คณะมน ษยศาสตร และส งคมศาสตร ม.ท กษ ณ พ นท ป

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002 email: [email protected], [email protected] โทรศัพท์ 043-009-700 ต่อ 44888 โทรสาร 043-202-318

Follow Us . .

Não foi possível processar o teu pedido Ocorreu um problema com este pedido. Estamos a tentar solucioná-lo o mais depressa possível.

Adere ao Facebook ou inicia sessão para continuar.

Aderir

ou

Iniciar sessão

"คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น" ในยุคเริ่มการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นในปี พ.ศ. 2507 นั้น เป็นส่วนหนึ่งของ "คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์" (ปัจจุบัน คือ คณะวิทยาศาสตร์) โดยทำหน้าที่ในการให้บริการสอนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ และมีภาควิชาภาษาอังกฤษสอนวิชาทางด้านภาษาต่างประเทศให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ส่วนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ จะเปิดสอนอยู่ในคณะเกษตรศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2513 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ขึ้น และจัดให้มีภาควิชาพื้นฐานการศึกษา ทำหน้าที่รับผิดชอบในการสอนวิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้แก่นักศึกษา ต่อมาได้มีภารกิจให้บริการแก่คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากทบวงมหาวิทยาลัยได้วางเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรีให้นักศึกษาทุกสาขา ต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพิ่มขึ้น

คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ได้รับจัดตั้งภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2518 อีกภาควิชาหนึ่ง ทำการสอนนักศึกษาวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ระดับปริญญาตรี เพื่อผลิตบรรณารักษ์ออกไปทำงานในโรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ยังขาดแคลนบรรณารักษ์อยู่อีกเป็นจำนวนมาก

ในแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีโครงการจัดตั้ง "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" ขึ้น เนื่องจากเห็นว่าบุคคลที่สอนวิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น กระจัดกระจายอยู่ในหลายคณะด้วยกันได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่เป็นเอกภาพทางวิชาการ และการบริหารเช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหาที่ติดตามมาหลาย ๆ ด้าน เช่นการทำงานซ้ำซ้อนกั้น การสูญเปล่า การขาดคุณภาพ และประสิทธิภาพในการสอน การขาดการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิชาการ ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อความสามารถของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิต ให้การศึกษาค้นคว้าวิจัย บริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามเจตนารมณ์ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัย

เหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ในการจัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ขึ้น คือบรรดาผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่มาช่วยงานและมาเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัย ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่จะสามารถช่วยศึกษาและอธิบายปัญหาต่าง ๆ ที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่สามารถตอบได้ ประกอบกับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในขณะนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ควบคู่กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาภาคอีสานได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น ในการประชุมคณบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2519 จึงมีมติให้รวมหน่วยงานและบุคลากรที่ทำการสอนวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไว้ด้วยกัน เพื่อจัดตั้งเป็นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอน ค้นคว้า และวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ส่วนการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ก็ยังคงให้ดำเนินการต่อไป)

จากมติที่ประชุมคณบดีดังกล่าว มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 คณะกรรมการร่างโครงการฯ ได้ดำเนินการจนบรรลุผลสำเร็จ โดยมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 แบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รวมกันอยู่ด้วย ประกาศดังกล่าวลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 72 หน้า 433 - 437 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีคณะวิชาที่แยกออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ "คณะวิทยาการจัดการ" (ปัจจุบัน คือ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี) "คณะศิลปกรรมศาสตร์" "คณะนิติศาสตร์" และ "วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น"

สัญลักษณ์[แก้]

  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ กาสะลอง (ปีบ) "กาสะลอง" เป็นภาษาถิ่นที่ใช้เรียกต้นปีบในภาคเหนือ สำหรับภาคอีสานเรียกว่าดอกก้านของ ในบริเวณที่ตั้งคณะในปัจจุบัน มีต้นปีบเป็นจำนวนมาก จึงได้นำมาเป็นสัญลักษณ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้มีการนิยามความหมายไว้ว่า ดอกกาสะลองนั้นอยู่รวมกันเป็นช่อ ก็หมายถึงความสามัคคีในหมู่คณะ และมีดอกสีขาว เปรียบเสมือนดั่งจิตใจของนักศึกษาที่อุทิศตนเพื่อสังคมอย่างบริสุทธิ์ใจ ซึ่งเป็นที่มาของสีประจำคณะคือ สีขาว

