การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ภาคเอกชน

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินธุรกิจ

 เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงการดํารงและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับบุคคลระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนิน ไปบนทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจ ของทุกคนและทุกอาชีพ ซึ่งการนําไปปฏิบัติก็ต้องเหมาะสมกับอาชีพของตนเองด้วย

    ผู้ประกอบการจึงควรจะดําเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่มากกว่าการ มุ่งเน้นธุรกิจและสังคม เพราะเป็นแนวความคิดที่คํานึงถึงความมีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก สามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

    1. พิจารณาจากความสามารถในการพึ่งตนเอง ที่เน้นความสมดุลทั้ง 3 คุณลักษณะ คือ พอประมาณ มีเหตุมีผลและมีภูมิคุ้มกันมาประกอบการตัดสินใจเรื่องต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ ระมัดระวัง พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควรและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมทั้ง 5 ประการ คือ

        1.1 ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง ฝึกฝนตนเองได้ มีจิตสํานึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอมและ นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

        1.2 ด้านสังคม มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และชุมชน รู้จักผนึกกําลัง มีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงแข็งแรง

        1.3 ด้านเศรษฐกิจ ดํารงชีวิตอยู่อย่างพอดี พอมี พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน

ประกอบอาชีพสุจริต (สัมมาอาชีวะ) ด้วยความขยันหมั่นเพียร อดทนใช้ชีวิตเรียบง่าย โดยไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น มีรายได้สมดุลกับรายจ่าย รู้จักการใช้จ่ายของตนเองและครอบครัวอย่างมีเหตุผลเท่าที่ จําเป็น ประหยัด รู้จักการเก็บออมเงินและแบ่งปันผู้อื่น

        1.4 ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและภูมินิเวศ พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

        1.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ สามารถเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด

    2. พิจารณาความรู้คู่คุณธรรม มีการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติจริง) ในวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดํารงชีวิต โดยใช้สติปัญญาในการตัดสินใจ

ต่างๆ อย่างรอบรู้ รอบคอบ และมีเหตุผลที่จะนําความรู้ต่างๆ มาปรับใช้อย่างมีขั้นตอนและระมัดระวัง ในการปฏิบัติ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเพียรความอดทน และใช้สติปัญญา อย่างชาญฉลาดในการดําเนินชีวิตบนทางสายกลาง

 คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและนํามาปฏิบัติ มีดังนี้ 

    1. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตนเองที่ประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นธรรม 

    2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความดีนั้น 

    3. ความอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติตนไปในทางที่ไม่ดี 4. การรู้จักละวางความชั่ว ไม่ทุจริตและรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อคนอื่น 

    หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้

    1. การบริหารความเสี่ยงทางการตลาดที่ชัดเจน โดยมีความรู้จริงในการทําตลาด และมีตลาดที่ หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยง

    2. ไม่ให้ความสําคัญกับการสร้างกําไรสูงสุด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่คํานึงถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของธุรกิจ

    3. การดําเนินธุรกิจที่ตนเองมีความรู้จริง ไม่แข่งขันในตลาดที่ตนเองไม่มีความชํานาญ 

    4. มีเหตุผลในการขยายตลาด แบบค่อยเป็นค่อยไป รู้จักวางแผนอย่างรอบคอบ 

    5. มีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคและผู้ใช้แรงงาน 

    6. การให้บริการลูกค้าอย่างจริงใจและโปร่งใส อย่างสม่ําเสมอ 

    7. ไม่มีความโลภมากเกินไป และไม่เน้นกําไรในระยะสั้นเป็นหลัก

 ธุรกิจพอเพียง หมายถึง การดําเนินธุรกิจที่คํานึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหา ผลประโยชน์ในระยะสั้น ดังนั้นจึงต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ตนดําเนินการอยู่ และศึกษาข้อมูลข่าวสาร อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีความรอบคอบในการตัดสินใจใน แต่ละครั้ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้น และต้องมีคุณธรรมคือมีความซื่อสัตย์สุจริตในการ ประกอบอาชีพ ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่ก่อให้เกิดโทษ หรือสร้างปัญหาให้กับคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความขยันหมั่นเพียร อดทน ในการพัฒนาธุรกิจไม่ให้มีความบกพร่อง และก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงสินค้าและคุณภาพให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และในขณะเดียวกัน ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และ ระบบนิเวศวิทยาทุกขั้นตอนในการดําเนินธุรกิจ โดยการรักษาสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของการ ในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ อย่างสมเหตุสมผล ตั้งแต่ผู้บริโภค พนักงาน บริษัทต่ต้ และสังคมวงกว้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อม

เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจส่วนใหญ่จะดําเนินการในลักษณะของบรรษัทภิบาล ซึ่งเป็นวิธีการปร ให้ประสบความสําเร็จโดยมีผลในทางที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีผลดีต่อพนักงานและ บริษัทสามารถตรวจสอบการดําเนินงานได้ ดังนั้น ความพอเพียงกับธุรกิจจึงหมายถึง ความหมาย ความมั่นคง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนมากต้องการให้กิจการของตนมีความ ก้าวหน้ามั่นคง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ได้อนในนวทางปฏิบัติดังนี้

    1.การปฎิบัติต่อผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม ผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยเจ้าของธุรกิจ หุ้นส่วน ฐานะ

ผู้บริโภค ทุกคนที่เกี่ยวข้องควรได้รับความเป็นธรรมจากการดําเนินธุรกิจ 

    2.มีการกำหนดนโยบายที่มีความชัดเจน และดําเนินการตามนโยบายที่กําหนดไว้ ซึ่งสะท้อนให้

จะประชาชนในฐานะผู้บริโภคถึงประสิทธิภาพในการดําเนินงานของบริษัท

    3. ดําเนินงานอย่างโปร่งใส ควรเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องสม่ําเสมอ ทันเวลา และมีระบบ

ต้อมลได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า สถาบันการเงิน และนักลงทุนมีความเชื่อถือมากขึ้น สามารถหาพันธมิตรธุรกิจได้ง่าย ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจได้

    3.ดําเนินธุรกิจแบบมีวิสัยทัศน์ โดยการคิดแบบกว้างไกล มองการณ์ไกล จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต และขยายตัวไปอย่างมีทิศทาง มีเป้าหมาย ทําให้ธุรกิจดําเนินงานไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 การประยุกต์ใช้แศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ

หลักสําคัญในการนําไปประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ การครองตนให้อยู่บนทางสายกลาง คือ พอประมาณ มีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันและมีบทบาทในการช่วยเหลือกันภายในประเทศ

การบริหารจัดการด้วยความพอเพียงนั้น จะต้องเริ่มที่เป้าหมาย ได้แก่

    1. ความสามารถในการบริหารงาน โดยต้องสอดคล้องกับโลกภายนอกโดยไม่ขยายตัวเกินกว่า กําลังที่มีอยู่ หรือต้องมีประสิทธิผลในทางการตลาดหรือการตามทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องมีสติและความรู้

    2. ต้องแสวงหาความรู้กับสร้างความเข้มแข็งหรือเพิ่มความขยันขันแข็งในการทํางาน เคยมีการติดตามเทคนิควิทยาการ แล้วรู้จักเลือกเช้เทคโนโลยีและเอามาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ใน

    3. มีประสิทธิภาพดีขึ้นหรือก็คือการเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตและการทํางานให้มีประสิทธานคณภาพชีวิต คือการรู้จักใช้จ่ายบริโภคตามความจําเป็นและอย่างมีเหตุผล -งมีคณค่า มีการเรียนรู้โดยมีความสุขสมดุลทั้งกายและใจพร้อมกับมีการออมเพื่อความปลอดภัยด้วย

ส่วนมากผู้ประกอบการมักจะขาดวินัย การจัดการความประมาทและไม่ใส่ใจกับเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนมากผู้ประกอบการมักจะขาดการความประมาทและให้ธุรกิจได้รับความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางกระแส ไม่บริหารจัดการแบบพอเพียงเลนาคต คือการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการแบบพอเพียง โลกาภิวัตน์ ดังนั้น วิธีป้องกันที่ตนจะเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อน้ามาช่วยให้การผลิตและได้แก่

    1. ต้องรู้จักซึ่งตนเอง โดยรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อนํามา กรทางานดีขึ้น ทํางานได้อย่างมี

ประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

    2.ต้องรุ้จักประมาณการในการบริโภค โดยจะต้องมีสติในการใช้จ่าย การลงทุนกับการบริโภคให้เกิด

ความสมดุลให้ได้ประโยชน์คุ้มค่ากับต้นทุนต่างๆ ที่ต้องเสียไป

3. การดำเนินชีวิตหรือการบริหารงงาน จะต้องมีสติรอบคอบ ไม่ประมาท โดยต้องนึกถึง ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและวางระบบรองรับเพื่อความปลอดภัย โดยต้องจัดให้มีแผนสํารองไว้เพื่อความ ปลอดภัย รักษาสภาพคล่อง คือ ไม่ลงทุนมากเกินไป

4. ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ตั้งแต่การต้องมีความโปร่งใส โดยมีธรรมาภิบาล มีความซื่อสัตย์สุจริต มีการพัฒนา สร้างประสิทธิภาพเพิ่มความแข็งแกร่ง เพื่อให้เป็นภูมิคุ้มกันตอปัญหาที่มากระทบ