อาการ ท้อง แข็ง ขณะ ตั้ง ครรภ์ 5 เดือน

Lifestyle Blog

อาการ ท้อง แข็ง ขณะ ตั้ง ครรภ์ 5 เดือน

5 เทคนิครับมือกับภาวะท้องแข็ง ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ปลอดภัยในไตรมาสสุดท้าย

“เมื่อมดลูกขยายตัว อาจเกิดภาวะท้องแข็งในช่วงเดือนที่ 7-9 ในการตั้งครรภ์”
ภาวะท้องแข็งนั้น เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกในขณะที่มดลูกนั้นขยายตัว ซึ่งทำให้หน้าท้องตึงและมีอาการท้องแข็งเป็นระยะเวลาประมาณ 10 นาทีต่อเนื่องประมาณ 4-5 ครั้ง โดยมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย คือ

  • ทารกในครรภ์ดิ้นแรงหรือมีส่วนที่ไปชนเข้ากับผนังมดลูกทำให้มดลูกบีบตัว
  • การทานอาหารที่อิ่มมากจนเกินไป เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งส่งผลให้กระเพาะอาหารไปเบียดเข้าหามดลูก
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีความเครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีพฤติกรรมในการกลั้นปัสสาวะบ่อย

    ซึ่งหากมีอาการรุนแรงและหายใจไม่สะดวกคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อไม่ให้อาการท้องแข็งนั้นส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์และเพื่อลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
    โดยคุณแม่สามารถรับมือกับอาการท้องแข็งเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการต่างๆ ตามอินโฟกราฟิกด้านล่างนี้เลย

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก https://bit.ly/34fubuN

ศึกษาข้อมูลสเต็มเซลล์ได้ต่อที่นี่

คลิกที่นี่

อาการ ท้อง แข็ง ขณะ ตั้ง ครรภ์ 5 เดือน


See other

อาการ ท้อง แข็ง ขณะ ตั้ง ครรภ์ 5 เดือน

Precision Medicineภาวะครรภ์เสี่ยงสูง

HIGHLIGHTS:

  • เลือดออกทางช่องคลอด ปวดหน้าท้อง หน้าท้องแข็งตึง หรือกดแล้วเจ็บ เป็นสัญญาณอันตรายที่แม่ตั้งครรภ์ควรรีบมาพบแพทย์
  • การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้มดลูกบีบรัดตัวหากทิ้งไว้นาน จะทำให้ปากมดลูกเปิด เป็นสาเหตุให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

“ลูกรอด..แม่ปลอดภัย”

หมอคิดว่าคุณพ่อคุณแม่ทุก ๆ คนคงอยากได้และฝันถึง แต่ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 9 เดือนของการตั้งครรภ์อาจทำให้ความฝันนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดเปรียบได้กับการขับรถเดินทางไกลที่ยิ่งระยะเวลาในการเดินทางเนิ่นนานเพียงใด ความเสี่ยงต่าง ๆ ก็มากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหมด แบตเตอรี่เสื่อมหรือแม้แต่อุบัติเหตุ รถยนต์ทุก ๆ คันจึงต้องมีสัญญาณเตือนที่หน้าปัดไว้เตือนคนขับให้รับทราบและเฝ้าระวังก่อนจะเกิดเหตุเหล่านั้น

การตั้งครรภ์ ก็เช่นกัน จะมีปัญหาที่อาจทำอันตรายคุณแม่ได้มากมาย บางคนก็มีปัญหาเพียงเล็กน้อยไม่รุนแรง ในขณะที่บางคนปัญหาที่มีค่อนข้างจะรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตามปัญหาส่วนมากมักมีอาการ และอาการแสดงหรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า “สัญญาณเตือนภัย” เป็นตัวบอกสัญญาณเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดของการตั้งครรภ์ก็ได้ เพียงแต่ว่าคุณแม่ทั้งหลายจะเฝ้ามองและเห็นมันหรือไม่เท่านั้นเอง สัญญาณเตือนภัย ที่คุณแม่สามารถสังเกตุได้เองขณะตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อยคือ