อนึ่ง คณะพยาบาลศาสตร์ ก็ใช้สัญลักษณ์ประจำคณะคือ ดอกปีบ เช่นเดียวกัน แต่เรียกคนละชื่อ ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ จะเรียกว่า "ดอกปีบ" ส่วนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะเรียกว่า "กาสะลอง"

  • สีประจำคณะ

สีขาว

  • ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ

กาสะลอง (ปีบ)

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

สาขาวิชามนุษยศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาปรัชญา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาปรัชญาและศาสนาตะวันออก
  • สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (นานาชาติ)

สาขาวิชาสังคมศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์
    • วิชาเอกพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์
  • สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาพัฒนศาสตร์
  • สาขาวิชาสังคมวิทยา
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

สาขาวิชาภาษาไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาตะวันออก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาภาษาเกาหลี

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมจีน

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาภาษาตะวันตก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาตะวันตก
    • วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
    • วิชาเอกภาษาเยอรมัน
    • วิชาเอกภาษาสเปน

สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (สท.บ.)

  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต (สท.ม.)

  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Department of Public Administration, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

คณะมน ษยศาสตร และส งคมศาสตร ม.ท กษ ณ พ นท ป

สิงห์มอดินแดง สัญลักษณ์ประจำสาขาวิชา

สถาปนา27 กันยายน พ.ศ. 2547 (19 ปี)หัวหน้าภาควิชารศ.ดร.สุกัญญา เอมอิ่มธรรมที่อยู่

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

วารสารวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์สี สีเทา

มาสคอต

สิงห์มอดินแดงเว็บไซต์https://pol.kku.ac.th

เมื่อ พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) โดยวางเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีความกว้างขวาง เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และครบถ้วนทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากแนวความคิดดังกล่าว ใน พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงมีมติอนุมัติให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้และบัณฑิตทางด้านสังคมศาสตร์มากยิ่งขึ้น จึงดำเนินการพิจารณาเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจัดให้มีการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2547 (ปัจจุบันได้โอนย้ายไปเป็น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

จากมติที่ประชุมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2547 จึงได้มอบหมายให้ “ภาควิชาสังคมศาสตร์” เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนวิชาทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งแต่เดิมนั้น ภาควิชาสังคมศาสตร์มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์ให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (เช่น รายวิชารัฐศาสตร์ รายวิชาภูมิศาสตร์ รายวิชากฎหมาย เป็นต้น) และเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนา) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 จึงมีความพร้อมในการเปิดทำการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อมุ่งที่จะผลิตบัณฑิตให้ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ โดยเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2548

ในปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีการให้ความสำคัญในวิชาทางด้านรัฐศาสตร์มากขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นผู้เริ่มพัฒนาการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ โดยจัดตั้งวิทยาลัยการเมืองการปกครอง (สิงห์น้ำตาล) ในปี 2546 และภายในปี พ.ศ. 2548 จึงเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (สิงห์มอดินแดง) และมีการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สิงห์แสด) ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการและพัฒนาบุคลากร นักปกครอง นักบริหาร เพื่อมาพัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง และเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศต่อไปในยุคโลกาภิวัฒน์

เมื่อ พ.ศ. 2553 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการปรับรูปแบบองค์กรใหม่ เพื่อมีความสะดวกและคล่องตัวในการบริหารมากขึ้น จึงยกเลิกระบบภาควิชา และจัดเป็นกลุ่มสาขาวิชาแทน ดังนั้น ภาควิชาสังคมศาสตร์ จึงเปลี่ยนเป็นสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และเป็นผู้รับผิดชอบในจัดการเรียนการสอนทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2554 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้มีการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และพิจารณาเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกขึ้น เพื่อความทันสมัยของรายวิชา ตอบสนองกับความต้องการของนักศึกษา ตลาดแรงงาน และสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับศาสตร์ดังกล่าว ส่งผลให้ในปัจจุบันสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เปิดทำการเรียนการสอนทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ครบในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก

