E-book จาก meb สามารถปร น ออกมาเป น เล ม

ก็คึกคักไม่แพ้กัน เพราะนอกจะเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ยังมีผู้ใช้งานและรายได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องราวๆ 30-40% ต่อปีเลยทีเดียว

Show

    อะไรทำให้ meb และ readAwrite เติบโตขึ้นทุกปี? เทรนด์การอ่านอีบุ๊กของคนไทยตอนนี้เป็นแบบไหน? ในยุคสมัยที่เด็กๆ โตมากับเทคโนโยโลยี e-book จะมาแทนที่หนังสือเล่มหรือเปล่า? เราพกความสงสัยเหล่านี้ไปยังออฟฟิศของ meb corporation เพื่อพูดคุยกับ 2 ผู้ก่อตั้ง ‘ไช้—รวิวร มะหะสิทธิ์’ และ ‘โก๋—กิตติพงษ์ แซ่ลิ้ม’

    ขอเกริ่นก่อนว่า ไช้และโก๋ คืออดีตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ชอบอ่านการ์ตูน เล่นเกม อ่านนิยายไซไฟ และคลุกคลีอยู่กับชมรมด้านการทำวารสาร เมื่อเรียนจบทั้งคู่ตัดสินใจเปิดสำนักพิมพ์และทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ ประสบการณ์และความหลงใหลเหล่านี้เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่ค่อยๆ ประกอบกันทีละชิ้น จนในที่สุดก็ออกมาเป็นธุรกิจ e-book อย่าง meb ตามมาด้วยแพลตฟอร์มอ่านเขียนนิยายออนไลน์ readAwrite ในเวลาต่อมา

    ไช้เล่าว่าความหมายที่เป็นทางการ คำว่า ‘meb’ ย่อมาจาก mobile e-books แต่ก็กระซิบมาว่าความหมายเบื้องหลังจริงๆ คือคำว่า เมพ ที่มาจาก เมพขิงๆ (เทพจริงๆ) ที่เราฮิตใช้กันยุคสมัย lnwza ช่วงที่ meb กำลังก่อตั้งพอดิบพอดี

    แม้ความหมายนี้จะแฝงความขี้เล่นอารมณ์ดี แต่พอฟังเรื่องราวการเติบโตของ meb ที่เต็มไปด้วยแพสชั่นและความตั้งใจอย่างแท้จริง ก็ทำให้เราอยากจะบอกว่า meb เป็นแพลตฟอร์มที่เมพ (ขิงๆ) สมชื่อเลยล่ะ

    E-book จาก meb สามารถปร น ออกมาเป น เล ม

    จากสำนักพิมพ์สู่แพลตฟอร์ม e-book

    ตอนทำสำนักพิมพ์ไปเจอ pain point อะไรถึงตัดสินใจทำ e-book

    โก๋: เริ่มจาก pain point ตัวเองนี่แหละ (หัวเราะ)

    ไช้: ตอนเราคิดจะทำ e-book เรายังไม่ได้มองภาพใหญ่ถึงขนาดว่าจะมาแก้ปัญหาให้วงการอะไรอย่างนี้ แต่ตอนเราทำสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก เราใช้กลไกหลักคือสายส่ง ส่งไปยังร้านหนังสือ ร้านหนังสือก็ตามกลไกตลาดเลย หนังสือที่ขายดีมันก็จะอยู่ในแผงนาน หนังสือที่การเคลื่อนไหวต่ำ ขายไม่ได้ดีนักก็จะค่อยๆ ลดลง พอคืนเข้าสต็อกถึงจุดหนึ่ง สายส่งเขาก็จะเรียกกลับมาที่ออฟฟิศเรา ก็เป็นหนังสือเรียงๆๆ อยู่เต็มออฟฟิศเลย

