รถยนต์ เครื่องดีเซล กับ เบนซิน

เครื่องยนต์ในรถยนต์ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ มีการแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ เครื่องยนต์เบนซิน และ เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเครื่องยนต์ทั้งสองชนิดมีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน การใช้น้ำมันเครื่องจึงต้องใช้ต่างกันไปด้วย ซึ่งความเหมือนและความต่างของเครื่องยนต์ทั้งสองชนิดนั้นมีอะไรบ้างนั้นมาดูคำตอบพร้อมๆ กันเลย

เครื่องยนต์เบนซิน

ส่วนประกอบหลักของเครื่องยนต์เบนซิน

  • กระบอกสูบ เป็นจุดที่เอาไว้ใช้ในการจุดระเบิดภายในเสื้อสูบ โดยให้ลูกสูบเคลื่อนขึ้นลงตามจังหวะการทำงาน
  • ลูกสูบ มีทำหน้าที่อัดอากาศและรองรับแรงจุดระเบิดภายในกระบอกสูบ โดยจะเคลื่อนที่ขึ้นลงตามจังหวะการจุดระเบิด
  • วาล์วไอดี ทำหน้าที่ เปิด-ปิดเพื่อรับเอาออกซินเจนเข้าไปใช้ในการจุดระเบิดภายในกระบอกสูบ
  • วาล์วไอเสีย ทำหน้าที่ เปิด-ปิดเพื่อระบายอากาศเสียหลังจากการจุดระเบิดให้ออกมาจากกระบอกสูบ
  • หัวฉีด ทำหน้าที่ฉีดน้ำมันเข้าสู่กระบอกสูบ เพื่อเผาไหม้ให้เกิดความร้อนจนไปผลักลูกสูบให้ขยับได้
  • หัวเทียนทำหน้าที่จุดประกายไฟ เพื่อให้น้ำมันเบนซินที่ถูกฉีดเข้าไปผสมกับอากาศติดไฟขึ้นมา
  • ก้านสูบ เป็นก้านที่เชื่อมต่อระหว่างลูกสูบกับเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อทำหน้าที่ส่งกำลังจากการขยับของลูกสูบไปยังเพลาข้อเหวี่ยง
  • เพลาข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่รับกำลังจากกระบอกสูบผ่านทางก้านสูบ เพื่อหมุนแล้วส่งกำลังไปแปลงผ่านทางเกียร์ และส่งกำลังไปสู่ล้อ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน

การทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน เป็นหลักการ 4 จังหวะ คือ ดูด อัด ระเบิด คาย

  1. ดูด เริ่มต้นที่ “ส่วนผสมไอดี” ที่ผสมกันระหว่างอากาศจากภายนอกกับน้ำมันเบนซิน โดยฉีดฝอยออกมาจากหัวฉีด แล้วเริ่มจังหวะ “ดูด” โดยลูกสูบอยู่ตำแหน่งบนสุดของกระบอกสูบ ขยับลงสู่จุดล่างสุดของกระบอกสูบ ในจังหวะที่กำลังขยับลงมานั้น วาล์วไอดีเปิดรับอากาศดีเข้ามาผสม โดยที่วาล์วไอเสียจะปิดกันไอดีออก
  2. อัด เมื่อกระบอกสูบลงมาจุดล่างสุด ได้ส่วนผสมไอดีเข้ามาแล้ว วาล์วไอดีจะปิด จากนั้นลูกสูบจะขยับตัวขึ้นไปสู่จุดบนสุด เพื่ออัดส่วนผสมไอดีให้ได้อัตราส่วนตามที่กำหนดไว้
  3. ระเบิด เมื่ออัตจนสุดเต็มอัตราส่วนแล้ว หัวเทียนจะจุดประกายไฟ เพื่อให้อากาศที่อัดเอาไว้ติดไฟเกิดการระเบิด อากาศที่ถูกจุดระเบิดจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และผลักให้ลูกสูบกลับเข้าไปสู่ตำแหน่งด้านล่างอีกครั้ง
  4. คาย เมื่อจุดระเบิดเสร็จ ลูกสูบยกตัวขึ้น วาล์วไอเสียเปิดออก เพื่อให้ลูกสูบดันอากาศเสียวิ่งออกไปทางท่อไอเสียระบายออกสู่ภายนอก แล้วกลับมาเริ่มต้นกระบวนการใหม่อีกครั้ง