1. ลูกดิ้นน้อยลง

โดยปกติแล้ว คนท้องควรสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์อยู่ตลอด เด็กบางคนก็ดิ้นมากในเวลากลางคืน ในขณะที่เด็กบางคนก็จะเริ่มขยับตัวมากในช่วงเช้า ถ้าลูกน้อยของคุณแม่ดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย คุณแม่ท้องควรไปโรงพยาบาลทันที เพราะเคยมีบางกรณี ที่เด็กเสียชีวิตก่อนคลอดเพียงไม่กี่สัปดาห์

ซึ่งวิธีเดียวที่จะรู้ได้ก็คือ การสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ หรือการนับลูกดิ้น ปกติลูกในท้อง จะต้องดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง/วัน ซึ่งการดิ้นของลูก บ่งบอกว่า ลูกยังมีชีวิตอยู่ หรือมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยลูกจะดิ้นมากหลังจากที่คุณแม่กินอาหารเสร็จใหม่ๆ

การนับลูกดิ้น

ให้นับตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป ควรนับ 3 เวลา หลังอาหารเช้า-กลางวัน และเย็น โดยมีวิธีการนับลูกดิ้น คือ ลูกดิ้นในเวลาเดียวกัน ให้นับเป็น 1 ครั้ง เช่น ตุ๊บ ตุ๊บ พัก ให้นับเป็น 1 ครั้ง หรือ ตุ๊บ ตุ๊บ ตุ๊บ ก็ให้นับเป็น 1 เช่นกัน การนับให้นับหลังอาหาร 1 ชั่วโมง ถ้านับแล้วไม่ถึง 3 ครั้ง ให้นับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง และถ้ายังไม่ถึง 3 ครั้งอีก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ต่อไป

อาการ ท้อง แข็ง ขณะ ตั้ง ครรภ์ 5 เดือน

2. มีเลือดออกทางช่องคลอด

สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ รกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งปกติ รกจะรอกตัวออกจากผนังมดลูกหลังจากเด็กคลอดออกมาแล้ว แต่ถ้ารกลอกตัวก่อนตัวเด็กจะคลอด เนื่องจากครรภ์เป็นพิษ หรือถูกกระแทกบริเวณท้องอย่างรุนแรง จะทำให้มีเลือดไหลออกในโพรงมดลูก อาจทำให้เด็กในครรภ์ขาดออกซิเจนไปเลี้ยง จนเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากมีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดหน้าท้อง หน้าท้องแข็งตึง หรือกดแล้วเจ็บ มดลูกโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเลือดขังอยู่ภายใน ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ส่วนอีกสาเหตุหนึ่ง คือ รกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่รกบางส่วน หรือทั้งหมด เกาะอยู่ที่ตอนล่างของมดลูก แทนที่จะเกาะที่ผนังตอนบนของมดลูก โดยอาการที่จะต้องรีบไปพบแพทย์นั้น คือ จะมีเลือดออกทางช่องคลอดเหมือนกัน แต่จะไม่เจ็บครรภ์ ซึ่งถ้าเลือดออกมาก แพทย์จะต้องเอาเด็กและรกออกให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เลือดหยุดไหล

3. น้ำเดิน

น้ำเดิน คือ การที่มีน้ำใสๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ (แต่ไม่ใช่น้ำปัสสาวะ) ไหลออกมาทางช่องคลอด นั่นแสดงว่า ถุงน้ำคร่ำแตกรั่ว ซึ่งจะไม่เป็นมูก หรือว่าตกขาว ดังนั้น เมื่อมีอาการน้ำเดิน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าหากทิ้งไว้ เชื้อโรคอาจลุกลามเข้าไปในโพรงมดลูกจนเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้แม่ และลูกอาจเสียชีวิตได้

ให้คุณแม่สังเกตุดู หากมีน้ำคร่ำไหลออกมาเล็กน้อย ตามหน้าขา ให้คุณแม่ใส่ผ้าอนามัย สังเกต 2-3 ชั่วโมง และไม่ควรเดินมาก ซึ่งถ้าน้ำคร่ำยังไม่หยุดไหล ให้รีบไปพบแพทย์ ไม่ต้องรอให้เจ็บครรภ์

