พ ชไฮโดรโพน กส ม อ ปกร อะไรบ าง

เผยแพร่: 14 มี.ค. 2555 15:16 โดย: MGR Online

NAC2012 งานประชุมประจำปี สวทช.ระหว่างวันที่ 24-28 มี.ค.จัดเต็ม โชว์เทคโนโลยี-ความรู้สู้พิบัติ เน้นวิจัยรับมือน้ำท่วม ทั้งข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วม จ่าเฉยบอกระดับน้ำ “เอ็นแซค” ถุงไฮโดรเจลแทนกระสอบทราย เทคโนโลยีถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับผู้พิการ พร้อมสัมมนาถอดบทเรียนความจริงที่เกิดขึ้นในปี 54

นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำแถลงข่าวการจัดงานประชุมประจำปีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค.55 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยงานประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “รู้สู้ภัยพิบัติ ไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ระหว่างวันที่ 24-28 มี.ค.นี้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ทางด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีให้นักวิจัยจากศูนย์แห่งชาติ 4 ศูนย์ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) นำเสนอผลงานเผยแพร่แก่สังคมเพื่อพร้อมรับมือภัยพิบัติในอนาคต ทั้งในรูปแบบก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัยปและเกิดภัยขึ้นแล้ว

ตัวอย่างผลงานน่าสนใจที่จะนำเสนอภายในนิทรรศการของการประชุม อาทิ ถุงเอ็นแซค (nSack) ถุงไฮโดรเจลสำหรับใช้แทนกระสอบทราย “เอ็นค่า” (nCA) นวัตกรรมแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียจากน้ำท่วมขังให้เป็นน้ำใสด้วยสารจับตะกอนและระบบเติมอากาศ “จ่าเฉยวัดระดับน้ำ” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) พัฒนาขึ้นเพื่อให้ “หุ่นจ่าเฉย” สามารถวัดระดับน้ำด้วยเทคโนโลยีทางด้านสมองกลฝังตัว เป็นต้น

สำหรับผลงานจ่าเฉยวัดระดับน้ำนี้เป็นผลพวงจากการวิจัยของ ผศ.ดร.มงคล เอกปัญญาพงศ์ จากภาควิชาแทคคาโทรนิคส์ ไมโครอิเล็กโทรนิคส์และระบบสมองกลฝังตัว สำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และทีมซึ่งรับโจทย์จากกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) เพื่อพัฒนาให้ “จ่าเฉย” หุ่นตำรวจจราจรสามารถตรวจจับรถที่คับแซงตรงคอสะพานและขับผ่าเส้นทึบ จากนั้นได้พ่วงความสามารถในการตรวจจับความเร็วและการวัดระดับน้ำซึ่งอย่างหลังสามารถใช้ประยุกต์บอกสถานการณ์น้ำท่วมได้

การเพิ่มความสามารถให้จ่าเฉยนี้ ผศ.ดร.มงคลบอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ใช้เทคโนโลยีใหม่และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเข้าช่วย โดยใช้กล้อง 2 ตัว ซึ่งกล้องตัวแรกบนมือจ่าเฉยใช้สำหรับตรวจจับความเร็วและการขับข้ามเส้นทึบ และกล้องตัวลางใช้สำหรับตรวจจับป้ายทะเบียน และยังเพิ่มอุปกรณ์อัลตราโซนิกที่ปรับระดับได้เพื่อวัดระดับน้ำ แล้วส่งข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งตอนนี้กำลังทดสอบระบบว่าทำงานท่ามสภาพอากาศจริงได้มากน้อยแค่ไหน คาดว่าอีก 3-4 เดือนจะได้ใช้งานจริง

