Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

ราคา, ข้อมูลจำเพาะ, การวางจำหน่ายและข้อกำหนดในการให้บริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ผลิตภัณฑ์/บริการอาจได้รับการผลิตและ/หรือจัดหาให้กับแคนนอนโดยผู้ผลิต/ผู้จัดหาที่เป็นบุคคลที่สามเพื่อการจำหน่าย/ขายต่อ (ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ตราสินค้าแคนนอน)

ราคาข้างต้นเป็นราคาขายปลีกที่แนะนำในสกุลเงินบาทและอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

Sorry, we just need to make sure you're not a robot. For best results, please make sure your browser is accepting cookies.

Type the characters you see in this image:

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

Try different image

Conditions of Use Privacy Policy

© 1996-2014, Amazon.com, Inc. or its affiliates

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของเรา

EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM คือเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ในซีรีส์ EF-M หนักประมาณ 220 กรัม และมีขนาดกะทัดรัดเหมาะกับกล้องซีรีส์ EOS M ที่มีขนาดเล็กมาก เลนส์รุ่นนี้ครอบคลุมมุมรับภาพสำหรับถ่ายภาพทิวทัศน์ จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะพกพาไปด้วยขณะเดินทาง ในบทความนี้ เราจะรีวิวคุณสมบัติต่างๆ ของเลนส์ พร้อมเผยเคล็ดลับการใช้เลนส์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (เรื่องโดย: Yoshiki Fujiwara)

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

กำลังการแยกรายละเอียดโดดเด่นตลอดระยะโฟกัส

จุดเด่นของเลนส์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM ไม่ได้อยู่ที่ขนาดกะทัดรัดเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีกำลังการแยกรายละเอียดอันยอดเยี่ยมที่ทุกทางยาวโฟกัสภายในระยะโฟกัสของเลนส์อีกด้วย เมื่อใช้งานที่ระยะมุมกว้าง 11 มม. เลนส์ให้ความละเอียดคมชัดแม้แต่บริเวณรอบขอบภาพ และมีความคลาดน้อยมาก

เมื่อคุณลดขนาดรูรับแสงลงมากกว่า f/11 ความละเอียดของภาพจะลดลงอันเนื่องจากมักเกิดการกระจายแสง ผมขอแนะนำให้คุณลดขนาดรูรับแสงลงไม่เกิน f/8 เพื่อให้เลนส์สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่

ขณะที่ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 15 ซม. ช่วยให้เข้าใกล้ตัวแบบได้มากเพื่อถ่ายภาพระยะใกล้ คุณยังสามารถเก็บภาพทิวทัศน์กว้างใหญ่ไพศาลได้ด้วยความสามารถของมาโครกว้าง หรือสร้างเอฟเฟ็กต์บิดเบี้ยวได้อย่างง่ายดายโดยใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 25 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ผมลดขนาดรูรับแสงลงเพื่อใช้การโฟกัสแบบแพนกล้อง และถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ 25 วินาที เพื่อเบลอสายน้ำไหลในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านล่างซ้ายของภาพ

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/60 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

ผมถ่ายภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านช่องว่างของโขดหิน ซึ่งปกคลุมด้วยตะไคร่น้ำ และลดขนาดรูรับแสงลงเหลือ f/8 เพื่อเสริมความรู้สึกที่สงบผ่อนคลาย

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 13 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ภาพนี้เป็นภาพที่คุณจะได้ชื่นชมความงดงามขณะมองดูดินแดนอันกว้างใหญ่ของเมืองอะโซะ (จังหวัดคุมาโมโตะ) เมื่อใช้ระยะมุมกว้างที่ 11 มม. ผมสามารถบันทึกการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ในยามเช้าท่ามกลางหมู่เมฆที่สวยงาม

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Aperture-priority AE (f/16, 1/100 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ผมมองหาตำแหน่งที่แสงแดดสามารถลอดผ่านช่องว่างระหว่างกิ่งไม้ พร้อมกับถ่ายภาพโดยใช้ค่ารูรับแสง f/16 จากนั้น เพิ่มความโดดเด่นให้กับแฉกแสงที่เปล่งรัศมีถึง 14 แฉก

เคล็ดลับการใช้งาน

1: ใช้ความบิดเบี้ยวกับตัวแบบ

เราสามารถสร้างมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงโดยใช้เลนส์มุมกว้าง และทำให้วัตถุบางอย่างที่อยู่ใกล้ดูใกล้ขึ้นและวัตถุที่อยู่ไกลดูไกลมากขึ้นได้ง่ายๆ ดังนั้น ตัวแบบจึงดูแคบขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้บริเวณกึ่งกลางภาพมากขึ้นด้วย หากคุณสามารถใช้ประโยชน์จากเอฟเฟ็กต์มุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงได้ คุณจะได้ภาพถ่ายที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้นไปอีก

