พระภิกษุนักพัฒนาในทัศนะของนักเรียน

หน้าที่ชาวพุทธและศาสนพิธี

หน้าที่ชาวพุทธ

ชาวพุทธ คือ ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ประกอบด้วย นักบวช คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยเรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท 4 ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสงฆ์ แยกเป็น พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีสงฆ์
2. กลุ่มคฤหัสถ์ แยกเป็นอุบาสก และอุบาสิกา
ชาวพุทธทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีหน้าที่และบทบาทต่อพระพุทธศษสนาแตกต่างกัน ดังนี้

       1. หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุในฐานะเป็นพระนักเทศน์ พระธรรมฑูต พระธรรมจาริก พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ และพระนักพัฒนา

  1. ทั้งพระภิกษุและสามเณร มีบทบาทและหน้าที่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังนี้
    1.1 การศึกษาตามหลักไตรสิกขา คือ จะต้องศึกษาทั้ง 3 ด้าน
    (1) ศีล เป็นการศึกษาด้านพระวินัย (ศีล 227 ข้อ) ธรรมเนียม วัตรปฏิบัติ และมารยาทต่าง ๆ ของพระสงฆ์ เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและด้วยอาการสำรวมระวัง
    (2) สมาธิ เป็นการศึกษาด้านสมาธิ ฝึกเจริญวิปัสสนาเพื่อให้จิตสงบ
    (3) ปัญญา เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาด้านปัญญา โดยใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้เข้าใจถึงสัจธรรมหรือความจริงของชีวิต รวมทั้งเป็ฯเครื่องมือดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาชีวิตต่าง ๆ1.2 เป็นพระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ
    (1) พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง  เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด
    (2) พระนักเทศน์ประจำจังหวัด หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมปฏิบัติหน้าที่เทศน์ภายในจังหวัดที่สังกัดหรือสถานที่ที่ทายกอาราธนา
    นอกจากนั้น พระภิกษุทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถเป็นพระนักเทศน์ได้ โดยให้การสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องมีความรู้ทางด้านธรรมเป็นอย่างดียิ่ง

1.3 เป็นพระธรรมฑูต เป็นพระภิกษุที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธสาสนาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ในนามคณะสงฆ์ ถ้าเผยแผ่เอง เรียกว่าธรรมกถึก หรือพระนักเทศน์
1.4 เป็นพระธรรมจาริก ได้แก่ พระภิกษุที่ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวเขา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ และกรมประชาสงเคราะห์ โดยการปฏิบัติงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาเผ่าต่างๆ รวม 6 เผ่า ได้แก่ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ และกระเหรี่ยง ณ สถานที่ต่างๆ ในภาคเหนือ
1.5 เป็นพระวิทยากร ได้แก่ พระภิกษุผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป และเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชน ตลอดจนถึงการจัดอบรมต่างๆ ตามที่คณะสงฆ์มอบหมาย หรือหน่วยงานนั้นๆ ขอความอนุเคราะห์
นอกจากนั้น พระวิทยากร ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี มีทักษะความคล่องตัวในการสอนตามเนื้อหาวิชาเฉพาะที่ได้รับมอบหมาย มีการเตรียมการล่วงหน้า มีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีบุคลิกลักษณะดี และเหมาะสมเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสุภาพอ่อนโยน และมีศรัทธาในเรื่องการอบรมอย่างแท้จริง มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบดีไม่หลีกเลี่ยง และตรงต่อเวลา
1.6 เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ได้แก่ พระภิกษุผู้ทำการสอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ กล่าวคือ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมโดยผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัด และผ่านการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์จากกรมการศาสนา
นอกจากนั้น พระภิกษุที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็อาจเผยแผ่การปฏิบัติกรรมฐานได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
1.7 พระนักพัฒนา ได้แก่ พระสงฆ์ที่ทำงานสงเคราะห์ชุมชนด้วยการให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือชาวบ้านด้วยกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น เช่น การจัดตั้งศูนย์เด็กในวัด การอบรมเยาวชน การทำโครงการฝึกอาชีพ ธนาคารข้าว หรือการส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน ให้คำแนะนำด้านสุขอนามัย รวมทั้งการส่งเสริมชาวบ้านในเรื่องเกษตรผสมผสาน หรือเกษตรกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง ซึ่งการทำงานดังกล่าวนี้เกิดจากความคิดริเริ่มของท่านเอง มิใช่เพราะการชักนำของหน่วยงานรัฐหรือเพื่อสนองนโยบายรัฐ

