ประกันสินเชื่อรถยนต์ ไม่ทําได้ไหม

การจะเปลี่ยนหรือยกเลิกบริการต่างๆ ที่คุณได้ซื้อมานั้น ย่อมเป็นสิทธิที่คุณสามารถกระทำได้ หากในข้อตกลงมีระบุว่าทำได้ ซึ่งที่ต้องยกเลิก ก็คงเพราะความไม่พึงพอใจ หรือ พูดกันตรงๆ คือ อาจจะเจอดีลที่ดีกว่านั่นเอง ก็ย่อมจะสามารถเปลี่ยนแปลงสินค้า หรือบริการได้ครับ ประกันรถยนต์ก็เปรียบเสมือนสินค้าและการบริการต่างๆ เช่นเดียวกัน  หากเกิดการไม่พอใจหรือเปลี่ยนสินค้าหรือการให้บริการก็สามารถกระทำได้เช่นกันครับ หากใครที่กำลังเริ่มรู้สึกไม่พอใจกับประกันภัยรถยนต์ที่คุณได้มานั้นก็สามารถเปลี่ยนได้ หรือแม้แต่ประกันรถยนต์ที่พ่วงมา หรือเป็นโปรโมชั่นที่มากับบริษัทรถยนต์ หรือไฟแนนซ์ที่เป็นประกันสินเชื่อก็ตาม คุณก็สามารถ ยกเลิกประกัน ได้เช่นกันครับ ซึ่งวิธีการก็ไม่ยากเลยครับ วันนี้ MoneyGuru จะพามารู้จักวิธีการ ยกเลิกประกันรถยนต์ หรือการปรับเปลี่ยนความคุ้มครองที่ซื้อมาแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง

ยกเลิกประกัน ที่มากับไฟแนนซ์ได้หรือไม่

การจะยกเลิกประกันรถยนต์หรือต้องการปรับเปลี่ยนความคุ้มครองนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ยากอย่างที่คิดเลยนะครับ ซึ่งการจะยกเลิกประกันรถยนต์หรือต้องการปรับเปลี่ยนความคุ้มครองนั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้ครับ

ยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนก่อนวันคุ้มครอง

    • หากกรมธรรม์ที่คุณได้มานั้นยังไม่ถึงวันคุ้มครอง คุณก็สามารถทำเรื่องยกเลิกประกันรถยนต์หรือต้องการปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ทันทีครับ แต่จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆตามมาหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่คุณได้ทำมาครับ โดยเอกสารต่างๆ ที่ต้องเตรียมเอาไว้ก็มีเพียงแค่ สำเนาบัตรประชาชนพร้อมกับเขียบกำกับเอาไว้ว่า ต้องการยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนกรมธรรม์ครับ

ยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนหลังวันคุ้มครอง

    • หากใครที่ทำประกันรถยนต์ไปแล้วและถึงคุ้มครองตามกรมธรรม์แล้ว แต่อยู่ๆเกิดอยากเปลี่ยนประกันภัยรถยนต์เจ้าใหม่หรือต้องการปรับเปลี่ยนกรมธรรม์ใหม่ก็ยังสามารถทำได้เช่นกันครับ แต่อาจจะมีความยุ่งยากในขั้นตอนขึ้นมานิดหน่อย เพียงแค่คุณต้องแจ้งกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ว่า คุณมีความประสงค์ที่ต้องการยกเลิกประกันภัยรถยนต์ หลังจากแจ้งความประสงค์ไปแล้วทางบริษัทประกันภัยรถยนต์ก็จะคำนวณเงินส่วนต่างที่คุณจะได้รับคืน ซึ่งในส่วนของการคำนวณยอดเงินเพื่อคืนให้แก่คุณนั้นจะเป็นหน้าที่ของบริษัทประกันโดยตรงครับ ขั้นตอนนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับตัวแทนจำหน่าย เพราะฉะนั้นอาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควรครับ และหลังจากได้รับเงินคืนเรียบร้อยแล้วก็จะเท่ากับว่าคุณได้ทำการยกเลิกประกันภัยรถยนต์เรียบร้อยแล้วครับ

ขั้นตอนในการยกเลิกประกันรถยนต์

ยกเลิกประกันก่อนถึงวันคุ้มครอง

    1. ติดต่อบริษัทประกัน โบรกเกอร์ประกันภัยหรือตัวแทนที่แจ้งทำประกันรถยนต์ด้วย
    2. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการยกเลิกประกันรถยนต์ทะเบียนไหน ชื่อผู้เอาประกันชื่ออะไร และสาเหตุที่ต้องการยกเลิกประกัน
    3. หากได้รับเอกสารกรมธรรมมาแล้วต้องยื่นเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตัวจริงให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อทำเรื่องขอยกเลิกประกันภัยรถยนต์

ยกเลิกประกันหลังคุ้มครองไปแล้ว

    1. ติดต่อบริษัทประกัน โบรกเกอร์ประกันภัยหรือตัวแทนที่แจ้งทำประกันรถยนต์
    2. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการยกเลิกประกันรถยนต์ทะเบียนไหน ชื่อผู้เอาประกันชื่ออะไร และสาเหตุที่ต้องการยกเลิกประกัน
    3. ยื่นเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตัวจริงให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อทำเรื่องขอยกเลิกประกันภัยรถยนต์

กรณีต้องการยกเลิกประกันเพราะจะขายรถคันเก่า

ทั้งนี้ทั้งนั้น การยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี เช่น เมื่อคุณต่อประกันภัยรถยนต์แล้ว แต่คุณเพิ่งออกรถคันใหม่ระหว่างที่ประกันของคุณยังคุ้มครองอยู่ แล้วคุณต้องการขายรถคันเก่าทิ้ง ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้มีวิธีในการยกเลิกประกัน 2 วิธี คือ