ทางด้าน พ.ต.ท.นภดล กาญจนพันธุ์ รอง ผกก.4 บก.จร.กล่าวว่า หากพัฒนาจ่าเฉยจนสามารถใช้งานได้จริงแล้วจะนำไปติดตั้งในจุดที่มีตำรวจประจำการ 24 ชั่วโมง เพื่อค่อยเฝ้าระวังอุปกรณ์ด้วย ทั้งนี้ จะมีจุดทดสอบระบบของจ่าเฉยทั้งหมด 10 จุด โดยการสนับสนุนของภาคเอกชน

ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน แต่จะใช้ น้ำ เป็นหลัก ผสมกับสารละลายที่มีธาตุอาหารเป็นแหล่งอาหารสำคัญของพืช ในการเจริญเติบโต โดยวิธีการปลูกพืชแบบนี้ถูกพัฒนาเรื่อย ๆ มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ก่อนที่จะเริ่มเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน โดยการปลูกผักแบบไฮโดรนิกส์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ

  1. Nutrient Film Technique (NFT) : คือ การปลูกพืช โดยให้สารละลายที่มีธาตุอาหาร ผ่านรากพืชที่ปลูกบนราง ตามความลาดชันของรางปลูกอย่างช้า ๆ เป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตร พืชที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกในระบบนี้ ได้แก่ ผักกินใบจำพวกสลัด มีอายุประมาณ 45 – 50 วัน
  2. Deep Flow Technique (DFT) : คือ การปลูกแบบลอยน้ำ โดยยกรางปลูกให้สูง เพื่อให้รากของพืชลอยในอากาศ ส่วนปลายรากนั้นอยู่ในรางปลูก ซึ่งมีสารละลายที่มีธาตุอาหารไหลผ่าน ผักที่นิยมปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่ ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม เป็นต้น
  3. Dynamic Root Floating Technique (DRFT) : เป็นการปลูกพืชแบบน้ำเยอะ โดยนำแผ่นโฟมมาเจาะรู แล้วรองด้วยแผ่นพลาสติกใส่น้ำ โดยระบบนี้เหมาะสำหรับปลูกผักไทยเช่น ขึ้นฉ่าย กะเพรา ที่สุด ไม่เหมาะกับการปลูกพืชทรงพุ่มแบบผักสลัด เพราะแผ่นโฟมทำความสะอาดได้ยาก และอาจมีเชื้อโรคที่อยู่บนแผ่นโฟม ทำให้ใบของต้นพืชเน่าและเสียหายได้

วัสดุ – อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ปลูกผักไฮโดรนิกส์

พ ชไฮโดรโพน กส ม อ ปกร อะไรบ าง

1. โรงเรือน

โรงเรือน ไม่จำกัดขนาด จะเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่สำคัญคือ ควรตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง และ ถ่ายเทอากาศได้ดี ดังนั้น จึงควรมีลักษณะสูงโปร่งเป็นหลัก ที่สำคัญคือ ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ มีระบบไฟฟ้าในการช่วยควบคุมการจ่ายน้ำ ตลอดจนควรมีมุ้งเพื่อป้องกันแมลงและการกระแทกของน้ำฝนด้วย

2. ภาชนะที่ใช้ในการปลูก

การ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ ท่อ PVC มาเจาะรู แล้วใช้เป็นภาชนะสำหรับปลูก เพราะมีราคาค่อนข้างถูก ขนาดยาว สามารถเจาะรู ต่อทำระบบรางได้ง่าย แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ใช้โฟมมาเจาะรู แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะอาจมีเชื้อโรคที่อยู่บนแผ่นโฟม ทำให้ใบของต้นพืชเน่าและเสียหายได้

3. วัสดุที่ใช้ในการปลูก

วัสดุที่ใช้ในการปลูก ในที่นี้หมายถึง วัสดุอื่นที่จะมาแทนที่ดิน เพื่อช่วยให้รากและลำต้นของพืช สามารถเกาะหรือค้ำยันอยู่ในภาชนะสำหรับปลูกได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้ ทราย หินภูเขาไฟ เม็ดดินเผา หรือ ฟองน้ำ สำหรับค้ำยันพืชที่มีรากหรือลำต้นเตี้ย ส่วน เชือก ลวด ไม้ค้ำ จะเป็นวัสดุสำหรับผูกหรือมัด ให้พืชที่มีสำต้นสูง ทรงตัวอยู่ได้

