ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

พิเศษ | A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ก | ข | ค | ฆ | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ทั้งหมด


ความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ไผก็แขวนอ้อนต้อน เสมอด้ามดังเดียว

ความตาย ติดตามเหมือนเงาตามตัว ไม่มีผู้ใดหลุดพ้น

บาดย่าง = ทุกย่างก้าว,


คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มสัปทน อย่าได้ลืมคนจนผู้แห่นำตีนซ้าง

ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้วก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง

กั้งฮ่ม = กางร่ม,


จั๊กเดะ

หมายถึง "ไม่รู้ / ไม่ทราบ"


นางเอ๊ย คันบ่ได้เห็นหน้า เห็นแต่นากะพออยู่ เห็นแต่สิ่นพาดฮั่ว กะพอได้อุ่นใจ

แม่นางน้อยเอ๋ย แม้นมิได้เห็นหน้า เห็นเพียงที่นาพี่นี้ก็พออยู่ได้ เห็นแต่เพียงผ้าซิ่นใจพี่ก็อุ่นแล้ว


บุญ บุญนี้บ่แหม่นของแบ่งได้ ปันแจกกันแหล่ว บ่อห่อนแยกออกได้ คือไม้ผ่ากลาง

บุญ บุญนี้บ่แหม่นของแบ่งได้ ปันแจกกันแหล่ว บ่อห่อนแยกออกได้ คือไม้ผ่ากลาง คือจั่งเฮากินข้าว เฮากินเฮาอิ่ม บ่แหม่นไปอิ่มท้อง เขาพุ้นผู้บ่กิน

บุญ ผู้ใดสร้างผู้นั้นได้รับ ไม่สามารถแบ่งปันได้เหมือนสิ่งของ เหมือนข้าวผู้ใดกินผู้นันอิ่ม

บ่แหม่น = ไม่ใช่,


ฝนตกยังฮู้เอื้อน นอนกลางคืนยังฮู้ตื่น ความทุกข์ยังฮู้เตื้อง มีขึ้นเมื่อลุน

ฝนตกยังซาได้ นอนหลับยังรู้ตื่น ความทุกข์ก็มีโอกาสกลายเป็นสุขในวันข้างหน้า (ถ้าพยายาม)

เอื้อน = หยุด (ฝนซา),


สอยๆ นกแตดแต้ บินข่วมน้ำซี น้ำมูลกะมี คือบ่ไปบินข่วม

บินข่วม = บินข้าม กะมี = ก็มี คือบ่ = เหตุอันใดไม่


หลานเอ๊ย - มื้อ - อื่น - จั๊ก - สิเป๋น - จังได๋ - เอามา - แฮไว้ -ล่ะ

หลานเอ๊ย - มื้ออื่น - จั๊ก - สิเป๋น - จังได๋ - เอามา - แฮไว้ -ล่ะ

\= คำแปลเป็น ภาษาไทย = :-

หลานเอ๊ย = หลานเอ๊ย

มื้ออื่น = วันพรุ่งนี้

จั๊กยัง = ไม่ทราบ

สิเป๋น = จะเป็น

จังได๋ = ยังไง

เอามา = เอามา

แฮไว้ = กันไว้

ล่ะ = ล่ะ

\= หลานเอ๋ยพรุ่งนี้เราไม่ทราบแน่ว่าอะไรจะเกิด เอามาเก็บตุนไว้เป็นดี


เจ้า - เป๋นหยัง - คือ - เทียว - หาบ - ฟืน - หลาย - แถ่ - แม่ตู้

เจ้า - เป๋นหยัง - คื๊อ - เทียว - หาบ - ฟืน - หลาย - แถ่ - แม่ตู้

\= คำแปล เป็นภาษาไทย = :-

เจ้า = ท่าน

เป๋นหยัง = เพราะอะไร

คื๊อ = ถึง

เที่ยว = เดิน,ขยัน

หาบ = หาบ

ฟืน = ฟืน

หลาย = หลาย

แถ่ = คำวิเศษณ์ที่ขยายคำก่อนหน้านี้ ในความหมายว่า "ทำไมถึงทำขนาดนั้น....."