พระสงฆ์เหล่านี้ได้ทำให้สังคมไทยได้ตระหนักว่า พระนั้นไม่ได้มีบทบาทเฉพาะพิธีกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ท่านยังมีบทบาทที่สำคัญในพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีอีกด้วย

  1. หน้าที่และบทบาทของอุบาสก อุบาสิกา ที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน
    อุบาสก (ชาย) และอุบาสิกา (หญิง) หมายถึง ชาวพุทธผู้ครองเรือนหรือคฤหัาถ์ผู้อยู่ใกล้พระศาสนา ซึ่งอุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อพระศาสนาและประกอบกิจกรรมทางศาสนามากกว่าชาวพุทธทั่วไป เช่น สามทานรักษาพระอุโบสถศีล (ถือศีล 8) ในวันพระเป็นต้น อุบาสก อุบาสิกาที่ดีควรยึดหลัก ” อุบาสกธรรม 7 ” เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติตน ดังนี้
  2. หมั่นไปวัดตามโอกาสที่เหมาะสม เพราะ การไปวัดจะได้พบปะกับพระภิกษุผู้ทรงศีลทรงคุณธรรมหรือได้พบกับมิตรที่สนใจในเรื่องธรรมเหมือนกับเรา ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการคบหากัลยาณมิตร หรือเรียกว่ามิตรที่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า
    ยํ เว เสวติ ตาทิโส ( ยังเว เสวะติ ตาทิโส ) คบคนเช่นไรก็เป็นคนเช่นนั้นแล
  3. หมั่นฟังธรรม เมื่อมีโอกาสควรใส่ใจในการฟังธรรมอยู่เสมอ เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้ได้รู้สิ่งไม่รู้ ส่วนสิ่งที่รู้แล้วก็จะช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้น เช่น การไปวัดเพื่อฟังเทศน์ ฟังธรรมตามโอกาสต่าง ๆ ฟังการแสดงธรรมเทศนาทางวิทยุหรือทางโทรทัศน์ เป็นต้น
  4. พยายามสนใจศึกษาและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ โดยนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศานามาใช้ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจว่าตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง
  5. มีความเลื่อมใสในพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะพระสงฆ์แต่ละรูปได้เสียสละความสุขทางโลก เพื่อมาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอันเป็นหนทางไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์และพระสงฆ์ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวตลอดไป
  6. ตั้งจิตให้เป็นกุศลในขณะฟังธรรม มิใช่ฟังธรรมโดยคิดในแง่ อคติ คิดขัดแย้ง พยายามฟังธรรมเพื่อก่อให้เกิดกุศล จิตใจจะได้เป็นสุข
  7. ทำบุญกุศลตามหลักและวิธีการของพระพุทธศาสนา ไม่แสวงบุญนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ควรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
  8. ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในทุก ๆ ด้าน ถ้าสามารถช่วยเหลือพระพุทธศาสนาได้ ด้วยวิธีการใดก็ควรขวนขวายเร่งรีบกระทำ อาทิ การตั้งชมรมพุทธศาสน์ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย จัดให้มีการอบรมเยาวชน บุคคลทั่วไป หรือ คนต่างชาติให้เข้าใจใน พระพุทธศาสนา

3. การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัท

ชาวพุทธหรือเหล่าพุทธบริษัท 4 มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระศาสนาให้มั่นคง โดยปกป้องพระพุทธ พระธรรมและพระสฆ์ รวมทั้งวัฒนธรรม ดังนี้
1.
สนใจศึกษาหลักธรรมคำสอนอยู่เสมอและนำไปปฏิบัติให้ถูต้อง ทั้งการรักษาศีล การปฏิบัติธรรม และการเจริญสมาธิ
2. ช่วยเผยแพร่หลักธรรมคำสอน โดยอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างถูกต้องชัดเจน หรือเผยแพร่ในรูปของเอกสารสิ่งพิมพ์หรือสื่อต่างๆ เท่าที่จะทำใด้
3. ไม่ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์ทำกิจนอกเหนือพุทธบัญญัติ เช่น ทำไสยศาสตร์ ทำนายโชคชะตาราศรี ใบ้หวย ทำเครื่องรางของขลัง หรือประกอบพุทธพาณิชย์อื่น ๆ
4. ส่งเสริมพระภิกษุสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใสศรัทธา ปฏิบัติดี ปฏิบัติชิบ หรือเคร่งงครัดในพระธรรมวินัยตามพุทธบัญญัติ โดยจัดกิจกรรมเชิดชูทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือระดับประเทศ โดยความร่วมมือระหว่างวัด สถานศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
5. ไม่ทำลายศาสนสถานหรือศาสนสมบัติ เช่น โบสถ์ ภาพกิจกรรมฝาผนัง หรือสิ่งของเครื่องใช้ภายในวัดให้ชำรุดแตกหัด รวมทั้งมีส่วนร่วมอนุรักษ์พุทธวัฒนธรรมต่าง ๆ ในสังคมไทย เช่น ประเพณีทอดผ่าป่า ทอดผ่ากฐิน ทำบุญตักบาตร ฯลฯ
6. สอดส่องดูแลมิให้เกิดการกระทำอันเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม ลบหลู่ ทำลาย หรือบิดเบือนพระพุทธศาสนา

  1. การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ตามหลักทิศเบื้องหลัง ในทิศ 6

ทิศ 6 คือ ข้อควรปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ ได้แก่

1. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า

พระภิกษุนักพัฒนาในทัศนะของนักเรียน
มารดาบิดา.
2. ทิกขิณทิส คือทิศเบื้องขวา
พระภิกษุนักพัฒนาในทัศนะของนักเรียน
 อาจารย์.
3. ปัจฉิมทิศ คือทิศเบื้องหลัง
พระภิกษุนักพัฒนาในทัศนะของนักเรียน
  บุตรภรรยา.
4. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย
พระภิกษุนักพัฒนาในทัศนะของนักเรียน
  มิตร.
5. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ
พระภิกษุนักพัฒนาในทัศนะของนักเรียน
   บ่าว.
6. อุปริมทิส คือทิศเบื้องบน
พระภิกษุนักพัฒนาในทัศนะของนักเรียน
สมณพราหมณ์.
1. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน

( 1 ) ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ.
( 2 ) ทำกิจของท่าน.
( 3 ) ดำรงวงศ์สกุล.
( 4 ) ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก.
( 5 ) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน.

มารดาบิดาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน 5

( 1 ) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
( 2 ) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
( 3 ) ให้ศึกษาศิลปวิทยา.
( 4 ) หาภรรยาที่สมควรให้.
( 5 ) มอบทรัพย์ให้ในสมัย.

3. ปัจฉิมทิส คือทิศเบื้องหลัง ภรรยา สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕

( 1 ) ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา.
( 2 ) ด้วยไม่ดูหมิ่น.
( 3 ) ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ.
( 4 ) ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้.
( 5 ) ด้วยให้เครื่องแต่งตัว.

ภรรยาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน 5

( 1 ) จัดการงานดี.
( 2 ) สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี.
( 3 ) ไม่ประพฤติล่วงใจผัว.
( 4 ) รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้.
( 5 ) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง.

