หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท

เลขที่ข่าว วัน/เดือน/ปี หัวข้อข่าว ผู้ชม ดาวน์โหลด 21989 02/09/2565 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2565 ไว้เบิกเหลื่อมปี ( ว 138 ) 3,931 06962 14/03/2565 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณปี พ.ศ. 2564 ( ว 31 ) 2,000 59738 02/09/2563 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2563 ไว้เบิกเหลื่อมปี ( ว 145 ) 11,302 58490 18/08/2563 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2563 ไว้เบิกเหลื่อมปี ( ว 135 ) 6,486 56674 24/07/2563 ขอให้ตรวจสอบข้อมูลเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี ( ว 348 ) 3,578 56636 24/07/2563 การคาดการณ์การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีในส่วนที่คงเหลือ 45 55897 15/07/2563 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน และการใช้จ่ายเงินที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเก็บรักษาเงิน ( ว 318 ) 2,720 43647 13/03/2563 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณ ( ว 41 ) 3,926 30136 30/08/2562 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน กรณีอยู่ระหว่างกระบวนการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2562 ( ว 94 ) 6,274 30081 29/08/2562 การเตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานในช่วงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ( ว 414 ) 2,485

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ว่า ครม.เห็นชอบรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2565 ครอบคลุมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 รายงานฉบับนี้ กระทรวงการคลังได้ประมวลข้อมูลจากรายงานในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS: Financial Analytics) ในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ที่หน่วยงานของรัฐบันทึกเข้ามาในระบบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท

1.รายได้แผ่นดินที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บและนำเงินส่งคลัง ประมาณการ 2,400,000 ล้านบาท จัดเก็บจริง 2,551,223 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 151,223 ล้านบาท สาเหตุที่รายได้สูงกว่าประมาณการ เนื่องจากมีรายได้จากภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ และรัฐพาณิชย์เพิ่มขึ้น

2.รายรับจากการกู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประมาณการ 700,000 ล้านบาท กู้จริง 652,553 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 47,447 ล้านบาท สาเหตุที่ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการปรับลดกรอบวงเงินกู้

3.รายจ่ายตามงบประมาณ ประมาณการ 3,100,000 ล้านบาท จ่ายจริง 2,900,727 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,717 ล้านบาท (ยังไม่รวมเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 190,556 ล้านบาท) สาเหตุที่รายจ่ายต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้หน่วยงานของรัฐใช้จ่ายเงินงบประมาณช้าไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด

4.รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง จำนวน 33,655 ล้านบาท

5.ดุลการรับ-จ่ายเงิน ประกอบด้วย 1.รายรับทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นจริง 3,203,775 ล้านบาท (รวมรายได้แผ่นดินที่ได้รับจริง 2,551,223 ล้านบาท และเงินกู้ฯ ที่รับจริง 652,553 ล้านบาท) 2.รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามประมาณ 3,148,060 ล้านบาท (รวมรายจ่ายงบประมาณตามงบประมาณ 2,900,727 ล้านบาท รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีที่จ่ายจริง (ปี 2564) 213,678 ล้านบาท และรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง 33,655 ล้านบาท) ทั้งนี้ รายรับสูงกว่ารายจ่าย 55,715 ล้านบาท  เนื่องจากหน่วยงานของรัฐจัดเก็บและนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสินค้าเข้า – ออก

พร้อมกันนี้ ครม.ได้มีมติเห็นชอบหลักการและกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1.ความมั่นคง 2.สร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.พัฒนาเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4.สร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม 5.สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6.ปรับสมดุลพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ส่วนโครงการที่หน่วยราชการเสนอเข้ามาในเบื้องต้นมีจำนวนประมาณ 1,026 โครงการ สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในระยะต่อไปนั้น ในช่วงเดือนธันวาคม 2565 – มกราคม 2566 หน่วยรับงบประมาณจัดทำรายละเอียดคำขอรับงบประมาณ ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 พิจารณารายละเอียดงบประมาณ ช่วงเดือนมีนาคม- เมษายน 2566 เปิดรับฟังความคิดเห็น ช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2566 สภาพิจารณางบประมาณ วาระที่ 1

“ชีวิตสมรสนี้มีกันสามคน มันเลยค่อนข้างแออัดไปหน่อย” เรื่องจริงหลังบทสัมภาษณ์ของเจ้าหญิงไดอาน่า ข้อความที่เจ้าชายวิลเลียมกล่าวว่า ‘ไม่ต้องการให้กลับมาออกอากาศอีกตลอดไป’

The Crown ซีซั่นล่าสุดดูจะพุ่งความสำคัญไปที่สงครามระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลและเจ้าหญิงไดอน่าผ่านการใช้สื่อร่วมสมัยที่กลายเป็นอาวุธใหม่ของทั้งสองฝ่าย ในช่วงต้นของซีรีส์ เราเห็นเจ้าหญิงไดอาน่าออกมาให้ความร่วมมือในการเขียนหนังสือ Diana: Her True Story เปิดเผยเรื่องจริงเกี่ยวกับความกดดันที่ทำให้พระองค์เคยพยายามฆ่าตัวตาย เราได้ฟังข้อความลับของเจ้าฟ้าชายชาร์ลกับคามิลล่า และวิธีการที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลออกมายอมรับต่อสื่อว่าทรงไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตสมรส

แต่จุดสูงสุดของสงคราม คือการให้สัมภาษณ์ของเจ้าหญิงไดอน่าผ่านรายการ Panorama ของ BBC เหตุการณ์นี้หากเทียบเป็นอาวุธ ก็คงเป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่ไม่เพียงสร้างความตกใจให้ประชาชน แต่ยังนำไปสู่ความเสียหายในวงกว้างที่ยากจะควบคุม เพทริก เจฟสัน อดีตเลขาส่วนตัวของเจ้าหญิงไดอาน่ากล่าวว่าบทสัมภาษณ์นี้ “ทำลายสายสัมพันธ์ทั้งหมดที่เจ้าหญิงเหลืออยู่กับพระราชวังบัคกิงแฮม”

ในความเห็นของเจฟสัน การสูญเสียโครงสร้างพื้นฐานจากทางราชวงศ์ที่ทำหน้าที่สนับสนุน ปกป้อง และนำทาง ทำให้เจ้าหญิงไดอาน่ากลายเป็นบุคคลเปราะบางที่อาจถูกชักนำและเข้ามาแสวงผลประโยชน์ได้ง่าย เจ้าชายแฮรรี่มองว่าบทสัมภาษณ์ของ BBC เป็นหนึ่งในเหตุผลที่นำไปสู่ความตายของเจ้าหญิงไดอาน่า ในขณะที่เจ้าชายวิลเลียมกล่าวว่าทรงไม่ต้องการให้ข้อความสัมภาษณ์ของพระมารดาถูกนำมาฉายซ้ำอีกต่อไป

#บทสัมภาษณ์ของเจ้าหญิงไดอาน่ากับจริยธรรมสื่อ

The Crown กล่าวว่าบทสัมภาษณ์ของเจ้าหญิงไดอาน่าได้มาอย่างไม่ชอบธรรมเพราะมาร์ติน บาเชียร์ นักข่าวที่รับผิดชอบบทสัมภาษณ์นี้ใช้วิธีปลอมแปลงเอกสารเพื่อเข้าหาเจ้าหญิงไดอาน่า ผ่านทางน้องชายของพระองค์คือชาร์ล สเปนเซอร์ (เอิร์ลสเปนเซอร์)

เกี่ยวกับเรื่องนี้ BBC ได้เคยออกมายอมรับในปี 2021 ว่ามีการปลอมแปลงเอกสารจริง มาร์ติน บาเชียร์ได้ทำการสร้างเอกสารปลอมเพื่อบอกเอิร์ลสเปนเซอร์ร์ว่าคนของเขารวมไปถึงผู้ดูแลใกล้ชิดของเจ้าหญิงไดอาน่าได้ทำการขายข้อมูลของทั้งสองให้สื่อ โดยมีการรับเงินผ่านบัญชีที่น่าสงสัย

เอิร์ลสเปนเซอร์ได้สอบถามความน่าเชื่อถือของตัวนักข่าว และในเบื้องต้นคิดว่ามาร์ติน บาเชียร์คงให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพราเป็นคนของสื่อที่น่าเชื่อถืออย่าง BBC จากนั้นท่านเอิร์ลจึงได้แนะนำนักข่าวผู้นี้ให้กับไดอาน่าผู้เป็นพี่สาวในเดือนกันยายน 1995 ก่อนบทสัมภาษณ์จะถูกเผยแพร่ในอีกสองเดือนต่อมา

มาร์ติน บาเชียร์ไม่เพียงสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการขายข้อมูลส่วนพระองค์ เขายังได้สร้างใบเสร็จปลอมบอกว่าทิกกี้ เลกก์-บอร์ก พี่เลี้ยงของเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮรรี่ มีความสัมพันธ์กับเจ้าฟ้าชายชาร์ลจนเกิดตั้งครรภ์และต้องไปทำแท้ง

อย่างไรก็ดี เอิร์ลสเปนเซอร์เกิดสงสัยในตัวของมาร์ตินหลังทบทวนข้อความที่บันทึกไว้จากการพบกันครั้งแรกและครั้งที่สอง พบว่านักข่าวให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนสับสน ท่านเอิร์ลจึงได้ขอโทษพี่สาว เตือนให้ไดอาน่าเลิกติดต่อนักข่าวคนนี้ แต่ไดอาน่าไม่เชื่อคำเตือนและได้นำข้อเสนอเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ไปปรึกษาคนใกล้ตัวอีกหลายคน (แต่ทรงไม่ได้ปรึกษาคนในครอบครัวเกี่ยวกับเรื่องนี้) ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่เตือนให้พระองค์ถอยห่าง ซึ่งปรากฏว่าเจ้าหญิงไม่ได้ทำตามคำเตือนแต่อย่างใด

#บทสัมภาษณ์ของไดอาน่ามีเนื้อหาประมาณไหนทำไมจึงสั่นคลอนราชวงศ์

การให้สัมภาษณ์ของเจ้าหญิงไดอาน่าผ่านรายการ Panorama ถือเป็นครั้งแรกที่สมาชิการาชวศ์ออกมาเปิดเผยตรงๆ เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว ผู้ชมรายการกว่า 20 ล้านคนได้เห็นสีหน้าของเจ้าหญิงไดอาน่า เมื่อทรงยอมรับว่าพระองค์ไม่มีความสุขกับชีวิตสมรส และทรงไม่ได้รับความเห็นใจจากราชวงศ์ ประเด็นสำคัญจากบทสัมภาษณ์ยกตัวอย่างเช่น

-เจ้าฟ้าชายชาร์ลไม่พอใจที่เจ้าหญิงไดอาน่าได้รับความนิยมมากกว่า เจ้าฟ้าชายชาร์ลเป็นผู้ชายที่ภูมิใจในตัวเองและแทนที่จะยินดีไปกับพระชายากับรู้สึกแย่ที่เจ้าหญิงได้รับแสงมากกว่า

-เจ้าฟ้าชายชาร์ลยังไม่เหมาะสมกับการเป็นกษัตริย์ (ทรงแสดงความกังขาต่อความเหมาะสมของเจ้าฟ้าชายชาร์ล) เนื่องจากตำแหน่งเจ้าชายแห่งเวลส์ก็เป็นบทบาทที่หนักแล้ว (very demanding role) แต่การเป็นกษัตริย์จะยิ่งยากกว่า อาจนำข้อจำกัดมากมายมาสู่เจ้าฟ้าชายชาร์ล ทรงแสดงความกังวล ไม่แน่ใจว่าพระสวามีจะสามารถปรับตัวได้หรือไม่

-เจ้าฟ้าชายชาร์ลมีความสัมพันธ์ยาวนานกับคามิลล่า เรื่องนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชีวิตคู่ประสบปัญหา (ทรงกล่าวข้อควมเด็ด “ชีวิตสมรสนี้มีกันสามคน มันเลยค่อนข้างแออัดไปหน่อย”)

-เจ้าหญิงไดอาน่ายอมรับว่าทรงชื่นชอบเจมส์ ฮิววิตต์ - อดีตครูสอนขี่ม้าของพระองค์ และยอมรับถึงความสัมพันธ์ของทั้งสอง

-เจ้าหญิงกล่าวถึงโรคบูลิเมียของพระองค์ ทรงต้องทำให้ตัวเองอาเจียนมากถึง 5 ครั้งต่อวัน และถูกมองว่าไม่มั่นคงเพราะเหตุนี้

#ความเสียหายที่เกิดขึ้น

แม้ว่าเจ้าหญิงไดอาน่ากับเจ้าฟ้าชายชาร์ลจะแยกกันอยู่ตั้งแต่ปี 1992 แต่บทสัมภาษณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นฟางเส้นสุดท้ายของชีวิตสมรสซึ่งนำไปสู่การหย่าขาดในภายหลัง แคโรลีน แฮร์ริส นักประวัติศาสตร์และนักเขียนชาวอังกฤษกล่าวว่าบทสัมภาษณ์ของไดอาน่าสร้างปัญหาทั้งในระดับส่วนตัว - ลูกชายสองคนและควีนเอลิซาเบธผู้เป็นสมเด็จย่า และในระดับโครงสร้าง - คือการตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของระบบ และตัวเจ้าฟ้าชายชาร์ลในฐานะผู้สืบทอด

เพียงหนึ่งเดือนหลังบทสัมภาษณ์ถูกปล่อยออกไป ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ส่งจดหมายเร่งให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลกับเจ้าหญิงไดอาน่าดำเนินเรื่องการหย่าให้เด็ดขาด

บทสัมภาษณ์นี้ทำร้ายคนใกล้ตัวของเจ้าหญิง รวมไปถึงตัวเจ้าชายวิลเลียมที่เป็นลูกชาย ทรงกล่าวในปี 2021 บทสัมภาษณ์ของพระมารดาเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชีวิตสมรสของพระบิดาและพระมารดาแย่ลงยิ่งกว่าเก่า มันยังทำร้ายคนรอบตัวพวกเขาอีกนับไม่ถ้วน

#BBCกับความจริงหลังบทสัมภาษณ์

ในปี 1996 หลังบทสัมภาษณ์ถูกปล่อยออกไปเพียงหนึ่งปี BBC ได้ทำการสอบสวนเกี่ยวกับจริยธรรมของมาร์ติน บาเชียร์ แต่กลับได้ข้อสรุปว่าเขาไม่ได้ทำผิดอะไร มาร์ค คิลลิค - หนึ่งโปรดิวเซอร์ของรายการ Pamorama ซึ่งเป็นผู้ตั้งข้อสงสัยในประเด็นนี้ถูกไล่ออก ไม่มีการสอบถามเอิร์ลสเปนเซอร์เกี่ยวกับความคิดเห็นของเขา

เรื่องถูกเก็บใต้พรมเป็นเวลากว่า 20 ปี กระทั่งเอิร์ลสเปนเซอร์ได้ออกมาเปิดเผยข้อสงสัยของเขาต่อสาธารณชนในปี 2021 เรียกร้องให้มีการสอบสวนเรื่องนี้อีกครั้ง BBC จึงได้สัญญาว่าจะทำการค้นหาความจริง และได้เปิดการสอบสวนอิสระนำโดยลอร์ดจอห์น ไดสัน อดีตผู้พิพากษาศาลสูงสุดของอังกฤษที่เกษียณอายุไปเมื่อปี 2016

ไดสันได้รับความไว้วางใจให้เข้ามาตรวจสอบประเด็นนี้อย่างละเอียด เอกสารกว่าร้อยหน้าของเขาได้เผยความจริงทั้งหมด จน BBC ออกมาขอโทษอย่างเป็นทางการ ทั้งต่อมาร์ค คิลลิค โปรดิวเซอร์ที่ถูกไล่ออก ทิกกี้ เลกก์-บอร์ก อดีตพี่เลี้ยงของเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮรรี่ และบุคคลรอบตัวเจ้าหญิงไดอาน่าที่ถูกใส่ความจนได้รับความเสียหาย BBC ยังส่งจดหมายขอโทษไปยังเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี่ และได้ทำการคืนรางวัลทั้งหมดที่ได้รับจากบทสัมภาษณ์

มาร์ติน บาเชียร์ ออกมาขออภัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ตัวเขากล่าวว่าการตัดสินใจให้หรือไม่ให้สัมภาษณ์เป็นสิทธิ์ขาดของเจ้าหญิง ซึ่งเขาไม่ได้กดดันพระองค์แต่อย่างใด การสอบสวนครั้งนี้ยังได้เปิดเผยโน๊ตข้อความของเจ้าหญิงไดอาน่าเมื่อปี 1995 ทรงกล่าวว่า “มาร์ติน บาเชียร์ ไม่ได้เปิดเผยเอกสารหรือข้อมูลใดที่ข้าพเจ้าไม่ได้ทราบอยู่แล้ว” ทรงกล่าวอีกว่าไม่รู้สึกเสียใจกับการให้สัมภาษณ์ และทรงตัดสินใจทั้งหมดด้วยพระองค์เอง ซึ่งตรงกับข้อแก้ตัวของบาเชียร์พอดิบพอดี (โน๊ตที่ว่านี้แอดมินจะแปะไว้ในคอมเมนต์)

The Crown ซีซั่นล่าสุดนำเรื่องราวส่วนใหญ่มาจากการสอบสวนที่ถูกเผยแพร่ในปี 2021 ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของเอิร์ลสเปนเซอร์ในเรื่องนี้ ไปจนถึงผลกระทบต่อตัวเจ้าชายวิลเลียมและแฮรรี่หลังสองพระองค์ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้ในปีเดียวกัน ในส่วนของเจ้าหญิงไดอาน่า เราคงไม่อาจทราบว่าพระองค์คิดเห็นอย่างไร และหากยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่จนถึงปัจจุบัน จะทรงรู้สึกเสียใจกับบทสัมภาษณ์ที่ได้ให้ไว้หรือไม่

แต่คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ แชร์ให้เราฟังได้ในกล่องข้อความ (รออ่านความคิดเห็นของทุกท่านอยู่นะคะ)

ปล ปัจจุบันมาร์ติน บาเชียร์ ลาออกจาก BBC แล้วเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพ ไมเคิล เกรด บารอนเกรดแห่งยาเมาท์ chairman เก่าของ BBC ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2004-2006 กล่าวว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของเรื่องนี้ ไม่ใช่การกระทำของบาเชียร์ แต่เป็น BBC เองต่างหากที่ปิดบังความจริงเป็นเวลาถึง 25 ปี

References:

Martin Bashir: Inquiry criticises BBC over 'deceitful' Diana interview https://www.bbc.com/news/uk-57189371...