แม่ตู้ = ยาย

\= ยาย ทำไมขยันหาบฟืนจังอ่ะ ?


เชื้อชาติแฮ้ง เหม็นสาบกันเอง ปูสอนปูให้ย่างตรง ห่อนฤสิทำได้

ตัวอย่างที่เลวหรือจะทำให้ผู้อื่นทำดีได้

แฮ้ง = แร้ง,


"ร่างทรง" หรือ "ม้าทรง" ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญและโดดเด่นที่สุดกลุ่มหนึ่งในเทศกาลถือศีลกินผักของ จ.ภูเก็ต

ภาพขบวนแห่ของแต่ละศาลเจ้าที่ประกอบไปด้วยม้าทรงในชุดจีนหลากสีสัน ตามร่างกายมีของแหลมคมทิ่มแทงใส่ พร้อมเกี้ยวที่หามรูปปั้นองค์เทพต่าง ๆ ผ่านท้องถนนที่คลาคล่ำด้วยผู้มีจิตศรัทธา ท่ามกลางเสียงดังและควันประทัดทั่วบริเวณ เป็นสิ่งคุ้นตาชาวภูเก็ตและผู้มาเยือน

เทศกาลถือศีลกินผักปีนี้ มีระหว่างวันที่ 6 - 14 ต.ค. ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 อยู่ทั่วประเทศ

เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเพิ่มเติม ทางการภูเก็ตจึงออกประกาศให้แต่ละศาลเจ้างดการทรงพระ งดขบวนแห่แบบเดินเท้า และงดพิธีกรรมบางส่วน ทำให้บรรยากาศการกินเจปีนี้ดูเงียบเหงากว่าปีก่อน ๆ และม้าทรงหลายพันรายจากกว่า 30 ศาลเจ้าในภูเก็ตอดทำหน้าที่

ในบรรดาม้าทรงเหล่านี้ มีทั้งชายจริงหญิงแท้ตามเพศกำเนิด และม้าทรงที่เป็น LGBTQ+ ที่มีบทบาทชัดเจนและสำคัญอยู่ในวงการนี้มานานนับยี่สิบปี

แม้กฎหมายและสังคมไทยบางส่วนยังไม่ยอมรับความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) แต่ในโลกที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ใน จ.ภูเก็ต คนกลุ่มนี้ได้รับการยอมรับอย่างเปิดกว้าง

  • กินเจ : คนอังกฤษกินเนื้อสัตว์น้อยลง
  • อยากช่วยลดโลกร้อน ยูเอ็นแนะลดเนื้อสัตว์ กินพืชผักให้มากขึ้น
  • 'สุดยอดอาหาร' 5 อย่างในอนาคต ที่ดีต่อคุณและโลก

23 ปี ที่ทำหน้าที่ม้าทรง

กว่า 20 ปี นายสิชารัช เขียนวาด หรือ ลูกปลา หญิงข้ามเพศวัย 47 ปี ทำหน้าที่ร่างทรงของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ศาลเจ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ใกล้ย่านเมืองเก่า เป็นศาลเจ้าหลักแห่งหนึ่งในภูเก็ต เขาเล่าถึงโอกาสที่ได้รับจากกรรมการของศาลเจ้านี้ว่า

"ในเรื่องความหลากหลายทางเพศของที่ศาลเจ้านี้ ทั้งทางคณะกรรมการและท่านประธานจะให้ความเท่าเทียมกันในทุกเพศ ไม่ตัดสินที่เพศ แต่ดูที่ว่าเราเป็นม้าทรงแล้วเราทำตัวอย่างไรบ้าง ที่ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยจะเปิดกว้างมาก มีทั้ง LGBTQ+ และผู้หญิงที่ลงพระผู้ชายหรือผู้ชายที่ลงพระผู้หญิง"

สิชารัช ชี้ว่า ในสังคมวงกว้าง ยังมีกลุ่มคนไม่ยอมรับ หรือไม่เชื่อว่า LGBTQ+ จะเป็นม้าทรงให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ แต่เวลาและการพิสูจน์ตัวเองนั้นเป็นตัวแปรสำคัญ