4. กิจกรรมเพื่อการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของเยาวชน

เยาวชนเป็นพุทธบุตรควรม่ส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่อขัดเกลาจิตใจ ให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ซึ่งส่วนใหญ่สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น มีดังนี้
1. เข้าค่ายอบรมคุณธรรม หรือค่ายปลูกฝังจริยธรรม
2. การเข้าร่วมประเพณีและพิธีกรรมทางศาสนา เช่น หล่อและแห่เทียนพรรษา การพรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน การตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ และพิธีแสดงตนเป้นพุทธมามกะ เป็นต้น

ศาสนพิธี

ความหมายของคำว่า “ศาสนพิธี”
ศาสนพิธี คือ พิธีกรรมหรือระเบียบแบบแผนต่างๆที่ดีงาม ที่พึงปฏิบัติในทางพระศาสนา ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มศาสนาไว้ไห้ ศาสนิกชนทั่วไปได้เห็นและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้พิธีกรรมต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของผู้พบเห็นและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านจิตใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนามากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวพุทธ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธและคนไทยจะต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องศาสนพิธี

ประเภทของศาสนพิธี
ศาสนพิธีโดยสรุปแบ่งออกได้เป็น 4 หมวด คือ

1. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วย พิธีบำเพ็ญกุศล ได้แก่ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโปสถ พิธีเวียนเทียน เป็นต้น
2. หมวดบุญพิธี ว่าด้วย พิธีบำเพ็ญบุญ ได้แก่ พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
3. หมวดทานพิธี ว่าด้วย พืธีถวายทาน ได้แก่ ทานวัตถุ ๑๐ อย่าง
4. หมวดปกิณณกะ ว่าด้วย พิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พิธีแสดงความเคารพ การประเคนของ การกรวดน้ำ และคำอาราธนาคำถวายทานต่างๆ

ประโยขน์ขององค์ประกอบศาสนพิธี
1. ประโยชน์ทางใจ ช่วยให้เกิดคุณธรรมขึ้นในตัวผู้ปฏิบัติ ได้แก่
1.1 ความมีสติ
1.2 ความสามัคคี
1.3 ความเป็นระเบียบประณีตงดงาม
1.4 เกิดความชุ่มชื่นเบิกบานใจ
1.5 เกิดความฉลาด
2. เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของชาติ ที่ไม่มีชาติใดเหมือน แสดงถึงความเป็นไท มิใช่ทาสของชาติใด ทั้งยังป้องกันมิให้ชาติถูกลืม ๓. มีส่วนช่วยธำรงพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีเป็นขั้นตอนชักจูงให้ผู้ปฏิบัติซาบซึ้ง เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีใจมุ่งมั่นที่จะศึกษาแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาในขั้นลึกต่อไปได้ด้วยดี

******************************************

มารยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์

การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และโลก

ชาวพุทธที่ดีนอกจากจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ประกอบอาชีพสุจริตแล้ว ยังมีหน้าที่ที่ต้องทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมด้วย ส่วนรวมในที่นี้แบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และโลก

การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว
ครอบครัวในอุดมคติตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นสถานบันแห่งการใช้ชีวิตร่วมกันของชายหญิงที่มีอุดมการณ์ชีวิตสอดคล้องกัน ต่างฝ่ายมีความพร้อมในภาระหน้าที่อันพึงปฏิบัติต่อกัน คือการเกื้อกูลสงเคราะห์กันและผลิตสมาชิกใหม่ที่มีคุณภาพสู่สังคม จากอุดมคติของครอบครัวดังกล่าว ทำให้เห็นมิติที่นำไปสู่ภารกิจของครอบครัวสำคัญ 2 ประการคือ
มิติที่ 1 คือการที่ครอบครัวในฐานะสถาบันจะต้องมีความเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มิติที่ 2 เมื่อสมาชิกเกิดขึ้นมาใหม่ ก็จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูให้มีคุณภาพตามที่ประสงฆ์
มิติทั้งสองประการนี้ เป็นอุดมการณ์สำคัญในการดำเนินชีวิตครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งให้ความสำคัญแก่ครอบครัวในฐานะเป็นรากฐานของสังคมที่มีความจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมวลมนุษยชาติ จึงเน้นให้ผู้ครองเรือนดำรงตนอย่างถูกต้องตามวิถีทางแห่งฆราวาส

ในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมสำหรับให้ครในครอบครัวปฏิบัติเรียกว่า “กุลจิรัฏฐิติธรรม 4” หลักธรรม 4 ประการที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่ง ประกอบด้วย
1. ของหายของหมดต้องแสวงหา
2. ของเก่าชำรุดต้องบูรณซ่อมแซม
3. รู้จักประมาณในการใช้จ่าย
4. ต้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน

หลักกุลจิรัฏฐิติธรรม 4 จึงเป็นหลักธรรมที่ผู้ครองเรือนทั้งหญิงและชายพึงยึดถือปฏิบัติเพื่อรับผิดชอบและรักษาครอบครัวให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์

2. การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ชุมชนนั้นใหญ่กว่าครอบครัวแต่เล็กกว่าประเทศ ชุมชน คือ กลุ่มคนที่อยู่ใกล้ เคียงกัน พบปะกันเป็นประจำ มีศาสนา วัฒนะรรม ภาษา และอาชีพคล้ายกัน ถ้าชุมชนเข้มแข็ง รักใคร่สามัคคีกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครอบครัวก็จะดีขึ้นด้วย เราจึงมีหน่าที่ที่จะต้องรักษาทำนุบำรุงให้ชุมชนเจริญก้าหวน้า
การที่ชุมชนจะเจริยก้าวหน้าหรือมั่งคั่งได้ คนในชุมชนต้องรักและสามัคคีกัน ในทางพระพุทธศาสนามีคำสอนเรื่อง “สังคหวัตุ 4”

สังคหวัตถุ 4
หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

3. การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

สิ่งแรกที่เราควรบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้ คือการ การเป็ฯพลเมืองดี ทำตามกฎหมายบ้านเมือง และเมื่อเห็นคนทำผิดกฆมายก็แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ข้อต่อมาก็ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายในเรื่อง ศาสนา เชื้อชาติ วัฒนธรรมและชนชั้น เราต้องพยายามทำใจให้กว่างในเรื่องเหล่านี้ การแตกแยกในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ ทำให้ประเทศชาติไม่เป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน ปราศจากความสามัคคี เกิดความร้าวฉาน และเมื่อประเทศไทยไม่มั่นคงการพัฒนาประเทศก็เป็นไปได้ยาก ในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมข้อหนึ่ง ที่จะก่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมือง คือ “อปริหานิยธรรม”

อปริหานิยธรรม 7 คือ ธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว องค์ประกอบของ อปริหานิยธรรม มี 7 อย่าง คือ
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกและพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
3.ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
4. ภิกษุผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เป็นที่ซึ่งเคารพนับถือ ภิกษุเหล่านั้นเชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
5.ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
6. ยินดีในเสนาสนะป่า
7. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข
ธรรม 7 อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว

4. การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

สำหรับนักเรียน สามารถที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อโลกได้ เช่น
1. ช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม
2. ช่วยกันทำให้โลกมีสันติภาพ นักเรียนอาจจะช่วยอะไรหม่ได้มากนัก แต่เราสามารถทำได้โดยเริ่มที่ตัวเรา โดยพัฒนาตัวเราหรือคนใกล้เคียงให้มีนิสัยรักสันติ ไม่นิยมความรุ่นแรงง ฝึกตนให้มีขันติ รู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
3. รับว่าคนในโลกซึ่งแตกต่างกีนของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมนั้นเป็นเพื่อนร่วมดลกเดียวกัน เกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันทุกคน รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา พยายามยึดหลัก “พรหมวิหาร 4”

พรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า “ดี” ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. เบกขา
: การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ ทางกาย วาจา และทางใจ

พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติตนให้เหมาะสม สงเคราะห์และบูชาพระภิกษุตามควรแก่กาลเทศะ ทั้งนี้เพราะพระภิกษุเป็นสาวกของพระบรมศาสนา ถือว่าผู้มีความประพฤติดีและปฏิบัติชอบ ทั้งต่อพระพุทธศาสนาและต่อสังคม การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา และระเบียบประเพณีที่เป็นแบบแผนสืบต่อกันมา รวมทั้งช่วยสิ่งเสริมพระภิกษุให้ประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนนาน ในอันที่จะก่อประโยชน์ให้แก่สังคม และมนุษยชาติโดยรวมสืบต่อไป

1. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางกาย

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางกาย เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุซึ่งแสดงถึงความเคารพอ่อนน้อม แสดงถึงมารยาทที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระเบียบประเพณี การปฏิบัติตนที่เหมาะสมทางกาย เช่น การลุกขึ้นต้องรับ และยกมือไหว้ เมื่อพระภิกษุมาถึงยังบริเวณพิธีนั้น ๆ การประนมมือฟังพระธรรมเทศนา การเจริญพระพุทธมนต์ การฟังสวดอภิธรรม หรือขณะที่พูดกับพระภิกษุ เป็นต้น การกราบแบบเบญจางคประดิษฐิ์ การถวายสิ่งของให้พระสงฆ์ด้วยการประเคน การเดินผ่านพระสงฆ์ การยืนต้อนรับพระสงฆ์ การนั่งในที่ที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามแบบแผน เป็นต้น นอกจากนั้นจะต้องไม่แสดงกิริยาที่ไม่สุภาพอันเป็นการไม่เคารพต่อพระภิกษุ ไม่แสดงกิริยาดูหมิ่นเหยียดหยามต่อพระภิกษุ ไม่แสดงกิริยาเป็นกันเองสนิทสนมกับพระภิกษุเกินควรแม้จะเคยสนิทสนมกันมาก่อนก็ตาม

2. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางวาจา

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางวาจา เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุด้วยวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เช่น การพูดจากกับพระภิกษุด้วยคำสุภาพนุ่มนวล ใช้คำศัพท์เฉพาะที่พูดกับพระภิกษุให้อย่างถูกต้อง นั่นคือใช้สรรพนามแทนตนเองและแทนพระสงฆ์ในระดับต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ไม่พูดล้อเล่น ไม่พูดคำหยาบ หรือพูดดูหมิ่นพระภิกษุ และควรเป็นเรื่องที่สมควรหรือเหมาะสมที่จะพูดกับพระสงฆ์ เป็นต้น

3. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางใจ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางใจ เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ด้วยความเคารพอย่างแท้จริง ไม่ได้เกิดจากการเสแสร้งแกล้งทำ ซึ่งพระพุทธศาสนาถือว่า การคิดคำนึงด้วยใจ (มโนกรรม) เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าความคิดมีพลังมากก็จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมทางกายและวาจาได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงมุ่งสอนให้คิดคำนึงในเรื่องที่ดีงาม ที่เป็นกุศล ไม่คิดในแง่ร้ายต่อใคร ดังนั้นเมื่อเราทราบว่าพระภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติถูกต้อง สมควรที่จะให้ความเคารพสักการะ เป็นผู้ที่มีคุณต่อพระพุทะศาสนาและศาสนิกชนอย่างมาก เป็นผู้สืบทอดและธำรงพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ยาวนานสืบไป เราจึงควรแสดงความเคารพท่านทางใจทางที่ดีที่สุดก็คือ การเคารพพระภิกษุด้วยใจที่บริสุทธิ์ ได้แก่ การระลึกถึงพระคุณของพระภิกษุแต่ในส่วนที่ดี ตั้งใจที่จะนำคำสอนของท่านไปปฏิบัติ รองลงมาได้แก่ การไม่คิดที่จะทำให้ท่านยุ่งยากเดือดร้อน คิดหาโอกาสที่จะสนับสนุนบำรุงท่านด้วยปัจจัยสี่ หรือคิดที่จะสร้างสรรค์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือท่านเท่าที่โอกาสจะอำนวย เป็นต้น