    โก๋: ออฟฟิศสมัยก่อนเราก็มีพื้นที่ 20 กว่าตารางเมตร พอตีคืนมาแล้วไม่มีที่เก็บก็ต้องเอาไปชั่งกิโลขาย หรือขายร้านหนังสือมือสองที่เขาไปขายกันถูกๆ แล้วสมัยก่อนไม่มีคำว่าอีคอมเมิร์ซ พอเอากลับมาปุ๊บเรียกว่ามันหมดทางระบายเลย

    ไช้: มันก็ขายได้ตามสัปดาห์หนังสือ แต่หนังสือที่มันไม่ใช่กระแสหลัก เราเอาไปขายหลายรอบ คนเขาก็เห็นหลายรอบแล้วล่ะ แล้วเราก็ไม่ได้อยากจะไปลดราคาบาดจิตบาดใจต่อคนที่เคยซื้อก่อนหน้านั้น ก็เห็นว่ามันก็หมด life cycle ของมันไป นั่นคือสิ่งที่เราเห็นจากธุรกิจหนังสือเล่ม แล้ววันหนึ่งคิดว่า โอเคเราอยากจะทำอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ธุรกิจมันก็มีจุดที่ต้องเลือกเหมือนกันนะว่าเราจะไปต่ออย่างนี้เรื่อยๆ แต่อนาคตไม่รู้จะเป็นยังไง หรือเราจะยอมทุบหม้อข้าวตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่ออนาคตที่หวังว่าจะมีอยู่จริง

    โก๋: ขอเสริมว่าตอนแรกธุรกิจเรามีสามตัวก็คือ สำนักพิมพ์เล็กๆ แล้วก็ตัวซอฟต์แวร์ที่เราทำ เพื่อแก้ปัญหาให้สำนักพิมพ์ ตัวนั้นลูกค้าก็มีแค่สำนักพิมพ์ ก็พอมีรายได้ได้เรื่อยๆ ไม่ได้มากมาย อีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวหลักตอนนั้นคือซอฟต์แวร์เฮาส์ รับจ้างทำซอฟต์แวร์ซึ่งงานนี้ก็ได้เงินดี แต่ต่อยอดอะไรได้ไม่เยอะ พอไปถึงจุดๆ หนึ่งก็เหมือนที่ไช้บอกว่าเราต้องเลือก

    ไช้: ตอนที่ต้องเลือกว่าจะทำอะไรต่อก็มีหลายธุรกิจที่เรามองอยู่นะ e-book ก็เป็นหนึ่งในนั้น เราคิดว่าเราคงไม่ได้มีทรัพยากรที่จะลองได้หลายอย่างมาก เลยเลือกมาทำแพลตฟอร์ม e-book แล้วก็ออกมาเป็น meb นั่นคือจุดเริ่มต้น แต่ไม่ใช่ทางที่สดใสอะไรนักนะ มันก็เหมือนกำลังเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ คือคุณไม่เห็นหรอกว่าอนาคตข้างหน้ามันจะเป็นยังไง แต่คุณรู้ว่าคุณก็เลือกสิ่งนี้ แล้วคุณก็พยายามทำให้มันดีที่สุด

    E-book จาก meb สามารถปร น ออกมาเป น เล ม

    ตอนนั้นคิดว่า meb จะออกมาเป็นแบบไหน

    ไช้: ตอนนั้นเรานั่งนึกในมุมคนทำหนังสือ ถ้าเราขายหน้าร้านไม่ได้มันก็จบเลยนะ แต่ถ้าเขามีช่องทางปล่อยของของเขา หรือต้นฉบับในมือเขา ถ้าไม่รู้จะใช้ประโยชน์มันยังไงก็เอามาลงขายแพลตฟอร์มนี้ ขายได้เล็กๆ น้อยๆ มันก็ยังเป็นเงินไปชุบชูจิตใจ แล้วก็ทำให้เขาอาจจะมีกำลังใจเขียนงานต่อไป เราคิดแค่นั้นเอง

    โก๋: ปีนั้นเรียกว่าเป็นปีแรกที่ปล่อยไอแพดด้วย มันก็เรียกว่ามีเครื่องมือสำหรับการอ่านโผล่มาเป็นครั้งแรก