"จริงๆ แล้ว LGBTQ+ อย่างพี่ การที่จะทำให้คนยอมรับเนี่ย มันจะค่อนข้างยากกว่าปกติอีก แต่เวลาและการกระทำตัวของเราจะทำให้ทุกคนเห็นว่าเราทำอะไรเพื่อศาลเจ้าบ้าง และการทรงเจ้าของเรา เราทำให้เสื่อมเสียไหม ซึ่ง 23 ปีที่ผ่านมาพี่ก็ไม่เคยทำให้เสื่อมเสียเลยค่ะ"

ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

ที่มาของภาพ, Thiti Foster

คำบรรยายภาพ,

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง

จุดเริ่มต้น "พระจับ"

ในวันขึ้นเสาโกเต๊ง ณ ศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ยเต้าโบ้เก้งของปี พ.ศ. 2541 สิชารัชนั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่ในร้านอาหารแห่งหนึ่งกับกลุ่มเพื่อน ไม่ห่างจากตัวศาลเจ้านัก ขณะนั้นเองเธอก็ได้ยินเสียงกลองใหญ่ลั่นมาจากศาลเจ้า และเริ่มรู้สึกผิดปกติ ใจเริ่มสั่น ตัวสั่น ขนลุกไปทั้งตัว ซึ่งเธออธิบายว่านี่เป็นอาการ "พระจับ" หรือ การที่องค์เทพมาประทับร่างเป็นครั้งแรก

"มันเป็นอาการที่เราไม่สามารถอธิบายให้ใครฟังได้ มันเป็นอาการที่เรารู้ตัวแต่เราคอนโทรลตัวเองไม่ได้ พี่ก็หันหลังวิ่งเข้าศาลเจ้าแล้วก็ตบตั๋วเลย ซึ่งก็คือการประกาศว่าเราเป็นม้าทรงของศาลเจ้านี้แล้วนะ" สิชารัชย้อนอดีตเมื่อเธอ "ตบตั๋ว" หรือ การแสดงอากัปกิริยาว่าองค์เทพได้มาประทับทรงแล้ว

"พี่ได้ยินว่าเวลาเราโดนพระจับ เราอยากได้อะไรให้เรามาขอ ตอนนั้นพี่ก็ไม่ทราบว่าพระองค์ไหนมาจับพี่ พี่ก็เลยมาที่ศาลเจ้า อธิฐานว่าองค์เทพใดก็แล้วแต่ที่จะมาประทับ ขอเวลา 2 ปี ให้ลูกได้บ้าน ให้ลูกได้รถ พูดไปเพราะอยากรู้ว่าจะเป็นจริง ๆ มั้ย ซึ่งภายใน 2 ปีพี่ก็ได้ในสิ่งที่ขอ" ลูกปลาเล่าให้บีบีซีไทยฟัง

สิชารัช ผู้ทำหน้าที่ม้าทรงของ "อาม่าเหล็งลู้เหนียวเหนียว" ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระโพธิสัตว์กวนอิม อธิบายถึงความรู้สึกของการถูกประทับร่างโดยองค์เทพว่ารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ควบคุมการกระทำของตัวเองไม่ได้ และทุกปีจะมีการแทงปากด้วยเหล็กหัวมณฑลทั้งห้า ซึ่งถือเป็นอาวุธเทพตามตำนานที่สูงสุด

"ถามว่าเจ็บไหม จะบอกว่าไม่เจ็บเลยก็ไม่ได้นะคะ แต่ความรู้สึกเหมือนเจาะหู รู้สึกถึงแอลกอฮอล์เย็น ๆ และเหล็กแหลม แต่ตอนที่แทงเข้าไปเนี่ยไม่มีเลือดนะคะ ความรู้สึกก็แสบๆ เย็นๆ แค่นั้น"

