Interest coverage ratio ตัวอย่าง

อัตราส่วนแสดงสามารถในการชำระดอกเบี้ย หรือ Times Interest Earned (TIE) Ratio คือ เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถของบริษัทว่ามีกำไรพอจ่ายหนี้ที่กู้ยืมมาได้มากน้อยเพียงใด โดยตัวเลขผลลัพธ์จะแสดงถึงการนำกำไรมาจ่ายได้กี่เท่าของดอกเบี้ยทั้งหมดที่ค้างชำระ

Interest coverage ratio ตัวอย่าง

วิธีการดูค่าของ TIE

  • ค่า TIE มาก หมายถึง บริษัทมีเงินสดเพียงพอหลังจากชำระหนี้เพื่อลงทุนในธุรกิจต่อไป แสดงว่า มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ต่ำ
  • ค่า TIE น้อย หมายถึง บริษัทมีเงินสดไม่พอหลังจากชำระหนี้เพื่อลงทุนในธุรกิจต่อไป แสดงว่า มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้สูง

โดย TIE Ratio ไม่มีเกณฑ์ตัวเลขที่แน่นอน จึงเหมาะสำหรับเปรียบเทียบตัวเลขปัจจุบันกับอดีต เพื่อดูแนวโน้มความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของบริษัทว่าดีขึ้นหรือแย่ลง หรือ เปรียบเทียบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ยกตัวอย่างการใช้ TIE จากสถานการณ์จริง

ยกตัวอย่างการอ่านค่า TIE ตั้งแต่ปี 2017 จนถึงไตรมาส 1 ปี 2021 ของบริษัท บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน)

Interest coverage ratio ตัวอย่าง

ข้อมูล ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2021

  • ปี 2018 มีค่า TIE Ratio 24.95 เท่า หมายความว่า บริษัทสามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างจ่ายได้ 24.95 เท่า หรือกำไรของบริษัทสูงกว่าค่าดอกเบี้ยค้างชำระมากถึง 24.95 เท่า โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2017 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 18.23 แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถนำกำไรมาจ่ายหนี้ได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำ
  • ปี 2019 มีค่า TIE Ratio 29.68 เท่า หมายความว่า บริษัทสามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างจ่ายได้ 29.68 เท่า หรือกำไรของบริษัทสูงกว่าค่าดอกเบี้ยค้างชำระมากถึง 29.68 เท่า โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2018 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 24.95 แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถนำกำไรมาจ่ายหนี้ได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำ
  • ปี 2020 มีค่า TIE Ratio 35.30 เท่า หมายความว่า บริษัทสามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างจ่ายได้ 35.30 เท่า หรือกำไรของบริษัทสูงกว่าค่าดอกเบี้ยค้างชำระมากถึง 35.30 เท่า โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2019 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 29.68 แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถนำกำไรมาจ่ายหนี้ได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำ
  • ในไตรมาส 1 ของปี 2021 มีค่า TIE Ratio 75.98 เท่า หมายความว่า บริษัทสามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างจ่ายได้ 75.98 เท่า หรือกำไรของบริษัทสูงกว่าค่าดอกเบี้ยค้างชำระมากถึง 75.98 เท่า โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2020 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 35.30 แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถนำกำไรมาจ่ายหนี้ได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำ

สรุปได้ว่าจากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าบริษัทมีแนวโน้มการสร้างกำไรได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี ทั้งนี้เป็นเพราะบริษัทได้รับอานิสงค์จากสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากเป็นบริษัทที่จำหน่ายสินค้าไอที ดังนั้นจึงมียอดขายสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการหากำไรเพื่อมาชำระดอกเบี้ย

หมายเหตุ : TIE Ratio บอกเพียงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและความเสี่ยงของบริษัทเท่านั้น นักลงทุนควรดูอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อใช้ในประกอบการตัดสินใจลงทุน

แล้วเราสามารถดูค่า TIE Ratio ได้จากที่ไหน ?

วิธีที่ 1 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม TradeMaster

  1. Login เข้าโปรแกรม TradeMaster
  2. เลือกเมนู Market Info
  3. ไปที่ฟังก์ชัน Fundamental > Fin. Chart
  4. คลิกที่ Debt Ratio จากนั้นเลือก TIE Ratio

Interest coverage ratio ตัวอย่าง

วิธีที่ 2 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม Stock Signals บนหน้า เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง

  1. Login เข้าใช้งาน เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
  2. เลือกเมนู Stock Signals
  3. เลือกฟังก์ชัน Summary
  4. พิมพ์ชื่อหุ้นที่ท่านสนใจในช่องค้นหา เมื่อเลือกเรียบร้อยแล้ว สามารถดู TIE Ratio ของหุ้นตัวที่เลือกได้ด้านล่าง ดังหน้านี้

Interest coverage ratio ตัวอย่าง

สแกนหา TIE Ratio ได้อย่างไร ?

