแตกต่างกัน

ในช่วงที่อังกฤษเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการปลุกระดมคนในชาติเพื่อสู้กับศัตรูฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งนำโดยเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี อังกฤษใช้คำขวัญปลุกใจเหล่าทหารหนุ่มว่า ‘For God, King and Coutntry’ (‘เพื่อพระเจ้า กษัตริย์ และประเทศชาติ’ ซึ่งต่อมาคำพวกนี้ยังคงวนเวียนอยู่ในวัฒนธรรมของอังกฤษ มีการเปลี่ยนแปลงและนำไปใช้ในหลายบริบทนะครับ ตั้งแต่เปลี่ยนจาก King เป็น Queen ตัดคำว่า God ออก ท้ายสุดมันยังกลายเป็นชื่อวงดนตรีร็อคในอังกฤษ เชื่อมโยงไปถึงวัฒนธรรมป๊อปของอังกฤษในช่วง 50 ปีหลังจากนั้น)

รัชกาลที่ 6 รับแนวความคิดนี้มา ซึ่งไม่น่าแปลกใจเนื่องจากพระองค์พำนักอยู่ที่อังกฤษเป็นเวลานาน เมื่อนิวัติกลับสยามจึงปรับเอามาใช้ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้มีความเจริญทัดเทียม มีอารยะและเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่สงคราม จึงเกิดเป็นที่มาของคำขวัญ ‘เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์’ พร้อมๆ กับการเปลี่ยนธงชาติ

จริงๆ สีแดง น้ำเงิน ขาว ในโลกตะวันตกไม่ได้ถูกใช้เป็นตัวแทนของชาติ ศาสนาหรือสถาบันกษัตริย์ แต่สีทั้งสามสีถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองแบบสาธารณรัฐเสียด้วยซ้ำ โดยถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1568 ช่วงการปฎิวัติของชาวดัตช์ที่ต้องการเป็นเอกราชจากการปกครองของสเปนในสงครามที่เรียกกันว่า ‘สงคราม 80 ปี’ (Eighty Year’s Wars) ระหว่างปี 1568-1648 แต่เดิมในช่วงศตวรรษที่ 14 ส่วนของสีแดงนั้นเคยเป็นสีส้มซึ่งเป็นสีของกษัตริย์ แต่ต่อมาเมื่อการปฎิวัติสำเร็จ สีส้มถูกเปลี่ยนเป็นสีแดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองแบบสาธารณรัฐแทน 

ชาวฝรั่งเศสนำธงนี้ไปใช้เป็นสัญลักษณ์ของการปฎิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มต้นในพฤษภาคมปี 1789 แต่มีการปรับเปลี่ยนจากแนวนอนให้เป็นแนวตั้ง เสมือนว่าเป็นเหมือน ‘เสาหลัก’ ของอุดมการณ์ทางการเมืองและให้ความหมายแถบสามสี แดง น้ำเงิน ขาวว่า ‘เสรีภาพ เสมอภาพ ภราดรภาพ’ เมื่อการปฎิวัติฝรั่งเศสสำเร็จ ประเทศเกิดใหม่หลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาเลยนำเอาสีสามสีนี้ไปใช้เพื่อสื่อความหมายของอุดมการณ์ประชาธิปไตยและความเป็นชาติที่ยึดโยงอยู่กับประชาชน 

สำหรับประเทศไทย ในยุคของการเข้าสู่ความทันสมัย ธงชาติและสามสีนี้ไม่ได้ใช้ในความหมายที่เข้าใจกันในโลกตะวันตก แต่เปลี่ยนเพื่อแสดงให้เห็นความเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกเท่านั้น (นัยว่าประดับหัวเรือแล้วดูเนียนๆ ไปกับเขา) สามสีและสามคำของไทยก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย แต่ผูกโยงไปกับสถาบันกษัตริย์ซึ่งขณะนั้นถือเป็นศูนย์กลางของการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเหนียวแน่น ผ่านทางการปฎิรูปสถาบันทหารและคุณค่าของความเป็นชาย ที่ถูกทำให้เป็น ‘คนของกษัตริย์’ อีกที 

