เพลงสรรเสร ญพระบารม ฉบ บ ม.จ.ชาตร เฉล ม ย คล

บทความนี้เกี่ยวกับเพลงสรรเสริญพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย สำหรับความหมายหลัก ดูที่ เพลงสรรเสริญพระบารมี

สรรเสริญพระบารมี

เพลงสรรเสร ญพระบารม ฉบ บ ม.จ.ชาตร เฉล ม ย คล

โปสการ์ดโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี สมัยรัชกาลที่ 5


เพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีของ

เพลงสรรเสร ญพระบารม ฉบ บ ม.จ.ชาตร เฉล ม ย คล
สยาม (พ.ศ. 2431–2475) เพลงสรรเสริญพระบารมีของ
เพลงสรรเสร ญพระบารม ฉบ บ ม.จ.ชาตร เฉล ม ย คล
สยาม (พ.ศ. 2475–2482)
เพลงสรรเสร ญพระบารม ฉบ บ ม.จ.ชาตร เฉล ม ย คล
ไทย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2482)


ชื่ออื่นเพลงชาติสยามเนื้อร้องสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, พ.ศ. 2456ทำนองปิออตร์ ชูรอฟสกีรับไปใช้พ.ศ. 2431 (เนื้อร้องสำนวนแรก) พ.ศ. 2456 (เนื้อร้องปัจจุบัน)เลิกใช้มิถุนายน พ.ศ. 2475 (ในฐานะเพลงชาติ)ตัวอย่างเสียง

สรรเสริญพระบารมี บรรเลงโดยวงดุริยางค์กองทัพเรือสหรัฐ

  • ไฟล์
  • ช่วยเหลือ

"สรรเสริญพระบารมี" เป็นบทเพลงซึ่งบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ไทย เคยใช้เป็นเพลงชาติของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2431–2475 นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ทำนองทางไทยโดยพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) เมื่อ พ.ศ. 2416 ทำนองดนตรีตะวันตกโดย ปิออตร์ ชูรอฟสกี (Pyotr Schurovsky) นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2431 คำร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ในตอนแรกคำร้องดังกล่าวในท่อนสุดท้าย ใช้คำว่า ฉะนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากคำว่า ฉะนี้ เมื่อร้องตามทำนองของเพลงแล้ว คนมักจะออกเสียงเพี้ยนเป็นคำว่า ชะนี ทำให้พระองค์ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงเปลี่ยนจากคำว่า ฉะนี้ เป็น ชโย ซึ่งแผลงมาจากคำว่า ไชโย และ ชย

ประวัติ[แก้]

สรรเสริญพระนารายณ์[แก้]

เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น มีชื่อเรียกว่า "สายสมร" ต่อมาพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ใช้เพลงสายสมรมาเป็นเพลงดำเนินทำนองหลัก และเรียกชื่อเพลงนี้ใหม่ว่า "ศรีอยุธยา", "สรรเสริญพระนารายณ์" แต่ในบ้างแหล่งระบุชื่อเพลงว่า "เสด็จออกขุนนาง"

จอมราชจงเจริญ[แก้]

แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ"

จอมราชจงเจริญชื่ออื่นเพลงสรรเสริญพระบารมีเนื้อร้องพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ทำนองไม่ทราบผู้แต่งรับไปใช้พ.ศ. 2395เลิกใช้พ.ศ. 2414

จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปีพ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ปรากฏมีชาวฮอลันดาซึ่งตั้งนิคมอยู่ที่นั้นถามถึงเพลงชาติของสยามเพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง"

เนื้อร้อง: ความศุข สมบัติทั้ง บริวาร เจริญ พละปฏิภาณ ผ่องแผ้ว จง ยืนพระชนม์นาน นับรอบ ร้อยแฮ มี พระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์เพี้ยงเพ็ญจันทร์

บุหลันลอยเลื่อน[แก้]

ตอนนั้น คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6

สรรเสริญพระบารมี (เนื้อร้องสำนวนแรก)[แก้]

ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) (หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า และได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปิออตร์ ชูรอฟสกี นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431

