การบริหาร จัดการชุมชน 5 ขั้น ตอน

20 เม.ย. 65 / 09.23 น. / เข้าชม 53 ครั้ง

กระบวนการจัดทำแผนชุมชน  5  ขั้นตอน

การบริหาร จัดการชุมชน 5 ขั้น ตอน

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมชุมชน   

เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของทีมทำงานในชุมชน ประชุม/พูดคุย/แลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจร่วมกันในทีมงานเตรียมข้อมูลชุมชน (จปฐ กชช.2ค ข้อมูลศักยภาพชุมชน บัญชีครัวเรือน ฯลฯ) ประมวลสภาพชุมชนเบื้องต้น แนวนโยบายแห่งรัฐ / ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด วิธีการ ขั้นตอน การจัดกระบวนการแผนชุมชน ประโยชน์ของแผนชุมชน คุณภาพแผนชุมชน (6 ตัวชี้วัด) เตรียมการจัดเวทีประชาคม (จำนวนเวทีประชาคม / ผู้เข้าร่วม /บทบาทของผู้เข้าร่วม) แผนปฏิบัติการของทีมแกนนำเพื่อจัดกระบวนการแผนชุมชน

ผลลัพธ์ของขั้นตอนที่ 1 : ทีมงานทำแผนชุมชนมีความเข้าใจ และพร้อมจัดกระบวนการแผนชุมชน

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ตนเองและชุมชน

เพื่อให้เกิดความเข้าใจสภาพชุมชนในปัจจุบันเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของชุมชน ตั้งคำถามกระตุกใจเพื่อการเรียนรู้ สำรวจ / วิเคราะห์เรียนรู้ข้อมูลชุมชนวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน อาทิ จปฐ. กชช.2ค บัญชีครัวเรือน ข้อมูลศักยภาพชุมชน วิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงภายนอกในทุกระดับ (ประเทศ โลก) และทุกมิติ (เศรษฐกิจ สังคม การเมือง)

วิเคราะห์สภาพชุมชน (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) เพื่อรู้ศักยภาพของตนเอง และชุมชน   รู้โอกาสในการพัฒนา และรู้ข้อจำกัด วิเคราะห์สภาพปัญหาและหาสาเหตุของปัญหาของชุมชน แนวโน้ม ผลที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนในอนาคต

ผลลัพธ์ของขั้นตอนที่ 2 : ชุมชนมีความเข้าใจในสภาพและศักยภาพของตนเอง

ขั้นตอนที่ 3 กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนา

ได้เป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของหมู่บ้าน มองเห็นอนาคต สะท้อนถึงตัวตนที่ต้องการจะเป็นใน 5 – 10  ปีข้างหน้า
กำหนดเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน (วิสัยทัศน์) และทิศทางการพัฒนาตามศักยภาพของหมู่บ้าน
กำหนดการพัฒนาอาชีพ และแหล่งรายได้เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ตามศักยภาพชุมชน และกลไกการตลาด
กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา  กำหนดประเด็นหลักในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์
กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตามประเด็นหลัก
กำหนดวิธีการพัฒนาตามประเด็นหลัก เพื่อทำให้บรรลุยุทธศาสตร์
ผลลัพธ์ของขั้นตอนที่ 3 : มีเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

ขั้นตอนที่ 4 กำหนดแผนงาน/โครงการ

โดยมีการจัดประเภทของกิจกรรม การจัดลำดับความสำคัญ รวมถึงการประชาพิจารณ์แผนชุมชน เพื่อให้ได้แผนชุมชนที่เป็นของชุมชนอย่างแท้จริง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ที่วางไว้

กำหนดแผนงาน/โครงการ โดยพิจารณาจากอัตตลักษณ์ของชุมชน กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ศึกษายุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขเป็นแนวทางประกอบพิจารณากำหนดโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้บรรลุยุทธศาสตร์การพัฒนาด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แยกประเภทโครงการ/กิจกรรม (ทำเอง ทำร่วม ทำให้)
จัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม ร่างแผนชุมชน ประชาพิจารณ์แผนชุมชน
ผลลัพธ์ของขั้นตอนที่ 4 : แผนงาน/โครงการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 5 ปฏิบัติการตามแผนชุมชน

เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนตามแผนชุมชน จัดตั้งคณะทำงานปฏิบัติตามแผนชุมชน (เพื่อรับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข/กิจกรรมทำเอง/กิจกรรมทำร่วม/กิจกรรมขอรับการสนับสนุน) จัดองค์กรสำหรับรับผิดชอบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์/โครงการ/กิจกรรม จัดระบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาของชุมชน    ประสานภาคีการพัฒนา/หน่วยสนับสนุนวางแผนกำหนดรูปแบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนชุมชน

ผลลัพธ์ของขั้นตอนที่ 5 : การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนตามแผนชุมชน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการประเมินผลในทุกระยะ เพื่อจะได้ปรับการทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง และมีการปรับแผนชุมชนอย่างเป็นระบบ ตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละห้วงเวลา
ตัวชี้วัดคุณภาพแผนชุมชนและการใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดคุณภาพแผนชุมชน  ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด
1. ใช้ข้อมูลพื้นฐาน จปฐ. กชช.2ค และ/หรือ ข้อมูลบัญชีรับ-จ่าย ครัวเรือน ร่วมในการวิเคราะห์ และจัดทำแผนชุมชน ร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนมากกว่าร้อยละ 70 ของครัวเรือนทั้งหมด
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชนตั้งแต่ต้น
4. มีแผนชุมชนเป็นลายลักษณ์อักษร
5. มีกระบวนการจัดทำแผนชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีแผนงาน/โครงการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
6. มีกิจกรรมพึ่งตนเอง (ทำเอง) อย่างน้อยร้อยละ 30 ของกิจกรรมในแผนชุมชน และมีการปฏิบัติ  ได้จริง  30  %  ของกิจกรรมพึ่งตนเอง

ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน
ความหมาย กิจกรรมหรือกระบวนการ (ประเมิน) เพื่อตรวจสอบและรับรองแผนชุมชน  โดยการประเมินตามมาตรฐานแผนชุมชนที่กำหนดขึ้นโดยใช้ระบบมาตรฐานของประเทศไทยเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบและโดยการมีส่วนร่วมของภาคราชการ ภาคเอกชนที่ดำเนินการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
มาตรฐานแผนชุมชน ประกอบด้วย  5  ตัวชี้วัดได้แก่

1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  (การจัดทำแผนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)  20  คะแนน พิจารณาจากประเด็น ดังนี้
1.1 การพึ่งพาตนเอง หมายถึง มีกิจกรรมในแผนชุมชนที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้าน/ชุมชนหรือมีเป้าหมายดำเนินการเพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
1.2 มีกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน
1.3 มีกิจกรรมส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านเก็บออมเงินในรูปแบบต่าง ๆ
1.4 ภูมิคุ้มกันชุมชน  หมายถึง  มีกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อให้คนในหมู่บ้านรู้และเข้าใจสถานการณ์/ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนและมีกิจกรรมเพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบเหล่านั้น
1.5 ภูมิปัญญาชาวบ้าน  หมายถึง  มีกิจกรรมแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาหมู่บ้านที่ใช้ความรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.6  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชน  หมายถึง  มีกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
2.การมีส่วนร่วม  คะแนน  20  คะแนน  พิจารณาจากประเด็น  ดังนี้
2.1 การมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน
2.2 การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ  องค์กรเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนในกระบวนการจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้าน
2.3  ลักษณะของการมีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ กิจกรรม  วิเคราะห์ ดำเนินงาน  ติดตามประเมินผลและใช้ประโยชน์
3. กระบวนการเรียนรู้  คะแนน  25  คะแนน ให้พิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้
3.1 ใช้เวทีประชาคมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในหมู่บ้าน และถ่ายทอดความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน
3.2 มีการทบทวนและจัดการความรู้กระบวนการจัดทำแผนของหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อปรับปรุงให้แผนชุมชนมีประสิทธิภาพ
4.การใช้ประโยชน์  คะแนน  25  คะแนน  ให้พิจารณาจำนวนกิจกรรมตามแผนชุมชนที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง  โดยจำแนกเป็น  3  ส่วนคือ
4.1 จำนวนกิจกรรมที่หมู่บ้าน/ชุมชนดำเนินการเอง
4.2  จำนวนกิจกรรมที่หมู่บ้าน/ชุมชนดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
4.3  จำนวนกิจกรรมที่หมู่บ้าน/ชุมชนจะต้องให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการให้ทั้งหมด
5.รูปเล่มของแผนชุมชน(โครงสร้างของแผน)  คะแนน  10  คะแนน  ให้พิจารณาองค์ประกอบของแผนชุมชน  ดังนี้
5.1  มีข้อมูลแสดงประวัติ/ความเป็นมาของหมู่บ้าน/ชุมชน
5.2  มีข้อมูลแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชนและหรือสภาพปัญหาที่หมู่บ้านชุมชนประสบอยู่
5.3  มีข้อมูลแสดงแนวทางแก้ไข/การพัฒนาของหมู่บ้าน
5.4 มีกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนจัดเป็น  2  กลุ่ม  คือ
5.4.1)จัดกลุ่มตามลักษณะการดำเนินกิจกรรมคือ หมู่บ้าน/ชุมชนดำเนินการเองทั้งหมด หมู่บ้านดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และหมู่บ้านขอให้หน่วยงานสนับสนุนและดำเนินการทั้งหมด
5.4.2) จัดกลุ่มตามประเภทของกิจกรรม คือ  กิจกรรมทางเศรษฐกิจ  กิจกรรมทางสังคม  และวัฒนธรรม  และกิจกรรมทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
5.5  มีการปรับปรุงแผนชุมชนอย่างน้อยปีละ  1  ครั้ง

(Visited 53 times, 1 visits today)