4. เมล็ดพันธุ์ผัก

ควรเลือกชนิดของผักให้เหมาะกับระบบการปลูก เช่น ผักสลัด เหมาะกับ NFT ผักไทย เหมาะกับ DFT หรือ DRFT ที่สำคัญคือ ควรเลือกเมล็ดพันธุ์ของผักที่มีเปอร์เซ็นต์จะงอกสูง เพื่อให้เพาะปลูกได้ง่าย

5. น้ำสะอาด และ สารละลายที่มีธาตุอาหาร

ควรเตรียมน้ำสะอาด มีคุณภาพดี และ มีปริมาณเพียงพอต่อการปลูก รวมถึงสารละลายที่มีธาตุอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็น สารละลายเกลือ อนินทรีย์ต่างๆ เช่น โพแทสเซี่ยมฟอสเฟต โพแทสเซี่ยมไนเตรต ซึ่งจะให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซี่ยม แมกนีเซียม กำมะถัน แคลเซียม และ ธาตุเหล็ก

6. อุปกรณ์ในการเตรียมสารละลายที่มีธาตุอาหาร

สารละลายที่มีธาตุอาหาร เป็นวัตถุดิบสำคัญที่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโต จึงควรมีอุปกรณ์สำหรับเตรียมสารละลายที่มีธาตุอาหารโดยเฉพาะ เพื่อให้มีปริมาณเพียงพออยู่ตลอดเวลา โดยสิ่งที่ควรมีได้แก่ ถังใส่สารละลายธาตุอาหาร ถุงมือ เพื่อปรับหรือควบคุมสารละลายให้มีค่ากรดด่างสมดุล และ เครื่องชั่งวัดตวง สำหรับตวงปริมาณปุ๋ย หรือ สารอาหารต่าง ๆ

7. อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและควบคุมสารละลายที่มีธาตุอาหาร

อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและควบคุมสารละลายที่มีธาตุอาหาร ได้แก่ เครื่องมือตรวจวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของสารละลายธาตุอาหารพืช (pH meter) เครื่องมือตรวจวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหารพืช (EC meter) เพื่อให้สารละลายมีค่า pH และ ค่า EC ที่เหมาะสม ทำให้เวลาจ่ายน้ำไป ผักจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นได้อย่างเต็มที่

8. ระบบไฟฟ้าและปั๊มน้ำ

หากปลูกแปลงใหญ่ แล้วไม่ต้องการรดน้ำ เติมสารละลายที่มีธาตุอาหารด้วยตัวเองตลอดเวลา ควรมีระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถควบคุมการส่งน้ำ ไหลเวียนของน้ำให้ไหลไปตามรางปลูกได้อย่างทั่วถึง แต่หากปลูกเพื่อรับประทานภายในครอบครัว อาจไม่ต้องมีก็ได้

9. ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน

เนื่องจากแสงแดดในเมืองไทย ค่อนข้างร้อนจัด อาจส่งผลให้อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือน มีการผันแปรได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ จึงควรมีระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน เพื่อให้มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชตลอดเวลา

10. ห้องเย็นและระบบขนส่งที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้

เมื่อทำการเก็บเกี่ยว จนถึงเวลาเตรียมจัดส่งและวางขาย ควรมีห้องเย็น และ ระบบขนส่ง ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อทำให้ผักของคุณยังคงมีความสดใหม่ สามารถส่งตรงไปถึงผู้บริโภคได้อย่างมีคุณภาพ

วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

พ ชไฮโดรโพน กส ม อ ปกร อะไรบ าง

1. กำหนดชนิดของผักที่ต้องการปลูก

ก่อนลงมือ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ควรกำหนดชนิดของผักที่ต้องการปลูก เพื่อให้สามารถเลือกวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสม เช่น หากต้องการปลูกผักสลัด จะได้ปลูกโดยใช้วิธี NFT แต่หากเป็นผักไทย เช่น ขึ้นฉ่าย กะเพรา ฯลฯ จะใช้วิธี DFT หรือ DRFT เป็นต้น

2. เตรียมโรงเรือน ภาชนะที่ใช้ในการปลูกให้เรียบร้อย

จัดเตรียมโรงเรือน สำหรับเป็นสถานที่เพาะปลูกให้เรียบร้อย โดยเลือกสถานที่โล่งแจ้ง ถ่ายเทอากาศได้ดี พร้อมกับ ติดแสลน หรือ มุ้ง เพื่อป้องกันแดดและฝนให้เรียบร้อย ในขณะที่ภาชนะที่ใช้ในการปลูก ก็ให้เตรียมเจาะรู แล้วติดตั้งเป็นรางปลูก ตามวิธีนั้น ๆ เช่น NFT ติดตั้งเป็นรางยาว ในส่วนของรางสำหรับให้สารละลายธาตุอาหาร ทำเป็นแนวลาดเอียงให้น้ำไหลผ่านได้ง่าย ส่วนวิธี DFT ให้ทำรางยกสูง ขณะที่ DRFT นำแผ่นโฟมมาเจาะรู แล้วรองด้วยแผ่นพลาสติกใส่น้ำ

3. ทำการเพาะต้นกล้าผัก

เมื่อเลือกผักและได้เมล็ดพันธุ์มาแล้ว ให้ทำการเพาะต้นกล้าผักให้ขึ้นมาก่อน จากนั้น จึงค่อยย้ายลงรางปลูก โดยวิธีการเพาะต้นกล้า สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะในถ้วยเพาะแบบสำเร็จรูป ฟองน้ำ หรือ หินภูเขาไฟ (เพอร์ไลท์ + เวอร์มิคูไลท์) โดยแต่ละวิธี มีรายละเอียดดังนี้

3.1 ถ้วยเพาะแบบสำเร็จรูป

  • * ใส่เมล็ดพันธุ์ลงในถ้วยเพาะ แล้วหย่อนเมล็ดพันธุ์ลงไป
    • ใส่น้ำสูงประมาณ 2 เซนติเมตร วางในที่มีแสงแดดรำไร และ มีการระบายอากาศดี
    • เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า เริ่มให้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบ เจือจางผ่านรากผักในถาดเพาะก่อน เพื่อช่วยให้รากแข็งแรง และควรทำการเปลี่ยน สารอาหารสัปดาห์ละครั้ง
    • เมื่อกล้าแข็งแรง หรือ มีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงย้ายกล้าไปยัง แปลงปลูก

3.2 เพาะกล้าในแผ่นโฟม

  • * กำหนดตำแหน่งรูบนแผ่นโฟม โดยเจาะรูแผ่นโฟม ประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วเว้นระยะห่าง ระหว่างรู ประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร
    • พอได้ตำแหน่งคร่าว ๆ แล้ว ให้ใช้มีดกรีดแผ่นโฟมเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วกรีดตรงกลางเป็นรูปกากบาท ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อหยอดเมล็ด
    • หยอดเมล็ดพันธุ์ลงไป แล้วนำไปวางในที่ ๆ มีน้ำขังเล็กน้อย พร้อมกับใช้สเปรย์ฉีดพ่นน้ำทุกเช้า – เย็น
    • พอเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า เริ่มให้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบ เจือจางผ่านรากผักในถาดเพาะก่อน เพื่อช่วยให้รากแข็งแรง และควรทำการเปลี่ยน สารอาหารสัปดาห์ละครั้ง
    • เมื่อกล้าแข็งแรงหรือมีอายุ 2-3 สัปดาห์ ย้ายกล้าลงแปลงปลูก

3.3 เพาะกล้าในวัสดุปลูก (เพอร์ไลท์ + เวอร์มิคูไลท์)