Why Princess Diana's 1995 BBC Interview Shocked the World https://www.history.com/.../princess-diana-bbc-interview...

The Crown: Martin Bashir’s Appalling Manipulation of Princess Diana https://www.vanityfair.com/.../princess-diana-martin...

 

วินเซอร์-โรมานอฟ ความจริงเบื้องหลังการเสด็จเยือนรัสเซียครั้งแรกของควีนเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ

ในปี 1994 ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ตอบรับคำเชิญของบอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อเสด็จเยื่อนรัสเซียเป็นเวลา 4 วัน จบความตึงเครียดหลายสิบปีหลังการสังหารราชวงศ์โรมานอฟในปี 1918

The Crown ซีซั่น 5 นำเสนอเรื่องราวการเสด็จเยือนรัสเซียครั้งนี้โดยมีการผูกโยงประวัติศาสตร์กลับไปที่การสังหารครอบครัวของพระเจ้าซาร์องค์สุดท้าย - ซาร์นิโคลัสที่ 2 พร้อมตั้งคำถามว่าใครกันแน่ที่เป็นสาเหตุต่อความตายของพระเจ้าซาร์และการเสด็จเยือนครั้งนี้มีประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์วินเซอร์และโรมานอฟด้วยหรือไม่

ซีรีส์ย้อนกลับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อกษัตริย์จอร์จที่ 5 และราชินีแมรี่ (สมเด็จปู่และสมเด็จย่าของควีนเอลิซาเบธที่ 2) ต้องตัดสินใจว่าจะส่งเรือไปรับครอบครัวของซาร์นิโคลัสที่ 2 เพื่อลี้ภัยในแผ่นดินของพระองค์ The Crown นำเสนอฉากเหตุการณ์คล้ายกับว่ารับสั่งเพียงคำเดียวจากกษัตริย์จอร์จที่ 5 จะสามารถเปลี่ยนชะตากรรมของราชวงศ์โรมานอฟได้ในทันที

กษัตริย์จอร์จที่ 5 และซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นลูกพี่ลูกน้อง (พระมารดาของทั้งสองเป็นพี่น้องกัน) ภาพของกษัตริย์อังกฤษที่เพิกเฉยต่อชะตาของญาติผู้น้องตามที่ถูกนำเสนอในซีรีส์จึงนำไปสู่ข้อถกเถียงที่น่าสนใจว่าประเด็นนี้มีความเป็นจริงแค่ไหนในประวัติศาสตร์

#ทำไมราชวงศ์อังกฤษไม่ช่วยราชวงศ์โรมานอฟ

ประเด็นนี้ซับซ้อนและละเอียดอ่อนมาก การยื่นขอเสนอลี้ภัยของครอบครัวพระเจ้าซาร์ ถูกเสนอมาจากรัฐบาลเฉพาะกาลของรัสเซียผ่านมายังรัฐบาลอังกฤษอีกที รัฐบาลอังกฤษในตอนนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับการลี้ภัยของครอบครัวพระเจ้าซาร์มากไปกว่าความต้องการที่จะดำเนินนโยบายทางการทูตทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1

เดวิด ลอยด์ จอร์จ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษไม่ต้องการขัดแย้งกับรัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรใหญ่ในสงคราม แต่เมื่อข่าวลือเกี่ยวกับการเสนอให้ราชวงศ์โรมานอฟลี้ภัยในอังกฤษเริ่มมีการพูดถึง แผนการนี้ก็ถูกต่อต้านเป็นอย่างมากเนื่องมาจากชื่อเสียงของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่เคยปราบปรามการประท้วงของประชาชนอย่างรุนแรงจนได้ฉายา ‘Nicholas the Bloody’ ส่วนพระมเหสีของพระองค์ – ซารีน่าอเล็กซานดร้า ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับของเยอรมัน (เนื่องจากพระองค์มีพื้นเพเป็นเจ้าหญิงจากเยอรมัน)

กระแสต่อต้านเยอรมันเป็นเรื่องใหญ่ในอังกฤษ แม้แต่ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาซึ่งมีพื้นเพมาจากเยอรมันก็ถูกตั้งคำถามจนนำไปสู่การปฏิรูปครั้งใหญ่ เปลี่ยนชื่อเป็นราชวงศ์เป็น ‘วินเซอร์’ ทั้งยังเดินหน้าปรับเปลี่ยนประเพณีราชสำนักมากมายให้ตอบรับกับยุคสมัย

กษัตริย์จอร์จที่ 5 มองความล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟเป็นเรื่องอันตราย ความสำเร็จของคณะปฏิวัติในรัสเซียไม่ได้เป็นแค่ข่าวบนหน้ากระดาษ ประชาชนจำนวนมากเดินทางลี้ภัยในยุโรปทำให้เกิดกระแสสังคมแบบใหม่ตั้งคำถามถึงความมั่นคงของการปกครองโดยกษัตริย์ซึ่งถูกนิยมว่าเป็น ‘คนนอก’ และมีความเห็นอกเห็นใจเครือญาติของพระองค์มากกว่าประชาชนอังกฤษที่กำลังเสียสละในสงคราม

#ควีนแมรี่ไม่ให้ที่ลี้ภัยเพราะไม่ชอบซารีน่าอเล็กซานดร้า

ประเด็นนี้ไม่มีปรากฏในประวัติศาสตร์ จริงอยู่ว่าอเล็กซานดร้า (พระนามเดิมอลิกซ์แห่งเฮสส์และไรน์) เป็นหลานสาวคนโปรดของควีนวิกตอเรีย พระองค์เคยจับคู่หลานสาวคนนี้กับเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ (พี่ชายของจอร์จที่ 5) แต่อเล็กซานดร้าปฏิเสธ หลังจากนั้นควีนวิกตอเรียจึงเสนอให้หลายชายคนโตหมั้นหมายกับแมรี่แห่งเท็ก (ต่อมาคือควีนแมรี่) โชคร้ายที่เจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ สิ้นพระชนม์ด้วยอาการป่วยก่อนจะได้เข้าพิธีแต่งงาน ทำให้พระอนุชา – จอร์จที่ 5 รับช่วงต่อจากพี่ชายเพื่อหมั้นหมายและสมรสกับเจ้าหญิงแมรี่ในภายหลัง

ไม่มีข่าวว่าจอร์จที่ 5 เคยสนใจซารีน่าอเล็กซานดร้า อันที่จริงสตรีที่เคยมีข่าวซุบซิบกับพระองค์ คือมาเรียแห่งเอดินบะระ (ต่อมาสมรสเป็นราชินีมาเรียแห่งโรมาเนีย) ความสัมพันธ์นี้จบลงไปแล้วตั้งแต่ก่อนจอร์จที่ 5 จะหมั้นหมายและเข้าพิธีสมรส ส่วนความกลัวที่ว่าอเล็กซานดร้าจะได้รับความนิยมในอังกฤษยิ่งไม่น่าเป็นไปได้ พิจารณาจากชื่อเสียงที่เลวร้ายของซาริน่าทั้งเรื่องสายสัมพันธ์กับเยอรมันและข่าวฉาวเกี่ยวกับพระองค์และรัสปูติน ที่น่าสนใจไปว่านั้น คือการตัดสินใจรับหรือไม่รับครอบครัวพระเจ้าซาร์ในการลี้ภัย ไม่เคยเป็นสิทธิ์ขาดของสถาบัน เนื่องจากทรงเป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

#ราชวงศ์อังกฤษต้องรับผิดชอบจริงหรือ

แม้จะถูกกล่าวถึงบ่อยครั้ง แต่อังกฤษไม่ใช่ประเทศเดียวที่ต้องรับผิดชอบต่อการตายของครอบครัวพระเจ้าซาร์ รัฐบาลเฉพาะกาลพยายามติดต่อหลายประเทศเพื่อเจรจาเรื่องการลี้ภัย เดนมาร์กอยู่ใกล้เยอรมันมากเกินกว่าจะรับข้อเสนอ นอร์เวย์กับฟินแลนด์กล่าวว่าพวกเขายินดีช่วยเจรจาและส่งต่อ แต่ไม่ขอรับครอบครัวพระเจ้าซาร์มาอยู่ในประเทศ ฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ปฏิเสธการขอลี้ภัย แม้แต่เชื้อพระวงศ์โรมานอฟที่อาศัยในต่างชาติก็มีกระแสในแง่ลบต่อตัวนิโคลัสและอเล็กซานดร้า บางส่วนโทษว่าการล่มสลายของราชวงศ์มาจากความผิดพลาดของทั้งสอง ประเทศเดียวที่สนใจอยากช่วยเหลือครอบครัวของพระเจ้าซาร์อย่างจริงจัง คือสเปนภายใต้การนำของกษัตริย์อัลฟองโซ่ที่ 13

สเปนครองตัวเป็นกลางในช่วงสงคราม กษัตริย์สเปนจึงเจรจาในนามของครอบครัวไม่ใช่ในนามของประเทศ อย่างไรก็ดี ข้อเสนอของพระองค์ไม่ประสบผลสำเร็จแม้จะมีการเจรจาต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่เดือนมีนาคม 1917 กระทั่งเดือนกรกฏาคม 1918 ซึ่งเป็นช่วงที่ครอบครัวของพระเจ้าซาร์ถูกสังหาร

#ควีนเอลิซาเบธเยือนรัสเซียและกับการฟื้นพระเกียรติราชวงศ์โรมานอฟ

ในการเสด็จเยือนรัสเซียเมื่อปี 1994 มีการให้เหตุผลอย่างเป็นทางการว่าเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างรัสเซียและโลกตะวันตกเพื่อเหตุผลสำคัญด้านการค้า อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์ The Washington Post ตีพิมพ์บทความในวันที่ 18 ตุลาคม 1994 กล่าวว่ารัสเซียในตอนนั้นเริ่มหันมาสนใจราชวงศ์ ประชาชนรัสเซีย 18% สนับสนุนให้มีการฟื้นคืนสถานะของราชวงศ์โรมานอฟ การเสด็จเยือนของราชวงศ์อังกฤษได้รับความสนใจ ต่างจากกระแสลบของราชวงศ์ที่กำลังคุกรุ่นในอังกฤษจากข่าวฉาวของเจ้าฟ้าชายชาร์ลกับเจ้าหญิงไดอาน่า

ควีนเอลิซาเบธเสด็จเยือนโบสถ์ซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพพระเจ้าซาร์พระองค์ก่อนๆ จริง แต่เหตุผลในการไปเยือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับพิธีฝังศพครอบครัวซาร์นิโคลัสที่ 2 เพราะการยืนยันตัวตนของสมาชิกราชวงศ์ยังไม่เสร็จเรียบร้อยในตอนนั้น

ที่ฝังพระศพซาร์นิโคลัสที่ 2 และครอบครัวถูกสันนิษฐานว่าพบตั้งแต่ปี 1970s (แต่ไม่ได้มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ) การขุดค้นพระศพเกิดขึ้นในปี 1991 ส่วนการเริ่มระบุตัวตนเกิดขึ้นในปี 1993 หากมองจากไทม์ไลน์นี้ เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นก่อนการเสด็จเยือนรัสเซียของควีนเอลิซาเบธในปี 1994

ในตอนที่ควีนเอลิซาเบธเสด็จเยือนรัสเซีย การระบุตัวตนยังไม่เสร็จสมบูรณ์และมีการทูลขอ DNA จากเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ หลังจากการเยือนครั้งนั้นจบสิ้นลงแล้ว เนื่องจากยายของเจ้าชายฟิลิปเป็นพี่สาวคนโตของซารีน่าอเล็กซานดร้า ในส่วนของพระศพของพระเจ้าซาร์ ได้มีการใช้ DNA จากร่างของน้องชายคือแกรนด์ดยุกจอร์จ ซึ่งสิ้นพระชนม์และถูกฝังในรัสเซียตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติ การระบุตัวตนกว่าจะได้ผลสมบูรณ์ก็ต้องรอกระทั้งปลายศตวรรษที่ 1990s การฝังพระศพราชวงศ์จึงเกิดขึ้นหลังจากนั้น

บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ต้องการให้รัสเซียก้าวไปสู่ยุคใหม่ เริ่มประนีประนอมกับอดีตที่ถูกปิดกั้น ตัวเขาออกมายอมรับและกล่าวว่า การรื้อทำลายบ้านอิปาเตียฟเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนโหดร้าย เขายังกล่าวว่าการสังหารครอบครัวพระเจ้าซาร์เป็นสิ่งที่น่าละอาย แต่ไม่เคยมีหลักฐานปรากฏว่าราชวงศ์อังกฤษกดดันให้มีการฟื้นคืนพระเกียรติราชวงศ์ ทั้งยังไม่เคยมีกำหนดว่าการเสด็จเยือนรัสเซียของควีนเอลิซาเบธที่ 2 มีความเกี่ยวข้องกับพิธีศพของราชวงศ์โรมานอฟแต่อย่างใด

เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระกล่าวเกี่ยวกับการเยือนรัสเซียครั้งนี้ว่า แม้พระองค์จะสูญเสียญาติไปกับการปฏิวัติรัสเซีย แต่ก็ไม่ถือว่าการเยือนครั้งนี้เป็นเรื่องครอบครัว “เราผ่านเรื่องราวทั้งหมด การล่มสลายของรัฐมาร์กซิสต์ และตอนนี้ เราเห็นการรวมตัวกันอีกครั้งของประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป... มันมีศักยภาพมหาศาล”

ในขณะที่รัฐบาลอังกฤษกล่าวว่าการเสด็จเยือนเป็นเวลา 4 ของสมเด็จพระราชินีฯ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกลับไปมองแผลเก่า แต่เป็นการรู้จักรัสเซียในปัจจุบัน ตารางการเสด็จเยือนของพระองค์เต็มไปด้วยงานพิธีสำคัญเพื่อทำความรู้จักวัฒนธรรมของรัสเซียและพบปะกับประชาชนในประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่หลังม่านเหล็ก

References:

Did King George V betray the Romanovs? The truth behind the Russian massacre as shown in The Crown https://www.tatler.com/.../who-were-the-romanovs-and-were...

