มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

หลักเกณฑ์และมาตรฐานการเดินสายไฟ

ในปัจจุบัน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความประสงค์จะขอติดตั้งเครื่องวัดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะต้องทำการติดตั้งระบบกราวด์ลงดินภายในบ้านด้วย  ในการต่อระบบกราวด์จะต้องต่อสายนิวตรอนร่วมกันและต้องต่อสายกราวด์ไปยังเต้ารับ  ซึ่งต้องเป็นเต้ารับชนิดมีกราวด์ด้วย ( 3 รู ) การเดินสายกราวด์ใช้สายเดี่ยวขนาด 10 ตร.มม.ขึ้นไป เดินร้อยท่อหรือเดินในภาชนะที่เป็นฉนวนเท่านั้น (ห้ามใช้ท่อประปาสีฟ้า)

กรณีเมนชายคา  ถ้าใช้สาย VAF เป็นสายเมน กำหนดสายสีดำเป็นสายมีไฟ สีเทาเป็นสายนิวตรอน

กรณีดึงสายเมนจากชายคาบ้านมายังเสาไฟฟ้ากำหนดสายเส้นบนเป็นสายนิวตรอน สายเส้นล่างเป็นสายมีไฟ

 

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

มาตรฐานการเดินสาย

          ในการขอติดตั้งเครื่องวัดขนาด 5(15) แอมป์  จะต้องเดินสายเมนทองแดงขนาด 6 ต.มม.ขึ้นไป เมนเบรกเกอร์ 15 แอมป์ 10 KA. สายกราวด์เบอร์ 10 ตร.มม.ขึ้นไป เดินอยู่ในภาชนะที่เป็นฉนวนเท่านั้นถ้าเป็นท่อยกเว้นท่อสีฟ้า และต่อร่วมกับนิวตรอนก่อนเข้าเมนเบรกเกอร์หรือคัทเอ้าท์

ในการขอติดตั้งเครื่องวัดขนาด 15(45) แอมป์ จะต้องเดินสายเมนทองแดงขนาด 10 ตร.มม.ขึ้นไป เมนเบรกเกอร์ 45-50 แอมป์ 10 KA. สายกราวด์เบอร์ 10 ตร.มม.ขึ้นไป เดินอยู่ในภาชนะที่เป็นฉนวนเท่านั้นถ้าเป็นท่อยกเว้นท่อสีฟ้า และต่อร่วมกับนิวตรอนก่อนเข้าเมนเบรกเกอร์หรือคัทเอ้าท์

ในการขอติดตั้งเครื่องวัดขนาด 30(100) แอมป์  จะต้องเดินสายเมนทองแดงขนาด 35 ตร.มม. ขึ้นไป เมนเบรกเกอร์ 100 แอมป์ 10 KA. สายกราวด์เบอร์ 10 ตร.มม. ขึ้นไป เดินอยู่ในภาชนะที่เป็นฉนวนเท่านั้นถ้าเป็นท่อยกเว้นท่อสีฟ้า  และต่อร่วมกับนิวตรอนก่อนเข้าเมนเบรกเกอร์หรือคัทเอ้าท์

Credit ภาพ และ ข้อมูล : http://pea-omnoi.com

งานระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

        งานระบบไฟฟ้าภายในบ้าน แม้ว่ามูลค่างานหรือต้นทุนอาจไม่สูงเท่างานโครงสร้างหลักก็ตาม แต่งานระบบไฟฟ้าก็มีความสำคัญไม่น้อย ด้วยเพราะหากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ขึ้นภายหลัง อาจหมายถึงความเสียหายหรือความสูญเสียขึ้นได้ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น เราจึงควรมีการเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ที่มีคุณภาพและมีอายุใช้งานยามนาน สำคัญที่สุดคือ คุณภาพของวัสดุ-อุปกรณ์ที่นำมาใช้นั้น ควรต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ตามที่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนดไว้ ความรู้เบื้องต้นที่ผู้เป็นเจ้าของบ้านหรือผู้ว่าจ้างควรรู้ไว้มีดังนี้ 

การตรวจสอบมาตรฐานงานระบบไฟฟ้า

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

  • กรณีต่อสายเมนไฟฟ้าออกจากหลังคาบ้าน (ชายคา) มายังมิเตอร์ไฟฟ้า (เสาไฟฟ้า) ควรใช้สายไฟฟ้าชนิดสายทองแดงหุ้มฉนวน PVC แบบสายเดี่ยว (THW#35 Sq.mm.) ผู้ผลิตในท้องตลาด อาทิ ไทยยาซากิ ฯลฯ

    มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

  • กรณีต่อสายเมนไฟฟ้าออกจากตัวบ้าน แบบฝังลงในดินหรือเดินแนบมากับกำแพงรั้ว ควรใช้สายไฟฟ้าชนิดสายทองแดงหุ้มฉนวน PVC ชนิดสายเดี่ยว (NYY#35 Sq.mm.) ร้อยในท่อ PE ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ½ นิ้ว
     
  • สายเมนไฟฟ้าที่ต่อจากตัวบ้านมาจนถึงจุดที่การไฟฟ้าฯ จะมาทำการต่อเข้ามิเตอร์ไฟฟ้านั้น ควรเผื่อความยาวของสายไฟฟ้าไว้อย่างน้อย 50 เซ็นติเมตร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฯ สามารถต่อสายไฟฟ้าได้

    มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

  • อย่าลืมตรวจสอบ Ground rod หรือสายดิน ลักษณะเป็นแท่งทองแดงเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6 เซ็นติเมตร ช่างหรือผู้รับจ้างมักจะลืมติดตั้งกันบ่อยครั้ง
     
  • การต่อสายไฟฟ้าบนฝ้าเพดาน จำเป็นต้องใส่ wire nut และจุดต่อสายไฟฟ้าควรอยู่ใน junction box เท่านั้น (ไม่ควรต่อสายไฟฟ้าในท่อร้อยสายไฟหรือตำแหน่งอื่นๆ)

    มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร
    มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

คำแนะนำ

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร
  
มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์

การเดินสายไฟในบ้าน

การเดินสายไฟภายในบ้าน  และชนิดสายไฟฟ้าที่ใช้ในการติดตั้ง

เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมทางภาคอีสานครั้งใหญ่ บ้าน หรือ อาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว มีความจำเป็นที่ต้องมีการฟื้นฟู ซ่อมแซมบ้านเรือนใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจ เช็คสภาพระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ตรวจเช็คสายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ทั้งหมดหากพบว่ามีสายไฟฟ้ามีการชำรุด ต้องทำการเปลี่ยนสายไฟใหม่ทันที เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

หากต้องมีการแก้ไข หรือ ติดตั้งระบบไฟฟ้าใหม่ ภายในบ้าน หรือ อาคาร สิ่งที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับสายไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต มีดังนี้

1.ตำแหน่งติดตั้งสวิตช์ และเต้ารับ ควรติดตั้งให้อยู่สูงเหนือระดับที่น้ำอาจท่วมถึงได้

2.วงจรสายไฟย่อย สำหรับเต้ารับที่อยู่ชั้นล่าง (ชั้น 1) ของบ้านที่อยู่ในพื้นที่่ที่ปรากฎว่าเคยมีน้ำท่วมถึง หรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ต้องมีการป้องกันไฟฟ้าดูดโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว (ตัวกันดูด) ขนาด I△n ไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์

3.ควรติดตั้งตู้เมนไฟฟ้าไว้ที่ชั้นลอย หรือชั้น 2 ของบ้าน  เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม เราจะได้ทำการตัดไฟ เฉพาะชั้น 1 ของบ้านได้ เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกไฟดูดค่ะ

4.สำหรับบ้านชั้นเดียว ควรติดตั้งตู้เมนไฟฟ้าให้ขอบล่างของตู้อยู่สูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 1.6 เมตรนะคะ บ้านหรืออาคาร 2 ชั้นขึ้นไป ต้องแยกวงจรสายไฟฟ้าย่อยอย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร เพื่อให้สามารถแยกตัดไฟเฉพาะชั้นใดชั้นหนึ่งได้ค่ะ

เฟ้ลปส์ ดอด์จ แสดงแผนผังการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน อย่างถูกวิธี

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

จากภาพ คือ แผนผังการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยสายไฟฟ้าสำหรับวงจรย่อยสามารถเลือกติดตั้งได้ดังนี้

1.สายไฟฟ้า VAF สำหรับการเดินเกาะผนัง

2.สายไฟฟ้า ชนิด 60227 IEC 01 (THW) สำหรับการเนในช่องเดินสายร้อยท่อ

แสดงตารางชนิดสายไฟฟ้าสำหรับการติดตั้งสายไฟฟ้าภายในบ้าน

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

1.สายไฟฟ้า ชนิด THW-A  คือ สายไฟฟ้าที่มีตัวนำเป็นอลูมิเนียมตีเกลียว หุ้มด้วยฉนวน PVC เป็นสายแกนเดี่ยว ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ อุณหภูมิตัวนำขณะใช้งานสูงสุด 70 องศาเซลเซียส ลักษณะของสายไฟฟ้าคือ เป็นสายไฟฟ้าชนิดแกนเดี่ยวน้ำหนักเบา จึงเป็นที่นิยมใช้เดินลอยในอากาศบนเสาไฟฟ้าเข้าบ้านพักอาศัย สำหรับการใช้งานสายไฟฟ้า THW-A มีดังนี้