เมื่อ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับโลก (World Class Research University) จึงทำให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีนโยบายในการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อส่งเสริมความเป็นเอกภาพทางการบริหารมากยิ่งขึ้น จึงมีการจัดเป็นสาขาวิชาสังคมศาสตร์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ประกอบด้วย 4 กลุ่มวิชา ได้แก่ 1. กลุ่มรัฐประศาสนศาสตร์ 2. สาขาสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย วิชาเอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วิชาเอกพัฒนาสังคม และ 3. วิชาปรัชญาและศาสนา

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันด้านรัฐประศาสนศาสตร์แห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือถัดจากสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักบริหารจัดการมืออาชีพที่มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ ประยุกต์ และบูรณาการองค์ความรู้ทางการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ตลอดจนเป็นนักบริหารที่มีคุณภาพและคุณธรรม ในการบริหารจัดการภารกิจสาธารณะ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ และเป็นองค์กรการศึกษาที่มีคุณภาพ และการบริการวิชาการให้กับสังคมได้อย่างเต็มที่

สัญลักษณ์[แก้]

  • สัญลักษณ์

สัญลักษณ์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ "สิงห์มอดินแดง" โดย "สิงห์" หมายถึง สัญลักษณ์แห่งการเป็นนักปกครอง และ "มอดินแดง" หมายถึง พื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอ เป็นภาษาอีสาน แปลว่า พื้นที่เนินสูง) ประกอบกับสีของดินในพื้นที่เป็นสี "ดินแดง" ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น คำว่า "มอดินแดง" นั้นจึงเป็นชื่อเฉพาะที่กล่าวถึงความเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น

"สิงห์มอดินแดง" เป็นชื่อเรียกที่แตกต่างจากธรรมเนียมปฏิบัติในวงการวิชารัฐศาสตร์ไทย เพราะใช้ลักษณะพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเป็นหลักมากกว่าสีประจำสิงห์ อันเนื่องมาจากการใช้สีนั้นไม่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์และความหลากหลายของประชาคมได้อย่างเพียงพอ ขาดมิติความเป็นอัตลักษณ์และความผูกพันในพื้นที่มหาวิทยาลัย จึงได้ใช้คำว่า "มอดินแดง" เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ซึ่งบ่งบอกความเป็นภาคอีสาน มีความรู้สึกเป็นพวกพ้องเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายจากนักศึกษาที่ต่างถิ่นฐานมาอยู่ร่วมกันในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ รวมไปถึงความมุ่งหวังที่จะผลิตบัณฑิตและสร้างประชาคมที่เข้มแข็ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประชาชนในพื้นที่ภาคอีสานให้พัฒนามากยิ่งขึ้นทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และบำรุงรักษาวัฒนธรรมอันโดดเด่น

“สิงห์” เป็นตราประจำกระทรวงมหาดไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงโปรดให้ชำระสะสางระเบียบราชการซึ่งเคยมีอยู่มากมาย แต่กระจัดกระจายหายไปบางส่วนครั้งเสียกรุงแก่พม่า ครั้นชำระแล้วให้ประทับตราพระราชสีห์ (สิงห์) พระคชสีห์ บัวแก้ว ไว้ทุกเล่มเป็นสำคัญเรียกกฎหมายนี้ว่า “กฎหมายตรา 3 ดวง” และ“สิงห์” ได้กลายมาเป็นตราสัญลักษณ์ของบุคลากรสายงานด้านปกครองที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานของประเทศ ทำให้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ควบคู่กับสายงานด้านการปกครองป้องกันของประเทศไทย รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับสายงานด้านการปกครองไม่ว่าจะอยู่ในระดับคณะ ภาควิชา หรือสาขาวิชาทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ นำโดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2491 (สิงห์ดำ) ติดตามด้วยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง) ในปีถัดมา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2508 ก็ได้มีการจัดตั้งภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะรัฐศาสตร์ฯ ในปัจจุบัน) (สิงห์ขาว)

ในปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีการให้ความสำคัญในวิชาทางด้านรัฐศาสตร์มากขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นผู้เริ่มพัฒนาการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ โดยจัดตั้งวิทยาลัยการเมืองการปกครอง (สิงห์น้ำตาล) และภายในปี พ.ศ. 2548 จึงเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (สิงห์มอดินแดง) และมีการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สิงห์แสด) ขึ้น

  • คำขวัญ

รฏฺฐกิจฺจํ วิชฺชาปญฺญาจริยาย สมิชฺฌติ (กิจแห่งรัฐสำเร็จได้ด้วย วิชา ปัญญา จริยา)

  • สีประจำสาขาวิชา

สีเทา หมายถึง การเป็นนักรัฐศาสตร์ต้องยอมรับในความหลากหลายของสังคม และเป็นผู้บูรณาการองค์ความรู้เพื่อสังคม

  • หลักสูตร หลักสูตรที่เปิดสอนในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หน่วยงาน ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรปรัชญดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

คณบดี[แก้]

ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง 1. รองศาสตราจารย์ ดร.เทอด เจริญวัฒนา 10 ตุลาคม 2521 - 31 มีนาคม 2522 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรินทร์ เปาโรหิตย์

1 เมษายน 2522 - 7 กรกฎาคม 2522 29 ตุลาคม 2529 - 16 พฤศจิกายน 2529 (รักษาการ) 16 พฤศจิกายน 2529 - 15 พฤศจิกายน 2533 16 พฤศจิกายน 2533 - 30 กันยายน 2537

3. รองศาสตราจารย์ จินดา โพธิ์เมือง 8 กรกฎาคม 2522 - 31 มีนาคม 2526 4. รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพิน เตชะมณี

1 เมษายน 2526 - 2 ตุลาคม 2529 2 ตุลาคม 2529 - 29 ตุลาคม 2529 (รักษาการ) 1 ตุลาคม 2537 - 30 กันยายน 2541 1 ตุลาคม 2541 - 30 กันยายน 2544

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีปัญญา ใจใหญ่ 1 ตุลาคม 2544 - 30 กันยายน 2547 6. รองศาสตราจารย์ พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ 1 ตุลาคม 2547 - 30 กันยายน 2549 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวลักษณ์ อภิชาติวัลลภ

1 ตุลาคม 2549 - 30 กันยายน 2553 1 ตุลาคม 2553 - 30 กันยายน 2555

8. รองศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ท้วมสุข 1 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2559 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2563

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา (ศิษย์เก่า) : อดีตรองประธานวุฒิสภา
  • แรมรุ้ง วรวัธ (ศิษย์เก่า) : รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)
  • ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ (ศิษย์เก่า) : อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักแสดงและผู้กำกับ
  • วิภาณี ภูคำวงศ์ (ศิษย์เก่า) : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์ (ศิษย์เก่า) : นักแสดง
  • ภัทรเดช สงวนความดี (ศิษย์เก่า) : นักแสดง, นายแบบ
  • พรชัย แสนยะมูล (ศิษย์เก่า) : นักเขียน บรรณาธิการ และเจ้าของสำนักพิมพ์ไม้ยมก
  • แสงธรรม ชูมีชัย (ศิษย์เก่า) : รองนางสาวไทย ประจำปี 2547
  • วรรณปิยะ ออมสินนพกุล (ศิษย์เก่า) : นักแสดง, นางแบบ
  • ณภัทร แสงโฮง (ตอง AF10) (นักศึกษา) : นักร้อง
  • ติณห์ ศรีตรัย (ศิษย์เก่า) : นักแข่งรถทีมชาติไทย

ดูเพิ่ม[แก้]

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 133 - 140
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์", 30 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537, หน้า 63 - 65
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ้างอิง[แก้]

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 83, ตอนที่ 26 ก, 22 มีนาคม พ.ศ. 2509, หน้า 242