อยากทราบว ากระด กขาดโฮโมนไม ม ว ธ เช คจากอะไร

ถ้าคุณเป็นหญิงข้ามเพศ การหยุดยาฮอร์โมนอาจช่วยให้การสร้างสเปิร์มกลับมาได้บ้าง ปัจจุบันยังไม่มีช่วงเวลาแน่นอนของการเป็นหมันหลังเริ่มการใช้ยาฮอร์โมน อีกทั้งยังแตกต่างกันในแต่ละคน คุณจะกลายเป็นหมันถาวรหลังจากผ่าตัดนำอัณฑะออกแล้ว

ถ้าคุณเป็นชายข้ามเพศ การใช้ยาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าที่คุณจะกลายเป็นหมันถาวร แต่ก็เช่นเดียวกันว่าไม่มีช่วงเวลาที่แน่ชัด เมื่อคุณผ่าตัดเอารังไข่ออก คุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติได้ แต่เมื่อคุณผ่าตัดเอามดลูกออกคุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก ดังนั้น อย่าลืมที่จะปรึกษาแพทย์เรื่องผลกระทบของการใช้ฮอร์โมนกับโอกาสที่จะมีบุตรในอนาคต รวมถึงควรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บสเปิร์มหรือไข่เอาไว้ด้วย

Q13: ความเสี่ยงของการใช้ฮอร์โมนโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์มีอะไรบ้าง

A: อันตรายที่เกิดจากการซื้อยามากินเองมีดังต่อไปนี้

  • ผลิตภัณฑ์อาจไม่ใช่ของแท้และอาจไม่ก่อให้เกิดผลอะไรกับร่างกายเลย ทำให้คุณต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
  • ผลิตภัณฑ์อาจไม่มีคุณภาพและก่อให้เกิดอันตรายได้
  • คุณอาจไม่ได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดและผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • คุณอาจไม่ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณกินยาฮอร์โมนร่วมกับยาชนิดอื่นหรือร่วมกับยาสมุนไพรต่างๆ
  • คุณจะไม่ได้รับการตรวจที่ถูกต้องจากแพทย์ถึงผลที่อาจเกิดจากยาฮอร์โมน
  • ขนาดยาที่กินหรือวิธีใช้ยาฮอร์โมนบางชนิด อาทิ ยากิน แผ่นแปะผิวหนัง อาจไม่ได้เหมาะสมกับคุณ

Q14: ยาฮอร์โมนจากชายเป็นหญิงจะส่งผลอะไรกับร่างกายบ้าง

A: ในหญิงข้ามเพศ ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลให้

  • ไขมันสะสมเพิ่มขึ้นบริเวณสะโพก
  • ขนาดของอัณฑะและองคชาตจะลดขนาดลงเล็กน้อย
  • การแข็งตัวขององคชาตจะทำได้ลำบากขึ้น
  • รู้สึกกดเจ็บและมีลักษณะเป็นก้อนมากขึ้นที่บริเวณเต้านม
  • ขนบริเวณร่างกายและใบหน้าจะลดลง ช่วยให้การกำจัดขนของหญิงข้ามเพศทำได้สะดวกขึ้น
  • ลักษณะศีรษะล้านแบบเพศชายอาจลดลงหรือหยุดลงได้

Q15: ยาฮอร์โมนจากหญิงเป็นชายจะส่งผลอะไรกับร่างกายบ้าง

A: ในชายข้ามเพศ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะส่งผลให้

  • มีขนและเคราเพิ่มขึ้นที่ใบหน้าและร่างกาย
  • ลักษณะศีรษะล้านแบบเพศชายอาจเกิดขึ้นได้
  • ปุ่มกระสันของอวัยวะเพศหญิง (Clitolis) จะเพิ่มขนาดขึ้นได้เล็กน้อย
  • ความต้องการทางเพศอาจเพิ่มขึ้นได้
  • เสียงเปลี่ยน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ถึงระดับของเสียงผู้ชายทั่วไป
  • ประจำเดือนจะหยุดลง แต่อาจยังมีเลือดไหลกะปริดกะปรอยได้ซึ่งต้องอาศัยการปรับขนาดยา
  • สิวอย่างเกิดขึ้นได้

Q16: ความเสี่ยงของการใช้ฮอร์โมนมีอะไรบ้าง

A: การใช้ฮอร์โมนนั้นจะปลอดภัยหากใช้ในขนาดที่เหมาะสม เนื่องจากยาฮอร์โมนนั้นถูกสังเคราะห์ให้มีความคล้ายคลึงกับฮอร์โมนในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม ยาทุกชนิดนั้นล้วนมีผลข้างเคียง และบางรายอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ผู้ใช้จึงควรศึกษาผลข้างเคียงของยาให้ดีก่อนตัดสินใจใช้ยา

ผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยาฮอร์โมนเอสโตรเจน มีดังนี้

  • การเกิดลิ่มเลือด
    • โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep vein thrombosis)
    • โรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke)
    • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism)
  • กระทบการทำงานของตับ

ผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน คือโรคเลือดข้น (Polycythemia)

Q17: อยากเทคฮอร์โมนให้เห็นผล...ต้องเทคนานแค่ไหน

A: การเทคฮอร์โมน ไม่ใช่เทคเพียง 1-2 ครั้ง แล้วจะเห็นผล แต่การเทคฮอร์โมนจะต้องเทคอย่างสม่ำเสมอ หลัง 3-6 เดือนขึ้นไปถึงจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง เช่น เสียง โครงหน้า เป็นต้น

Q18: ข้อควรระวังในการเทคฮอร์โมน มีอะไรบ้าง

A: การเทคฮอร์โมน ต้องคำนึงถึง

  • ปัญหาทางสุขภาพต่างๆ เช่น ป่วยบ่อย มวลกระดูกบางลง ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง
  • อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ หรือเป็นโรคซึมเศร้าได้
  • ต้องคอยรักษาระดับฮอร์โมนให้คงที่ ถ้าน้อยเกินไป...ก็จะไม่เห็นผลตามต้องการ

Q19: เทคฮอร์โมน...นานแค่ไหนถึงเรียกว่าเหมาะสม A: เมื่อเพศทางร่างกาย และเพศทางจิตใจ ไม่ตรงกัน เราจึงต้องพยายามที่จะให้จิตใจของเราได้รับการตอบสนอง การเทคฮอร์โมน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และตัวสำคัญที่จะทำให้เราข้ามเพศไปยังเพศที่ต้องการได้

Q20: เมื่อเทคฮอร์โมนแล้ว จะมีลักษณะอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง A: ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเทคฮอร์โมนจากชายไปหญิง

  • เสียงเล็ก แหลม
  • มีหน้าอก สะโพกผ่าย
  • ผิวเนียน
  • ขนบริเวณต่างๆ ลดลง
  • ​น้องชาย มีขนาดเล็กลง และแข็งยากขึ้น (สำหรับผู้ที่ยังไม่ผ่าตัด)

ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงหลังเทคฮอร์โมนจากหญิงไปชาย

  • เสียงใหญ่ ทุ้ม
  • โครงหน้าเปลี่ยน
  • มีสิว
  • กลิ่นตัวแรง
  • ผิวมัน และหยาบขึ้น
  • มีนวด เครา ขนขึ้นตามที่ต่างๆ
  • ​เริ่มเห็นกล้ามเนื้อที่ชัดเจน (ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ)

Q21: ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในการเทคฮอร์โมน มีอะไรบ้าง A: ผลที่อาจเกิดขึ้นได้ในคนที่เทคฮอร์โมน

  • เลือดข้น หรือหนืด
  • ลิ่มเลือด
  • ไขมันในเลือดสูง
  • กระดูกบาง หรือพรุน
  • ​มีผลกับหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไต ตับ หลอดเลือดในสมอง เป็นต้น

Q22: ทำไมผู้ที่เทคฮอร์โมน ถึงไม่สามารถบริจาคเลือดได้ A: “เทคฮอร์โมนแล้วไม่สามารถบริจาคเลือดได้” กำลังเป็นประเด็นร้อนบนโลกโซเชียลในขณะนี้ที่ทำให้เกิดความเห็นต่างออกมามากมาย และหลายคนก็รู้สึกว่า การเทคฮอร์โมนของผู้ที่เป็นเพศทางเลือกเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ทำไมต้องถูกกีดกันไม่ให้ไปบริจาคเลือด ทั้งๆ เลือดกำลังขาดแคลนอย่างมากในช่วงวิกฤตการระบาด COVID-19 วันนี้เราจะมาบอกเหตุผลให้คลายสงสัยกันว่า ทำไมผู้ที่เทคฮอร์โมน ถึงไม่สามารถบริจาคเลือดได้

นี่คือเหตุผลว่า… ทำไมเทคฮอร์โมนแล้ว ถึงบริจาคเลือดไม่ได้

เนื่องจากการได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในปริมาณสูงๆ อาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอดได้ ซึ่งในทรานส์แมน (คนข้ามเพศ) จำเป็นต้องได้รับปริมาณเทสโทสเตอโรนสูงเพื่อการข้ามเพศ และตัวยาเทคฮอร์โมนที่ใช้สำหรับข้ามเพศก็มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อยู่ด้วย