ชูรอฟสกีประพันธ์เป็นโน๊ตสากลซึ่งไม่มีครูดนตรีชาวสยามผู้ใดอ่านออก สันนิฐานว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเชิญเฮวุดเซนมาบรรเลงเพลงนี้บนเปียโนให้ฟัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ฟังจึงทรงทรงนิพนธ์เนื้อร้องใส่เข้าไป และออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น แต่เดิมเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมีมาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว

เนื้อร้อง[แก้]

เนื้อร้องสำนวนปัจจุบัน[แก้]

เพลงสรรเสร ญพระบารม ฉบ บ ม.จ.ชาตร เฉล ม ย คล
โน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี ฉบับเผยแพร่โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546

บทร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขเมื่อ พ.ศ. 2456

ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน นบพระภูมิบาล บุญดิเรก เอกบรมจักริน พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย

เนื้อร้องสำนวนสังเขป[แก้]

เพลงสรรเสร ญพระบารม ฉบ บ ม.จ.ชาตร เฉล ม ย คล
เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี สำนวนสังเขป ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ 8 ลงในราชกิจจานุเบกษา :เล่ม 57/หน้า 78/ลงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2483 ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน นบพระภูมิบาล บรมกษัตริย์ไทย ขอบรรดาล ธประสงค์ใด จงสิทธิดั่ง หวังวรหฤทัย ดุจถวายไชย ชโย

สำนวนสำหรับทหารบก[แก้]

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่าพิริย์พลพลา สมสมัยกา– ละปิติกมล รวมนรจำเรียงพรรค์ สรรพ์ดุริยพล สฤษดิมลฑล ทำสดุดีแด่นฤบาล ผลพระคุณรักษา พลนิกายะสุขศานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสิทธิ์ดัง หลังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ฉะนี้

สำนวนขับร้องละครดึกดำบรรพ์[แก้]

อ้าพระนฤปจง ทรงสิริวัฑฒนา จงพระพุทธศา-สนฐีติยง ราชรัฐจงจีรัง ทั้งบรมวงศ์ ฑีรฆดำรง ทรงกรุณาประชาบาล ราชธรรมรักษา เป็นหิตานุหิตสาร ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสิทธิ์ดัง หลังวรหฤทัย ดุจถวายไชย ฉนี้

สำนวนสำหรับนักเรียนชายหญิงขับร้องร่วมกัน[แก้]

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่ายุพยุพดี ยอกรชุลี วรบทบงสุ์ ซร้องศัพท์ถวายชัย ในนฤปทรง พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณะรักษา ชนนิกายะศุขสานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสิทธิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ฉะนี้

บทร้องสำนวนโรงเรียนชายล้วน[แก้]

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่าดรุณกุมารา โอนศิรวันทา วรบทบงสุ์ ซร้องศัพท์ถวายชัย ในนฤปทรง พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณะรักษา ชนนิกายะศุขสานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสิทธิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ฉะนี้

บทร้องสำนวนโรงเรียนหญิงล้วน[แก้]

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่าดรุณกุมารี โอนศิรชุลี วรบทบงสุ์ ซร้องศัพท์ถวายชัย ในนฤปทรง พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณะรักษา ชนนิกายะศุขสานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสิทธิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ฉะนี้

สำนวนสำหรับทหารเรือ[แก้]

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่ายุทธพลนาวา ขอถวายวันทา วรบทบงสุ์ ยกพลถวายชัย ให้สยามจง อิสระยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ใจทหารทั้งบ่าวนาย ยอมขอตายถวายท่าน ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ฉะนี้

วาระและโอกาสในการใช้[แก้]

ชาวไทยแสดงความเคารพต่อเพลงสรรเสริญพระบารมีด้วยการหยุดนิ่งในอาการสำรวมในระหว่างการบรรเลงเพลง

ระเบียบส่วนราชการในพระองค์กำหนดวาระในการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีไว้ดังนี้

