Pdds กล มท ม ความบอพร องของพ ฒนาการแบบรอบด าน

สบื เนอ่ื งมาจากเขาอา่ นไดเ้ ขยี นไดน้ นั่ เอง เมอื่ ถงึ คราวอนบุ าล 2 เลอื่ นชน้ั ขน้ึ ไปเรยี นชน้ั ประถมศกึ ษา

ปีที่ 1 เขาจะมีความพร้อมในการเรียนรู้ที่ดีมาก ถ้าเปรียบเทียบกับหลายปีก่อนที่ยังไม่ดำเนิน โครงการนี้แต่ก่อนนักเรียนท่ีจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ่านออกเขียนได้ร้อยละ 50 แต่ในปัจจุบัน เด็กนักเรียนอนบุ าล 2 สามารถอา่ นออกเขยี นได้รอ้ ยละ 90 และผลทตี่ ามมาก็คือผ้ปู กครองมคี วาม พึงพอใจมาก ครูท่ีสอนในระดับต่างมีความสุขในการสอนมากข้ึนสืบเน่ืองจากนักเรียนรับและเรียนรู้ ได้ดี ผลการทดสอบการอ่านระดับชาติก็อยู่ในระดับที่ดี ผลการสอบ NT ก็มีค่าสูงข้ึนแต่ผลสอบ

O-net ปีที่ผ่านมายังต่ำ สืบเน่ืองจากนักเรียนท่ีเริ่มทำโครงการน้ีปัจจุบันกำลังเรียนอยู่ชั้น

ประถมศึกษาปที ี่ 3 คาดการณไ์ วว้ า่ ผลการสอบทกุ ระดับชัน้ ในอกี 3 ปีขา้ งหนา้ น่าจะสูงขน้ึ

หลงั จากดำเนนิ โครงการฯ นีไ้ ด้เปน็ ปีท่สี อง ทางโรงเรยี นบา้ นโพนแดงไดร้ ่วมมือกบั เทศบาล ตำบลดงหลวงในการพัฒนาครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลดงหลวง โดยได้รับการสนับสนุน

งบประมาณจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ในการจัดอบรมครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด เทศบาลดงหลวง โดยมีแนวคิดว่าเด็กท่ีจบจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแล้วเข้ามาเรียนต่ออนุบาล 1

ท่ีโรงเรียนเราและอีกอย่างพื้นท่ีดงหลวงมีปัญหาเรื่องภาษา ถ้าเราให้ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเตรียม การออกเสียงพยัญชนะอักษรกลาง 7 ตัว และสระชุดแรกให้น่าจะเป็นการดีโดยผ่านกิจกรรม

การร้องเพลง การเคล่ือนไหวร่างกาย และการเล่นเกม เล่นป้ันดินน้ำมัน โดยเน้นย้ำว่าไม่ให้ครู

เร่งเด็กไม่ต้องรีบให้ทำไปเรื่อยๆ แต่ไม่ให้เลิกทำ โดยคุณครูหาโอกาสนาทีทองสอดแทรกโดยท่ีให้ เด็กเกดิ การเรียนรูโ้ ดยไมร่ ู้ตัว

7 - 50

แนวแนะวิธีการเลย้ี งดู ดแู ล และพัฒนาเด็กปฐมวยั ตามสมรรถนะ

เพ่อื เพมิ่ คณุ ภาพเด็กตามวัย 0-5 ปี

ผลจากการร่วมมือกับครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลดงหลวง เด็กท่ีจบจากศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กพอเข้ามาเรียนอนุบาล 1 จะมีความพร้อมมาก เด็กสามารถบอกและออกเสียง พยัญชนะอักษรกลาง 7 ตัว และสระชุดแรกได้ ซึ่งส่งผลดีในการต่อยอดการเรียนรู้ของเด็กใน อนาคต

จากการดำเนินโครงการ “อ่านออก เขียนได้ ทันใจ ประทับจิต ชวี ติ มีคณุ ภาพ” เป็นเวลา 4 ปีปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนได้ลดน้อยลง และคาดว่าน่าจะหมดไปได้ถ้าม ี การแกป้ ญั หาร่วมกันหลายๆ ฝ่าย แกป้ ญั หาอย่างเป็นระบบอยา่ งจริงจังและจริงใจ

7 - 51

แนวแนะวธิ ีการเลย้ี งดู ดแู ล และพัฒนาเดก็ ปฐมวัย ตามสมรรถนะ

เพ่ือเพิ่มคุณภาพเด็กตามวยั 0-5 ปี

แนวทางสำหรับพ่อแม่ และผปู้ กครอง

ในการดูแลเด็กปฐมวัยทม่ี ปี ัญหาการเห็น

ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร. ปยิ ะรัตน์ นุชผอ่ งใส*

การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กท่ีมีปัญหาทางการเห็นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก พ่อแม่ ผู้ปกครองซึ่งเป็นบุคคลท่ีใกล้ชิดเด็กมากที่สุดมีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลให้เด็กได้พัฒนาไป จนถึงศักยภาพสงู สดุ ลักษณะของปญั หาการเหน็ ของเด็กมีตง้ั แตม่ องไมเ่ หน็ เลย มองเหน็ ไดเ้ ลก็ นอ้ ย มองเหน็ เฉพาะในท่มี ดื หรอื ในท่สี วา่ ง มองเหน็ เฉพาะส่งิ ทีอ่ ย่ตู รงหน้าไม่เห็นดา้ นขา้ ง เป็นตน้