The last days of the Romanovs: could George V have saved the family? https://www.historyextra.com/.../the-last-days-of-the.../

What Really Happened Between the British Royal Family and the Romanovs? https://www.vogue.com/.../the-crown-what-really-happened...

WATCH: Queen Elizabeth was the first British monarch to visit Russia https://britishheritage.com/.../queen-elizabeth-british...

The truth behind the Romanovs' deaths and burial https://www.radiotimes.com/.../the-crown-romanovs-death.../

What happened during the Queen’s first state visit to Moscow? https://www.historyextra.com/.../the-crown-s5-e6-real.../

ELIZABETH II VISITS RUSSIA ON WAVE OF ROYAL GOSSIP https://www.washingtonpost.com/.../0a7e2997-55d3-4400.../

How much of The Crown can you REALLY trust? From Princess Diana's brakes failing to Camilla hiring a spin doctor, we separate fact from fiction in the final episodes of series five https://www.dailymail.co.uk/.../FEMAIL-separate-fact...

 

Queen Victoria Syndrome ราชินีหวงบัลลังก์?

The Crown ซีซั่น 5 กลับมาพร้อมนักแสดงชุดใหม่และไทม์ไลน์ที่ใกล้ปัจจุบันมากขึ้น ซีรีส์ที่ห่างหายไปถึงสองปีเปิดตัวตอนแรกโดยใช้ชื่อตอนน่าสนใจ เทียบรัชสมัยนาวนานของควีนเอลิซาเบธที่ 2 กับบรรพบุรุษของพระองค์ที่ครองราชย์ยาวนานจนมีชื่อยุคเป็นของพระองค์คือควีนวิกตอเรีย

ซาร่า กริสวูด นักประวัติศาสตร์และนักเขียนชาวอังกฤษเคยกล่าวไว้ในปี 2015 “ช่วงปลายทศวรรษที่ 1980s เริ่มมีการพูดถึงโรคพระนางเจ้าวิกตอเรีย (Queen Victoria Syndrome) ในหมู่ข้าราชบริพาน ประชาชนเบื่อหน่ายกับราชินีที่ชราภาพ และราชวงศ์ที่ทำตัวเหมือนเป็นกาฝาก” อย่างไรก็ดี Insider สื่อจากสหรัฐอเมริกาแย้งว่าพวกเขาพยายามสืบหาที่มาของคำว่า Queen Victoria Syndrome แต่กลับไม่พบว่าคำนี้มีการใช้จริงอย่างกว้างขวางในช่วงเวลานั้น คำนี้เพิ่งกลับมาดังหลัง The Crown หยิบชุดคำมานำเสนอใหม่ สร้างความสนใจให้ยุคสมัยที่มีราชินีครองราชย์ยาวนานในขณะที่รัชทายาทต้องรอแล้วรอเล่า

เกี่ยวกับโพลที่มีการกล่าวถึงในซีรีส์ Insider กล่าวว่าแบบสำรวจนี้จัดทำโดย MORI (Market and Opinion Research International) เพื่อสำรวจความนิยมของสถาบัน ผลที่ออกมายกตัวอย่างเช่นควีนมัม (พระมารดาของควีนเอลิซาเบธที่ 2) เป็นสมาชิกราชวงศ์ที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด ตามมาด้วยควีนเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าฟ้าชายชาร์ล คะแนนที่ทั้งสามพระองค์ได้รับอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก 47% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยหากควีนเอลิซาเบธจะสละราชสมบัติให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลเมื่อเวลามาถึง (แต่ไม่ได้เรียกร้องให้มีการสละราชบัลลังก์ในทันที)

อย่างไรก็ดี คริสโตเฟอร์ ฮิตเชนส์ จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์กล่าวว่าในช่วงปี 1991 ทุกสัปดาห์จะมีข่าวลือเกี่ยวกับความตึงเครียดเรื่องชีวิตสมรสของเจ้าฟ้าชายชาร์ล ความยากลำบากในการสืบทอดตำแหน่ง และแม้แต่ข่าวลือเรื่องการสละราชสมบัติ พาดหัวข่าวที่ไปในเชิงตั้งคำถาม ยกตัวอย่างเช่น “ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ควีนจะสละมงกุฎ” หรือ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลรออยู่ ราชินีควรเกษียณอายุอย่างมีความสุขแล้วหรือไม่” เป็นหัวข้อที่เกิดขึ้นจริง (พาดหัวข่าวแรกมาจาก The Mirror พาดหัวที่สองมาจาก The Express)

เกี่ยวกับโรคพระนางเจ้าวิกตอเรียที่ได้มีการกล่าวถึงในซีรีส์ และความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนักของควีนวิกตอเรียกับลูกชาย (ต่อมาครองราชย์เป็นกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7) ประเด็นนี้ค่อนข้างตรงกับความเป็นจริงในประวัติศาสตร์ ควีนวิกตอเรียครองราชย์ยาวนานถึง 63 ปี ส่วนเจ้าชายอัลเบิร์ต-เอ็ดเวิร์ด (เบอร์ตี้) พระโอรสองค์โตของพระองค์ก็รับตำแหน่งเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ยาวนานถึง 59 ปี การครองราชย์ยาวนานทำให้ควีนวิกตอเรียเข้าถึงยากและห่างเหินกับประชาชน แถมยังทรงไม่ไว้วางใจที่จะมอบอำนาจบางส่วนให้กับลูกชายที่มีแนวคิดแตกต่างจากพระองค์

#ควีนวิกตอเรียไม่ให้งานลูกชายจริงหรือไม่

ค่อนข้างเป็นความจริง เจ้าชายอัลเบิร์ต-เอ็ดเวิร์ดแม้จะครองตำแหน่งเจ้าชายแห่งเวลส์ตอนอายุแค่ 1 เดือนแต่กลับไม่เคยได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่อย่างจริงจัง อันที่จริงเจ้าชายแห่งเวลส์พระองค์แรกที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการ คือเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด (ต่อมาคือกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 8 ลุงแท้ๆ ของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งสละราชสมบัติเพื่อสมรสกับม่ายสาวชาวอเมริกันวอลลิส ซิมป์สัน) ทรงทำงานเป็นโฆษกให้ทหารผ่านศึก

เจ้าชายอัลเบิร์ต-เอ็ดเวิร์ดออกงานแทนพระมารดาหลังควีนวิกตอเรียเก็บตัวเงียบเพราะการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเบิร์ต – พระสวามีผู้เป็นที่รัก ถึงอย่างนั้นพระองค์ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจของพระมารดา ไม่สามารถเข้าถึงเอกสราชการ ไม่มีอำนาจและตำแหน่งที่จริงจัง ควีนวิกตอเรียไม่ตระเตรียมลูกชายสำหรับการเป็นกษัตริย์ แม้แต่ในช่วงปลายรัชสมัยเมื่อราชินีชราภาพจนอ่านเอกสารเองไม่ได้ ก็ทรงขอให้เจ้าหญิงเบียทริซ (พระธิดาพระองค์เล็ก) เป็นผู้อ่านเอกสารแทน

#ทำไมควีนวิกตอเรียไม่ใว้ใจพระโอรส

ควีนวิกตอเรียกับเจ้าชายอัลเบิร์ตมีความคาดหวังที่เกินจริงเกี่ยวกับลูกชาย เขาต้องเฉลียวฉลาด เก่งกาจวิชาการ ครองตัวอยู่ในศีลธรรมอันดี และมักเปรียบเทียบลูกชายคนนี้กับเจ้าหญิงวิกกี้ (เจ้าหญิงวิกตอเรีย ราชกุมารี) ลูกสาวคนโตที่เฉลียวฉลาดเป็นดวงใจของพ่อแม่ ควีนวิกตอเรียคาดหวังให้ลูกโตมาเป็นเจ้าชายอัลเบิร์ตคนที่สอง แต่เบอร์ตี้เป็นเด็กสมาธิสั้น อยู่ไม่สุข และมักถูกติติงจากครูผู้สอนว่ามีกริยามารยาทไม่เรียบร้อย ผลการเรียนย่ำแย่ และเมื่อเจ้าชายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์หลังเดินทางไปเยี่ยมเบอร์ตี้ที่เคมบริดจ์ จุดประสงค์เพื่อติติงลูกชายเกี่ยวกับการคบหานักแสดงหญิง ราชินีก็กล่าวโทษอย่างไม่เป็นธรรมว่าการกระทำของเบอร์ตี้ทำให้บิดาใจลลายและป่วยหนักกระทั่งสิ้นใจ

ในช่วงปลายรัชสมัย ควีนวิกตอเรียเขียนบันทึกพร้อมขีดเส้นใต้ เสียใจที่ประเทศจะต้องถูกส่งต่อให้ลูกชาย เพราะเขาไม่เหมาะเลยแม้แต่น้อย วันๆ เอาแต่เล่นสนุกคบหาชู้รัก ขี้เกียจ ไม่เอาการเอางาน

#เจ้าชายรัชทายาทไม่เอาถ่านจริงหรือ

ในสายตาควีนวิกตอเรีย ทายาทของพระองค์เหมือนไม่มีอะไรดี แต่เบอร์ตี้มีจุดเด่นที่แม่มองไม่เห็นคือทรงมีทักษะการเข้าสังคมที่ดีมาก สร้างเสียงหัวเราะเก่ง กล่าวสปีชได้ดี เชียวชาญภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน แถมมักนำความคิดเห็นใหม่ๆ มาทดลองใช้จริง เจ้าชายแห่งเวลส์ริเริ่มทุนด้านการแพทย์ ก่อตั้ง royal college of music ลงพื้นที่ย่านคนจนและนำแบบแผนบ้านพักคนชราสำหรับผู้ยากไร้เสนอต่อสภาขุนนาง (House of Lords) อย่างไรก็ดี เบอร์ตี้มีข่าวฉาวหลายครั้งทั้งเรื่องผู้หญิงและการพนัน นักการเมืองบางส่วนกล่าวหาราชวงศ์ว่าราชินีแทบไม่ปรากฏตัวส่วนเจ้าชายแห่งเวลส์ก็ไม่น่าเคารพ

#รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดรุ่งเรืองจริงหรือไม่

เมื่อเบอร์ตี้ได้ครองราชย์ แม้พระองค์จะไม่ถูกเตรียมพร้อมสำหรับการปกครอง แต่ช่วงเวลาไม่ถึงสิบปีที่ทรงเป็นกษัตริย์ รัชสมัยของพระองค์ถือว่าประสบความสำเร็จ พระองค์ทำงานหนัก เป็นคนละเอียดเรื่องเอกสาร และได้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์และประชาชนในแบบที่ควีนวิกตอเรียไม่เคยทำมาก่อน พระองค์เชื่อว่ายิ่งประชาชนได้มีโอกาสเห็นกษัตริย์และราชวงศ์มากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะผูกพันรักใคร่สถาบันมากเท่านั้น กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 เสด็จเปิดรัฐสภาทุกปี กล่าวสปีชเองทุกครั้ง ทรงให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ทั้งในและนอกประเทศ ไม่รังเกียจที่จะเล่นมุกเกี่ยวกับตัวเองเพื่อสร้างเสียงหัวเราะ

ในขณะที่ควีนวิกตอเรียปิดตัวเองอยู่กับครอบครัวและญาติสนิท เอ็ดเวิร์ดที่ 7 เป็นเพื่อนกับทุกชนชั้น พระองค์ไม่เคร่งจารีตศาสนาทำให้ทรงเปิดใจกับความเชื่อที่แตกต่างและค่านิยมที่ไม่เหมือนกันในแต่ละวัฒนธรรม

รัชสมัยของเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ยาวนานเพียง 9 ปี แต่พระองค์ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงสำคัญสองอย่าง อย่างแรกคือการเปลี่ยนทิศทางการเมืองที่เคยเป็นอนุรักษ์นิยมเข้าสู่เสรีนิยม อย่างหลังคือการหันไปจับมือฝรั่งเศสและรัสเซีย สนใจความเป็นไปในทวีปยุโรปมากขึ้น

ในซีรีส์ The Crown ควีนเอลิซาเบธที่ 2 (นำแสดงโดยอิเมลด้า สทอนตัน) กล่าวถึงรัชสมัยของควีนวิกตอเรียว่า สม่ำเสมอ มั่นคง นิ่งสงบ ทำตามหน้าที่ ส่วนเจ้าฟ้าชายชาร์ล (นำแสดงโดยโดมินิก เวสต์) กล่าวถึงเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ว่า กระฉับกระเฉง ทรงปัญญา ครองใจประชาชน คุณสมบัติของสองแม่ลูกแตกต่าง เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา เรายังต้องยอมรับว่าหนึ่งในข้อดีที่ทำให้เอ็ดเวิร์ดที่ 7 ครองใจประชาชน มาจากการพระมเหสีของพระองค์ (พระนางอเล็กซานดร้า) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เจ้าหญิงอเล็กซานดร้าเป็นพระมารดาที่น่ารักและเป็นขวัญใจของประชาชน ในวันที่อากาศดี ผู้คนจะเห็นเจ้าหญิงไปไหนมาไหนกับลูกๆ ด้วยใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยความสุข ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จไปไหน ผู้คนก็ตั้งตารอ ไม่ว่าจะทรงสวมอะไรก็จะกลายเป็นแฟชั่นใหม่ในทันที และไม่ว่าจะทรงทำผิดพลาดไปบ้าง ประชาชนก็พร้อมจะให้อภัยอยู่เสมอ อเล็กซานดร้าถูกเปรียบเทียบว่าเป็นเหมือนเจ้าหญิงไดอาน่าในช่วงเวลาของควีนวิกตอเรีย เบอร์ตี้เข้าใจดีถึงความสำคัญของภรรยา แต่ดูเหมือนว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลจะไม่ได้คิดเหมือนกัน

References:

'The Crown' season 5: The truth behind the abdication poll and 'Queen Victoria Syndrome' explained https://www.insider.com/the-crown-season-5-episode-1...

Episode one of The Crown season five is about ‘Queen Victoria Syndrome’ – so what is it? https://thetab.com/.../the-crown-season-five-episode-one...

Long to Reign Over Us https://www.huffingtonpost.co.uk/.../long-to-reign-over...

