ความสัมพันธ์ของอยุธยากับสเปน

ความสัมพันธ์การค้าและการทูตระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดา : จากบ้านฮอลันดา สู่พิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ ฉิมมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ทัศนี สุทธิวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

บ้านฮอลันดา, อยุธยา

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ว่าด้วยสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตระหว่าง กรุงศรีอยุธยากับฮอลันดา นับตั้งแต่ฮอลันดาเข้ามาดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตติดต่อการค้าในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวร ใน พ.ศ. 2147 ฮอลันดามีบทบาททางการค้าอย่างมากนับตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าทรงธรรมเรื่อยมาจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หลังรัชกาลนี้ การค้าระหว่างกรุงศรีอยุธยากับต่างประเทศได้ซบเซาลง ส่งผลต่อการค้าฮอลันดาด้วย ทั้งนี้ความสัมพันธ์ทางด้านการค้าและความสัมพันธ์การค้าและการทูตระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจนกระทั้งเสียกรุง ใน พ.ศ. 2310 และฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการอีกครั้งในวาระครบรอบ 400 ปี พ.ศ.2547 กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นโบราณสถาน ในบริเวณที่เชื่อว่าเป็นสถานีการค้าเดิมของฮอลันดาบ้านฮอลันดา จากนั้นได้สร้างอาคารศูนย์ข้อมูลฮอลันดาเพื่อเป็นศูนย์การศึกษา ศูนย์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สยาม- ฮอลันดา เปิดทำการ พ.ศ.2555 หรือเรียกว่า พิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดา จัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จาการขุดค้นและนำเสนอวัตถุ ข้อมูล สื่อทางด้านประวัติศาสตร์ไทย ณ ปัจจุบันบริหารจัดการโดยกรมศิลปากร

Downloads

Download data is not yet available.

References

กำพล จำปาพันธ์. (2558). “บ้านฮอลันดา” จากสังคมเมองท่าอยุธยา สู่ ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์-เนเธอร์แลนด์. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, ปีที่33 (ฉบับที่ 2), ค้นหาเมื่อ 15 สิงหาคม 2560 จาก www.tci-thaijo.org

จิตรสิงห์ ปิยะชาติ. (2554). หนังสืออยุธยาแผ่นดินประวัติศาสตร์รวมประเทศอาณาจักรอยุธยาที่คนไทยควรรู้. กรุงเทพฯ : ยิปซี.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2543). อยุธยาประวัติศาสตร์การเมือง กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ธีรวัต ณ ป้อมเพรช. (2555). 100 เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 5 (จดหมายเหตุออกพระพิพัทธโกษาถึงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ค.ศ. 1798). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลับพลึง คงชนะ. (2533). “กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่า.” ในศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา. พระนครศรีอยุธยา : ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา.

ภัทรดิศ ดิศสกุล. (2551). โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ภาวรรณ เรืองศิลป์. (2553). ชาวต่างชาติกับกฎหมายและระเบียบสังคมไทยสมัยอยุธยา กรณีศึกษาหมู่บ้านฮอลันดา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

องสุนีย์ อุดมพาณิชย์. (2523). การค้ากับต่างประเทศของอยุธยา คริสต์ศตวรรษที่ 17. กรุงเทพฯ : มนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนงคณา มานิตพิสิฐกุล. (2545). ไทยกับชาติตะวันตกสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ : ปิรามิด.

อาคารศูนย์ข้อมูลฮอลันดา. (2560) ค้นเมื่อ, จาก https://f.ptcdn.info/691/007/0001374895706-BaanHollan-o.jpg

ความสัมพันธ์ของอยุธยากับสเปน

How to Cite

ศุกร์ มิ.ย. 10

ผู้เขียน:  จรัญญา ศรีไพร จาก สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 10:24 น.