การท่ีเด็กมองไม่เห็นหรือมองเห็นได้เล็กน้อยจะทำให้เกิดความลำบากในการเรียนรู้ เพราะ ข้อมูลที่ใช้ในการเรียนรู้ประมาณ 80% มาจากการมองเห็นและข้อมูลจากการมองเห็นจะช่วยให้

เดก็ รบั รสู้ ิ่งต่างๆ รวมทงั้ เช่ือมโยงตวั เองเข้ากับโลกภายนอกด้วย เด็กที่มปี ัญหาการเห็นจะไมเ่ ห็นการ ใช้หรือการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ไม่เห็นว่าคนอ่ืนๆ ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไร เคล่ือนไหวอย่างไร เล่นกันอย่างไร มองไม่เห็นคนอ่ืนๆ ช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร รักษาความสะอาด ใช้ห้องน้ำ ไม่เห็นรูปร่างหน้าตาของสมาชิกในครอบครัว ไม่เห็นวิธีการส่ือสาร ของคนอ่ืนๆ การแสดงออกทางสหี น้า มองไมเ่ หน็ ส่ิงต่างๆ ทอ่ี ย่รู อบตัว ดงั นั้นการท่พี อ่ แม่ช่วยเหลอื ลูกท่ีมีปัญหาการเห็นตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการอย่างถูกวิธีจะทำให้เด็กมีทักษะพ้ืนฐาน

ในการเรียนรู้ ซ่ึงส่งผลต่อพัฒนาการด้านอ่ืนๆ และการเรียนรู้ของเด็กเม่ือเข้าสู่วัยเรียน พ่อแม่จึง

ควรมีความตระหนักและจัดกจิ กรรมเพอื่ พฒั นาทกั ษะของเด็กในเรือ่ งต่อไปน ้ี 1. การทรงตวั และการเคล่ือนไหว

พ่อแม่ควรสอนการเคลื่อนไหวเริ่มจากการอุ้ม โดยก่อนท่ีจะอุ้มเด็กควรส่งเสียงบอก และสัมผัสให้เขารู้ตัวก่อนและค่อยๆ โอบ อุ้มเด็กให้ชิดกับลำตัวซ่ึงการให้เด็กรับรู้ว่าพ่อแม่มีการ เคล่ือนไหวอย่างไรจะช่วยให้เขาเคล่ือนไหวไปในทิศทางนั้น สอนให้เด็กเคล่ือนไหวร่างกายของเขา เองเริ่มจากศีรษะ แขน ขา หรืออาจเริ่มจากท่าจับนั่งบนตักและเปล่ียนเป็นยืนบนตัก สอนให้รู้จัก คลานโดยจับให้เขาอยู่ในท่าคุกเข่า มือท้ังสองข้างยันพื้น แล้วเรียกชื่อเพื่อกระตุ้นให้เขาคลานไปหา

*สาระและความคดิ เห็นของบทความเหล่าน้เี ป็นของผเู้ ขยี นบทความ

7 - 52

แนวแนะวิธกี ารเล้ยี งดู ดูแล และพัฒนาเดก็ ปฐมวัย ตามสมรรถนะ

เพ่อื เพิ่มคุณภาพเดก็ ตามวัย 0-5 ปี

เสียง การแขวนหรือย่ืนของเล่นที่มีเสียงไว้ใกล้ๆ มือและแสดงให้เด็กรู้ว่าจะจับหรือเอื้อมมือ

ได้อย่างไร จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กรู้จักเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันเด็กจะเรียนรู้ความหมายของ

บน-ลา่ ง นอก-ใน หน้า-หลงั จากทศิ ทางการยืน่ ของเล่น

ในการฝึกให้เด็กนั่งควรเร่ิมจากการให้เด็กน่ังบนตักหลังพิงพ่อแม่ จากนั้นให้เด็กน่ัง

บนพ้ืนหลังพิงพ่อแม่ น่ังบนพื้นหลังพิงผนังหรือเก้าอี้ที่มีพนักพิงด้านหลังเพื่อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย และรู้ขอบเขตของตนเอง เม่ือเด็กเร่ิมเดินควรจูงมือให้เดินไปพร้อมกัน บอกให้เขารู้ว่าขณะนี้กำลัง เดินอย่บู นพนื้ ลักษณะใด เช่น พน้ื ราบ พน้ื ทราย สนามหญ้า เด็กอาจกลัวทีจ่ ะเคลื่อนทไ่ี ปมาเพราะ กลวั ชนกบั สง่ิ ตา่ งๆ ดงั นน้ั จงึ ตอ้ งสอนใหเ้ ขารจู้ กั ปอ้ งกนั ตวั ขณะเดนิ โดยยกมอื ขา้ งหนง่ึ กนั บรเิ วณหนา้ อีกข้างหนึ่งกันบริเวณลำตัว เมื่อเด็กหกล้มควรสอนให้รู้จักใช้มือยันพื้นขณะล้มเพ่ือลดการบาดเจ็บ และความกลัวที่จะเคล่ือนที่ การขึงเชือกไว้ข้างผนังหรือทำราวเกาะสูงประมาณเอวเด็กจะช่วย

ในการเดินหรือว่งิ ภายในบ้านไดอ้ ยา่ งม่ันใจ พอ่ แม่ควรฝกึ ใหเ้ ด็กขน้ึ ลงบันไดด้ ้วยตนเอง โดยครงั้ แรก เด็กอาจจะนง่ั บนขนั้ สูงสุดของบันไดแล้วเลื่อนตัวลงมาทลี ะขน้ั ประมาณ 2-3 คร้ัง จากน้นั พอ่ แม่ควร กระตุ้นใหเ้ ดก็ ยนื และจบั ราวบนั ไดเดินข้นึ เดินลง