    เลยมองเห็นโอกาสด้วย

    ไช้: ใช่ครับ แต่เราก็ไม่ใช่คนเดียวที่เห็นโอกาส ก็คือมีคนที่เงินทุนมากกว่า มีเครือข่ายธุรกิจมากกว่า สายส่ง ธุรกิจที่เป็นสตาร์ทอัพ หรือคนที่มีทรัพยากรทางเซิร์ฟเวอร์อะไรเยอะๆ เขาเห็นโอกาสนี้เหมือนกัน

    โก๋: ถ้านับต้นทุน คนอื่นอาจจะมีต้นทุน มีทรัพยากรด้านอื่นเยอะกว่า แต่ที่เรามีตอนนั้นคือ know-how ด้านนี้ตั้งแต่การพัฒนาซอฟต์แวร์จนถึงความเข้าใจของวงการหนังสือ

    ไช้: ก็เรียกว่าเป็นข้อสังเกตของคนที่เข้ามาในตลาดนี้ ในจังหวะนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่รู้ know-how ไม่มีทุน จะชนะคนที่มีทุนได้ เพราะมันเป็นเรื่องที่แต่ละคนมีความพร้อม มีอาวุธกันคนละอย่างมากกว่า

    โก๋: คือมีครบน่ะดีที่สุดแล้ว แต่เรามีแค่นี้ (หัวเราะ)

    ไช้: เรามีแค่นี้ก็ต้องใช้แค่นี้ มาถึงจุดหนึ่งที่เราเข้าตลาดมาก็มี e-book หลายๆ เจ้าที่โผล่ๆๆ มา ซึ่งถ้านับการลงตลาดเราไม่ได้ลงเป็นรายแรกด้วยซ้ำ เราลงเป็นรายที่สองที่สาม

    โก๋: อย่างที่ว่า เราเป็นบริษัทเล็ก กว่าจะทำเสร็จเราคนอื่นเขาก็ทำไปแล้ว (หัวเราะ)

    E-book จาก meb สามารถปร น ออกมาเป น เล ม

    ก่อนจะมาเป็นเมพวันนี้ เริ่มต้นที่หนังสือ 11 เล่มแรก

    พอจำได้ไหมว่าวันแรกที่เริ่มทำ meb เป็นยังไง

    โก๋: วันแรกมีคนซื้อ 11 คน จำตัวเลขได้เลย ดีใจมาก แล้วก็คิดว่า เฮ้ย เปิดมาแล้วยังมีคนซื้อ คือที่มันขายได้เพราะว่าหนังสือที่เราไปชวนเป็นหนังสือที่เขาเลิกพิมพ์ไปแล้ว หรือหนังสือที่ขายหมด แล้วนักเขียนอยากพิมพ์เพิ่ม แต่สมัยก่อนไม่มีปริ้นต์แบบออนดีมานด์ พิมพ์ทีก็ต้องพิมพ์ครั้งละ 2,000 เล่มอย่างนี้ เขาก็บอก เฮ้ย มันขายไม่ได้ขนาดนั้น เขาเลยไม่พิมพ์เป็นเล่มเพิ่ม แล้วคนอ่านก็อยู่ต่างประเทศอีก ถ้าจะสั่งซื้อมือสองส่งไปต่างประเทศ โห ซื้อ e-book ก็ถูกกว่า สุดท้ายยอดวันนั้นไม่แน่ใจว่าทั้งหมดหรือเปล่า แต่ส่วนใหญ่จะเป็นต่างประเทศที่เกิดจาก pain point ตรงนี้

    ช่วงนั้น meb เน้นหนังสือแนวไหน

    ไช้: ตอนนั้นเจ้าหลักส่วนใหญ่เขาก็มุ่งไปที่นิตยสารครับ เพราะเหมือนเป็นยุครุ่งเรืองของนิตยสาร แต่ว่าเราอยากทำร้านหนังสือ pocket book เหมือนกับที่สมัยเราทำสำนักพิมพ์ ดังนั้น เราก็จะเน้นพวก pocket book เป็นหลัก