 

อ่าน 40,052

ในวันที่ 10 มิถุนายน 2554 เวลาประมาณ 18.30 น. นายวิทยา  ผิวผ่อง  ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  จะไปเข้าร่วมงานฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างประเทศไทย - โปรตุเกส ณ โรงแรมรอยัลออคิด เชิราตัน  กรุงเทพฯ

ในโอกาสนี้ ขอนำเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์มายาวนาน 500 ปี ที่ประเทศไทยมีต่อประเทศโปรตุเกส มาเพื่อทราบพอสังเขป

ความสัมพันธ์ของอยุธยากับสเปน
 ประวัติศาสตร์ 

1. การเข้ามาของชาวโปรตุเกสในประเ้ทศไทย

ความสัมพันธ์ของอยุธยากับสเปน

              เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งจากการค้นคว้าเอกสารและงานด้านวิชาการต่างๆ ทั้งจาก ฝ่ายไทยและฝ่ายโปรตุเกสว่า ประเทศโปรตุเกสเป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อความสัมพันธ์กับประเทศไทย และอาจกล่าวได้ด้วยว่า พร้อมๆ กับการเข้ามาของชาวโปรตุเกส คริสตศาสนาก็ได้เข้ามาในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะว่าในการออกสำรวจดินแดนใหม่เพื่อประโยชน์ทางการค้าและการล่าอาณานิคมของโปรตุเกสนั้น โปรตุเกสได้รับอภิสิทธิ์อุปถัมภ์ศาสนา หรือที่เรียกกันว่า Padroado มีหน้าที่ในการทะนุบำรุงศาสนา และประกาศพระศาสนาไปยังดินแดนใหม่ที่ค้นพบ
ื            นอกจากนี้ ประเทศโปรตุเกสยังเป็นประเทศคริสตศาสนาที่เคร่งครัดและมีจิตใจร้อนรนในศาสนามิใช่น้อย ชาวโปรตุเกสทุกคนที่เข้ามาในประเทศไทยครั้งนั้น ทุกคนจึงล้วนแต่นับถือคริสตศาสนา และเมื่อสามารถสร้างหลักปักฐานอยู่ใน
ประเทศไทยได้แล้ว ก็ย่อมมีความปรารถนาที่จะปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ตามความเชื่อของตน นั่นย่อมหมายความว่า ชาวโปรตุเกสจะต้องมีมิชชันนารีหรือบาทหลวงเพื่อช่วยอภิบาลวิญญาณของพวกเขา และมีโบสถ์เพื่อใช้ประกอบศาสนพิธีต่างๆ
            พระมหากษัตริย์ไทยในยุคนั้นก็ทรงมีพระราชหฤทัยกว้างขวาง ทรงให้การต้อนรับชาวโปรตุเกสด้วยดี ส่วนชาวโปรตุเกสเองก็มิได้มีจิตใจที่จะเอาประเทศสยามเป็นเมืองอาณานิคม มีแต่ต้องการค้าขายด้วยเท่านั้น มิตรภาพระหว่างทั้งสองประเทศจึงได้เริ่มต้นขึ้นด้วยความเข้าใจอันดีต่อกัน และเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงมิตรภาพนี้ก็คือ ที่ดินที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานให้แก่ชาวโปรตุเกส เพื่อใช้ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัย และสร้างโบสถ์สำหรับประกอบศาสนกิจต่างๆ ซึ่งเราเรียกกันมาช้านานแล้วว่า หมู่บ้านโปรตุเกส 
             ดังนั้น การศึกษาถึงหมู่บ้านโปรตุเกสจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงความเป็นไปของบุคคลต่างๆ ในประวัติศาสตร์ไทย ประเพณีทางศาสนา และประวัติศาสตร์คริสตศาสนาในประเทศ ได้ดีขึ้น                                                             
             ก. ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
เรื่องนี้มีภูมิหลังตั้งแต่การเดินทางของนักผจญภัยชาวเวนิชคือ มาร์โคโปโล (Marco Polo 1254-1323) ผู้ซึ่งเจริญรอยตามบิดาและลุงในการออกเดินทางไปประเทศจีน ตลอดระยะเวลา 17 ปี  ที่อยู่ในประเทศจีน มาร์โคโปโลได้ออกเดินทางไปยังหลายต่อหลายประเทศในเอเชียแถบนี้ เขาเดินทางมาถึงประเทศจีนเมื่อ ปี ค.ศ.1275 และเดินทางกลับไปถึงเมืองเวนิช (Venice) เมื่อปี ค.ศ.1295 จากนั้นไม่นาน ก็เกิดสงครามขึ้นระหว่างเมืองเวนิช และเมืองเจนัว (Genoa) ทำให้มาร์โคโปโลถูกจับเป็นเชลย
