สมัคร งาน ใหม่ ควร เรียก เงินเดือน เท่า ไหร่

ไลฟ์สไตล์

"เด็กจบใหม่" เรียก "เงินเดือน" เท่าไรดี ?

04 มิ.ย. 2565 เวลา 13:00 น.5.4k

4 ทริคเรียก “เงินเดือน” ใช้ได้ทั้ง “เด็กจบใหม่” และคนที่กำลังจะ “เปลี่ยนงาน” ที่ช่วยให้เสนอเงินเดือนได้เหมาะสมกับตำแหน่งงานและความสามารถได้ไม่ยากจนเกินไป

การเรียก “เงินเดือน” เป็นหนึ่งในปัญหาของ “เด็กจบใหม่” กับการสมัครงานครั้งแรก ที่ประเมินไม่ถูกว่าจะเรียกเงินเดือนเท่าไรถึงจะเหมาะสม จะเรียกน้อยขั้นพื้นฐานก็กลัวจะน้อยจนแบกรับค่าครองชีพไม่ไหว หรือต่ำกว่าศักยภาพของตัวเองที่ควรจะได้ แต่จะเรียกสูงอย่างที่ใจหวังก็เคอะเขิน กลัวจะถูกมองว่าเรียกเกินความสามารถจนถูกปัดตกไปอยู่ดี

ใครที่กำลังประสบปัญหานี้ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ได้รวบรวมข้อมูล พร้อมทางออกในการเรียกเงินเดือนของเด็กจบใหม่ ที่เหมาะสม และมีโอกาสคลิกเรื่องเงินเดือนกับ  องค์กรที่อยากร่วมงานแบบไม่ยากจนเกินไป

บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด  หรือ  “JobDB”  ได้แนะนำการเรียกเงินเดือนของเด็กจบใหม่ยุคนี้ว่าควรเริ่มต้นได้จากหลักเกณฑ์พื้นฐาน 4 ข้อก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์งานและเรียกเงินเดือน

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้เหมาะกับเด็กจบใหม่เท่านั้น แต่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับคนที่มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว และวางแผนจะสัมภาษณ์ในอนาคตอันใกล้นี้ได้ด้วยเช่นกัน

 1. เช็กฐานเงินเดือนของสายงานที่ตัวเองทำ 

เริ่มต้นที่การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฐานเงินเดือนของสายงานที่เราตั้งใจจะไปสมัคร ว่ามีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยเท่าไร การขยับของเงินเดือนตามตำแหน่ง ตำแหน่งไหนได้เงินประมาณเท่าไรบ้าง

สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้เพราะแต่ละสายงาน แต่ละอาชีพ ล้วนมีอัตราเงินเดือนเริ่มต้นหรือช่วงเงินเดือนที่ไม่เท่ากัน ซึ่งมาตรฐานส่วนใหญ่ของเด็กจบใหม่เฉลี่ยประมาณ 15,000 บาท ไปถึงราว 40,000 บาท ซึ่งเมื่อเรารู้ฐานเงินเดือนในสายงานที่ทำในเบื้องต้นแล้ว จะช่วยให้มีกรอบของช่วงเงินเดือนในการเรียกเงินเดือนที่เหมาะสมได้ 

 2. ศึกษาโครงสร้างเงินเดือนขององค์กรนั้นๆ 

การเรียกเงินเดือนไม่ใช่แค่เรื่องสายงานเท่านั้น เพราะแต่ละองค์กรหรือบริษัทต่างก็กำหนดอัตราเงินเดือนขั้นต่ำในแต่ละตำแหน่งเอาไว้แล้ว ซึ่งก็จะเป็นไปตามโครงสร้างของแต่ละองค์กร สำหรับเด็กจบใหม่ก็จะมีระบุไว้ในแบบที่แตกต่างกัน เช่นบางบริษัทอาจเริ่มต้นที่ 15,000 บาท หรือบางบริษัทอาจเริ่มต้นให้มากกว่านั้น เช่น 20,000 หรือ 25,000 บาท

ฉะนั้น หากเราทำการศึกษาบริษัทที่เราไปสมัครงานก่อนที่จะเข้ารับสัมภาษณ์งานและเรียกเงินเดือน ก็จะช่วยให้เราระบุเงินเดือนที่ต้องการลงไปได้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

  • "หางาน" ต้องรู้! HR มองหาอะไรบน "เรซูเม่" นอกจากทักษะการทำงานบ้าง ?
  • ทักษะจำเป็นในยุค Big DATA ควรค่าประดับResume หางานง่าย รายได้สูง
  • อัปเดตค่าจ้าง 'ฝีมือแรงงาน' เปิด 10 อันดับ อาชีพไหน รายได้ดีสุด ปี 2565