สาระในศาสนา

ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 สถาบันศาสนาก็มีความเคลื่อนไหวค่อนข้างมากและได้ยกภาพของพุทธศานาให้เป็นของกษัตริย์ (และชาติ) โดยสมบูรณ์ และยังอิงอยู่กับความเป็นตะวันตกอยู่เช่นกันครับ เช่น การปรับเปลี่ยนมาใช้การนับ ‘พุทธศักราช’ แทน ‘รัตนโกสินทรศก’ ให้เป็นศักราชทางราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2457  ซึ่งจะว่าไป ก็เป็นไปตามธรรมเนียมของตะวันตกที่นับปีศักราชให้สัมพันธ์กับศาสนาคริสต์ จากนั้นไม่นานนัก ปี 2463 ก็มีการบัญญัติธรรมเนียมอีกอย่าง ซึ่งได้อิทธิพลที่พระองค์ได้มาจากศาสนาคริสต์อีกเช่นกัน นั่นคือการส่งบัตรอวยพรในวันวิสาขบูชาซึ่งก็เป็นธรรมเนียมของตะวันตกที่จะส่งส่งบัตรอวยพรในวาระคริสตสมภพ

ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในปี 2462 ก็โปรดให้เปลี่ยนเรียกกระทรวงธรรมการ เป็นกระทรวงศึกษาธิการ และย้ายกระทรวงธรรมการเอาไปรวมอยู่ในราชสำนักตามประเพณีเดิม นี่เป็นครั้งแรกที่แยกการศึกษาฝ่ายศาสนากับฝ่ายบ้านเมืองให้อยู่ต่างที่ต่างสังกัดกัน

กระทรวงธรรมการที่สังกัดราชสำนักมี 2 กรม คือ กรมสังฆการี มีหน้าที่เป็นเจ้าทะเบียนสงฆ์และดูแลพระอาราม ส่วนกรมกัลปนา มีหน้าที่ดูแลที่ธรณีสงฆ์ โดยมีกองศาสนสมบัติมีหน้าที่รักษาสมบัติสงฆ์ ส่วนกองปริยัติธรรมมีหน้าที่บำรุงการศึกษาในพระพุทธศาสนา

จากปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด ก็จะเห็นได้ว่าศาสนาเองก็ถูกปรับเปลี่ยนค่อนข้างมากและถูกทำให้เป็นสากลมีความเทียบเคียงกับตะวันตกมากขึ้น พยายามลดความเป็นพหุศาสนา ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของดินแดนแถบกันชน (buffer zone) แห่งนี้ที่ผู้คนทั้งจากจีน อินเดียและมลายูมาตั้งรกราก ติดต่อค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิมานาน

อิทธิพลทั้งศาสนาพุทธ พราหมณ์ ฮินดู อิสลามและลัทธิจากจีนและศาสนาอื่นๆ ต่างผสมปนเปและแพร่กระจายและอยู่ร่วมกันมานานแล้ว โดยเฉพาะในภาคใต้ที่มีการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมมานาน ทั้งจากจีน ฮินดู และอิสลาม 

บันทึกของหมอบรัดเลย์ระบุไว้ว่า จากที่เข้ามาสำรวจดินแดนแถบนี้พบว่า ‘คนมุสลิมในปัตตานีมีจำนวนไม่น้อยไปกว่าคนสยาม’ นั่นแสดงให้เห็นว่า สังคมแบบพหุวัฒนธรรมมีมานานและความแตกต่างหลากหลายอยู่ร่วมกันได้ แต่การสถาปนาพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาแห่งชาติและผูกโยงกับกษัตริย์คือจุดเริ่มต้นของปัญหาความขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เพราะความเป็นพหุศาสนา พหุวัฒนธรรมในสายของทหาร (ซึ่งเป็นตัวแทนของกษัตริย์) ดูขัดกับหลักการของ ‘ส่วนกลาง’

การแก้ปัญหาที่เกิดจากความหลากหลายที่ง่ายที่สุดก็คือ การใช้หลักการแบบทหาร นั่นคือปกครองและป้องกัน แต่ไม่ได้สร้างความกลมกลืนและเข้าใจ

ผมคิดว่าส่วนหนึ่งมาจากความไม่เข้าใจตั้งแต่แรกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ยิ่งเมื่อดูประวัติศาสตร์การปกครองของเราเอง หากดูจากรายชื่อนายกรัฐมนตรี 29 คนของไทย 13 คนมาจากทหารและนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดก็หนีไม่พ้นทหาร แน่นอนว่าไม่ได้เชี่ยวชาญทักษะในเชิงวัฒนธรรมอาจเหมือนการปกครองแบบทหาร นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไทยถึงไม่สามารถสร้างกลไกให้ความหลากหลายวัฒนธรรมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เหมือนที่เราเห็นสุเหร่าอยู่ข้างศาลเจ้าจีนอย่างในสมัยก่อน 