"เวลาอยู่ในขบวนแห่พี่รู้ตัวค่ะ แต่ใจพี่นิ่งมาก เราคอนโทรลตัวเองไม่ได้ค่ะ อย่างเช่นเวลาเราเดิน เราเห็นว่าข้างหน้าเป็นเพื่อนเรารอรับพระอยู่ แต่เราไม่สามารถที่จะทักเพื่อนเราได้ ในขบวนแห่เราก็จะมีฮู้ (ผ้ายันต์จีน) และของอื่น ๆ ที่จะแจกให้กับผู้คนที่มารอรับพระอยู่ สมมติว่าเราเห็นเพื่อน ต้องการจะเอาฮู้ไปให้เพื่อน แต่เราก็ทำไม่ได้ เราเห็นเรารู้ แต่ก็แค่ครึ่งหนึ่ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านเป็นจิต แต่ท่านใช้เราเป็นร่าง"

  • ห่วงความปลอดภัยหญิงข้ามเพศที่หนีคดี "หมิ่นศาสนา" หากไทยส่งให้มาเลเซีย
  • ชีวิตอันงดงามของทารกที่ถูกทิ้งกับพ่อคู่เกย์ในนิวยอร์ก
  • มรสุมชีวิตของ "ผู้แปรพักตร์เกย์ที่เปิดเผยตัวเพียงหนึ่งเดียว" จากเกาหลีเหนือ

ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

ที่มาของภาพ, สิชารัช เขียนวาด

คำบรรยายภาพ,

สิชารัช เขียนวาด หรือ ลูกปลา ขณะเป็น "ม้าทรง"

องค์เทพชายในร่างม้าทรงหญิง

ในย่านสามกอง มีศาลเจ้าอีกแห่งที่ชาวบ้านรู้จักเป็นอย่างดีคือ ศาลเจ้าเจ่งอ๋อง ตั้งอยู่ภายในซอยเล็ก ๆ ตรงข้ามโรงพยาบาลประจำจังหวัด ที่นั่น น.ส.ยุภา ศากยวิกรม หรือ ภา วัย 40 ปี ผู้มีความหลากหลายทางเพศ รับหน้าที่เป็นหนึ่งในม้าทรงของที่นี่มา 8 ปี หลังจากเริ่มพิธีที่ศาลเจ้าจ้อสู่ก้ง ซอยพะเนียง นาน 10 ปี

"ที่นี่ก็มีกฎระเบียบ ตอนประชุมม้าทรงก็เคยมีการระบุว่าผู้ชายลงพระชาย ผู้หญิงลงพระหญิง แต่พอมีเพศนี้ (LGBTQ+) เข้ามา เราก็ต้องพิสูจน์ตัวเองว่าเรามีความเหมาะสมจริง ๆ แล้วที่นี่ การยอมรับก็เปิดกว้างขึ้น ทางคณะกรรมการก็ไม่ได้ระบุว่าพระชายต้องประทับทรงผู้ชาย พระหญิงต้องประทับทรงผู้หญิงเท่านั้น"

ยุภา ยอมรับว่าอาจยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับในการที่ LGBTQ+ มาเป็นม้าทรง อีกทั้งพระที่มาลงตนซึ่งเป็นเพศหญิงนั้นเป็นพระชายอย่างองค์เทพนาจา

"ถ้ากลุ่มคนที่ยังมีความคิดแบบโบราณก็อาจจะมีการแอนตี้ ถามว่าตัวเราเองอยากให้เกิดแบบนี้ไหม เราก็ไม่ได้อยากให้เกิด เพราะถึงแม้เราจะไม่ได้เป็นผู้หญิงเสียทีเดียว แต่ก็ยังเป็นเพศหญิง และไม่อยากแปลกไปจากสังคม เป็นเพศหญิงก็ลงพระหญิง แต่เราไม่สามารถเลือกหรือระบุองค์เทพที่มาประทับได้"

"ส่วนตัวที่ลงพระมา 18 ปี ไม่เคยได้รับการปฏิบัติที่แปลกแตกต่างจากม้าทรงคนอื่น ๆ ทุกคนเท่าเทียมกันหมด อย่างที่บอกว่าอยู่ที่การปฏิบัติตัวค่ะ"

ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

ที่มาของภาพ, ยุภา ศากยวิกรม

คำบรรยายภาพ,

ยุภา ศากยวิกรม ร่างทรง LGBTQ+

จากคนไม่เชื่อสู่ม้าทรงองค์เทพนาจา

ยุภา เล่าว่าเดิมเคยไม่เชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ขององค์เทพเจ้า หรือการทรงพระที่ภูเก็ตเลย เพราะย้ายจากภูเก็ตไปอยู่ภาคกลางตั้งแต่อายุ 9 เดือนและเติบโตที่นั่น แต่แล้วเหตุการณ์รอดตายปาฏิหาริย์หลายครั้ง รวมถึงเหตุการณ์พระจับก็ได้เกิดขึ้นในห้วงเวลาใกล้กัน ทำให้ยุภาเริ่มเกิดความสงสัย และได้ลองเข้าศาลเจ้าเพื่อทดสอบ

ในวัย 22 ปี ยุภาเกิดอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์เฉี่ยวชนกับรถบรรทุกทำให้ตัวเข้าไปอยู่ใต้ท้องรถ และเพียงเสี้ยววินาทีที่ล้อรถบรรทุกเกือบทับหัว ยุภาก็รอดตายมาได้อย่างปาฏิหาริย์

"หลังจากนั้นประมาณสองอาทิตย์ ก็เกิดอาการปวดท้องอย่างไม่รู้สาเหตุ ไปมาหลายโรงพยาบาลก็ไม่พบสาเหตุ จนไปพบเนื้องอกก้อนเท่าผลส้ม ระหว่างผ่าตัดความดันตก ก็รอดมาได้อีก แต่ก็ยังไม่ได้คิดอะไร"

หลังจากได้ย้ายมาพักฟื้นที่บ้านได้ไม่นาน และยังเจ็บแผลอยู่ ยุภาเล่าว่ารู้สึกมึนหัวแล้ววูบไป ซึ่งเป็นเหตุการณ์วันที่โดนพระจับ

"ฟื้นมาอีกทีก็อยู่ที่ศาลเจ้ากะทู้ค่ะ ที่บ้านบอกว่าพระจับ แล้วพี่ก็เดินจากที่บ้านมาถึงศาลเจ้าซึ่งค่อนข้างไกล วันนั้นเกิดเหตุการณ์ตอนสี่ทุ่ม พอกลับบ้านประมาณตีสี่ก็เกิดเหตุการณ์เหมือนเดิมซ้ำอีก เหมือนมีวิญญาณอะไรสักอย่างมาแทรกเรา ความรู้สึกมันเหมือนเรามองเห็นว่าใครเป็นใคร แต่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เราก็พยายามแข็งขืน กลัวว่าเราจะจิตมโนไปหรือเปล่า"

ยุภาเล่าว่าเหตุการณ์ทำนองนี้ยังเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนวันหนึ่งคนรู้จักซึ่งเป็นกรรมการศาลเจ้าจ้อสู่ก้ง ในซอยพะเนียง ตัวเมืองภูเก็ต ได้ชักชวนเขาให้ลองไปที่ศาลเจ้าเพื่อเสี่ยงทาย และให้เทพมาประทับทรง

"ปรากฏว่าทุกอย่างก็เสร็จสิ้นที่นั่น ไปนอนที่นั่นสองวัน พระก็มาบอกว่าเป็นซำไท่จื้อ ซึ่งก็คือภาคหนึ่งขององค์นาจา ซึ่งเป็นปางเด็ก ลงมา 5 ปี หลังจากนั้น 3 ปี ลงเป็นองค์ตงตั๋นหง่วนโส่ย จากนั้นก็มาลงปางสุดท้ายคือ องค์ลีฮู้โลเชี้ย ยาวมาตลอด"

ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

ที่มาของภาพ, Thiti Foster

คำบรรยายภาพ,

ศาลเจ้าเจ่งอ๋อง

ปาฏิหาริย์ ความศรัทธา และความภาคภูมิใจ

ในเรื่องของปาฏิหาริย์นั้น ยุภาได้ลองอธิษฐานขอองค์เทพที่มาประทับหลายเรื่องเพราะต้องการจะพิสูจน์ และทุกครั้งก็สัมฤทธิ์ผล ทำให้ยุภาปักใจเชื่อในที่สุด