    เทรนด์การอ่านช่วงแรกๆ กับตอนนี้เปลี่ยนไปไหม

    ไช้: ผมว่าถ้าพูดรวมๆ ที่มันเหมือนกันคือคนยังเน้นอ่าน e-book เพื่อความบันเทิงอยู่เยอะ อย่างอ่านนิยาย อ่านการ์ตูน แต่มันจะมีหนังสือพวกหมวดความรู้ ฮาวทูอะไรอื่นๆ เข้ามาในร้านค่อนข้างสม่ำเสมอแล้วก็มากขึ้นเรื่อยๆ

    โก๋: คือถ้าเราไม่ดูจำนวนคน แต่ดูจำนวน transaction คือจำนวนการซื้อ มันไม่แปลกเพราะว่าคนอ่านเพื่อความบันเทิง บางทีวันเดียวอ่านจบแล้วก็อ่านเล่มใหม่ แต่ความรู้ต้องใช้เวลาย่อย ดังนั้นเขาอาจจะซื้อหนังสือบันเทิงยี่สิบเล่มในหนึ่งเดือน แต่ซื้อหนังสือความรู้แค่สองเล่มในหนึ่งเดือน จำนวนการขายหนังสือบันเทิงก็เลยเยอะกว่า

    มีเทรนด์ไหนที่น่าสนใจอีกไหม

    โก๋: คือของที่เป็น long-term มันจะดีขึ้น สมมุตินิยาย เขียนไว้ 30 ปีมาแล้ว เขียนนานมากเลย แต่มันหา stock เล่มไม่ได้ แต่ว่าคนยังมาหาอ่าน แล้วก็ขายได้เรื่อยๆ เพราะว่าจากเดิมมันหาตามร้านไม่ได้ มันเก่าแล้ว ดังนั้นอะไรก็ตามที่คุณค่าเหนือกาลเวลา มันอยู่ได้นาน มันจะดีขึ้นใน e-book ส่วนพวกที่ life cycle สั้นๆ พวกข่าวอะไรอย่างนี้จะดร็อปลงไป เพราะโดนพวกโซเชียลมีเดียมาแทนที่

    ส่วนใหญ่คนอ่าน e-book คือคนกลุ่มไหน

    ไช้: ตอนนี้ผมนิยามใหม่เลยนะ จะมีอยู่สองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ digital native เลย คือคนเกิดมาปุ๊บก็เจอไอแพด เจอหน้าจอแล้ว คนกลุ่มนี้ก็จะอ่าน e-book เป็นปกติ เพราะเขาชินกับการอ่านจากหน้าจออยู่แล้ว แต่อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่เกิดมากับสื่อเวอร์ชั่นกระดาษ ปัจจุบันคนอ่านหนังสือเดิมก็มาถึงจุดที่อ่านได้ทั้งสองแบบ ซึ่ง e-book คือทางเลือกหนึ่ง ส่วน digital native นี่คือ e-book จะเป็นชอยส์แรกสำหรับเขา อายุคนอ่านในร้านเรามันก็เลยกว้าง ตั้งแต่ 15-45 ปีหรือมากกว่านั้นไปเลย

    แล้วปกติเขามักจะอ่านในอุปกรณ์รูปแบบไหนกัน

    ไช้: ปีแรกเลยเป็นไอแพด 80-90% แต่ว่าเทรนด์มันค่อยๆ มาทางโทรศัพท์มากขึ้นเรื่อยๆ เราก็เห็นแล้วว่าเราต้องปรับให้คนใช้โทรศัพท์อ่านได้ เพราะว่าตัวเลขของโทรศัพท์มันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

