เฉลย ใบงานที่ 1.1 เศรษฐศาสตร์ ม. 6

เป็นวิทยากรอบรมเศรษฐศาสตร์อาเซียน วันที่ 19 ส.ค. 58

ใบงาน 15-18

ใบงานเศรษฐศาสตร์ม.2

ใบงานเศรษฐศาสตร์ม 3    เฉลยใบงานที่ 9-10   บทบาทของรัฐบาลกับการพัฒนาประเทศ แผนที่ 10 บทบาททางเศรษฐกิจของรัฐบาล  แผนที่ 11 นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

สื่อการเรียนการสอนเรื่อง ฉลาดใช้ฉลาดออม ระดับ ม. 2

สื่อการเรียนการสอนเรื่อง “ฉลาดใช้ฉลาดออม“

ผลงานนักเรียน

แผ่นพับฉลาดใช้ฉลาดออม

นักเรียนสัมภาษณ์ฉลาดใช้ฉลาดออม

Show

การ์ตูน “รู้จักออม” ของธปท.

นำเสนอโครงงานฉลาดโช้ฉลาดออม ของนักเรียน ม. 2

ตัวอย่างแผ่นพับผลงานนักเรียน

รายงานสรุปแผนการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อ

แผนจัดการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

รายงานการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ฉลาดใช้ฉลาดออม

คำนำ บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 ประวัติผู้จัดทำ สารบัญ สารบัญตาราง

ใบงานเศรษฐศาสตร์ ม.2

การ์ตูนรู้ทันเงินเฟ้อ

เรียนรู้ธนบัตร

                เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน(เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน

จุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์

                  แม้การถกเถียงเรื่องการซื้อขายและการจัดสรรจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เศรษฐศาสตร์ในความคิดของคนสมัยใหม่นั้นจะถือเอาวันที่ อดัม สมิธ ได้เผยแพร่หนังสือเรื่อง “ความมั่งคั่งของประชาชาติ” (The Wealth of Nations) ในปี ค.ศ. 1776 เป็นการเริ่มต้น เดิม อดัม สมิธ เรียกวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็น เศรษฐศาสตร์ เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 กลไกการตลาดเปรียบเสมือน “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand)

อุปสงค์และอุปทาน

                   อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุลแล้ว

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

                  โมเดลอุปสงค์และอุปทานอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาซึ่งเป็นผลจากสมดุลระหว่างปริมาณสินค้าซึ่งถูกเสนอขายที่ราคาแต่ละราคา (อุปสงค์) และความต้องการซื้อที่ราคาแต่ละราคา (อุปทาน)

                  เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด[1] โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร[2][3]

                  จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นต่อการเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่นดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์มหภาค

              เศรษฐศาสตร์มหภาค (อังกฤษ: Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น จุดมุ่งหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะเน้นหน่วยเศรษฐกิจโดยส่วนรวมโดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับชาติ ให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ ดำเนินไปอย่างมีเสถียรภาพ

เฉลย ใบงานที่ 1.1 เศรษฐศาสตร์ ม. 6

แผนการจัดการเรียนรู้

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก

เศรษฐกิจพอเพียง

ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง (จำอวดหน้าม่าน)

เศรษฐศาสตร์ (สื่อมัลติมิเดีย)

เศรษฐศาสตร์ ม.ต้น

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 1.1 การค้ากับต่างประเทศ 

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 1.2 การค้ากับต่างประเทศ

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 2.1 การเงินต่างประเทศ

http://youtu.be/jjPOKykKjBQ

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 2.2 ตลาดเงินตราต่างประเทศ

ติวเศรษฐศาสตร์กับครูป๊อป

ติวสังคมศึกษาฯ (

Tutor Channel ประวัติศาสตร์ อ.ป๊อป Part 1

ประวัติ  ติว1

ประวัติศาสตร์ คิว2

เฉลย ใบงานที่ 1.1 เศรษฐศาสตร์ ม. 6

ใบงานเศรษฐศาสตร์ 1-13