             ในคุกนี้เองเพื่อนร่วมคุกคนหนึ่งชื่อ รุสตีซีอาโน (Rusticiano) ได้เขียนเรื่องการเดินทางของมาร์โคโปโลตามคำบอกของเขา เรื่องราวเหล่านี้ทำให้ชาวยุโรปมีความปรารถนาที่จะเดินทางผจญภัยแบบนี้บ้าง ในศตวรรษที่ 14 ชาวโปรตุเกสเป็นชาติที่มีอำนาจมาก และมีความเจริญก้าวหน้าในการเดินเรือ จนในที่สุดมีนักเดินเรือที่มีชื่อเสียงมากคือ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) และบาร์เทอร์โลมิว ดีอาซ (Barthelomue Diaz) จนทำำให้เกิดความคิดที่จะใช้การเดินเรือเพื่อค้นหาดินแดนใหม่ๆ เกิดขึ้น  ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า       
               ปี ค.ศ.1415 เจ้าชายเฮนรี่ (Henry) นักเดินเรือ พระโอรสของพระเจ้ายอห์น ที่ 1 แห่งโปรตุเกส สามารถเดินเรือออกไปทางอาฟริกาและยึดเกาะเซวต้า (Ceuta) ได้ และนับจากนั้นเป็นต้นมา ประเทศโปรตุเกสก็เริ่มออกสำรวจทางทะเลอย่างจริงจังเพื่อค้นหาดินแดนใหม่ๆ สมเด็จพระสันตะปาปาเวลานั้นก็ทรงมอบอำนาจและสิทธิพิเศษหลายประการแก่ประเทศโปรตุเกส ทั้งในการค้นหาดินแดนใหม่ๆ และการทะนุบำรุงศาสนา สิทธิพิเศษประการนี้เรียกว่า Padroado ซึ่งมีรายละเอียดและมีระเบียบมากมาย มีวิวัฒนาการสืบต่อๆ มาฝ่ายประเทศสเปน เมื่อ พระเจ้าเฟอร์ดินันโด (Ferdinando) และพระนางอิสซาเบลลา (Isabella) สามารถรวมตัวกันและปลดปล่อยสเปนจากพวกมุสลิมที่เข้ามายึดครองได้แล้ว สเปนก็มีอำนาจมากขึ้น ในเวลานั้นเอง คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ก็ออกแสวงหาดินแดนใหม่ในนามของประเทศสเปน เขาค้นพบทวีปอเมริกาในปี ค.ศ.1492 การค้นพบนี้ทำให้สเปนซึ่งเป็นประเทศคาทอลิกเช่นเดียวกับโปรตุเกส ส่งเอกสารขอสิทธิพิเศษจาก พระสันตะปาปา อเล็กซานเดอร์ ที่ 6 (Alexander VI) เช่นเดียวที่โปรตุเกสได้รับ และเนื่องจากทั้งโปรตุเกสและสเปนเป็นประเทศคาทอลิกที่มีอำนาจมาก พระสันตะปาปาเกรงว่าการสำรวจดินแดนใหม่ๆ นี้ อาจทำให้ทั้งสองประเทศต่างผิดใจกันได้ จึงทรงขีดเส้นแบ่งโลก จากขั้วโลกหนึ่งไปยังอีกขั้วโลกหนึ่ง  เป็น 2 ซีก โดยกำหนดให้ซีกตะวันตกของยุโรปเป็นความรับผิดชอบของสเปน และทางตะวันออกเป็นของโปรตุเกส  เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1493 แต่การแบ่งเส้นนี้ ประเทศโปรตุเกสเห็นว่าประเทศสเปนได้เปรียบมากกว่า ดังนั้นจึงเกิดสนธิสัญญา Tordesillas ขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.1494 โดยการลากเส้นขยายพื้นที่ให้แก่โปรตุเกสเข้ามาทางตะวันตกอีก และเส้นนี้เองที่ทำให้ประเทศบราซิลเป็นของโปรตุเกส 
ข. การติดต่อสัมพันธ์ครั้งแรกระหว่างสองประเทศ
             ชาวโปรตุเกสออกแสวงหาดินแดนใหม่โดยเดินทางมาทางตะวันตก อ้อมทวีปอาฟริกา ผ่านแหลมกู๊ดโฮป (Good Hope) และขยายตัวอย่างรวดเร็วมาทางเอเชีย อัลฟอนโซ ดาลบูเคิร์ก (Alfonso d'Albouquerque) อุปราชของพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกส (Envoy) หรือผู้แทนพระองค์ เข้ายึดเมืองกัว (Goa) ซึ่งเป็นเมืองท่าทางฝั่งตะวันตกของอินเดียได้เมื่อปี ค.ศ.1509 ก่อนหน้านี้เล็กน้อย พระเจ้ามานูแอล (Manoel) กษัตริย์โปรตุเกส ได้ส่งดีโอโก โลเปซ เดอ เซเกอีรา (Diogo Lopes de Sequeira) ออกสำรวจหาข้อมูลและแหล่งสินค้าต่างๆ ตามเกาะและประเทศทางมาดากัสการ์ (Madagascar), ศรีลังกา (Ceylon) และมะละกา(Malacca) ปี ค.ศ.1508 ที่มะละกานี้เอง ชาวโปรตุเกส 27 คน ได้ถูกจับเป็นเชลย ในจดหมายของเชลยคนหนึ่งที่เขียนถึงอัลบูเคิร์ก   ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1510 กล่าวไว้ว่า เวลานี้กษัตริย์แห่งมะละกากำลังทำสงครามอยู่กับกษัตริย์แห่งสยามซึ่งมีอาณาจักรกว้างใหญ่และมีท่าเรือต่างๆ จำนวนมาก และจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้อัลบูเคิร์กตัดสินใจโจมตีมะละกา โดยมีเหตุผลว่า
             
