ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พรรคเพื่อไทย

ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
หัวหน้าชลน่าน ศรีแก้ว
เลขาธิการประเสริฐ จันทรรวงทอง[1]
คำขวัญขอคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน... อีกครั้ง[2]
คติพจน์พรุ่งนี้เพื่อไทย เพื่อชีวิตใหม่ของประชาชน
ก่อนหน้าพรรคพลังประชาชน
ที่ทำการ1770 อาคารโอเอไอ ทาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
ฝ่ายเยาวชนคณะทำงานเยาวชนและคนรุ่นใหม่[3][4][5]
จำนวนสมาชิก  (ปี 2565)62,310 คน[6]
อุดมการณ์ประชานิยม[7][8][9]
ปฏิรูปนิยม[10][11][12]
ต่อต้านคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[13]
เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ[14]
[15]
จุดยืนกลาง[15] ถึงขวากลาง[15]
สี     แดง
สภาผู้แทนราษฎร

133 / 500

สภากรุงเทพมหานคร

20 / 50

นายก อบจ.

11 / 76

เว็บไซต์
ptp.or.th
โฆษกธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเพื่อไทย (ย่อ: พท.) เป็นพรรคการเมืองกลางถึงขวากลางในประเทศไทย เป็นพรรคที่สามที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนที่ก่อตั้งโดยทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550[16]

พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 และสนับสนุนให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี และในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 ก็ได้ ส.ส. ในสภามากที่สุด แต่ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล

บทบาททางการเมือง[แก้]

การสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นนายกรัฐมนตรี[แก้]

ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของสภาผู้แทนราษฎรในปี 2551 พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน แข่งกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ ผลปรากฏว่า อภิสิทธิ์ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียง 235 ต่อ 198 เสียง และ งดออกเสียง 3 เสียง[17]

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม.อภิสิทธิ์[แก้]

พรรคเพื่อไทยมีมติยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พร้อมกันนี้ยังมีมติเสนอชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทน[18] โดยรัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีและถอดถอน 5 คนคือ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพราะพบประเด็นการบริหารที่ผิดพลาดและทุจริตประพฤติมิชอบ[19]

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562[แก้]

เดือนพฤศจิกายน 2562 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามอิสระ โดยได้รับไฟเขียวจากทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยตัดสินใจจะไม่ส่งผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไปตัดคะแนนกับเขา อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์พยายามผลักดันให้ส่งผู้สมัคร[20]

วันที่ 26 กันยายน 2563 มีรายงานว่า มีสมาชิกคนสำคัญของพรรคประกาศลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคหลายคน เช่น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 มีนักวิชาการวิเคราะห์ว่าสะท้อนภาพลักษณ์ไม่มีเอกภาพในพรรคเพื่อไทย อาจเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมรับการเลือกตั้งท้องถิ่นในช่วงต้นปี 2564[21]

เดือนพฤศจิกายน 2563 คุณหญิงสุดารัตน์ลาออกจากพรรคเพื่อไทย โดยระบุเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1. ความไม่ชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร 2. มีการตั้งกรรมการและอนุกรรมการโดยกีดกันทีมของเธอ และ 3. การเลือกตั้งนายก อปท. ที่ไม่อนุญาตให้เธอลงพื้นที่ช่วยหาเสียง[22] ต่อมาเธอแยกไปตั้งพรรคไทยสร้างไทย

ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ระหว่างการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคที่ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดขอนแก่น ซึ่งในงานมีการแสดงวิสัยทัศน์ของแกนนำพรรค ตลอดจนมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการเดินแฟชั่นผ้าไหมพื้นบ้านโดยตัวแทนสมาชิกพรรค และงานในวันนั้นมีการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกลางที่ประชุมทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ พร้อมกับได้มีการเปิดตัวแพทองธาร ชินวัตร (อุ๊งอิ๊ง) บุตรสาวคนเล็กของ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค และเปิดตัวนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นผู้อำนวยการพรรค ก่อนจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน รองหัวหน้าพรรคเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคยังเป็นประเสริฐ จันทรรวงทอง[23]