2. การใช้การรบั รทู้ เี่ หลอื อย ู่ โดยธรรมชาติเด็กที่มีปัญหาทางการเห็นจะหาวิธีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ แทนการเห็น เช่น การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น และการรับรส หากส่ิงที่เด็กต้องการเรียนรู้ว่าเป็นอะไรไม่เป็นส่ิงที่ สกปรกหรืออันตรายก็ไม่ควรห้าม พ่อแม่อาจวางส่ิงของบนโต๊ะโล่งๆ ใช้มือพ่อหรือแม่นำทางให้เด็ก สัมผัสสิ่งของ พ่อแม่อาจจับมือเด็กไปสัมผัสวัตถุหรือสัตว์ต่างๆ ท่ีเคลื่อนท่ีได้เพื่อให้เขารู้ว่าวัตถุหรือ สตั ว์เหล่าน้นั เคล่ือนทีอ่ ยา่ งไร และอธิบายว่าส่งิ น้ันเรยี กว่าอะไร ลักษณะอย่างไร มีประโยชน์อยา่ งไร นอกจากนี้พ่อแม่ควรสังเกตท่าทาง ลักษณะ หรือการแสดงออกท่ีเด็กพยายามสื่อสาร และทำความ เข้าใจโดยพูดสิ่งท่สี ัมพันธก์ บั สง่ิ ทเ่ี ดก็ ทำหรือส่ือสารออกมา

พอ่ แม่ควรสอนใหเ้ ดก็ ฟังและเรียนรูเ้ สยี งต่างๆ รอบตัว สอนให้รู้จกั คนอื่นๆ โดยการฟงั เสียง อธิบายว่าเสียงน้ันเป็นของใคร เช่น บอกว่า “ตอนน้ีคุณย่ากำลังพูดอยู่” และให้สัมผัสกับ ใบหน้าของคนนั้น พร้อมอธิบายลักษณะของแต่ละคนให้ฟัง ควรปล่อยให้เด็กฟังเสียงและสัมผัสส่ิง ตา่ งๆ และบอกให้ทราบว่าเสยี งทไี่ ดย้ นิ เปน็ อะไร เชน่ เสียงน้ำไหล เสียงลม เสียงรถว่ิงไปมา

พ่อแมค่ วรสอนให้เดก็ แยกความแตกต่างของเสยี ง เชน่ เสียงดัง เบา เรว็ ช้า โดยอาจใช้ วิธกี ารปรบมือ การดดี นิ้ว กระดกล้ิน เปา่ ปาก เป็นต้น และอธิบายวา่ เสียงนั้นทำอย่างไร ควรให้เด็ก รับความรู้สึกในการเคล่ือนไหวขณะทำเสียงต่างๆ และให้เด็กทำเสียงตามหรือให้เด็กได้สัมผัสวัตถุท่ี มีเนื้อสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ไม้ โลหะ พลาสติก พรม เป็นต้น เพ่ือให้เด็กได้เรียนรู้ความแตกต่าง จากการสัมผัสหรือการดมกลิ่น เช่น ต้นไม้ ยางมะตอย หญ้า เป็นต้น ควรสอนให้เด็กรู้ความ

แตกต่างของเหรียญชนดิ ต่างๆ จากขนาด รูปรา่ ง และนำ้ หนกั ของเหรียญ รวมท้งั ขนาดของธนบตั ร พ่อแม่ไม่ควรเอาของเล่นหรือสิ่งของไปยัดใสม่ ือเดก็ แตค่ วรให้เดก็ ได้สมั ผัสด้วยน้ิวมือกอ่ น

7 - 53

แนวแนะวิธกี ารเล้ยี งดู ดแู ล และพัฒนาเดก็ ปฐมวยั ตามสมรรถนะ

เพอื่ เพิ่มคุณภาพเด็กตามวัย 0-5 ป ี

3. การเรยี นรู้ตนเองและสงิ่ แวดล้อม

พ่อแม่ควรให้เด็กได้เรียนรู้เก่ียวกับร่างกายตนเอง ควรพูดว่า “น่ีตา หู จมูก ผม”

พร้อมทง้ั จับมือเดก็ สัมผสั และเล่นเกมอะไรเอย่ ถามลูกวา่ “ไหนปาก” พ่อแม่ การนวด การเล่นเกม เก่ียวกับร่างกายหรือการเรียกช่ืออวัยวะต่างๆ ขณะอาบน้ำจะช่วยให้เด็กเรียนรู้เก่ียวกับร่างกาย