อาการ ท้อง แข็ง ขณะ ตั้ง ครรภ์ 5 เดือน

4. บวม – ความดันโลหิตสูง

อาการบวม เกิดจากโรคพิษแห่งครรภ์ จะพบในคุณแม่ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีความดันโลหิตสูง คุณแม่ที่เป็นเบาหวาน และคุณแม่ที่มีครรภ์แฝด สำหรับอาการที่ควรรีบไปพบแพทย์ คุณแม่จะมีอาการบวม ตั้งแต่หลังเท้า มือบวม นิ้วบวม ปวดหัว และสายตาพร่ามัว โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะบริเวณหน้าผากและท้ายทอย บางรายอาจมีอาการบวมบริเวณใบหน้าหรือแขนขาร่วมด้วย หากมีอาการดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาทันและช่วยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้

5. ปวดท้อง-ท้องแข็งตึง

อาการปวดท้องในที่นี้ คือ การปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว ส่วนท้องแข็งตึงนั้น คือ การที่มดลูกบีบรัดตัวแข็งเป็นก้อนกลม ซึ่งหากทิ้งไว้นาน จะทำให้ปากมดลูกเปิด เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรกลั้นปัสสาวะ

นอกจากนี้ อาการปวดท้อง หรือท้องแข็งตึงนั้น ยังเกิดจากการร่วมเพศอย่างรุนแรง ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เป็นผลทำให้มดลูกหดรัด และอาจแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดได้

อย่างไรก็ดี ในคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติ อาจมีอาการท้องแข็งตึงได้บ้าง เช่น เวลาพลิกตัว หรือลูกดิ้น แต่หากรู้สึกว่าท้องแข็งบ่อยกว่าปกติ ควรนอนพักผ่อนให้มากๆ

และถ้าหากนอนพักแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการท้องแข็งตึงทุกครึ่งชั่วโมงติดๆ กัน เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ควรให้รีบไปพบแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการขึ้นพร้อมๆ กัน เพราะจะเป็นสาเหตุให้ทารกคลอดก่อนกำหนดได้

อาการ ท้อง แข็ง ขณะ ตั้ง ครรภ์ 5 เดือน

ท้อง5เดือนท้องแข็งเกิดจากอะไร

มีก้อนแข็งในท้อง ท้องแข็งเป็นก้อนเกิดจากอะไร ลูกดิ้นไปถูกมดลูก ทำให้เกิดการบีบตัว กินอิ่มมากเกินไป จนเกิดแก๊สในกระเพาะ ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย

ท้องกี่เดือนถึงจะท้องแข็ง

เมื่อมีอายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ขึ้นไป หรือไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 7-9) มดลูกจะเริ่มขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปกติแล้วจะมีลักษณะเป็นก้อนนิ่มๆ เมื่อคลำดูก็จะสัมผัสได้ถึงการมีทารกดิ้นอยู่ บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกว่าท้องแข็งหรือรู้สึกตึงหน้าท้องซึ่งเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นครั้งคราว แต่ถ้ารู้สึกท้องแข็งนาน ...

อาการท้องแข็งของคนท้องเป็นยังไง

อาการท้องแข็ง คือ เมื่อเอามือไปจับบริเวณท้องจะรู้สึกได้ว่าเป็นก้อนๆ ตึงๆ และมีอาการเป็นๆ หายๆ เป็นพักๆ ในบางรายอาจมีความแข็งมาก-น้อยแตกต่างกันออกไป หรือมีอาการปวดเกร็งเสียวช่วงท้องน้อยด้วย โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการท้องแข็งได้ วันละ 3-4 ครั้ง ในช่วงไตรมาส 3 แต่จะไม่สม่ำเสมอ

คนท้อง ท้องแข็งปกติไหม

อาการท้องแข็ง คือ อาการปวด เจ็บ ที่บริเวณท้องหรือท้องน้อย เมื่อสัมผัสที่บริเวณท้องจะรู้สึกว่ามีอาการท้องตึง ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ อยู่ภายในท้อง มักพบได้บ่อยเป็นปกติในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