คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน ขนาดเล็ก

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564  เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศเผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2564  โดยมีรายละเอียดหลักๆ ดังนี้

ขนาดสถานศึกษา 
ขนาดเล็ก  ไม่เกิน  300  คน
ขนาดใหญ่  เกิน  300 คนขึ้นไป

จำนวนคณะกรรมการสถานศึกษา
โรงเรียนขนาดเล็ก  9  คน  โรงเรียนขนาดใหญ่  15 คน  (เหมือนเดิม)

ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งได้คราวละ  4  ปี  และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้  แต่ต้องไม่เกิน  2  วาระ

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้
เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพันจากตำแหน่งของคณะกรรมการสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน รวมทั้งมีการยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและโอนอำนาจหน้าที่ไปเป็นของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด สมควรปรับปรุงจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงดำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาชั้นพื้นฐานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

Back to top button

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านพังขว้างวัฒนศิลป์

 ความสำคัญ

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นองค์คณะบุคคลที่ทำงานร่วมกับสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการด้วยตนเองได้ตามกรอบที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นความหลากหลายของบุคคลที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการจึงเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ในด้านต่างๆ บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศ

ที่มาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง กำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และ การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 กำหนดให้ "...สถานศึกษาขนาดใหญ่ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15  คน ประกอบด้วย

  1. ประธานกรรมการ
  2. กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครอง จำนวนหนึ่งคน
  3. กรรมการที่เป็นผู้แทนครู จำนวนหนึ่งคน
  4. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน จำนวนหนึ่งคน
  5. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนหนึ่งคน
  6. กรรมการที่เป็นผู้แทนศิษย์เก่า จำนวนหนึ่งคน
  7. กรรมการที่เป็นผู้แทนพระภิกษุ และหรือ ผู้แทนองค์กรศาสนาในพื้นที่จำนวนหนึ่งรูป หรือ หนึ่งคนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก และ จำนวนสองรูป หรือ สองคน สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่
  8. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนหนึ่งคนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กและจำนวนหกคนสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่
  9. ผู้อำนวยการ เป็นกรรมการและเลขานุการ

นอกจากยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ และวิธีดำเนินการสรรหาตาม ข้อ 3-6 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว

อำนาจหน้าที่ ตามมาตราที่ 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2546 กำหนดให้มี "คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546 เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมกิจการของสถานศึกษา" ตามมาตราที่ 26 แห่งร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 "ให้คณะกรรมการสถานศึกษามีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา" ดังต่อไปนี้

  1. กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากำหนด
  2. เสนอความต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
  3. ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
  4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือ ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย

บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
::  บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านวิชาการ

-พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและความ

ต้องการของผู้เรียน ชุมชนและ ท้องถิ่น

-จัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษาอย่างต่อเนื่อง

-จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ รายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการสถานศึกษารับทราบ

ด้านงบประมาณ

-จัดตั้งและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษาตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ

-ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการบริหารการเงินและการจัดหารายได้จากทรัพย์สินของ สถานศึกษา ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ

ด้านการบริหารงานบุคคล

ดำเนินการตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากำหนด

ด้านการบริหารงานทั่วไป

-จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของ

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

-ดำเนินการและกำกับ ติดตามและประเมินผลงานตามแผนงานโครงการของสถานศึกษา

-ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครองดูแลบำรุงรักษา ใช้ และ จัดหาผลประโยชน์จาก

ทรัพย์สินของสถานศึกษา ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ

-ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ ฯลฯ ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ

-ส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆ ในชุมชนและท้องถิ่น

-ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาหรือตามที่ได้รับมอบหมายและตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด

::บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านวิชาการ

-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน และ ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น

-ให้ข้อเสนอแนะและส่งเสริม สนับสนุนในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ฯลฯ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

-รับทราบ และ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดระบบและการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ด้านงบประมาณ

-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งและการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา

-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในการออกระเบียบ ข้อบังคับประกาศ และ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ-บริหารการเงิน และ การจัดหารายได้ จากทรัพย์สิน ของสถานศึกษาหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด

ด้านการบริหารงานบุคคล

-ปฏิบัติตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านการบริหารทั่วไป

-ให้ความเห็น เสนอแนะและให้คำปรึกษาในการจัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผน ของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้ง ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

รับทราบ

-ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาและกิจการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ตลอดจนนโยบาย และ แผนของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ความต้องการ ของชุมชนและท้องถิ่น และรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเมื่อสถานศึกษาไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ตลอดจนนโยบาย และแผนของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน เกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแลบำรุงรักษา ใช้ และจัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษาตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด

-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ และ ให้คำปรึกษาในการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ ฯลฯ ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสถานศึกษา ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด

-ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษาในการส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆในชุมชนและท้องถิ่น

-ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านพังขว้างวัฒนศิลป์

นายรุ่ง     เย็นวัฒนา          ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาฯ

นางสุธารักษ์   มุงคำภา         กรรมการผู้แทนครู

นางลั่นทม    อักษาสอน        กรรมการผู้แทนผู้ปกครอง

นางเอื้อมพร   หนาดคำ         กรรมการผู้แทนศิษย์เก่า

นางลัดดาวัลย์   โพธาราม      กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นางปัญญานี   ผายวงษา       กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน

พระครูสุวรรณสิริชัย            กรรมการผู้แทนพระภิกษุสงฆ์

นายประวัติ     โทษาธรรม     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

นายเอกนรินทร์   ต่อวงษ์       กรรมการและเลขนุการ