 3. เรียกเงินเดือนให้เหมาะความสามารถ 

การจะเรียกเงินเดือนในแต่ละครั้ง ผู้สมัครงานอาจต้องลองมองในมุมผู้ว่าจ้างดูบ้าง เช่นตั้งคำถามว่าถ้าเราเป็นผู้ว่าจ้างเราจะจ้างตัวเองในอัตราเงินเดือนต่มที่เสนอหรือไม่ ประเมินว่าความสามารถของเรานั้นมีมากพอที่ผู้ว่าจ้างอยากจะรับข้อเสนอแค่ไหน หรือทักษะของเราเหมาะสมกับตำแหน่งนั้นๆ มากน้อยเพียงใด เช่น ประสบการณ์ทำงาน ทักษะเฉพาะทาง ระดับการศึกษา ความสามารถพิเศษ ฯลฯ

ทั้งนี้ หากต้องการเรียกเงินเดือนให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ จะต้องนำ Job Description ของตำแหน่งนั้นมาพิจารณาว่าความสามารถของเราตรงกับเนื้องานได้ทุกข้อหรือไม่ หรืออาจจะต้องมีวุฒิการศึกษาที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ หรือต้องมีความสามารถพิเศษอื่นๆ ที่สามารถพิสูจน์ได้ และสอดคล้องกำตำแหน่งงานที่จะทำ พร้อมนำเสนอให้ผู้ว่าจ้างมั่นใจให้ได้ว่า เราเหมาะกับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าปกติ

 4. ระบุเงินเดือนที่ต้องการ แบบเป็นช่วงเงินเดือน 

อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้การเรียกเงินเดือนดูสมเหตุสมผล ก็คือเราควรลองระบุเป็นช่วงเงินเดือนดู เช่น 18,000-20,000 บาท หรือ 20,000-25,000 บาท เพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้พิจารณาได้ง่ายขึ้น โดยระบุจำนวนขั้นต่ำที่เราพอรับได้ และระบุเงินเดือนที่สูงเอาไว้ด้วย เผื่อการสัมภาษณ์งานเป็นไปอย่างราบรื่น และผู้ว่าจ้างเห็นถึงศักยภาพของเราจริงๆ ก็อาจจะได้รับเงินเดือนมากกว่าที่หวังไว้ก็เป็นได้

------------------------------------

อ้างอิง: jobsdb

เปลี่ยนงานใหม่ เรียกเงินเพิ่มกันกี่ % (ฉบับมนุษย์เงินเดือน)

20th November 2015 ทำงาน , มนุษย์เงินเดือน

คำถามยอดฮิตที่ไม่กล้าคุยกันเพราะเรื่องเงินเรื่องทอง ปรึกษากันได้แต่อย่ารู้เยอะเดี๋ยวมีล้วงลับเงินเดือนกันและกันแล้วเกิดดราม่า แน่นอนทุกบริษัทมักจะให้เรื่องรู้เงินเดือนนี้เป็นเรื่องใหญ่สุด บางคนถึงกับโดนไล่ออกกันเลยทีเดียวเพราะเป็นกฏเหล็กของการบริหารคน แต่ก็อยากที่จะบริหารใจของคน ยากแท้หยั่งถึง อีกอย่างถ้าแอบบริษัทเก่าไปสัมภาษณ์ที่ทำงานที่อื่น อันนี้ก็ต้องลับมากๆสุดยอด เพราะถ้ารู้แล้วเป็นเป้าแน่นอนไม่แน่อาจจะหาคนมาแทนเราเองได้

สำหรับการทำงานของมนุษย์กินเงินเดือนอย่างเราๆเนี่ย ไม่ต้องคิดไร เป็นอีก 1 ปัจจัยเลยที่นอกเหนือจากใบปริญญาความสามารถ เงินเดือนคืองบของทางบริษัทที่ตั้งไว้เพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เราทำงานให้ ที่เห็นๆกันในสมัยนี้มักจะกำหนดเงินเดือนในแบบ จำนวนปีที่ท่านทำงานมา , certificate, TOFEL, TOEIC ภาษาที่สามารถพูดคุยได้ ฯลฯ

แล้วถ้ามีประสบการณ์มาแล้วนี่ซิ  จะเรียกเงินเท่าไหร่ดี ถ้า เปลี่ยนงานใหม่ มาที่ใหม่ ?

ก่อนอื่นอยากให้แยกคิดออกเป็น 3 ส่วน

  • ส่วนแรกเป็นพวกค่าใช้จ่ายในการทำงาน

ย้ายงานแต่ละที่ค่าเดินทาง ที่พัก ค่าอาหารก็เปลี่ยนไป ค่าสังสรรค์ พวกค่าใช้จ่ายที่ใช้ระหว่างทำงานก็คำนวณคร่าวๆ ต่อเดือนแล้วเก็บไว้ในใจ ค่าครองชีพแถวที่ทำงานวางแผนเลยว่า แล้วเราจะทำงานที่นี่ต่อไปกี่ปีอัตราเงินเฟ้อ เงินฝืด ความเป็นไปได้ของเศรษฐกิจค่าครองชีพเพิ่มขึ่น 2-3% ต่อปี