King Edward VII - Professor Vernon Bogdanor https://www.youtube.com/watch?v=aVQ9YL-PKvs

Queen Victoria's Reaction To Prince Albert's Death - https://www.youtube.com/watch?v=CxBcwBs-BnE

 

ข่าวดีสำหรับแฟน The Empress ค่ะ Netflix ประกาศทำ Season 2 แล้วนะคะ แอดมินรวบรวมข่าวอัพเดทมาให้แบบคร่าวๆ (มีสปอยเนื้อหาจริงตามประวัติศาสตร์)

-The Empress ซีรีส์ดราม่าอิงประวัติศาสตร์ระหว่างจักรพรรดินีเอลิซาเบธ (ซีซี่) กับจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซ็ฟแห่งออสเตรีย ได้รับเสียงตอบรับดีมากค่ะ จนถึงตอนนี้มีคนดูรวมๆ กันทั้งโลกมากกว่า 159,800,000 ชั่วโมง ติดอันดับซีรีส์ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ (non-English language series) ที่มีผู้รับชมมากที่สุดในโลกยาวถึงหนึ่งสัปดาห์

-เนื้อหาหลักในซีซั่นที่ 2 จะเป็นเรื่องการตั้งครรภ์ของซีซี่ การเกิดของลูกสาวคนแรก – อาร์ชดัชเชสโซเฟีย และบทบาทใหม่ของจักรพรรดิและจักรพรรดินีในฐานะพ่อแม่มือใหม่ ประเด็นด้านการเมืองเกี่ยวกับกระแสชาตินิยม/เสรีนิยมยังมีให้เห็นอยู่ แต่โฟกัสหลักน่าจะเป็นเรื่องดราม่าในครอบครัว โดยเนื้อหาในซีซั่นนี้คาดว่าจะไปจบที่การสิ้นพระชนม์ของอาร์ชดัชเชสโซเฟีย ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของซีซี่จากที่เคยทุ่มเทเพื่อลูก กลายเป็นเหินห่างไม่กล้าเข้าใกล้ และแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูลูกๆ คนถัดมา

-เกี่ยวกับอาร์ชดัชเชสโซเฟีย เด็กหญิงตัวน้อยเป็นที่รักใคร่ของครอบครัวเป็นอย่างมาก กล่าวกันว่าในวันที่เด็กน้อยถือกำเนิด จักรพรรดิฟรานซ์ โจเซ็ฟถึงกับหลั่งน้ำตาแห่งความสุข ทรงโอบกอดและมอบจุมพิตให้ซีซี่ครั้งแล้วครั้งเล่า อาร์ชดัชเชสโซเฟียเป็นเด็กหญิงตัวน้อยน่ารักสุขภาพดี พระองค์ได้รับชื่อ ‘โซเฟีย’ ตามพระมารดาของจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซ็ฟ แม้ซีซี่จะไม่ได้มีส่วนร่วมกับการตั้งชื่อลูก แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของราชสำนักเวียนนาที่อาร์ชดยุก/อาร์ชดัชเชส จะใช้ชื่อตามปู่ย่าตายายหรือบรรพบุรุษที่มีความสำคัญ

-ซีซี่กล่าวถึงลูกสาวคนนี้ว่า รู้สึกแปลกที่มีลูก (ตอนนั้นพระองค์เพิ่งอายุ 17 ปี) แต่โซเฟียเป็นความสุขทั้งหมดของพระองค์ ทรงมีความสุขที่จะได้อยู่กับลูกตลอดเวลา แม้แต่แม่สามีที่หวังอยากได้หลานชายก็ยังรักหลานคนนี้มาก เขียนไดอารี่เกี่ยวกับการเติบโตของหลานคนแรกในทุกๆ วัน

-ตามประวัติศาสตร์มีการกล่าวถึงความตึงเครียดระหว่างซีซี่กับแม่สามีเกี่ยวกับการดูแลเด็กหญิง เนื่องจากราชสำนักเวียนนาไม่อนุญาตให้จักรพรรดินีดูแลลูกของตัวเอง ประเด็นนี้น่าจะเป็นพ้อยท์หลักของซีซั่นสอง

-หลังคลอดลูกสาวคนแรกได้แค่ปีกว่า ซีซี่คลอดลูกสาวคนถัดมาคืออาร์ชดัชเชสกีเซลล่า ในปี 1857 ฟรานซ์ โจเซ็ฟและซีซี่เดินทางไปฮังการี ซีซี่ไม่อยากทิ้งลูกสองคนไว้ข้างหลังยืนยันจะพาโซเฟีย (อายุ 2 ขวบ) กับกีเซลล่า (อายุ 10 เดือน) ไปด้วย ก่อนทั้งสองจะออกเดินทางโซเฟียมีอาการป่วย หมอแจ้งว่าน่าจะเป็นเพราะฟันกำลังขึ้นและเด็กน้อยสามารถเดินทางได้ อย่างไรก็ดี อาการป่วยของโซเฟียหนักขึ้นที่ฮังการี กีเซลล่าก็เริ่มป่วยด้วยเช่นกันแต่อาการของเธอไม่หนักมาก ซีซี่เฝ้าพยาบาลลูกสาวในช่วง 11 ชั่วโมงสุดท้าย พระองค์ส่งโทรเลขหาพระมารดาในบาวาเรีย “โซเฟียร้องไห้ตลอดเวลา ทำให้ลูกใจสลาย”

-เช้าวันที่ 29 พฤษภาคม 1857 ฟรานซ์ โจเซ็ฟ ส่งโทรเลขหาพระมารดาของพระองค์ที่เวียนนา “ลูกสาวของเราเป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์”

-อาร์ชดัชเชสโซเฟีย (พระมารดาของฟรานซ์ โจเซ็ฟ) เคยสูญเสียลูกสาวตัวน้อยมาก่อน พระองค์เข้าใจความรู้สึกของซีซี่และไม่ได้ตำหนิสะใภ้ อย่างไรก็ดีซีซี่อยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างหนัก ทรงใช้เวลาทั้งเดือนเพื่อสวดภาวนาให้ลูกสาว กระทั่งแม่และน้องๆ จากบาวาเรียต้องมาอยู่เป็นเพื่อน ซีซี่ไม่เคยให้อภัยตัวเองในเรื่องนี้ จักรพรรดิฟรานซ์ โจเซ็ฟกล่าวว่าภรรยาของพระองค์ร้องไห้บ่อยครั้ง แม้จะผ่านการสูญเสียมาแล้วกว่าครึ่งปี เหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะถูกนำมาเล่าในซีซั่นที่ 2 ส่วนลายละเอียดต่างๆ อาจจะแตกต่างจากประวัติศาสตร์ไม่มากก็น้อย

-สำหรับวันฉายของซีซั่นใหม่ยังไม่มีการกำหนดแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2023 นักแสดงนำในตอนนี้คาดว่าน่าจะเป็นชุดเดิม (รอยืนยันอย่างเป็นทางการ) และคงมีตัวละครใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา เราน่าจะได้เห็นเฮเลน่า (พี่สาวของซีซี่) อีกครั้งในซีซั่นนี้ รวมไปถึงน้องสาวอีกสามคนของซีซี่ที่มาเยี่ยมหาจักรพรรดินีหลังการสิ้นพระชนม์ของลูกสาว

-ตัวละครใหม่ที่อาจจะได้เห็นในซีซั่นนี้คือเจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งเบลเยียม พระชายาของอาร์ชดยุกแม็กซิมิเลียน เจ้าหญิงชาร์ล็อตสมรสและเดินทางมาเวียนนาในช่วงที่ซีซี่ไว้ทุกข์ให้ลูกสาวพอดี ความไม่ลงรอยกันระหว่างสะใภ้ใหญ่กับสะใภ้รอง อาจเป็นประเด็นที่ได้เห็นมากขึ้นในซีซั่นที่ 3

สำหรับข่าวอัพเดทใหม่ๆ ถ้ามีประเด็นไหนน่าสนใจไว้แอดมินจะหยิบมาเล่าให้ฟังกันอีกนะคะ
หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


References:
‘The Empress’ Season 2: Officially Renewed at Netflix and What We Know So Far https://www.whats-on-netflix.com/.../the-empress-season.../

Netflix's The Empress season 2: Expected release date, cast, plot and more https://www.cosmopolitan.com/.../the-empress-season-2.../

Sisi & her daughter Sophie https://www.historyofroyalwomen.com/.../the-year-of.../

 

เหมือนจนแยกไม่ออก! ปริศนาเกือบร้อยปีไขออกเพราะสถานการณ์โควิด-19

Girl with a Flute (ภาพซ้าย) กับ Girl with the Red Hat (ภาพขวา) ผลงานศิลปะที่เชื่อกันว่าเป็นของศิลปินชาวดัตช์ชื่อดังโยฮันเนส เฟอร์เมียร์ (Johannes Vermeer) ถูกพิสูจน์ได้เมื่อเดือนที่ผ่านมาว่าแม้จะมีรูปแบบคล้ายกัน ใช้เทคนิคใกล้กัน แต่กลับมาจากศิลปินคนละท่าน สร้างความประหลาดใจว่าใครกันที่สามารถเลียนแบบงานของเฟอร์เมียร์ได้แนบเนียนจนแม้แต้ผู้เชี่ยวชาญ หากไม่พึ่งเทคนิคใหม่ทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่อาจจับโป๊ะได้

โยฮันเนส เฟอร์เมียร์ มีชีวิตในช่วงศตวรรษที่ 17 เขาเป็นจิตรกรเจ้าของผลงานดังอย่าง Girl with a Pear Earring หรือโมนาลิซ่าจากแดนเหนือ เฟอร์เมียร์มีชีวิตแสนสั้นเพียง 40 กว่าปี ชั่วชีวิตของเขาเต็มไปด้วยปริศนา ไม่มีใครรู้ว่าภาพเขียนของเขาได้อิทธิพลมาจากไหน ใครเป็นคนสอน ที่น่าสนใจคือฟอร์เมียร์วาดภาพไว้ทั้งชีวิตไม่ถึง 40 ภาพ นำไปสู่ข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจว่าคงมีผลงานอีกมากที่น่าจะสูญหายไปกับกาลเวลาและรอการค้นพบ

ในปี 1906 ผลงาน Girl with a Flute ถูกค้นพบใหม่สร้างความตื่นตาให้วงการศิลปะเพราะอาจเป็นหนึ่งในผลงานที่เคยสูญหาย ภาพที่ว่านี้ต่อมาถูกบริจาคให้ National Gallery of Art ในปี 1942 เมื่อชิ้นงานเข้ามาอยู่กับพิพิธภัณฑ์ บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างเข้ามาทำการศึกษาอย่างละเอียด แต่ก็เกิดข้อถกเถียงที่ไขไม่กระจ่างเพราะงานชิ้นนี้ใช้เทคนิคการลงสีที่เป็นเอกลักษณ์ของเฟอร์เมียร์ในหลายจุด ยกตัวอย่างเช่นการใช้เม็ดสีที่เป็นเอกลักษณะกับการลงเงาที่ไม่เหมือนใคร ถึงอย่างนั้นผลงานสำเร็จออกมากลับค่อนข้างหยาบไม่เหมือนผลงานชิ้นอื่นที่ศิลปินเคยวาดไว้

หลังถกเถียงมาหลายสิบปี อาเธอร์ วีลล็อก ผู้เชี่ยวชาญผลงานของเฟอร์เมียที่เป็นที่นับหน้าถือตาก็ออกมากล่าวสรุปแบบกลางๆ ว่าภาพนี้น่าจะเป็นของเฟอร์เมียร์จริง เพียงแต่ศิลปินอาจจะวาดออกมาไม่ได้ตามมาตรฐาน เขาเชื่อว่าการตัดชื่อภาพนี้ออกจากผลงานของเฟอร์เมียร์ดูจะเกินไป พิจารณาจากคอนดิชั่นของภาพที่ค่อนข้างเลวร้าย มีรอยถลอกบนพื้นผิวทำให้การศึกษาเป็นไปได้ยาก

ข้อสรุปของวีลล็อกได้รับการเห็นชอบจากนักวิชาการส่วนใหญ่ โดยตั้งแต่ช่วงปี 1990s เป็นต้นมา ภาพ Girl with a Flute ถูกจัดแสดงใน National Gallery of Art ประเทศสหรัฐอเมริการ่วมกับผลงานอีกสามชิ้นที่เป็นของศิลปินคนเดียวกันคือ Woman Holding a Balance, A Lady Writing และ Girl with the Red Hat

ผลงานของเฟอร์เมียร์ในภายหลังได้รับความนิยมในหมู่ผู้สนใจงานศิลปะ นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาเพื่อชื่นชมผลงานทำให้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา Girl with a Flute ไม่เคยถูกปลดเป็นเวลานานเพื่อทำการศึกษาตรวจสอบ

อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ทางพิพิธภัณฑ์จึงได้ถือโอกาสช่วงปิดเมือง ทำการศึกษาภาพวาดทั้ง 4 อย่างละเอียด โดยในครั้งนี้ได้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น การวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ การถ่ายภาพความละเอียดสูง การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ รวมไปถึงการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อบันทึกค่าสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากวัตถุ

ผลสรุปออกมาว่าภาพวาด Woman Holding a Balance, A Lady Writing และ Girl with the Red Hat มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน เป็นผลงานจากเฟอร์เมียร์อย่างแน่นอน แต่ภาพ Girl with a Flute กลับพบความแตกต่างหลายอย่างซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาครั้งนี้พบว่าเฟอร์เมียร์มีการผสมทองแดงเข้าไปเพื่อเร่งให้สีแต่ละชั้นแห้งเร็วขึ้น เทคนิคนี้ไม่ปรากฏในภาพ Girl with a Flute

นักวิจัยยังได้ศึกษาเปรียบเทียบอย่างละเอียดระหว่างภาพ Girl with a Flute และ Girl with the Red Hat ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นภาพที่ถูกวาดขึ้นคู่กัน ใช้นางแบบคนเดียวกัน แถมนางแบบยังแต่งตัวคล้ายกัน สวมต่างหูมุกขนาดใหญ่ ใส่ชุดสีน้ำเงินขาว มีหมวกเหนือศีรษะเป็นจุดเด่น ที่ด้านหลังของภาพยังประดับด้วยพรมแขวนในโทนสีแบบเดียวกัน

อย่างไรก็ดีเมื่อใช้การตรวจสอบด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่ นักวิจัยกลับพบว่าเทคนิคในการวาด Girl with the Red Hat มาจากศิลปินที่มีฝีแปรงละเอียดอ่อนแต่คล่องแคล่ว ในขณะที่ Girl with a Flute มาจากศิลปินที่มีฝีแปรงหยาบกว่าแลดูเงอะงะ เหมือนเด็กฝึกหัดมากกว่าจิตรกรชั้นครู นอกจากนี้ยังพบขนแปรงติดอยู่ในบางชั้นสี แสดงให้เห็นว่าศิลปินคนนี้น่าจะใช้แปรงเก่าหรือแปรงที่ไม่ได้คุณภาพ

บริเวณพื้นผิวสีฟ้าพบรอยแตกของสีซึ่งเป็นผลมาจากการที่สีชั้นบนแห่งก่อนสีชั้นล่าง คาดว่าเขายังผสมสีไม่เก่งจึงทำให้เกิดข้อผิดพลาด สีขาวในภาพมีร่องรอยการผสมน้ำมันที่มาเกินไป เมื่อชั้นสีแห้งจึงเกิดเป็นรอยย่น นั่นทำให้ศิลปินคนเดียวกันจำเป็นต้องขูดส่วนที่ย่นออกก่อนลงสีชั้นสุดท้าย ทั้งหมดทำให้นักวิจัยสรุปแบบสั้นๆ ศิลปินเจ้าของผลงานเข้าใจเทคนิคของเฟอร์เมียร์เป็นอย่างดี แต่ยังอ่อนหัด จึงไม่สามารถสร้างงานที่ละเอียดเทียบเท่าต้นฉบับได้

แล้วใครกันที่เข้าใจเทคนิคของเฟอร์เมียร์ได้ดีในระดับนี้? เรื่องนี้ยังคงเป็นปริศนาที่ต้องศึกษากันต่อ นักวิจัยคาดว่าศิลปินผู้นี้อาจเป็นนักเรียนศิลปะที่ใช้ภาพ Girl with the Red Hat เป็นแรงบันดาลใจในการฝึกฝน (ภาพ Girl with the Red Hat วาดขึ้นก่อน วัดค่าอายุอยู่ที่ราวปี 1669 ส่วนภาพ Girl with a Flute วาดขึ้นราวปี 1669-1675) แต่เนื่องจากสารประกอบในทั้งสองมีวัสดุบางอย่างที่คล้ายกัน จึงไม่อาจตัดข้อสันนิษฐานที่ว่าศิลปินผู้นี้เคยเข้ามา และอาจวาดภาพในสตูดิโอของเฟอร์เมียร์

หากนั่นเป็นเรื่องจริง การค้นพบนี้จะเปลี่ยนโฉมหน้าของประวัติศาสตร์ เป็นที่เชื่อกันมานานว่าเฟอร์เมียร์ทำงานคนเดียว ไม่เคยรับศิษย์และไม่มีผู้สืบทอด หากศิลปินผู้นี้เคยฝึกงานหรือกำลังเรียนรู้วิธีการวาดภาพจากเฟอร์เมียร์จริง ทั้งสองจะมีความสัมพันธ์เป็นอย่างไร และในเมื่อตัวเขาสามารถเข้าใจเอกลักษณ์ในงานของจิตรกรชั้นครูได้ในระดับนี้ ทำไมอยู่ดีๆ ถึงหายตัวไปจากวงการศิลปะ?