    E-book จาก meb สามารถปร น ออกมาเป น เล ม

    ว่าด้วยแพลตฟอร์ม readAwrite กับยุคสมัยที่นิยายวายเปิดกว้าง

    อยากให้เล่าถึง ReadAwrite สักหน่อย

    ไช้: ReadAwrite นี่มันไม่ใช่แพลตฟอร์มเน้นขาย แต่เราอยากเน้นให้นักเขียนมีที่มาปล่อยของ เป็นที่แรกที่นักเขียนและนักอ่านมาเจอกัน มาทำความรู้จักกัน ให้นักเขียนค่อยๆ พัฒนางานเขียนของตัวเองขึ้นไป เขียนมาตอนหนึ่ง นักอ่านชอบ นักเขียนมีกำลังใจ รับฟีดแบ็กได้รวดเร็ว แล้วก็ไปปรับปรุงการเขียน ส่วนนักอ่านก็ไม่ต้องรอว่าเมื่อไรจะออกรวมเล่ม แต่ค่อยๆ ติดตามกันไป พัฒนาผลงานกันไป นั่นคือสิ่งที่ ReadAwrite ตั้งใจไว้

    โก๋: คือมันไม่ใช่ของใหม่ มันมีเว็บ Dek-d มาตั้งแต่ 20 ปีก่อนแล้ว หรือว่าเขียนนิยายก็มีมานานแล้ว แต่ว่า ณ วันที่เราเปิด เรามองว่ามันขาดอะไรไป สมัยก่อนเขาเขียนมา แล้วเขาไม่ได้เงิน ต้องรอพิมพ์เป็นเล่มหรือทำเป็น e-book มาขายก่อน เราเลยมองว่า เราให้นักอ่านสามารถสนับสนุนนักเขียนได้ไหม ทั้งมีรูปแบบขายเป็นตอน รวมถึงรูปแบบโดเนต คือเขาเปิดให้อ่านฟรีแหละ แต่คุณก็จ่ายเงินให้นักเขียนที่คุณชอบได้เลย เรียกว่าเป็นการสนับสนุนที่เขาอุตส่าห์มาเขียนให้อ่านฟรีๆ เราทำตรงนี้เป็นที่แรกเพราะต้องการส่งเสริมให้เป็นชุมชนนักอ่านนักเขียน จริงๆ ตรงนั้น เราก็เก็บเปอร์เซ็นต์ที่จะเหลือแค่ transaction fee นิดหน่อย เพราะมองว่าให้กำลังใจ นักเขียนจริงๆ ก็อาจจะไม่ได้ร่ำรวยจากสิ่งนั้นหรอก แต่ได้กำลังใจในการเขียนต่อไป อันนี้คือหัวใจสำคัญ แล้วพอเขาพัฒนางานเขียนได้ สุดท้ายเขาก็มาลงใน meb เอง ดังนั้นเราเลยมองว่า ReadAwrite เป็นต้นน้ำของ meb เราถึงบอกว่าไม่ได้เน้นหากำไรจากตัว ReadAwrite เป็นหลัก

    เหมือนแพลตฟอร์มนี้เปิดโอกาสให้คนได้เขียนกันเยอะขึ้น พอพูดถึงคนเขียนแล้ว ส่วนใหญ่กลุ่มคนเขียนใน readAwrite คือใคร

    โก๋: ก็คือคนอ่านนั่นแหละ (หัวเราะ)

    ไช้: คนเขียนกับคนอ่าน ReadAwrite ก็จะเป็นกลุ่มเดียวกันมากขึ้น เพราะมันเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้มีกำแพง ไม่ได้มีแรงต้าน ไม่ได้มีเงื่อนไขอะไรเยอะ คุณสามารถลองเขียนงานคุณขึ้นมาได้ เพื่อให้คนอ่านกัน ส่วนใน meb ปริมาณเนื้อหาต้องมีมากเพียงพอที่มันจะรวมเล่มได้นะ คือคนเขียนก็จะต้องเขียนมาได้เยอะพอสมควรหรือว่ามีประสบการณ์นิดหน่อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น meb กับ ReadAwrite ยังเป็นพื้นที่ที่เปิดให้ทั้งนักเขียนหน้าเก่า นักเขียนมืออาชีพ รวมทั้งนักเขียนหน้าใหม่เอามาลงได้ โดย meb กับ ReadAwrite เราก็ปฏิบัติกับทั้งสองกลุ่มนี้เท่าๆ กัน