  • ส่วนที่สองคือค่าตัว

ก็คิดเอาละกันว่าช่วงที่ผ่านมาได้ค่าตัวเท่าไหร่ ผ่านงานมาเท่าไหร่ เราอยู่ระดับไหน ควรได้เพิ่มอีกเท่าไหร่

  • ส่วนที่สาม คือเรื่องของสวัสดิการ

ค่าน้ำมัน ค่าเบอร์โทรศัพท์อย่างถ้าเป็นเซลล์แล้วถ้าไม่มี ก็ต้องคิดเองออกมาคร่าวๆ ค่าประกันชีวิตมีรึเปล่า พูดถึงตัวนี้แล้วก็เป็นประโยชน์ลับๆเหมือนกันว่า ถ้าคุณมีประกันเพิ่มจากที่ทำงานนั่นหมายความว่าเมื่อเกิดอะไรขึ้น มันจะไม่ไปกระทบกับส่วนที่ 1- 2 ของคุณ

สำคัญคือเข้าไปก็ทำงานเต็มความสามารถละกันให้สมน้ำสมเนื้อกับค่าตัวเป็นการดีที่สุดเพราะไม่ว่าคุณจะม่อยู่ไหนเดียวเงินมันทำงานให้คุณเองอัตโนมัติ

สมัคร งาน ใหม่ ควร เรียก เงินเดือน เท่า ไหร่
เปลี่ยนงานใหม่ เรียกเงินเพิ่มกันกี่ % (ฉบับมนุษย์เงินเดือน)

ยกตัวอย่างในการคำนวณเงินคร่าวๆ

  • ดูว่าปัจจุบันได้เท่าไร (รวมโบนัส เงินพิเศษต่างๆ แล้ว) ย้ายไปที่ใหม่มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้นหรือไม่ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสภาพแวดล้อมใหม่เป็นเช่นไร
  • พอหักลบคิดตรงจุดนี้ได้แล้ว ก็มาคิดว่า คุณต้องการอีกเท่าไรถึงจะพอใจ

สมมติว่า ตอนนี้คุณได้เงินเดือน 18000 ย้ายไปที่ใหม่มีระบบโบนัส ค่าใช้จ่ายค่าเดินทางเหมือนเดิมทุกอย่าง คุณขอ 22000 … ถามตัวเองว่า 4000 นี่คุ้มแล้วเหรอที่เราจะย้าย อาจจะเสียน้ำใจกับเจ้านายเก่า ต้องจากเพื่อนที่ทำงานเก่าไป อะไรแบบนี้

ส่วนเค้าจะให้เท่าไรนั้น ถ้าสมมติเป็นเจ้านาย จะดูว่าคุณสามารถเข้ากับบริษัทเราได้มากแค่ไหน ทำงานให้กับเราได้ไหม ถ้าได้เค้าก็อยากได้คุณอยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะขอมาเท่าไหร่ แล้วไม่เกินงบของทางบริษัทมากเท่าไหร่แน่นอนเค้ารับคุณชัวร๋  ทรัพยากรบุคคลดีๆ น่ะ หายาก ถ้าเค้าอยากได้นะ เงินเดือนคุณเสนอไปเท่าไร เค้าก็สู้เอง แต่ถ้าเค้าสู้ไม่ไหวเค้าก็ต่อเอง

สำหรับมุมการคิด % นะปัจจุบัน ถ้าคุณมีประสบการณ์ ประมาณ 1-3 ปี แนะนำให้เรียกมากกว่าเดิมประมาณ 15-20%

แต่คุณต้องแน่นอนว่าความสามารถของคุณช่วยเค้าได้ ไม่เห็นแก่เงินจนเกินไป อย่าลืมนะว่าประสบการณ์สำคัญ ยิ่งเรียนรู้มากเท่าไหร่ เจออะไรยากๆยิ่งดี มันจะทำให้คุณเก่งอัตโนมัติ

  เงินเดือนอาจจะเป็นสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ทำงานจนลืมตัวเองกันไปเลย มัวแต่คิดแต่เรื่องเงินไม่ใช่กิจ ไม่ทำ ไม่ใช่หน้าที่ ข้าไม่ขอแตะ อันนี้ก็ไม่ไหว จะเป็นที่รังเกียจในหมู่ชนเอาได้ เมื่อเรารู้แล้วว่าเราเรียกเงินเดือนสูงกว่าที่เก่าได้มาก แล้วทางบริษัทรับคุณเข้าทำงาน จงคิดไว้ว่านั่นคือโอกาสที่คุณจะได้แสดงฝีมือ ที่ทำให้คุณเก่งขึ้น มองเรื่องงานเป็นความรู้ใหม่

อ่านเพิ่มเติม >> ปรับชีวิต เปลี่ยนความคิด พิชิตงาน มนุษย์เงินเดือน <<