“ศิลปินท่านนี้รู้ความลับในการสร้างสรรค์งานของเฟอร์เมียร์ เขาใช้วัสดุคล้ายกันในวิธีการที่เหมือนกันเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหาความแตกต่างจากการชมผลงานสำเร็จด้วยตาเปล่าเพียงอย่างเดียว” มาจอรี ไวซ์แมน หัวหน้าทีมวิจัยของ National Gallery of Art กล่าว เป็นไปได้เหมือนกันที่ภาพนี้ถูกวาดไว้ก่อนโดยเฟอร์เมียร์ แต่เจ้าตัวเสียชีวิตไปจึงมีผู้เข้ามาสานต่อ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ศิลปินปริศนาก็น่าจะมีความใกล้ชัดกับเฟอร์เมียร์เป็นอย่างมาก

Photo: Girl with a Flute (ภาพซ้าย) กับ Girl with the Red Hat (ภาพขวา) ปัจจุบัน National Gallery of Art กล่าวว่าภาพ Girl with the Red Hat เป็นผลงานของโยฮันเนส เฟอร์เมียร์ แต่ภาพ Girl with a Flute ให้เครดิตว่ามาจาก Studio of Johannes Vermeer

References:

National Gallery confirms one of its Vermeers is actually not a Vermeer https://www.washingtonpost.com/.../vermeer-national.../...

A Vermeer? It’s Actually an Imitator, National Gallery of Art Reveals. https://www.nytimes.com/.../vermeer-impostor-national...

Girl with the Red Hat , c. 1669 https://www.nga.gov/collection/art-object-page.60.html

Girl with a Flute , c. 1669/1675 https://www.nga.gov/collection/art-object-page.1237.html

 

ภาพวาดที่ถูกทำลายในระหว่างการปฏิวัติ สตรีผู้เป็นที่เกลียดชังของประชาชน

ในระหว่างการปฏิวัติรัสเซียช่วงเดือนตุลาคม 1917 (หรือเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสากล) พระราชวังฤดูหนาว ที่ประทับยาวนานของราชวงศ์โรมานอฟถูกรื้อค้นทำลายโดยคณะปฏิวัติ หนึ่งในห้องที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักคือห้องทรงงานของซารีน่าอเล็กซานดร้า - พระมเหสีของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 หากเรามองภาพนี้ให้ดี จะพบว่ามีภาพของบุคคลผู้หนึ่งถูกปลดลงเพื่อทำลายโดยตั้งใจ ในขณะที่ภาพอื่นยังถูกแขวนไว้ในสภาพเดิม

ภาพที่ว่านี้คณะปฏิวัติเข้าใจว่าเป็นภาพเหมือนของซารีน่าอเล็กซานดร้า แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นภาพเหมือนของเจ้าหญิงอลิซแห่งสหราชอาณาจัก พระธิดาองค์รองของควีนวิกตอเรียและพระมารดาผู้ล่วงลับของซารีน่าอเล็กซานดร้า ข้างกันของภาพเจ้าหญิงอลิซที่ถูกปลดลง มีภาพของบุรุษอีกคนคือหลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุกแห่งเฮสส์และไรน์ (พระบิดาของซารีน่า) ภาพนี้ยังอยู่ที่เก่าคงเพราะคณะปฏิวัติไม่คุ้นหน้า และไม่รู้ว่าบุคคลผู้นี้มีความสำคัญอย่างไร

ในตอนที่ที่อเล็กซานดร้าสมรสมารัสเซีย พระบิดาและพระมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วทั้งคู่ ภาพเหมือนของทั้งสองจึงเป็นเหมือนของดูต่างหน้าแทนครอบครัว ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมภาพเหมือนของเจ้าหญิงอลิซ (ที่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอเล็กซานดร้า) ต้องถูกทำลายลงอย่างจงใจ เป็นเพราะซารีน่าพระองค์นี้ไม่เป็นทิ่นิยมและกลายเป็นเป้าเกลียดชังของประชาชนมาอย่างยาวนาน

นิโคลัส นิโคลสัน เจ้าของผลงานหนังสือ “The Romanov Royal Martyrs: What Silence Could Not Conceal” กล่าวถึงบุคลิกของซารืน่าอเล็กซานดร้าในหนังสือของเขาว่า “เป็นตัวของตัวเองอย่างมากและไม่คิดปรับเปลี่ยนเพื่อเรียกกระแสความนิยม หลายคนอาจมองว่าพระองค์เป็นคนอมทุกข์และเย็นชา”

อเล็กซานดร้าไม่เป็นที่นิยมในราชสำนักเนื่องจากพระองค์ขี้อายและเก็บตัว ทรงไม่สามารถกล่าวภาษาฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษาสำคัญของราชสำนักได้อย่างแตกฉาน แม้แต่ภาษารัสเซียก็ทรงตรัสไม่ชัด มีสำเนียงเยอรมันมากเกินไป พระนางมาเรีย เฟโอโดรอฟนา - พระมารดาของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 มองว่าสะใภ้คนนี้ไม่ยอมปรับตัวและไม่รู้จักผูกมิตร อเล็กซานดร้าไม่คบหาสตรีชั้นสูงที่มีข่าวฉาว ตัดชื่อพวกเขาออกจากงานสำคัญซึ่งทำให้หลายคนมองว่าทรงหยาบคายและเย็นชา

อเล็กซานดร้าไม่คิดจะสร้างความนิยมในหมู่ประชาชนด้วยเช่นกัน เนื่องจาพะรองค์เชื่อว่าสถาบันกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องได้รับการ ‘อนุญาต’ จากประชาชนให้มีอยู่ ฐานะของพวกเขาเป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานให้มา แนวคิดนี้ถือว่าตรงกันข้ามกับแม่สามีที่ทุ่มเท่อย่างหนักเพื่อให้ราชวงศ์ได้รับความนิยมจากประชาชน (ในยุคที่มาเรีย เฟโอโดรอฟนาเป็นซารีน่า ทรงได้รับความนิยมมากกว่าพระสวามีที่เป็นพระเจ้าซาร์เสียอีก)

สิ่งที่อเล็กซานดร้าให้ความสำคัญมากที่สุด คือบทบาทของพระองค์ในฐานะแม่และภรรยา ทรงมีความตั้งใจจะมอบทายาทชายที่แข็งแรงให้ราชวงศ์ แต่เมื่อทรงคลอดพระธิดาถึง 4 พระองค์ ประชาชนก็เริ่มทนไม่ไหว มองว่าสตรีคนนี้ไม่ได้รับพรจากพระผู้เป็นเจ้าและเป็นลางร้าย ภายหลังเมื่อทรงคลอดพระโอรส เด็กชายก็ป่วยเป็นโรคเลือดไหลไม่หยุด (ฮีโมฟีเลีย) ที่พระองค์เป็นพาหะ เรื่องนี้จะหลุดรอดไปสู่ภายนอกไม่ได้ ดังนั้นเมื่อชายปริศนาอย่างรัสปูตินปรากฏตัวขึ้นมา และยังเดินทางเข้าออกวังอย่างไม่มีเหตุผล ประชาชนส่วนหนึ่งจึงมองว่านักบวชประหลาดผู้นี้คงเป็นชู้รักของซารีน่า

ความเกลียดชังที่ประชาชนมีต่อซารีน่ายิ่งพุ่งสูงขึ้นเมื่อรัสเซียเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวรัสเซียเกลียดชังเยอรมันที่เป็นศัตรู พาลเกลียดสายเลือดของซารีน่าซึ่งมีพื้นเพมาจากเยอรมัน (บิดาของอเล็กซานดร้าเป็นเจ้านายเยอรมัน พี่ชายของพระองค์รบให้ฝั่งไกเซอร์) ข่าวลือที่ว่าซารีน่าเป็นสายลับของไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 และความพ่ายแพ้ที่แนวหน้าของรัสเซียเป็นเพราะซารีน่าคอยลอบส่งข่าวให้ กลายเป็นคำพูดทั่วไปที่ถูกกล่าวถึงอย่างหนาหู

เมื่อพระเจ้าซาร์เดินทางไปแนวหน้าเพื่อดูแลการรบ อเล็กซานดร้าสนับสนุนให้พระองค์ควบรวมอำนาจไว้กับศูนย์กลาง ภายหลังเมื่อพระเจ้าซาร์ตั้งพระมเหสีเป็นผู้สำเร็จราชการ การบริหารงานของซารีน่าก็สร้างความไม่พอใจให้กับหลายภาคส่วนเนื่องจากทรงปลดรัฐมนตรีตามคำแนะนำของรัสปูติน ผลของเหตุการณ์นี้ยิ่งซ้ำเติมแนวคิดที่ว่าซารีน่าพยายามบ่อนทำลายรัสเซียจากภายใน ภาวะสงครามทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและเงินเฟ้อ ประชาชนที่ออกมาประท้วงกลับถูกปราบปรามอย่างรุนแรงกลายเป็นการสุมไฟให้เกิดการปฏิวัติ

ภายหลังเมื่อพระเจ้าซาร์ประกาศสละราชสมบัติ รัฐบาลเฉพาะกาลได้ทำการสอบถามซารีน่าเกียวกับข่าวลือที่ว่าพระองค์สมคบคิดกับเยอรมัน อเล็กซานดร้าปฏิเสธทุกข้อหา ทรงกล่าวว่าทุกการตัดสินใจได้แจ้งให้พระเจ้าซาร์ทราบก่อนทั้งหมด ในช่วงเวลาที่ว่านี้ ชะตากรรมของราชวงศ์โรมานอฟยังอยู่ในเครื่องหมายคำถาม

นักสังคมนิยมสายกลางก็ยังมองว่ารัสเซียไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงถึงโครงสร้างสังคม แค่ปฏิรูปการเมืองกับเศรฐกิจก็น่าจะพอ ผู้ที่มีความเห็นเช่นนี้ มองภาพรัสเซียว่าต่อไปจะกลายเป็นสหรัฐอเมริกาที่มีประธานาธิบดี หรืออย่างดีก็กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลเฉพาะกาล มีแนวคิดปรองดองกับกลุ่มอำนาจเก่า พยายามประสานประโยชน์ให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

อย่างไรก็ดีบอลเชวิคซึ่งเป็นกลุ่มแนวคิดสังคมนิยมซ้ายจัดไม่เห็นด้วย เลนิน – ผู้นำฝ่ายบอลเชวิคมีแนวคิดเด็ดขาด กล่าวว่าการปรองดองนั้นทำไม่ได้ เพราะหากอำนาจยังอยู่กับชนชั้นนำ แม้จะมีการปกครองแบบรัฐบาลเสรี ชนชั้นล่างอย่างคนงานและชาวนาที่เป็นประชากรกลุ่มใหญ่กว่า 80% ก็จะถูกกันออกไปจากอำนาจการบริหารประเทศอยู่ดี นี่เท่ากับว่าประเทศยังถูกถือครองโดยคนกลุ่มเดิมแต่เปลี่ยนชื่อใหม่

ที่น่าสนใจมากไปกว่า คือรัฐบาลเฉพาะกาลแม้ขึ้นมากุมอำนาจ แต่ก็ไม่มีทีท่าจะพารัสเซียออกจากสงครามโลกสักที มีความขัดแย้งในกลุ่มรัฐบาล มองว่าการถอนตัวจากสงครามจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะพระเจ้าซาร์เคยทำข้อตกลงไว้ ห้ามไม่ให้เจรจาสงบศึกกับเยอรมันโดยไม่ผ่านการตกลงกันในหมู่ชาติสัมพันธมิตร

เลนินเสนอให้บอลเชวิคทำการปฏิวัติครั้งที่สอง คือการปฏิวัติเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ภาพถ่ายนี้ถูกบันทึก เป้าหมายเพื่อคืนอำนาจปกครองให้สภาโซเวียต เขายังต้องการนำรัสเซียออกจากสงครามในทันทีโดยไม่มีการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามและไม่มีการยึดครองดินแดน

จอห์น รีด นักข่าวสงครามชาวอเมริกันผู้มีโอกาสเข้าไปสังเกตการณ์ระหว่างการปฏิวัติรัสเซียในช่วงเดือนตุลาคม 1917 (หรือเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสากล) บรรยายเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านว่า โรงหนัง โรงอุปรากรยังคงเปิดให้บริการเช่นเดิมในทุกคืน ร้านอาหารเปิดทำการ ผู้คนเดินบนถนนเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อมีเสียงปืนดังขึ้นเมื่อไหร่ ทุกคนจะหยุด มอบลงกับพื้น เมื่อแน่ใจว่าไม่มีอะไรก็จะลุกขึ้นปัดฝุ่นบนชุดแล้วเดินต่อ รีดได้เข้าชมโอเปร่าในโรงละครหรูหรา เขายังเห็นว่านักเรียนนายร้อยมหาดเล็กยังคงแต่งชุดเครื่องแบบวาววับสีทอง หันไปทำความเคารพให้ที่นั่งของราชวงศ์ที่บัดนี้วางลง นั่นแสดงให้เห็นว่าชนชั้นกลางและชนชั้นสูงจำนวนมาก ยังคงสนับสนุนระบบอำนาจเก่า

เมื่อการปฏิวัติเดือนตุลาประสบผลสำเร็จ ชะตากรรมของราชวงศ์โรมานอฟจึงตกอยู่ใต้การตัดสินใจของพรรคบอลเชวิก ในวันที่ 27 เมษายน 1918 คณะปฎิวัติมีคำสั่งให้เตรียมเคลียร์บ้านอีปาเตียฟให้ว่างภายในสองวัน รั้วไม้สูงเด่นถูกสร้างขึ้นรอบบ้านถึงสองชั้น ความสูงของมันมากพอจะบดบังทัศนียภาพทั้งหมดที่สามารถเห็นได้จากหน้าต่างทุกบาน แม้แต่หน้าต่างบานที่สูงที่สุด มีการติดตั้งปืนกลบนสิ่งก่อสร้างรอบๆ บ้าน ประตูเข้าออกถูกปิดตายเหลือแค่ทางเดียวโดยจัดให้มีเวรยามคุ้มกันแน่นหนา ด้านในบ้านมีจุดตรวจความปลอดภัยหนึ่งจุด รอบตัวบ้านมีอีกแปดจุด ทั้งหมดนี้เพื่อรอต้อนรับการเสด็จมาประทับของ “ครอบครัวพระเจ้าซาร์” หรือที่เรียกกันในตอนนั้นว่า “พลเมืองโรมานอฟ” “Citizen Romanov”

ชะตากรรมของราชวงศ์โรมานอฟต่อจากนี้ เป็นไปดังที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ แม้ว่าความล้มเหลวของราชวงศ์โรมานอฟจะมาจากหลายปัจจัย แต่ในช่วงเวลาที่ความโกรธเคืองของประชาชนปะทุสูงสุด บุคคลที่อยู่บนจุดสูงสุดของอำนาจย่อมต้องกลายเป็นผู้รับผิดชอบ เรื่องราวของอเล็กซานดร้า ซารีน่าพระองค์สุดท้าย คือหนึงในนั้น แต่คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้? แชร์ให้เราฟังได้ในกล่องข้อความ

หมายเหตุ: แอดไม่แน่ใจว่าภาพวาดที่หามาใช้ภาพเดียวกันกับที่ถูกทำลายหรือเปล่า แต่เป็นภาพของเจ้าหญิงอลิซที่ถูกเก็บไว้ที่อังกฤษ เป็นภาพวาดที่กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 เก็บไว้ดูต่างหน้าน้องสาวหลังเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ไปแล้วตอนอายุแค่ 35 ปี

References:

สิบวันเขย่าโลก: Ten Days That Shook the World โดยจอห์น รีด แปลโดย สุทิน วรรณบวร สำนักพิมพ์แสงดาว

Tsarina Alexandra: The Unintentional Contribution to the Fall of Imperial Russia https://stmuscholars.org/tsarina-alexandra-the.../

The fate of Anna Kuzminykh, a servant in the Ipatiev House https://tsarnicholas.org/category/ipatiev-house/...