เขาเล่าว่าเคยลองพิสูจน์ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์เทพมาหลายครั้ง ครั้งหนึ่งคือเมื่อพ่อของเขาป่วยติดเตียง เดินไม่ได้ หลังลองพบแพทย์มาหลายที่และไม่เป็นผล ยุภาจึงลองอธิษฐานต่อองค์เทพ ซึ่งเหตุการณ์วันนั้น องค์เทพได้ประทับทรง และระบุชนิดยาจีนเพื่อให้คนที่บ้านไปซื้อมาจากร้าน

"จากที่ติดเตียงเลยก็ดีขึ้น เหลือแค่ซีกขวาด้านเดียวและหัดเดินได้ แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นปาฏิหาริย์ขององค์เทพ จบมายังไม่มีงาน ลองของานก็ได้ แต่ก็ยังไม่เชื่ออีก จนกระทั่งช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก (ปี 2540) ทำให้ที่บ้านต้องเริ่มนับศูนย์อีกครั้ง ก็เลยลองจุดธูปขอท่าน ว่าถ้าท่านมีตัวตนจริงให้ท่านแสดงปาฏิหาริย์ให้ลูกเห็น อยากขายที่ ขายบ้านได้ภายใน 7 วัน เพื่อให้พ่อไปปลดหนี้ปลดสิน เราก็ผ่านมาได้ เราเลยเชื่อว่าเป็นบารมีของท่านจริงๆ ค่ะ"

การที่เทพเจ้าประทับทรงนั้น นอกจากจะมีความเชื่อในเรื่องการช่วยต่ออายุให้กับม้าทรงคนนั้นๆ แล้ว ยังถือว่าเป็นการได้รับเกียรติ ที่จะได้รับใช้องค์เทพต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งยุภาเองก็มีความภาคภูมิใจที่ได้รับเลือกให้เป็นม้าทรงคนหนึ่งเช่นกัน

"ตลอด 18 ปีที่ได้รับใช้สวรรค์และเทพเจ้ามา ก็มีความภูมิใจว่าครั้งหนึ่งเราได้ถูกเลือก ในขณะที่คนจำนวนมากไม่มีโอกาสได้เข้ามาอยู่จุดนี้ ได้มาช่วยงาน ได้ล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าให้ได้ไปตักเตือนผู้คน คนทั่วไปอาจจะมองว่ารูปปั้น เป็นสิ่งแกะสลัก แต่สำหรับเรา ท่านมีปาฏิหาริย์จริง ๆ เรื่องร้าย ๆ เราก็ผ่านมาได้ เราประทับใจว่าท่านไม่เคยทิ้งลูกหลาน"

  • ไสยศาสตร์แห่งสักยันต์ที่เฟื่องฟูข้ามยุคสมัย
  • หญิงผู้พลิกวิกฤตชีวิตด้วยพลังศรัทธาแห่งลายสักยันต์
  • ความก้าวหน้าของ LGBTQ+ ในปี 2020

ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

ที่มาของภาพ, Thiti Foster

คำบรรยายภาพ,

ยุภาภายในศาลเจ้าเจ่งอ๋อง

ไม่มีข้อกำหนดเรื่องเพศสำหรับม้าทรง

ม้าทรง LGBTQ+ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในกลุ่มศาลเจ้าภูเก็ต

นาย กิตติวงค์ จันทร์สัทธรรม หรือ "ฮกสิ่ว" ประธานศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง เล่าว่า เท่าที่เขาทราบ ม้าทรงคนแรกที่เป็น LGBTQ+ ในภูเก็ตมีมาตั้งแต่ประมาณ 50 - 60 ปีที่แล้ว

"ต้องบอกว่าเรื่องพวกนี้มีมานานตั้งแต่ในอดีต แต่ในปัจจุบันอาจจะมีปริมาณร่างทรงเพศที่สามมากขึ้น"

ในส่วนของศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ยซึ่งเป็นศาลเจ้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดนั้น ก็ไม่ได้เพ่งความสนใจไปที่เพศสภาพหรือเพศวิถีของผู้ที่จะมาเป็นม้าทรงแต่อย่างใด เพราะถือได้ว่า ศาลเจ้าเป็นของทุกคน