ของตนเอง สอนเด็กให้รู้จักว่าอันไหน “ของฉัน” อันไหน “ของเธอ” เช่น รองเท้าของฉันต่างกับ ของเธอตรงไหน อาจอธิบายและให้เด็กได้สัมผัส ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้ส่ิงใหม่ๆ อาจพาเด็กออกนอกบ้านให้เด็กได้มีโอกาสสำรวจส่ิงต่างๆ ไม่ควรเก็บส่ิงของต่างๆ ออกหมดจนไม่มี อะไรให้เด็กสำรวจ แต่พ่อแม่ควรอยู่ห่างจากเด็กแต่ใกล้พอจะบอกหรือช่วยเหลือหากเห็นว่าเด็ก กำลังจะได้รับอันตรายและเมื่อเขาสามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรมใหม่ๆ ได้ควรแสดงออกด้วยคำพูด การอมุ้ การกอด หรอื สมั ผสั จะเปน็ การกระตนุ้ ใหเ้ ขาอยากเรยี นรมู้ ากขน้ึ แตถ่ า้ พอ่ แมก่ ลวั จนเกนิ ไป กลัวเด็กหกล้ม เจ็บ ไม่ปล่อยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้เด็กไม่กล้าท่ีจะทำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างไรก็ตามควรให้เดก็ รสู้ ึกวา่ ตนเองอย่ใู นทปี่ ลอดภัย เด็กหลายคนรสู้ ึกปลอดภัยเมอื่ ร้วู ่าตนเองอยู่ ในอาณาเขตแคไ่ หน เชน่ อยูใ่ นออ้ มแขนแม่ อยบู่ นตกั นง่ั อยู่ชิดกับแม่บนโซฟา เปน็ ต้น

พ่อแม่ควรใช้น้ำเสียงที่แตกต่างกันเพ่ือให้เด็กรับรู้ถึงความรู้สึกท่ีแตกต่างกัน เช่น

นำ้ เสยี งแสดงความหว่ งใย เสยี งเตอื นเมอื่ มอี นั ตราย เสยี งทแ่ี สดงความสขุ แตท่ สี่ ำคญั ทสี่ ดุ คอื ไมค่ วร ใชค้ ำพูดหรือนำ้ เสยี งทที่ ำร้ายจิตใจเดก็ เพราะเด็กทไี่ ม่สามารถมองเหน็ ว่าเราพดู เลน่ หรือพดู จริง

พ่อแม่ควรพูดคุยเก่ียวบุคคล วัตถุ สถานท่ี ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เด็กจะพบเจอในชีวิต ประจำวัน เวลาท่ีพ่อแม่ต้องทำงานต่างๆ ภายในบ้านให้พาเด็กไปทำกิจกรรมด้วย เช่น การเอา

ขวดนำ้ ออกจากตู้เย็น หยิบผา้ ออกจากตะกรา้ หยิบผลไมใ้ สใ่ นถาด เปน็ ต้น การใหเ้ ดก็ ได้เรียนรู้เสียง ในสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ เช่น เสียงออดประตูบ้าน เสียงแตรรถเวลาพ่อแม่กลับบ้าน เสียงเครื่อง

ซกั ผา้ เสยี งกระทบกนั ของอปุ กรณ์ในครัวเวลาทำอาหาร เปน็ ตน้ โดยการบอก อธิบายหรอื ใหเ้ ดก็ ได้ สัมผสั กบั ความสัน่ สะเทอื นหรอื ทำให้เกิดเสยี งด้วยตนเอง

การจบั ต้องผูอ้ ืน่ ทำใหเ้ ด็กเพมิ่ ความตระหนักในตนเอง การให้เด็กได้เลน่ กับเพอ่ื นๆ โดย มีส่ิงกีดขวาง เช่น คลานใต้โต๊ะ เก้าอ้ี กล่องกระดาษ จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลและ

สง่ิ แวดลอ้ มมากข้นึ

4. การเล่นและการคดิ

ของเล่นชิ้นแรกของเด็กควรมีรูปทรงง่ายๆ เพราะเด็กไม่เคยเห็นรูปทรงจึงไม่รู้จัก เช่น ตกุ๊ ตาแมวกับหมา เดก็ ยังแยกความแตกตา่ งไม่ได้ ของเลน่ เดก็ อาจเป็นพลาสติกรูปทรงงา่ ยๆ ที่เขยา่ แล้วมีเสียง แท่งไม้รูปทรงเรขาคณิต การให้เด็กกรอกน้ำใส่ขวด การเล่นแป้งโด การร้อยลูกปัด จะ ช่วยใหเ้ ดก็ ไดพ้ ัฒนาทักษะด้านการสัมผสั และดา้ นการคดิ

7 - 54

แนวแนะวธิ กี ารเลี้ยงดู ดแู ล และพฒั นาเด็กปฐมวัย ตามสมรรถนะ

เพ่ือเพ่มิ คณุ ภาพเด็กตามวยั 0-5 ปี

พอ่ แมค่ วรให้เด็กได้มโี อกาสเลือกของเล่น สิ่งตา่ งๆ ไม่ควรตัดสินใจแทนเด็กเพียงเพราะ เด็กมองไม่เห็นส่ิงนั้น พ่อแม่ควรให้เด็กได้สัมผัสและเลือกด้วยตนเอง นอกจากนี้การให้เด็กเล่นตาม วธิ กี ารของเขาเอง จะชว่ ยใหเ้ ขาเรียนร้ดู ว้ ยตนเอง อยา่ งไรกต็ าม พ่อแมค่ วรหาของเล่นทีม่ เี สยี งเวลา เดก็ กดหรอื เขย่า ลูกบอลทีม่ ีสีสวา่ งหรอื ตดั กันอยา่ งชัดเจน ของเลน่ ทีม่ แี สงกระพรบิ เวลากด แตค่ วร ระวังไม่ให้แสงส่องที่ตาเด็กโดยตรง การกระตุ้นให้เด็กได้เล่นของเล่นที่เด็กต้องกระทำบางอย่างและ เกิดเป็นแสงหรือเสียง เช่น ตีกลองท่ีทำใหเ้ กิดเสยี งดว้ ยตนเองจะช่วยในการพฒั นาความคิดเก่ียวกบั ผลของการกระทำ การเล่นเกมจ๊ะเอ๋โดยเอาผ้าคลุมหน้าและให้เด็กเอาผ้าออกจะทำให้เด็กเรียนรู้ว่า ส่ิงต่างๆ ยังคงมีอยู่แม้จะไม่เห็น ควรให้เด็กได้เรียนรู้จำนวน รูปร่าง ขนาด ผ่านของจริงท่ีมีอยู่ใน และนอกบ้าน เชน่ ผลไม้ ผกั เสือ้ ผา้ กระดมุ ถงุ ตะกรา้ การนับน้วิ ตนเอง