เครื่องยนต์ดีเซล

ส่วนประกอบหลักของเครื่องยนต์ดีเซล

  • กระบอกสูบ เป็นจุดที่เอาไว้ใช้ในการจุดระเบิดภายในเสื้อสูบ โดยให้ลูกสูบเคลื่อนขึ้นลงตามจังหวะการทำงาน
  • ลูกสูบ มีทำหน้าที่อัดอากาศและรองรับแรงจุดระเบิดภายในกระบอกสูบ โดยจะเคลื่อนที่ขึ้นลงตามจังหวะการจุดระเบิด
  • วาล์วไอดี ทำหน้าที่ เปิด-ปิดเพื่อรับเอาออกซินเจนเข้าไปใช้ในการจุดระเบิดภายในกระบอกสูบ
  • วาล์วไอเสีย ทำหน้าที่ เปิด-ปิดเพื่อระบายอากาศเสียหลังจากการจุดระเบิดให้ออกมาจากกระบอกสูบ
  • หัวฉีด ทำหน้าที่ฉีดน้ำมันเข้าสู่กระบอกสูบ เพื่อเผาไหม้ให้เกิดความร้อนจนไปผลักลูกสูบให้ขยับได้
  • ก้านสูบ เป็นก้านที่เชื่อมต่อระหว่างลูกสูบกับเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อทำหน้าที่ส่งกำลังจากการขยับของลูกสูบไปยังเพลาข้อเหวี่ยง
  • เพลาข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่รับกำลังจากกระบอกสูบผ่านทางก้านสูบ เพื่อหมุนแล้วส่งกำลังไปแปลงผ่านทางเกียร์ และส่งกำลังไปสู่ล้อ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล

การทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน เป็นหลักการ 4 จังหวะ คือ ดูด อัด ระเบิด คาย

  1. ดูด เริ่มต้นที่ “ส่วนผสมไอดี” ที่ผสมกันระหว่างอากาศจากภายนอกกับน้ำมันเบนซิน โดยฉีดฝอยออกมาจากหัวฉีด แล้วเริ่มจังหวะ “ดูด” โดยลูกสูบอยู่ตำแหน่งบนสุดของกระบอกสูบ ขยับลงสู่จุดล่างสุดของกระบอกสูบ ในจังหวะที่กำลังขยับลงมานั้น วาล์วไอดีเปิดรับอากาศดีเข้ามาผสม โดยที่วาล์วไอเสียจะปิดกันไอดีออก
  2. อัด เมื่อกระบอกสูบลงมาจุดล่างสุด ได้ส่วนผสมไอดีเข้ามาแล้ว วาล์วไอดีจะปิด จากนั้นลูกสูบจะขยับตัวขึ้นไปสู่จุดบนสุด เพื่ออัดส่วนผสมไอดีให้ได้อัตราส่วนตามที่กำหนดไว้
  3. ระเบิด เมื่อลูกสูบยกตัวขึ้นบนสุด อากาศถูกอัดเอาไว้เต็มอัตราส่วนที่กำหนด หัวฉีดจะฉีดน้ำมันดีเซลละอองฝอยเข้าไป เมื่อเจอกับอากาศที่ถูกอัดจนมีแรงดันกับความร้อนสูง จะเกิดการติดไฟแล้วระเบิดขึ้น เมื่อเกิดการระเบิด อากาศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วจะผลักให้ลูกสูบกลับเข้าไปสู่ด้านล่างสุดอีกครั้ง โดยจังหวะการฉีดน้ำมันดีเซลเข้าสู่กระบอกสูบนั้น มีการคำนวนว่าในอุณหภูมิเครื่องยนต์ขนาดนี้ ควรฉีดที่จังหวะไหน
  4. คาย เมื่อจุดระเบิดเสร็จ ลูกสูบยกตัวขึ้น วาล์วไอเสียเปิดออก เพื่อให้ลูกสูบดันอากาศเสียวิ่งออกไปทางท่อไอเสียระบายออกสู่ภายนอก แล้วกลับมาเริ่มต้นกระบวนการใหม่อีกครั้ง

ความแตกต่างของเครื่องยนต์ทั้งสองชนิด

จะเห็นได้ว่า ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลนั้น มีส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการทำงานเหมือนกันเกือบจะทุกอย่าง รวมไปถึงจังหวะการ ดูด อัด ระเบิด คาย ก็ใช้ระบบสี่จังหวะเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงกระบวนการจุดระเบิด ที่เครื่องยนต์เบนซินใช้วิธีจุดระเบิดจากหัวเทียน ในขณะที่เครื่องยนต์ดีเซลไม่มีหัวเทียน แต่ใช้วิธีการฉีดละอองฝอยของน้ำมันดีเซลในการจุดระเบิดแทน และอัตราส่วนในการบีบอัดจะแตกต่างกัน

ดังนั้น ด้วยหลักการจุดระเบิดที่แตกต่างกัน น้ำมันเครื่องทีใช้งานจึงจำเป็นต้องใช้ให้ถูกประเภท เพื่อให้หมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ และช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ดีที่สุด

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน  ได้ที่