แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ใน อากาศ จะมี ปริมาณ เพิ่ม จาก ที่ เป็น อยู่ ปกติ ได้ หรือ ไม่ อย่างไร

การเปลี่ยนแปลงระบบภูมิอากาศ(climate system) โดยมนุษย์เกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ออกสู่บรรยากาศโลกในช่วง150 กว่าปีที่ผ่านมา ก๊าซเรือนกระจกดูดซับและกักเก็บความร้อนที่แผ่ออกจากโลก ผลคือโลกร้อนขึ้น กิจกรรมของมนุษย์ทั้งจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนและในที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย

แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ใน อากาศ จะมี ปริมาณ เพิ่ม จาก ที่ เป็น อยู่ ปกติ ได้ หรือ ไม่ อย่างไร

โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะในขณะที่กำลังเดินเครื่อง ได้ปล่อยควันจากการเผาไหม้ถ่านหินจากปลายปล่องในช่วงเช้า และเดินเครื่องอีกครั้งในช่วงเวลากลางคืน

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในภาคพลังงาน ภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคการคมนาคมขนส่งและภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง รายงาน Carbon Majors Database ยังระบุว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีบริษัทอุตสาหกรรมฟอสซิลเพียง 100 แห่งที่เป็นแหล่งกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกถึงร้อยละ 70

แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ใน อากาศ จะมี ปริมาณ เพิ่ม จาก ที่ เป็น อยู่ ปกติ ได้ หรือ ไม่ อย่างไร

ภาพภูเขาหัวโล้นในจังหวัดน่าน ปัจจุบันชาวสวนนิยมปลูกข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์เพื่อส่งขายให้กับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ การสำรวจในปี พ.ศ.2558 พบว่าการเผาป่าและการถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่านมีส่วนทำให้ปรากฎการณ์เอลนิโญ่รุนแรงขึ้น

การตัดไม้ทำลายป่า

ในเขตขั้วโลกและแถบละติจูดกลาง ป่าไม้ช่วยควบคุมสภาพภูมิอากาศให้อุ่นขึ้น ส่วนป่าฝนเขตร้อน ใบไม้ของพรรณพืชช่วยจับความชื้นและปล่อยให้ระเหยออกมาช้าๆ เป็นเสมือนเครื่องจักรธรรมชาติ เมื่อผืนป่าถูกโค่นลงและมีการเผาป่าในพื้นที่ขนาดใหญ่ สภาพที่แห้งและร้อนขึ้นจะเข้าไปแทนที่

ป่าฝนเขตร้อนมีคาร์บอนไดออกไซด์กักเก็บอยู่ครึ่งหนึ่งของคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ในพรรณพืชทั่วโลก เมื่อมีการเผาป่าไม้ คาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลจะปล่อยออกสู่บรรยากาศโลก ต้องใช้เวลาหลายทศวรรษไม่ว่าจะเป็นกลไกทางธรรมชาติหรือการปลูกป่าทดแทนเพื่อดึงคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศกลับคืนสมดุล

แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ใน อากาศ จะมี ปริมาณ เพิ่ม จาก ที่ เป็น อยู่ ปกติ ได้ หรือ ไม่ อย่างไร

วัวที่ถูกเลี้ยงในฟาร์ม Tangara ที่ ซานตาอมาเลีย บราซิล

การทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม

การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมเชิงอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกใกล้เคียงกับการปล่อยจากภาคการคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ยังมีการใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของไนโตรเจนยังสามารถปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ได้อีกด้วย

ก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมมนุษย์ดังกล่าวนี้เมื่อปล่อยออกสู่บรรยากาศจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกไปอีกหลายทศวรรษ (หรืออาจเป็นหลายศตวรรษ)

ขณะนี้ โลกของเราไม่อาจรองรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อีกแล้ว

หากเราไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีโอกาสสูงอย่างยิ่งที่สังคมมนุษย์จะเผชิญกับความเสี่ยงจากเหตุการณ์สภาพอากาศแบบสุดขั้วและหายนะภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนเหมือนเดิม

คาร์บอนไดออกไซด์เป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ แก๊สนี้มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีพของทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช เป็นสารตั้งต้นที่พืชใช้ผลิตอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง ในด้านอุตสาหกรรมนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน โอกาสการเกิดพิษของแก๊สชนิดนี้ ในการทำงานโดยปกติมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย อย่างไรก็ตามหากได้รับแก๊สนี้เข้าไปในปริมาณมาก จะทำให้หายใจเร็ว ชีพจรเร็ว หัวใจเต้นเร็ว กดสมอง ซึม มึนงง สับสน หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้