พ่อแม่ควรชวนเด็กอ่ืนๆ มาเล่นกับลูกหรือให้เล่นกับพ่ีน้องและควรสอนเด็กให้รู้จักกฎ ระเบียบ กติกา เมื่อเด็กไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกา พ่อแม่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจถึงผลท่ีตามมาและ รกั ษากฎ กติกา ไมค่ วรปล่อยให้เด็กทำตามใจตนเองเพราะเห็นว่าเดก็ มปี ญั หาทางการเหน็ เด็กควร เรยี นรวู้ า่ ส่งิ ใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ

5. การส่อื สาร

การส่ือสารจะเกิดข้ึนได้เมื่อเด็กมีความไว้วางใจ พ่อแม่เป็นผู้ที่คอยปลอบโยนเด็กเวลา ร้องไห้ดงั น้ันจึงเปน็ คนที่เดก็ ไว้วางใจยินดีจะสร้างความสมั พนั ธด์ ้วย การสื่อสารกับเดก็ ไมจ่ ำเปน็ ตอ้ ง เป็นคำพูดอย่างเดียวแต่เป็นการท่ีเด็กรู้จักการผลัดกันทำ การเลือก การเริ่มหรือชวนทำ การค้นหา หรือปฏเิ สธ การร้องขอ การสนุกกบั การสื่อสารกบั ผอู้ ื่น พอ่ แม่อาจเล่นกับเด็กโดยให้เดก็ ไดม้ ีโอกาส แสดงการสื่อสารดงั กล่าว เชน่ พอ่ แม่ตีกลองหนึ่งทแี ล้วกระตนุ้ ให้เด็กตกี ลอง เด็กอาจตกี ลองตอบมา หนึ่งที พ่อแม่ตีสามทีเด็กตีสามที สลับกัน เป็นการท่ีเด็กเรียนรู้ส่ิงท่ีพ่อแม่สื่อสารมาผ่านการตีกลอง หรือการนำขนมหลายๆ อย่างให้เด็กเลือกว่าอยากทานอันไหนแทนการตัดสินใจให้เด็กโดยบอกว่า ใหท้ านอันนี้ ทำให้เดก็ ไม่มีโอกาสได้คดิ ได้สือ่ สิ่งที่ตนเองตอ้ งการไม่ไดพ้ ูดโตต้ อบ

เด็กไม่สามารถมองเห็นการเคล่ือนไหวริมฝีปากขณะผู้อื่นพูด จึงควรให้เด็กสัมผัส

รมิ ฝปี ากและใบหนา้ ของผูพ้ ดู ขณะพูดจะไดร้ ับความร้สู กึ ในการเคล่ือนไหวริมฝปี าก แก้ม ขากรรไกร หลังจากนัน้ ให้เด็กเอามือไปวางทป่ี ากของตนเอง ให้เขาพูดตามคำบอก เขาจะรสู้ ึกถงึ การเคล่ือนไหว รมิ ฝปี าก แกม้ ขากรรไกร ลมที่ออกมาทางจมูกและปากขณะทีเ่ ขาพูด

เด็กอาจเรียนรู้คำ ช่ือสิ่งต่างๆ แต่ไม่เข้าใจความหมายเพราะไม่เห็นว่าวัตถุน้ันๆ เป็น อย่างไร พ่อแม่จึงควรอธิบายความหมายของคำ โดยการให้เขาสัมผัสสิ่งน้ันๆ และพูดชื่อสิ่งนั้น

ทำซ้ำๆ หลายคร้ังจะทำให้เด็กเรียนรู้ชื่อของส่ิงต่างๆ ได้ และพ่อแม่ควรเรียกช่ือส่ิงของต่างๆ เช่น ขวดน้ำ ช้อน เป็นต้น ทุกคร้ังทีน่ ำมาให้เดก็ ใช้

7 - 55

แนวแนะวิธกี ารเลยี้ งดู ดแู ล และพฒั นาเดก็ ปฐมวยั ตามสมรรถนะ

เพือ่ เพิ่มคณุ ภาพเด็กตามวยั 0-5 ปี

ในการส่ือสารเด็กควรรู้ว่าเขากำลังสื่อสารกับใคร ดังนั้นจึงควรบอกเด็กว่าเป็นใครและ ควรบอกให้เด็กรู้ว่าจะทำอะไร บอกเดก็ เมือ่ กิจกรรมเหตกุ ารณน์ น้ั เสร็จแล้ว และให้เด็กร้วู ่าคุณไมอ่ ยู่ ตรงนั้นแล้ว เช่น “พ่อทานข้าวเสร็จแล้วไปทำงานก่อนนะ” เด็กอาจตกใจและอารมณ์เสียได้จาก เสียงท่ีเกิดข้ึนโดยไม่รู้ตัว เช่น เสียงวิทยุ เสียงหมาเห่า พ่อแม่ควรบอกเด็กให้รู้จักก่อนท่ีจะได้ยิน เสียงนั้นอีกคร้ัง และเวลาท่ีพบญาติหรือเพ่ือนบ้านพ่อแม่ควรให้เขาพูดคุยกับเด็กโดยตรงไม่ควรถาม ผ่านพ่อแม่