"ในส่วนของอ๊าม (ศาลเจ้า) เองเนี่ย เราก็ไม่ได้ปิดกั้น เพราะเราถือว่าอ๊ามเป็นของทุกคน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมาเป็นส่วนหนึ่ง มาช่วย มาทำ มาดำเนินการอะไรได้หมด"

"แล้วเราก็มีมาเรื่อย ๆ ที่จุ้ยตุ่ยเราก็มองว่ามันเป็นเรื่องที่พวกเราชาวภูเก็ตเองให้ความเคารพนับถือ ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง เพศที่สาม เราก็ต้องดำเนินการตามขนบธรรมเนียมประเพณีไป เราแค่ขอให้ปฏิบัติตามแนวทางของอ๊ามแล้วกัน บางคนอาจประทับทรงถูกเพศถูกร่าง แต่คุณประพฤติตัวไม่ดี ก็ไม่ได้"

เมื่อถามถึงกฎระเบียบที่บัญญัติไว้ ฮกสิ่วยืนยันว่าไม่มีกฎข้อห้ามเพศใดมาเป็นม้าทรง ผู้ใดที่ถูกเลือกก็สามารถเป็นม้าทรงได้

"ไม่มี สำหรับเราคนใน เรามองเป็นเรื่องปกติ แต่บางทีคนนอกอาจจะมองมุมอื่น ผู้หญิงลงเทพเจ้ากวนอู ศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ยก็มี ผู้ชายลงเทพเจ้าหยกลื่อก็มี แม้แต่เพศที่สามที่เป็นกะเทยแต่งหญิงก็มี"

นอกจากนี้ ฮกสิ่วยังได้เล่าว่าหนึ่งในเทพแปดเซียน ซึ่งมีการประทับทรงกันนั้น ก็มีเทพหนึ่งองค์ที่ไม่มีการระบุว่า เทพองค์นี้เป็นเพศอะไร

"แม้กระทั่งหนึ่งในเทพเจ้าแปดเซียนอย่าง 'หนาใชฮั้ว' ก็เป็นเทพที่ไม่มีบันทึกไว้ว่าเป็นเทพผู้ชายหรือเทพผู้หญิง ถ้าในวงการเพศที่สาม เขาก็เรียกว่าเป็นศาสดาของเขาเลย"

ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

คำศัพท์ "ม้าทรง"

ตบตั๋ว การแสดงอากัปกิริยาว่าองค์เทพได้มาประทับทรงแล้ว

พระจับ การที่องค์เทพมาประทับร่างเป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นการที่องค์เทพเลือกร่างร่างนั้นแล้ว

ขึ้นเสาโกเต๊งพิธียกเสาตะเกียง 9 ดวง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นประเพณีถือศีลกินผัก

หัวมณฑลทั้งห้า รูปลักษณะคล้ายหัวตุ๊กตา เป็นตัวแทนทหารรักษาการทั้ง 5 ทิศ

อ๊ามคำที่คนภูเก็ตใช้เรียกศาลเจ้าจีน

ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

LGBTQ+ กับพื้นที่ในโลกทางจิตวิญญาณ

อ.เคท ครั้งพิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน เพศ เพศสถานะ เพศวิถี แห่งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า มีผู้ทำการศึกษาบทบาทของ LGBTQ+ ในทางวัฒนธรรมศึกษากันมาก โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ในกรณีของภูเก็ต เธอมองว่าการมีม้าทรงที่หลากหลายทางเพศในภูเก็ตเป็นเรื่องการสานต่อประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไปมากกว่า

"สังคมภูเก็ตก็มีการยึดโยงกับประเพณีสูง ที่ใดที่มีการทรงเจ้า ทำให้เราเห็นความยึดโยงกับประเพณีสูง ทำให้ชาวภูเก็ตรักษารากฐานวัฒนธรรม อย่างการถือศีลกินผัก คนภูเก็ตน่าจะไม่ได้คิดเรื่องของ LGBTQ+ แต่กลัววัฒนธรรมประเพณีหาย และมองว่าเป็นเรื่องที่อะลุ่มอล่วยได้"