    E-book จาก meb สามารถปร น ออกมาเป น เล ม

    งานเขียนแนวไหนที่ได้รับความนิยม

    ไช้: เนื่องจากมันเป็นกลุ่มชุมชน แนวที่ได้รับความนิยมเลยกว้างแล้วก็มีความหลากหลายมาก อย่างแนวที่เห็นได้ชัด ยืนพื้นมาตลอดเลย คือพวกนิยายรัก โลกนี้เราหมุนด้วยความรักอยู่แล้ว (หัวเราะ) แต่หลักๆ ก็จะมีแนว boy’s love Yaoi girl’s love

    ช่วงหลังๆ เราเห็นนิยายวายเยอะขึ้น สำหรับ ReadAwrite เองมีมาตั้งแต่ตอนแรกที่เปิดเลยหรือเปล่า

    โก๋: ReadAwrite มีมาตั้งแต่ตอนแรกที่เกิด ส่วน meb นี่เกือบสิบปีแล้ว ในสมัยที่คนเขายังไม่ค่อยรู้จัก ในสมัยที่ร้านหนังสือเขาปฏิเสธนิยายแนวนี้ เรารู้ว่ามีคนที่เขาอยากอ่าน เราเคารพกลุ่มคนอ่าน เราก็แยกตามกลุ่มคนอ่านเท่านั้นเอง

    ไช้: คือนิยายวายไม่ใช่ว่าเพิ่งมามีตอนหลังๆ จริงๆ มันมีมาอย่างยาวนานแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การแสดงออกหรือการจะบอกว่าคนๆ หนึ่งอ่านนิยายวาย ความนิยมชมชอบเนี่ย มันค่อยๆ ชัดเจนขึ้นตามการเปิดรับของสังคม ยุคหนึ่งถ้าไปซื้อนิยายวายตามร้านหนังสือกระแสหลัก ก็จะไม่มีขาย ก็จะขายตามร้านหนังสือเล็กๆ หรือว่าขายกับนักเขียนกันเอง หรือไม่ได้รับการตีพิมพ์ด้วยซ้ำ ก็จะอ่านในเว็บกัน คนเขียนก็เขียน คนอ่านก็อ่าน แต่ไม่ได้รับการตอบรับ หรือถ้าสมมุติคุณซื้อนิยายวายกลับไปที่บ้าน คุณอาจจะซ่อนไว้ในตู้ ไม่ให้แม่ให้พ่อเห็น กลัวพ่อแม่จะไม่เข้าใจ แต่พอระยะหลัง เราเห็นการแสดงออกของคอนเทนต์วายมากขึ้น บางทีเป็นทำเป็นภาพยนตร์ ซีรีส์ แล้วแม่กับลูกก็นั่งดูด้วยกัน พอไปบูทงานหนังสือ เราจะเห็นได้ชัด บางทีก็จะเห็นกลุ่มคนที่มีหลายๆ ช่วงอายุเข้าไปซื้อนิยายวายกัน แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่มีมาตลอดนะ

    โก๋: อย่างรักแห่งสยามนี่ก็สิบกว่าปีแล้วมั้ง

    ไช้: หรือ Brokeback Mountain ผมก็นั่งดูนะ สนุกดี ดูเป็นชีวิตจริงมาก นั่นคือสิ่งที่เป็นแล้วพัฒนามาเรื่อยๆ ดังนั้นสิ่งที่เราเห็นปัจจุบันมันคือภาพที่เด่นชัดของสิ่งที่ถูกปกปิดในอดีต