1. เพื่อช่วยเชลยชาวโปรตุเกส
             2. เพื่อเอามะละกาเป็นเมืองท่าและศูนย์การค้าขาย
             3. และจะไม่มีปัญหากับประเทศสยาม           อัลบูเคิร์กยึดมะละกาได้เมื่อปี ค.ศ.1511 และได้เริ่มต้นสถาปนาสัมพันธภาพฉันมิตรกับประเทศสยามในทันที ด้วยการส่งดูอาร์ต เฟอร์นันเดส (Duarte Fenandes) เป็นทูต มาเฝ้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในปีเดียวกันนั้นเอง เหตุผลที่อัลบูเคิร์กสถาปนาสัมพันธภาพครั้งนี้กับประเทศสยาม เป็นเพราะประเทศสยามเป็นประเทศที่มั่นคงและมั่งคั่ง การจะทำสงครามกับประเทศสยามคงไม่ยากนักก็จริง แต่การรักษาไว้ต่อไปก็ไม่ง่ายนัก อีกประการหนึ่งแม้ประเทศสยามจะเคยอ้างว่ามะละกาเป็นประเทศราชของตน ต้องส่งบรรณาการแก่ประเทศสยามมาตั้งแต่ครั้งสมัยพระรามาธิบดี อู่ทอง  แต่มะละกาก็ไม่ได้กระทำตนเป็นประเทศราช หลายครั้งยังทำตนเป็นศัตรูกับประเทศสยาม  ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือในสมัยพระรามาธิบดีอู่ทอง นั้น มะละกายังไม่ได้สถาปนาเป็นบ้านเมือง มะละกาได้รับการสถาปนาเป็นบ้านเมืองในรัชกาลสมเด็จพระรามราชา และประกาศเป็นเอกราชตั้งแต่ปี ค.ศ.1403 ราชวงศ์มะละกาสืบครองบ้านเมืองต่อๆ มากว่า 100 ปี โดยไม่ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดมา นักประวัติศาสตร์รวมทั้งข้อมูลทางประวัติ ศาสตร์บางประการอาจระบุว่ามะละกาเป็นประเทศราชของสยามก็เนื่องมาจากว่า สยามในสมัยรัชกาลพระรามาธิบดี อู่ทอง ขยายดินแดนลงมาทางใต้สุด แต่เวลานั้นมะละกายังไม่ได้เป็นบ้านเมืองในความหมายนั้น การกล่าวอ้างเช่นนี้จึงถือเป็นความจริงเพียงส่วนเดียว