Photo credit https://www.instagram.com/p/CipniFSr_Z9/

     

    คุยก่อนชม The Crown Season 5 มีประเด็นน่าสนใจอะไรบ้าง

    วันนี้เราจะได้ดูซีซั่นใหม่ของ The Crown แล้วนะคะ คิดว่ามีลูกเพจหลายท่านกำลังรอเลิกงานวันนี้ (แอดมินก็เช่นกัน) จากที่ตามอ่านกระแสของซีซั่นใหม่มีประเด็นน่าสนใจเยอะเหมือนกันค่ะ ส่วนมากจะเป็นความกังวลที่ว่ายิ่งช่วงเวลาใกล้ปัจจุบันเข้าเท่าไหร่ ผู้ชมก็จะยิ่งแยกเรื่องจริงจากเรื่องแต่งได้ยากเท่านั้น ก่อนหน้านี้จูดี เดนช์ นักแสดงชื่อดังชาวอังกฤษเคยเสนอให้ Netflix ใส่ข้อความระบุว่าเรื่องราวในซีรีส์ไม่ใช่เรื่องจริง (this-is-not-true disclaimer) ในทุกๆ ตอนก่อนเริ่มเรื่อง ท้ายที่สุดเหมือนว่า Netflix จะตัดสินใจจัด The Crown เป็น fictional dramatization แต่ไม่ได้มีการระบุข้อความในทุกตอน (ใครที่ชมแล้วเห็นเป็นแบบไหนมาแชร์กันได้นะคะ)

    เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่น่าจับตา มันเกิดจากว่าซีรีส์ดันมาออกฉายในช่วงเวลาที่ค่อนข้างเปราะบางพอดี นอกจากกษัตริย์ชาร์ลที่ 3 เพิ่งขึ้นครองราชย์ ตัวละครหลักในซีรีส์อย่างควีนเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิปก็เพิ่งสวรรคต/สิ้นพระชนม์ไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ทีมมาร์เก็ตติ้งราชวงศ์คงปวดหัวกันน่าดู กว่าจะปั้นมาขนาดนี้ จะให้มาพังเพราะซีรีส์ก็คงไม่ได้ เราเลยเห็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ออกมาตั้งแต่ก่อนซีรีส์จะฉาย คล้ายจะเป็นการจำกัดความเสี่ยงเพื่อให้คนดูมีสติไว้ก่อนว่าทั้งหมดที่คุณเห็นอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป

    ประเด็นน่าถกเถียงในซีซั่น 5 ยกตัวอย่างเช่น

    -เจ้าฟ้าชายชาร์ลปรึกษากับจอห์น เมเจอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กดดันให้ควีนเอลิซาเบธที่ 2 สละราชสมบัติ เรื่องนี้เซอร์จอห์นออกมาพูดเองว่าไม่จริง เป็นเรื่อง “ไร้สาระทั้งเพ” เพราะถ้าเจ้าชายรัชทายาทคิดทำแบบนี้เท่ากับท่านเป็นกบฏ แล้วจะทำให้กษัตริย์พระองค์ใหม่ดูเป็นคนแบบไหนถึงคิดล้มบัลลังก์แม่?

    -เจ้าฟ้าชายชาร์ลคุยกับโทนี่ แบลร์ ขอให้นายกรัฐมนตรีช่วยให้พระองค์ได้สมรสกับคามิลล่า หลังจากหย่ากับเจ้าหญิงไดอาน่า ประเด็นนี้โฆษกของโทนี่ แบลร์ ก็ออกมาพูดก่อนซีรีส์จะออกฉายว่า “ไม่เป็นความจริง” (โทนี่ แบลร์เป็นนายกคนต่อจากจอห์น เมเจอร์)

    -การหย่าร้างของลูกๆ ทั้งสามคนคือเจ้าฟ้าชายชาร์ล เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ และเจ้าชายแอนดรูว์ ถือเป็นข่าวฉาวที่ทำให้ยุค 90s กลายเป็นปีแห่งหายนะ (annus horibilis) อย่างแท้จริง ควีนเอลิซาเบธเคยกล่าวว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ทรงไม่อยากนึกถึงเท่าไหร่

    -การแย่งพื้นที่สื่อและเสียงสนับสนุนระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลและเจ้าหญิงไดอาน่า และบทบาทของคามิลล่า (ราชินีคนปัจจุบัน) ในฐานะมือที่สาม โดยเฉพาะการที่คามิลล่าได้มาเป็นราชินีเต็มตัว (จากที่เคยตกลงไว้ว่าจะเป็นแค่เจ้าหญิงพระชายา) รวมไปถึงบทสัมภาษณ์ของเจ้าหญิงไดอาน่าที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง เจ้าชายวิลเลียมเคยกล่าวว่าทรงไม่ต้องการให้บทสัมภาษณ์ของพระมารดากลับออกมาฉายอีก แต่ดูเหมือนประเด็นนี้จะถูกหยิบมานำเสนอในซีรีส์

    -เจ้าหญิงไดอาน่าในฐานะตัวละครหลักประจำซีซั่น ความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับราชินีที่ในตอนนี้อยู่ในวัย 60 กว่า กลายเป็นตัวแทนจากโลกเก่าและความล้าสมัย ไดอาน่าเฉิดฉายแย่งแสงไฟเกินหน้าเกินตาสมาชิกราชวงศ์คนอื่น เราอาจได้เห็นประเด็นขัดแย้งระหว่างเจ้าฟ้าหญิงแอนน์ที่ทรงงานหนักแต่ไม่มีคนสนใจ กับไดอาน่าที่แต่งตัวสวยออกงานแต่สื่อให้ความสำคัญมากกว่า

    -คนรักของเจ้าชายฟิลิป ในซีซั่นก่อนๆ The Crown ได้ทิ้งข้อสังเกตว่าเจ้าชายฟิลิปเป็นสามีที่ออกนอกลู่นอกทางอยู่บ้าง เช่นฉากที่ควีนเอลิซาเบธประชดถึงนักเต้นบัลเลต์ที่เจ้าชายฟิลิปเคยติดพัน ในซีซั่นนี้เราน่าจะได้เห็นความสัมพันธ์ของเจ้าชายฟิลิปกับเพเนโลพี แคนเชบูลล์ เคานต์เตสที่ 3 เมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า เพเนโลพีคนนี้เป็นหลานสะใภ้ของลอร์ดเมานต์แบ็ตเทน (น้าชายของเจ้าชายฟิลิปซึ่งถูกลอบสังหารไปในซีซั่นก่อน) เธอมีอายุน้อยกว่าเจ้าชายฟิลิปราวสามสิบกว่าปี สองคนนี้สนิทกันมากแต่ไม่เคยมีการยืนยันว่าทั้งสองคบหาแบบคนรัก เพเนโลพีเป็นหนึ่งในแขก 30 คนที่ได้รับเชิญให้มาร่วมงานศพของเจ้าชายฟิลิปเมื่อเดือนเมษายน 2021

    -เหตุไฟไหม้พระราชวังวินเซอร์ในปี 1992 สร้างความสะเทือนใจให้ราชวงศ์และประชาชนชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก นำไปสู่สปีชที่น่าสะเทือนใจของราชินีที่ London’s Guildhall

    อย่างไรก็ดี แอดว่าเรามาดู The Crown ซีซั่นนี้ให้สนุกดีกว่าค่ะ ส่วนประเด็นที่ว่าส่วนไหนจริง ส่วนไหนแต่ง ไว้เดี๋ยวเราค่อยมาแลกเปลี่ยนกันในเพจ ถ้าลูกเพจท่านไหนเริ่มดูไปก่อน มีประเด็นอะไรที่อยากให้แอดมินหยิบมาพูดคุยกันสามารถเสนอเข้ามาได้นะคะ แอดว่าอาจจะได้เริ่มดูช่วงสุดสัปดาห์นี้ แล้วเดี๋ยวบทความวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์จะมาช่วงสัปดาห์หน้าเป็นต้นไปค่ะ

    References:

    A Low Point for the Monarchy, in a New Season of ‘The Crown’ https://www.nytimes.com/.../the-crown-season-5-monarchy...

    10 Reasons the Royal Family is Worried About The Crown Season 5 https://www.youtube.com/watch?v=2Umnop__O2g

    “เดอะคราวน์” ซีซัน 5 ยากแยกแยะ อันไหนเรื่องจริง-เรื่องแต่ง https://www.bbc.com/thai/international-63538664...

     

    ชุดสีบานเย็นของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต บทสดุดีต่อความรักที่ไม่อาจหวนคืน
    กลับไปเจอคนรักเก่าหลังไม่ได้ติดต่อกันนานกว่า 30 ปี ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์นี้จะเลือกทำตัวอย่างไร ชุดแบบไหนที่คุณจะสวมใส่เพื่อกลับไปเจอรักแรก? “ถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่ห้าวหาญและแข็งแกร่งแบบเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตและเจ้าหญิงไดอาน่า คุณจะชิงลงมือในทันที และคิดว่า ‘ฉันจะใส่เสื้อผ้าสีสดใสที่สุดที่มีในตู้เสื้อผ้า ก็เพราะว่าฉันไม่สนใจว่าใครจะคิดอย่างไร’ ”
    เอมี่ โรเบิร์ต คอสตูมดีไซเนอร์ของ The Crown กล่าวถึงชุดสีชมพูบานเย็นที่เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตเลือกสวมไปงานเลี้ยงครั้งสำคัญเพื่อพบคนรักเก่า - ปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ โรเบิร์ตกล่าวว่าทีมงานได้ออกแบบชุดของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตในฉากนี้ โดยใช้แนวคิดที่ต้องการให้ชุดแสดงจุดยืนของผู้สวมใส่ในแบบเดียวกันกับชุดแก้แค้น (Revenge Dress) ของเจ้าหญิงไดอาน่า
    หลังเจ้าฟ้าชายชาร์ลออกมายอมรับกับทั้งโลกว่าทรงไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตสมรส ไดอาน่าเลือกที่จะบอกทั้งโลกว่าพระองค์จะก้าวต่อไปในฐานะผู้หญิงที่เข้มแข็งและเป็นอิสระ ชุดสีดำตัวสั้นของพระองค์เป็นทุกอย่างที่ตรงกันข้ามกับชุดแต่งงานสีขาว คล้ายจะกล่าวว่าไดอาน่าได้ข้ามผ่านจากการเป็นสตรีน่ารัก ไม้ประดับของราชวงศ์ สู่การเป็นคนใหม่ที่จะทำเพื่อความสุขของตัวเอง ในขณะที่เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตเลือกจะกลับไปเผชิญหน้ากับแผลใจด้วยชุดสีสดใส แทนข้อความว่าพระองค์ไม่สนข่าวนินทา และอยากจะให้ทุกคนรู้ว่าพระองค์อยู่ตรงนี้
    “มันช่างอ่อนโยนและจับหัวใจ วิธีที่พวกเขามองกันและกัน ความทรงจำ ความรัก อารมณ์ความรู้สึกมากมายคล้ายจะถูกปลุกขึ้นมา ทั้งสองมองเห็นอีกฝ่ายเหมือนที่เคยเห็นในวัยเยาว์” เลสลีย์ แมนวิลล์ นักแสดงผู้รับบทเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตใน The Crown ซีซั่นล่าสุด กล่าวถึงฉากที่มาร์กาเร็ตได้กลับมาพบคนรักอีกครั้งหลังไม่ติดต่อกันมานานหลายสิบปี “พวกเขามีช่วงเวลาดีๆ มาร์กาเร็ตกระฉับกระเฉงเหมือนเก่า เธอร้องเพลง เต้นรำ ปล่อยมุกตลก และเขาก็ได้เห็นมาร์กาเร็ตอย่างที่เธอเป็น เฝ้านึกถึงอีกหนึ่งชีวิตที่สูญเสียไปหากได้มีเธออยู่ข้างกาย”
    การกลับมาพบกันอีกครั้งของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต และปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ เป็นฉากหนึ่งที่ตราตรึงใจ นอกจากจะทำให้นึกถึงการเสียสละของบุคคลทั้งสอง ยังทำให้ผู้ชมได้นึกย้อนไปถึงซีซั่นก่อนๆ ที่คนทั้งสองเคยตกหลุมรักและแตกหักจากชีวิตที่เคยนึกฝัน
    ในความเป็นจริงเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตและปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ได้กลับมาพบกันจริงในช่วงสุดท้ายก่อนฝ่ายชายจะเสียชีวิต แต่การพบกันของคนทั้งสองเรียบง่ายและเป็นส่วนตัวมากกว่า เพราะเป็นการทานมื้อกลางวันที่พระราชวังเคนซิงตันในปี 1992 (ปีเตอร์เสียชีวิตในอีก 3 ปีต่อมา)
    หนังสือ Princess Margaret: A Life Unraveled โดยทิม ฮิลด์ กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า เจ้าหญิงกับคนรักเก่าพูดคุยกันอย่างเงียบๆ และสนิทสนม บนโต๊ะอาหารมีเพื่อนเก่าแก่ของทั้งสองคนนั่งอยู่ด้วย
    ในขณะที่หนังสือเรื่อง Princess Margaret: A Life of Contrasts ของคริสโตเฟอร์ วอร์ริก กล่าวว่าปีเตอร์และเจ้าหญิงลงไปเดินเล่นในสวนหลังรับประทานอาหารกลางวัน เมื่อปีเตอร์ขับรถออกไป เจ้าหญิงก็โบกผ้าเช็ดหน้าแทนการบอกลา จากนั้นเจ้าหญิงกลับเข้าห้อง กล่าวกับเลขาส่วนพระองค์ “เขายังเหมือนเดิมทุกอย่าง แค่ผมหงอกขึ้นเท่านั้น”
    แอนน์ เกล็นคอนเนอร์ เพื่อนเก่าของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต ให้สัมภาษณ์ในปี 2018 กล่าวว่าเธออยู่ที่พระราชวังเคนซิงตันในวันที่ปีเตอร์เดินทางมา เพียงแต่ว่าไม่ได้ร่วมโต๊ะอาหารกับเขา “ทั้งสองไม่ได้เจอกันมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950s หลังปีเตอร์กลับไป ข้าพเจ้าถามเจ้าหญิงว่าการพบกันเป็นอย่างไร ทรงตรัสว่าเขาไม่เปลี่ยนไปเลยแม้แต่น้อย” ไม่มีบันทึกที่ยืนยันว่าทั้งสองได้พบกันอีกหลังจากนี้
    “ข้าพเจ้าขอประกาศให้ท่านทั้งหลายทราบโดยทั่วกันว่า…ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจที่จะไม่แต่งงานกับกัปตัน ปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ เพื่อความถูกต้องแห่งกฎของพระศาสนาและด้วยภาระหน้าที่ที่ข้าพเจ้ามีต่อสหราชอาณาจักรที่ต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด” แถลงการณ์ของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตกล่าวไว้เช่นนี้ในปี 1995 คริสโตเฟอร์ วอร์ริก เจ้าของผลงานหนังสือ Princess Margaret: A Life of Contrasts ให้ความเห็นว่าความรักของคนทั้งสองจืดจางลงหลังปีเตอร์ถูกส่งไปประจำการที่บรัสเซลส์เป็นเวลานานถึงสองปี เคธี นิโคล ผู้สื่อข่าวราชสำนักประจำนิตยสาร Vanity Fair กล่าวว่าเสี้ยวหนึ่งในจิตใจของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตอาจนึกเสียใจและกล่าวโทษพี่สาวที่ไม่อนุญาตให้พระองค์ได้สมรสตามต้องการ
    หนึ่งในเหตุผลที่ความประสงค์ของเจ้าหญิงถูกต่อต้าน อาจมาจากกระแสสังคมในแง่ลบต่อการแต่งงานของอดีตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 กับวอลลิส ซิมป์สัน ที่ยังคุกรุ่นอยู่ในช่วงเวลานั้น แต่หากมาร์กาเร็ตเกิดช้ากว่านี้สัก 30 ปี บทสรุปของความรักครั้งนี้จะเป็นแบบไหน นั่นคือสิ่งที่ The Crown ได้ฝากเอาไว้ให้ผู้ชมได้ลองคิด
    ในซีรีส์ The Crown การกลับมาพบกันของทั้งสองถูกบอกเล่าผ่านฉากงานเต้นรำที่แสดงให้เห็นคาแรคเตอร์ที่เปี่ยมไปด้วยสีสันของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต การได้เห็นพระองค์กลับมาเปล่งประกายอีกครั้ง ราวกับว่ากาลเวลาไม่อาจทำร้ายสตรีผู้องอาจพระองค์นี้ ในนาทีสุดท้ายก่อนค่ำคืนจะจบลง ปีเตอร์ได้กล่าวว่าตัวเขาต้องการคืนจดหมายทั้งหมดให้ฝ่ายหญิง เนื่องจากตัวเองเหลือเวลาไม่มากและไม่ต้องการให้ข้อความส่วนตัวตกอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี คำถามที่ปีเตอร์ได้ทิ้งไว้ในตอนท้าย อยากทราบว่าความรักในวัยเยาว์เป็นของจริงหรือไม่? คำตอบอาจได้รับการเฉลยไว้ในการกระทำของทั้งสอง
    สิ่งที่แอดอดชื่นชมไม่ได้ในความสัมพันธ์ของปีเตอร์และมาร์กาเร็ต คือการตัดสินใจที่เด็ดขาด หลังจบความสัมพันธ์ ทั้งสองไม่ติดต่อหรือกลับมาสร้างรอยร้าวให้ชีวิตคู่ของอีกคน ปีเตอร์ไม่กล่าวโทษมาร์กาเร็ตที่ยอมสละความรัก เขากล่าวถึงเหตุการณ์นี้เพียงแค่ว่า “เจ้าหญิงคงแต่งงานกับผมถ้าเธอพร้อมจะสละทุกอย่าง ฐานันดรศักดิ์ เกียรติยศชื่อเสียง และความมั่งมี ผมรู้ตัวดีว่าไม่สามารถชดเชยในสิ่งที่เธอต้องสูญเสีย”
    ปีเตอร์ ทาวน์เซนด์เดินหน้า เขาแต่งงาน มีครอบครัวที่มีความสุข ในขณะที่เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต แม้จะไม่ประสบความสำเร็จนักกับชีวิตแต่งงาน แต่ปัจจัยของความร้าวฉานก็มาจากตัวของพระองค์กับพระสวามี ไม่ได้มีคนรักเก่ามาเป็นมือที่สาม
    แต่ทุกคนคิดอย่างไรกับฉากนี้ แวะมาแชร์กันได้ในกล่องข้อความค่ะ

    References:
    ‘It Was Important to Get That Right’: How ‘The Crown’ Tackled the Revenge Dress https://www.nytimes.com/.../the-crown-princess-diana...
    'The Crown' Season 5: Did Princess Margaret Reconnect With Peter Townsend? https://www.newsweek.com/crown-season-five-princess...
    Princess Margaret and Peter Townsend - the true story behind their 'forbidden love' https://www.radiotimes.com/.../the-true-story-of.../
    The Crown: Princess Margaret’s Real-Life Reunion With Peter Townsend and Fading Glamour https://www.vanityfair.com/.../princess-margaret-peter...