    • เปลี่ยนชื่อผู้เอาประกัน โดยขั้นตอนคล้ายกับการปรับเปลี่ยนความคุ้มครอง แต่เอกสารที่คุณต้องเตรียมมีสำเนาบัตรประชาชนพร้อมเขียนว่าต้องการปรับเปลี่ยนกรมธรรม์และใบจดทะเบียนรถ (ชื่อผู้ขับขี่คนใหม่)
    • ยกเลิกประกันแล้วรับเงินค่าส่วนต่าง

หากเป็นกรณี ยกเลิกประกันแล้วรับเงินค่าส่วนต่าง เมื่อคุณได้แจ้งความประสงค์เพื่อยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไปแล้ว คุณมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามอัตราส่วนการคืนเบี้ยประกันภัยที่กำหนดไว้โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์ โดยการคำนวณอัตราคืนเบี้ยประกัน จะนับเอาวันที่บริษัทได้รับเอกสารแจ้งยกเลิกเป็นวันสิ้นสุดประกันภัย อัตราคืนเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สามารถดูได้ ตามตารางด้านล่างนี้

จำนวนวันประกันภัย % ร้อยละของเบี้ยประกันภัยเต็มปี จำนวนวันประกันภัย % ร้อยละของเบี้ยประกันภัยเต็มปี จำนวนวันประกันภัย % ร้อยละของเบี้ยประกันภัยเต็มปี
1-9 วัน 72 % 120-129 วัน 44 % 240-249 วัน 20 %
10-19 วัน 68 % 130-139 วัน 41 % 250-259 วัน 18 %
20-29 วัน 65 % 140-149 วัน 39 % 260-269 วัน 16 %
30-39 วัน 63 % 150-159 วัน 37 % 270-279 วัน 15 %
40-49 วัน 61 % 160-169 วัน 35 % 280-289 วัน 13 %
50-59 วัน 59 % 170-179 วัน 32 % 290-299 วัน 12 %
60-69 วัน 56 % 180-189 วัน 30 % 300-309 วัน 10 %
70-79 วัน 54 % 190-199 วัน 29 % 310-319 วัน 8 %
80-89 วัน 52 % 200-209 วัน 27 % 320-329 วัน 6 %
90-99 วัน 50 % 210-219 วัน 25 % 330-339 วัน 4 %
100-109 วัน 48 % 220-229 วัน 23 % 340-349 วัน 3 %
110-119 วัน 46 % 230-239 วัน 22 % 350-359 วัน 1 %
        360-366 วัน 0 %

การยกเลิกประกันภัยรถยนต์นั้นไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำและก็ไม่ผิดด้วยถ้าหากคุณอยากจะเปลี่ยน เพราะทุกๆ คนก็คงอยากจะหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตัวของเราเอง ยิ่งหากเจอประกันภัยรถยนต์เจ้าอื่นที่ถูกกว่า แถมยังให้ความคุ้มครองที่มากกว่าด้วย ก็ไม่มีเหตุผลอะไรจะมาปฎิเสธมัน จริงมั้ย

พิเศษสำหรับท่านที่ยังไม่มีประกันรถยนต์วันนี้เรามีข้อเสนอสุดพิเศษสำหรับเดือนนี้ท่านไหนยังไม่มีประกันที่โดนใจวันนี้เราขอแนะนำ โปรด่วนแบบรับจุกๆสวนกระแสราคาน้ำมันที่แพงในเวลานี้เพียงท่าน  ซื้อประกันรถยนต์รับบัตรเติมน้ำมันฟรีที่ MoneyGuru มูลค่า 1,000 บาท เพียงแค่ท่านลงทะเบียนซื้อประกันกับ MoneyGuru ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคมนี้

วิธีซื้อประกันรถยนต์รับบัตรเติมน้ำมันฟรีที่ MoneyGuru

ประกันสินเชื่อรถยนต์ ไม่ทําได้ไหม

พิเศษทำประกันรถชั้น 1  รับทันทีบัตรเติมน้ำมันมูลค่า 1,000 บาท ❗ เพียงแค่ท่านลงทะเบียนซื้อประกันกับ MoneyGuru ที่ลิงค์นี้ : https://bit.ly/3MMTfgI

🚗 ให้เราคุ้มครองรถยนต์ของคุณ มั่นใจ ไร้กังวล ด้วยประกันรถยนต์ที่ดีที่สุดจากบริษัทประกันภัยชั้นนำของประเทศไทย

    • รับบัตรเติมน้ำมัน 1,000 บาท เมื่อทำประกันรถยนต์แบบออนไลน์กับ moneyguru.co.th
    • ไม่ต้องตรวจสภาพรถ
    • ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
    • ผ่อน 0% 6 เดือน

ให้เราคุ้มครองรถยนต์ของคุณ มั่นใจ ไร้กังวล ด้วยประกันรถยนต์ที่ดีที่สุดจากบริษัทประกันภัยชั้นนำของประเทศไทย  เมื่อคุณเลือกเปรียบเทียบข้อเสนอประกันรถยนต์กับเรา MoneyGuru.co.th  สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทักมาที่ โทร. 02-653-0020

*เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทกำหนด

บทความแนะนำ

    • ข้อดี ข้อเสีย หากเปลี่ยนประกันรถยนต์ก่อนหมดปี
    • ทำไมค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    • รถโดนลูกหลงจากระเบิด ประกันรถยนต์คุ้มครองหรือไม่?