             การที่โปรตุเกสยึดมะละกาไป จึงไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้สยามบาดหมางกับโปรตุเกส และยิ่งกว่านั้นพระมหากษัตริย์สยามยังให้การต้อนรับคณะทูตของโปรตุเกสเป็นอย่างดีอีกด้วย อันที่จริง อัลบูเคิร์กส่งดูอาร์ต เฟอร์นันเดส มาเป็นทูตที่สยามก่อนที่จะยึดมะละกาได้อย่างสมบูรณ์ด้วยซ้ำ ดูอาร์ต เฟอร์นันเดส ได้เข้าเฝ้าอย่างสง่า ถวายของขวัญเป็นดาบฝังเพชรและจดหมายลงชื่อโดยอัลบูเคิร์ก ในนามของกษัตริย์โปรตุเกส เมื่อดูอาร์ต เฟอร์นันเดส เดินทางกลับมะละกา  ทูตสยามได้ติดตามไปด้วย และได้มอบของขวัญเป็นการตอบแทน คณะทูตสยามได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ
             ปี ค.ศ.1511 คณะทูตโปรตุเกสชุดที่สอง นำโดยอันโตนิโอ เด มิซานดา เด อเซเวโด (Antonio de Mizanda de Azevedo) พร้อมกับมานูแอล ฟราโกโซ (Manoel Fragoso) เดินทางเข้ามาในสยาม ฟราโกโซอยู่ในสยามต่ออีก 2 ปี และได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับสินค้า ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของสยามส่งกลับไปโปรตุเกส และรายงานชิ้นนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์จนถึงทุกวันนี้ พระเจ้าแผ่นดินสยามถวายของพระราชทานแด่กษัตริย์แห่งโปรตุเกสโดยผ่านทาง อันโตนิโอ เด มิซานดา ด้วย