การจัดการปัญหาความขัดแย้งทางความคิด (ไม่ใช่แค่ศาสนา) ชนชั้นปกครองของเราจึงถนัดที่จะใช้เครื่องมือการจัดการแบบทหารมากกว่าเครื่องมืออย่างอื่น

ประชาชน ผู้มาทีหลัง

จากป้ายหน้าค่ายทหาร คำว่า ‘ประชาชน’ เป็นคำที่ถูกเติมมาทีหลังในช่วงไม่ถึง 20 ปีมานี้ เข้าใจว่ามีการทยอยเติมคำว่าประชาชนเข้าไปตามค่ายทหารหลายๆ ค่ายที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงสถานที่ทำงาน กรมกองต่างๆ ของทหาร บางค่ายก็เปลี่ยนแล้ว แต่ก็ยังมีบางค่ายที่ยังไม่ได้เปลี่ยน อันนี้ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเขาใช้เกณฑ์อะไรมาวัดในการเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน เช่นว่าเป็นป้ายประวัติศาสตร์หรือไม่ ถึงเปลี่ยนไม่ได้ หรือว่าค่ายทหารไม่มีงบประมาณ อันนี้ก็ไม่ทราบได้  

ผมเองพยายามไปค้นหาเอกสาร ถามหาผู้รู้ ก็ไม่เจอว่ามีใครกล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนป้ายนี้ไว้อย่างจริงจัง ไม่มีประวัติแน่ชัดนักว่าคำว่า ‘ประชาชน’ ถูกเติมเข้ามาเพราะอะไร ใครเป็นต้นคิดเรื่องนี้

อย่างไรก็ดี การมีคำว่าประชาชนในป้าย สะท้อนให้เห็นว่าการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนกับชนชั้นปกครองและระบอบทหารธิปไตย จริงๆ ก็เริ่มส่งผลบ้างนะครับ แม้ว่ามันอาจไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่าการเติมคำนี้ลงไปเพื่อลดแรงปะทะทางสังคมก็ตามที แต่เชื่อว่าการเขยิบมาอยู่บนเวทีเดียวกัน แถวเดียวกันกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แม้ว่าจะมาทีหลังและต่อท้ายแถวหลังสุด ก็แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ตลอด 80 กว่าปีของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของเรา

แอบคิดเล่นๆ ว่าถ้าหากคำว่า ‘ประชาชน’ ถูกเติมไว้ด้านหน้าทั้งสามคำนี้แทนที่จะไปต่อท้าย ความรู้สึกของประชาชนต่อความเป็น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์และทหารจะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหนกัน

อ้างอิง

ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์: Nation, Religion, King Ep1

ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์: Nation, Religion, King Ep2

ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์: Nation, Religion, King Ep3

ที่มา “ธงชาติไตรรงค์” ไอเดียใครออกแบบ ทำไมเลือกใช้สีแดง-น้ำเงิน-ขาว

อุดมการณ์ “ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์” ของไทย มีที่มาจากคำขวัญรณรงค์สงครามของอังกฤษ ในสงครามโลกครั้งที่ 1

แผ่นดินของไทยปัญหาของคนไทย (7) : เรื่องปัญหาการก่อการร้ายในภาคใต้ของไทย ตอน ความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ (Endless Conflict)

เสวนา: เมื่อประชาธิปไตย≠อิสลาม การเมืองปาตานีกับความหวังสันติภาพ?

การวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างไทยพุทธ-มุสลิม ในพื้นที่ตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

87 ปี ประชาธิปไตย ทหารเป็นนายก 14 นาย “ตำรวจ” เป็นได้แค่คนเดียว

ทหารในการเมืองไทย: ใครจะพานายพลพวกนี้ออกไป

เช็กชื่อนายกฯสายทหาร-ใครบ้างมาจากการยึดอำนาจ

ทหารกับการเมืองไทย : โดย สร อักษรสกุล

กองทัพ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์และประชาชน

เรียงความ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

จบการศึกษาปริญญาโท ด้านมานุษยวิทยา เคยทำงานอยู่ในหน่วยงานระหว่างประเทศระยะสั้นๆ ก่อนชีวิตผกผันให้เข้ามาอยู่ในแวดวงนิตยสารกว่า 20 ปี ผ่านการทำงานมาทั้งนิตยสารหัวไทย หัวนอก ปัจจุบันหุ้นกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ผันตัวมาทำ Content Agency ให้บริการเรื่องการผลิตเนื้อหาให้แบรนด์

เรียงความ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์