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    ชุดสีชมพูบานเย็นของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตซึ่งทีมงานคิดไว้ก่อนแล้ว อยากให้แสดงถึงตัวตนของพระองค์

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    พอดูฉากนี้ก็พาคิดถึงเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตในซีซั่นก่อนๆ คิดถึง Vanessa Kirby นักแสดงที่รับบทเจ้าหญิงในซีซั่นแรกๆ

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    ข่าวการเลิกราของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตกับปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ บางสำนักข่าวพาดหัวว่า ทรงเลือกหน้าที่เหนือความรัก เพราะแม้ปีเตอร์จะหย่าขาดจากภรรยา แต่การสมรสกับชายที่ผ่านการหย่าร้าง แต่ภรรยายังมีชีวิตอยู่ไม่ใช่สิ่งที่ราชวงศ์ให้การยอมรับในตอนนั้น

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    มาร์กาเร็ตกับปีเตอร์ในซีซั่นก่อนๆ ค่ะ Episode นี้นำฉากเก่าๆ กลับมา ชวนให้นึกถึงมาก

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตกับปีเตอร์ ทาวน์เซนด์ตัวจริง ชีวิตรักที่ไม่สมหวังกับคำถามที่ว่าหากเจ้าหญิงเลือกความรักเหนือหน้าที่ บทสรุปของทั้งสองจะเป็นอย่างไร

    พื้นที่ให้เล่า

     

    ลิลลี่ไข่มุก ของขวัญแต่งงานแด่แกรนด์ดัชเชสคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่สมรสกับราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
    โรมานอฟกับฮาพส์บวร์คเป็นสองราชวงศ์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและเคยผ่านช่วงยิ่งใหญ่มาแล้วทั้งคู่ แต่รู้หรือไม่ว่าทั้งสองบ้านแทบไม่เคยผูกมิตรผ่านการแต่งงาน และน่าจะมีเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ลูกสาวของพระเจ้าซาร์กับลูกชายของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ทำการสมรสเพื่อเชื่อมไมตรีด้วยเหตุผลที่สำคัญคือสองราชวงศ์ต้องการผนึกกำลังเพื่อต่อต้านอำนาจของจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส
    แกรนด์ดัชเชสอเล็กซานดร้า พาฟลอฟน่า เจ้าสาวของราชวงศ์โรมานอฟไม่เพียงเป็นลูกสาวคนโตของซาร์พอลที่ 1 แห่งรัสเซีย พระองค์ยังเป็นหลานสาวคนโปรดของพระนางแคทเธอรีนมหาราชินี อเล็กซานดร้าได้รับการบันทึกว่าเป็นคนตลก เฉลียวฉลาดแถมยังสวยมาก แคทเธอรีนมหาราชินีเคยจับคู่หลายสาวคนนี้กับกษัตริย์กุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟแห่งสวีเดน แต่การหมั้นหมายไม่ได้เกิดขึ้นจริงเพราะปัญหาด้านศาสนา ต่อมาเมื่อพระนางแคทเธอรีนสวรรคต ซาร์พอล์ที่ 1 ได้เจรจาการสมรสของลูกสาวต่อแต่ก็ล้มเหลว
    สามปีต่อมา พอลที่ 1 ได้รับข้อเสนอผูกมิตรจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ขอแกรนด์ดัชเชสไปเป็นพระชายาให้อาร์ชดยุกโจเซ็ฟแห่งออสเตรีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระอนุชาของฟรานซิสที่ 2 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ข้อเสนอค่อนข้างเอื้อเฟื้อ นอกจากอนุญาตให้แกรนด์ดัชเชสนับถือนิกายเดิม พระองค์ยังสามารถดำรงพระยศเป็น Her Imperial Highness Grand Duchess the Archduchess of Austria ถือว่าถูกใจฝั่งโรมานอฟที่มักมองว่าตำแหน่งแกรนด์ดัชเชสของตัวเองสูงส่งกว่าตำแหน่งเจ้าหญิงอื่นๆ ในยุโรป
    เมื่อเป็นที่แน่นอนว่าลูกสาวต้องสมรสไปออสเตรีย พอลที่ 1 ถึงขั้นหลั่งน้ำตาและกล่าวว่า “ข้าพเจ้าคงไม่ได้เห็นหน้าลูกอีก” และเพื่อไม่ให้ลูกสาวถูกดูถูกจากบ้านใหม่ พระองค์เบิกจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อหาซื้อเครื่องประดับที่งามที่สุดให้ลูกสาว ของขวัญชิ้นสำคัญที่สุดของพระเจ้าซาร์ คือดอกลิลลี่สีขาว สัญลักษณ์ของความสง่างาม สูงส่ง และบริสุทธิ์ แต่ดอกไม้จากพระบิดาไม่ใช่ดอกไม้ทั่วไป พระเจ้าซาร์ต้องการดอกไม้ที่บานไม่รู้โรย ดังนั้นจึงมีรับสั่งให้ทำดอกไม้ขึ้นจากทองคำและอัญมณี มีเงินและทองคำเป็นกิ่งก้าน ตัวดอกทำจากไข่มุก ประดับเพชร และเพริดอต
    มารีน่า โซโลนิสย่า นักเขียนและนักวิจารณ์ศิลปะชาวรัสเซียกล่าวว่าดอกลิลลี่สีขาวตามความเชื่อของรัสเซียเป็นสัญลักษณ์แทนความสมบูรณ์แบบ สื่อถึงความหวังและการหลุดพ้น เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระแม่มารี
    ดอกลิลลี่ของพระเจ้าซาร์เป็นดั่งคำอวยพรของพ่อต่อลูกสาว แต่ใครจะทราบว่าทรัพย์สินมากมายที่ลูกสาวพระเจ้าซาร์นำไปบ้านใหม่ กลายเป็นเชื้อไฟที่ทำให้พระนางมาเรีย เทเรซา – มเหสีของจักรพรรดิฟรานซิสที่ 2 รู้สึกอิจฉา (มาเรีย เทเรซาในที่นี้คือมาเรีย เทเรซาแห่งเนเปิลส์และซิซิลี) สั่งห้ามไม่ให้อเล็กซานดร้าใช้เครื่องเพชรจากรัสเซีย ต่อมาอเล็กซานดร้าแก้ปัญหาด้วยการประดับเสื้อผ้าและทรงผมด้วยดอกไม้สด ซึ่งทำให้พระองค์ยิ่งดูสวยงามน่ารักยิ่งกว่าเก่า
    อีกปัญหาที่ทำให้ชีวิตแต่งงานของอเล็กซานดร้าไม่มีความสุขนักคือความแตกต่างทางศาสนา แม้จะได้รับอนุญาตให้นับถือนิกายเดิม (คือนิกายรัสเซียออร์โธด็อกซ์) แต่การใช้ชีวิตในราชสำนักเวียนนาที่นับคือคาทอลิกอย่างเคร่งครัดทำให้พระองค์ตกเป็นเป้าของการนินทา อาร์ชดยุกโจเซ็ฟแห่งออสเตรีย แม้จะรักภรรยา แต่ก็ไม่เข้ามาปกป้องพระนางในเรื่องเหล่านี้
    ในปี 1801 หลังสมรสไปได้เพียงสองปี อเล็กซานดร้าให้กำเนิดลูกสาวคนแรก น่าเสียดายที่เด็กหญิงเสียชีวิตตั้งแต่ตอนคลอด เมื่อทราบข่าวเศร้า อเล็กซานดร้ากลับกล่าวว่าดีแล้วที่ลูกได้ไปอยู่บนสวรรค์ ดีกว่ามีชีวิตแสนเศร้าแบบเดียวกันกับพระองค์ แกรนด์ดัชเชสอเล็กซานดร้าสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นเพียง 8 วัน พระองค์เพิ่งมีอายุได้เพียง 17 ปี
    การสมรสของอเล็กซานดร้าจบลงในเวลาอันสั้นและไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใหญ่ให้เวทีการเมืองยุโรป หลังจากกรณีของอเล็กซานดร้า ราชวงศ์โรมานอฟไม่เคยส่งแกรนด์ดัชเชสไปสมรสกับราชวงศ์ฮาพส์บวร์คอีก นอกจากด้วยเหตุผลทางศาสนา ยังเป็นเพราะสองฝ่ายแย่งชิงความเป็นใหญ่ในคาบสมุทรบอลข่าน พื้นที่เจ้าปัญหาซึ่งต่อมาจะเป็นหนึ่งในปัจจัยซึ่งลุกลามไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
    หลังการสิ้นพระชนม์ของแกรนด์ดัชเชส เครื่องเพชรทั้งหมด ถูกส่งคืนให้ราชสำนักรัสเซีย หลังดอกลิลลี่เดินทางมาถึง ราชสำนักได้ทำแจกันแบบพิเศษเพิ่มเข้าไป แจกันที่ว่านี้ใช้เทคนิคแบบพิเศษ หากมองด้วยตาเปล่าจะเหมือนมีน้ำเติมอยู่ด้านใน แต่ถ้ามองจากด้านบนจะพบว่าภายในไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียว
    การทำดอกไม้อัญมณี เป็นอีกหนึ่งชิ้นงานที่ได้รับความนิยมมากในราชวงศ์โรมานอฟ ในภายหลังมีการสร้างชิ้นงานแบบนี้ขึ้นอีกหลายครั้ง แอดนำภาพอื่นๆ มาให้ชมกันในโพสต์นี้
    ปล แอดมินเข้าใจว่าแกรนด์ดัชเชสอเล็กซานดร้าน่าจะเป็นแกรนด์ดัชเชสท่านเดียวที่แต่งกับอาร์ชดยุกฮาพส์บวร์คนะคะ แต่ถ้าท่านอื่นทราบมากกว่านี้สามารถคอมเม้นบอกแอดมินได้เลยค่ะ
    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    References: ภาพและข้อมูลจาก IG Russian Treasure https://www.instagram.com/russian_treasure/
    ภาพประกอบเพิ่มเติมจาก State Hermitage Museum

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    แกรนด์ดัชเชสอเล็กซานดร้า พาฟลอฟน่า ลูกสาวคนโตของพระเจ้าซาร์พอลที่ 1 และหลานสาวคนโปรดของแคทเธอรีนมหาราชินี กับดอกลิลลี่ที่พระบิดามอบให้เป็นของขวัญแต่งงาน จะเป็นดอกไม้สดธรรมดาก็ไม่แกรนด์พอ ขอเป็นดอกไม้อัญมณีเลยละกัน

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    Branch of Lilies in a Vase ดอกลิลลี่สามดอกบนเจกัน นอกจากดอกไม้จะสวยแล้วแจกันที่ทำเพิ่มเข้ามายังทำให้เรามองเห็นเหมือนมีน้ำอยู่ภายในแต่จริงๆ แล้วไม่มี

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    ภาพร่างของดอกลิลลี่ที่พระเจ้าซาร์สั่งทำสำหรับลูกสาว

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    ตัวอย่างงานอื่นๆ ค่ะ ดอกนี้เป็น Lily of the Valley in a Bowl งานช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ภาพนี้มาจาก State Hermitage Museum ปัจจุบันเป็นวัตถุจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์

    หลักเกณฑ์การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 2565 อปท


    ส่วนชิ้นนี้เป็นดอกแอปเปิ้ล (Apple Blossom) กิ่งทำจากทองคำ ใบไม้แกะจากเนไฟรต์ เกสรประดับด้วยเพชร กลีบดอกเป็นทองคำเคลือบสี และแจกันทำจากร็อค คริสตัล งานช่วงปี 1900 ภาพนี้มาจาก Sotheby’s ปัจจุบันอยู่ในมือของนักสะสมอิสระ

    พื้นที่ให้เล่า

     

    “เห็นเธอครั้งหนึ่ง ความรู้สึกกว่าร้อยอย่าง” ว่าด้วยภาพวาดเซซิเลีย กัลเลรานี สตรีผู้มาก่อนโมนาลิซ่า กับเออร์มินปริศนาในอ้อมกอด

    “สตรีในภาพเหมือนคิดแต่ไม่พูด” คือคำกล่าวที่แบร์นาโด แบลิโชนี กวีราชสำนักประจำมิลานได้ฝากไว้ถึงคนรุ่นหลังเมื่อเขามีโอกาสยลโฉมผลงานชิ้นสำคัญ วาดโดยลีโอนาร์โด ดา วินชี คำพูดของแบร์นาโดแฝงความหมายน่าสนใจ เมื่อเรามองไปยังดวงตาของสตรีในภาพ เหมือนว่าตาคู่นี้บ่งบอกความคิดและจิตวิญญาณนับไม่ถ้วน เธอกำลังยิ้มอย่างเป็นปริศนา แขนสองข้างสัมผัสตัวเออร์มินอย่างรักใคร่ และใบหน้าที่งดงามก็ได้เผยอารมณ์ออกมาชั่วขณะหนึ่ง เธอมองไปยังแสงที่ส่องมาทางด้านข้าง แต่ดวงตาของเธอกับตัวเออร์มินกำลังจับจ้องไปยังสิ่งใด?