             ปี ค.ศ.1518 D. Aleixo de Menezeo ได้รับมอบอำนาจพิเศษที่มะละกา ได้ส่งดูอาร์ต โกแอลโฮ (Duarte Coelho) เป็นทูตพิเศษเข้ามาในสยามพร้อมทั้งจดหมายและของขวัญ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสจัดมาถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินสยามเป็นการตอบแทน ในการส่งทูตมาครั้งนี้ได้มีการทำสัญญาฉบับแรกระหว่างสยามและโปรตุเกส โดยฝ่ายโปรตุเกส ได้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่สยาม และฝ่ายสยามก็ได้ให้อภิสิทธิ์ในด้านศาสนาและการพาณิชย์เป็นการตอบแทน เวลาเดียวกันสยามสามารถส่งชาวสยามไปตั้งถิ่นฐานในมะละกาได้ สัญญาฉบับนี้นับเป็นฉบับแรกที่สยามกระทำกับประเทศยุโรป และเป็นสัญญาที่เอื้อผลประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศอย่างเห็นได้ชัด สยามเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์  ประเทศโปรตุเกสมีอาวุธในการทำสงครามที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ  ชาวโปรตุเกสจำนวนมากได้เดินทางเข้ามาในประเทศสยาม และสอนชาวสยามให้รู้จักศิลปะในการสงคราม การสร้างป้อมปราการ

                 สิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งก็คือ  จากการศึกษาเอกสารของฝ่ายโปรตุเกสระบุว่าปีที่ทำสัญญาฉบับนี้ได้แก่ปี ค.ศ.1518 ในขณะที่หนังสือประวัติศาสตร์ไทยระบุว่าเป็นปี ค.ศ.1516 แต่ผู้ทำสัญญฉบับนี้ตรงกันคือดูอาร์ต โกแอลโฮ เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการศึกษากันต่อไป ในขณะเดียวกับที่อันโตนิโอ ดา ซิลวา เรโก (Antonio da Silva Rego) นักประวัติศาสตร์โปรตุเกสระบุว่าสัญญาฉบับนี้กระทำโดย อันโตนิโอ เด มิซานดา เด อเซเวโด (Antonio de Mizanda de Azevedo) และแคมโปส (Campos) ในบทความของเขาก็ยืนยันว่าดูอาร์ต โกแอลโฮ มากระชับสัญญาฉบับแรกนั้นให้แน่นแฟ้นขึ้นเท่านั้น

             เป็นอันว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นแล้ว ชาวโปรตุเกสเข้ามาพำนักในสยามเพื่อทำการค้าขายและมีเสรีภาพในการถือศาสนาของตน ในเอกสารโบราณของชาวโปรตุเกสกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นชาวโปรตุเกสได้นำเอาไม้กางเขนขนาดใหญ่ มีตราแผ่นดินของประเทศโปรตุเกสไปปักไว้ที่กลางกรุงศรีอยุธยา เรื่องนี้มิได้ปรากฏในพระราชพงศาวดาร หรือเอกสารของไทยแต่อย่างใด และเอกสารโบราณชิ้นนี้ยังระบุไว้ด้วยว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1516 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับโปรตุเกสอย่างเป็นทางการ ไม้กางเขนอันนี้น่าจะเป็นไม้กางเขนที่เก่าแก่ที่สุดตามหลักฐานทางเอกสาร

2. กำเนิดหมู่บ้านโปรตุเกส
               แม้ว่าจะมีชาวโปรตุเกสจำนวนมากเข้ามาตั้งรกรากในกรุงศรีอยุธยา   แต่ก็ยังไม่ได้รับพระราชทานที่ดินเป็นที่แน่นอน ชาวโปรตุเกสนอกจากจะทำการค้าขายแล้ว ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่ขันอาสาเข้าช่วยราชการสงคราม ดังปรากฏในเหตุการณ์สมัยพระชัยราธิราช (1534-1546) เมื่อครั้งทำสงครามกับเมืองเชียงกรานเมื่อปี ค.ศ.1538 ตามพระราชพงศาวดาร ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ว่า:
           มีจดหมายเหตุของปินโต ชาวโปรตุเกสว่า ครั้งนั้นมีพวกโปรตุเกสเข้ามาตั้งค้าขายอยู่ใน กรุงศรีอยุธยา 130 คน สมเด็จพระชัยราชาธิราช เกณฑ์โปรตุเกสเข้ากองทัพไป 120 คน ได้รบพุ่งกับพม่าที่เชียงกราน ไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายไป ได้เมืองเชียงกรานคืนมาเป็นของไทย เมื่อสมเด็จพระชัยราชาธิราชเสด็จกลับมาถึงพระนคร ทรงยกย่องความชอบของพวกโปรตุเกส จึงพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนที่แถวบ้านดิน เหนือคลองตะเคียน แล้วพระราชทานอนุญาตให้พวกโปรตุเกส สร้างวัดวาสอนศาสนากันตามความพอใจ