    ตอนนี้ตัวเลขคนที่เข้ามาอ่าน มาเขียนนิยายวายเยอะขึ้นไหม

    ไช้: เยอะขึ้นครับ อย่างที่บอกรุ่นเด็กๆ เขาเติบโตมากับสิ่งนี้ เติบโตมาบนพื้นฐานที่ไม่มีอะไรมาบล็อกการมองเห็นของเขา เขามีสิทธิจะเลือกว่าเขาชอบสิ่งนี้ มีสิทธิที่เขาจะกรี๊ดคู่จิ้นนี้ด้วยตัวเขาเอง ส่วนคนที่เคยอ่าน เมื่อก่อนต้องหลบๆ ซ่อนๆ ตอนนี้ก็ไม่ต้องแล้ว เขียนเถอะ อ่านเถอะ สังคมเข้าใจ

    E-book จาก meb สามารถปร น ออกมาเป น เล ม

    เพราะ e-book คือคู่หู่ ไม่ใช่ศัตรูหนังสือเล่ม

    บางคนอาจจะมีคำถามว่า e-book จะมาแทนที่หนังสือเล่มหรือเปล่า คิดยังไงกับเรื่องนี้

    ไช้: ผมมองว่ายังไงก็ไม่มาแทนที่กันหรอก แต่คงมาช่วยกัน จับมือเดินไปด้วยกัน เพื่อให้อีกฝั่งหนึ่งมันไปต่อได้ อย่าง e-book นี่มาเติมจุดที่หนังหนังสือเล่มมันไปไม่ได้ เช่น การอ่านหนังสือที่หายาก หนังสือที่ขาดตลาด หรือบางคนที่ไม่อยากซื้อหนังสือแล้วเพราะไม่มีที่เก็บที่บ้าน ส่วนหนังสือเล่ม ก็สำหรับคนที่เขาไม่ได้อยากอ่าน e-book อย่างเดียว เขาอยากอ่านเป็นเล่มบ้าง เขามีสิทธิ์เลือก แล้วก็คนที่เขาไม่ได้ถนัดอ่านในอุปกรณ์ด้วย ดังนั้น e-book หรือหนังสือหนังสือเล่มเลยกลายเป็นสื่อรูปแบบหนึ่งที่ทำให้นักอ่านมีทางเลือกมากขึ้น เพราะถ้าสมมุติผมต้องเดินทางไกลๆ ไปนู่นมานี่บ่อยๆ ถ้าถือหนังสือเล่มมันคงอ่านไม่สะดวก แต่เห็นว่าบนรถไฟฟ้าเดี๋ยวนี้คนก็นั่งดูหนัง อ่านหนังสือ อ่านข่าว อ่านการ์ตูนอะไรไป e-book เลยเป็นสิ่งที่ทำให้หนังสือมันติดไปกับตัวนักอ่านได้จากอุปกรณ์ที่เขาพกตลอดเวลา

    โก๋: หัวใจหนังสือของมันคือการที่มันเป็นข้อความยาวๆ ให้นักอ่านได้โฟกัส ได้ดำดิ่ง ได้จินตนาการ ได้คิดตาม จากนั้นจะ e-book หรือหนังสือเล่มมันก็เป็นแค่สื่อรูปแบบหนึ่ง สิ่งที่เข้ามามีผลจริงๆ คือสื่อรูปแบบอื่นอย่างการดูสื่อ ดูวิดีโอ TikTok ที่สั้นลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นว่าสมาธิสั้นลงเรื่อยๆ หรือว่าการอ่านแบบสั้นๆ ในโซเชียลมีเดียทำให้คนไม่สามารถโฟกัสกับอะไรได้ยาวๆ แต่ตัว e-book กับหนังสือเล่ม เป็นแค่ทางเลือกของกันและกัน เป็นแพลตฟอร์มให้คนเลือกว่าอยากจะอ่านในกระดาษหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นเอง แต่ผมมองว่ามันคือสิ่งเดียวกัน ถ้ามันโตก็จะโตไปด้วยกัน แต่ถ้ามันตายก็เพราะว่าคนไม่อ่านยาวๆ แล้ว อันนี้จะตายของจริง

    ถ้าเล่าให้เห็นภาพตอนนี้ meb เติบโตไปแค่ไหน

    ไช้: ถ้าให้เห็นภาพเป็นตัวเลขกลมๆ ของ meb เนี่ย ในมิติของคนอ่านและยอดขายก็เพิ่มประมาณปีละ 30-40% ต่อเนื่องกันมา

