หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

ความรู้ / แนะนำหน่วยงานออกฉลาก

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

แนะนำหน่วยงานออกฉลาก


หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

กรมควบคุมมลพิษ

กรมควบคุมมลพิษ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภาครัฐ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยได้จัดทำแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภาครัฐ ระยะแรก ปี พ.ศ. 2551 - 2554 ระยะที่ 2ปี พ.ศ. 2556 - 2559 และ ระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2560–2564 เพื่อผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้บริโภครายใหญ่ใช้สินค้าและบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยหรือที่เราคุ้นเคยในปัจจุบันว่า “สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ทั้งในส่วนกลางและขยายผลไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานในกำกับของภาครัฐ และองค์การมหาชน ตลอดจน การกระตุ้นให้ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม มีการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมออกมาจำหน่ายในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รักษาทรัพยากรธรรมชาติต่อหนึ่งหน่วยการบริโภคได้มากกว่าสินค้าทั่วไป และสามารถช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภาครัฐ (Green Public Procurement) หมายถึง การจัดซื้อสินค้าหรือการจัดจ้างบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าและบริการทั่วไปที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน โดยพิจารณาผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การเลือกใช้พลังงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสม การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน โดยเรียกรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ภาครัฐสนับสนุนให้มีการจัดซื้อจัดจ้างว่า “ตะกร้าเขียว”

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุน ให้ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนทุกภาคส่วน

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน)

อยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้การรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้ง ติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และการตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรอง และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ภายใต้กระทรวงพลังงาน รับผิดชอบในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานกำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสานและเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ

เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวิสัยทัศน์เป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางของประเทศไทย ในด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินการวิจัยและพัฒนาร่วมกับพันธมิตร เพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ทั้งนี้ พันธกิจหลักคือ พัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีวัสดุให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน โดยดำเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนากำลังคน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศ

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ. นอกจากนี้ กฟผ. ดำเนินการโครงการ “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” อย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่า และมีประสิทธิภาพ

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

มูลนิธิใบไม้เขียว

เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และความตั้งใจจริงของทั้ง 6 องค์กร ได้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(EGAT)การประปานครหลวงสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) (ADEQ)สมาคมโรงแรมไทย (THA)United Nations Environment Programme (UNEP) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ สนับสนุนการศึกษา และ วิจัย แก่ผู้ประกอบการในสาขาอาชีพ ให้เข้าใจในวิธีการดำเนินงานที่มีส่วนในการักษา สิ่งแวดล้อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการในธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยมีการพัฒนามาตรฐาน การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และ รักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนามาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ให้สอดคล้อง กับความต้องการของผู้ใช้บริการเพื่อส่งเสริมบทบาท และ การมีส่วนร่วม ตลอดจน พัฒนาประสิทธิภาพ ของภาคเทคโนโลยีในการรักษาสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมของธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่อง เที่ยว

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมดำเนินงานในฐานะสถาบันวิชาการอิสระ มิได้แสวงหากำไร ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งภายใต้ชื่อมูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย มีพื้นฐานปรัชญาการทำงานที่มุ่งเน้นการทำหน้าที่เป็นแหล่งศึกษาวิจัยองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย ถูกต้อง และเชื่อถือได้ นอกจากนี้ เจตนารมณ์หลักของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ยังมุ่งเน้นการผลักดันให้เกิดการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีต่างๆ ในสังคม ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ เอกชน ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน ตลอดจนสถาบันทางวิชาการอื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงสู่การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความสมดุลอันจะเป็นรากฐานสำคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

หน่วยงานที่รับผิดชอบฉลากเขียว

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ฉลาก “SCG eco value” เป็นฉลากสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเอสซีจีกำหนดขึ้นเพื่อให้การรับรองสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเอสซีจี และใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนร่วมในการเลือกใช้สินค้าและบริการที่คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เอสซีจียังถือเป็นองค์กรไทยรายแรกที่กำหนดฉลากสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเภทการรับรองตนเอง ภายใต้ฉลาก SCG eco value ตั้งแต่ปี 2552 โดยกำหนดกฎเกณฑ์การพิจารณาอ้างอิง มาตรฐาน ISO14021: Environmental Labels and Declarations-Self-Declared Environmental Claims (Type II Environmental Labeling) ควบคู่ไปกับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ อาทิ การออกแบบ ลดการใช้วัตถุดิบ ลดการใช้พลังงาน ลดการใช้น้ำในการผลิต และการใช้พลังงานของผู้บริโภค การใช้วัสดุและพลังงานหมุนเวียน การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดของเสีย และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาด้านเทคนิค เป็นผู้พิจารณาให้การรับรองสินค้าและบริการที่ได้ฉลาก SCG eco value เพื่อให้การแสดงข้อมูลมีความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

กลุ่ม ปตท. มุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมทางด้านพลังงานและวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งช่วยประหยัดการใช้ทรัพยากรโลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดทำฉลากสิ่งแวดล้อมแบบรับรองตนเอง (PTT Group Eco-Label for Products and Services) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่ม ปตท. โดยให้ตราสัญลักษณ์ “GREEN FOR LIFE” กับผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่ม ปตท. ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมแบบรับรองตนเอง กลุ่ม ปตท. ซึ่งอ้างอิงเกณฑ์จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรฐาน ISO 14021:2016 specifies requirements for self-declared environmental claims ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากล ที่บริษัทชั้นนำต่างนำมาประยุกต์และให้การรับรองด้วยตนเอง มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เลขที่ 2 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ (มทรก.) ชั้น 8 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์: (662) 345-1273 อีเมล์:
เว็บไซต์นี้เป็นการรวบรวมข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากหน่วยงานที่ให้การรับรองฉลาก ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้รับรองข้อมูลใดๆ

ผลิตภัณฑ์ ฉลากเขียว เป็นผลิตภัณฑ์แบบใด

ผลิตภัณฑ์ที่จะขอการรับรองเพื่อใช้ฉลากเขียว มีดังนี้ 1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้อุปโภค บริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวัน 2. คำนึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นจำหน่ายออกสู่ตลาด

ข้อใดเป็นคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียว

ฉลากเขียว(ไม่จำเป็นต้องเป็นสีเขียว) เป็นโลโก้เครื่องหมายที่มอบให้กับสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าอื่นๆที่เป็นสินค้าประเภทเดียวกันโดยมีองค์กรกลางเป็นผู้ตรวจสอบและรับรอง ตัวอย่างเช่น กระดาษทิชชูที่ได้รับฉลากเขียวจะเป็นกนระดาษทิชชูที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ากระดาษทิชชูที่ไม่ได้รับฉลากเขียว เป็นต้น