Dev c++ 5.9 2 ม ค ณสมบ ต อย างไร

สำ ห รั บ นั ก เ รี ย น ชั้ น มั ธ ย ม ศึ ก ษ า ปี ที่

ชุดคำสั่งเบื้องต้น

โปรแกรม DEV C++

MUANGKRABI SCHOOL

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)

ชุดคำสั่งเบื้องต้น โปรแกรม DEV C++

5รายวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ มัธยมศึกษาปีที่

คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องชุดคำสั่งเบื้องต้นของโปรแกรม Bloodshed Dev-C++ รายวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 30287 สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อ ประกอบการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นสื่อนวัตกรรมที่ สมบูรณ์ครบถ้วนทั้งด้านเนื้อหาสาระ เข้าใจง่าย มีขั้นตอนที่ชัดเจนมุ่งพัฒนา ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้และฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง

คณะผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อโครงงานในการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องมาจาก นักเรียนไม่เข้าใจในชุดคำสั่งเท่าที่ควรและสื่อการเรียนการสอน ไม่เพียงพอ

คณะผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะเป็น ประโยชน์ต่อการสอนของครู ตลอดจนนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานและ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

คณะผู้จัทำ

สารบัญ

เนื้อหา หน้า ส่วนประกอบของโปรแกรม DEV C++ 1 2 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี 4

1 คำสั่งแสดงผลข้อมูล 5 1.1 printf( ) 6 - ตัวอย่างคำสั่งแสดงผลข้อมูล printf(); 7 8 1.2 putchar( ) 9

- ตัวอย่างคำสั่งแสดงผลข้อมูล putchar( ); 10 11 1.3 puts( ) 12

- ตัวอย่างคำสั่งแสดงผลข้อมูล put( ); 13

2. คำสั่งรับข้อมูล 14 2.1 scanf( ) 15 17 - ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล scanf( )

2.2 getchar( )

- ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล getchar( )

2.3 getch( )

- ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล getch( )

2.4 gets( )

- ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล get( )

3. คำสั่งควบคุม 3.1 if

- ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล if

3.2 if-else

- ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล if-else

3.3 switch-case

- ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล switch-case

บรรณานุกรม

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ ส่วนประกอบของโปรแกรม Dev C++

1.ส่วนของแถบไทเทิล 2.ส่วนของแถบเมนู

(Title Bar) (Menu Bar) เป็นแถบที่อยู่บนสุดของโปรแกรม จะมีชื่อ ส่วนนี้เป็นส่วนของเมนูคำสั่งต่าง ๆ 10 รายการ โปรแกรมภาษาซี แจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่า กำลังทำ กับแฟ้มใด เช่น Untitled1 - Dev-C++ 5.9.2

3.ส่วนแถบเครื่องมือ 4.ส่วนของปุ่มรายการเลือก

(Tool Bars) (TDM-GCC) เป็นส่วนของเครื่องมือ ที่ช่วยอำนวยความ โปรแกรม Dev-C++ ให้รองรับ 32-bit หรือ64-bit สะดวกในการเขียนและพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะ คล้ายกับการใช้เมนู แต่สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ บนแถบเครื่องมือแทนการทำงานผ่านเมนู 6.ส่วนของพ(ืE้dนiทtีo่กr)ารเขียนโปรแกรม 5.ส่วนของการแสดง Project/Classes/Debug เป็นส่วนของพื้นที่ทำงานในการเขียนโค๊ด เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม โปรแกรมภาษาC ใช้เพื่อแสดง Project หรือ Class ต่างๆ ของโปรแกรม 7.ส่วนแสดงสถานะของโปรแกรม (Status) อยู่ด้านล่างสุด ใช้เพื่อบอกสถานะต่าง ๆในขณะที่กำลัง เขียนโปรแกรม เช่น จำนวนบรรทัดทั้งหมด หรือสถานะ 1 การพิมพ์แทรก/พิมพ์ทับ

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี

โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี

ลักษณะโครงสร้างภาษาซีแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1. พรีโปรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ (preprocessor directives) 2. ส่วนฟังก์ชันหลัก (the main () function) 3. ประโยคคำสั่ง (compound statement) 4. ส่วนอธิบายโปรแกรม (program comment)

1. พรีโปรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ (preprocessor directives)

ส่วนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากของภาษาซี จะใช้สำหรับเรียกไฟล์ที่โปรแกรมต้องการ ในการทำงาน และ กำหนดค่าต่างๆ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย ไดเร็กทีฟ # และตามด้วย ชื่อโปรแกรมหรือชื่อตัวแปรที่ต้องการ กำหนดค่า ส่วนนี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ส่วนหัวโปรแกรม สำหรับไดเร็กทีฟที่ใช้กันบ่อยๆ ได้แก่

include เป็นการ

แจ้งให้คอมไพล์เลอร์อ่านไฟล์อื่นเข้ามาคอมไพล์ร่วมด้วย รูปแบบการใช้ จะทำได้โดยการเขียน

include แล้วตาม

ด้วยชื่อไฟล์

การกำหนดชื่อไฟล์ตามหลัง

include นั้น อาจใช้เครื่องหมาย <> คร่อมไฟล์ก็ได้ซึ่งจะเป็น การอ่านไฟล์

ไดเร็กทอรี่กำหนดไว้ก่อน แต่ถ้าใช้ “ ” เป็นการอ่านไฟล์ไดเร็กทอรี่ปัจจุบันที่กำลังติดต่ออยู่

2. ส่วนฟังก์ชันหลัก (the main () function)

ส่วนนี้ทำหน้าที่เหมือนกับเป็นโปรแกรมหลักที่สั่งให้ชุดคำสั่งทำงาน ซึ่งจะประกอบไปด้วย ประโยคคำสั่งต่างๆ ที่จะให้ โปรแกรมทำงาน โดยนำคำสั่งต่างๆมาเรียงต่อกัน และแต่ละประโยคคำสั่ง จะจบด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน( ;) โดย โปรแกรมหลักนี้จะเริ่มต้นด้วย main() ตามด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิดและจบด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด {....}

2

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี

3. ประโยคคำสั่ง (compound statement)

ประโยคคำสั่งในที่นี้หมายถึง ชุดคำสั่งที่บรรจุอยู่ในฟังก์ชันนั้นๆ อาจเป็น ประโยคที่ใช้สำหรับประกาศตัวแปร หรือการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรต่างๆ โดยตัวแปรที่ใช้งานใน โปรแกรม จำเป็นต้องได้รับการประกาศชนิดข้อมูลของตัวแปรนั้นๆด้วย ประโยคนิพจน์คณิตศาสตร์ เช่น ประโยคคำนวณตัวเลขต่างๆ ประโยคคำสั่งควบคุมอื่นๆ เช่น คำสั่งควบคุมวงจรลูป คำสั่งควบคุมเงื่อนไข

4. ส่วนอธิบายโปรแกรม (program comment)

คำอธิบายโปรแกรม เป็นส่วนที่ผู้เขียนโปรแกรมนำมาใช้อธิบายจุด สำคัญต่างๆ ภายใน โปรแกรม เช่น ใช้อธิบายจุดประสงค์ของโปรแกรมส่วนนั้นๆ รวมถึงป้องกันการหลงลืม กรณีที่ ต้อง กลับมาปรับปรุงโปรแกรม ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรม หรือผู้ที่นำโปรแกรมนี้ ไปใช้ได้ เข้าใจจุดมุ่งหมายของโปรแกรมในส่วนนั้นๆ โดย คอมไพเลอร์จะไม่นำส่วนนี้มาประมวลผล รูปแบบการเขียนคำอธิบาย สามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบ /* comment */ หรือ //comment ก็ได้

3

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งแสดงผลข้อมูล

มีฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลออกทางจอภาพ

printf( )

putchar( ) **ส่วนใหญ่ในการสอนระดับมัธยมปลายนิยมใช้ printf()** puts( )

1.1 printf( );

เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ โดยสามารถกำหนดรหัสรูปแบบข้อมูล (format code)และรหัสควบคุม(control code)ให้เหมาะสมกับข้อมูลและรูปแบบผลลัพธ์ ที่ต้องการ รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน : printf(control string, argument list);

control string คือ จะต้องเขียนอยู่ภายใต้เครื่องหมาย “………” argument list คือ ค่าคงที่ หรือตัวแปร หรือนิพจน์ ในกรณีที่มีค่าคงที่ ตัวแปร หรือนิพจน์ หลายๆ ค่าให้ใช้เครื่องหมาย , (comma) คั่นระหว่างค่าคงที่ ตัวแปร หรือนิพจน์แต่ละค่า

4

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งแสดงผลข้อมูล

รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน

รูป 1.1 คำสั่งแสดงผลข้อมูล printf();

ตัวอย่างการใช้งาน

รูป 1.1.1 ตัวอย่างคำสั่งแสดงผลข้อมูล printf();

ตัวอย่างการใช้งาน

รูป 1.1.2 ตัวอย่างคำสั่งแสดงผลข้อมูล printf();

5

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งแสดงผลข้อมูล

1.2 putchar( );

เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกจอภาพทีละ 1 ตัวอักขระ โดยลักษณะของฟังก์ชันนี้ เป็นฟังก์ชันที่ต้องการ argument 1 ค่าที่เป็นข้อมูลชนิด รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน : putchar(char_argument);

putchar( ) คือ ฟังก์ชันที่ใช้แสดงผลลัพธ์ทีละ 1 ตัวอักขระออกทางจอภาพ char_argument คือ ตัวแปรชนิด single character (char)

รูป 1.2 คำสั่งแสดงผลข้อมูล putchar( );

6 รูป 1.2.1 ตัวอย่างคำสั่งแสดงผลข้อมูล putchar( );

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งแสดงผลข้อมูล

1.3 puts( );

เป็นฟังก์ชันที่พิมพ์ข้อความออกแสดงทางจอภาพ โดยลักษณะของฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันที่ ต้องการ argument 1 ค่าที่เป็นชนิดข้อความ รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน : puts(string_argument);

puts( ) คือ ฟังก์ชันที่ใช้พิมพ์ข้อความออกทางจอภาพ string_argument คือ ค่าคงที่ชนิดสตริง (string constant) ซึ่งค่าคงที่สตริงนี้จะถูกพิมพ์ออก แสดงทางจอภาพผ่านฟังก์ชัน puts( )

รูป 1.3 คำสั่งแสดงผลข้อมูล puts( );

รูป 1.3.1 ตัวอย่างคำสั่งแสดงผลข้อมูล put( ); 7

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งแสดงผลข้อมูล

มีฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด

scanf( ) **ส่วนใหญ่ในการสอนระดับมัธยมปลายนิยมใช้ scanf( )** getchar( ) getch( ) gets( )

2.1 scanf( )

เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูล จากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรที่กำหนดไว้โดย สามารถรับข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม ตัวเลขทศนิยม ตัวอักขระตัวเดียว หรือข้อความก็ได้ รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน : scanf(control string, argument list);

puts( ) คือ ฟังก์ชันที่ใช้พิมพ์ข้อความออกทางจอภาพ string_argument คือ ค่าคงที่ชนิดสตริง (string constant) ซึ่งค่าคงที่สตริงนี้จะถูกพิมพ์ออก แสดงทางจอภาพผ่านฟังก์ชัน puts( )

87

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งรับข้อมูล

รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน

รูป 2.1 คำสั่งรับข้อมูล scanf( )

ตัวอย่างการใช้งาน

รูป 2.1.1 ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล scanf( )

9

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งรับข้อมูล

2.2 getchar( );

เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเพียง 1 ตัวอักขระ โดยการรับข้อมูลของฟังก์ชันนี้จะต้อง กดแป้น enter ทุกครั้งที่ป้อนข้อมูลเสร็จ จึงทำให้เห็นข้อมูลที่ป้อนปรากฏบนจอภาพด้วย ถ้า ต้องการนำข้อมูลที่ป้อนผ่านทางคีย์บอร์ดไปใช้งาน จะต้องกำหนดตัวแปรชนิด single character (char) ขึ้นมา 1 ตัว เพื่อเก็บค่าข้อมูลที่รับผ่านทางคีย์บอร์ด รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน : getchar( );หรือ char_var = getchar( );

getchar( ) คือ ฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลเพียง 1 ตัวอักขระจากคีย์บอร์ด โดยฟังก์ชันนี้จะไม่มี argument ซึ่งอาจจะใช้ getchar(void) แทนคำว่า getchar( ) ก็ได้ แต่นิยมใช้ getchar( ) มากกว่า char_var คือ ตัวแปรชนิด char ซึ่งจะเก็บข้อมูล 1 ตัวอักขระที่ป้อนผ่านทางคีย์บอร์ด

รูป 2.2 คำสั่งรับข้อมูล getchar( ) รูป 2.2.1 ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล getchar( )

รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน ตัวอย่างการใช้งาน

10 9

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งรับข้อมูล

2.3 getch( );

เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลเพียง 1 ตัวอักขระเหมือนกับฟังก์ชัน getchar( ) แตกต่างกันตรงที่ เมื่อใช้ฟังก์ชันนี้รับข้อมูล ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะไม่ปรากฏให้เห็นบนจอภาพและไม่ต้องกดแป้น enterตาม รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน: getch( );หรือ char_var = getch( );

getch( ) คือ ฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลเพียง 1 ตัวอักขระจากคีย์บอร์ด โดยฟังก์ชันนี้จะไม่มี argument ดังนั้นอาจจะใช้ getch(void) แทนคำว่า getch( ) ก็ได้ แต่นิยมใช้ getch( ) มากกว่า char_var คือ ตัวแปรชนิด char ซึ่งจะเก็บข้อมูล 1 ตัวอักขระที่ป้อนผ่านทางคีย์บอร์ด

รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน

รูป 2.3 คำสั่งรับข้อมูล getch( )

ตัวอย่างการใช้งาน

รูป 2.3.1 ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล getch( )

11

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งรับข้อมูล

2.4 gets( );

เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลชนิดข้อความ (string) จากคีย์บอร์ด จากนั้นนำข้อมูลที่รับเข้าไปเก็บ ไว้ในตัวแปรสตริง (string variables) ที่กำหนดไว้ รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน : gets(string_var);

string_var คือ ตัวแปรสตริง ซึ่งจะใช้เก็บข้อมูลชนิดข้อความ (string constant) gets( ) คือ ฟังก์ชันที่ใช้รับข้อความจากคีย์บอร์ด แล้วไปเก็บไว้ในตัวแปรสตริง

รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน

รูป 2.4 คำสั่งรับข้อมูล gets( ) ตัวอย่างการใช้งาน

รูป 2.4.1 ตัวอย่างคำสั่งรับข้อมูล gets( )

12

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งรับข้อมูล

คำสั่งควบคุมเป็นคำสั่งที่สำคัญในการเขียนโปรแกรม คือ ช่วยควบคุมทิศทางการทำงาน

ของโปรแกรมให้เป็นไปตามที่ต้องการ คำสั่งเงื่อนไข (Condition Statement) ได้แก่

if

if-else **ส่วนใหญ่ในการสอนระดับมัธยมปลายนิยมใช้ if , if-else **

switch-case

3.1 if

ใช้สำหรับให้ทำคำสั่งเฉพาะกรณีที่เงือนไขทางเลือกเป็นจริงและไม่ต้องทำอะไรเมื่อ

เงื่อนไขเป็นเท็จ

รูปแบบการใช้งาน : if (expression){statement;next_statement;}

expression คือ นิพจน์เงื่อนไข statement คือ ชุดคำสั่ง

รูป 3.1.1 ตัวอย่างคำสั่งควบคุม if รูป 3.1 คำสั่งควบคุม if

ตัวอย่างการใช้งาน รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน

13

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งควบคุม

3.2 if-else

ใช้สำหรับการเขี่ยนโปรแกรมเลือกทำตามเงื่อนไขทางเลือกที่กำหนด รูปแบบการใช้งาน : if (เงื่อนไข condition){ชุดคำสั่ง1 statement 1(True) }Else{ชุดคำสั่ง 2 statement 2(False) }

condition เป็นเงื่อนไขที่ใช้กำหนดการตัดสินใจของโปรแกรม statement 1 เป็นชุดคำสั่งที่ต้องทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง statement 2 เป็นชุดคำสั่งที่ต้องทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน

รูป 3.2 คำสั่งควบคุม if-else

ตัวอย่างการใช้งาน

รูป 3.2.1 ตัวอย่างคำสั่งควบคุม if-else

14

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งควบคุม

3.3 switch...case

เป็นคำสั่งควบคุมแบบทางเลือก ที่ทางเลือกขึ้นอยู่กับ ค่าของตัวแปรหรือนิพจน์ ที่ให้ผลลัพธ์ เป็นจำนวนเต็มหรืออักขระ สามารถคาดการณ์ นำมาสร้างเป็นกรณีทางเลือกได้ รูปแบบการใช้งาน : switch (ตัวแปรหรือนิพจน์) {case ค่าคงตัว 1 :คำสั่งกรณี ค่าคงตัว 1;break;case ค่าคงตัว 2 :คำสั่งกรณี ค่าคงตัว 2;break;case ค่าคงตัว 3 :คำสั่งกรณี ค่าคงตัว 3;break;…..case ค่าคงตัว n :คำสั่งกรณี ค่า คงตัว n;break;default :คำสั่ง default ;}

ตัวแปรหรือนิพจน์ จะต้องให้ค่าเป็นจำนวนเต็ม หรือ อักขระ ค่าคงตัว 1-n คือ ค่าคงตัว ชนิด จำนวนเต็ม หรือ อักขระ ตัวอย่าง ค่าคงตัวที่เป็นจำนวนเต็ม เช่น 1 เป็นต้น ค่าคงตัวที่เป็นอักขระ เช่น 'A' เป็นต้น *หาก ค่าตัวแปรหรือนิพจน์ เท่ากับ ค่าคงตัวใน case ใด คำสั่งใน case นั้น จะถูกดำเนินการ *หาก ไม่มีค่าคงตัวใน case ใด เท่ากันกับ ค่าตัวแปรหรือนิพจน์ เลยคำสั่งใน default จะถูกดำเนินการ คำสั่งใน case ที่ถูกดำเนินการ จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อ ประมวลผลคำสั่ง break เท่านั้น ดังนั้น หาก case ใด ไม่มีคำสั่ง break ปิดท้าย คำสั่งใน case ถัดไป จะถูกดำเนินการด้วย defalut ไม่จำเป็นต้องมีคำสั่ง break เพราะเป็นคำสั่งสุดท้ายของ switch อยู่แล้ว

15

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งควบคุม

รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน

รูป 3.3 คำสั่งควบคุม switch...case

ตัวอย่างการใช้งาน

รูป 3.3.1 ตัวอย่างคำสั่งควบคุม switch...case

ตัวอย่างการใช้งาน

รูป 3.3.2 ตัวอย่างคำสั่งควบคุม switch...case

16

ชุดคำสั่งเบื้องต้นโปรแกรม Dev++ คำสั่งควบคุม

บรรณานุกรม

ครูณัฏฐชัย ฉลาด.(2564).หน่วยที่ 2 เริ่มต้นกับภาษาซี.สืบค้น 23 กรกฎาคม 2564 จาก http://wbi.ohonline.in.th/cp/unit2_2.html ครูณัฏฐชัย ฉลาด.(2564).คำสั่งพื้นฐานในภาษาซี.สืบค้น 23 กรกฎาคม 2564 จาก http://wbi.ohonline.in.th/cp/unit4_2.html Marcuscode .(2558).คำสั่งควบคุม.สืบค้น 25 กรกฎาคม 2564 จาก http://marcuscode.com/lang/c/flow-control

17

คณะผู้จัดทำ

1.นาย พุฒิเมธ เต็มแก้ว เลขที่ 1

2.นาย ศิวัช เตชะธนานันต์ เลขที่ 2

3.นางสาว กัญญ์ณณัฏฐ์ พรมณาเวช เลขที่ 34

ชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 6/1

โรงเรียนเมืองกระบี่

18