6. การทำกิจวตั รประจำวนั

ควรสอนเด็กทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลตนเอง เช่น

การอาบน้ำ แปรงฟัน การใช้ห้องน้ำ การใส่เส้ือผ้า เป็นต้น ควรสอนให้เด็กทำกิจกรรมทีละอย่าง ตามลำดับ เร่ิมจากกิจกรรมที่ง่ายที่สุดก่อนโดยพ่อแม่ควรคิดก่อนว่าวิธีท่ีเด็กทำกิจกรรมควรเป็น อยา่ งไรแลว้ อธิบายใหเ้ ดก็ เข้าใจวา่ ทำไมตอ้ งทำกจิ กรรมนั้น แสดงให้เขาเหน็ วิธกี ารทำโดยพอ่ แม่รว่ ม ทำกบั เดก็ พรอ้ มอธบิ ายใหเ้ ขารวู้ า่ กำลงั ทำอะไรจากนนั้ ใหเ้ ดก็ ลองทำเอง ขนั้ ตอนใดทเี่ ดก็ ทำไมไ่ ด้ ให้ ชว่ ยโดยวางมอื บนหลงั มอื ของเขาจบั มอื ใหท้ ำกจิ กรรมนนั้ และบอกใหท้ ำกจิ กรรมนนั้ ตอ่ ไปพรอ้ มกนั เช่น การใส่เส้ือ ช่วยเอาแขนเด็กใส่ในแขนเส้ือ เอาคอเสื้อสวมศีรษะแล้วให้เด็กดึงเส้ือลงมาเอง เป็นต้น ทกุ ครง้ั ที่ทำกิจกรรมใหมๆ่ และทำได้แมเ้ พยี งเลก็ น้อย พ่อแมค่ วรแสดงความพอใจโดยการกอดหรือ ลูบเบาๆ หรือพูดชมจะช่วยให้เขามีกำลังใจอยากช่วยเหลือตนเองมากขึ้น เมื่อเด็กเรียนรู้การทำ กิจกรรมแล้วพ่อแม่ควรลดการช่วยเหลือลงและพยายามให้เด็กช่วยเหลือตนเองให้มากท่ีสุด พ่อแม่ ควรใจเยน็ และให้เวลาเด็กในการฝกึ หรือทำกิจกรรมเพราะอาจใช้เวลาหลายวันหลายสปั ดาห์

การสอนเดก็ ใสเ่ สื้อผา้ ควรสอนให้เด็กรู้จักด้านหนา้ และดา้ นหลงั ของเส้อื หากมลี กั ษณะ เหมือนกันควรทำสัญลักษณ์โดยแปะแถบผ้าไว้ด้านในของเสื้อ สอนให้เขารู้จักแยกสีเสื้อผ้า โดยทำ สญั ลกั ษณเ์ ป็นแถบกาวหรอื รูปรา่ งตา่ งๆ แทนแต่ละสเี พ่ือให้เขาเลือกใส่เส้ือผา้ ไดเ้ อง พ่อแมค่ วรสอน ให้เด็กรับประทานอาหารโดยแบ่งเป็นข้ันตอนย่อยๆ เช่น พ่อแม่ตักอาหารด้วยช้อนแล้วนำไปใกล้ ปากเด็ก เด็กเรียนรู้ว่าเป็นอาหารและต้องอ้าปาก เค้ียวอาหาร ในขณะเดียวกันพ่อแม่ควรฝึกเด็ก หยิบจับของเล็กๆ ยกขึ้นลงเพ่ือท่ีจะฝึกให้เด็กหยิบจับช้อนได้ โดยพ่อแม่ให้เด็กจับช้อนท่ี

พ่อแม่ตักอาหารไว้แล้วและวางมือบนมือเด็ก ช่วยเด็กยกช้อนไปใกล้ปาก เมื่อเด็กทำได้พ่อแม่ค่อยๆ ลดความช่วยเหลือลงและฝึกให้เด็กทำข้ันต่อไป เป็นต้น นอกจากนี้ควรสอนเด็กให้ดื่มน้ำจากแก้ว โดยการจับแก้วพร้อมกับเขา แสดงวิธียกแก้วเข้าชิดปาก ดื่ม แล้ววางแก้วลง ทำเช่นนี้หลายๆ ครั้ง จนเขาสามารถทำได้เอง พอ่ แมค่ วรน่ังขา้ งๆ เด็กขณะรบั ประทานอาหารสอนให้รคู้ วามแตกต่างของ อาหารแต่ละชนิดจากการดมกลิ่นและรสอาหาร โดยเด็กอาจจะเอาน้ิวจิ้มลงในอาหารเพ่ือจะได้รู้ว่า เป็นอะไร และพ่อแม่บอกให้ทราบว่ากำลังรับประทานอะไร ควรจัดให้เด็กน่ังที่เดิมทุกครั้งเวลาทาน ข้าว รวมทั้งจาน อุปกรณ์อื่นๆ ควรอยู่ในตำแหน่งเดิมเพ่ือให้เขาทราบตำแหน่งและหยิบจับได้