ถ่ายภาพโดยเข้าใกล้ตัวแบบ

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ผมขยับเข้าใกล้ลำต้นของต้นไม้ให้มากที่สุดเพื่อสร้างความบิดเบี้ยว จากนั้นจึงกดชัตเตอร์ โดยหงายหน้าเลนส์ขึ้นไปตามแนวของลำต้น เมื่อใช้วิธีนี้ เลนส์มุมกว้างจะสร้างมุมมองใหม่ที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากรูปทรงของตัวแบบจะผิดแผกไปจากที่เราเคยมองเห็นด้วยตาเปล่า

ถ่ายภาพรวมโดยไม่ขยับเข้าใกล้ตัวแบบ

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อผมถ่ายภาพต้นไม้โดยรวมโดยไม่ขยับเข้าใกล้ลำต้น ใบไม้สีแดงจะมองเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดี ภาพที่ออกมาดูเหมาะที่จะเป็นบันทึกข้อมูลภาพถ่ายมากกว่า

เคล็ดลับการใช้งาน

2: ปรับรูรับแสงให้แคบลงเหลือ f/16 เพื่อขับเน้นแฉกแสงที่สวยงาม

คุณสามารถสร้างแฉกแสงได้ง่ายๆ โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงที่มีแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ หรือแสงเทียม ในการทำเช่นนี้ ต้องใช้ Aperture-priority AE หรือการเปิดรับแสงแบบแมนนวล แล้วปรับรูรับแสงให้แคบลงมากที่สุด

ในช่วงกลางวัน ดวงอาทิตย์อาจเป็นตัวเลือกที่คุณใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด แต่หากลงมือถ่ายภาพทันที อาจมีแสงจ้าเกินไปในภาพได้ ดังนั้น ผมจึงขอแนะนำให้คุณจัดองค์ประกอบภาพโดยให้ดวงอาทิตย์ปรากฏเพียงเล็กน้อย เช่น ในลักษณะที่ส่องแสงลอดผ่านใบไม้

ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในภาพถ่าย มักเป็นเรื่องที่ช่างภาพต้องตัดสินใจอยู่บ่อยๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่าน: การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ควรใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในเฟรมภาพดีหรือไม่

เลนส์รุ่นนี้มีรูัรับแสงทรงกลมแบบ 7 กลีบ การปรับให้รูรับแสงแคบลงที่ระหว่าง f/11 ถึง f/14 จะสร้างแฉกแสงที่ช่วยเพิ่มจุดเด่นให้กับภาพถ่ายของคุณได้ และเนื่องจากเลนส์มีระยะชัดลึก จึงมีข้อดีอย่างหนึ่งคือ สามารถโฟกัสแบบแพนกล้องอย่างคมชัดตั้งแต่ด้านหน้าภาพตลอดจนถึงสุดขอบภาพ

ในโหมด Aperture-priority AE ปรับรูรับแสงให้แคบลงจนกว่าแฉกแสงจะปรากฏขึ้น

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

ในโหมด Aperture-priority AE ผมตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/16 และตั้งความเร็วชัตเตอร์และความไวแสง ISO ให้มีระดับแสงที่เหมาะสม นอกจากนี้ ควรใช้ขาตั้งกล้องหากคุณต้องการถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

Canon ef-m 11-22mm f 4-5.6 is stm ม อสอง

ซ้าย: f/16 ขวา: f/4

ทั้งสองภาพ: EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Aperture-priority AE (1/60 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายที่ใช้ค่า f/4 คุณจะบอกได้เลยว่าแฉกแสงดูเด่นชัดกว่ามากเมื่อใช้ค่า f สูงขึ้น

สรุป: เลนส์ที่เหมาะสำหรับถ่ายภาพทิวทัศน์และท่องเที่ยว

เลนส์มุมกว้างมีความสามารถในการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ทรงพลัง และแน่นอนว่าผมขอแนะนำให้คุณใช้เลนส์รุ่นนี้เพื่อถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ที่งดงามและกว้างใหญ่ไพศาลมากเกินกว่าขอบเขตการมองเห็นของมนุษย์ นอกจากนี้ ขนาดที่กะทัดรัดของ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM ยังทำให้เลนส์รุ่นนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์และท่องเที่ยวอย่างมาก หากคุณต้องการพกติดตัวออกไปถ่ายภาพ ผมขอแนะนำให้คุณซื้อเลนส์ฮูดแยกต่างหากด้วยเช่นกัน