ในปี 2564 พรรคยังประกาศจุดยืนแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[24]

วันที่ 20 มีนาคม 2565 พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งแพทองธาร ชินวัตรเป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย โดยนิยามว่า "ครอบครัวเพื่อไทย" เป็นแนวคิดที่พรรคต้องการแก้ปัญหาการปิดกั้นโอกาสการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน นอกจากนี้ยังกระตุ้นผู้สนับสนุนพรรคให้เลือกพรรคเพื่อไทยจนชนะขาดลอย (landslide) ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า[25] ทั้งนี้แพทองธารยังไม่รับว่าจะลงสมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ แต่ยอมรับว่าทักษิณเป็นที่ปรึกษามาโดยตลอด[26] ในปีเดียวกัน ยังมีข่าวผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลโต้คารมกันในเรื่องของอุดมการณ์รวมถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้านชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ระบุว่า "สรุปตรงไปตรงมา พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย มีขีดจำกัดเพราะสู้ไปกราบไป พรรคอนาคตใหม่จึงต้องอุบัติขึ้นมา"[27]

นอกจากนี้มีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยจับมือกับพรรคพลังประชารัฐ หลังร่วมมือกันไม่เข้าร่วมประชุมจนส่งผลให้สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อแบบ "สูตรหาร 500" ต้องตกไป และกลับไปใช้สูตรหาร 100 โดยปริยาย[28] ในเรื่องนี้นักการเมืองพรรคเพื่อไทยบางคนกล่าวหาพรรคก้าวไกลที่ไม่ใช่วิธีการไม่เข้าร่วมประชุมเช่นกันว่าต้องการสูตรหาร 500[29][30]

บุคลากร[แก้]

รายชื่อหัวหน้าพรรค[แก้]

ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 20 กันยายน พ.ศ. 2551
2 ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช 21 กันยายน พ.ศ. 2551 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
3 ยงยุทธ วิชัยดิษฐ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
-
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
(รักษาการ)
8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555
4
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557[31]
-
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
(รักษาการ)
16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561
5 พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561[32] 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[33]
-
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
ปลอดประสพ สุรัสวดี
(รักษาการ)
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[34] 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
6
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[35] 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564
7 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ปัจจุบัน

รายชื่อเลขาธิการพรรค[แก้]

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
โอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 20 กันยายน พ.ศ. 2551
2 สุณีย์ เหลืองวิจิตร 21 กันยายน พ.ศ. 2551 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 14 กันยายน พ.ศ. 2553
3 สุพล ฟองงาม 15 กันยายน พ.ศ. 2553 20 เมษายน พ.ศ. 2554
4
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
5
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
ภูมิธรรม เวชยชัย 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555[36] 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
6
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[37] 26 กันยายน พ.ศ. 2563[38]
7
ตรวจ สอบ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

การเลือกตั้ง[แก้]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยทั่วไป[แก้]

พรรคเพื่อไทยที่นำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง สามารถกวาดที่นั่ง ส.ส. 265 คน ทิ้งห่างพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปกว่า 100 คน พร้อมกับคว้าคะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่งและสามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งจำนวน 136 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2552 พรรคเพื่อไทยมีมติส่งยุรนันท์ ภมรมนตรี ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยในการเลือกตั้ง ยุรนันท์ได้รับหมายเลข 10[39][40] สำหรับผลการเลือกตั้ง ยุรนันท์ได้รับ 611,669 คะแนน เป็นอันดับที่ 2[41]

และใน พ.ศ. 2556 พรรคเพื่อไทยมีมติส่ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ ลงสมัครชิงตำแหน่ง โดยในการเลือกตั้ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศได้รับหมายเลข 9 สำหรับผลการเลือกตั้ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศได้รับ 1,077,899 คะแนน เป็นอันดับที่ 2

