คนต่างชาติ แต่งงานกับคนไทย ซื้อ ที่ดิน ได้ไหม

�Է��㹷��Թ�ͧ������ʡѺ��ǵ�ҧ�ҵ�



  1. ��� �óշ���觧ҹ�Ѻ��ǵ�ҧ�ҵ�����շ��Թ㹪��ͧ͢����ͧ��͹��������������� ��ҡ��Һ��� �ѧ����͡����Է���㹷��Թ��ѧ���������� �ҡ�Ы��ͷ��Թ������ѧ ˭ԧ����觡Ѻ��ǵ�ҧ�ҵ����Ǩѡ�����ҡ�������˹ �������·�ҹ�͡�������͹�ѹ��� �ͤ�����سҪ��ᨧ����Һ����

    �ͺ 1. �óդ������Է��㹷��Թ�����͹���ʡѺ����ҧ���� ������������ѧ����ѭ�ҵ������� �������Է��㹷��Թ���Թ��ǹ��ǵ����� ��������¹�ѭ�ҵ��繤���ҧ���� ��餧���Է�Է��Թ����ҷ�褹��ҧ���Ǩо֧�� ����ҵ�� 87 ��觻����š����·��Թ �� �����������¤�ͺ����������Թ 1 ��� �͡�ҡ������ӡ�è�˹���
            2. �ؤ���ѭ�ҵ��·���դ�������繤���ҧ���� ����ѧ����ѭ�ҵ������� ����ö���ͷ��Թ�� �ºؤ���ѭ�ҵ�����Ф�����ʷ���繤���ҧ���� ��ͧ�ѹ�֡�׹�ѹ������ѡɳ��ѡ�������ѹ��;�ѡ�ҹ���˹�ҷ�� � �ӹѡ�ҹ���Թ��ѹ������¹�Է����йԵԡ��� ����Թ���ؤ���ѭ�ҵ��¹��ҫ��ͷ��Թ���������Թ��ǹ��� ���ͷ�Ѿ����ǹ��Ǣͧ�ؤ���ѭ�ҵ�������§�������� �����Թ�������ͷ�Ѿ����������������ѹ �ҡ������ʷ���繤���ҧ���������ҧ����� �������ö��׹�ѹ������ѡɳ��ѡ�������ѹ�Ѻ������ ���ʶҹ�͡�Ѥ��Ҫ�ٵ ʶҹ����� ����⹵��ջѺ�Ԥ �ѹ�֡���¤Ӥ�����ʷ���繤���ҧ�������������ѡɳ��ѡ�������Ѻ�ͧ��Һؤ�ŷ���˹ѧ��͹���繤�����ʢͧ�ؤ���ѭ�ҵ��¨�ԧ �������������ʧ��Ы��ͷ��Թ��˹ѧ����Ѻ�ͧ���ͺ�����Ҿ�ѡ�ҹ���Թ���зӡ�è�����¹�Է����йԵԡ���������ͧ������ ��ѡ�ҹ���˹�ҷ��֧�д��Թ��è�����¹�Է����йԵԡ������ �������;�ѡ�ҹ���˹�ҷ���騴����¹�Է����йԵԡ������� ���Թ���������Թ��ǹ��� ���ͷ�Ѿ����ǹ��Ǣͧ���½�������

    Source:www.dol.go.th

คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติถือครองที่ดินได้หรือไม่

by on July 16, 2013

คนต่างชาติ แต่งงานกับคนไทย ซื้อ ที่ดิน ได้ไหม

เดิมกฎหมายไทยไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวที่จดทะเบียนสมรสกับคนไทยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือแม้กระทั่งคนไทยที่จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินของไทยไม่อนุญาต เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจะตกเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่ง  แต่เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 30ได้บัญญัติว่า

“บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้ สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม”

นักกฎหมายไทยด้านกฎหมายครอบครัว และอสังหาริมทรัพย์
บริษัท ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์ จำกัด มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายครอบครัว และอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ

และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 41 บัญญัติไว้ว่า

“สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง
ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงได้วางแนวทางและหลักเกณฑ์ในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินกรณีของคนต่างด้าวที่ได้สมรสกับคนไทย ดังนี้

1.  หากคนไทยที่ได้สมรสกับชาวต่างชาติโดยชอบด้วยกฎหมายต้องการที่จะซื้อที่ดินในระหว่างการสมรส  คู่สมรสที่เป็นชาวต่างด้าวต้องยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า  เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวของบุคคลสัญชาติ ไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่สินสมรส ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้   แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นสินสมรส เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อขอคำสั่ง รัฐมนตรีตามนัย(มาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)
2.  กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่น ที่คล้ายคลึงกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภรรยา กับคนต่างด้าวหากสอบสวนแล้วผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อ ที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็น คู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เมื่อพนักงานเจ้าหน้า ที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปกรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัย (มาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)
3.  กรณีบุคคลสัญชาติไทย ที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมาย ขอรับให้ที่ดินในระหว่างสมรส หรือระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากัน หากสอบสวนแล้ว เป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ทำให้คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินร่วมด้วย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้แต่ถ้าหากเป็นการรับให้ในฐานะ ที่เป็นสินสมรส หรือมีผลทำให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วยเมื่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อเสนอขอคำสั่งรัฐมนตรีตามนัย (มาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)
4.  กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวแต่ได้หย่าขาดจากกัน หรือเลิกร้างกันแล้ว ขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์ หลีกเลี่ยงกฎหมาย ก็ให้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้

ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสที่ดี ที่คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้ แต่การยินยอมโดยคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวนั้นกรมที่ดินได้วางระเบียบว่า ต้องไปให้ความยินยอมด้วยตนเองจะทำเป็นหนังสืออย่างเดียวโดยไม่ไปแสดงตนไม่ ได้