การอนุรักษ์ดนตรีไทยในฐานะบุคคลทั่วไปข้อใดทำได้ง่าย และสะดวก

เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และดำรงอยู่ของวัฒนธรรมและศิลปกรรม แขนงต่างๆ อย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างการเรียนรู้ฝึกฝนเพิ่มเติม จนสามารถพัฒนาไปสู่อาชีพจากงานศิลปวัฒนธรรม บริษัทไทยเบฟ จึงริเริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมเชิดชูศิลปิน บุคลากรแขนงต่างๆ ดังนี้


โครงการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมศิลปินไทยในสาขาจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นการประกวดในแนว ศิลปะเชิงเสมือนจริง รวมถึงศิลปะรูปลักษณ์ เพื่อให้กำลังใจ และให้ความสำคัญกับศิลปินที่ยังคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ในแนวทางนี้ โดยได้กำหนดชื่อรางวัล “รางวัลศิลปกรรมช้างเผือก” โดยในปี 2560 ได้จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “แรงบันดาลใจจากทุกคน เพื่อชุมชนที่ยั่งยืน”

ซึ่งได้แรงบันดาลใจ มาจากแนวทางการดำเนินงานตามโครงการประชารัฐ (รัฐบาล + เอกชน + ชุมชน) ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มศิลปิน มีความเข้าใจแนวทาง “ประชารัฐ” มากขึ้น โดยให้ศิลปินลงพื้นที่ ร่วมกับคณะทำงานเพื่อดูศักยภาพและกลิ่นไอการสร้างสรรค์ อันเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ศิลปินได้เป็นตัวแทน ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ซึ่งจะเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชน ได้เห็นการผสมผสานตามแนวทางสร้างสรรค์งานศิลปะ เชิงเศรษฐกิจ


โครงการภาพถ่ายแห่งแผ่นดินนี้ บริษัทไทยเบฟร่วมกับสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยคัดเลือกภาพถ่ายชนะเลิศด้วยพระองค์เอง มาอย่างต่อเนื่องทุกปี และถือเป็นการประกวดภาพถ่าย ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยและเป็นรายการประกวดที่มีผู้สนใจ ส่งภาพเข้าประกวดมากที่สุด


ได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 สำหรับหัวข้อในปีนี้คือ “ความทรงจำ : Memories” โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน นักถ่ายภาพที่มีความสนใจการถ่ายภาพในแนวทางไฟน์อาร์ท (Fine Art Photography) ซึ่งเป็นลักษณะภาพถ่ายที่เน้นเรื่องของแนวความคิดและมีมุมมองทางศิลปะที่แสดงออกถึงจินตนาการของศิลปินได้อย่างกว้างไกล ได้มีโอกาสแสดงผลงานการถ่ายภาพและส่งเสริมวงการถ่ายภาพในประเทศไทยให้มีการถ่ายภาพที่หลากหลายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้ศิลปิน ถ่ายภาพชาวไทยก้าวขึ้นสู่เวทีนานาชาติมากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน การประกวดนี้กำหนดจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยได้รับความร่วมมือ จากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้ดำเนินการ


บริษัทไทยเบฟสนับสนุนการจัดประกวดภาพถ่ายนานาชาติเนื่องใน“Naris Day” โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรมาตั้งแต่ เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 12 ปี การประกวดภาพถ่ายนี้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักถ่ายภาพทั่วโลก และมีการส่งภาพเข้าประกวดทุกปี นับเป็นเวทีการประกวดภาพถ่ายอีกเวทีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จากทั้งภายในประเทศและระดับสากล รวมถึงได้ให้การสนับสนุนการประกวดภาพยนตร์สั้น“วันศิลป์ พีระศรี”ด้วยเช่นกัน

การอนุรักษ์ดนตรีไทยในฐานะบุคคลทั่วไปข้อใดทำได้ง่าย และสะดวก

‘เครื่องดนตรีไทย’ จัดเป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของคนไทย ได้สร้างสมเอาไว้ จนกลายเป็นเครื่องหมาย เป็นเอกลักษณ์ อีกอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของชนชาติไทย เฉกเช่นเดียวกับ ภาษา, ศิลปะ, อาหาร รวมทั้งวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นเราถือเป็นลูกหลาน ก็สมควรที่จะเกิดความภาคภูมิใจ พร้อมช่วยกันส่งเสริมรักษาดนตรีไทยไว้ให้ดำรงอยู่สืบไป

แนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีไทย ให้คงอยู่สืบต่อไป

สำหรับแนวทางการรักษาดนตรีไทย จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือ ร่วมใจ ของคนไทยทุกคน โดยมีวิธีการ ได้แก่…

  • ศึกษา, ค้นคว้า รวมทั้งวิจัยดนตรีไทยอย่างเจาะลึก เก็บไว้เป็นระเบียบ สามารถนำมาอ่านได้ แบบที่มีการเก็บข้อมูลเอาไว้แล้ว และยังไม่ได้มีการศึกษา เพื่อทำให้ทราบถึงความหมาย รวมทั้งความสำคัญของดนตรีไทย อันเป็นมรดกของไทยอย่างแท้จริง โดยองค์ความรู้ดังกล่าวจัดเป็นรากฐานที่สำคัญของการมองเห็นคุณค่า ก่อให้เกิดการยอมรับ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต
  • ส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย เห็นคุณค่า ช่วยกันรักษาเอกลักษณ์ทางดนตรี อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจ ให้แก่ประชาชนในการยอมรับให้มากขึ้น ด้วยความเหมาะสม
  • รณรงค์ให้ประชาชน เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกัน ตลอดจนประสานงานรื่นเริง รวมทั้งทุนทรัพย์ในการจัดกิจกรรมทางด้านดนตรีไทย
  • ส่งเสริม – แลกเปลี่ยนดนตรีภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
  • เสริมสร้างทัศนคติ, องค์ความรู้, ความเข้าใจว่า ประชาชนทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง, ฟื้นฟู ตลอดจนดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทยอันเป็นสมบัติของชาติ
  • ปลูกฝังความคิดอันดีงามต่อดนตรีไทย ให้แก่กลุ่มประชาชนที่ยังอยู่ในวันเยาว์ ตั้งแต่เด็กเล็ก ไปยันเยาวชนให้พวกเขา มองเห็นว่าดนตรีไทย ไม่ได้เป็นเพียงดนตรีที่ล้าสมัยเท่านั้น หากแต่เป็นดนตรีที่เด็กและเยาวชนไทยทุกคนควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ อันเนื่องจากเป็นสมบัติของประเทศไทยที่มีมาแต่ช้านาน
  • ช่วยกันสร้างสรรค์ไอเดีย พัฒนา พร้อมผสมผสานดนตรีไทยแบบดั้งเดิม ให้เข้ากับเพลงสมัยใหม่ เช่น นำเครื่องดนตรีไทยมาผสมผสานให้เข้ากับเครื่องดนตรีสากล เป็นต้น
  • เผยแพร่ความรู้ในเรื่องของดนตรีไทยในสื่อต่างๆ เช่น สื่อวิทยุ, โทรทัศน์ Internet เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสสัมผัสหรือทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีไทยมากยิ่งขึ้น

สรุปแล้ว แนวทางการอนุรักษ์ พร้อมพัฒนามรดกวัฒนธรรมทางดนตรีไทย, ดนตรีพื้นบ้าน ให้เกิดความบรรลุผลได้อย่างดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพลังของทุกคนผู้เป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรม โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นพลังคนรุ่นใหม่ของชาติ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติไทย เมื่อเยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจ ร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ก็เท่ากับเป็นการรักษาให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็งตามไปด้วย