ถูกต้อง

7 - 56

แนวแนะวธิ ีการเลย้ี งดู ดแู ล และพฒั นาเดก็ ปฐมวัย ตามสมรรถนะ

เพือ่ เพ่ิมคุณภาพเด็กตามวยั 0-5 ปี

เด็กที่มองไม่เห็นตั้งแต่แรกเกิดอาจมีปัญหาการนอนเนื่องจากไม่สามารถรับรู้กลางวัน และกลางคืนทำให้เด็กนอนกลางวันต่ืนกลางคืนได้ พ่อแม่ไม่ควรเล่นหรือดูทีวีโดยให้เด็กนั่งบนตัก เวลาที่เด็กไม่ยอมนอน การนวดให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายจะช่วยให้เด็กหลับได้บางคนใช้การอาบน้ำอุ่น ก่อนนอนทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและการให้เด็กอาบน้ำก่อนนอนเป็นประจำจะทำให้เด็กเรียนรู้ว่า จะต้องนอนหลังจากอาบน้ำพ่อแม่อาจปิดไฟหรือลดแสงไฟ (แม้เด็กจะมองไม่เห็นแต่บางคนยังรับรู้ การมีแสง) ลดเสียงรบกวนในบริเวณท่ีเด็กนอน การให้เด็กได้สัมผัสหมอน ผ้าห่ม หรืออุปกรณ์ เครอื่ งนอนพรอ้ มอธบิ ายจะทำใหเ้ ดก็ เรียนรวู้ า่ ถึงเวลาเข้านอนแล้ว

7. สภาพแวดลอ้ ม

พ่อแม่ควรจัดบ้านให้เป็นระเบียบ วางของเป็นที่ จัดส่ิงแวดล้อมที่หลีกเล่ียงการเกิด อันตรายแก่เด็กเพราะเด็กมองไม่เห็นอาจสะดุดหรือหกล้มได้ เช่น การวางส่ิงของท่ีอันตรายไว ้ ใกล้มือเด็ก บริเวณที่เป็นหลุมเป็นบ่อควรทำให้เป็นทางเรียบ ไม่วางสิ่งของเกะกะทางเดิน หรือ เคล่ือนย้ายวัตถุไปวางขวางทางในที่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นต้น และควรวางของไว้ท่ีเดิมเพราะเด็ก เรียนรูว้ ่าของอยูท่ ไี่ หนแล้ว หากเปล่ยี นทโี่ ดยไมบ่ อกจะทำใหเ้ ดก็ หาไม่เจอและรสู้ กึ ไมม่ ัน่ ใจว่าตนเอง มาถูกที่หรือเปล่า อยู่ในทิศทางไหน โดยเฉพาะของท่ีเป็นของเด็กเองหากจะเปลี่ยนที่ต้อง

ให้เด็กรู้และพาเขาไปยังที่ที่เปลี่ยนนั้น นอกจากน้ีไม่ควรเปิดประตูบ้านท้ิงไว้เพราะเด็กอาจเดินออก ไปนอกบริเวณบ้านได้

ในการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวัน ควรจัดเป็นตารางเวลาประจำไม่ เปล่ียนแปลงเวลาบ่อยๆ เพราะการท่ีเด็กรู้ว่าจะมีอะไรเกิดข้ึนต่อไปทำให้เขารู้สึกปลอดภัย และพ่อ แมค่ วรพดู หรือสมั ผสั ตวั เดก็ เพื่อใหร้ ู้วา่ เดก็ ไมไ่ ดอ้ ยูค่ นเดียวมพี ่อแมอ่ ยูด่ ้วยตลอดเวลา

การทำราวหรือท่ีจับที่มีความสูงระดับเอวของเด็กติดผนังรอบบ้าน การทำสัญลักษณ์ ติดหน้าห้อง โดยใช้วัตถุท่ีส่ือความหมาย เช่น จานของเล่นติดบนแผ่นกระดาษหรือบอร์ดขนาดไม่ เลก็ หรอื ใหญ่เกนิ ไป เช่น 6*6 นวิ้ แล้วติดหน้าทางเข้าหอ้ งครวั หรอื ใช้ส่วนของผา้ เชด็ ตัวมาแปะบน แผน่ กระดาษหรอื บอร์ดหน้าประตหู ้องนำ้ เป็นต้น จะทำใหเ้ ดก็ เรยี นรู้ทิศทาง พอ่ แม่ควรพาเด็กเดนิ ท้ังในและนอกบ้านเพื่อทำความคุ้นเคยกับส่ิงต่างๆ และยังช่วยให้เด็กสามารถจินตนาการแผนผัง ภายในและภายนอกบา้ นวา่ มีอะไรอยทู่ ่ไี หนทำใหเ้ กดิ ความม่ันใจในการชว่ ยเหลือตนเอง

แนวทางดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลและให้ความช่วยเหลือเด็กท่ีมี ปัญหาการมองเห็นท่ีพ่อแม่และผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดจะกระทำได้ แต่อาจจะยังไม่ เพียงพอเพราะเด็กท่ีมีปัญหาการมองเห็นแต่ละคนอาจมีความต้องการการช่วยเหลือท่ีแตกต่างกัน และในแต่ละช่วงวัยยังมีรายละเอียดในข้ันตอนการให้ความช่วยเหลือด้วย ดังนั้นพ่อแม่จึงควร

พาเด็กพบแพทย์เฉพาะทางและนักวิชาชีพที่เก่ียวข้องอย่างสม่ำเสมอ เพ่ือประเมินและตรวจสอบว่า ระดับการมองเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร และให้เด็กได้รับการฝึกการสร้าง