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 พรรคเพื่อไทย ส่งผู้สมัครในนามของพรรคอย่างเป็นทางการหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ (พิชัย เลิศพงศ์อดิศร) จังหวัดลำพูน (อนุสรณ์ วงศ์วรรณ) จังหวัดลำปาง (ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิชิต ปลั่งศรีสกุล) จังหวัดอุดรธานี (วิเชียร ขาวขำ) เป็นต้น

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2554

265 / 500

15,752,470 48.41% แกนนำจัดตั้งรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2557การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2562

136 / 500

7,881,006 22.16% ฝ่ายค้าน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

ฝ่ายเยาวชน[แก้]

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 พรรคได้เปิด สถาบันเยาวชนเพื่อไทย โดย แต่งตั้งให้ ณหทัย ทิวไผ่งาม เป็นผู้อำนวยการสถาบัน[42] ต่อมาได้มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อไทยพลัส โดยถูกวางกลุ่มคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างพื้นที่การเมืองของคนรุ่นใหม่ สู้กับอดีตพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเปลี่ยนมาเป็นพรรคก้าวไกลในภายหลัง โดยจัดกิจกรรมทางการเมืองเป็นระยะ อาทิ จัดเสวนาเพื่อไทยพลัสยุคใหม่ แข็งแกร่งกว่าเดิม โครงการเพื่อไทยยุคใหม่แข็งแกร่งเข้าถึงประชาชน โครงการอีสปอร์ตที่จะนำเสนอทิศทางในประเทศไทย และรายการเพื่อไทยพลัสออนไลน์ เสนอบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

กระทั่งในปี 2563 มีการยุติกลุ่มเพื่อไทยพลัส และมีกลุ่มใหม่เข้ามาแทนที่ คือ “คณะทำงานเยาวชนและคนรุ่นใหม่” เพื่อเป็นที่รวมตัวของคนรุ่นใหม่ในพรรค และอดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) โดยมีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน โครงสร้างการทำงานจะขึ้นตรง และรับคำสั่งจากคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • พรรคไทยรักไทย
  • พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
  • พรรคเพื่อธรรม
  • พรรคไทยรักษาชาติ
  • บ้านเลขที่ 111

อ้างอิง[แก้]