             ในหนังสือของตุรแปง (Turpin) ก็ได้ยืนยันข้อมูลเดียวกันนี้ว่า:ในระยะนั้นมีชาวโปรตุเกส 130 คน ในราชอาณาจักร 120 คน ในจำนวนนี้ถูกบังคับให้ร่วมรบ พระเจ้าแผ่นดินทรงเชื่อมั่นว่าไม่มีใครสามารถชนะพระองค์ได้ ในขณะที่พระองค์ได้รับความร่วมมือจากชาวยุโรปซึ่งเปรียบเสมือนวีรบุรุษของพระองค์... พระองค์ได้พระราชทานผลประโยชน์ให้กับสัมพันธมิตรชาวโปรตุเกส ทรงประกาศให้ชาวโปรตุเกสได้รับการยกเว้นภาษีอากรทุกประเภทเป็นระยะเวลา 3 ปี บาทหลวงโปรตุเกสได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ศาสนาได้ทุกแห่งในราชอาณาจักร

 ที่มาของเรื่อง : หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ http://haab.catholic.or.th/history/index.html

คำค้นหา

กรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับสเปน แบบใด

2. สเปน ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับสเปนเริ่มต้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มหาราช ได้มีทูตของสเปนเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อท าสัญญาสัมพันธไมตรีและการค้า โดย Page 2 ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้สเปนตั้งสถานีการค้าบนฝั่งแม่น้าเจ้าพระยา แต่การค้าระหว่างกรุงศรี อยุธยากับสเปน

กรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยใด

ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2060) โดยโปรตุเกสเป็นชาติแรก แต่การค้ากับชาติตะวันตกเริ่มขึ้นอย่างจริงจังและกว้างขวางในรัชสมัยสมเด็จพระเอกทศรถเป็นต้นไป สำหรับการทำมาค้าขายกับต่างชาติโดยเฉพาะชาตินักเดินเรือจากยุโรปในช่วงที่ถือว่าเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดก็คือในรัช ...

อยุธยามีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสในลักษณะใด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเริ่มขึ้นจากการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ซึ่งฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้สนับสนุนให้มีการส่งคณะผู้สอนศาสนาเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชีย ซึ่งชุดแรกได้มาถึงกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) ต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “สังฆราช” เอลิโอโปลิสและ “สังฆราช” เดอ บริธ ได้เฝ้า ...

พ่อค้าชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาอย่างไร

เมื่อพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงให้การต้อนรับชาวตะวันตกอย่างดี กล่าวคือ ทรงอนุญาตให้โปรตุเกสตั้งบ้านเรือน ห้างร้าน ค้าขายและเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้ ซึ่งโปรตุเกสก็ตอบแทนโดยช่วยจัดหาปืน กระสุนดินดำให้ และยังเข้ารับราชการในกองอาสาปืนไฟถึง 300 คน

กรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับสเปน แบบใด กรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยใด อยุธยามีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสในลักษณะใด พ่อค้าชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา สรุป ความสัมพันธ์ของอยุธยากับโปรตุเกส ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับจีน ความสัมพันธ์ของอยุธยากับฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับพม่า ความสัมพันธ์ของอยุธยากับประเทศใดมีลักษณะของการผูกมิตร และเชื่อมสัมพันธไมตรี ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับญวน ช่วงสมัยใดของอาณาจักรอยุธยาที่มีนโยบายกีดกันชาวตะวันตก เป็นเพราะเหตุใด