          ในบทความตอนนี้ทั้งหมด เราพูดถึงภาพรวมของวิธีการต่างๆ นานา ที่มีผู้ประดิษฐ์ คิดค้น วิจัย เสนอกันขึ้นมา เพื่อจัดการกับปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากคาร์บอนไดออกไซด์ แต่อันที่จริงแล้ว คาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูเหมือนจะเป็นตัวร้ายก็มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานของมนุษย์อย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน

รายงานการศึกษาของ IPCC  กล่าวว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ทศวรรษหน้า หากไม่มีการกำหนดนโยบายเพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือมีนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 25-90% ในปี ค.ศ.2030 เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยในปีค.ศ.2000 และหากการพึ่งพา เชื้อเพลิงฟอสซิล ยังดำเนินต่อไปหลังปี ค.ศ.2030 มีการคาดว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 40-110%

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อปี 2016

WMO ระบุว่า ระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มสูงขึ้น 50% จากระดับเฉลี่ยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา คณะนักวิจัย ชี้ว่า ภาวะเช่นนี้เป็นผลมาจากน้ำมือมนุษย์รวมกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ทำให้ชั้นบรรยากาศโลกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับเข้มข้นที่สุดในรอบ 8 แสนปี

บรรดานักวิทยาศาสตร์เกรงว่า ภาวะเช่นนี้จะทำให้เราไม่สามารถจำกัดอุณหภูมิโลกและแก้ปัญหาโลกร้อนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามความตกลงปารีส

WMO จัดทำรายงานเรื่องก๊าซเรือนกระจกฉบับล่าสุดโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการวัดระดับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ จากสถานีวิจัยที่ตั้งอยู่ใน 51 ประเทศทั่วโลก โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเมื่อปี 2016 วัดได้ที่ 403.3 ส่วนในล้านส่วน (ppm) เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2015 ซึ่งวัดได้ที่ 400 ส่วนในล้านส่วน

ตัวเลขที่ WMO เปิดเผยออกมานี้เป็นปริมาณของก๊าซเรือนกระจกส่วนที่เหลือจากการดูดซับของแหล่งดูดซับก๊าซของโลก (Earth's sinks) เช่น มหาสมุทร และระบบนิเวศต่าง ๆ

คำบรรยายวิดีโอ,

อุณหภูมิโลก ปี 2016 ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา

รายงานระบุว่าในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นมากเกือบ 100 เท่า จากระดับในช่วงสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระดับคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซชนิดอื่นอาจทำให้ระบบภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความชะงักงันครั้งใหญ่ของระบบนิเวศและเศรษฐกิจโลก

ดร.อ็อกซานา ทาราโซวา หัวหน้าโครงการดูแลชั้นบรรยากาศโลกของ WMO บอกกับบีบีซีว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้วเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 30 ปี โดยการเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ก่อนหน้านี้มีขึ้นในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในปี 1997-1998 ซึ่งเอลนีโญส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งและทำให้อัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ลดลง

ดร.ทาราโซวา กล่าวว่า แม้จะมีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามนุษย์ได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง แต่ชั้นบรรยากาศโลกก็ยังมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่มาก เนื่องจากก๊าซเหล่านี้จะปกคลุมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานหลายร้อยปี

"การเปลี่ยนแปลงจะไม่ใช้เวลาหลายหมื่นปีเหมือนในอดีต แต่มันจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว...เรายังไม่มีความรู้เพียงพอเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่น่าวิตกทีเดียว" ดร.ทาราโซวา กล่าว

บรรดาผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ครั้งล่าสุดที่โลกเผชิญภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเข้มข้นเช่นนี้คือช่วงกลางของสมัยไพลโอซีน เมื่อ 3-5 ล้านปีก่อน ซึ่งตอนนั้นสภาพภูมิอากาศอุ่นขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 10-20 เมตร อันเป็นผลมาจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกตะวันตก

ศ.ยูอัน นิสเบท จากรอยัลฮอลโลเวย์มหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวว่า อีกประเด็นที่น่าวิตกกังวลในรายงานของ WMO ฉบับนี้ คือการพบว่าระดับก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ ถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก๊าซมีเทนจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นและจะยิ่งทำให้แหล่งก๊าซในธรรมชาติปล่อยก๊าซชนิดนี้เพิ่มขึ้นตามมา