    โก๋: เรียกว่าเราโตแบบ double digit ต่อเนื่องกันมาทุกปี เกือบสิบปีแล้ว

    ไช้: ส่วน ReadAwrite เราเปิดตัวมาประมาณ 5-6 ปีแล้ว ก็ยังเติบโต เรียกว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า แพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นแพลตฟอร์มที่มาถูกทางแล้วก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

    มองว่าในอนาคตอยากให้ meb กับ readAwrite เติบโตไปในทิศทางไหน

    ไช้: สำหรับ meb เป้าหมายของเราง่ายๆ เลย คืออยากเป็นพื้นที่ให้คนที่หาอะไรที่อยากอ่าน ได้มาเจอหนังสือเล่มนั้นใน meb เหมือนหนังสือที่เขาต้องการ พอหาใน meb ก็จะมีเล่มนั้นรออยู่เสมอ นั่นคือเป้าหมายของเรา ส่วน ReadAwrite ก็จะต่างไปตรงที่เราอยากให้เป็นที่ที่นักเขียน นักอ่านเขามาเจอกัน แล้วก็กำเนิดนักเขียน นักอ่านหน้าใหม่ๆ รวมถึงเราพัฒนารูปแบบการอ่านแบบใหม่ๆ ผมมองว่า ReadAwrite มันยังเป็นแพลตฟอร์มอยู่ มันสามารถใส่คุณสมบัติ ใส่ลูกเล่น แนวคิดใหม่ๆ เข้าไป ทำให้คนอ่านเขารู้สึกว่าการอ่านนี้มันยังมีแง่มุมใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆ ให้เขาลองอ่านได้ นั่นคือสิ่งสำคัญที่

    E

    ขึ้นชื่อว่าเป็นแพลตฟอร์มอีบุ๊ก "ร้านหนังสือหิ้วได้" โดนใจสายนักอ่าน แน่นอนว่าในการใช้งานจะต้องมีฟีเจอร์เด็ด ๆ ที่สามารถมัดใจเหล่านักอ่านได้คือ 1. ฟีเจอร์อ่านแบบออฟไลน์ อยู่ที่ไหนก็สามารถอ่านได้แม้ไม่มีเน็ต เพียงแค่ดาวน์โหลดเก็บไว้ก็สามารถหิ้วเปิดอ่านได้ทุกที่

    Meb E

    หลังจากที่ลงทะเบียนเป็นนักเขียน/สำนักพิมพ์แล้ว ต้องรอการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ของ meb ก่อน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 วันทำการ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการอนุมัติบัญชีผู้ใช้ของท่านแล้ว ท่านสามารถเพิ่มและอัปโหลดหนังสือเข้ามาในระบบได้ทันที ทั้งนี้หลังจากได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่ผลงานแล้ว ท่านสามารถดูข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ ...

    E

    คำตอบคือ ebook ซื้อแล้วโหลดมาเก็บไว้ได้ค่ะ แต่แค่เก็บไว้อ่านแบบออฟไลน์ในแอพนั้นๆ เท่านั้นเอง ไม่สามารถปริ๊นท์มาอ่านได้ค่ะ *ยกเว้นเฉพาะบางแอพที่อนุญาตให้ดาวน์โหลดไฟล์ได้ เช่น Google Play Books, Hytexts E-Reader (โหลดได้แต่ห้ามจำหน่ายจ่ายแจกนะคะ)ส่วนแอปอื่นๆ เช่น MEB E-Reader ต้องอ่านบนแอปเท่านั้น* ใครซื้ออีบุ๊คแล้วหา ...

    E

    ไว้ใช้ชำระการซื้ออีบุ๊ก บน meb หรือ ซื้อตอน/บริจาค บน readAwrite. อายุการใช้งาน มีวันหมดอายุ ตามกำหนด ไม่มีวันหมดอายุ