เฉลย การ ออกแบบ และ เทคโนโลยี ม. 3 บท ที่ 3

32103  การออกแบบและเทคโนโลยี ชั้น ม.5/3   

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 4.1        เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด

  1. ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรในการทำโครงงาน
    เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

สาระการเรียนรู้ (เรื่อง)

บทที่  1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เรื่องที่ 1 นวัตกรรมคืออะไร

เรื่องที่ 2 การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทที่ 2.โครงงานการออกแบบและเทคโนโลยี

เรื่องที่ 1 ระบบทางเทคโนโลยี

เรื่องที่ 2 โครงงานการออกแบบเทคโนโลยี

เรื่องที่ 3 โครงงานสะเต็ม

สาระสำคัญ (ความคิดรวบยอด)

ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรม ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม รูปแบบของเทคโนโลยี การพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระบบทางเทคโนโลยี กระบวนการเทคโนโลยี องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางเทคโนโลยี การออกแบบเชิงวิศวกรรม สะเต็มศึกษา โครงงานสะเต็ม การทำโครงงาน การประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรในการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงาน เพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน การทำโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี ผลงานโครงงานการออกแบบและเทคโนโลยี

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

-นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของนวัตกรรม นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

-นักเรียนสามารถอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) และการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project–based Learning) เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์การแก้ปัญหาวางแผนการเรียนรู้

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)

-นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำงาน

การวัดและประเมินผล

วิธีการวัดและประเมินผล

  •  ตรวจแบบฝึกหัด
  • ผลการทำแบบทดสอบ

เครื่องมือ

  • แบบฝึกหัด
  • แบบทดสอบ

เกณฑ์การประเมิน

  • ผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

กิจกรรมพัฒนาทักษะและสมรรถนะของผู้เรียน (ในห้องเรียน)

1 สมรรถนะของผู้เรียน

  1. การจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ
  2. การคิดขั้นสูงและการเรียนรู้
  3. การสื่อสารด้วยภาษา
  4. การจัดการและการทำงานเป็นทีม
  5. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
  6. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน

2 ทักษะการจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียน

  1. ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
    2. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
    3. ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
    4. ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
    5. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
    6. ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
    7. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม
    8. ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

ข้อตกลงพัฒนางาน

1 ผู้เรียนร้อยละ 100 อธิบายความหมายของนวัตกรรม นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2 ผู้เรียนร้อยละ 100 ผ่านการทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์รอยละ 80 (ตามเกณฑ์)

3 ผู้เรียนร้อยละ 100 ได้ร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนในห้องตามแผนพัฒนาผู้เรียน

ประเด็นท้าทาย

1

2

3

คำอธิบายรายวิชา

23181  การออกแบบและเทคโนโลยี                       กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3                                           เวลา  20  ชั่วโมง         จำนวน 0.5 หน่วยกิต 

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และความสัมพันธ์   ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ระบุปัญหาหรือความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอาชีพ สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ออกแบบวิธีแก้ปัญหา ทดสอบ วิเคราะห์ และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไข พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอผลการแก้ปัญหา

โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมในการวิเคราะห์ปัญหา และใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์  ในการหาข้อมูล การสำรวจ การประเมิน และตั้งสมมุติฐาน ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นสนใจที่จะเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นแสดงความรับผิดชอบด้วยการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมุ่งมั่น รอบคอบ ประหยัด ซื่อสัตย์ จนงานลุล่วงเป็นผลสำเร็จ และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

ตัวชี้วัด ว4.1

ม.3/1 วิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

ม.3/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อพัฒนางานอาชีพสรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโดยคำนึงถึงความถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ม.3/3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน

ม.3/4 ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์ และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไข พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา

ม.3/5 ใช้ความรู้ และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถูกต้องกับลักษณะของงาน และปลอดภัย เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

รวมทั้งหมด 5 ตัวชี้วัด

****************************************************************************************************

โครงสร้างรายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี

รหัสวิชา ว32181 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เวลา 20 ชั่วโมง  จำนวน 0.5 หน่วยกิต

ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา

(ชั่วโมง)

น้ำหนัก

คะแนน

1 เทคโนโลยีกับชีวิต 1 – สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

– ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ๆ

– การนำเทคโนโลยีไปสร้างนวัตกรรม

3 15
2 เทคโนโลยีกับการพัฒนางานอาชีพภายในชุมชนหรือท้องถิ่น 2, 3 – การสำรวจ วิธีการสำรวจปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่น

– ประเภทของปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่น

– การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา

3 15
สอบกลางภาค 1 20
3 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และความรู้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน 5 – วัสดุและประเภทของวัสดุ

– คุณสมบัติของวัสดุและหลักการเลือกวัสดุ

– อุปกรณ์และเครื่องมือช่างพื้นฐาน

– หลักการเลือกใช้และการดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือช่างพื้นฐาน

– กลไก

– ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

6 15
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา

(ชั่วโมง)

น้ำหนัก

คะแนน

4 การแก้ปัญหาชุมชนหรือท้องถิ่นด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 1, 2, 3, 4 – ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

– ออกแบบวิธี วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา

– ทดสอบ ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน

– กรณีศึกษาการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาชุมชน

6 15
สอบปลายภาค 1 20
รวม 20 100

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 3

วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และความรู้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

สื่อประกอบบทเรียน เรื่อง

– วัสดุและประเภทของวัสดุ

– คุณสมบัติของวัสดุและหลักการเลือกวัสดุ

https://www.canva.com/design/DAFIPJPDQB4/8R5W663OgyMg3PE1N0RG3A/view?utm_content=DAFIPJPDQB4&utm_campaign=designshare&utm_medium=link&utm_source=publishsharelink

สื่อประกอบบทเรียน เรื่อง กลไก

https://www.canva.com/design/DAFJYfTt_w0/gjHy0KId7-LtktI_rN3sDg/edit?utm_content=DAFJYfTt_w0&utm_campaign=designshare&utm_medium=link2&utm_source=sharebutton

สื่อและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

รวมลิงค์สื่อ จาก สสวท. มี 3 บทเรียน ดังนี้

บทที่ 1 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก มี 6 หัวข้อ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นของเครือข่ายไร้สายยุคที่ 5 (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 ) – YouTube

ผลกระทบและการประยุกต์ใช้ของเครือข่ายไร้สายยุคที่ 5 (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 1) – YouTube

การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่(การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 1) – YouTube

ผลกระทบและการประยุกต์ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 1) – YouTube

การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นของการจัดการโลจิสติกส์ (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 1) – YouTube

ผลกระทบและการประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์ (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 1) – YouTube

แบบทดสอบบทที่ 1 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

แบบทดสอบ บทที่ 1 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก – Google ฟอร์ม

บทที่ 2 เทคโนโลยีแก้ปัญหา มี 7 หัวข้อ ดังนี้

2.1การนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาในอาชีพ (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 2) – YouTube

2.2การระบุปัญหา (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 2) – YouTube

2.3การรวบรวมข้อมูลและคัดเลือกแนวคิด (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 2) – YouTube

2.4การออกแบบแนวคิด (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 2) – YouTube

2.5การทดสอบและประเมินผล (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 2) – YouTube

2.6การเขียนรายงาน (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 2) – YouTube

2.7การนำเสนองาน (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 2) – YouTube

บทที่ 3 เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า มี 4 หัวข้อ ดังนี้

การเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 3) – YouTube

เปิดโลกทรัพย์สินทางปัญญา ตอนที่ 1 (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 3) – YouTube

เปิดโลกทรัพย์สินทางปัญญา ตอนที่ 2 (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 3) – YouTube

กรณีศึกษาผลงานการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (การออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 บทที่ 3) – YouTube

สื่อและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

หนังสือเรียนการออกแบบและเทคโนโลยี ม.3 – โครงการสอนออนไลน์ – Project 14 (ipst.ac.th)

ใส่ความเห็น