เด็ดยิ่งกว่า!!! ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวงสามารถสแกนหาหุ้นอัตโนมัติด้วย Strategy Builder จากการสร้างเงื่อนไขที่คุณสนใจง่ายๆผ่านโปรแกรม Trade Master ดังนี้…

Interest Coverage Ratio คือ อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่เปรียบเทียบระหว่างกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) กับภาระดอกเบี้ยจ่ายของบริษัท เพื่อแสดงว่าบริษัทมีภาระดอกเบี้ยอยู่เท่าไหร่

โดยวิธีคำนวณหา Interest Coverage Ratio (ICR) สามารถคำนวณได้โดยการนำกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) มาหารด้วยดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการสูตร Interest Coverage Ratio ได้ดังนี้

Interest Coverage Ratio = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ÷ ดอกเบี้ยจ่าย

Interest Coverage Ratio ที่คำนวณออกมาได้จากจะมีหน่วยเป็นเท่า ซึ่งอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยหรือ Interest Coverage Ratio คือ ตัวเลขที่จะแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีอัตราส่วนกำไรคิดเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย จากการเปรียบเทียบระหว่างกำไรก่อนดอกเบี้ยกับดอกเบี้ยจ่าย

Interest coverage ratio ตัวอย่าง
สูตรสำหรับคำนวณหา Interest Coverage Ratio

สำหรับผลลัพธ์ที่ดีของการวิเคราะห์ Interest Coverage Ratio คือ ค่าที่มากกว่า 1 และเป็นค่ามาก (ยิ่งค่ามากยิ่งดี) ที่สะท้อนว่าบริษัทมีกำไรมากกว่าภาระดอกเบี้ย

Interest Coverage Ratio บอกอะไร?

อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วในตอนต้นว่า Interest Coverage Ratio คือ อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ที่ใช้สำหรับการวัดว่าบริษัทมีอัตราส่วนกำไรคิดเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ซึ่งค่าที่ได้แต่ละรูปแบบของ Interest Coverage Ratio สามารถแปลผลได้ ดังนี้

Interest Coverage Ratio มากกว่า 1 หมายความว่า กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี มีค่ามากกว่าดอกเบี้ยจ่าย หรือหมายความว่ามีกำไรมากกว่าดอกเบี้ยและพอจ่ายดอกเบี้ย

Interest Coverage Ratio น้อยกว่า 1 หมายความว่า กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี มีค่าน้อยกว่าดอกเบี้ยจ่าย หรือหมายความว่าบริษัทมีกำไรต่ำกว่าดอกเบี้ย ซึ่งหมายความว่าบริษัทมีกำไรไม่พอจ่ายดอกเบี้ย

จะเห็นว่าการที่ Interest Coverage Ratio หรืออัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย คือ การเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) กับดอกเบี้ยจ่าย (ที่อยู่ในงบกำไรขาดทุน) ทำให้อีกชื่อหนึ่งของ Interest Coverage Ratio คือ อัตราส่วนกำไรสุทธิก่อนภาษีต่อดอกเบี้ยจ่าย

ตัวอย่าง Interest Coverage Ratio

ตัวอย่างเช่น จากงบกำไรขาดทุนของบริษัท Coverage มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้หรือ EBIT 15,000 บาท และมีดอกเบี้ยจ่าย 2,000 บาท โดยค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมของธุรกิจที่บริษัท Coverage ดำเนินธุรกิจอยู่มีอัตราส่วน Interest Coverage Ratio เฉลี่ยคือ 5 เท่า

Interest Coverage Ratio = 15,000 ÷ 2,000 = 7.5 เท่า

ดังนั้น บริษัท Coverage มีอัตราส่วน Interest Coverage Ratio คือ 7.5 เท่า หรือมีกำไรมากกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย 7.5 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม


สำหรับใครที่สนใจในการวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือตลาดหุ้น ไม่ว่าจะเป็น Interest Coverage Ratio หรืออัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ สามารถดูได้จากงบแสดงฐานะการเงินหรือรายงานประจำปี 56-1 ของแต่ละบริษัทได้จากหน้าข้อมูลรายบริษัทจากเว็บไซต์ set.or.th

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตาม Facebook และ Twitter