1.1 เดินบนเสาไฟฟ้า
1.2 เดินลอยในอากาศบนฉนวนลูกตุ้ม/ลูกถ้วย
1.3 เดินเข้าบ้าน อาคาร ไร่ สวน เดินไฟชั่วคราว

ข้อจำกัดในการใช้งาน คือ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อนุญาตให้ใช้สายไฟฟ้า THW-A เป็น  สายเมน ได้เฉพาะการติดตั้งสายไฟฟ้าภายนอกอาคาร เท่านั้น

2. สาย 60227 IEC 01 (THW) เป็นสายไฟฟ้าชนิดแกนเดี่ยว มีตัวนำเป็นทองแดงเส้นเดี่ยว หรือตีเกลียว พิกัดแรงดัน 450/750 โวลต์ อุณหภูมิตัวนำขณะใช้งานสูงสุด 70 องศาเซลเซียส  การใช้งานสายไฟฟ้า 60227 IEC 01 (THW) มีดังนี้

2.1 ใช้งานได้ทั่วไป
2.2 เดินในช่องเดินสายและต้องป้องกันน้ำเข้าช่องเดินสาย
2.3 ห้ามร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง
2.4 ห้ามเดินบนรางเคเบิล ยกเว้นใช้เป็นสายดิน

3. สายไฟฟ้าชนิด VAF เป็นสายไฟฟ้าชนิดแบน มีตัวนำเป็นทองแดงแบบเส้นเดี่ยว หรือแบบตีเกลียว มีเปลือกนอกสีขาว พิกัดแรงดัน 300/500 โวลต์ อุณหภูมิตัวนำขณะใช้งานสูงสุด 70 องศาเซลเซียส การใช้งานสายไฟฟ้า VAF มีดังนี้

3.1 ใช้เดินเกาะผนัง
3.2 เดินนช่องเดินสาย ห้ามร้อยท่อ
3.3 ห้ามฝังดิน

สำหรับสายไฟฟ้ากลุ่ม Household ที่ใช้สำหรับติดตั้งภายในบ้านเรือน อาคาร และที่อยู่อาศัย  จะมีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 300V-750V ได้แก่ สาย 60227 IEC01 (THW),VCT,VAF,NYY

โดยการเลือกสายไฟฟ้าสำหรับ บ้านพักอาศัย หรือ อาคารขนาดเล็ก สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของการผลิตของสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มอก. และ มาตรฐานระดับสากล IEC  เพราะสายไฟฟ้าในกลุ่มประเภท Household รวมไปถึงสายโทรศัพท์ เป็นสายไฟที่ใกล้ตัวผู้อยู่อาศัยมากที่สุด และอยู่รอบตัวของผู้ใช้ตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

1.ตัวนำทองแดง  มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99.99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด

2.ฉนวนและเปลือก สายไฟต้องเลือกใช้ PVC เกรดพิเศษที่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ตรงตามมาตรฐานกำหนด

เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไม่รั่วไหลมาทำอันตรายแก่ผู้ใช้งาน และสายไฟมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ข้อมูลผลิตภัณฑ์สายไฟฟ้ากลุ่ม Household 

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า ภายใน อาคาร

จากที่ เฟ้ลปส์ ดอด์จ กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น อย่าลืมว่า การติดตั้งสายไฟฟ้า หรือ ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ให้มีมาตรฐานความปลอดภัยนั้น เพื่อความปลอดภัย ควรติดตั้งสายไฟฟ้า ดังนี้

1.สำหรับบ้าน 2 ชั้น ควรแยกตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้าหลัก ไว้ที่ชั้น 2
2.สำหรับบ้านชั้นเดียว แนะนำให้ติดตั้งตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้าไว้ที่สูง ประมาณ 1.60 เมตรขึ้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกน้ำท่วม

นอกจากนี้ สายไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วมนั้นควรทำการเปลี่ยนใหม่ทันที เนื่องจากสายไฟเสียหาย และเสื่อมสภาพแล้ว เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว หรือไฟ้ฟ้าดูดในภายหลังได้

เมื่อสายไฟเสื่อมสภาพชำรุด ควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะอันตรายจากสายไฟฟ้ารั่วเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ถึงชีวิต

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน ควรทำการติดตั้งด้วยช่างผู้ชำนาญการ และเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูง ติดตั้งตรงตามมาตรฐานกำนด

เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของผู้ติดตั้ง และ ผู้อยู่อาศัย  เพราะเรื่องสายไฟ ไม่ใช่อะไรก็ได้ การคำนึงถึงความปลอดภัย เป็นเรื่องที่ต้องมาอันดับหนึ่ง ทั้งของผู้ติดตั้งเอง และ ผู้ใช้งาน