    น่าสนใจที่ตัวเออร์มินในภาพไม่ได้เป็นแค่สัตว์เลี้ยงประกอบฉาก แต่ยังนำเสนอข้อความสำคัญ เป็นตัวแทนความสัมพันธ์รักที่ไม่ถูกต้องนักของดยุกแห่งมิลาน กับสตรีทีงดงามแห่งยุค เซซิเลีย กัลเลรานี

    เซซิเลีย กัเลรานี เป็นสาวงามโดดเด่นสะดุดตา เธอเกิดในครอบครัวชั้นกลางที่แม้ไม่ร่ำรวยนักแต่ก็มีเกียรติ บิดาของเซซิเลียเป็นนักการทูตและตัวแทนด้านการเงินของดยุดแห่งมิลาน ส่วนมารดาเป็นบุตรสาวศาสนาจารย์ด้านกฎหมายชื่อดัง อย่างไรก็ดี วัยเด็กของเซซิเลียไม่สะดวกสบายดังเนื่องจากบิดาจากโลกนี้ไปตอนเธอเพิ่งอายุได้ 7 ปี เซซิเลียยังมีพี่ชายและน้องชายมากถึง 6 คน ทำให้มรดกของบิดาต้องถูกแบ่งสรรจนมีเหลืออยู่ไม่มากนัก

    เมื่อเซซิเลียเติบโตขึ้น ความสวยของเธอก็เป็นที่กล่าวขวัญ นอกจากใบหน้าที่งดงาม สาวน้อยแห่งตระกูลกัลเลรานียังขึ้นชื่อเรื่องความเฉลียวฉลาด เธอเชี่ยวชาญภาษาละติน สามารถแต่งกวีนิพนธ์และกล่าวสุนทรพจน์ได้อย่างเฉียบคม

    ตอนเซซิเลียอายุได้ราว 10 ขวบ พวกพี่ชายของเธอได้เจรจาสัญญาการสมรสของน้องสาว หมั้นหมายเซซิเลียไว้กับลูกชายตระกูลวิสกอนติที่ครั้งหนึ่งเคยปกครองมิลาน อย่างไรก็ดี การสมรสนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริงเพราะอีกสี่ปีต่อมาบรรดาพี่ชายของฝ่ายหญิงไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าสินสอดได้ตามกำหนด

    อีกหนึ่งข่าวลือที่ทำให้การหมั้นหมายของเซซิเลียเป็นอันต้องถูกยกเลิกไป มาจากข่าวฉาวว่าเซซิเลียเป็นที่ถูกตาต้องใจดยุกแห่งมิลานคนปัจจุบัน - ลูโดวิโก สฟอร์ซา หนึ่งปีต่อมาเขาได้ขอตัวเซซิเลียในวัย 15 มาอยู่ด้วยกันในบ้านที่จัดหาไว้ให้ เธอตั้งครรภ์บุตรชายของท่านดยุกในเวลาต่อมา ติดอยู่ที่ว่าลูโดวิโกมีคู่หมั้นอยู่แล้วและกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์ในอีกไม่ช้า

    คู่หมั้นของดยุกแห่งมิลานมาจากตระกูลสูงที่มีความสำคัญและเก่าแก่ บิดาของฝ่ายหญิงเป็นถึงดยุกแห่งแฟร์ราราถือเป็นสัญญาสำคัญที่ให้ผลใหญ่ด้านการเมือง ลูโดวิโกไม่ได้คิดจะยกเลิกสัญญาหมั้นแต่ก็ไม่กระตือรือร้นที่จะเข้าพิธีวิวาห์ ราชทูตแห่งแฟร์รารากล่าวถึงเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาว่าดยุกแห่งมิลานมีคนรักอยู่แล้ว เธอสวยงามราวดอกไม้และกำลังตั้งครรภ์บุตรของเขา

    แม้งานสมรสจะถูกผัดผ่อนไปแต่ท้ายที่สุดดยุกแห่งแฟร์ราราก็ตกลงให้ลูกสาวเดินทางมามิลานเพื่อทำการสมรส เบียทริซ - คู่หมั้นของดยุกแห่งมิลาน ทราบก่อนแต่งงานว่าในใจของท่านดยุกมีหญิงอื่น แต่ทั้งสองสามารถอยู่ร่วมกันได้ ลูโดวิโกรู้สึกนับถือเบียทริซ และได้กล่าวกับพ่อตาอย่างตรงไปตรงมาว่าตัวเขารักเซซิเลีย ปราถนาจะอยู่กับเธออย่างสงบสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่เบียทริซต้องการด้วยเช่นกันเพราะเธอไม่ได้ยินยอมพร้อมใจให้แก่เขา

    ความงามของเซซิเลีย กัลเลรานี สตรีผู้ครองหัวใจของท่านดยุกได้ถูกบันทึกไปอีกยาวนานผ่านภาพเหมือนของเธอที่ดยุกแห่งมิลานว่าจ้างลีโอนาร์โด ดา วินชี ในปี 1489

    ลีโอนาร์โดในตอนนั้นอาศัยอยู่ในมิลานมาได้ 7 ปี แต่เพิ่งได้มีโอกาสวาดภาพเหมือนเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นเขารับหน้าที่เป็นผู้จัดแสดงละครราชสำนัก จัดสร้างอนุสาวรีย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเพราะในจดหมายสมัครงานยืดยาว ลีโอนาร์โดบรรยายความสามารถหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสะพาน สร้างรถศึกติดเกราะ ทำอุโมงใต้ดิน เปลี่ยนเส้นทางน้ำ แต่การวาดภาพ (งานจิตกรรม) ถูกกล่าวไว้ในข้อท้ายๆ “ข้าพเจ้าข้าพเจ้ายังสามารถสร้างประติมากรรมด้วยหินอ่อน ทองสำริด และดินเหนียว เช่นเดียวกับภาพจิตรกรรม ข้าพเจ้าทำทุกอย่างที่เป็นไปได้ ดังเช่นที่คนอื่นๆ ทำได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม”

    สำหรับลีโอนาร์โด การวาดภาพดูจะเป็น “สิ่งใดๆ ก็ตามที่ผู้อื่นสามารถทำได้” แต่ตัวเขาตั้งใจขายตัวเองในฐานะนักประดิษฐ์ที่เชี่ยวชาญงานด้านวิศวกรรม นั่นเป็นเพราะเขาเบื่อกับการวาดภาพและอยากเป็นนักออกแบบอาวุธที่ประสบความสำเร็จ (และอาจพยายามสร้างความประทับใจให้ดยุกแห่งมิลานเพราะราชวงศ์ของเขายึดอำนาจจากผู้ปกครองเก่าด้วยกำลังทางการทหารแถมต้องเผชิญกับการต่อต้านและการรุกรานจากฝรั่งเศส)

    กลับมาที่ตัวภาพวาด ผลงานชิ้นนี้วาดด้วยสีน้ำมันบนกระดานวอลนัต ได้รับการยกย่องเป็นผลงานชิ้นแรกในศิลปะยุโรปที่นำเสนอความคิดของแบบออกทางภาษากาย ร่างกายของเซซิเลียหันมาทางซ้ายของเรา แต่ศีรษะของเธอเหมือนจะหันกลับไปทางขวาอย่างรวดเร็วเพื่อมองอะไรบางอย่างที่กำลังเข้ามาในทิศทางเดียวกันกับแสง (สันนิษฐานว่าอาจเป็นตัวดยุกแห่งมิลาน คนรักของเซซิเลีย)

    การศึกษาภาพนี้ในภายหลังพบว่าลีโอนาร์โดได้ทำการแก้ไขภาพสามครั้ง ครั้งแรกเขาวาดเซซิเลียโดยไม่มีเออร์มิน ต่อมาจึงวาดเออร์มินลงไปแต่ใช้สีเทา ท้ายที่สุดตัวเขาปรับให้เออร์มินมีขนาดใหญ่ขึ้นและลงสีขนเป็นสีขาว

    เกี่ยวกับสัญลักษณ์เออร์มิน สัตว์ชนิดนี้เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ ลีโอนาร์โดบันทึกไว้ว่า “เออร์มินรู้จักความพอประมาณ จะกินแค่วันละหนึ่งครั้ง มันยอมให้นักล่าจับไปแทนที่จะหลบหนีไปอยู่ในที่ซ่อนเพื่อไม่ให้ความบริสุทธิ์ต้องแปดเปื้อน” เออร์มินในที่นี้ ยังสื่อถึงดยุกแห่งมิลาน เนื่องจากเขาเพิ่งได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นเออร์มินโดยกษัตริย์แห่งเนเปิลส์ ทำให้กวีราชสำนักเขียนคำประพันธ์แทนท่านดยุกว่าเป็น “เออร์มินสีขาว”

    เออร์มินยังแทนสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการตั้งครรภ์และให้กำเนิด ดังนั้นการวาดสัตว์ตัวนี้ในภาพ อาจสื่อความหมายว่าเซซิเลียกำลังตั้งท้องบุตรของดยุกแห่งมิลาน และกำลังจ้องมองบุคคลที่สามคือพ่อของเด็กที่อยู่นอกกรอบ เซซิเลียมีความสุขแค่ไหนที่ได้เห็นบุรุษผู้เป็นที่รัก ดูเหมือนว่าเจ้าเออร์มินขนปุยจะรู้สึกได้ มันจ้องมองไปยังทิศทางเดียวกับหญิงสาวด้วยสายตารู้งาน ออกจะเฉลียวฉลาดเสียด้วยซ้ำ

    สิ่งที่น่าสนใจในภาพนี้ นอกจากรายละเอียดเชิงกายวิภาคที่ดีเยี่ยมของตัวเออร์มินและนิ้วมือของฝ่ายหญิง ยังมีเรื่องของแฟชั่นเสื้อผ้าและทรงผม ชุดที่เซซิเลียสวมใส่เป็นแฟชั่นแบบสเปน ทรงผมของเธอคือทรงที่กำลังนิยมในมิลาน เป็นการมัดเปีย ผูกปมด้านหลัง บนหน้าผากของเธอปรากฏริบบิ้นสีดำสำหรับยึดทรงผมให้เข้ารูป

    ผลงานของลีโอนาร์โดได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมาก และที่สำคัญ มันคงอยู่ยาวนานกว่าความรักระหว่างดยุกแห่งมิลานกับเซซิเลีย เพราะหลังจากเซซิเลียคลอดบุตรชายได้เพียงไม่นาน ดยุกแห่งมิลานก็จัดให้เธอได้สมรสกับท่านเคานต์ผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง เธอมีชีวิตสุขสบายกลายเป็นผู้อุปถัมภ์งานวรรณกรรมที่ได้รับการเคารพนับถือ โดยสาเหตุที่เซซิเลียกับดยุกแห่งมิลานมีอันต้องเลิกรา เสียงหนึ่งกล่าวว่าเป็นเพราะดยุกสมรสแล้ว และการกระทำของเขาไม่เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้ปกครอง หรืออาจเป็นเพราะความรักของคนทั้งสองจืดจางลงตามเวลา

    สำหรับภาพวาดนี้ เชื่อกันว่าเซซิเลียเป็นผู้เก็บไว้ อ้างจากหลักฐานที่อิซาเบล - พี่สาวของเบียทริซ (ภรรยาที่ถูกต้องของดยุกแห่งมิลาน) เคยจดหมายขอยืมภาพมาเทียบเคียงกับผลงานของศิลปินอีกท่าน เซซิเลียลังเลแต่ก็ให้ยืมภาพ โดยเขียนกำกับว่าไม่มีผลงานของศิลปินท่านไหนที่จะทำได้ดีไปกว่าลีโอนาร์โด

    ภาพวาดของเซซิเลียถูกส่งคืนในอีกราวหนึ่งเดือนต่อมา และไม่ถูกกล่าวถึงอีก กระทั่งราวปี 1800s เมื่อเจ้าชายจากโปแลนด์ได้ซื้อภาพนี้ขึ้นมา ระหว่างทรงเดินทางไปอิตาลี เจ้าชายท่านนี้ตั้งใจมอบภาพเป็นของขวัญให้พระมารดา แต่ปรากฏว่าพระมารดาไม่โปรดพื้นหลังของภาพซึ่งในขณะนั้นลงสีเป็นสีน้ำเงิน ทรงโปรดให้มีการลงสีพื้นหลังใหม่เป็นสีดำและเขียนชื่อลีโอนาร์โด ดา วินชีที่ขอบบนของภาพ พร้อมข้อความ La Belle Feroniere - ชู้รักคนโปรดของกษัตริย์ฟรานซิสที่ 1 เนื่องจากในยุคนั้น มีความเข้าใจผิดคิดว่าสตรีในภาพคือคนรักของกษัตริย์ฟรานซืสที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (ลีโอนาร์โดอยู่ใต้การอุปถัมภ์ของฟรานซิสในช่วงท้ายของชีวิต)

    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพวาดของเซซิเลียมีอันต้องย้ายไปมาระหว่างประเทศเยอรมนีและโปแลนด์ แต่ก็ปลอดภัยจากสงคราม กล่าวกันว่าภาพวาดกลับมาโดยมีรอยเท้าของทหารเยอรมันปรากฏอยู่บนภาพ แต่ก็ได้รับการบูรณะแล้วในภายหลัง ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงอยู่ที่ Czartoryski Museum ในประเทศโปแลนด์

    Reference:

    หนังสือ เลโอนาร์โด ดา วินชี โดย Walter Isaacson แปลโดย ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ สำนักพิมพ์: Be(ing)

    This Da Vinci Painting Is Weirder Than It Seems. Here's Why https://www.youtube.com/watch?v=e9f5TYgs_Jk

     

    BRIEF: ไม่ได้ไปต่อ! รัฐสภาลงมติไม่รับหลักการ ร่างแก้ไข รธน.ฉบับปลดล็อกท้องถิ่น
    .
    หลังแกนหลักของคณะก้าวหน้า หอบรายชื่อและความหวังของประชาชนอย่างน้อย 76,000 หมื่นราย เข้าไปเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ (รธน.) หมวด 14 การปกครองท้องถิ่น หรือร่าง #ปลดล็อกท้องถิ่น วันนี้ (7 ธันวาคม) ที่ประชุมร่วมของรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) ลงมติไม่รับหลักการ ส่งผลให้ร่างแก้ไขฯ นี้ ตกไปตั้งแต่วาระที่หนึ่ง
    .
    ผลการลงมติ คือ มีสมาชิกรับหลักการ 254 เสียง (ส.ส. 248 เสียง และ ส.ว. 6 เสียง) ไม่รับหลักการ 245 เสียง (ส.ส. 56 เสียง และ ส.ว. 189 เสียง) และงดออกเสียง 129 เสียง
    .
    การที่ร่างแก้ไขฯ นี้ จะผ่านเข้าไปสู่วาระสองได้ จะต้องได้เสียงเห็นชอบจาก ส.ส. และ ส.ว. มากกว่า 361 เสียง (เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง) และต้องมีเสียง ส.ว. อย่างน้อย 83 เสียง (เห็นชอบไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม) ซึ่งมติเห็นชอบทั้ง 2 สภาไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ขณะที่ ส.ว. ลงมติเห็นชอบแค่ 6 คะแนนเท่านั้น น้อยกว่าจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิก ส.ว. ทั้งหมด
    .
    ร่างนี้มีชื่อเล่นว่า ‘ร่าง รธน.ปลดล็อกท้องถิ่น’ เพราะสาระสำคัญของร่างแก้ไขฉบับนี้ คือ การเสนอให้กระจายอำนาจและให้อิสระองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นในหลายมิติ เช่น ให้อำนาจท้องถิ่นในการทำบริการสาธารณะ, ให้ท้องถิ่นได้งบประมาณร้อยละ 50 จากรายได้ของรัฐ, หรือให้ท้องถิ่นมีอิสระในการหารายได้มากขึ้น เป็นต้น
    .
    นอกจากนี้ เนื้อหาของร่างฯ ยังเสนอด้วยว่า ให้มีการจัดทำประชามติปรับโครงสร้างบริหารประเทศครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือ ให้ประชาชนทำประชามติใน 5 ปี ว่าต้องการยกเลิกระบบราชการส่วนภูมิภาค แล้วควบรวมคน งาน งบ เข้ากับส่วนท้องถิ่นหรือไม่
    .
    แม้จะมีการอภิปรายหลายครั้งถึงเหตุผลที่คณะก้าวหน้าเรียกร้องการกระจายอำนาจ เช่น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เพิ่งให้เหตุผลกลางรัฐสภาว่า การกระจายอำนาจและลดการรวมศูนย์จากศูนย์กลาง จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนได้
    .
    ขณะที่ พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย พรรคก้าวไกล เผยก่อนลงมติวันนี้ว่า การกระจายอำนาจจะช่วยยกระดับบริการสาธารณะในทุกจังหวัด ขอให้รัฐสภาลงมติรับร่างฯ แล้วค่อยไปถกรายละเอียดวาระสอง พร้อมกับยืนยันว่า นี่ไม่ใช่การกระจายอำนาจแบบสุดโต่ง เพียงแต่วิ่งตามให้ทันการกระจายอำนาจแบบประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น ไม่กระทบกับรูปแบบของรัฐแน่นอน
    .
    .
    .
    อ้างอิงจาก

    https://www.youtube.com/watch?v=oo7HXj2854U

    https://www.matichon.co.th/politics/news_3712886

    https://twitter.com/iLawclub/status/1600122344315695106...

    https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10167348714715551

    #ปลดล็อกท้องถิ่น #รัฐสภา #TheMATTER