  1. พระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีทั้งรับและส่งเสด็จ
  2. พระราชพิธีหรือพิธีการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง​ เสด็จพระราชดำเนิน ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีทั้งรับและส่งเสด็จ
  3. พระราชพิธีหรือพิธีการที่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี​ เสด็จพระราชดำเนิน ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีทั้งรับและส่งเสด็จ
  4. พระราชพิธีหรือพิธีการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี​ เสด็จพระราชดำเนิน ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีทั้งรับและส่งเสด็จ
  5. พระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์หรือพระราชานุสาวรีย์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ทหารกองเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือแถวทหารมหาดเล็กรับเสด็จ ถวายความเคารพ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี แตรเดี่ยวแถวรับเสด็จเป่าเพลงคำนับ 3 จบ กองทหารเกียรติยศสำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์หรือพระราชานุสาวรีย์ ถวายความเคารพโดยดุริยางค์ไม่บรรเลง และเมื่อถึงพิธีการเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์หรือพระราชานุสาวรีย์ กองทหารเกียรติยศสำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์หรือพระราชานุสาวรีย์ ถวายความเคารพ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับ ให้กองทหารเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายความเคารพ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนกองทหารเกียรติยศสำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์หรือพระราชานุสาวรีย์ ถวายความเคารพ แต่ดุริยางค์ไม่ต้องบรรเลง
  6. พระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปในงานศพที่มีกองทหารเกียรติยศสำหรับศพ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง กองทหารเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือแถวทหารมหาดเล็กรับเสด็จ ถวายความเคารพ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี แตรเดี่ยวแถวรับเสด็จเป่าเพลงคำนับ 3 จบ กองทหารเกียรติยศสำหรับศพถวายความเคารพ โดยดุริยางค์ไม่บรรเลง เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับ ให้กองทหารเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายความเคารพด้วย โดยดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนกองทหารเกียรติยศสำหรับศพถวายความเคารพ แต่ดุริยางค์ไม่ต้องบรรเลง
  7. พระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยประมุขต่างประเทศ
    1. ดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติ​หรือเพลง Royal Anthem​ ของประเทศนั้น จบแล้วบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จ ในกรณีที่ประมุขต่างประเทศเสด็จพระราชดำเนิน หรือไปตามลำพัง ดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติหรือเพลง Royal Anthem ของประเทศนั้น
    2. ในกรณีที่จัดกองทหารเกียรติยศ 2 กอง คือกองทหารเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกองทหารเกียรติยศสำหรับประมุขต่างประเทศ
      1. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถึง ให้กองทหารเกียรติยศถวายความเคารพพร้อมกันทั้ง 2 กอง เฉพาะกองทหารเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงกองเดียวบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
      2. เมื่อประมุขต่างประเทศเสด็จพระราชดำเนินหรือมาถึง ให้กองทหารเกียรติยศแสดงความเคารพพร้อมกันทั้ง 2 กอง เฉพาะกองทหารเกียรติยศสำหรับประมุขต่างประเทศเพียงกองเดียวบรรเลงเพลงชาติหรือเพลง Royal Anthem ของประเทศนั้น
      3. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยประมุขต่างประเทศ กองทหารเกียรติยศทั้ง 2 กอง ถวายและแสดงความเคารพพร้อมกัน กองทหารเกียรติยศสำหรับประมุขต่างประเทศบรรเลงเพลงชาติหรือเพลง Royal Anthem ของประเทศนั้นก่อน แล้วกองทหารเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
    3. ในกรณีที่จัดกองทหารเกียรติยศกองเดียว
      1. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถึง กองทหารเกียรติยศถวายความเคารพ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
      2. เมื่อประมุขต่างประเทศเสด็จพระราชดำเนินหรือมาถึง กองทหารเกียรติยศแสดงความเคารพดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติหรือเพลง Royal Anthem ของประเทศนั้น
      3. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยประมุขต่างประเทศ กองทหารเกียรติยศถวายและแสดงความเคารพ ดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติหรือเพลง Royal Anthem ของประเทศนั้นก่อน แล้วจึงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
  8. พิธีการที่ผู้แทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในงานเสด็จพระราชดำเนิน
    1. กรณีผู้แทนพระองค์เป็นผู้ซึ่งต้องใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีในการรับและส่งเสด็จ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาถึง ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการรับเสด็จ และเมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการส่งเสด็จ
    2. กรณีผู้แทนพระองค์เป็นผู้ซึ่งต้องใช้เพลงมหาชัย​ในการรับและส่งเสด็จ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จมาถึงและลงจากรถยนต์ที่นั่ง ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการรับเสด็จ และเมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จกลับ ก่อนขึ้นรถยนต์ที่นั่ง ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการส่งเสด็จ
    3. ถ้าผู้แทนพระองค์เป็นบุคคลธรรมดา ในกรณีที่รถจอดกับที่จัดงานอยู่ในบริเวณเดียวกัน เมื่อผู้แทนพระองค์มาถึงและลงจากรถยนต์หลวงแล้วยืนข้างรถ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และเมื่อผู้แทนพระองค์กลับ ยืนข้างรถก่อนขึ้นรถยนต์หลวง ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ถ้าเป็นกรณีที่รถจอดกับที่จัดงานไม่อยู่ในบริเวณเดียวกัน เมื่อผู้แทนพระองค์มาถึง ดุริยางค์ไม่บรรเลงเพลงใด ๆ และเมื่อผู้แทนพระองค์ยืนหน้าเก้าอี้แล้ว ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อเสร็จงานผู้แทนพระองค์ยืนหน้าเก้าอี้ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และเมื่อผู้แทนพระองค์กลับ ดุริยางค์ไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ

นอกจากนี้ ในการมหรสพต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น การแข่งขันกีฬา การฉายภาพยนตร์หรือการแสดงดนตรี ก็นิยมมีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนทำการแสดงเสมอ สำหรับการกระจายเสียงของสถานีวิทยุและการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ เพลงสรรเสริญพระบารมีก็ได้ถูกในเป็นเพลงสำหรับแจ้งการยุติการกระจายเสียงประจำวันของสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย และใช้เป็นเพลงยุติการแพร่ภาพออกอากาศประจำวัน หรือในกรณีที่มีการออกอากาศตลอดทั้งวัน จะใช้เมื่อเปลี่ยนเวลาเข้าสู่วันใหม่ ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย

การบันทึกเสียง[แก้]

บันทึกเสียงลงในกระบอกเสียงไขผึ้งของบริษัทเอดิสัน บรรเลงโดยคณะละครนายบุศย์มหินทร์ (บุศย์ เพ็ญกุล) ซึ่งได้เปิดการแสดง ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ. 2443


แผ่นเสียงแม่ไม้เพลงไทย ตรากระต่าย


เพลงสรรเสริญพระบารมี เสียงร้องของแม่ปุ่นและแม่แป้น บันทึกลงในแผ่นเสียงปาเต๊ะชนิดร่องกลับทาง ส่งแตรวงกรมทหารราบที่ 3 พ.ศ. 2450


เพลงสรรเสริญพระบารมีมีการบันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2443 ซึ่งเป็นการบรรเลงโดยวงดนตรีคณะละครนายบุศมหินทร์ที่ประเทศเยอรมนี บันทึกลงบนกระบอกเสียงชนิดไขผึ้งของบริษัทเอดิสัน และมีการบันทึกเสียงโดยมีการขับร้องประกอบครั้งแรกโดยเป็นเสียงร้องของแม่ปุ่น (ไม่ทราบนามสกุล) และแม่แป้น (แป้น วัชโรบล) ในแผ่นเสียงปาเต๊ะร่องกลับทางของบริษัทปาเต๊ะ ประเทศฝรั่งเศส ส่งแตรวงกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์) เมื่อ พ.ศ. 2450

ดูเพิ่ม[แก้]

  • เพลงชาติไทย
  • เพลงมหาชัย

อ้างอิง[แก้]

  • ↑ Karl Stumpf . 1898. Beiträge zur akustik und musikwissenschaft. German: Leipzig, J. A. Barth.
  • ↑ จากรัสเซียสู่ไทย แกะรอย ‘ชูรอฟสกี้’ และ เพลงสรรเสริญพระบารมี 13 กรกฎาคม 2560
  • เนื้อร้อง เพลงชาติ โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์[ลิงก์เสีย]
  • 128 ปี เพลงสรรเสริญพระบารมี : สรรเสริญพระบารมีพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ โดยสุกรี เจริญสุข จาก มติชน บุญช่วย โสวัตร และบุษยา ชิตท้วม. 2549. วิเคราะห์ที่มาของเพลงสรรเสริญพระบารมี. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.