7 - 57

แนวแนะวธิ ีการเล้ียงดู ดแู ล และพฒั นาเดก็ ปฐมวัย ตามสมรรถนะ

เพ่อื เพมิ่ คุณภาพเดก็ ตามวยั 0-5 ปี

ความคุ้นเคยและปรับสภาพแวดล้อมจากนักวิชาชีพเพิ่มเติม รวมท้ังพ่อแม่จะได้รับคำแนะนำวิธีการ ฝึกลูกให้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างละเอียดทีละขั้นตามแต่ละช่วงวัย นอกจากนี้การได้มีโอกาสพูดคุย กับผู้ปกครองท่ีมีลูกท่ีมีปัญหาทางการเห็น อาจช่วยแลกเปลี่ยนข้อมูลการดูแลช่วยเหลือลูกได้

หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรท่ีให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเห็นจะช่วยให้พ่อแม่

มีความม่ันใจในการดูแลลูกได้มากข้ึน เช่น ศูนย์บริการระยะแรกเร่ิมสำหรับเด็กท่ีมีความบกพร่อง ทางการเหน็ อายุ 0–6 ปี (Joy Center for Children with Visual Impairment 0–6 years)

ต้ังอยู่ท่ี 250/571 หมู่บ้านกรีนวิลล์ ถ. พุทธมณฑลสาย 2 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรงุ เทพ 10170 โทร. 02 448 0166, 02 800 2199

บรรณานุกรม

ศุภา คงแสงไชย (2557). กลยุทธ์การกระตนุ้ พัฒนาการทางสายตาสำหรบั เด็กพิการทางสายตาและ เด็กดอ้ ยโอกาส 0-3 ปี. กรุงเทพ: วิสนั ตก์ ารพมิ พ์.

ศูนย์สิรินธรเพ่ือการฟ้ืนฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ (2544). คู่มือการฟื้นฟูสำหรับสมาชิก ในครอบครวั ของผู้ท่มี คี วามผดิ ปกติทางการมองเหน็ เลม่ 1-2. ม.ป.พ.

Bhandari, R. & Narayan, J. (Ed.). (2009). Creating Learning Opportunities: A Step

by Step Guide to Teaching Students with Vision Impairment and

Additional Disabilities, Including Deafblindness. printed by http:// www.sreeramanaprocess.com.

Everett, D. & Ravenscroft, J. (April 2004). A Parent Guide to Mainstream

Visual Impairment education in Scottland. Retrieved from http:// www.ssc.education.ed.ac.uk/viscot/parentguide.pdf

Royal National Institute of Blind People (RNIB). (2016). Information about Vision Impairment: Guide for Paents. Retrieved from https://www.rnib.org.uk/sites/ default/files/APDF- ENG021603_Early%20Support%20Parents%20

Information.pdf

7 - 58

แนวแนะวิธีการเลยี้ งดู ดแู ล และพฒั นาเดก็ ปฐมวยั ตามสมรรถนะ

เพื่อเพ่มิ คุณภาพเดก็ ตามวยั 0-5 ป ี

คำแนะนำสำหรับพอ่ แม่ และผปู้ กครอง

ในการดแู ลเด็กปฐมวยั ทีม่ ีปญั หาการไดย้ ิน

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรตั น์ นชุ ผอ่ งใส*

เด็กที่มีปัญหาการได้ยินสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือในช่วงปฐมวัยซ่ึงมักจะพบ เม่ือพ่อแม่ ผู้ปกครองสังเกตเห็นจากพัฒนาการที่ไม่เป็นไปตามวัย โดยเด็กแต่ละคนอาจมีระดับการ สูญเสียการได้ยินรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนมีปัญหาการได้ยินไม่มากและมีความคงท่ีไม่ เปล่ียนแปลง บางคนอาจมีปัญหาการได้ยินดีขึ้นหรือลดลงตามอายุที่มากข้ึนจึงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทราบสาเหตุและแนวทางในการบำบัดรักษาหรือลดความรุนแรงของปัญหาโดยเร็ว เม่ือพบว่า เด็กมีปัญหาการได้ยิน พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ควรโทษตนเองหรือผู้อื่นว่าเป็นต้นเหตุ แต่ควรต้ังสติ

หาข้อมูลต่างๆ เพ่ือทำความเข้าใจเด็กที่มีปัญหาในการได้ยิน และเล้ียงดูเพ่ือให้เขามีพัฒนาการ

เช่นเดียวกับเด็กท่ัวไป เด็กที่มีปัญหาในการได้ยินอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ 1) เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่านการได้ยินไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่ เครื่องช่วยฟัง 2) เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอท่ีจะได้ยินการพูดผ่าน ทางการได้ยิน มักจะใส่เครื่องช่วยฟังเพ่ือให้การได้ยินดีขึ้นและต้องเรียนรู้การใช้เคร่ืองช่วยฟังจาก นักวิชาชีพ

การทเี่ ดก็ ไมไ่ ดย้ นิ เสยี งหรอื ไดย้ นิ เสยี งไมช่ ดั เจนสง่ ผลตอ่ การออกเสยี งพดู ของเดก็ การสอ่ื สาร

กบั ผอู้ น่ื และการรบั ขอ้ มลู ขา่ วสารตา่ งๆ โดยเฉพาะพฒั นาการทางดา้ นภาษา ดงั นนั้ พอ่ แม่ ผปู้ กครอง