อ.เคท ยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกาเองที่มีกลุ่ม LGBTQ+ ที่เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองท้องถิ่นผู้ที่เชื่อกันว่าสามารถติดต่อกับโลกแห่งจิตวิญญาณได้ เรียกตัวเองว่ากลุ่ม LGBTQ2

"ในอเมริกาก็จะเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเป็น Two-Spirit การที่เราเรียก LGBTQ+ ก็จะเป็น LGBTQ2 ซึ่งเลข 2 นั้นก็คือกลุ่ม Two-Spirit เท่าที่เรามีข้อมูล กลุ่ม Two-Spirit เป็นกลุ่มคนที่ทำงานโดยตรงกับเรื่องความเชื่อ จิตวิญญาณ ในกลุ่มที่เป็น Native American (คนพื้นถิ่นดั้งเดิมของสหรัฐอเมริกา) จะมีกลุ่ม Two-Spirit คือแสดงออกถึงความเป็นหญิงและชายได้ภายในร่างเดียว"

ในแง่ของศาสนาพุทธนั้น พระอาจารย์สังฆารักษ์ สุธี รักษาการเจ้าอาวาสวัดลัฎฐิวนาราม (วัดใต้) ซึ่งตั้งอยู่ในตัวเมืองภูเก็ต เป็นวัดใหญ่ที่ชาวภูเก็ตรู้จักดี พระอาจารย์กล่าวไว้เพียงสั้น ๆ ว่าต้องแยกประเพณีถือศีลกินผักออกจากเรื่องของศาสนาพุทธ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน

"จริงๆ แล้วการกินเจไม่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ การกินเจเป็นประเพณีวัฒนธรรม ส่วนเรื่องอภินิหารต่างๆ ก็อยู่ที่ความเชื่อส่วนตัวบุคคล แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเรื่องนี้ หรือการทรงเจ้า"

ข นเป นเจ าบ านต างจ งหว ดได ม ย

ที่มาของภาพ, Thiti Foster

คำอธิบายเชิงจิตวิทยา

ในฟากฝั่งของวิทยาศาสตร์ นพ.ปฏิพล หอมหวล นายแพทย์ชำนาญการ ด้านจิตเวชศาสตร์ (จิตแพทย์) รักษาการในตำแหน่ง ผอ.รพ.ท้ายเหมืองชัยพัฒน์ จ.พังงา ได้ให้คำอธิบายที่เป็นไปได้ไว้ 2 ทางคือ การประทับทรงในม้าทรงนั้นเป็นเรื่องจริงที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไปไม่ถึง และยังพิสูจน์ไม่ได้ ขณะที่กรณีที่สอง อาจเกิดขึ้นได้จากอุปทานหมู่

"อย่างเทศกาลกินเจมีการทรงเจ้า มีการเชิญองค์มาประทับ เรายังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีมาอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ วิทยาศาสตร์อาจจะยังไปไม่ถึงเรื่องนี้ ยังไม่มีอะไรอธิบายได้ชัดเจน เพราะคนที่ลงพระก็เป็นคนปกติ ใช้ชีวิตปกติ ในช่วงที่ไม่มีการประทับทรง"

"วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ แต่ก็ไม่ขัดศรัทธา และก็ไม่ได้บอกว่าเขาไม่ได้เป็นจริงนะ อาจเรียกว่าวิทยาศาสตร์ยังไปไม่ถึงทางจิตวิญญาณ"

ส่วนการอธิบายอีกวิธีหนึ่ง นพ.ปฏิพล บอกว่าเป็นกลไกทางจิตที่เรียกว่า Dissociative (Identity Disorder) คล้ายอุปทานหมู่

"สมมติมีร่างทรงจริง ๆ อยู่หนึ่งคน แล้วถ้าเราเชื่อว่าเราเป็นร่างทรงด้วย กลไกทางจิตเราอาจจะหลุดออกมาจากตัวตนของเราเป็นอีกคน ด้วยสภาพแวดล้อม เช่น การตีกลอง ควันธูป อะไรต่าง ๆ บางทีกลไกทางจิตจะลืมไปเลยว่าตัวตนเคยเป็นอะไร ซึ่งอันนี้ถามว่าเกิดขึ้นได้ไหม เกิดขึ้นได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ได้พบในม้าทรง"