  1. Sattaburuth, Aekarach (9 December 2019). "Pheu Thai's Anudith is no puppet". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 9 December 2019.
  2. "Pheu Thai Party Website Logo and Motto page in Thai". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2012. สืบค้นเมื่อ 22 December 2011.
  3. ""อ้อเล็ก" โผล่คุมงานเยาวชนเพื่อไทย "ปู-โอ๊ค-อ้วน" รับบทกุนซือ". 24 October 2013.
  4. "พรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญวัยใส เปิดตัวสถาบันเยาวชนเพื่อไทย".
  5. เพื่อไทย–กลุ่มแคร์ สั่ง ยุติบทบาท “เพื่อไทยพลัส” ยุค “เจ๊หน่อย”
  6. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 9 กันยายน 2565
  7. Boris Sullivan (5 June 2011). "Is Thaksin's Pheu Thai a Populist Party?". Thailand Business News.
  8. "Thailand's main political parties". AlJazeera. 2 July 2011.
  9. Peter Warr (20 September 2011). "'Thaksinomics' and Thai Populism Redux". Global Asia. 6 (3).
  10. Nidhi Eoseewong (2018-05-08). "Nidhi Eoseewong: An open letter to Pheu Thai". prachatai.
  11. Reform on two fronts
  12. Analysis: The Decline of Pheu Thai Party
  13. Kaweewit Kaewjinda (2019-03-27). "Thai anti-military parties say they have seats to form govt". AP.
  14. Phongpaichit, Pasuk; Baker, Chris (2009). Thaksin (Second ed.). Silkworm Books. pp. 115–123.
  15. ↑ 15.0 15.1 15.2 "Major players in Thailand's election".
  16. พรรคที่จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550
  17. "ด่วน !! "อภิสิทธิ์" ได้รับโหวตนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี คนที่ 27". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-07.
  18. พรรคเพื่อไทยมีมติส่งเฉลิมชิงเก้าอี้นายกฯ เดินยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ
  19. "เพื่อไทยมีมติยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ5รมต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-07.
  20. "ชัชชาติ ประกาศชิงผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ ยกเหตุผล "ประชาชนเบื่อความขัดแย้ง"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  21. "รอยปริร้าวลึก ท่อน้ำเลี้ยงชะงัก สัญญาณ "เพื่อไทย" วงแตก ปรับทัพอาณาจักรทักษิณ". ไทยรัฐ. 26 September 2020. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
  22. "คุณหญิงสุดารัตน์ เปิด 3 เหตุผล ลาออกจากพรรคเพื่อไทยทุกตำแหน่ง". ประชาชาติธุรกิจ. 30 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  23. เปิดรายชื่อ 23 กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยชุดใหม่
  24. "Thai opposition party seeks review of security laws after protest arrests". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
  25. ""เพื่อไทย" ตั้ง "แพทองธาร" เป็น "หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย" ลั่นสมัยหน้าต้องตั้ง รบ.ให้ได้". ผู้จัดการออนไลน์. 20 March 2022. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  26. ""อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร" ยังเลี่ยงตอบสื่อปมแคนดิเดต พท. รับ "ทักษิณ" ให้คำปรึกษามาตลอด". ไทยรัฐ. 8 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
  27. "ศึกชิงแดง "พิธา" ฉกสาวก "ทักษิณ" คว่ำแลนด์สไลด์". กรุงเทพธุรกิจ. 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
  28. "สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ : สภาล่มตามคาด ปิดม่านสูตรหาร 500 กลับไปใช้สูตรหาร 100". BBC News ไทย. 15 August 2022. สืบค้นเมื่อ 15 August 2022.
  29. "แพแตก! 'บิ๊กเพื่อไทย' ประณาม 'ก้าวไกล' เล่นบทสองหน้า ปู้ยี่ปู้ยำประชาธิปไตย". ไทยโพสต์. 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
  30. "สูตรหาร 500 เอฟเฟกต์! ส.ส.วัน ลั่นผมมีสิทธิ์ที่จะคิด 'ก้าวไกล' เล่นบทสองหน้า". ไทยโพสต์. 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
  31. ‘จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นัดถกเลือกกก. 30 ต.ค.
  32. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  33. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  34. ""วิโรจน์" ลาออก "หน.เพื่อไทย" ตั้ง"ปลอดประสพ"นั่งรักษาการแทน". สยามรัฐ. 2019-07-02.
  35. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  36. 332 เสียงเพื่อไทยเคาะ "จารุพงศ์" นั่งหัวหน้าพรรค
  37. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  38. ‘สมพงษ์’ ลาออก หัวหน้าพรรคพท. นัดถกเลือกกก.บห.ชุดใหม่ 1 ต.ค.
  39. "ยุรนันท์ สมัครชิงผู้ว่าฯ กทม.ในนามพรรคเพื่อไทย ได้เบอร์ 10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2009-06-08.
  40. เพื่อไทยส่ง ยุรนันท์ ลุยศึกชิงผู้ว่าฯ กทม.
  41. "ซิวเก้าอี้-ผู้ว่าฯกทม. "สุขุมพันธุ์" ชนะขาด"แซม-ปลื้ม"!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-19. สืบค้นเมื่อ 2009-06-08.
  42. “อ้อเล็ก” โผล่คุมงานเยาวชนเพื่อไทย “ปู-โอ๊ค-อ้วน” รับบทกุนซือ

  • Download นโยบายพรรคเพื่อไทย.doc[ลิงก์เสีย]
  • นักวิชาการชี้รัฐบาลใหม่อยู่ไม่นานได้จังหวะยุบสภาเลือกใหม่

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์ทางการ
  • พรรคเพื่อไทย ที่เฟซบุ๊ก
  • พรรคเพื่อไทย ที่ยูทูบ
  • Thailand's July Election: Understanding the Outcome, Q&A with Catharin Dalpino (July 2011)
  • East Asia Forum: "The changing face of Thai populism" (June 2013)