  • * เตรียมถ้วยขนาดเล็ก แล้วใส่เพอร์ไลท์ + เวอร์มิคูไลท์ ในอัตราส่วน 6 : 1
    • หยอดเมล็ดพันธุ์ลงไป แล้วรดน้ำเช้า – เย็น จนกว่าเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า
    • ย้ายกล้าลงในกระถางหรือ ย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ แล้วเริ่มให้สารละลายธาตุอาหารพืชทุกเช้า – เย็น

4. เตรียมสารละลายที่มีธาตุอาหาร

ระหว่างรอเพาะต้นกล้า ให้เตรียมสารละลายที่มีธาตุอาหาร โดยส่วนใหญ่มักนิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ สาระลายที่มีธาตุอาหารแบบเจือจาง และ เข้มข้น โดยหากต้องการแบบไหน ให้ใช้สูตรดังนี้

ความเข้มข้นของสารละลายที่มีธาตุอาหาร = อัตราส่วนในการเจือจาง x ความจุของถังที่บรรจุสาร

โดยเพื่อให้ได้สารละลายที่มีธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ให้ใช้ pH Meter เพื่อวัดค่ากรดด่าง และ EC Meter เพื่อวัดค่าความนำไฟฟ้า ด้วย จะช่วยให้สารละลายที่มีธาตุอาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น

5. ควบคุมคุณภาพของน้ำและเปลี่ยนสารละลายในเวลาที่เหมาะสม

ตลอดระยะเวลาการปลูก ควรควบคุมปริมาณน้ำให้มีคุณภาพที่เหมาะสมตลอดเวลา อีกทั้งควรเปลี่ยนสารละลายที่มีธาตุอาหารด้วย เมื่อปลูกไปได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ผักได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่ โดยควรเปลี่ยน ทุก 2 – 3 สัปดาห์ หรือ ใครจะเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก

ผักอะไรบ้างที่เหมาะกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

พ ชไฮโดรโพน กส ม อ ปกร อะไรบ าง

จริง ๆ แล้ว ผักแทบทุกชนิดสามารถปลูกได้ด้วยการ ปลูกผักไฮโดรนิกส์ อย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่แล้ว การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ มักเป็นวิธีที่นิยมใช้ในการปลูกผักสลัด เพราะใช้ต้นทุนน้อย แต่ให้กำไรมาก แถมยังได้ผักใบที่มีความสวยงาม ไม่เลอะดิน เก็บเกี่ยวง่าย เกษตกรจำนวนมากจึงนิยมปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์ เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด ไวลด์ร็อกเก็ต ต้นอ่อนทานตะวัน ฯลฯ

แต่นอกเหนือจาก ผักสลัด แล้ว ก็ยังมีคนนิยมปลูกผักไทยด้วย เช่น ขึ้นฉ่าย คะน้า กะเพรา แล้วแต่ความสะดวกและความถนัดของเกษตรกรแต่ละคน ดังนั้น หากใครไม่มีพื้นที่ ไม่มีดินเป็นวัสดุปลูก อยากจะปลูกในบ้านแบบง่าย ๆ แล้วละก็ การปลูกผักด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ถือเป็นวิธีที่ตอบโจทย์และสะดวกมาก ๆ สำหรับคนที่อยากปลูกผักในเมือง หรือ แม้แต่เกษตกรที่อยากปลูกในพื้นที่ต่างจังหวัด

หากอยากปลูกผัก โดยลงทุนน้อย แต่สร้างกำไรได้มาก สามารถสร้างรายได้หลักหมื่นถึงหลักแสนต่อเดือน แล้วละก็ แนะนำให้ลองปลูกผักด้วยวิธี ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ตามที่ SGE นำมาฝากกัน รับรองว่า ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยาก เกษตกรมือใหม่ก็ทำได้ มือเก๋าก็ยิ่งทำได้สบาย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้อย่างแน่นอน